Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 พรบ. ที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิภาพและสุขภาพของประชาชน - Coggle Diagram
บทที่ 5 พรบ. ที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิภาพและสุขภาพของประชาชน
พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510
มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510"
มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วัน ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป [รก.2510/101/7 พ./20 ตุลาคม 2510]
มาตรา 3 ให้ยกเลิก
พระราชบัญญัติการขายยา พ.ศ. 2493
พระราชบัญญัติการขายยา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2498
พระราชบัญญัติการขายยา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2499
พระราชบัญญัติการขายยา (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2500
พระราชบัญญัติการขายยา (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2505
มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้ "ยา" หมายความว่า
วัตถุที่รับรองไว้ในตำรายาที่รัฐมนตรีประกาศ
วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการวินิจฉัย บำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรค หรือความเจ็บป่วยของมนุษย์หรือสัตว์
วัตถุที่เป็นเภสัชเคมีภัณฑ์ หรือเภสัชเคมีภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป
วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับให้เกิดผลแก่สุขภาพ โครงสร้าง หรือ การกระทำหน้าที่ใด ๆ ของร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์ วัตถุตาม (1) (2) หรือ (4) ไม่หมายความรวมถึง
วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการเกษตร หรือการอุตสาหกรรม ตามที่รัฐมนตรีประกาศ
วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้เป็นอาหารสำหรับมนุษย์ เครื่องกีฬา เครื่องมือ เครื่องใช้ในการส่งเสริมสุขภาพ เครื่องสำอาง หรือเครื่องมือ และ ส่วนประกอบของเครื่องมือที่ใช้ในการประกอบโรคศิลปะหรือวิชาชีพเวชกรรม
วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในห้องวิทยาศาสตร์สำหรับการวิจัย การวิเคราะห์ หรือการชันสูตรโรคซึ่งมิได้กระทำโดยตรงต่อร่างกายของมนุษย์
มาตรา 5 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการตาม พระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ออกกฎกระทรวง กำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราในบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ ยกเว้น ค่าธรรมเนียม และกำหนดกิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้ บังคับได้
พระราชบัญญัติเครื่องสําอาง พ.ศ. 2558
สาระสำคัญ
กำหนดให้ผู้ใดประสงค์จะผลิตเพื่อขาย หรือนำเข้าเพื่อขาย หรือรับจ้างผลิตเครื่องสำอาง ต้องแจ้งรายละเอียดของเครื่องสำอางต่อผู้รับจดแจ้ง และเมื่อรับผู้รับจดแจ้งออกใบรับจดแจ้งแล้ว จึงจะผลิตหรือนำเข้าเครื่องสำอางนั้นได้ ซึ่งผู้รับจดแจ้งตามกฎหมายฉบับนี้หมายถึงเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) หรือผู้ซึ่งเลขาธิการ อย.มอบหมาย
มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้ยกเว้นค่าธรรมเนียม และกำหนดกิจการอื่น กับออกระเบียบหรือประกาศ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๑๕ ใบรับจดแจ้งให้มีอายุ สามปี นับแต่วันที่ออกใบรับจดแจ้ง
ในกรณีที่ผู้จดแจ้งประสงค์จะขอต่ออายุใบรับจดแจ้ง ให้ยื่นคำขอก่อนวันที่ใบรับจดแจ้งสิ้นอายุเมื่อได้ยื่นคำขอและชำระค่าธรรมเนียมการต่ออายุพร้อมกับการยื่นคำขอแล้ว ให้ใบรับจดแจ้งนั้นใช้ได้ต่อไปจนกว่าผู้รับจดแจ้งจะสั่งไม่ให้ต่ออายุใบรับจดแจ้งนั้น
การขอต่ออายุใบรับจดแจ้ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
ผู้จดแจ้งซึ่งใบรับจดแจ้งของตนสิ้นอายุไม่เกินหนึ่งเดือน จะยื่นคำขอต่ออายุและขอผ่อนผันโดยแสดงเหตุผลในการที่มิได้ยื่นคำขอต่ออายุภายในกำหนด พร้อมทั้งชำระค่าธรรมเนียมการต่ออายุก็ได้แต่การขอผ่อนผันไม่เป็นเหตุให้พ้นผิดตามมาตรา ๖๔
มาตรา 41 การโฆษณาเครื่องสำอางต้องไม่ใช้ข้อความที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค หรือใช้ข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวม
ข้อความที่เป็นเท็จหรือเกินความจริง
ข้อความที่จะก่อให้เกิดความใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับเครื่องสำอาง ไม่ว่าจะกระทำโดยใช้หรืออ้างอิงรายงาน ทางวิชาการ สถิติ หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันไม่เป็นความจริงหรือเกินความจริงหรือไม่ก็ตาม
ข้อความที่แสดงสรรพคุณที่เป็นการรักษาโรคหรือที่มิใช่จุดมุ่งหมายเป็นเครื่องสำอาง
ข้อความที่ทำให้เข้าใจว่ามีสรรพคุณบำรุงกาม
ข้อความที่เป็นการสนับสนุนโดยตรงหรือโดยอ้อมให้มีการกระทำผิดกฎหมาย
ข้อความที่จะทำให้เกิดความแตกแยกหรือเสื่อมเสียความสามัคคีในหมู่ประชาชน
ข้อความอย่างอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
พระราชบัญญัติ สุขภาพ จิต 2551
ใจความสำคัญ
การนำบุคคลที่มีภาวะอันตรายหรือมีความจำเป็นต้องได้รับการบำบัดรักษาให้ได้รับการบำบัดรักษา
หมวดที่ ๑ คณะกรรมการ
ส่วนที่ ๑ คณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติ
ส่วนที่ ๒ คณะกรรมการสถานบำบัดรักษา
หมวดที่ ๒ สิทธิผู้ป่วย
มาตรา ๑๕
ได้รับการบำบัดรักษาตามมาตรฐานทางการแพทย์โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
ได้รับการปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยและการบำบัดรักษาไว้เป็นความลับ เว้นแต่มีกฎหมายบัญญัติให้เปิดเผยได้
ด้รับความคุ้มครองจากการวิจัย ตามมาตรา ๒๐
ได้รับการคุ้มครองในระบบประกันสุขภาพและประกันสังคม และระบบอื่นๆ ของรัฐอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน
มาตรา ๑๖ ห้ามมิให้ผู้ใดเปิดเผยข้อมูลด้านสุขภาพของผู้ป่วยในประการที่น่าจะทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ป่วย เว้นแต่
นกรณีที่อาจเกิดอันตรายต่อผู้ป่วยอื่น
เพื่อความปลอดภัยของสาธารณชน
มีกฎหมายเฉพาะบัญญัติให้ต้องเปิดเผย
มาตรา ๑๗ การบำบัดรักษาโดยการผูกมัดร่างกาย การกักบริเวณ หรือแยกผู้ป่วยจะกระทำไม่ได้ เว้นแต่เป็นความจำเป็นเพื่อป้องกันการเกิดอันตรายต่อผู้ป่วยเอง บุคคลอื่น หรือทรัพย์สินของผู้อื่นโดยต้องอยู่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของผู้บำบัดรักษาตามมาตรฐานวิชาชีพ
มาตรา ๑๘ : สาระสำคัญ การรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้า (Electroconvulsive Therapy, ECT)
มาตรา ๑๙ : สาระสำคัญ การทำหมัน
หมวดที่ ๓ การบำบัดรักษาทางสุขภาพจิต
ส่วนที่ ๑ ผู้ป่วย
มาตรา ๒๓ ผู้ใดพบบุคคลซึ่งมีพฤติการณ์ที่น่าเชื่อว่าบุคคลนั้นมีความผิดปกติทางจิต คือมีภาวะอันตรายหรือ มีความจำเป็นต้องได้รับการบำบัดรักษา ให้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือตำรวจโดยเร็ว
มาตรา ๒๔ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือตำรวจได้รับแจ้ง หรือพบบุคคลซึ่งมีพฤติการณ์ที่น่าเชื่อว่าบุคคลนั้นมีความผิดปกติทางจิต ให้ดำเนินการนำตัวผู้นั้นไปยังสถานพยาบาล เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย โดยการนำตัวบุคคลดังกล่าวไปสถานพยาบาล จะไม่สามารถผูกมัดร่างกายของบุคลนั้นได้ เว้นแต่ความจำเป็นเพื่อป้องกันการเกิดอันตรายต่อบุคคลนั้นเอง บุคคลอื่น หรือทรัพย์สินของผู้อื่น
มาตรา ๒๕ ผู้รับผิดชอบดูแลสถานคุมขัง สถานสงเคราะห์ พนักงานคุมประพฤติ ถ้าพบบุคคลที่อยู่ในความดูแลมีพฤติการณ์ที่น่าเชื่อว่าบุคคลนั้นมีความผิดปกติทางจิต ให้ส่งตัวบุคคลผู้นั้นไปสถานพยาบาลโดยเร็ว
มาตรา ๒๖ ในกรณีฉุกเฉิน เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจได้รับแจ้งตามมาตรา ๒๓ หรือพบบุคคลซึ่งมีพฤติการณ์อันน่าเชื่อว่าบุคคลนั้นเป็นบุคคลที่มีความผิดปกติทางจิตซึ่งมีภาวะอันตรายและเป็นอันตรายที่ใกล้จะถึง ให้มีอำนาจนำตัวบุคคลนั้นหรือเข้าไปในสถานที่ใดๆ เพื่อนำตัวบุคคลนั้นส่งสถานพยาบาลของรัฐหรือสถานบำบัดรักษาซึ่งอยู่ใกล้โดยไม่ชักช้า เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและประเมินอาการเบื้องต้นตามาตรา ๒๗
มาตรา ๒๗ การตรวจวินิจฉัยและประเมินอาการเบื้องต้น ต้องให้แล้วเสร็จ ภายใน ๔๘ ชั่วโมง นับตั้งแต่บุคคลนั้นมาถึงสถานพยาบาล และผู้ที่ทำการตรวจวินิจฉัยต้องบันทึกรายละเอียดในแบบรายงานผลการตรวจวินิจฉัยและประเมินอาการเบื้องต้น (ตจ.๑)
มาตรา ๒๙ สถานบำบัดรักษาทางสุขภาพจิต มีหน้าที่ในการตรวจวินิจฉัยบุคคลที่พนักงานเจ้าหน้าที่นำส่ง หรือส่งต่อจากแพทย์ ให้ตรวจวินิจฉัยและประเมินอาการบุคคลนั้นโดยละเอียด ภายใน ๓๐ วัน และให้มีการพิจารณาว่าบุคลนั้นต้องเข้ารับการบำบัดรักษาหรือไม่
มาตรา ๓๐ คณะกรรมการบำบัดรักษากำหนดวิธีการและระยะเวลาการบำบัดรักษาตามความรุนแรงของความผิดปกติทางจิต แต่ต้องไม่เกิน ๙๐ วันนับแต่วันที่มีคำสั่ง ขยายระยะเวลาได้อีกครั้งละไม่เกิน ๙๐ วัน นับตั้งแต่วันที่มีคำสั่งครั้งแรกหรือครั้งถัดไป
มาตรา ๓๑ ในระหว่างการบำบัดรักษา เมื่อแพทย์ผู้บำบัดรักษาเห็นว่า ผู้ป่วยได้รับการบำบัดรักษาจนความผิดปกติทางจิตหายหรือทุเลาและผู้ป่วยไม่มีภาวะอันตรายแล้ว ให้แพทย์จำหน่ายผู้ป่วยดังกล่าวออกจากสถานพยาบาล และรายงานผลการรักษาบำบัดรักษาและการจำหน่ายผู้ป่วยให้คณะกรรมการสถานบำบัดรักษาทราบโดยไม่ช้า ทั้งนี้ ให้แพทย์ติดตามผลการบำบัดรักษาเป็นระยะ
มาตรา ๓๒ ในกรณีที่ผู้ป่วยหรือผู้รับดูแลผู้ป่วยไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๙ (๒) (การเข้ารับการบำบัดรักษา ณ สถานที่อื่นนอกจากสถานบำบัดรักษา เมื่อบุคคลนั้นไม่มีภาวะอันตราย) หรือการบำบัดไม่เป็นผล หรือพฤติการณ์ที่เป็นเหตุให้มีการออกคำสั่งตามมาตรา ๒๙(๒) เปลี่ยนแปลงไป คณะกรรมการสถานบำบัดรักษาอาจแก้ไขเพิ่มเติมหรือเพิกถอนคำสั่ง หรือมีคำสั่งให้รับผู้ป่วยไว้บำบัดรักษาตามมาตรา ๒๙(๑) ก็ได้
ส่วนที่ ๒ ผู้ป่วยคดี
ส่วนที่ ๓ การฟื้นฟูสมรรถภาพ
มาตรา ๔๐ ในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับการบำบัดรักษาจนอาการทุเลา ให้แจ้งญาติมารับกลับ ในกรณีที่ไม่มีผู้รับดูแล ให้แจ้งหน่วยงานด้านสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการ ไม่มีสิทธิ์จำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้านเอง
หมวด ๔ การอุทธรณ์
มาตรา ๔๒ กรณีที่ผู้ป่วยได้รับคำสั่งให้เข้ารับการบำบัดรักษาแต่ไม่เห็นด้วย มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ภายใน ๓๐ วัน โดยผู้มีสิทธิอุทรได้แก่ ผู้ป่วย คู่สมรส ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน ผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์ ผู้อนุบาล หรือผู้ซึ่งดูแลผู้ป่วย
หมวดที่ ๕ พนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา ๔๖ สาระสำคัญ
พนักงานเจ้าหน้าที่ มีอำนาจในการประสานงานกับตำรวจ หรือพนักงานฝ่ายปกครองเข้าไปในเคหสถานในการนำตัวบุคคลที่มีภาวะอันตรายหรือมีความจำเป็นต้องได้รับการบำบัดรักษามาบำบัดรักษาในโรงพยาบาลได้ ทั้งที่พบเห็นหรือได้รับแจ้ง
หมวดที่ ๖ บทกำหนดโทษ
มาตรา ๕๐ ผู้ใดเปิดเผยข้อมูลด้านสุขภาพของผู้ป่วยในการที่น่าจะทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ป่วย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือปรับไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท
มาตรา ๕๑ ผู้ใดแจ้งความเท็จ ว่าบุคคลนั้นๆมีพฤติการณ์ที่น่าเชื่อว่ามีความผิดปกติทางจิต โดยมีเจตนากลั่นแกล้งให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือปรับไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. ๒๕๔๑
หลักการและเหตุผล
อนุญาตให้ประกอบกิจการ การเลิก การย้าย การปิดสถานพยาบาล การเพิกถอนใบอนุญาต การโฆษณากิจการของสถานพยาบาล ตลอดจนกำหนดอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการควบคุมดูแลสถานพยาบาล และกำหนดหน้าที่ของผู้รับอนุญาตและผู้ดำเนินการสถานพยาบาลให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
กำหนดจำนวนสถานพยาบาลที่จะให้จัดตั้งได้หรือมีบริการทางการแพทย์บางชนิดในท้องที่ใดท้องที่หนึ่งได้เพื่อให้มีการประกอบกิจการในลักษณะที่ให้บริการทางสาธารณสุขที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนอย่างแท้จริง จึงเป็นการสมควรที่จะปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
สาระสำคัญ
กำหนดให้มีคณะกรรมการสถานพยาบาลซึ่งมีทั้งกรรมการโดยตำแหน่งและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง
ผู้ประกอบโรคศิลปะและผู้ประกอบวิชาชีพโดยคำแนะนำของสภาวิชาชีพ
ผู้ทรงคุณวุฒิอื่นซึ่งต้องมีผู้ดำเนินการสถานพยาบาลอย่างน้อยหนึ่งคน
สถานพยาบาลมี ๒ ประเภท
ถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน
สถานพยาบาลประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน
ผู้รับอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานพยาบาลนั้นและต้องแสดงรายละเอียด
ชื่อสถานพยาบาล
รายการเกี่ยวกับผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม การพยาบาล การผดุงครรภ์ ทันตกรรม เภสัชกรรม หรือผู้ประกอบโรคศิลปะซึ่งประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลนั้น
อัตราค่ารักษาพยาบาล ค่าบริการและสิทธิของผู้ป่วย ซึ่งผู้รับอนุญาตจะเรียกเก็บหรือยินยอมให้มีการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลหรือค่าบริการเกินอัตราที่ได้แสดงไว้มิได้และต้องให้บริการแก่ผู้ป่วยตามสิทธิที่ได้แสดงไว้
เพื่อให้การเป็นไปตามพ.ร.บ. นี้จึงกำหนดให้ผู้ดำเนินการมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่างๆ
ควบคุมดูแลมิให้ผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลประกอบวิชาชีพผิดไปจากสาขาที่ได้แจ้งไว้ในการขอรับใบอนุญาตหรือมิให้บุคคลอื่นซึ่งมิใช่ผู้ประกอบวิชาชีพทำการประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล
ควบคุมดูแลให้ผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมาย
ควบคุมดูแลมิให้มีการรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนเกินจำนวนเตียงตามที่กำหนด เว้นแต่กรณีฉุกเฉิน
กำหนดให้ผู้รับอนุญาตและผู้ดำเนินการมีหน้าที่และความรับผิดชอบร่วมกัน
จัดให้มีผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลตามวิชาชีพและจำนวนที่กำหนดตลอดเวลาทำการ
จัดให้มีเครื่องมือ เครื่องใช้ ยาและเวชภัณฑ์ที่จำเป็นประจำสถานพยาบาล
จัดให้มีและรายงานหลักฐานเกี่ยวกับผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลและผู้ป่วย ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘
โครงสร้างคณะกรรมการ
คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาต
คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร
คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด มีไม่น้อยกว่า 18 คน
หน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ
คณะทำงานประจำช่องทางเข้าออก
คณะกรรมการด้านวิชาการ
การเฝ้าระวังโรคติดต่อ
เจ้าบ้านหรือผู้ควบคุมดูแลบ้าน หรือแพทย์ผู้ท าการรักษาพยาบาลในกรณีที่พบผู้ที่เป็น หรือ มีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดต่อดังกล่าวเกิดขึ้นในบ้าน
ผู้รับผิดชอบในสถานพยาบาล ในกรณีที่พบผู้ที่เป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดต่อดังกล่าวเกิดขึ้นในสถานพยาบาล
ผู้ทำการชันสูตรหรือผู้รับผิดชอบในสถานที่ที่ได้มีการชันสูตร ในกรณีที่ได้มีการชันสูตรทางการแพทย์หรือทางการสัตว์แพทย์ตรวจพบว่าอาจมีเชื้ออันเป็นเหตุของโรคติดต่อดังกล่าว
เจ้าของ หรือผู้ควบคุมสถานประกอบการหรือสถานที่อื่นใด ในกรณีที่พบผู้ที่เป็นหรือมีเหตุ
อันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดต่อดังกล่าวเกิดขึ้นในสถานที่นั้น
การป้องกันและการควบคุมโรคติดต่อ
ให้ผู้ที่เป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาด หรือผู้ที่เป็นผู้สัมผัสโรคหรือพาหะ มารับการตรวจหรือรักษา หรือรับการชันสูตรทางการแพทย์ และเพื่อความปลอดภัยอาจด าเนินการโดยการแยกกัก กันกัน หรือคุมไว้สังเกต ณ สถานที่ซึ่งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อก าหนด จนกว่าจะได้รับการตรวจและชันสูตรทางการแพทย์ว่าพ้นระยะติดต่อของโรคหรือสิ้นสุดเหตุอันสงสัย
ให้ผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะติดโรคได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ตามวัน เวลา สถานที่ซึ่งเจ้าพนักงานโรคติดต่อก าหนด เพื่อมิให้โรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดแพร่ออกไป
ให้นำศพหรือซากสัตว์ซึ่งตายหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าตายด้วยโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดไปรับการตรวจ หรือจัดการทางแพทย
ให้เจ้าของ ผู้ครอบครอง หรือผู้พักอาศัยในบ้าน โรงเรือน สถานที่ หรือพาหนะที่มีโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดเกิดขึ้น กำจัดความติดโรคหรือทำลายสิ่งใดๆ ที่มีเชื้อโรคติดต่อหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีเชื้อ
โรคติดต่อ หรือแก้ไขปรับปรุงการสุขาภิบาลให้ถูกสุขลักษณะ เพื่อการควบคุมและป้องกันการแพร่โรค
ห้ามผู้ใดเข้าไปหรือออกจากที่เอกเทศ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ
เข้าไปในบ้าน โรงเรือน สถานที่ หรือพาหนะที่มีหรือสงสัยว่ามีโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดเกิดขึ้นเพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมมิให้มีการแพร่ของโรค
อำนาจของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ
หนังสือเรียกบุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยค าหรือแจ้งข้อเท็จจริงหรือท าค าชี้แจงเป็นหนังสือหรือให้ส่งเอกสาร หรือหลักฐานใดเพื่อตรวจสอบหรือเพื่อใช้ประกอบการพิจารณา
เข้าไปในพาหนะ อาคาร หรือสถานที่ใด ๆ ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกหรือในเวลาทำการของอาคารหรือสถานที่นั้นื่อตรวจสอบหรือควบคุมให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี และหากยังด าเนินการไม่แล้วเสร็จในเวลาดังกล่าวให้สามารถดำเนินการต่อไปได้จนกว่าจะแล้วเสร็จ
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522
มีสาระสำคัญดังนี้
กำหนดสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้บริโภคจะได้รับ โดยกฏหมายมาตรา ๔ ผู้บริโภคมีสิทธิได้รับความคุ้มครอง
สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณานาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ
สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าและบริการ
สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าและบริการ
สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมจากการทำสัญญา
สิทธิที่จะได้รับการพิจาณณาและชดเชยค่าเสียหาย
การแต่งตั้งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค โดยกฏหมาย มาตรา ๙ และ 10 ให้คณะกรรมการมีอำนาจและหน้าที่สำคัญ
พิจารณาเรื่องราวร้องทุกข์ จากผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย เนื่องจากการกระทำของผู้ประกอบธุรกิจ
ดำเนินการเกี่ยวกับสินค้า ที่อาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคและข่าวสารเกี่ยวกับการบริโภคที่ผู้บริโภคควรทราบ
ารกำหนดมาตราการในการคุ้มครองผู้บริโภค มีมาตราการการคุ้มครองผู้บริโภคที่สำคัญ
การคุ้มครองผู้บริโภคในด้านสัญญา มาตรา 35 ทวิ
ใช้ข้อสัญญาที่จำเป็นซึ่งหากมิได้ใช้ข้อสัญญาเช่นนั้นจะทำให้ผู้บริโภคเสีย
ห้ามใช้ข้อความที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค
พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. ๒๕๕๙
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้
ปรับปรุงบทบัญญัติเกี่ยวกับองค์ประกอบของคณะกรรมการวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท การขออนุญาตและการออกใบอนุญาตเกี่ยวกับวัตถุออกฤทธิ์ หน้าที่ของผู้รับอนุญาต หน้าที่ของเภสัชกร การโฆษณาและอ านาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่
ด่านตรวจสอบวัตถุออกฤทธิ์และการให้โอกาสแก่ผู้เสพ เสพและมีไว้ในครอบครอง เสพและมีไว้ในครอบครองเพื่อขาย หรือเสพและขายซึ่งวัตถุออกฤทธิ์
สาระสำคัญ
ระยะเวลาการใช้บังคับของพระราชบัญญัติ(มาตรา ๒)
โดยที่พระราชบัญญัติฉบับนี้จะมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นก าหนด ๑๘๐ วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษากล่าวคือ จะมีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๖๐ เป็นต้นไป
เนื้อหาสำคัญของพระราชบัญญัติ
กำหนดบทนิยามเพื่อให้สอดคล้องกับเนื้อหาในบทบัญญัติที่เกี่ยวข้อง และเพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายมีความชัดเจนตรงตามความมุ่งหมายของบทบัญญัตินั้น
เพิ่มบทบัญญัติการจัดแบ่งประเภทวัตถุออกฤทธิ์เพื่อให้ประชาชนทราบความแตกต่างของวัตถุออกฤทธิ์ในแต่ละประเภท เนื่องจากมีโทษทางอาญาร้ายแรงแตกต่างกัน
หมวด ๑ คณะกรรมการวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (มาตรา ๘ – มาตรา ๑๓)
กำหนดองค์ประกอบและอ านาจหน้าที่ของคณะกรรมการวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท โดยเพิ่มอธิบดีกรมการปกครอง อธิบดีกรมคุมประพฤติอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ นายกแพทยสภา และนายกสภา
เภสัชกรรม เพื่อให้องค์ประกอบของคณะกรรมการมีความเหมาะสมยิ่งขึ้น (มาตรา ๘)
ก าหนดเพิ่มระยะเวลาการด ารงต าแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเป็น ๓ ปี และเมื่อครบก าหนดตามวาระแล้ว หากยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ให้กรรมการนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินงานต่อไปจนกว่ากรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติหน้าที่ (มาตรา ๙)
หมวด ๒ การขออนุญาตและการออกใบอนุญาตเกี่ยวกับวัตถุออกฤทธิ์(มาตรา ๑๔ – มาตรา ๒๖)
หมวด ๓ หน้าที่ของผู้รับอนุญาต (มาตรา ๒๗ – มาตรา ๔๗)
หมวด ๔ หน้าที่ของเภสัชกร (มาตรา ๔๘ – มาตรา ๕๖)
การขออนุญาตและการออกใบอนุญาตผลิต ขาย นำเข้าหรือส่งออกวัตถุออกฤทธิ์ในแต่ละประเภทและหน้าที่ของผู้รับอนุญาตและเภสัชกร
หมวด ๕ วัตถุออกฤทธิ์ที่ห้ามผลิต ขาย น าเข้าหรือส่งออก (มาตรา ๕๗ – มาตรา ๖๑)
กำหนดห้ามการผลิต ขาย นำเข้าหรือส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ปลอม วัตถุออกฤทธิ์ผิดมาตรฐาน วัตถุออกฤทธิ์เสื่อมคุณภาพ วัตถุออกฤทธิ์ที่มิได้ขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับและวัตถุออกฤทธิ์ที่รัฐมนตรีสั่งเพิกถอนทะเบียนวัตถุต ารับ (หลักการตามกฎหมายเดิม) (มาตรา ๕๗ – มาตรา ๖๐)
กำหนดห้ามขายวัตถุออกฤทธิ์ในลักษณะยาชุดโดยจัดไว้ล่วงหน้า เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้บริโภค (กฎหมายเดิมไม่มีกำหนดไว้) (มาตรา ๖๑)
หมวด ๖ การขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับ (มาตรา ๖๒ – มาตรา ๖๙)
การรับขึ้นทะเบียนวัตถุต ารับ การแก้ไขรายการทะเบียนวัตถุต ารับ การไม่รับขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับ และการขอรับใบแทนใบส าคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับ เป็นอ านาจของผู้อนุญาต (มาตรา ๖๒ วรรคหนึ่ง มาตรา ๖๔ มาตรา ๖๕ และมาตรา ๖๙)
ผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้รับผิดชอบช าระค่าใช้จ่ายในการตรวจวิเคราะห์หรือประเมินเอกสารทางวิชาการ (กฎหมายเดิมไม่มีก าหนดไว้) (มาตรา ๖๒ วรรคสี่)
ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับมีอายุ ๕ ปีการขอต่ออายุใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับ ต้องยื่นคำขอก่อนใบสำคัญสิ้นอายุ (หลักการตามกฎหมายเดิม) (มาตรา ๖๗)
กำหนดกรณีการสั่งเพิกถอนทะเบียนวัตถุตำรับ (หลักการตามกฎหมายเดิม) (มาตรา ๖๘)
หมวด ๗ การโฆษณา (มาตรา ๗๐ – มาตรา ๗๓)
ห้ามโฆษณาวัตถุออกฤทธิ์ เว้นแต่ เป็นฉลากหรือเอกสารกำกับวัตถุออกฤทธิ์ซึ่งอยู่ที่ภาชนะหรือหีบห่อ หรือเป็นการโฆษณาที่กระทำโดยตรงต่อผู้ประกอบวิชาชีพซึ่งต้องได้รับอนุญาตก่อน (มาตรา ๗๐)
กำหนดเพิ่มบทบังคับกรณีฝ่าฝืนการโฆษณา ผู้ประกอบการสามารถใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทได้และกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการอุทธรณ์(กฎหมายเดิมไม่มีกำหนดไว้) (มาตรา ๗๑ – มาตรา ๗๓)
หมวด ๘ พนักงานเจ้าหน้าที่ (มาตรา ๗๔ – มาตรา ๗๘)
หมวด ๙ การพักใช้ใบอนุญาตและการเพิกถอนใบอนุญาต (มาตรา ๗๙ – มาตรา ๘๔)
กำหนดให้การสั่งพักใช้ใบอนุญาต การสั่งเพิกถอนใบอนุญาต และการยกเลิกการสั่งพักใช้ใบอนุญาตก่อนกำหนดเวลา ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ (มาตรา ๗๙ มาตรา ๘๐ และมาตรา ๘๒)
ขยายระยะเวลาการพักใช้ใบอนุญาตเป็นครั้งละไม่เกิน ๑๘๐ วัน (กฎหมายเดิมก าหนดไว้ครั้งละไม่เกิน ๑๒๐ วัน) ซึ่งสอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ (มาตรา ๗๙ วรรคหนึ่ง)
หมวด ๑๐ มาตรการควบคุมพิเศษ (มาตรา ๘๕ – มาตรา ๙๙)
กำหนดให้การมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ทุกประเภททั้งภาครัฐและภาคเอกชนต้องได้รับใบอนุญาต (มาตรา ๘๘)
กำหนดบทสันนิษฐานสำหรับฐานความผิดการมีไว้ในครอบครองเพื่อขาย ซึ่งจะนำไปสู่การลงโทษที่หนักขึ้น (มาตรา ๘๘ วรรคสาม)
กำหนดกรณียกเว้น ไม่ต้องขอรับใบอนุญาตไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์(มาตรา ๘๙)
หมวด ๑๑ การค้าระหว่างประเทศ (มาตรา ๑๐๐ – มาตรา ๑๑๔)
กำหนดให้การนำเข้าหรือส่งออกวัตถุออกฤทธิ์ทุกประเภท นอกจากจะได้รับใบอนุญาตผลิต ขาย นำเข้าหรือส่งออกแล้ว ผู้รับอนุญาตจะต้องได้รับใบอนุญาตเฉพาะคราวทุกครั้งที่นำเข้าหรือส่งออกด้วย (มาตรา ๑๐๐)
หมวด ๑๒ บทกำหนดโทษ (มาตรา ๑๑๕ – มาตรา ๑๖๔)
ปรับปรุงบทกำหนดโทษให้สอดคล้องกับเนื้อหาในพระราชบัญญัติและแก้ไขอัตราโทษให้เหมาะสม เช่น เพิ่มโทษปรับให้สูงขึ้นในกรณีการผลิต ขาย นำเข้า ส่งออก
กำหนดเพิ่มบทบัญญัติการบำบัดรักษาผู้ติดวัตถุออกฤทธิ์แบบระบบสมัครใจ โดยการเปิดโอกาสให้ผู้เสพ ๔ ฐานความผิด
พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550
คําแนะนําและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๕๐”
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้
“สุขภาพ”
“ปัญญา”
“ระบบสุขภาพ”
“บริการสาธารณสุข”
“บุคลากรด้านสาธารณสุข”
“ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุข”
“สมัชชาสุขภาพ”
“กรรมการ”
“คณะกรรมการสรรหา”
“เลขาธิการ”
“สํานักงาน”
“คณะกรรมการบริหาร”
“กรรมการบริหาร”
“หน่วยงานของรัฐ”
“รัฐมนตรี”
มาตรา ๔ ให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการตาม สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพระราชบัญญัติน้ี และให้มีอํานาจออกกฎกระทรวง เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้นเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้
หมวด ๑ สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ
มาตรา ๕ บุคคลมีสิทธิในการดํารงชีวิตในสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ
มาตรา ๖ สุขภาพของหญิงในด้านสุขภาพทางเพศและสุขภาพของระบบเจริญพันธ์ุ ซึ่งมีความจําเพาะ ซับซ้อนและมีอิทธิพลต่อสุขภาพหญิงตลอดช่วงชีวิต ต้องได้รับการสร้างเสริม และ คุ้มครองอย่างสอดคล้องและเหมาะสม
มาตรา ๗ ข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคล เป็นความลับส่วนบุคคล ผู้ใดจะนําไป เปิดเผยในประการท่ีน่าจะทําให้บุคคลนั้นเสียหายไม่ได้ เว้นแต่การเปิดเผยน้ันเป็นไปตามความประสงค์ของบุคคล นั้นโดยตรง
มาตรา ๘ ในการบริการสาธารณสุข บุคลากรด้านสาธารณสุขต้องแจ้งข้อมูลด้าน สุขภาพท่ีเกี่ยวข้องกับการให้บริการให้ผู้รับบริการทราบอย่างเพียงพอที่ผู้รับบริการจะใช้ประกอบการตัดสินใจในการรับ
มาตรา ๙ ในกรณีที่ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขประสงค์จะใช้ผู้รับบริการเป็น ส่วนหนึ่งของการทดลองในงานวิจัย ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขต้องแจ้งให้ผู้รับบริการทราบล่วงหน้า
มาตรา ๑๐ เม่ือมีกรณีท่ีจะมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนเกิดขึ้น หน่วยงาน ของรัฐที่มีข้อมูลเกี่ยวกับกรณีดังกล่าว ต้องเปิดเผยข้อมูลนั้นและวิธีป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพให้ประชาชนทราบและจัดหาข้อมูลให้โดยเร็ว
มาตรา ๑๑ บุคคลหรือคณะบุคคลมีสิทธิร้องขอให้มีการประเมินและมีสิทธิร่วมใน กระบวนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพจากนโยบายสาธารณะ
มาตรา ๑๒ บุคคลมีสิทธิทําหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขท่ีเป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน
หมวด ๒ คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
มาตรา ๑๓ ให้มีคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เรียกโดยย่อว่า “คสช.”
มาตรา ๑๔ กรรมการตามมาตรา ๑๓ (๖) (๗) (๘) (๙) และ (๑๐) ต้องมีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้าม
มาตรา ๑๕ การเลือกกรรมการตามมาตรา ๑๓ (๖) ให้ดําเนินการ
มาตรา ๑๘ การเลือกกรรมการตามมาตรา ๑๓ (๑๐) ให้คณะกรรมการสรรหา ดําเนินการดังต่อไป
มาตรา ๑๖ การเลือกกรรมการตามมาตรา ๑๓ (๘) ให้เป็นไปตามวิธีการที่ คณะกรรมการการประกอบโรคศิลปะตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะกําหนด
มาตรา ๑๙ ให้มีคณะกรรมการสรรหาคณะหนึ่ง ซึ่ง คสช. แต่งตั้ง
มาตรา ๑๗ การเลือกกรรมการตามมาตรา ๑๓ (๙) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการท่ีคณะกรรมการสรรหาประกาศกําหนด
มาตรา ๒๓ นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระ กรรมการตามมาตรา ๑๓ (๖) (๗) (๘) (๙) และ (๑๐) พ้นจากตําแหน่ง
มาตรา ๒๑ กรรมการตามมาตรา ๑๓ (๖) (๗) (๘) (๙) และ (๑๐) มีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละสี่ปี โดยกรรมการตามมาตรา ๑๓ (๗) (๘) (๙) และ (๑๐) จะดํารงตําแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันมิได้
มาตรา ๒๔ หลักเกณฑ์และวิธีการการประชุม คสช. และการปฏิบัติงานของ คสช. ให้เป็นไปตามระเบียบที่ คสช. กําหนด
มาตรา ๒๒ นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระ กรรมการตามมาตรา ๑๓ (๖)พ้นจากตําแหน่งเมื่อพ้นจากตําแหน่งตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๑๕ (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) แล้วแต่กรณี
มาตรา ๒๕ ให้ คสช. มีหน้าที่และอํานาจ
หมวด ๓ สํานักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
มาตรา ๒๖ ๒ ให้จัดตั้งสํานักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติขึ้นเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และไม่เป็น รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรือกฎหมายอื่น
มาตรา ๒๗ ให้สํานักงานมีหน้าที่และอํานาจ
มาตรา ๒๘ รายได้ของสำนักงาน
มาตรา ๒๖ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ.๒๕๕๓
มาตรา ๒๙ บรรดารายได้ของสํานักงานตามมาตรา ๒๘ ไม่เป็นรายได้ที่ต้องนําส่ง กระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
มาตรา ๓๐ การเก็บรักษาและการใช้จ่ายเงินของสํานักงานให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการบริหารกําหนด
มาตรา ๓๑ ให้มีเลขาธิการคนหนึ่งเป็นผู้รับผิดชอบการบริหารงานของสํานักงานขึ้น
ตรงต่อ คสช. มีหน้าที่ควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งงานของสํานักงาน และเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงาน
มาตรา ๓๒ ให้เลขาธิการมีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละสี่ปี และอาจได้รับแต่งต้ังอีกได้แต่จะดํารงตําแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันมิได้
มาตรา ๓๓ นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระแล้ว เลขาธิการพ้นจากตําแหน่ง
มาตรา ๓๔ เลขาธิการมีหน้าท่ีและอํานาจ
มาตรา ๓๕ เงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนอื่นของเลขาธิการให้คณะ
กรรมการบริหารกําหนดตามหลักเกณฑ์ท่ีคณะรัฐมนตรีกําหนด
มาตรา ๓๖ ให้เลขาธิการเป็นผู้แทนของสํานักงานในกิจการของสํานักงานที่ เก่ียวข้องกับบุคคลภายนอก แต่เลขาธิการจะมอบหมายให้บุคคลใดปฏิบัติงานในเรื่องใดแทนตามระเบียบที่คณะกรรมการบริหารกําหนดก็ได้
มาตรา ๓๗ ให้ คสช. แต่งต้ังคณะกรรมการบริหาร
มาตรา ๓๘ การดํารงตําแหน่ง การพ้นจากตําแหน่ง การประชุมและการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริหาร ให้เป็นไปตามระเบียบท่ี คสช. กําหนด
มาตรา ๓๙ คณะกรรมการบริหารมีหน้าที่และอํานาจ
หมวด ๔ สมัชชาสุขภาพ
มาตรา ๔๒ ในการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ให้ คสช. แต่งต้ังคณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติคณะหนึ่งมีจํานวนตามที่ คสช.
มาตรา ๔๓ ให้คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ มีหน้าที่ในการจัดการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ กําหนดวัน เวลาและสถานที่ในการประชุม ซึ่งต้องประกาศให้ประชาชนทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนวันประชุม
มาตรา ๔๑ ให้ คสช. จัดให้มีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติอย่างน้อยปีละหน่ึงครั้ง
มาตรา ๔๔ ผู้ใดประสงค์จะเข้าร่วมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติในการประชุมครั้งใด
มาตรา ๔๐ การจัดสมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่ หรือสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น
มาตรา ๔๕ ในกรณีที่สมัชชาสุขภาพแห่งชาติมีข้อเสนอให้หน่วยงานของรัฐนําไปปฏิบัติ
หมวด ๕ ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ
มาตรา ๔๗ ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ต้องสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และอย่างน้อยต้องมีสาระสําคัญ
มาตรา ๔๘ ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ และนโยบายและยุทธศาสตร์
ด้านสุขภาพตามมาตรา ๒๕ (๒) ที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว ให้ผูกพันหน่วยงานของรัฐและ หน่วยงานอ่ืนที่เกี่ยวข้องที่จะต้องดําเนินการต่อไปตามอํานาจหน้าที่ของตน
มาตรา ๔๖ ให้ คสช. จัดทําธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติเพื่อใช้เป็นกรอบและแนวทางในการกําหนดนโยบาย
หมวด ๖ บทกําหนดโทษ
มาตรา ๕๒ ให้ถือว่าข้าราชการท่ีโอนมาตามมาตรา ๕๐ ออกจากราชการเพราะทาง
ราชการเลิกหรือยุบตําแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการหรือกฎหมายว่าด้วยกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ แล้วแต่กรณี
มาตรา ๕๓ ให้นําความในมาตรา ๕๒ มาใช้บังคับกับการออกจากราชการ
มาตรา ๕๑ ให้นําบรรดาข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ หรือคําสั่งที่เกี่ยวข้อง
มาตรา ๕๔ ให้ผู้ปฏิบัติหน้าท่ีผู้อํานวยการสํานักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติอยู่ในวันท่ีพระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้งเลขาธิการตามพระราชบัญญัติน้ี
มาตรา ๕๐ ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หน้ีสิน และเงินงบประมาณของ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขในส่วนของสํานักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ ไปเป็นของสํานักงานตามพระราชบัญญัติ
มาตรา ๕๕ ในวาระเริ่มแรก ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการสรรหา ตาม มาตรา ๑๙ ให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวัน นับแต่วันท่ีพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ตามหลักเกณฑ์
มาตรา ๔๙ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๗ หรือมาตรา ๙ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือท้ังจําทั้งปรับ
พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545
หลักการและเหตุผล
ให้ชนชาวไทยย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน
ผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายบัญญัติ
มาตรา ๘๒ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้บัญญัติให้รัฐต้องจัดและส่งเสริมการสาธารณสุขให้ประชาชนได้รับบริการที่ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง
พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ เกี่ยวข้องกับสิทธิและเสรีภาพในมาตราใดของรัฐธรรมนูญ
มาตรา ๒๙ การจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามรัฐธรรมนูญ
มาตรา ๓๕ เสรีภาพในเคหสถาน
มาตรา ๔๘ สิทธิในทรัพย์สิน
มาตรา ๕๒ สิทธิเสมอกันในการได้รับบริการทางสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน
สาระสำคัญของกฎหมาย
รับรองสิทธิได้รับการบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพตามที่พระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนด
กำหนดให้มีคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่ กำหนดมาตรฐานการให้บริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ และเครือข่ายหน่วยบริการ และกำหนดมาตรการในการดำเนินงานเกี่ยวกับหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้มีประสิทธิภาพ กำหนดหลักเกณฑ์การให้บริการสาธารณสุข ตามที่พระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนด
กำหนดให้มีสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ รับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการ คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐาน คณะอนุกรรมการของคณะกรรมการดังกล่าว และคณะกรรมการสอบสวน ทั้งมีหน้าที่รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานการบริการสาธารณสุข จ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขตามที่คณะกรรมการกำหนด และกำกับดูแลหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการในการให้บริการสาธารณสุขให้เป็นไปตามมาตรฐานที่คณะกรรมการกำหนด
กำหนดให้จัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย สนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ
กำหนดให้มีคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข มีอำนาจหน้าที่ควบคุมคุณภาพและมาตรฐานหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการ ตามที่กฎหมายกำหนด และมีอำนาจสั่งให้หน่วยบริการที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานการให้บริการสาธารณสุขที่กำหนด ชำระค่าปรับทางปกครอง