Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยการเรียนรู้ที่ 12 การพยาบาลชีวอนามัย - Coggle Diagram
หน่วยการเรียนรู้ที่ 12
การพยาบาลชีวอนามัย
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
อาชีวอนามัย
หมายถึง การอยู่ดี( well-being) ของคนที่ทำงานในทุกสาขาอาชีพ ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม(ฉันทนา ผดุงเทศ:2546; 1)
หมายถึงการดูแลสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของผู้ประกอบอาชีพ รวมทั้งการทะนุบำรุงและรักษาสุขภาพด้านร่างกายและจิตใจให้สมบูรณ์อยู่เสมอ(ประวิตร ระเบียบ : 2544; 521)
หมายถึง สุขภาพอนามัยและความปลอดภัยในการประกอบอาชีพ (สุพัตรา จันทร์เทียน: 2549; 123)
หมายถึงสุขภาพอนามัยของผู้ประกอบอาชีพในทุกภาคส่วนของประเทศ ที่ควรจะมีภาวะที่สมบูรณ์ดี ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สัมพันธภาพ และสถานภาพในสังคม (พิมพ์พรรณ ศิลปะสุวรรณ: 2548;41)
ความหมายของงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
อาชีวอนามัย(Occupational health) มาจากคำว่า อาชีวะ + อนามัย
อาชีวะ = อาชีพ
อนามัย หรือ สุขภาพ = สภาวะที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม
สุขภาพอนามัยของผู้ประกอบอาชีพในทุกภาคส่วนของประเทศ ที่ควรจะมีสภาวะที่สมบูรณ์ดี ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สัมพันธภาพ และสถานภาพในสังคม ขณะเดียวกันอาชีวอนามัยในฐานะที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการและผลลัพธ์ของการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพ ปกป้องคุ้มครอง และธำรงรักไว้ซึ่งสภาวะอนามัยทั้งร่างกาย จิตใจ และการมีความเป็นอยู่ที่มีในสังคมของผู้ประกอบอาชีพทุกอาชีพ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีคุณภาพชีวิตการทำงานที่ดี ( Harrington 1998)
สิ่งแวดล้อมในการทำงาน(Working environment) หมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวในขณะทำงาน สิ่งแวดล้อมที่คุกคามต่อสุขภาพ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ
สิ่งคุกคามสุขภาพอนามัยด้านสารเคมี (Chemical Health Hazards) เช่น ก๊าช ไอ ฝุ่น ควัน เช่น โรคพิษตะกั่วในคนงานหลอมตะกั่ว
สิ่งคุกคามสุขภาพอนามัยทางชีวภาพ (Biological Health Hazards) เช่น การสัมผัสหรือได้รับสารจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ แบคทีเรีย ปาราสิต และเชื้อไวรัส ที่มีอยู่ในสถานประกอบการ เช่น โรคแอนแทรกซ์ในกลุ่มคนงานเกี่ยวกับสัตว์ หรือโรงงานฟอกหนัง เป็นต้น
สิ่งคุกคามสุขภาพทางกายภาพ (Physical Health Hazards) เช่น ความร้อน ความเย็น แสง เสียง ความสั่นสะเทือน บรรยากาศที่ไม่เหมาะสม เช่น เป็นตะคริว เป็นลมอ่อนเพลีย
สิ่งคุกคามสุขภาพอนามัยทางจิตวิทยาสังคม (Psychosocial Health Hazards) หมายถึงสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่ทำให้เกิดความเครียดจากการทำงาน เช่น สภาพแวดล้อมในการทำงาน(Physical work condition) ภาระงาน(Workload) ที่ไม่เหมาะสม ทำงานซ้ำๆ ต่อเนื่องเป็นเวลานาน ๆ งานที่หนักๆเกินไป บทบาทและความรับผิดชอบในองค์กร สัมพันธภาพระหว่างบุคคลภายในองค์กร
ความปลอดภัย (Safety)
หมายถึง สภาพแวดล้อมของการทำงานที่ปราศจากภัยคุกคาม ไม่มีอันตราย(danger) และความเสี่ยงใดๆ (Risk) ที่มีผลต่อสุขภาพ การบาดเจ็บ การพิการ และการตาย
องค์การอนามัยโลก(World Health Organization : WHO ) และองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization : ILO) ประกอบด้วยลักษณะ 5 ประการ คือ
การปกป้องคุ้มครอง (Protection) ผู้ประกอบอาชีพไม่ให้ทำงานในสภาพที่เสี่ยงอันตราย เป็นสาเหตุให้เจ็บป่วย หรือเกิดอุบัติเหตุ
4 . การจัด (Placing) ให้ผู้ประกอบอาชีพทำงานในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
การป้องกัน (Prevention) ไม่ให้ผู้ประกอบอาชีพมีสุขภาพอนามัยเสื่อมโทรม ผิดปกติจากการทำงาน
การจัดหรือปรับปรุงสภาพงานให้เหมาะสม กับลักษณะของงานและผู้ปฏิบัติงาน (Adaptation of Work)
การส่งเสริม(Promotion) และธำรงไว้(Maintenance) สุขภาพร่างกายและจิตใจความเป็นอยู่ที่ดีในสังคมผู้ใช้แรงงาน
ขอบเขตของการดำเนินงานอาชีวอนามัยแลขอบเขตของการดำเนินงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มี 3 ประการ ดังนี้ะความปลอดภัย
2). การป้องกันและควบคุมอุบัติเหตุอันเนื่องมาจากการประกอบอาชีพ (Prevention and Control of Occupational Accident) เป็นงานควบคุมป้องกันอุบัติเหตุ การบาดเจ็บ พิการ ตายจากการประกอบอาชีพ อุบัติเหตุนั้นมีผลสืบเนื่องมาจากการกระทำที่ไม่ปลอดภัยของพนักงาน สภาพการทำงานที่ไม่เหมาะสม และอุปกรณ์เครื่องจักรไม่พร้อม
3). การควบคุมป้องกันมลพิษในสิ่งแวดล้อม (Environmental Pollution Control) เป็นการควบคุมมลพิษที่อาจาจะมาจากกระบวนการผลิต สภาพการทำงาน ที่จะปล่อยออกไปปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมของการทำงาน หรือแพร่กระจายออกนอกโรงงาน
1). การป้องกันและควบคุมโรคอันเนื่องมาจากการประกอบอาชีพ (Prevention and Control of Occupational Disease) เน้นหนักเกี่ยวกับการควบคุมและป้องกันโรคอันเนื่องมาจากการทำงาน (Occupational Disease) หรือโรคอันเกี่ยวเนื่องมาจากการทำงาน( Work Related Disease)
อันตรายจากสภาพแวดล้อมทางกายภาพ (Environmental Physical Hazards) โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ การมองเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรส และการสัมผัสทางผิวหนัง สามารถจำแนกออกเป็น 7 กลุ่ม ดังนี้
การสั่นสะเทือน (Vibration)
รังสี (Radiation)
ความเย็น (Cold)
ความกดอากาศ (Pressure)
ความร้อน (Heat)
เสียง (Noise)
แสงสว่าง (Lighting)
จัดทำโดย นางสาวศิญาพร เถาวัลย์ราช รหัสนักศึกษา 611410009-8 นักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3