Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลแต่ละวัย - Coggle Diagram
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลแต่ละวัย
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลวัยเด็กและวัยรุ่น
ประเทศไทย
ศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลามเชื่อว่าลูกเป็นของขวัญจากองค์อัลลอฮ์
ต้องดูแลเด็กให้เป็นคนดีของสังคมต่อไป
มารดาต้องดูแลบุตรตั้งแต่ในครรภ์จนถึงวัยผู้ใหญ่หรืออายุ 21 ปี
ศาสนาคริสต์
ศาสนาคริสต์เชื่อว่าเด็กเป็นของขวัญจากพระเจ้า ต้องดูแลให้เติบโตในทางที่ดี
เด็กเกิดมาต้องเข้าพิธีบัติศมาเพื่อแสดงถึงการชำระเพื่อให้พ้นจากความบาป และประกาศตัวเป็นศาสนิกชน
ศาสนาคริสต์เชื่อว่าทุกคนเป็นบุตรของพระเจ้า
มีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน
ผู้นับถือนิกายพยานในพระเยโฮวา จะปฏิเสธการรับเลือดจากผู้อื่น
การได้รับเลือดจากผู้อื่นจะเป็นบาป สาวกของนิกายนี้จะปฏิเสธการรับบริจาคเลือดแม้จะมีอันตรายถึงชีวิตก็ตาม
ความเชื่อในการดูแลเด็กของคนไทยในภาคเหนือ
คล้ายคลึงกับประชากรในประเทศลาว
จะมีการรักษาความเจ็บป่วยจากอำนาจเหนือธรรมชาต
การสะเดาะห์เคราะห์
การผูกข้อมือเรียกขวัญ
การบูชาบวงสรวง เพื่อให้เกิดความหวังและกำลังใจในรายที่การเจ็บป่วยหาสาเหตุไม่ได
มีการรักษาตามอาการจากแพทย์พื้นบ้าน
มีการใช้สมุนไพร
ศาสนาพุทธ
ในสมัยโบราณจะมีพิธีการสู่ขวัญเด็กเมื่ออายุครบ 1 เดือนและมีการโกนผมไฟด้วย
เมื่อเด็กไม่สบายหรืองอแงก็จะให้ผู้ใหญ่ผูกข้อมือให้
เมืองน่านและอำเภอกระนวนจะมีการทำพิธีสู่ขวัญให้กับเด็กเพื่อให้เด็กหยุดร้องอแงและอยู่ดีมีสุข
ถ้าเด็กร้องในช่วงอายุสองหรือสามเดือนก็จะมีการหาพ่อเกิดแม่เกิดให้กับเด็ก
ความเชื่อในการดูแลเด็ก
จกคอละอ่อน
การที่แม่ช่าง (หมอตำแย) หรือหมอทำคลอดใช้นิ้วมือล้วงเข้าไปในลำคอของทารกแรกคลอด เพื่อล้วงเอาเสลดหรือเลือดที่ติดค้างในลำคอออกมาเชื่อว่าถ้าไม่ทำเช่นนี้ เมื่อโตขึ้นเด็กคนนั้นจะป่วยเป็นโรคหืดหอบได้
น้ำนม
ถ้าเอาน้ำนมของคนทาที่ศีรษะของเด็กทารกที่มีผมบาง จะทำให้ผมขึ้นดกหนา
เอาน้ำนมหยอดตาคนที่เป็นโรคตาแดง ก็จะหาย
เม่า
เป็นโรคที่เกิดขึ้นกับเด็กทารกในช่วงที่ยังกินนม
บริเวณรอบริมฝีปากและลิ้นของเด็กจะมีลักษณะคล้ายกับถูกน้ำร้อนลวกจนสุก
การรักษาโรคเม่าของคนสมัยก่อนนั้น พ่อแม่เด็กจะทำกรวยดอกไม้ จากนั้นจะนำกรวยไปเสียบไว้ข้างฝาหรือหลังคาเรือน ทิ้งไว้ประมาณครึ่งวันจึงนำกรวยดอกไม้นั้นมาทำพิธีเสกเป่าอีกครั้งหนึ่ง
รก
หลังจากคลอดแล้วแต่รกไม่ออกตามมา ให้ระวังว่ารกจะขึ้นปิดลิ้นปี่จนทำให้เด็กหายใจไม่ออก และอาจถึงตายได้
สมัยก่อนต้องให้หมอเวทมนตร์มาเสกคาถาสะเดาะเคราะห์ใส่น้ำให้แม่เด็กดื่มเพื่อบังคับรกให้ออก
ความเชื่อเกี่ยวกับความเจ็บป่วยของเด็กจะได้รับอิทธิพลจากสังคมรอบข้าง โดยเฉพาะผู้ปกครอง
การบอกกล่าวของบิดามารดา
คำสั่งสอนของปู่ย่าตายาย
ประเทศกัมพูชา
การเกิดของเด็กเป็นสิ่งที่น่าภูมิใจในครอบครัว
การเกิดถือว่าเป็นอันตรายทั้งต่อแม่และเด็ก
สตรีที่ตายเพราะการคลอดบุตรจะเชื่อว่าเกิดจากการกระทำของปีศาจ
หญิงที่ตั้งครรภ์จึงมีข้อห้ามต่างๆมากมาย ซึ่งข้อห้ามเหล่านี้ยังนิยมอยู่ในชนบท แต่น้อยลงแล้วในเขตเมือง
เด็กในกัมพูชาจะได้รับการเลี้ยงดูจนกว่าจะอายุประมาณ 2-4 ปี
เด็กจะมีอิสระมากขึ้น เด็กอายุ 5 ขวบจะสามารถช่วยดูแลน้องๆได้
ไปโรงเรียนเมื่ออายุ 7-8 ปี
เมื่ออายุ 10 ขวบ เด็กหญิงจะเริ่มช่วยงานบ้านได้ ส่วนเด็กผู้ชายต้องช่วยงานในไร่นาภายใต้การควบคุมของผู้ใหญ่
พ่อแม่มีอำนาจปกครองจนกว่าบุตรจะแต่งงาน
ชาวกัมพูชาจะให้การเคารพแพทย์เพราะถือว่าเป็นบุคคลที่อยู่ในชั้นที่สูงกว่าในสังคม
เวลาผู้ป่วยคุยกับแพทย์จึงก้มหน้าไม่สบตา
ชาวกัมพูชาถือว่าศีรษะเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด
ประเทศจีน
ในอดีตประเทศจีนจะมีนโยบาย “ลูกคนเดียว (One child policy)”
ปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนนโยบายให้สามารถมีลูกคนที่สองได้
วัฒนธรรมจีนชื่นชอบลูกผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
เด็กที่เกิดในประเทศจีน เมื่อครบสามวันจะมีพิธีล้างวันที่สาม ในวันนี้จะเป็นการอาบน้ำให้เด็กเป็นครั้งแรกนับแต่คลอด น้ำที่ใช้อาบมีชื่อเรียกว่า
“ฉางโซ่วทัง”
มีความหมายว่า น้ำอายุมั่นขวัญยืน
ยังมีชาวจีนบางกลุ่มที่นิยมใส่ต้นหอมหรือนำเศษเหรียญใส่ลงในน้ำ เพราะต้นหอมหรือชงในภาษาจีนพ้องเสียงกับคำว่า
“ชงหมิง”
ที่แปลว่า ฉลาดหลักแหลม
พิธีครบเดือนหรือที่ชาวจีนโบราณเรียกว่า
“หมีเย่ว์”
ถือเป็นพิธีกรรมที่สำคัญที่สุดในบรรดาพิธีกรรมเกี่ยวกับการเกิด ประกอบไปด้วยการโกนผมไฟ การจัดเลี้ยงในหมู่ญาติสนิทมิตรสหาย และการตั้งชื่อให้เด็ก
ผู้ที่รับหน้าที่โกนผมจะเอาใบชาที่อมจนเปื่อยในปากชโลมลงบนศีรษะเด็ก ด้วยเชื่อว่าใบชาเขียวจะช่วยฆ่าเชื้อโรคบนศีรษะทารกและลบรอยแผลเป็น ยังทำให้ผมดกอีกด้วย
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลวัยผู้ใหญ่
วัยผู้ใหญ่แบ่งออกเป็น 3 ระยะ
วัยผู้ใหญ่ตอนต้นหรือวัยหนุ่มสาว อายุ 20-25 ปีถึง 40 ปี วัยนี้มีพัฒนาการเต็มที่ของร่างกาย วุฒิภาวะทางจิตใจอารมณ์
วัยผู้ใหญ่ตอนกลางหรือวัยกลางคน อายุ 40 ปีถึง 60-65 ปี เป็นวัยที่ได้ผ่านชีวิตครอบครัวและชีวิตการงานมาระยะหนึ่ง มีความมั่นคง
วัยผู้ใหญ่ตอนปลายหรือวัยสูงอายุ อายุ 60-65 ปีขึ้นไป เป็นวัยของความเสื่อมถอยของร่างกาย สภาพจิตใจ และบทบาททางสังคม
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมในวัยผู้ใหญ่ที่นับถือศาสนาอิสลาม
หรับชาวมุสลิมนั้น ตัวชี้วัดด้านคุณภาพชีวิตที่สำคัญ คือ การมีสุขภาพดีที่เอื้อต่อการประกอบศาสนกิจในโอกาสต่างๆ
ประเด็นการดูแลผู้ป่วยเพื่อให้สามารถประกอบศาสนกิจได้จึงเป็นประเด็นที่สำคัญอย่างยิ่งในการจัดบริการสุขภาพตามวิถีมุสลิมช่วงวัยผู้ใหญ่
ศาสนกิจที่สำคัญของชาวมุสลิม
การละหมาดวันละ 5 เวลา
การถือศีลอด
การทำฮัจญ์
การดูแลทำความสะอาดผู้ป่วย
ป่วยที่สามารถทำความสะอาดได้ อาจจะทำด้วยตนเอง หรือให้คนอื่นช่วยก็ได้
ผู้ป่วยที่ไม่สามารถทำความสะอาดได้ อาจเป็นเพราะผู้ป่วยเองไม่สามารถจะทำได้ หรือไม่มีผู้ที่จะช่วยทความสะอาด ก็ให้ทำความสะอาดเท่าที่สามารถจะกระทำได้
ผู้ป่วยที่มีนะญิส (สิ่งสกปรกที่ต้องชำระให้สะอาดตามหลักนิติบัญญัติอิสลาม) ติดตัวอยู่ตลอดเวลา ถึงแม้ว่าจะทำความสะอาดแล้วเป็นเหตุสุดวิสัยที่จะขจัดนะญิสเหล่านั้นได้ เราต้องแนะนำให้ผู้ป่วยทำความสะอาดบริเวณดังกล่าวตามปกติหรือตามคำแนะนำของแพทย์
สตรีตั้งครรภ์และหลังคลอดชนเผ่าม้ง ภาคเหนือ ประเทศไทย
หญิงตั้งครรภ์จะถูกแนะนำ ให้ดื่มนํ้ามะพร้าวเมื่ออายุครรภ์ได้ประมาณ 7-8 เดือนเพราะจะทำ ให้ ลูกไม่มีไขคลอดง่ายและมีผิวสวย
หญิงตั้งครรภ์ก็จะถูกแนะนำ ให้กินแกงผักพื้นบ้าน ชื่อผักปรัง ซึ่งมีลักษณะลื่นๆ เพื่อจะทำ ให้ลูกคลอดไม่ลำบาก
หญิงตั้งครรภ์ยังมีข้อพึงปฏิบัติตามความเชื่อคือ ให้นำ หัวปลาไหลแห้ง ผักปลังดิน ใบหนาด มามัดรวมกันแล้วแช่อาบนํ้าทุกวันในระยะท้องแก่ใกล้คลอด เพราะจะทำให้คลอดง่าย
เมื่อท้องแก่ใกล้คลอดให้เอานํ้ามันละหุ่ง มาถูทาหน้าท้อง โดยเชื่อว่าลูกเกิดมาจะได้ตัวสะอาด ไม่มีไข คลอดง่าย
หญิงหลังคลอดทุกคนจะอยู่ไฟประมาณ 1 เดือน
หญิงหลังคลอดจะอาบนํ้าต้มตลอดช่วงที่อยู่ไฟ เพราะมีความเชื่อว่าการอยู่ไฟจะทำ ให้สุขภาพแม่ดี แข็งแรง และช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็ว
เมื่ออยู่ไฟครบจะทำ พิธีบนผี
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมในวัยผู้ใหญ่ชาวจีน
ไม่ค่อยสนใจการตรวจคัดกรองเพื่อการป้องกันโรค (Preventive screening) เช่น ตรวจร่างกายประจำปี
การใช้การรักษาดั้งเดิม (Traditional treatments) ชาวจีนนิยมการรักษาด้วยการแพทย์แผนจีน เช่น การฝังเข็ม (Acupuncture) การขูดผิวหนัง
การใช้สมุนไพรเพื่อการบำบัดโรค สมุนไพรบำบัดโรคมีทั้งผลดีและผลไม่พึงประสงค์คล้ายกับการแพทย์แผนปัจจุบัน
แนวทางการดูแลผู้ใช้บริการ
ศึกษาวัฒนธรรมของชาวจีนในด้านต่างๆเพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถให้การพยาบาลสอดคล้องกับวัฒนธรรมของผู้ใช้บริการ
พัฒนาทักษะการสื่อสารกับผู้ใช้บริการชาวจีนด้วยภาษาจีนง่ายๆ หรือตามความสนใจ
เลือกใช้วิธีการพยาบาลบนพื้นฐานของการบูรณาการศาสตร์ทางการพยาบาลไปกับวัฒนธรรมของผู้ใช้บริการให้เหมาะสมกับบริบทต่างๆ
การคงไว้ซึ่งแบบแผนของการดูแลเชิงวัฒนธรรมระบบพื้นบ้านและของวิชาชีพ
การปรับเข้าหากันระหว่างแบบแผนของการดูแลเชิงวัฒนธรรมของพื้นบ้านและของวิชาชีพ
การปรับเปลี่ยนแบบแผนของวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาแบบแผนของการดูแลเชิงวัฒนธรรมขึ้นใหม
วัยผู้ใหญ่เริ่มตั้งแต่สิ้นสุดวัยรุ่นเมื่ออายุประมาณ 20-25 ปี
การประยุกต์ใช้การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมในการดูแลเด็ก
ต้องตะหนักถึงความเชื่อ วัฒนธรรม ศาสนาของครอบครัวนั้นๆ ด้วย
ศึกษาวัฒนธรรมของผู้ป่วยและครอบครัวในด้านต่างๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถให้การพยาบาลที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมของผู้รับบริการได้
พัฒนาทักษะการสื่อสารกับเด็กตามพัฒนาการของเด็กรวมทั้งผู้ดูแลเด็กด้วยภาษาง่ายๆ
หากสื่อสารไม่ได้หรือไม่มีประสิทธิภาพ อาจสื่อสารผ่านญาติที่เป็นคนไทย หรือการใช้ล่าม
อาจทำรูปภาพสื่อสารแทนภาษาพูด คู่มือหรือแนวทางการดูแลเด็กป่วยของครอบครัวที่เป็นภาษาต่างประเทศ
การปฏิบัติพยาบาลควรใช้กระบวนการพยาบาลควบคู่กับการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมตามแนวคิดไลนิงเจอร์
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลวัยผู้สูงอายุ
ประเด็นสำคัญที่ควรพิจารณาในการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของบุคคลวัยผู้สูงอายุขึ้นกับ คุณค่า ความเชื่อ ของผู้สูงอายุ ซึ่งมีความแตกต่างกัน
ผู้สูงอายุในแถบตะวันออกมักจะมีความต้องการพึ่งพาลูกหลานและครอบครัวมากกว่า
ประเทศตะวันตกค่อนข้างจะให้ความสำคัญของการคำนึงถึงความเป็นบุคคลและการมีอิสระในการดำเนินชีวิตด้วยตนเองให้มากที่สุด
ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ยังต้องการความเคารพในการเป็นผู้สูงวัยหรือผู้นำในครอบครัว
ประเด็นที่ควรพิจารณาในการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมในผู้สูงอายุ
การเคารพนับถือความเป็นบุคคลของผู้สูงอายุ เช่น การเรียกชื่อ การใช้สรรพนาม
การสื่อสาร ควรใช้ภาษาที่ตรงกับภาษาที่ผู้สูงอายุสามารถสื่อสารได้ และใช้ภาษากายในการสื่อสารกับผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านความจำเสื่อม อัลไซม์เมอร์
สุขภาพและยาที่ใช้ ควรคำนึงถึงภาวะสุขภาพและโรคที่ผู้สูงอายุเป็นอยู่ เช่น เบาหวาน หัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง
การจัดสิ่งแวดล้อมและป้องกันอุบัติเหตุ ความปลอดภัยของผู้สูงอายุเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง
ความสามารถในการเคี้ยวและกลืน ไม่ควรจัดอาหารที่เหนียวเกินไป แข็งเกินไป
การดูแลด้านจิตสังคม ควรจัดกิจกรรมให้ผู้สูงอายุที่ยังมีสุขภาพดี ให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมสังคมต่างๆ
การดูแลด้านจิตวิญญาณตามความเชื่อของผู้สูงอายุ เช่น ฟังเพลงนมัสการ ฟังคำเทศนา