Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ - Coggle Diagram
การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
ชนิดของสารน้ำที่ให้ทางหลอดเลือดดำ
สารละลายไอโซโทนิก (Isotonic solution)
ความเข้มข้นเท่ากันน้ำนอกเซลล์ (Extracellular fluid) ซึ่งมีออสโมลาริตี้ระหว่าง 280-310 m0sm/l
สารละลายไฮโปโทนิก (Hypotonic solution)
ออสโมลาริตี้น้อยกว่า 280 m0sm/l ซึ่งค่า Osmolarityน้อยกว่าน้ำนอกเซลล์ เป็นสารน้ำที่มีโมเลกุลอิสระของน้ำมากกว่าในเซลล์
สารละลายไฮเปอร์โทนิก (Hypertonic
solution)
ค่าออสโมอาริตี้มากกว่า 310 m0sm/l ซึ่งมีมากกว่าออสโมลาริตี้ของน้ำนอกเซลล์ สารน้ำอันนี้มีโมเลกุลอิสระของน้ำน้อยกว่าน้ำในเซลล์
หลักการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำใหญ่ (Central venous therapy) การให้สารน้ำหรือของเหลวทาง Central line ทางหลอดเลือดใหญ่ๆได้แก่ Subclavian vein, Internal &External jugular veins และ Right & Left Nominate veins เป็นต้น
การให้สารน้ำและสารละลายทางหลอดเลือดดำใหญ่ผ่านอุปกรณ์ที่ฝังไว้ใต้ผิวหนัง (Implanted vascular access device หรือ venous port) การฝังอุปกรณ์ที่ใช้ในการให้ของเหลวทางหลอดเลือดคาไว้ใต้ผิวหนัง โดยที่ปลายสายสอดผ่านเข้าหลอดเลือดดำใหญ่ เช่น Subclavian vein, Right & Left Nominate veins เป็นต้น
การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย (Peripheral intravenous infusion)เป็นการให้สารน้ำหรือของเหลวทางหลอดเลือดดำที่อยู่ในชั้นตื้น ๆ ของผิวหนัง
การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
1) เลือกหลอดเลือดดำของแขนข้างที่ผู้ป่วยไม่ถนัดก่อน เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถใช้แขนข้างที่ถนัดทำกิจวัตรต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง
2) โดยตำแหน่งเส้นเลือดดาส่วนปลายที่แขนและมือ ซึ่งเหมาะสำหรับการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ได้แก่ Cephalic vein และBasilic vein
3) หลีกเลี่ยงการแทงเข็มบริเวณข้อพับต่าง ๆ
การคำนวณอัตราการหยดของสารน้ำทางหลอดเลือดดำ
สูตรการคำนวณอัตราหยดของสารน้ำใน 1 นาที
จำนวนหยดของสารละลาย (หยด/ นาที) = จำนวน Sol.(มล/ชม.) x จำนวนหยดต่อมล.) /เวลา(นาที)
สูตรการคำนวณสารน้ำที่จะให้ใน 1 ชั่วโมง
ปริมาตรของสารน้ำที่จะให้ใน 1 ชม. = ปริมาตรของสารน้ำที่จะให้
/จำนวนเวลาที่จะให้เป็นชั่วโมง
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่ออัตราการหยดของสารน้ำ
ถ้าสารน้ำมีความหนืดสูงอัตราการหยดจะช้า
เกลียวปรับบังคับหยดที่ลื่นมาก จะบังคับการหยดได้ไม่ดีพอ
ระดับขวดสารน้ำสูงหรือต่ำเกินไป แขวนสารน้ำสูงเกินไปสารน้ำจะหยดเร็ว ถ้าแขวนสารน้ำต่ำไปทำให้เลือดไหลย้อนเข้ามาในเข็มและปนกับสารน้ำในสายให้สารน้ำ
สายให้สารน้ำ มีความยาวมาก มีการหักพับงอหรือถูกกด จะทาให้สารน้ำผ่านไม่สะดวก
การเคลื่อนย้ายและการเคลื่อนไหวร่างกายของผู้ป่วย
อาการแทรกซ้อนจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นในระบบไหลเวียนของเลือด (Systemic complication)
การติดเชื้อในกระแสเลือด
เกิดฟองอากาศในกระแสเลือด
มีผื่นแพ้เกิดขึ้นที่ผิวหนังร่วมกับอาการแพ้ต่าง ๆ
ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นเฉพาะที่ (Local complication)
การมีเลือดออกและแทรกซึมเข้าใต้ผิวหนังบริเวณที่แทงเข็ม
บวมแดง ร้อน บริเวณที่แทงเข็มให้สารน้ำอาจจะมี
หนองบริเวณที่แทงเข็ม
อาการบวมบริเวณที่แทงเข็มให้สารน้ำ