Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
:pencil2:บทที่ 5 พรบ.ที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิภาพและสุขภาพของประชาชน …
:pencil2:
บทที่ 5
พรบ.ที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิภาพและสุขภาพของประชาชน
5.3 พระราชบัญญัติสถานพยาบาลพ.ศ. ๒๕๔๑
:pencil2:
มาตรา๑
พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติสถานพยาบาลพ.ศ. ๒๕๔๑”
มาตรา๒
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา๓
ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติสถานพยาบาลพ.ศ. ๒๕๐๔
มาตรา๔
ในพระราชบัญญัตินี้
“สถานพยาบาล”
สถานที่รวมตลอดถึงยานพาหนะซึ่งจัดไว้เพื่อการประกอบโรคศิลปะตามกฎหมาย
“ผู้ป่วย”
ผู้ขอรับบริการในสถานพยาบาล
“ผู้รับอนุญาต”
ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล
“ผู้ดําเนินการ”
ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ดําเนินการสถานพยาบาล
“ผู้ประกอบวิชาชีพ”
ผู้ประกอบโรคศิลปะผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมผู้ประกอบวิชาชีพกายภาพบําบัดผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์หรือผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุขอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นและให้หมายความรวมถึงบุคคลตามมาตรา๓๑แห่งกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ
“ใบอนุญาต”
ใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลหรือใบอนุญาตให้ดําเนินการสถานพยาบาล
“พนักงานเจ้าหน้าที่”
ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้เป็นผู้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
“ผู้อนุญาต”
อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพมอบหมาย
“คณะกรรมการ”
คณะกรรมการสถานพยาบาล
“รัฐมนตรี”
รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา๕
พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่สถานพยาบาลซึ่งดําเนินการโดยกระทรวงทบวงกรมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรัฐวิสาหกิจสถาบันการศึกษาของรัฐหน่วยงานอื่นของรัฐสภากาชาดไทยและสถานพยาบาลอื่นซึ่งรัฐมนตรีประกาศกําหนด
มาตรา๖
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้และให้มีอํานาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ออกกฎกระทรวงกําหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้ยกเว้นค่าธรรมเนียมและกําหนดกิจการอื่นตลอดจนออกประกาศเพื่อปฏิบัติการ
หมวด ๑ คณะกรรมการสถานพยาบาล :smiley:
มาตรา๗
ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการสถานพยาบาล” ประกอบด้วยปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานกรรมการอธิบดีหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกรมทุกกรมในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขผู้แทนกระทรวงกลาโหมผู้แทนกระทรวงมหาดไทยผู้แทนสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาผู้แทนสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคและผู้แทนสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) เป็นกรรมการโดยตําแหน่งกับกรรมการผู้ทรงคุณวุฒ
มาตรา๘
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา๗มีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละสามปีกรรมการ ซึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่จะดํารงตําแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระมิได้
มาตรา๙
นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระตามมาตรา๘กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา๗พ้นจากตําแหน่งเมื่อ
ตาย
ลาออก
รัฐมนตรีให้ออก
เป็นบุคคลล้มละลาย
เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
พ้นจากการเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะผู้ประกอบวิชาชีพผู้ดําเนินการในกรณีที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการในฐานะนั้น
ได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาหรือคําสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายถึงที่สุดให้จําคุกเว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
มาตรา๑๐
การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
มาตรา๑๑
คณะกรรมการมีหน้าที่ให้คําปรึกษาให้ความเห็นและให้คําแนะนําแก่รัฐมนตรีหรือผู้อนุญาตในเรื่องดังต่อไปนี้
การออกกฎกระทรวงหรือประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
การอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลการดําเนินการสถานพยาบาลการปิดสถานพยาบาลหรือการเพิกถอนใบอนุญาต
การส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการบริการของสถานพยาบาล
การควบคุมหรือการพิจารณาเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการดําเนินการสถานพยาบาล
การกําหนดลักษณะและมาตรฐานหรือการรับรองคุณภาพสถานพยาบาลที่ได้รับยกเว้นตามมาตรา๕วรรคหนึ่งและการแจ้งให้ดําเนินการปรับปรุงหรือแก้ไขสถานพยาบาลดังกล่าว
การกําหนดผู้ป่วยฉุกเฉินตามกฎหมายว่าด้วยการแพทย์ฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังหรือโรคระบาดตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อหรือสาธารณภัยตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
เรื่องอื่นๆตามที่รัฐมนตรีหรือผู้อนุญาตมอบหมาย
มาตรา๑๒
คณะกรรมการมีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาและเสนอความเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ในขอบเขตแห่งหน้าที่ของคณะกรรมการได้
มาตรา๑๓
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้คณะกรรมการและคณะอนุกรรมการที่แต่งตั้งขึ้นตามมาตรา๑๒มีอํานาจออกคําสั่งเป็นหนังสือเรียกให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดมาให้ถ้อยคําหรือให้ส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องหรือสิ่งใดมาเพื่อประกอบการพิจารณาได้
หมวด ๒ การประกอบกิจการสถานพยาบาลและการดําเนินการสถานพยาบาล :smiley:
มาตรา๑๔
สถานพยาบาลมี ๒ ประเภทดังต่อไปนี้
สถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน
สถานพยาบาลประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน
มาตรา๑๔/๑
สถานพยาบาลอาจจัดให้มีการศึกษาการฝึกอบรมการวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุขหรือการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐรัฐวิสาหกิจหรือองค์กรเอกชนในการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสมที่เกี่ยวเนื่องกับการประกอบโรคศิลปะหรือการประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุข
มาตรา๑๕
ให้รัฐมนตรีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการมีอํานาจประกาศกําหนดมาตรฐานการบริการของสถานพยาบาล
มาตรา๑๖
ห้ามมิให้บุคคลใดประกอบกิจการสถานพยาบาล เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต
มาตรา๑๗
ผู้ขอรับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังนี้
มีอายุไม่ต่ํากว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย
ไม่เคยได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาหรือคําสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายถึงที่สุดให้จําคุกเว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
ไม่เป็นโรคตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดในราชกิจจานุเบกษา
ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
มาตรา๑๘
ในการพิจารณาออกใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลของผู้อนุญาตจะต้องปรากฏว่าผู้ขอรับใบอนุญาตได้จัดให้มีกรณีดังต่อไปนี้โดยถูกต้องครบถ้วนแล้ว
มีแผนงานการจัดตั้งสถานพยาบาลที่ได้รับอนุมัติแล้วตามหลักเกณฑ์
มีสถานพยาบาลตามลักษณะที่กําหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา๑๔
มีเครื่องมือเครื่องใช้เวชภัณฑ์หรือยานพาหนะที่จําเป็นประจําสถานพยาบาลนั้นตามชนิดและจํานวนที่กําหนดในกฎกระทรวง
มีผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลตามวิชาชีพและจํานวนที่กําหนดในกฎกระทรวง
ชื่อสถานพยาบาลต้องเป็นไปตามที่กําหนดในกฎกระทรวง
มาตรา๑๙
ใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลให้ใช้ได้จนถึงวันสิ้นปีปฏิทินของปีที่สิบนับแต่ปีที่ออกใบอนุญาต
มาตรา๒๐
ผู้รับอนุญาตต้องชําระค่าธรรมเนียมตามหลักเกณฑ์วิธีการและอัตราที่กําหนดในกฎกระทรวงตลอดเวลาที่ยังประกอบกิจการถ้ามิได้ชําระค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กําหนด
มาตรา๒๑
การโอนใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลให้แก่บุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา๑๗ให้กระทําได้เมื่อได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาต
มาตรา๒๒
ถ้าผู้รับอนุญาตตายและมีบุคคลแสดงความจํานงต่อผู้อนุญาตภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้รับอนุญาตตายเพื่อขอประกอบกิจการที่ผู้ตายได้รับอนุญาตนั้นต่อไป
มาตรา๒๓
ผู้รับอนุญาตต้องจัดให้มีผู้ดําเนินการคนหนึ่งเป็นผู้มีหน้าที่ควบคุมดูแลและรับผิดชอบในการดําเนินการสถานพยาบาล
มาตรา๒๔
ห้ามมิให้บุคคลใดดําเนินการสถานพยาบาลเว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต
มาตรา๒๕
ในการพิจารณาออกใบอนุญาตให้ดําเนินการสถานพยาบาลของผู้อนุญาตจะต้องปรากฏว่าผู้ขอรับใบอนุญาต
เป็นผู้ประกอบวิชาชีพ
ไม่เป็นผู้ดําเนินการอยู่ก่อนแล้วสองแห่ง
เป็นผู้ที่สามารถควบคุมดูแลกิจการสถานพยาบาลได้โดยใกล้ชิด
มาตรา๒๖
ถ้าผู้ดําเนินการพ้นจากหน้าที่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้เกินเจ็ดวันผู้รับอนุญาตอาจมอบหมายให้บุคคลซึ่งมีคุณสมบัติตามมาตรา๒๕ดําเนินการแทนได้ไม่เกินเก้าสิบวันในกรณีเช่นว่านี้ให้ผู้ได้รับมอบหมายให้ดําเนินการแทนแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้อนุญาตทราบภายในสามวันนับแต่วันที่เข้าดําเนินการแทน
มาตรา๒๗
ผู้รับอนุญาตผู้ดําเนินการและผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลแห่งหนึ่งๆจะเป็นบุคคลคนเดียวกันก็ได้
มาตรา๒๘
ใบอนุญาตให้ดําเนินการสถานพยาบาลให้ใช้ได้จนถึงวันสิ้นปีปฏิทินของปีที่สองนับแต่ปีที่ออกใบอนุญาต
มาตรา๒๙
ในกรณีที่ผู้อนุญาตไม่ออกใบอนุญาต หรือไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตผู้ขอรับใบอนุญาต หรือผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตแล้วแต่กรณีมีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อรัฐมนตรีภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการไม่ออกใบอนุญาตหรือการไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต
มาตรา๓๐
ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหายหรือถูกทําลายในสาระสําคัญให้ผู้รับอนุญาตหรือผู้ดําเนินการแล้วแต่กรณี
มาตรา๓๑
ผู้รับอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่ายณสถานพยาบาลนั้น
มาตรา๓๒
ผู้รับอนุญาตต้องแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ณสถานพยาบาลนั้น
ชื่อสถานพยาบาล
รายการเกี่ยวกับผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล
อัตราค่ารักษาพยาบาลค่ายาและเวชภัณฑ์ค่าบริการทางการแพทย์ค่าบริการอื่นและสิทธิของผู้ป่วยที่สถานพยาบาลต้องแสดงตามมาตรา๓๓วรรคหนึ่ง
มาตรา๓๓
รัฐมนตรีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการมีอํานาจประกาศกําหนดชนิดหรือประเภทของการรักษาพยาบาลยาและเวชภัณฑ์การบริการทางการแพทย์หรือการบริการอื่นของสถานพยาบาลและสิทธิของผู้ป่วยซึ่งผู้รับอนุญาตจะต้องแสดงตามมาตรา๓๒ (๓)
มาตรา๓๔
ให้ผู้ดําเนินการมีหน้าที่และความรับผิดชอบดังต่อไปนี้
ควบคุมและดูแลมิให้ผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลประกอบวิชาชีพผิดไปจากสาขาชั้นหรือแผนที่ผู้รับอนุญาตได้แจ้งไว้ในการขอรับใบอนุญาตหรือมิให้บุคคลอื่นซึ่งมิใช่เป็นผู้ประกอบวิชาชีพทําการประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล
ควบคุมและดูแลให้ผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพของตน
ควบคุมและดูแลมิให้มีการรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนเกินจํานวนเตียงตามที่กําหนดไว้ในใบอนุญาตเว้นแต่กรณีฉุกเฉินซึ่งหากไม่รับไว้อาจเกิดอันตรายแก่ผู้ป่วย
ควบคุมและดูแลสถานพยาบาลให้สะอาดเรียบร้อยปลอดภัยและมีลักษณะอันเหมาะสมแก่การใช้เป็นสถานพยาบาล
มาตรา๓๕
ให้ผู้รับอนุญาตและผู้ดําเนินการมีหน้าที่และความรับผิดชอบร่วมกันดังนี้
จัดให้มีเครื่องมือเครื่องใช้ยาและเวชภัณฑ์ที่จําเป็นประจําสถานพยาบาลนั้นตามชนิดที่กําหนดในกฎกระทรวง
จัดให้มีและรายงานหลักฐานเกี่ยวกับผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลและผู้ป่วยและเอกสารอื่นที่เกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กําหนดใน
จัดให้มีผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลตามวิชาชีพและจํานวนที่กําหนดในกฎกระทรวงตลอดเวลาทําการ
ควบคุมและดูแลการประกอบกิจการสถานพยาบาลให้เป็นไปตามมาตรฐานการบริการที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดตามมาตรา๑๕
มาตรา๓๖
ผู้รับอนุญาตและผู้ดําเนินการของสถานพยาบาลต้องควบคุมและดูแลให้มีการช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ป่วยตามมาตรา๓๓/๑ซึ่งอยู่ในสภาพอันตรายและจําเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลโดยฉุกเฉินเพื่อให้พ้นจากอันตรายตามมาตรฐานวิชาชีพและตามประเภทของสถานพยาบาลนั้นๆ
มาตรา๓๗
ผู้รับอนุญาตและผู้ดําเนินการต้องควบคุมดูแลมิให้มีการใช้หรือยินยอมให้ผู้อื่นใช้สถานพยาบาลประกอบกิจการสถานพยาบาลผิดประเภทหรือผิดลักษณะการให้บริการตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาต
มาตรา๓๘
ผู้ใดประสงค์จะโฆษณาหรือประกาศด้วยประการใดๆเกี่ยวกับการประกอบกิจการของสถานพยาบาลนอกจากชื่อและที่ตั้งของสถานพยาบาลตามที่ปรากฏในใบอนุญาตต้องได้รับอนุมัติข้อความเสียงหรือภาพที่ใช้ในการโฆษณาหรือประกาศจากผู้อนุญาตทั้งนี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการเงื่อนไขและค่าใช้จ่ายที่ผู้อนุญาตประกาศกําหนด
มาตรา๓๙
ในกรณีที่มีการโฆษณาหรือประกาศฝ่าฝืนมาตรา๓๘ ผู้อนุญาตมีอํานาจสั่งเป็นหนังสือให้ผู้โฆษณาหรือประกาศระงับการกระทําดังกล่าวได้
มาตรา๔๐
ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตประสงค์จะเปลี่ยนแปลงการประกอบกิจการของสถานพยาบาลให้แตกต่างไปจากที่ระบุไว้ในใบอนุญาตหรือก่อสร้างอาคารขึ้นใหม่หรือดัดแปลงอาคารเกินกว่าที่กําหนดในกฎกระทรวงเพื่อใช้ในการประกอบกิจการสถานพยาบาลให้กระทําได้เมื่อได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาต
มาตรา๔๑
ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตประสงค์จะย้ายสถานพยาบาลไปประกอบกิจการที่อื่นให้ดําเนินการเสมือนเป็นผู้ขออนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาลใหม่
มาตรา๔๒
เมื่อมีการเปลี่ยนตัวผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลตามมาตรา๑๘(๔) ผู้รับอนุญาตต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้อนุญาตทราบภายในกําหนดสามสิบวันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนนั้น
มาตรา๔๓
ภายใต้บังคับมาตรา๑๘ (๕) การเปลี่ยนชื่อสถานพยาบาลต้องได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาต
มาตรา๔๔
ผู้รับอนุญาตผู้ใดประสงค์จะเลิกกิจการสถานพยาบาลต้องแจ้งเป็นหนังสือและจัดทํารายงานที่จะปฏิบัติเกี่ยวกับผู้ป่วยให้ผู้อนุญาตทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบห้าวันทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดในกฎกระทรวง
มาตรา๔๕
ให้ผู้อนุญาตจัดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจลักษณะของสถานพยาบาลและการประกอบกิจการของสถานพยาบาลให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้โดยสม่ำเสมอ
หมวด ๓ พนักงานเจ้าหน้าที่ :smiley:
มาตรา๔๖
ในการปฏิบัติหน้าที่ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจดังต่อไปนี้
เข้าไปในอาคารสถานที่หรือยานพาหนะที่พนักงานเจ้าหน้าที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นสถานพยาบาลที่ไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้
เข้าไปในสถานพยาบาลในระหว่างเวลาทําการเพื่อตรวจสอบและควบคุมให้การเป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
มีหนังสือเรียกผู้รับอนุญาตผู้ดําเนินการผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่ของสถานพยาบาลมาให้ถ้อยคําหรือชี้แจงหรือให้ส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องมาเพื่อประกอบการพิจารณา
ยึดหรืออายัดบรรดาเอกสารหรือสิ่งของที่เกี่ยวกับการกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เพื่อเป็นหลักฐานในการดําเนินคดี
มาตรา๔๗
ในการปฏิบัติหน้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจําตัวบัตรประจําตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่กําหนดในกฎกระทรวง
มาตรา๔๘
ในการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ให้ผู้อนุญาตและพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
หมวด ๔ การปิดสถานพยาบาลและการเพิกถอนใบอนุญาต :smiley:
มาตรา๔๙
เมื่อปรากฏว่าผู้รับอนุญาตหรือผู้ดําเนินการปฏิบัติไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัตินี้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจสั่งให้ผู้รับอนุญาตหรือผู้ดําเนินการแล้วแต่กรณีระงับหรือปฏิบัติให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่เห็นสมควร
มาตรา๕๐
ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตหรือผู้ดําเนินการกระทําการหรือละเว้นกระทําการอย่างใดๆจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายความเสียหายหรือความเดือดร้อนอย่างร้ายแรงแก่ผู้ที่อยู่ในสถานพยาบาลหรือผู้ที่อยู่ใกล้เคียงกับสถานพยาบาลหรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของผู้อนุญาตตามมาตรา๔๕หรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา๔๙ให้ผู้อนุญาตมีอํานาจออกคําสั่งปิดสถานพยาบาลเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะได้ดําเนินการให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กําหนด
มาตรา๕๑
ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตหรือผู้ดําเนินการขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา๑๗หรือมาตรา๒๕แล้วแต่กรณีหรือถ้าผู้รับอนุญาตหรือผู้ดําเนินการไม่ดําเนินการให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่ผู้อนุญาตกําหนดตามมาตรา๕๐
มาตรา๕๒
เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองดูแลผู้ป่วยในสถานพยาบาลในกรณีที่
ผู้รับอนุญาตตายและไม่มีผู้แสดงความจํานงเพื่อขอประกอบกิจการหรือผู้แสดงความจํานงนั้นขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามทั้งนี้ตามที่บัญญัติในมาตรา๒๒
ผู้อนุญาตมีคําสั่งปิดสถานพยาบาลเป็นการชั่วคราวตามมาตรา๕๐หรือมีคําสั่งเพิกถอนใบอนุญาตตามมาตรา๕๑
มาตรา๕๓
คําสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา๔๙หรือของผู้อนุญาตตามมาตรา๕๐หรือมาตรา๕๑ให้ทําเป็นหนังสือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนให้ผู้รับอนุญาตหรือผู้ดําเนินการณภูมิลําเนาของผู้นั้นแล้วแต่กรณีถ้าไม่พบตัวหรือไม่ยอมรับคําสั่งดังกล่าวให้จัดการปิดคําสั่งไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่ายณสถานพยาบาลและให้ถือว่าผู้นั้นได้ทราบคําสั่งนั้นแล้วตั้งแต่วันที่ปิดคําสั่ง
มาตรา๕๔
ผู้ใดถูกเพิกถอนใบอนุญาตแล้วจะขอรับใบอนุญาตใหม่อีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกําหนดสองปีนับแต่วันที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต
มาตรา๕๕
คําสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา๔๙หรือของผู้อนุญาตตามมาตรา๕๐หรือมาตรา๕๑ผู้ที่ได้รับคําสั่งมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคําสั่ง
หมวด ๕ บทกําหนดโทษ :smiley:
มาตรา๕๖
ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการตามมาตรา๑๓ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินสองพันบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา๕๗
ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา๑๖วรรคหนึ่ง หรือมาตรา๒๔วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับและศาลจะสั่งริบบรรดาสิ่งของที่ใช้ในการประกอบกิจการสถานพยาบาลด้วยก็ได้
มาตรา๕๘
ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของผู้อนุญาตตามมาตรา๓๙หรือมาตรา๔๕หรือคําสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา๔๙ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา๕๙
ผู้รับอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา๒๑มาตรา๓๑มาตรา๓๒มาตรา๔๐หรือมาตรา๔๓ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา๖๐
ผู้รับอนุญาตผู้ใดประกอบกิจการสถานพยาบาลโดยมิได้จัดให้มีผู้ดําเนินการตามมาตรา๒๓ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา๖๑
ผู้ใดมีหน้าที่ต้องแจ้งให้ผู้อนุญาตทราบแต่ไม่แจ้งภายในกําหนดเวลาตามมาตรา๒๖มาตรา๓๐มาตรา๔๒หรือมาตรา๔๔วรรคหนึ่งต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา๖๒
ผู้รับอนุญาตผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา๓๓วรรคสองต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา๖๓
ผู้ดําเนินการผู้ใดไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามมาตรา๓๔ (๑) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา๖๔
ผู้ดําเนินการผู้ใดไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามมาตรา๓๔ (๓) หรือ (๔) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา๖๕
ผู้รับอนุญาตหรือผู้ดําเนินการผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา๓๔(๒) หรือมาตรา๓๕ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา๖๖
ผู้รับอนุญาตหรือผู้ดําเนินการผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา๓๖ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา๖๗
ผู้รับอนุญาตหรือผู้ดําเนินการผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา๓๗ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
มาตรา๗๑
ผู้ใดประกอบกิจการสถานพยาบาลในระหว่างที่สถานพยาบาลนั้นถูกสั่งปิดชั่วคราวตามมาตรา๕๐ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับและให้ปรับอีกวันละไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน
มาตรา๖๘
ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา๓๘วรรคหนึ่งต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาทและให้ปรับอีกวันละไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทนับแต่วันที่ฝ่าฝืนคําสั่งที่ให้ระงับการโฆษณาหรือประกาศทั้งนี้จนกว่าจะระงับการโฆษณาหรือประกาศดังกล่าว
มาตรา๖๙
ผู้รับอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของผู้อนุญาตตามมาตรา๔๔วรรคสองต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา๗๐
ผู้รับอนุญาตผู้ดําเนินการผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลเจ้าหน้าที่ของสถานพยาบาลหรือบุคคลซึ่งอยู่ในสถานพยาบาลผู้ใดไม่อํานวยความสะดวกให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ตามมาตรา๔๖ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท
มาตรา๗๒
ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อํานวยความสะดวกให้แก่คณะกรรมการในการดําเนินการตามมาตรา๕๒ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินสองพันบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา๗๓
ผู้รับอนุญาตผู้ดําเนินการผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่ของสถานพยาบาลผู้ใดจัดทําหรือยินยอมให้ผู้อื่นจัดทําหลักฐานเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลอันเป็นเท็จต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา๗๔
ในกรณีที่ผู้กระทําความผิดเป็นนิติบุคคลถ้าการกระทําความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สําหรับความผิดนั้นๆด้วย
มาตรา๗๕
ให้มีคณะกรรมการเปรียบเทียบคดี
บทเฉพาะกาล :smiley:
มาตรา๗๖
ใบอนุญาตให้ตั้งสถานพยาบาลและใบอนุญาตให้ดําเนินการสถานพยาบาลที่ออกตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาลพ.ศ. ๒๕๐๔ให้ถือว่าเป็นใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลหรือใบอนุญาตให้ดําเนินการสถานพยาบาลที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้และให้ใช้ได้จนถึงวันสิ้นปีปฏิทินของปีที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ
มาตรา๗๗
บรรดากฎกระทรวงหรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาลพ.ศ. ๒๕๐๔และยังใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ทั้งนี้จนกว่าจะมีกฎกระทรวงหรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้
5.4 พระราชบัญญัติโรคติดต่อพ.ศ. ๒๕๕๘
:pencil2:
มาตรา๑
พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติโรคติดต่อพ.ศ. ๒๕๕๘”
มาตรา๒
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา๓
ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติโรคติดต่อพ.ศ. ๒๕๒๓
มาตรา๔
“โรคติดต่อ”
โรคที่เกิดจากเชื้อโรคหรือพิษของเชื้อโรคซึ่งสามารถแพร่โดยทางตรงหรือทางอ้อมมาสู่คน
“โรคติดต่ออันตราย”
โรคติดต่อที่มีความรุนแรงสูงและสามารถแพร่ไปสู่ผู้อื่นได้อย่างรวดเร็ว
“โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง”
โรคติดต่อที่ต้องมีการติดตามตรวจสอบหรือจัดเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่อง
“โรคระบาด”
โรคติดต่อหรือโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคแน่ชัดซึ่งอาจแพร่ไปสู่ผู้อื่นได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวางหรือมีภาวะของการเกิดโรคมากผิดปกติกว่าที่เคยเป็นมา
“พาหะ”
คนหรือสัตว์ซึ่งไม่มีอาการของโรคติดต่อปรากฏแต่ร่างกายมีเชื้อโรคนั้นซึ่งอาจติดต่อถึงผู้อื่นได้
“กักกัน”
การควบคุมผู้สัมผัสโรคหรือพาหะให้อยู่ในที่เอกเทศเพื่อป้องกันมิให้เชื้อโรคแพร่โดยทางตรงหรือทางอ้อมไปยังผู้ซึ่งอาจได้รับเชื้อโรคนั้นๆได้จนกว่าจะพ้นระยะฟักตัวของโรคหรือจนกว่าจะพ้นความเป็นพาหะ
“การเฝ้าระวัง”
การสังเกตการเก็บรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูลตลอดจนการรายงานและการติดตามผลของการแพร่ของโรคอย่างต่อเนื่องด้วยกระบวนการที่เป็นระบบเพื่อประโยชน์ในการควบคุมโรค
“ที่เอกเทศ”
ที่ใดๆซึ่งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อกําหนดให้เป็นที่สําหรับแยกกักหรือกักกันคนหรือสัตว์ที่เป็นหรือมีเหตุสงสัยว่าเป็นโรคติดต่อใดๆเพื่อป้องกันมิให้โรคนั้นแพร่โดยทางตรงหรือทางอ้อมไปยังผู้ซึ่งอาจได้รับเชื้อโรคนั้นๆได้
มาตรา๕
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้และให้มีอํานาจแต่งตั้งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อออกกฎกระทรวงกําหนดกิจการอื่นตลอดจนออกระเบียบหรือประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
หมวด ๑ บททั่วไป :check:
มาตรา๖
เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ มีประกาศกําหนดดังต่อไปนี้
ชื่อและอาการสําคัญของโรคติดต่ออันตรายและโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง
ช่องทางเข้าออกแห่งใดในราชอาณาจักรให้เป็นด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศและยกเลิกด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ
การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
มาตรา๗
เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อให้รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการมีอํานาจประกาศกําหนดดังต่อไปนี้
หลักเกณฑ์และวิธีการแจ้งในกรณีที่มีโรคติดต่ออันตรายโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังหรือโรคระบาดเกิดขึ้น
หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขในการดําเนินการหรือออกคําสั่งและการสอบสวนโรค
หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการกําหนดค่าใช้จ่ายสําหรับเจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะ
หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่ผู้เดินทางต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย
มาตรา๘
เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดที่อาจจะเข้ามาภายในราชอาณาจักรให้รัฐมนตรีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการด้านวิชาการมีอํานาจประกาศให้ท้องที่หรือเมืองท่าใดนอกราชอาณาจักรเป็นเขตติดโรคและยกเลิกประกาศเมื่อสภาวการณ์ของโรคนั้นสงบลงหรือกรณีมีเหตุอันสมควร
มาตรา๙
เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและควบคุมโรคระบาดให้อธิบดีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการด้านวิชาการมีอํานาจประกาศชื่ออาการสําคัญและสถานที่ที่มีโรคระบาดและแจ้งให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา๓๔ทราบรวมทั้งประกาศยกเลิกเมื่อสภาวการณ์ของโรคนั้นสงบลงหรือกรณีมีเหตุอันสมควร
มาตรา๑๐
ในกรณีที่ข้อมูลจากการเฝ้าระวังการสอบสวนโรคหรือการแจ้งหรือรายงานตามพระราชบัญญัตินี้ซึ่งมีการพาดพิงถึงตัวบุคคลทั้งที่ระบุตัวได้หรือไม่สามารถระบุตัวได้ จะต้องเก็บเป็นความลับและประมวลผลโดยไม่เปิดเผยชื่อ ทั้งนี้การประมวลผลดังกล่าวจะต้องเหมาะสม และตรงกับวัตถุประสงค์ในการป้องกันและควบคุมโรค
หมวด ๒ คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ :check:
มาตรา๑๑
ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ” ประกอบด้วย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานกรรมการ
ปลัดกระทรวงกลาโหมปลัดกระทรวงการต่างประเทศปลัดกระทรวงคมนาคมปลัดกระทรวงมหาดไทยปลัดกระทรวงแรงงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
กรรมการซึ่งมาจากผู้แทนแพทยสภาผู้แทนสภาการพยาบาลผู้แทนสภาเทคนิคการแพทย์และผู้แทนสมาคมโรงพยาบาลเอกชนจํานวนแห่งละหนึ่งคน
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
มาตรา๑๒
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละสามปี
มาตรา๑๓
นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่งเมื่อ
ตาย
ลาออก
รัฐมนตรีให้ออก เพราะมีพฤติกรรมเสื่อมเสีย
เป็นบุคคลล้มละลาย
เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
ได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกเว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
มาตรา๑๔
ให้คณะกรรมการมีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
กําหนดนโยบาย
พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุม
เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรี
ให้คําปรึกษา แนะนํา และประสานงานแก่หน่วยงานของรัฐและเอกชน
ติดตาม ประเมินผล
พิจารณาให้ความเห็นชอบหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการเบิกจ่าย
แต่งตั้งคณะกรรมการด้านวิชาการหรือคณะอนุกรรมการ
ปฏิบัติการอื่นใดตามที่พระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นบัญญัติให้เป็นอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการหรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
มาตรา๑๕
การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่จึงเป็นองค์ประชุม
มาตรา๑๖
ให้มีคณะกรรมการด้านวิชาการคณะหนึ่งประกอบด้วยประธานกรรมการซึ่งแต่งตั้งจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา๑๑ (๔) และให้มีกรรมการซึ่งแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ด้านโรคติดต่ออีกจํานวนไม่เกินเจ็ดคนี้
มาตรา๑๗
ให้นําความในมาตรา๑๕มาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะกรรมการด้านวิชาการและคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม
มาตรา๑๘
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ให้คณะกรรมการคณะกรรมการด้านวิชาการและคณะอนุกรรมการมีอํานาจออกคําสั่งเป็นหนังสือเรียกให้บุคคลใดๆ มาให้ข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็น
มาตรา๑๙
ให้กรมควบคุมโรคเป็นสํานักงานเลขานุการของคณะกรรมการคณะกรรมการด้านวิชาการและคณะอนุกรรมการรับผิดชอบงานธุรการโดยให้มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
เป็นหน่วยงานกลางในการดําเนินการเกี่ยวกับการพิจารณาเสนอนโยบายและวางระบบในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
จัดทําระบบในการเฝ้าระวังโรคติดต่ออันตรายโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังและโรคระบาดเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการ
จัดทําแผนปฏิบัติการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อหรือโรคระบาดเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการ
เป็นศูนย์ข้อมูลกลางในการประชาสัมพันธ์หรือเผยแพร่ข้อมูลและข่าวสารเกี่ยวกับการเฝ้าระวังการป้องกันและการควบคุมสภาวการณ์ของโรคติดต่อและโรคระบาด
เป็นหน่วยงานประสานงานในการติดตามประเมินผลและตรวจสอบการดําเนินการของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด
ปฏิบัติการประสานการปฏิบัติให้การสนับสนุนและช่วยเหลือหน่วยงานของรัฐและเอกชนให้เกิดการปฏิบัติการตามนโยบายและแผนการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
ส่งเสริมสนับสนุนและประสานงานทางด้านวิชาการเวชภัณฑ์และวัสดุอุปกรณ์ในการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมหรือวินิจฉัยเกี่ยวกับโรคติดต่อ
ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการคณะกรรมการด้านวิชาการหรือคณะอนุกรรมการมอบหมาย
หมวด ๓ คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด :check:
มาตรา๒๐
ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานกรรมการ
นายกเทศมนตรีจํานวนหนึ่งคนและนายกองค์การบริหารส่วนตําบลจํานวนหนึ่งคนซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งเป็นกรรมการ
ปลัดจังหวัดประชาสัมพันธ์จังหวัดปศุสัตว์จังหวัดหัวหน้าสํานักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดผู้อํานวยการสํานักงานป้องกันควบคุมโรคที่รับผิดชอบในเขตจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นกรรมการ
ผู้อํานวยการโรงพยาบาล
ผู้ดําเนินการสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลจํานวนหนึ่งคน
มาตรา๒๑
การแต่งตั้งวาระการดํารงตําแหน่งและการพ้นจากตําแหน่งของกรรมการตามมาตรา๒๐ (๓) (๔) และ (๕) และกรรมการตามมาตรา๒๐วรรคสองให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการประกาศกําหนด
มาตรา๒๒
ให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดมีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
ดําเนินการตามนโยบายระบบและแนวทางปฏิบัติในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่คณะกรรมการกําหนด
จัดทําแผนปฏิบัติการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่ออันตรายโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังหรือโรคระบาดในเขตพื้นที่จังหวัด
รายงานสถานการณ์โรคติดต่อหรือโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่อาจเป็นโรคระบาดซึ่งเกิดขึ้นในเขตพื้นที่จังหวัดต่ออธิบดี
สนับสนุนส่งเสริมติดตามและประเมินผลการปฏิบัติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในจังหวัดแล้วรายงานต่อคณะกรรมการ
แต่งตั้งคณะทํางานประจําช่องทางเข้าออกตามมาตรา๒๓ในกรณีที่จังหวัดนั้นมีด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ
เรียกให้บุคคลใดๆมาให้ข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นหรือให้จัดส่งข้อมูลหรือเอกสารใดๆที่จําเป็นหรือข้อคิดเห็นมาเพื่อใช้ประกอบการพิจารณา
ดําเนินการอื่นใดที่เกี่ยวกับการควบคุมโรคติดต่อตามที่คณะกรรมการหรือผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายหรือตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้
มาตรา๒๓
คณะทํางานประจําช่องทางเข้าออก
มาตรา๒๔
ให้คณะทํางานประจําช่องทางเข้าออกมีอํานาจหน้าที่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบดังต่อไปนี้
จัดทําแผนปฏิบัติการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรค
ประสาน สนับสนุน และติดตาม
จัดทําแผนการติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ดําเนินการอื่นใดที่เกี่ยวกับการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุม
มาตรา๒๕
ให้นําความในมาตรา ๑๕ มาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดและคณะทํางานประจําช่องทางเข้าออกโดยอนุโลม
หมวด ๔ คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร :check:
มาตรา๒๖
ให้มีคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร
มาตรา๒๗
การแต่งตั้งวาระการดํารงตําแหน่งและการพ้นจากตําแหน่งของกรรมการตามมาตรา๒๖ (๓) (๔) และ (๕) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการประกาศกําหนด
มาตรา๒๘
ให้คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครมีอํานาจหน้าที่ ดําเนินการตามนโยบาย จัดทําแผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง รายงานสถานการณ์โรคติดต่อ สนับสนุนส่งเสริมติดตามและประเมินผล
มาตรา๒๙
ให้นําความในมาตรา๑๕มาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครและคณะทํางานประจําช่องทางเข้าออกโดยอนุโลม
มาตรา๓๐
ให้นําความในมาตรา๒๓และมาตรา๒๔มาใช้บังคับแก่องค์ประกอบและอํานาจหน้าที่ของคณะทํางานประจําช่องทางเข้าออกที่คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครแต่งตั้งโดยอนุโลม
หมวด ๕ การเฝ้าระวังโรคติดต่อ :check:
มาตรา๓๑
ในกรณีที่มีโรคติดต่ออันตรายโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง หรือโรคระบาดเกิดขึ้น ให้บุคคลดังต่อไปนี้แจ้งต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ
ผู้รับผิดชอบในสถานพยาบาล
ผู้ทําการชันสูตร
เจ้าบ้าน
จ้าของ หรือผู้ควบคุมสถานประกอบการ
มาตรา๓๒
เมื่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อได้รับแจ้งตามมาตรา๓๑ ว่ามีเหตุสงสัยมีข้อมูลหรือหลักฐานว่ามีโรคติดต่ออันตราย ให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อแจ้งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด และรายงานข้อมูลนั้นให้กรมควบคุมโรคทราบโดยเร็ว
มาตรา๓๓
ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีโรคติดต่ออันตรายโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังหรือโรคระบาดเกิดขึ้นในต่างประเทศให้กรมควบคุมโรคประสานงานไปยังองค์การอนามัยโลกเพื่อขอข้อมูลเกี่ยวกับโรคดังกล่าว
หมวด ๖ การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ :check:
มาตรา๓๔
เมื่อเกิดโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาด หรือมีเหตุสงสัยว่าได้เกิดโรคติดต่ออันตราย หรือโรคระบาดในเขตพื้นที่ใด ให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่นั้นมีอํานาจที่จะดําเนินการเองหรือออกคําสั่งเป็นหนังสือ
มาตรา๓๕
ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นเร่งด่วนเพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ของโรคติดต่อให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอํานาจในพื้นที่ความรับผิดชอบของตน
มาตรา๓๖
ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อขึ้นในทุกอําเภอหรือทุกเขตอย่างน้อยหนึ่งหน่วยเพื่อทําหน้าที่ในการเฝ้าระวังสอบสวนโรคป้องกันและควบคุมโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาด
มาตรา๓๗
ให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบช่องทางเข้าออกปฏิบัติตามวิธีการเพื่อการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศในบริเวณช่องทางเข้าออก
มาตรา๓๘
เมื่อมีเหตุอันสมควรให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจําด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศมีอํานาจตรวจตราควบคุมกํากับดูแลในพื้นที่นอกช่องทางเข้าออกและแจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นดําเนินการกําจัดยุงและพาหะนําโรค
มาตรา๓๙
ในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศเมื่อมีเหตุอันสมควรหรือมีเหตุสงสัยว่าพาหนะนั้นมาจากท้องที่หรือเมืองท่าใดนอกราชอาณาจักรที่มีโรคระบาดให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจําด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ
มาตรา๔๐
เมื่อรัฐมนตรีประกาศให้ท้องที่หรือเมืองท่าใดนอกราชอาณาจักรเป็นเขตติดโรคตามมาตรา๘ ให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจําด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศมีอํานาจดําเนินการเองหรือออกคําสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะที่เข้ามาในราชอาณาจักรจากท้องที่หรือเมืองท่านั้น
มาตรา๔๑
ให้เจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการขนส่ง
มาตรา๔๒
ในกรณีที่พบว่าผู้เดินทางเป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดต่ออันตรายโรคระบาดหรือพาหะนําโรคให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจําด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศมีอํานาจสั่งให้บุคคลดังกล่าวถูกแยกกักกักกันคุมไว้สังเกตหรือได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
มาตรา๔๓
เพื่อประโยชน์ในการป้องกันโรคติดต่อระหว่างประเทศหรือโรคระบาดให้อธิบดีหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายมีอํานาจออกหนังสือรับรองการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
มาตรา๔๔
ในกรณีที่เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อได้ออกคําสั่งให้ผู้ใดดําเนินการตามมาตรา๓๔ (๓) (๔) หรือ (๕) มาตรา๓๘มาตรา๓๙ (๔) หรือมาตรา๔๐ (๑) (๒) หรือ (๓) แล้วผู้นั้นละเลยไม่ดําเนินการตามคําสั่งภายในเวลาที่กําหนดเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อมีอํานาจดําเนินการแทนได้โดยให้ผู้นั้นชดใช้ค่าใช้จ่าย
หมวด ๗ เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ :check:
มาตรา๔๕
เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อมีอํานาจดังต่อไปนี้
มีหนังสือเรียกบุคคลใดๆมาให้ถ้อยคํา
เข้าไปในพาหนะอาคารหรือสถานที่ใดๆในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก
มาตรา๔๖
ให้มีเครื่องแบบเครื่องหมายและบัตรประจําตัวสําหรับเจ้าพนักงาน
หมวด ๘ ค่าทดแทน :check:
มาตรา๔๘
หากเกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของบุคคลใดจากการเฝ้าระวังการป้องกันหรือการควบคุมโรคให้ทางราชการชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นให้แก่ผู้นั้นตามความจําเป็น
หมวด ๙ บทกําหนดโทษ :check:
มาตรา๔๙
ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของคณะกรรมการ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา๕๐
ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการแจ้งตามมาตรา๓๑ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
มาตรา๕๑
ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
มาตรา๕๒
ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา๓๔ (๓) (๔) (๗) หรือ (๘) หรือมาตรา๔๐ (๓) หรือ (๔) หรือผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตามมาตรา๓๕ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา๕๓
ผู้ใดไม่อํานวยความสะดวกแก่เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา๓๘ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
มาตรา๕๔
เจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา๔๐ (๒) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินห้าแสนบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา๕๕
ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อํานวยความสะดวกแก่เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา๔๕วรรคสามต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
มาตรา๕๖
ผู้ใดไม่มีสิทธิที่จะสวมเครื่องแบบหรือประดับเครื่องหมายของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา๔๖กระทําการเช่นนั้นเพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าตนมีสิทธิต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา๕๗
บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีโทษปรับสถานเดียวหรือมีโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปีให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอํานาจเปรียบเทียบได้ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์การเปรียบเทียบที่คณะกรรมการกําหนด
น.ส.สุณิสา บัวหอม 6001211085 SecB