Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ เลือดและส่วนประกอบของเลือด - Coggle Diagram
การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ เลือดและส่วนประกอบของเลือด
การให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำ
ให้ผู้ป่วยที่รับประทานอาหารและน้ําทางปากไม่ได้ หรือรับประทานได้น้อยไม่เพียงพอต่อความ ต้องการของร่างกาย หรือมีภาวะผิดปกติของระบบทางเดินอาหารไม่สามารถให้อาหารทางปากได้
ทดแทนน้ําที่ร่างกายสูญเสียไป เช่น อาเจียน อุจจาระร่วงรุนแรง หรืออุจจาระร่วงเป็นระยะ เวลานาน
ชนิดของสารอาหารทางหลอดเลือดดํา
Total parenteral nutrition (TPN) เป็นการให้โภชนบําบัดครบตามความต้องการของผู้ป่วย ทั้งปริมาณพลังงานที่ต้องการ และสารอาหารทุกหมู่
Partial or peripheralparenteral nutrition (PPN) เป็นการให้โภชนบําบัดทางหลอดเลือดดํา เพียงบางส่วน อาจได้พลังงานไม่ครบตามความต้องการ หรือได้สารอาหารไม่ครบทุกหมู่
อาการแทรกซ้อนจากการให้สารอาหารทางหลอดเลือดดํา
บวมเนื่องจากมีสารอาหารเข้าไปอยู่ในเนื้อเยื่อชั้นผิวหนัง (Local infltration) เกิดขึ้นเมื่อเข็มเคลื่อน ออกจากหลอดเลือด พบได้บ่อยในหลอดเลือดที่เล็ก บาง หรือผู้ป่วยที่มีกิจกรรมมากๆ
มีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในระบบไหลเวียนของเลือด (Embolism) ที่พบบ่อยจะเป็นก้อนเลือด (thromboembolism) และอากาศ (air embolism) สาเหตุของการเกิดก้อนเลือดมักมาจากผนังด้านในของ หลอดเลือดดําไม่เรียบ และมีเข็มแทงผ่าน เป็นผลให้เลือดไหลผ่านบริเวณนั้นช้าลง และเกิดการสะสมของเลือด และเกร็ดเลือด ถ้าก้อนเลือดหลุดออกไปในหลอดเลือดและไปอุดตัน การไหลเวียนของเลือดที่จะไปเลี้ยงอวัยวะ ต่างๆ ที่สําคัญๆ ได้แก่ ปอด หัวใจ สมอง
การให้สารอาหารมากเกินไป (Circulatory Overload) พบได้ง่ายในผู้ป่วยเด็ก ผู้ที่มีปัญหาของ ระบบไหลเวียนเลือด และไต อาจเนื่องจากให้สารอาหารที่เร็วเกินไป
ไข้ (pyrogenic reactions) เกิดจากมีสารแปลกปลอมซึ่งเป็นส่วนประกอบของโปรตีนเข้าสู่ กระแสเลือด สาเหตุเนื่องจากอาจมีการปนเปื้อนในการเตรียมสารอาหาร หรือการฉีดยาทางสายยางให้อาหาร สารอาหารเสื่อมอายุ หมดอายุ ขวดบรรจุสารอาหารมีรอยร้าว หรือหมดอายุของขวดบรรจุสารอาหาร
การใช้กระบวนการพยาบาลในการให้สารอาหารทางหลอดเลือด
ขั้นตอนที่1 การประเมินสภาพผู้ป่วย (Assessment)
ขั้นตอนที่ 2 ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล (Nursing diagnosis)
มีโอกาสเกิดหลอดเลือดดําอักเสบจากการให้สารอาหารทางหลอดเลือดดําเป็นเวลาหลาย
มีโอกาสเกิดสิ่งแปลกปลอมอยู่ในระบบไหลเวียนของเลือดจากการให้สารอาหารทางหลอด เลือดดําเป็นเวลาหลายวัน
ขั้นตอนที่ 3 การวางแผนการพยาบาล (Planning)
ให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ําตามแผนการรักษาและไม่เกิดอาการแทรกซ้อน
ขั้นตอนที่ 4 การปฏิบัติการพยาบาล (Implementation)
ขั้นตอนที่ 5 การประเมินผลทางการให้สารอาหารทางหลอดเลือดดํา (Evaluation)
ประเมินอาการแทรกซ้อนและอาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ของผู้ป่วยและปลอดภัยตาม หลักการ 6 Rights และหลักความปลอดภัย SIMPLE ของ patient safety goals
การให้เลือดและส่วนประกอบของเลือด
เลือด (whole blood) ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ เซลล์เม็ดเลือด แบ่งเป็น เซลล์เม็ดเลือดแดง (red blood cell หรือ erythrocyte) เซลล์เม็ดเลือดขาว (white blood cell หรือ leukocyte) เกร็ดเลือด (platelet) และน้ําเลือด (plasma)
การให้เลือด (Blood transfusion) หมายถึง การให้เลือด หรือเฉพาะเม็ดเลือด หรือเฉพาะน้ําเลือด แก่ผู้ป่วยโดยผ่านเข้าทางหลอดเลือดดํา การให้เลือดแม้จะช่วยชีวิตผู้ป่วยได้ แต่ก็ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้
การให้และการรับเลือดในหมู่เลือด
คนเลือดกรุ๊ป Rh-ve ต้องรับจาก Rh-ve เท่านั้น แต่ต้องดูกรุ๊ปเลือดตามระบบ ABO ด้วย (หาก คนเลือดกรุ๊ป Rh-ve รับเลือดจาก Rh+ve อาการข้างเคียงจะยิ่งรุนแรงมากขึ้น ในครั้งถัดๆไป)
คนเลือดกรุ๊ป O รับได้จาก O เท่านั้น แต่ให้กับกรุ๊ปอื่นได้ทุกกรุ๊ป
คนเลือดกรุ๊ป AB รับได้จากทุกกรุ๊ป แต่ให้เลือดแก่ผู้อื่นได้เฉพาะคนที่เป็นเลือดกรุ๊ป AB
คนเลือดกรุ๊ป A รับได้จาก A และ O ให้ได้กับ A และ AB
คนเลือดกรุ๊ป B รับได้จาก B และ O ให้ได้กับ B และ AB
ภาวะแทรกซ้อนจากการให้เลือด
เม็ดเลือดแดงสลายตัว (Hemolysis) เกิดจากการให้เลือดผิดหมู่ เม็ดเลือดแดงจะแตกและ บางส่วนไปอุดตันหลอดเลือดฝอยของท่อไตทําให้ไตวาย อาจเกิดอาการหลังให้เลือดไปแล้วประมาณ 50 มล. หรือน้อยกว่า
ปริมาตรการไหลเวียนของเลือดมากเกินไป (Volume Overload) เกิดจากการให้เลือดใน อัตราเร็วเกินไป จึงเพิ่มปริมาตรการไหลเวียนในกระแสเลือด ส่งผลให้หัวใจทํางานหนักขึ้น เกิดภาวะหัวใจวาย และมีอาการน้ําท่วมปอด
ไข้ (Febrile transfusion reaction) เกิดจากการได้รับสารที่ทําให้เกิดไข้ เชื้อแบคทีเรียจาก เครื่องใช้หรือเทคนิคการให้เลือดที่ไม่สะอาด
ปฏิกิริยาภูมิแพ้ (Allergic reaction) เกิดจากผู้รับแพ้สารอย่างใดอย่างหนึ่งในเลือดที่ได้รับ
การถ่ายทอดโรค (Transfusion-associated graft versus host disease) มักเกิดจากการขาด การตรวจสอบเลือดของผู้ให้ ซึ่งมีการติดเชื้อต่าง ๆ เช่น ตับอักเสบ มาเลเรีย ซิฟิลิส เอดส์ โรคภูมิแพ้ เป็นต้น โดยจะปรากฏอาการตามลักษณะการติดเชื้อ
การอุดตันจากฟองอากาศ (Air embolism) เกิดจากการไล่ฟองอากาศไม่หมดไปจากสายให้เลือด อากาศจะลอยไปตามกระแสเลือด
ภาวะสารซิเตรทเกินปกติ เกิดจากการให้เลือดติดต่อกันเป็นจํานวนมากจึงมีการสะสมของสารกัน การแข็งตัวของเลือด (Acid - dtrate dextrose) เพิ่มขึ้นและไปจับตัวกับแคลเซี่ยมในเลือดระดับแคลเซี่ยมจึง ลดน้อยลง
ภาวะโปตัสเซียมเกินปกติ (Hyperkalemia) เกิดจากการให้เลือดที่เก็บไว้ในธนาคารเลือดนานเกินไป
การใช้กระบวนการพยาบาลในการให้เลือดและส่วนประกอบของเลือด
ขั้นตอนที่1 การประเมินสภาพผู้ป่วย
การประเมินด้านร่างกาย
การประเมินด้านจิตใจ
ขั้นตอนที่ 2 ข้อวินิจฉัย
มีความพร้อมในการเริ่มให้เลือดและสารประกอบของเลือดตามแผนการรักษา
ขั้นตอนที่ 3 การวางแผนในการให้เลือดและส่วนประกอบของเลือด
วางแผนให้ผู้ป่วยได้รับเลือดและสารประกอบของเลือดโดยประยุกต์ใช้หลักการ 6 Rights และหลัก ความปลอดภัย SIMPLE ของ patient safety goals
ขั้นตอนที่ 4 การให้เลือดและสารประกอบของเลือด
ขั้นตอนที่ 5 การประเมินผลการให้เลือดและสารประกอบของเลือด
ประเมินอาการแทรกซ้อนและอาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ของผู้ป่วยและปลอดภัยตาม หลักการ 6 Rights และหลักความปลอดภัย SIMPLE ของ patient safety goals
การดูแลผู้ป่วยภายหลังได้รับเลือด
1) ตรวจสอบสัญญาณชีพหลังการให้เลือด 15 นาที และต่อไปทุก 4 ชั่วโมง
2) สังเกตปฏิกิริยาที่เกิดจากการให้เลือดอย่างต่อเนื่อง
3) ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับความสุขสบายตลอดระยะเวลาที่ให้เลือด
4) บันทึกหมู่เลือด ชนิดของเลือด หมายเลขเลือด ปริมาณเลือด วัน เวลา ชื่อผู้ให้ เลือด และบันทึกอาการของผู้ป่วยหลังให้เลือด ลงในแบบบันทึกการพยาบาล
การบันทึกปริมาณน้ําเข้า-ออกจากร่างกาย (Record Intake-Output)
หลักการบันทึกจํานวนสารน้ําที่เข้าและออกจากร่างกาย
แบบฟอร์มการบันทึกควรแขวนไว้ที่เตียงผู้ป่วย เพื่อสะดวกในการจดบันทึกและเมื่อครบ 24 ชั่วโมง ต้องสรุปลงในแผ่นรายงานประจําตัวของผู้ป่วยหรือฟอร์มปรอท
อธิบายเหตุผลและความสําคัญของการวัดและการบันทึกจํานวนน้ําที่รับเข้าและขับออกจาก ร่างกาย
ร่วมกับผู้ป่วยในการวางแผนกําหนดจํานวนน้ําที่เข้าสู่ร่างกายในแต่ละช่วงเวลา
จดบันทึกจํานวนน้ําและของเหลวทุกชนิดที่ให้ขณะมื้ออาหารและระหว่างมื้ออาหาร พร้อมทั้ง อธิบายให้ผู้ป่วยดื่มน้ําในขวดที่เตรียมไว้ให้ ไม่นําน้ําที่เตรียมไว้ไปบ้วนปากหรือเททิ้ง
การจดบันทึกควรสรุปทุก 8 ชั่วโมง และทุกวัน
บันทึกจํานวนสารน้ําที่สูญเสียทางอื่น ๆ เช่น อาเจียน ท้องเดิน ของเหลวที่ระบายออกจากการ ใช้เครื่องดูดกับสายยางจากกระเพาะ
กระบวนการพยาบาลในการส่งเสริมความสมดุลของสารน้ําในร่างกาย
การประเมินภาวะสุขภาพ (Health assessment)
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล (Nursing diagnosis)
มีภาวะหลอดเลือดดําอักเสบจากการได้รับสารน้ําทางหลอดเลือดดําเป็นเวลานาน
การวางแผนการพยาบาล (Planning)
ไม่เกิดภาวะหลอดเลือดดําอักเสบที่รุนแรงขึ้น
การปฏิบัติการพยาบาล (Implementation)
1) หยุดให้สารน้ําทันที
2) ประเมินอาการบวมที่หลังมือซ้ายทุกเวร หากบวมมากขึ้น ผู้ป่วยมีไข้
3) บันทึกสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง
4) จัดมือซ้ายที่บวมให้สูงกว่าลําตัวผู้ป่วย โดยใช้หมอนรอง เพื่อลดอาการบวม
5) เปลี่ยนบริเวณที่แทงเข็มให้สารน้ําใหม่
6) ประเมินการขาดสารน้ําและอิเล็คโตรไลท์ โดยบันทึกปริมาณสารน้ําเข้าและออกทุก เวร เพื่อให้ความช่วยเหลือและแก้ไขโดยเร็ว
การประเมินผลการพยาบาล (Evaluation)
ประเมินอาการปวดของผู้ป่วย (โดยการสังเกตสีหน้าท่าทางของผู้ป่วย และจาก Pain Scale) ผู้ป่วยสีหน้าสดชื่น ไม่บ่นปวดบริเวณหลังมือซ้าย
ประเมินอาการหลอดเลือดดําอักเสบบริเวณหลังมือ (อาการบวมลดลง) ปริมาณสารน้ําเข้าและออกมีความสมดุล