Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การประชุมระดมสมอง (Brain Storming) /เวทีสาธารณะ (Public Meeting),…
การประชุมระดมสมอง (Brain Storming)
/เวทีสาธารณะ (Public Meeting)
ภารกิจของผู้เข้าร่วมประชุม
ภารกิจผู้สนับสนุนกลุ่ม (Facilitator)
เป็นผู้ควบคุมขั้นตอน กำกับเวลา
กระตุ้นให้สมาชิกทุกคนเขียน
รวบรวมผล มติจากการถกเถียง อภิปรายของสมาชิก
แนะนำวิธีเขียน วิธีรวมมติ วิธีเสนอแผ่นใส
ไม่ต้องมีความรู้ และชี้แนะเนื้อหา หรือเรื่องที่พิจารณา เนื่องจากสมาชิกกลุ่ม คือ ผู้มีทักษะ ประสบการณ์มาก
รวบรวมผลขั้นตอนสุดท้ายของการประชุมกลุ่ม ไปสรุป พิมพ์ นำเสนอผู้รับผิดชอบในหน่วยงาน
ภารกิจสมาชิกกลุ่ม
ความหมาย
การประชุมระดมสมอง (Brain storming) คือ การเสนอวิธีการแก้ไขปัญหา หรือเสนอความคิดเห็นของสมาชิกในกลุ่มโดยวิธีคิดแบบปัจจุบันทันด่วน เท่าที่ความคิดของสมาชิกคนใดคนหนึ่งจะคิดขึ้นมาได้ในขณะนั้น ไม่มีการวิพากษ์วิจารณ์ มีแต่เสนอขึ้นมาเท่านั้น คำเสนอจะถูกบันทึกไว้ เพื่อประเมินผลหรือตามมติภายหลัง ควรใช้เมื่อสมาชิกในกลุ่มรู้จักกันดี มีความรู้ในปัญหานั้นแล้วพอสมควร และบรรยากาศของกลุ่มเอื้ออำนวยให้ทุกคนมีอิสระในการแสดงความคิดเห็นของตนได้อย่างเต็มที่โดยไม่ต้องเกรงอกเกรงใจ
Appreciation-Influence-Control (A-I-C) คือกระบวนการ A-I-C เป็นเทคนิคการประชุมแบบมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ที่การระดมสมองทำให้เกิดความเข้าใจสภาพปัญหา/ขีดจำกัด ความต้องการ/และศักยภาพของผู้ที่เกี่ยวข้องในเรื่องต่างๆ งานที่ได้จากการประชุมมาจากความคิดของทุกคน
I-Influence คือ การใช้ประสบการณ์ /ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของแต่ละคนที่มีอยู่ มาช่วยกันกำหนดวิธีการ / ยุทธศาสตร์เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์/อุดมการณ์ร่วมกัน
C-Control คือ การนำยุทธศาสตร์/วิธีสำคัญ มากำหนดแผนปฏิบัติการโดยละเอียด สมาชิกจะเลือกว่าตนเองสามารถรับผิดชอบในเรื่องใดด้วยความสมัครใจ ทำให้เกิดพันธะสัญญาข้อผูกพัน (Commitment) แก่ตนเองเพื่อควบคุมตน (Control) ให้ปฏิบัติจนบรรลุผลตามเป้าหมายร่วมของกลุ่ม
A-Appreciation คือ การยอมรับชื่นชม (Appreciate) ความคิดเห็นความรู้สึกของเพื่อนสมาชิกในกลุ่มด้วยความเข้าใจในประสบการณ์ สภาพ และขีดจำกัดของเพื่อนสมาชิกแต่ละคน
เทคนิค / วิธีการ
กระบวนการ A-I-C จะใช้การวาดภาพเพื่อเป็นการสะท้อนประสบการณ์ในอดีต / สภาพปัจจุบันกับจินตนาการถึงความมุ่งหวังในอนาคตของสมาชิกทุกคน โดยให้แต่ละคนวาดภาพของตนก่อน นำภาพของทุกคนมาวางรวมกันบนกระดาษแผ่นใหญ่ แล้วจึงต่อเติมรวมภาพของแต่ละคนให้กลมกลืนเป็นภาพใหญ่ของกลุ่มเพียงภาพเดียว
วิธีประชุมด้วย AIC (ภาคปฏิบัติ)
ขั้นตอน A - 1 (15 นาที)
เข้าใจสถานการณ์ สภาพความเป็นจริง (reality)
ขั้นตอน A - 2 (20 นาที)
สร้างวิสัยทัศน์ สภาพที่คาดหวังในอนาคต
(ideal vision หรือ scenario)
ขั้นตอน I - 1 (30 นาที)
คิดหากลวิธี (solution design)
ขั้นตอน I - 2 (30 นาที)
จัดความสำคัญ จำแนกกิจกรรม (priority)
ขั้นตอน C - 1 (30 นาที)
วางแผน หาผู้รับผิดชอบ (responsibility)
ขั้นตอน C - 2 (30 นาที)
จัดทำแผน / กิจกรรม / โครงการ (Action plan)
ขั้นตอน
3.2 ขั้นตอนก่อนเริ่มกระบวนการ AIC
3.2.1 การคัดเลือกผู้เข้าประชุม
3.2.2 เตรียมประเด็น
3.2.3 เขียนวัตถุประสงค์ของประเด็น
3.2.4 การแบ่งกลุ่ม
3.2.5 การเตรียมห้องประชุม
3.2.6 เตรียมอุปกรณ์
3.1 ขั้นตอนในการระดมสมอง
การสำรวจปัญหา (Define Problem)
การสร้างความคิด (Generating Ideas)
3.การพัฒนาหนทางแก้ไข (Developing the Solution)
ประโยชน์ของการระดมพลังสมอง
ให้โอกาสแสดงความคิดเห็นในปัญหาต่าง ๆ โดยไม่ต้องคอยไตร่ตรอง
ไม่มีข้อจำกัดหรือการกีดกันใด ๆ ทั้งสิ้น
ได้รับความเห็นหลาย ๆ ด้าน ทำให้กลุ่มมีโอกาสในการพิจารณาเลือกหลายสิ่ง ไม่จำเพาะเจาะจงอยู่ในความคิดเดียวตลอดไป
สร้างกลุ่มให้เกิดความคิดใหม่ ๆ ในการสร้างสรรค์และสามารถนำไปใช้เพื่อความก้าวหน้าของกลุ่ม
เป็นวิธีที่ให้โอกาสแก่ทุกคนเสนอความคิดเห็นได้ ซึ่งจะช่วยสร้างให้กลุ่มเกิดมีคุณธรรมและเกิดความรักหมู่คณะขึ้น
ภายหลังการประชุม
มีความสำคัญยิ่งกว่าการประชุม ผู้เข้าร่วมประชุมย่อมรู้ตนเองว่า ได้เสนออะไรไป หน้าที่ บทบาทของตนเกี่ยวกับงานนี้ เป็นของแต่ละคน ที่จะต้องรับไปเสนอหัวหน้าหน่วย และผู้ร่วมงาน นำไปปฏิบัติตามแผน และประชุมสามเส้า ทบทวนงาน ตามข้อชี้วัดและเป้าหมาย ปรับเปลี่ยนกลวิธี และการสนับสนุนเพื่อขจัดอุปสรรค ที่ทำไม่สำเร็จ กิจกรรมใดที่สำเร็จแล้ว ก็ต้องพัฒนาโครงการ (programme development) คิดกิจกรรมใหม่ๆ เพราะความสำเร็จในเรื่องหนึ่ง จะมีปัญหาตามมาใหม่
นางสาวจิรามณี วามะลุน เลขที่10 ห้องA