Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยการเรียนรู้ที่ 12 การพยาบาลชีวอนามัย - Coggle Diagram
หน่วยการเรียนรู้ที่ 12
การพยาบาลชีวอนามัย
ประโยชน์ที่ได้รับจากการออกแบบงานให้เหมาะสมกับคน
ก่อให้เกิดความพึงพอใจในการทำงาน
เพิ่มผลผลิตในการทำงาน
ลดความเมื่อยล้าจากการทำงาน
ลดอุบัติเหตุจากการทำงาน
ช่วยลดความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในการทำงาน
ลดค่าใช้จ่ายในการควบคุมและการฝึกอบรม
อันตรายจากสภาพแวดล้อมด้านเคมี (Environmental Chemical Hazards)
อันตรายจากสภาพแวดล้อมด้านเคมี เกิดจากการนำสารเคมีมาใช้ในการทำงาน หรือสารเคมีที่เป็นอันตรายเกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตของงาน รวมทั้งวัตถุพลอยได้จากการผลิต โดยทั่วไปจะอยู่ในรูปของเหลว ของแข็ง และก๊าซ เช่นกลุ่มสารเคมีที่เป็นพิษ ก๊าซพิษ สารประกอบไฮโดรคาร์บอนตัวทำละลาย กรด ด่างฝุ่นละอองที่ทำให้เกิดโรคปอด สารเคมีที่ก่อมะเร็ง
สิ่งคุกคามสุขภาพอนามัยทางจิตวิทยาสังคม (Psychosocial health hazard)
คือ สิ่งแวดล้อมในการทำงานที่สามารถก่อให้เกิดสภาวะเครียด เนื่องมาจากจิตใจหรืออารมณ์ที่ได้รับความบีบคั้น ยังมีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย สาเหตุมีดังต่อไปนี้
4.2 การเกิดความกดดันจากสภาพงานที่ไม่เหมาะสม เช่น การทำงานเป็นผลัดที่นอกเหนือจากเวลาปกติ เกิดความกดดันต่อกลไกของร่างกายก่อให้เกิดสุขภาพเสื่อมโทรม อาจจะทำให้เกิดโรคกระเพาะจากเวลาการรับประทานอาหารเปลี่ยนแปลง โรคหัวใจจากระบบการไหลเวียนเลือดเปลี่ยนแปลง และโรคประสาทแบบแผนการนอนเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการอดนอน
4.3 การเกิดอุบัติเหตุจากปัญหาจิตวิทยาสังคม งานบางอย่างที่มีความซ้ำซากจำเจและเร่งรีบแข่งกับเวลาอาจจะทำให้เกิดการทำงานที่ผิดพลาดขึ้นได้ ซึ่งความผิดพลาดนี้อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุ และคนงานบางคนอาจต้องมีภาระความรับผิดชอบต่อครอบครัวมากและรายได้ไม่พอกับรายจ่าย อาจทำให้ต้องดิ้นรนทำงานมากขึ้นโดยการทำงานนอกเวลา ร่างกายเกิดอาการอ่อนล้าทำให้เกิดอุบัติเหตุได้เช่นกัน
4.1 การเกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายต่องาน โดยทั่วไปเกิดจากความต้องการพื้นฐานไม่ได้รับการตอบสนองที่เหมาะสม เช่น ค่าจ้างที่ต่ำ ความไม่มีมนุษยสัมพันธ์ของหัวหน้าและผู้ร่วมงาน การทำงานที่ซ้ำซาก เป็นต้น
อันตรายจากสภาพแวดล้อมด้านการยศาสตร์และจิตวิทยาสังคม (Environmental Ergonomic and Psychosocial Hazards)
ปัญหาด้านการยศาสตร์ เป็นอันตรายที่เกิดจากการใช้ท่าทางทำงานที่ไม่เหมาะสม วิธีการปฏิบัติงานที่ไม่ถูกต้อง การปฏิบัติงานที่ซ้ำซาก และความไม่สัมพันธ์กันระหว่างคนกับงานที่ทำ เช่น การปฏิบัติงานในลักษณะท่าที่ฝืนธรรมชาติการทำงาน ซ้ำซากจำเจการออกแบบสถานที่ทำงาน เครื่องมือไม่เหมาะสม การทำงานเป็นกะ การทำงานที่มีระยะเวลานาน ส่งผลให้เกิดปัญหาจิตวิทยาสังคม คือ สิ่งแวดล้อมในการทำงานที่สามารถก่อให้เกิดสภาวะเครียด เนื่องมาจากจิตใจหรืออารมณ์ที่ได้รับความบีบคั้น ยังมีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย
อันตรายจากสภาพแวดล้อมด้านชีวภาพ (Environmental Biological Hazards)
เกิดจากการทำงานที่ต้องเสี่ยงต่อการสัมผัสและได้รับอันตรายจากสารทางด้านชีวภาพ (Biohazardous agents) แล้วสารชีวภาพนั้นทำให้เกิดความผิดปกติของร่างกาย หรือมีอาการเจ็บป่วยเกิดขึ้น เช่นเชื้อจุลินทรีย์ต่างๆฝุ่นละอองจากส่วนของพืชหรือสัตว์การติดเชื้อจากสัตว์หรือแมลงการถูกทำร้ายจากสัตว์หรือแมลงอาชีพที่มีความเสี่ยงต่อการสัมผัสอันตรายทางด้านชีวภาพ ได้แก่ผู้ปฏิบัติงานใน ห้องปฏิบัติการทางด้าน จุลชีววิทยา และชีวโมเลกุล โรงพยาบาลและ หน่วยงานด้าน สาธารณสุขสถานที่ทำงานด้าน เทคโนโลยีชีวภาพอาชีพเกษตรกรรมและ การเลี้ยงสัตว์พนักงานทำความสะอาด เป็นต้น
การยศาสตร์ หรือ เออร์กอนอมิกส์ (Ergonomics)
การยศาสตร์ หรือ เออร์กอนอมิกส์ หมายถึง ศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสภาพแวดล้อมในการทำงานหรือสิ่งคุกคามสุขภาพอนามัยในการทำงาน เป็นการออกแบบงาน รวมทั้งเครื่องมือให้เหมาะสมกับการทำงานประเภทนั้นๆ เพื่อที่จะช่วยลดปัจจัยที่คุกคามสุขภาพและรวมถึงการช่วยให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
องค์ประกอบของเออร์กอนอมิกส์ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
2.องค์ประกอบด้านสรีรวิทยา (Physiology) คำนึงถึงการใช้พลังงานในขณะทำงาน และสรีรวิทยาสิ่งแวดล้อม
องค์ประกอบทางด้านจิตวิทยา (Psychology) มุ่งเน้นความชำนาญในงาน การเข้าใจในลักษณะงาน จิตวิทยาในการทำงาน
1.องค์ประกอบด้านกายวิภาคศาสตร์ (Anatomy) คำนึงถึงขนาด และรูปร่างของคน และท่าทางของคนในขณะทำงาน
จัดทำโดย นางสาวศิญาพร เถาวัลย์ราช รหัสนักศึกษา 611410009-8 นักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3