Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 พระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิภาพ และสุขภาพของประชาชน,…
บทที่ 5 พระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิภาพ และสุขภาพของประชาชน
พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510
4.ส่งเสริมการพนัน มอมเมาประชาชนและผู้บริโภค ร่าง พ.ร.บ.ยา มาตรา 139 (10) และวรรคสอง อนุญาตให้บริษัทยา หรือธุรกิจเกี่ยวข้องสามารถโฆษณากิจกรรมชิงรางวัล ออกรางวัลหรือวิธีการอื่นใดในทำนองเดียวกันได้ เสมือนผู้ร่างกฎหมายสวมวิญญาณศรีธนญชัย เลี่ยงใช้คำว่า “โฆษณาวัตถุ” เช่น จัดกิจกรรมส่งเสริมการขายที่ไม่ใช่การโฆษณายา กำหนดเงื่อนไขให้ผู้ซื้อผลิตภัณฑ์ยา หรือประชาชนทั่วไปได้สิทธิชิงโชคเงินสด ทองคำ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ ฯลฯ
5.เปิดโอกาสให้เภสัชกรไม่ต้องอยู่ประจำร้าน ประชาชนหรือผู้ป่วยที่ซื้อยาในร้านยาอาจไม่ได้รับความปลอดภัยจากการใช้ยาเพิ่มมากขึ้น เพราะเปิดโอกาสให้เภสัชกรไม่ต้องอยู่ประจำร้านยาตลอดเวลา ทำให้ปัญหาการแขวนป้ายรุนแรงเพิ่มยิ่งขึ้น ข้อสำคัญคือจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพผู้ป่วยหรือผู้ใช้ยา หากมีข้อผิดพลาดในการจ่ายยาขึ้น กฎหมายยาปัจจุบันจะกำหนดให้ร้านขายยาแผนปัจจุบันที่มียาอันตรายจำหน่าย (ขย.1) กำหนดให้ต้องมีเภสัชกรประจำตลอดเวลาทำการ
3.ไม่มีหลักเกณฑ์การทบทวนตำรับยาอันตราย หรือยาที่มีข้อมูลหลักฐานในต่างประเทศว่ามีอันตรายหรือมีความเสี่ยงต่อผู้ใช้ยา อีกทั้งยังไม่มีมาตรการระงับการขายยาชั่วคราว หากพบว่าผู้ใช้ยาได้รับอันตรายจากการใช้ยาดังกล่าว
6.ไม่มีโทษทางปกครอง กฎหมายยาในประเทศพัฒนาแล้วจะมีการลงโทษทางแพ่งหรือโทษปรับทางปกครอง เช่น กฎหมายยาของสหรัฐ ฉะนั้น ร่าง พ.ร.บ.ยา จึงควรมีโทษทางปกครอง เพื่อระงับเหตุที่กระทำผิดเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคอย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพดีกว่าโทษอาญา เช่น การตำหนิโดยเปิดเผยต่อสาธารณชน จำกัดการประกอบการ เพิกถอนใบอนุญาต ปรับทางปกครอง
2.ไม่มีมาตรการควบคุมราคายา ร่าง พ.ร.บ.ยา มิได้กำหนดให้ต้องยื่นโครงสร้างราคายาเมื่อขอขึ้นทะเบียนตำรับยา บริษัทยายังสามารถกำหนดราคายา โรงพยาบาลเอกชนบางแห่งเรียกเก็บค่ายาสูงกว่าราคาต้นทุนหลายเท่า เป็นการเอารัดเอาเปรียบประชาชน ยังไม่มีกฎหมาย เครื่องมือหรือหน่วยงานของรัฐที่จะตรวจสอบในเรื่องนี้ แม้ว่ายารักษาโรคจะเป็นสินค้าควบคุมตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 แต่กลับไม่มีมาตรการควบคุมราคายาแต่อย่างใด จึงต้องอาศัย พ.ร.บ.ยา ในการแก้ปัญหานี้ การควบคุมราคายาในต่างประเทศมีวิธีการที่แตกต่างกัน เช่น ในออสเตรเลียยาที่อยู่ในระบบประกันสุขภาพที่รัฐบาลจะอุดหนุนราคายาให้แก่ผู้ป่วยที่ต้องใช้ยา มีเงื่อนไขสำคัญคือ บริษัทยามีหน้าที่ต้องเปิดเผยข้อมูลราคายาตามกฎหมายชื่อ National Health Act 1953
7.ข้อถกเถียงประเด็นพยาบาลสามารถจ่ายยาเพื่อรักษาคนไข้ได้หรือไม่ คณะกรรมการกฤษฎีกาเคยมีความเห็นในเรื่องนี้ (เรื่องเสร็จที่ 520/2555) ตามที่ได้มีข้อหารือของกระทรวงสาธารณสุข สรุปคือ กรณีมีการรักษาโรคเบื้องต้นแล้ว หากจำเป็นต้องใช้ยาในการบำบัดโรคแก่คนไข้ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้นหนึ่ง หรือผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง สามารถทำการรักษาโรคเบื้องต้น และการให้ภูมิคุ้มกันโรคในสถานพยาบาลได้ตามคู่มือการใช้ยาที่สภาการพยาบาลกำหนดตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการประกอบวิชาชีพการพยาบาลตามข้อกำหนดในการรักษาโรคเบื้องต้นและการให้ภูมิคุ้มกันโรค พ.ศ. 2545 ได้เท่าที่ไม่ขัดกับ พ.ร.บ.ยา 2510
1.เปิดช่องให้มีการโฆษณายาเพียงขอจดแจ้งโฆษณาเท่านั้น จนอาจนำไปสู่การโฆษณายาที่ไม่เหมาะสม ทำให้มีการใช้ยาอย่างพร่ำเพรื่อส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างมาก โดยเฉพาะปัญหาการดื้อยา อีกทั้งยังขาดมาตรการควบคุมการโฆษณายาทางอินเทอร์เน็ตหรือสื่อสังคมออนไลน์ที่ชัดเจน แต่ พ.ร.บ.ยา 2510 บัญญัติให้การโฆษณายาต้องขออนุญาตทุกกรณี
พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558
มาตรา ๑๕ ใบรับจดแจ้งให้มีอายุ สามปี นับแต่วันที่ออกใบรับจดแจ้ง
ในกรณีที่ผู้จดแจ้งประสงค์จะขอต่ออายุใบรับจดแจ้ง ให้ยื่นคำขอก่อนวันที่ใบรับจดแจ้งสิ้นอายุเมื่อได้ยื่นคำขอและชำระค่าธรรมเนียมการต่ออายุพร้อมกับการยื่นคำขอแล้ว ให้ใบรับจดแจ้งนั้นใช้ได้ต่อไปจนกว่าผู้รับจดแจ้งจะสั่งไม่ให้ต่ออายุใบรับจดแจ้งนั้น
การออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง จะกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมให้แตกต่างกันโดยคำนึงถึงชนิดของเครื่องสำอาง ขนาดและกิจการของผู้ประกอบการ และประเภทของการแก้ไขเปลี่ยนแปลงก็ได้
การขอต่ออายุใบรับจดแจ้ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้ยกเว้นค่าธรรมเนียม และกำหนดกิจการอื่น กับออกระเบียบหรือประกาศ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
ผู้จดแจ้งซึ่งใบรับจดแจ้งของตนสิ้นอายุไม่เกินหนึ่งเดือน จะยื่นคำขอต่ออายุและขอผ่อนผันโดยแสดงเหตุผลในการที่มิได้ยื่นคำขอต่ออายุภายในกำหนด พร้อมทั้งชำระค่าธรรมเนียมการต่ออายุก็ได้แต่การขอผ่อนผันไม่เป็นเหตุให้พ้นผิดตามมาตรา ๖๔
พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550
ต่อมา ในปี พ.ศ. 2550 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้เห็นชอบให้ผ่าน พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ ออกมาใช้เป็นกฎหมายได้อย่างเป็นทางการ
พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 จึงกลายมาเป็น “เครื่องมือใหม่” อีกชิ้นหนึ่งของสังคมไทย ที่จัดให้มีกลไกเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายในสังคมมาทำงานเรื่องสุขภาพด้วยกัน ด้วยรูปแบบและวิธีการที่หลากหลาย
กระบวนการจัดทำ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ ใช้การทำงานทางวิชาการเป็นฐาน เชื่อมโยงเข้ากับการเคลื่อนไหวให้สังคมเข้ามามีส่วนร่วมคิดเห็นและเสนอแนะอย่างกว้างขวาง มีประชาชนทั่วประเทศเข้าร่วมกระบวนการยกร่าง พ.ร.บ.สุขภาพ เป็นเรือนแสน มีการรณรงค์เชิญชวนประชาชนลงชื่อสนับสนุนร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้กว่า 4.7 ล้านคน ผ่าน โครงการรณรงค์รวมพลังสร้างสุขภาพตามรอยพระยุคลบาท เมื่อปี พ.ศ.2545 และมีประชาชนรวมตัวกันเข้าชื่อเสนอร่าง พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติในนามภาคประชาชนตามช่องทางของรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2540 กว่า ๑ แสนคน เมื่อปี พ.ศ.2547
ต่อมาปี พ.ศ. 2543 รัฐบาลได้ออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ ตั้งคณะกรรมการปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ (คปรส.) มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ตั้งสำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ (สปรส.) ขึ้นภายใต้สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานเลขานุการ ผลักดันการปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ โดยการจัดทำ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ ให้เป็นกฎหมายแม่บทด้านสุขภาพของสังคมไทย
เมื่อปี พ.ศ. 2542 คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภาได้จัดทำ “รายงานระบบสุขภาพประชาชาติ ข้อเสนอการปฏิรูประบบสุขภาพสืบเนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540” ขึ้นเพื่อหวังให้เป็นแนวทางการปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ โดยมี ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย เป็นประธานจัดทำข้อเสนอ ถือกันว่า นี่เป็นครั้งแรกที่ คำว่า “ระบบสุขภาพ” (Health Systems) ถูกใช้อย่างเป็นทางการ เพื่อให้ความหมายที่ครอบคลุมกว้างกว่าระบบสาธารณสุข (Public Health Systems) ที่ใช้กันมาแต่เดิม
พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2559
พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ. ๒๕๕๙ แบ่งเป็น๑๒หมวด
หมวด๑คณะกรรมการวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท(มาตรา ๘ –มาตรา ๑๓)
หมวด๒การขออนุญาตและการออกใบอนุญาตเกี่ยวกับวัตถุออกฤทธิ์(มาตรา ๑๔ –มาตรา ๒๖)
หมวด๓หน้าที่ของผู้รับอนุญาต(มาตรา ๒๗–มาตรา ๔๗)
หมวด๔หน้าที่ของเภสัชกร(มาตรา ๔๘ –มาตรา ๕๖)
หมวด๕วัตถุออกฤทธิ์ที่ห้ามผลิต ขาย น าเข้าหรือส่งออก(มาตรา ๕๗–มาตรา ๖๑)
หมวด๖การขึ้นทะเบียนวัตถุต ารับ(มาตรา ๖๒–มาตรา ๖๙)
หมวด๗การโฆษณา(มาตรา ๗๐ –มาตรา ๗๓)
หมวด๘พนักงานเจ้าหน้าที่(มาตรา ๗๔–มาตรา ๗๘
หมวด๙การพักใช้ใบอนุญาตและการเพิกถอนใบอนุญาต(มาตรา ๗๙ –มาตรา ๘๔)
หมวด๑๐มาตรการควบคุมพิเศษ(มาตรา ๘๕ –มาตรา ๙๙)
หมวด๑๑การค้าระหว่างประเทศ(มาตรา ๑๐๐ –มาตรา ๑๑๔)
หมวด ๑๒ บทกำหนดโทษ(มาตรา ๑๑๕ –มาตรา ๑๖๔)
เพิ่มบทบัญญัติการจัดแบ่งประเภทวัตถุออกฤทธิ์เพื่อให้ประชาชนทราบความแตกต่างของวัตถุออกฤทธิ์ในแต่ละประเภท เนื่องจากมีโทษทางอาญาร้ายแรงแตกต่างกัน(กฎหมายเดิมไม่มีกำหนดไว้)(มาตรา ๗)
กำหนดบทนิยามเพื่อให้สอดคล้องกับเนื้อหาในบทบัญญัติที่เกี่ยวข้อง และเพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายมีความชัดเจนตรงตามความมุ่งหมายของบทบัญญัตินั้นเช่น “ผู้อนุญาต” เพิ่มการอนุญาตให้ขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒ ในจังหวัดที่อยู่ในเขตอ านาจด้วย(มาตรา ๔)
พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ. ๒๕๕๙ ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่๑๓๓ตอนที่๑๐๗กเมื่อวันที่๒๐ธันวาคม๒๕๕๙
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2552
สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับสินค้าหรือบริการที่ปลอดภัย มีสภาพและคุณภาพได้มาตรฐานเหมาะสมแก่การใช้ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกายหรือทรัพย์สิน ในกรณีใช้ตามคำแนะนำหรือระมัดระวังตามสภาพของสินค้าหรือบริการนั้นแล้ว
สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับข้อสัญญาโดยไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบธุรกิจ
สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะเลือกซื้อสินค้าหรือรับบริการโดยความ สมัครใจของผู้บริโภค และปราศจากการชักจูงใจอันไม่เป็นธรรม
สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองและชดใช้ค่าเสียหาย เมื่อมีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคตามข้อ 1, 2, 3 และ 4 ดังกล่าว
สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่ จะได้รับการโฆษณาหรือการแสดงฉลากตามความเป็นจริงและปราศจากพิษภัยแก่ผู้บริโภค รวมตลอดถึงสิทธิที่จะได้รับทราบ ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการอย่างถูกต้องและเพียงพอที่จะไม่หลงผิด ในการซื้อสินค้าหรือรับบริการโดยไม่เป็นธรรม
พระราชบัญญัติ สถานพยาบาล พ.ศ. 2541
สถานพยาบาลประเภทที่ที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน
สถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน
หมายถึง สถานพยาบาลที่ไม่ได้รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนในสถานพยาบาลของตน กล่าวคือ ผู้ป่วยจะมารับบริการจากผู้ประกอบวิชาชีพ เช่น มารับการตรวจสุขภาพและได้รับยาไปรับประทานที่บ้าน แต่จะไม่ได้มานอนพักรักษาตัว หรือมีคนเฝ้าดูแลในแต่ละเวร เหมือนกับสถานพยาบาลที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน สถานพยาบาลดังกล่าวนี้ ได้แก่ คลินิคแพทย์ ที่เปิดทำการทั่วไป อย่างไรก็ดี กฎหมายได้กำหนดไว้ ในกฎกระทรวง ว่าด้วยวิชาชีพและจำนวนผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล พ.ศ. 2545 ในคลินิกเวชกรรมนั้น จะต้องมีผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม จำนวนหนึ่งคน ส่วนคลินิกเวชกรรมเฉพาะทางนั้นต้องมีผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ได้รับวุฒิบัตรหรือหนังสืออนุมัติแพทยสภาในสาขานั้น ตามสาขาที่ได้รับวุฒิบัตรหรือที่ได้รับอนุมัติแล้วแต่กรณี สาขาละหนึ่งคน หากเป็นคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ต้องมีผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง จำนวนหนึ่งคน
การประกอบกิจการสถานพยาบาลและการดำเนินการสถานพยาบาล
ต้องมีการขออนุญาตตั้งและขออนุญาตดำเนินการ และต้องได้รับใบอนุญาตทั้งสองอย่างเสียก่อน มิฉะนั้นมีโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
กฎหมายกำหนดคุณสมบัติของผู้ขอตั้งและกำหนดลักษณะของสถานพยาบาลทั้งสองประเภท
กฎหมายกำหนดให้สถานพยาบาลต้องมีเครื่องใช้อย่างเพียงพอ ให้มีผู้ดำเนินการซึ่งเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะและมีผู้ประกอบโรคศิลปะ ประจำสถานพยาบาล
กฎหมายกำหนดหน้าที่ของผู้รับอนุญาต(ผู้ขอตั้ง) และดำเนินการไว้
กฎหมายกำหนดเรื่องการโฆษณาสถานพยาบาลไว้ โดยห้ามโฆษณาหรือยินยอมให้ผู้อื่นโฆษณาไปในทางโอ้อวดหรือเป็นเชิงชักชวนให้มารับการรักษาพยาบาโดยผู้รับอนุญาตหรือผู้ดำเนินการเป็นผู้รับผิดชอบ
กฎหมายได้กำหนด เรื่องการเปลี่ยนแปลงผู้ประกอบโรคศิลปะ ผู้ดำเนินการและผู้รับอนุญาตตลอดจนการเปลี่ยนแปลงต่อเติมสถานพยาบาลและการเลิกสถานพยาบาล
กฎหมายได้กำหนดอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่และมาตรการในการสั่งปิดและเพิกถอนใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาล
กฎหมายกำหนดโทษทางอาญา แก่ผู้รับอนุญาต ผู้ดำเนินการหรือผู้อื่นในการกระทำผิดในกรณีต่างๆอันฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินี้
สถานพยาบาล ตามมาตรา 4 ของพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 บัญญัติไว้ว่า “ สถานที่รวมตลอดถึงยานพาหนะซึ่งจัดไว้เพื่อการประกอบโรคศิลปะตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ การประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเวชกรรม การประกอบวิชาชีพการพยาบาล และการผดุงครรภ์ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ หรือการประกอบวิชาชีพทันตกรรมตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพทันตกรรม การประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัดตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพกายภาพบำบัด หรือการประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ ทั้งนี้ โดยกระทำเป็นปกติธุระ ไม่ว่าจะได้รับประโยชน์ตอบแทนหรือไม่ แต่ไม่รวมถึงสถานที่ขายยาตามกฎหมายว่าด้วยยา ซึ่งประกอบธุรกิจการขายยาโดยเฉพาะ”
ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการ
อายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย
ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
ไม่เป็นโรคตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา
ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
ในกรณีนิติบุคคลเป็นผู้ขอรับอนุญาต ผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้นต้องคุณสมบัติข้างต้น
ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินการ
เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ หรือผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม แต่บุคคลเช่นว่านั้นจะได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินการตามประเภทใด หรือสถานพยาบาลที่ให้บริการทางการแพทย์ใดให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ไม่เป็นผู้ดำเนินการสองแห่ง ในกรณีเป็นผู้ดำเนินการประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน
เป็นผู้ที่สามารถควบคุมดูแลกิจการสถานพยาบาลได้โดยใกล้ชิด
พระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. ๒๕๕๑
(มาตรา ๒๐ การวิจัยใดๆ ที่กระทำต่อผู้ป่วยจะกระทำได้ ต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้ป่วย และต้องผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการที่ดำเนินการเกี่ยวกับจริยธรรมการวิจัยในคนด้วย และความยินยอมนี้ผู้ป่วยจะยกเลิกเมื่อใดก็ได้ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอายุไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์ หรือขาดความสามารถในการตัดสินใจให้ความยินยอมรับการบำบัดรักษา เช่น ผู้ป่วยที่มีอาการทางจิต หรือผู้บกพร่องทางพัฒนาการหรือสติปัญญา ให้คู่สมรส บุพการี ผู้สืบสันดาน ผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์ ผู้อนุบาล เป็นผู้ให้ความยินยอมแทน)
มาตรา ๑๖ ห้ามมิให้ผู้ใดเปิดเผยข้อมูลด้านสุขภาพของผู้ป่วยในประการที่น่าจะทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ป่วย เว้นแต่
๑) ในกรณีที่อาจเกิดอันตรายต่อผู้ป่วยอื่น
๒) เพื่อความปลอดภัยของสาธารณชน
๓) มีกฎหมายเฉพาะบัญญัติให้ต้องเปิดเผย
ประโยชน์ที่ผู้ป่วยทางจิตเวชหรือผู้บกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญาจะได้รับจากพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ.๒๕๕๑ นี้ คือ ผู้ป่วยทางจิตเวชหรือผู้บกพร่องฯ ซึ่งอยู่ในสภาวะที่ขาดความสามารถในการตัดสินใจให้ความยินยอมรับการบำบัดรักษา จะได้รับการบำบัดรักษาโดยเร็วเพื่อป้องกันหรือบรรเทามิให้ความผิดปกติทางจิตมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น หรือเพื่อป้องกันการกระทำที่เกิดจากอาการทางจิตที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อตัวผู้ป่วยเอง เช่นการทำร้ายตนเอง หรือการฆ่าตัวตาย
มาตรา ๑๗ การบำบัดรักษาโดยการผูกมัดร่างกาย การกักบริเวณ หรือแยกผู้ป่วยจะกระทำไม่ได้ เว้นแต่เป็นความจำเป็นเพื่อป้องกันการเกิดอันตรายต่อผู้ป่วยเอง บุคคลอื่น หรือทรัพย์สินของผู้อื่นโดยต้องอยู่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของผู้บำบัดรักษาตามมาตรฐานวิชาชีพ
พระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. ๒๕๕๑ มีสาระสำคัญคือ การนำบุคคลที่มีภาวะอันตรายหรือมีความจำเป็นต้องได้รับการบำบัดรักษาให้ได้รับการบำบัดรักษา ภาวะอันตรายที่กล่าวถึงคือ อันตรายที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติทางจิต ที่แสดงออกมาทางพฤติกรรม อารมณ์ ความคิดหลงผิดหรือพฤติกรรมที่เป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินของตนเองหรือผู้อื่น เช่น เมื่อมีผู้ป่วยทางจิตมีพฤติกรรมอาละวาด ทำร้ายคนรอบข้าง ผู้ที่พบเห็นสามารถแจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ให้ดำเนินการพาบุคคลนั้นไปยังโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลของรัฐ หรือสถานบำบัด เพื่อให้บุคคลผู้นั้นได้เข้ารับการรักษาอาการทางจิต หรือพฤติกรรมผิดปกตินั้นในโรงพยาบาล แม้ว่าผู้ป่วยจะไม่ยินยอมเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลก็ตาม กล่าวโดยสรุปคือ พระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. ๒๕๕๑ เน้นการบังคับรักษาผู้ป่วยทางจิต แม้ผู้ป่วยจะไม่ยินยอม ถือเป็นการให้ความคุ้มครองเจ้าพนักงานตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลที่เอาตัวผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล โดยไม่ถือว่าเป็นการกักขังหน่วงเหนี่ยวแต่อย่างใด
มาตรา ๑๘ : สาระสำคัญ
การรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้า (Electroconvulsive Therapy, ECT) ให้กระทำได้ในกรณีที่ผู้ป่วยให้ความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร และต้องรับทราบถึงเหตุผลความจำเป็น ความเสี่ยง ภาวะแทรกซ้อน ประโยชน์ของการบำบัด แต่ในกรณีมีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็น การรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้าต้องได้รับความเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ของคณะกรรมการสถานบำบัดรักษา ส่วนการให้ความยินยอมเพื่อรับการรักษา ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอายุไม่ถึง ๑๘ ปีบริบูรณ์ หรือขาดความสามารถในการตัดสินใจให้ความยินยอมรับการบำบัดรักษา เช่น ผู้ป่วยที่มีอาการทางจิต หรือผู้บกพร่องทางพัฒนาการหรือสติปัญญา ให้คู่สมรส บุพการี ผู้สืบสันดาน ผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์ ผู้อนุบาล เป็นผู้ให้ความยินยอมแทน
มาตรา ๑๙ : สาระสำคัญ
การทำหมัน การทำหมันจะทำไม่ได้ เว้นแต่ผู้ป่วยให้ความยินยอมเป็นหนังสือเพื่อการบำบัดรักษา หรือในกรณีที่ผู้ป่วยมีอายุไม่ถึง ๑๘ ปีบริบูรณ์ หรือขาดความสามารถในการตัดสินใจให้ความยินยอมรับการบำบัดรักษา เช่น ผู้ป่วยที่มีอาการทางจิต หรือผู้บกพร่องทางพัฒนาการหรือสติปัญญา ให้คู่สมรส บุพการี ผู้สืบสันดาน ผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์ ผู้อนุบาล เป็นผู้ให้ความยินยอมแทน
มาตรา ๑๕ ผู้ป่วยย่อมมีสิทธิดังต่อไปนี้
๑) ได้รับการบำบัดรักษาตามมาตรฐานทางการแพทย์โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
๒) ได้รับการปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยและการบำบัดรักษาไว้เป็นความลับ เว้นแต่มีกฎหมายบัญญัติให้เปิดเผยได้
๓) ได้รับความคุ้มครองจากการวิจัย ตามมาตรา ๒๐
มาตรา ๒๓ ผู้ใดพบบุคคลซึ่งมีพฤติการณ์ที่น่าเชื่อว่าบุคคลนั้นมีความผิดปกติทางจิต คือมีภาวะอันตรายหรือ มีความจำเป็นต้องได้รับการบำบัดรักษา ให้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือตำรวจโดยเร็ว
มาตรา ๓๑ ในระหว่างการบำบัดรักษา เมื่อแพทย์ผู้บำบัดรักษาเห็นว่า ผู้ป่วยได้รับการบำบัดรักษาจนความผิดปกติทางจิตหายหรือทุเลาและผู้ป่วยไม่มีภาวะอันตรายแล้ว ให้แพทย์จำหน่ายผู้ป่วยดังกล่าวออกจากสถานพยาบาล และรายงานผลการรักษาบำบัดรักษาและการจำหน่ายผู้ป่วยให้คณะกรรมการสถานบำบัดรักษาทราบโดยไม่ช้า ทั้งนี้ ให้แพทย์ติดตามผลการบำบัดรักษาเป็นระยะ
มาตรา ๓๓ ในกรณีที่ผู้ป่วยหลบหนีออกนอกเขต สถานพยาบาลของรัฐหรือสถานบำบัดรักษา ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประสานงานกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจและญาติเพื่อติดตามบุคคลนั้นกลับมาที่สถานพยาบาลของรัฐหรือสถานบำบัดรักษา ทั้งนี้มิให้นับระยะเวลาที่บุคคลนั้นหลบหนีเข้าในกำหนดระยะเวลาตามมาตรา ๒๗ มาตรา ๒๙ หรือมาตรา ๓๐ แล้วแต่กรณี
พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕
สิทธิและเสรีภาพในมาตราใดของรัฐธรรมนูญ ซึ่งได้แก่
มาตรา ๒๙ การจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามรัฐธรรมนูญ
มาตรา ๓๕ เสรีภาพในเคหสถาน
มาตรา ๔๘ สิทธิในทรัพย์สิน
มาตรา ๕๒ สิทธิเสมอกันในการได้รับบริการทางสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน
๓. สาระสำคัญของกฎหมาย
๓.๑. รับรองสิทธิได้รับการบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพตามที่พระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนด
๓.๒. กำหนดให้มีคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่ กำหนดมาตรฐานการให้บริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ และเครือข่ายหน่วยบริการ และกำหนดมาตรการในการดำเนินงานเกี่ยวกับหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้มีประสิทธิภาพ กำหนดหลักเกณฑ์การให้บริการสาธารณสุข ตามที่พระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนด
๓.๓. กำหนดให้มีสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ รับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการ คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐาน คณะอนุกรรมการของคณะกรรมการดังกล่าว และคณะกรรมการสอบสวน ทั้งมีหน้าที่รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานการบริการสาธารณสุข จ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขตามที่คณะกรรมการกำหนด และกำกับดูแลหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการในการให้บริการสาธารณสุขให้เป็นไปตามมาตรฐานที่คณะกรรมการกำหนด
๓.๔. กำหนดให้จัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย สนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ
๓.๕. กำหนดให้มีคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข มีอำนาจหน้าที่ควบคุมคุณภาพและมาตรฐานหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการ ตามที่กฎหมายกำหนด และมีอำนาจสั่งให้หน่วยบริการที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานการให้บริการสาธารณสุขที่กำหนด ชำระค่าปรับทางปกครอง
การวิเคราะห์กฎหมาย
พระราชบัญญัตินี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินการให้เป็นไปตาม มาตรา ๕๒ ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งรับรองสิทธิของบุคคลให้มีสิทธิเสมอกันในการรับบริการสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน และให้ผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายบัญญัติ นอกจากนี้ยังเป็นไปตามมาตรา ๘๒ ของรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยแนวนโยบายพื้นฐานของรัฐ ซึ่งได้บัญญัติให้รัฐต้องจัดและส่งเสริมการสาธารณสุขให้ประชาชนได้รับบริการที่ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง และเมื่อสำรวจบทบัญญัติมาตราต่างๆ แล้ว ไม่มีบทบัญญัติที่ไม่สอดคล้องหรือกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามรัฐธรรมนูญ
พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558
การเฝ้าระวังโรคติดต่อ
กรณีที่มีโรคติดต่ออันตราย โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังหรือโรคระบาดตามนิยามกฎหมายเกิดขึ้น
ให้บุคคลดังต่อไปนี้แจ้งต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ
เจ้าบ้านหรือผู้ควบคุมดูแลบ้าน หรือแพทย์ผู้ท าการรักษาพยาบาลในกรณีที่พบผู้ที่เป็น หรือ มีเหตุอัน
ควรสงสัยว่าเป็นโรคติดต่อดังกล่าวเกิดขึ้นในบ้าน
ผู้รับผิดชอบในสถานพยาบาล ในกรณีที่พบผู้ที่เป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดต่อ
ดังกล่าวเกิดขึ้นในสถานพยาบาล
ผู้ท าการชันสูตรหรือผู้รับผิดชอบในสถานที่ที่ได้มีการชันสูตร ในกรณีที่ได้มีการชันสูตรทางการแพทย์
หรือทางการสัตว์แพทย์ตรวจพบว่าอาจมีเชื้ออันเป็นเหตุของโรคติดต่อดังกล่าว
เจ้าของ หรือผู้ควบคุมสถานประกอบการหรือสถานที่อื่นใด ในกรณีที่พบผู้ที่เป็นหรือมีเหตุ
อันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดต่อดังกล่าวเกิดขึ้นในสถานที่นั้น
การป้องกันและการควบคุมโรคติดต่อ
ให้นำศพหรือซากสัตว์ซึ่งตายหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าตายด้วยโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดไปรับการตรวจ หรือจัดการทางแพทย์
ให้ผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะติดโรคได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ตามวัน เวลา สถานที่ซึ่งเจ้าพนักงานโรคติดต่อกำหนด เพื่อมิให้โรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดแพร่ออกไป
ให้เจ้าของ ผู้ครอบครอง หรือผู้พักอาศัยในบ้าน โรงเรือน สถานที่ หรือพาหนะที่มีโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดเกิดขึ้น กำจัดความติดโรคหรือท าลายสิ่งใดๆ ที่มีเชื้อโรคติดต่อหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีเชื้อโรคติดต่อ หรือแก้ไขปรับปรุงการสุขาภิบาลให้ถูสุขลักษณะ เพื่อการควบคุมและป้องกันการแพร่โรค
ให้ผู้ที่เป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาด หรือผู้ที่เป็นผู้สัมผัสโรคหรือพาหะ มารับการตรวจหรือรักษา หรือรับการชันสูตรทางการแพทย์โดยการแยกกัก กันกัน หรือคุมไว้สังเกต ณ สถานที่ซึ่งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อกำหนด จนกว่าจะได้รับการตรวจและชันสูตรทางการแพทย์ว่าพ้นระยะติดต่อของโรคหรือสิ้นสุดเหตุอันสงสัย
ห้ามผู้ใดเข้าไปหรือออกจากที่เอกเทศ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ
เข้าไปในบ้าน โรงเรือน สถานที่ หรือพาหนะที่มีหรือสงสัยว่ามีโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดเกิดขึ้นเพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมมิให้มีการแพร่ของโรค
กรณีที่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วนเพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ของโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดผู้ว่าราชการจังหวัดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด หรือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร มีอำนาจในพื้นที่ความรับผิดชอบของตน
สั่งปิดตลาด สถานที่ประกอบหรือจ าหน่ายอาหาร สถานที่ผลิตหรือจำหน่ายเครื่องดื่มโรงงานสถานที่ชุมนุมชน โรงมหรสพ สถานศึกษา หรือสถานที่อื่นใดไว้เป็นการชั่วคราว
สั่งให้ผู้ที่เป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดหยุดการประกอบอาชีพเป็นการชั่วคราว
สั่งห้ามผู้ที่เป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดเข้าไปในสถานที่ชุมนุมชน โรงมหรสพ สถานศึกษา หรือสถานที่อื่นใด เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ
นางสาวจิรประภา เจริญเจ้าสกุล 6001211061 sec B เลขที่ 46