Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 2 ทฤษฎีที่เกี่ยวของกับการสร้างเสริม สุขภาพและการป้องกันการเจ็บป่ว…
หน่วยที่ 2 ทฤษฎีที่เกี่ยวของกับการสร้างเสริม สุขภาพและการป้องกันการเจ็บป่วย
องค์ประกอบของโมเดล
ลักษณะและประสบการณ์ของบุคคล
1.1 พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องในอดีต (Prior related behavior)หมายถึงพฤติกรรมที่ปฏิบัติในปัจจุบันซึ่งมีลักษณะคล้ายกับพฤติกรรมที่ปฏิบัติในอดีต มีอิทธิพลโดยตรงต่อพฤติกรรม
1.2 ปัจจัยส่วนบุคคล (Personal Factors) ปัจจัยส่วนบุคคลประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้
ปัจจัยด้านร่างกาย เช่น อายุ เพศ ดัชนีมวลกาย น้ําหนัก สมรรถภาพทางกาย
ปัจจัยด้านจิตใจ ได้แก่ ความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเอง แรงจูงใจในการปฏิบัติพฤติกรรม
สุขภาพ การรับรู้ภาวะสุขภาพของตนเอง
ปัจจัยด้านสังคมวัฒนธรรม ได้แก่ สีผิว เชื้อชาติ การศึกษา และเศรษฐานะ
โดยปัจจัยส่วนบุคคลดังกล่าวมีอิทธิพลโดยตรงต่อปัจจัยด้านความคิด
ความคิดและอารมณ์ต่อพฤติกรรม
(Behavior-Specific Cognition and Affect)
2.1 การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรม (Perceived Benefits of Action) หมายถึง ความเชื่อของบุคคลโดยคาดหวังประโยชน์ที่ได้รับภายหลังปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ
2.2 การรับรู้อุปสรรคในการปฏิบัติพฤติกรรม (Perceived Barriers to Action) หมายถึง ความเชื่อหรือการรับรู้ถึงสิ่งขัดขวางที่ทําให้บุคคลไม่สามารถปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ
2.3 การรับรู้ความสามารถของตนเอง (Perceived Self-Efficacy)
หมายถึง ความเชื่อหรือความมั่นใจในความสามารถของตนเองในการบริหารจัดการและกระทําพฤติกรรมใดๆ ภายใต้อุปสรรคหรือสภาวะต่างๆในการปฏิบัติพฤติกรรมในสถานการณ์ต่างๆ
2.4 ความรู้สึกที่มีต่อพฤติกรรม (Activity-Related Affect) หมายถึง
ความรู้สึกในทางบวกหรือลบที่ที่มีต่อลักษณะกิจกรรมต่อตนเองขณะปฏิบัติกิจกรรมความรู้สึกนี้อาจเกิดก่อน ขณะ และหลังการปฏิบัติกิจ
2.5 อิทธิพลระหว่างบุคคล (Interpersonal Influences) หมายถึง พฤติกรรม ความเชื่อ หรือทัศนคติของคนอื่นที่มีอิทธิพลต่อความคิดของบุคคล แหล่ง ของอิทธิพลระหว่างบุคคลที่มีผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพได้แก่ ครอบครัว (พ่อ แม่ พี่ น้อง) เพื่อน และบุคลากรทางสุขภาพ
2.6 อิทธิพลจากสถานการณ์(Situational Influences) หมายถึง การรับรู้และความคิดของบุคคลเกี่ยวกับสถานการณ์หรือบริบทที่สามารถเอื้อหรือขัดขวางการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ
พฤติกรรมผลลัพธ์(Behavioral Outcome)
3.1 ความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติพฤติกรรม
(Commitment to a Plan of Actions) ประกอบด้วย
1) ความตั้งใจที่จริงจังที่จะกระทําพฤติกรรมซึ่งสอดคล้องกับเวลาบุคคล สถานที่ โดยอาจทําตามลําพังหรือร่วมกับผู้อื่น
2) มีกลยุทธ์ที่ชัดเจนในการปฏิบัติพฤติกรรมและการให้แรงเสริมทางบวกในการปฏิบัติพฤติกรรม
ความตั้งใจและกลยุทธ์นี้จะเป็นตัวผลักดันให้บุคคลเกิดแรงจูงใจในการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ
3.2 ความจําเป็นอื่นและทางเลือกอื่นที่เกิดขึ้น
(Immediate Competing Demands andPreferences)
ความจําเป็นอื่นและทางเลือกอื่นที่เกิดขึ้น หมายถึง พฤติกรรมอื่นที่เกิดขึ้นทันทีทันใดก่อนที่จะเกิดพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพตามที่วางแผนไว้และอาจทําให้บุคคลไม่สามารถปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพตามที่ได้วางแผนไว
3.3 พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ (Health-Promoting Behavior)
พฤติกรรมสงเสริมสุขภาพเป็นจุดสุดท้ายและผลจากการปฏิบัติพฤติกรรมในแบบจําลองส่งเสริมสุขภาพ อย่างไรก็ตามพฤติกรรมสง่สุขภาพเป็นตัวบ่งชี้โดยตรงต่อการผลลัพธ์ทางสุขภาพที่ประสบผลสําเร็จในผู้รับบริการ
ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค (Protection motivation theory)
ปัจจัยที่อาจส่งผลเพิ่มหรือลดของการตอบสนองอาจเป็นได้ทั้งปัจจัยภายในหรือภายนอกร่างกายบุคคล เช่น
ความรุนแรงของโรค หรือสิ่งที่กําลังคุกคาม (noxiousness)
การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรค หรือสิ่งที่กําลังคุกคาม (perceived probability)
ความคาดหวังในประสิทธิผลของการตอบสนอง (response efficacy)
จากองค์ประกอบหรือตัวแปรทีทําให้เกิดความกลัว จะทําให้เกิดสื่อกลางของกระบวนการรับรู้ในด้านคือ
ทําให้เกิดการรับรู้ในความรุนแรง จนสามารถประเมินความรุนแรงได้
ทําให้เกิดการรับรู้ในการทนสถานการณ์ และเกิดความคาดหวังในการทนรับสถานการณ์
ทําให้เกิดการรับรู้ในความสามารถในการตอบสนองการทนรัสถานการณ์
ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบในทฤษฎี
กระบวนการรับรู้2 แบบ คือ1) การประเมินความน่ากลัวต่อสุขภาพ (threat appraisal) ประกอบด้วยตัวองค์ประกอบการ
รับรู้ความรุนแรงและการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรค
2) การประเมินการทนรับสถานการณ์(coping appraisal) ประกอบด้วยองค์ประกอบความคาดหวังในประสิทธิผลของการตอบสนอง และความคาดหวังในประสิทธิผลตนเอง
การประเมินความน่ากลัวต่อสุขภาเป็นการประเมินปัจจัยที่เพิ่มหรือลด
ความน่าจะเป็นในการ
ทําให้เกิดการตอบสนองที่ไม่เหมาะสม กิจกรรมของการตอบสนองที่ไม่เหมาะสมอาจเป็นพฤติกรรมดังนี้เช่น เริ่มต้นสูบบุหรี่ การเริ่มกินลูกอม หรือพฤติกรรมที่พบในปัจจุบัน เช่น ไม่ใส่เข็มขัดนิรภัย เป็นต้น
การกระตุ้นด้วยความกลัวมีอิทธิพลต่อการรับรู้ความน่ากลัว แต่มีอิทธิผลทางอ้อมต่อการแสดงพฤติกรรมที่เป็นจริง
โดยสรุปการประเมินความน่ากลัวเป็นผลบวกทางคณิตศาสตร์ ของตัวแปรเหล่านี้ ซึ่งจะเพิ่มหรือลดโอกาสในการแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในการวิเคราะห์ความน่ากลัว บุคคลก็จะประเมินการทนต่อสถานการณ์
แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ (Health Belief Model)
องค์ประกอบของแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ มีดังนี้
1.การรับรู้ของบุคคล (Individual perception) มีผลโดยตรงต่อแนวโน้มที่จะเกิดพฤติกรรมที่
แนะนําการรับรู้ในส่วนนี้และมีผลโดยตรงต่อการแสดงพฤติกรรมปกป้องสุขภาพ
1.1 การรับรู้ต่อโอกาสเสี่ยงของการเป็นโรค (Perceived Susceptibility)
การรับรู้ต่อโอกาสเสี่ยงของการเป็นโรค หมายถึง ความเชื่อหรือการคาดคะเนว่าตนมีโอกาสเสี่ยง
1.2. การรับรู้ความรุนแรงของโรค (Perceived Severity)
หมายถึงความเชื่อที่บุคคลเป็นผู้ประเมินเองในด้านความรุนแรงของโรคที่มีต่อร่างกายการก่อให้เกิดพิการ เสียชีวิต ความยากลําบาก และการต้องใช้ระยะเวลานานในการรักษา
1.3 การรับรู้ภาวะคุกคามของโรค การรับรู้ภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคและการรับรู้ความรุนแรง
ของโรคหักลบกันจะมีผลให้บุคคลรับรู้ต่อการคุกคามของโรค
ปัจจัยร่วม (Modifying factor) เป็นปัจจัยที่มีผลทางอ้อมต่อแนวโน้มที่จะกระทําพฤติกรรมที่
แนะนําโดยมีผลต่อการรับรู้ของบุคคล และมีผลต่อพฤติกรรมปกป้องสุขภาพ
ปัจจัยทางประชากร (Demographic factor) ได้แก่ เพศ อายุ
รายได้ และการศึกษา เพศ
หญิงจะมีพฤติกรรมสุขภาพเกิดขึ้นมากกว่าเพศชาย
ปัจจัยทางสังคมจิตวิทยา (Socio-psychological factor)
ความกดดันหรืออิทธิพลจาก
สังคมมีบทบาทสําคัญในการกระตุ้นพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม
ตัวแปรทางโครงสร้าง (Structural variables) ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับโรค หรือการที่เคยเป็น
โรคมาก่อน หรือประสบการณ์เกี่ยวกับโรคที่เคยได้รับ