Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ - Coggle…
บทที่ 3 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
ความหมายและลักษณะของกฎหมายแพ่ง
กฎหมายพาณิชย์
เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้าขายหรือกิจการใดๆ ที่ได้กระทำในเรื่องหุ้นส่วนบริษัท ประกันภัยตั๋วเงิน เป็นต้น
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับวิธีการดำเนินพิจารณาพิพากษาคดีในกรณีที่เกิดข้อพิพาทในทางแพ่งขึ้น เช่น วิธีฟ้อง ศาลที่ฟ้อง วิธีพิจารณาของศาลตลอดจนการบังคับให้ฝ่ายที่ผิดปฏิบัติตามคำพิพากษา เป็นต้น
กฎหมายแพ่ง
เป็นส่วนหนึ่งในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ปพพ.) ที่กำหนดสิทธิ หน้าที่ และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชนโดยทุกฝ่ายมีฐานะเท่าเทียมกัน และสามารถต่อรองเพื่อตกลงกระทำการใดๆ ภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย
นิติกรรม
การกระทำของบุคคลด้วยใจสมัครและถูกต้องตามกฎหมาย มุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับสิทธิระหว่างบุคคล เช่น สัญญาจ้างพยาบาลพิเศษเป็นสัญญาต่างตอบแทน โดยพยาบาลมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนการเฝ้าไข้ แต่มีหน้าที่ที่ต้องให้การพยาบาลผู้ป่วยซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างอย่างมีมาตรฐาน เป็นต้น
องค์ประกอบของนิติกรรม
2.การกระทำโดยเจตนา
การแสดงเจตนาโดยชัดแจ้ง
การแสดงเจตนาโดยปริยาย
3.การกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย
1.ผู้กระทำต้องแสดงออกในฐานะที่เป็นเอกชน
4.ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวสิทธิ
ประเภทของนิติกรรม
2.นิติกรรมที่พิจารณาแบ่งตามการมีผลของนิติกรรม
นิติกรรมที่มีผลขณะผู้แสดงเจตนายังมีชีวิตเช่น การให้โดยเสน่หา สัญญาการซื้อขาย สัญญาการใช้ทุนการศึกษา สัญญาค้ำประกัน เป็นต้น
นิติกรรมที่มีผลขณะผู้แสดงเจตนาไม่มีชีวิตเช่น พินัยกรรม เป็นต้น
3.นิติกรรมที่พิจารณาแบ่งตามค่าตอบแทน
นิติกรรมที่มีค่าตอบแทนอาทิ สัญญาจ้างงาน สัญญาซื้อขาย สัญญากู้ยืมเงิน สัญญาเช่าทรัพย์ เป็นต้น
นิติกรรมที่ไม่มีค่าตอบแทนอาทิ การให้โดยเสน่หา สัญญายืมเงินโดยไม่มีดอกเบี้ย เป็นต้น
1.นิติกรรมที่พิจารณาแบ่งตามจำนวนคู่กรณี
นิติกรรมฝ่ายเดียวได้แก่ นิติกรรมที่เกิดผลโดยการแสดงเจตนาของบุคคลเพียงฝ่ายเดียว และมีผลผูกพันทางกฎหมาย เช่น พินัยกรรม คำมั่นจะให้รางวัล การบอกล้างโมฆียะกรรม เป็นต้น
นิติกรรมหลายฝ่ายได้แก่ นิติกรรมที่เกิดขึ้นโดยการแสดงเจตนาของบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป และทุกฝ่ายตกลงยินยอมตามข้อตกลง
ความสามารถของบุคคลในการให้การยินยอมรักษาพยาบาล
ความสามารถของบุคคล (Capacity)หมายถึง สภาพที่กฎหมายกำหนดขอบเขตให้บุคคลมีสิทธิหรือใช้สิทธิ ความสามารถของบุคคลเป็นสิ่งสำคัญต่อการพิจารณาความรับผิดทางกฎหมาย
บุคคล
1.บุคคลธรรมดาหมายถึง มนุษย์ที่มีชีวิตรอดภายหลังการคลอดจากครรภ์มารดา ในทางกฎหมายกำหนดให้สภาพบุคคลเริ่มตั้งแต่เมื่อคลอดและอยู่รอดเป็นทารก และสิ้นสุดลงเมื่อตาย
การตายโดยธรรมชาติหมายถึง การป่วยตาย แก่ตาย หรือถูกฆ่าตายของบุคคล ทำให้สภาพบุคคลสิ้นสุด ก่อให้เกิดผลทางกฎหมายทั้งทางแพ่งและอาญา
การสาบสูญ หมายถึง การที่บุคคลได้ไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครรู้แน่ว่า บุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ เป็นเวลาติดต่อกัน 5 ปี ในเหตุการณ์ปกติ หรือเป็นเวลา 2 ปี ในกรณีที่มีเหตุอันตรายจากการรบ การสงคราม หรือยานพาหนะอับปาง
2.นิติบุคคล หมายถึง สิ่งซึ่งกฎหมายสมมติให้เป็นบุคคล เพื่อให้มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย
ผู้เยาว์(Minor)
บุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ในทางกฎหมาย บุคคลจะพ้นจากการเป็นผู้เยาว์หรือบรรลุนิติภาวะใน 2กรณี คือ อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์
คนไร้ความสามารถ(Incompetence)
คนวิกลจริต (Unsound mind) หรือ อยู่ในภาวะผัก (Vegetative state) ที่คู่สมรส ผู้สืบสันดาน (ลูก หลาน เหลน ลื้อ) บุพการี (บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย ทวด) ผู้อนุบาล หรือพนักงานอัยการยื่นเรื่องต่อศาล และศาลมีคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
คนเสมือนไร้ความสามารถ(Quasi –incompetence)
บุคคลที่ไม่สามารถจัดทำการงานโดยตนเอง หรือจัดกิจการไปในทางเสื่อมเสียแก่ทรัพย์สินของตนเองหรือครอบครัว และศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ
ลูกหนี้ที่ถูกศาลสั่งเป็นบุคคลล้มละลาย
สามีภริยา
เป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกัน จึงต้องให้ความยินยอมซึ่งกันและกันเป็นการทำนิติกรรมบางประเภท เช่น การซื้อขาย แลก เปลี่ยน การเช่าอสังหาริมทรัพย์เกิน 3ปี
สภาพบังคับทางแพ่ง
1.โมฆะกรรมหมายถึง ความเสียเปล่าของนิติกรรม ที่กระทำตั้งแต่ต้น จึงไม่ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวสิทธิและหน้าที่ของคู่กรณีที่กระทำนิติกรรม หรืออาจกล่าวได้ว่านิติกรรมเป็นโมฆะ ทำให้ไม่มีผลตามกฏหมาย
1.2 นิติกรรมที่ไม่ได้ท าให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายก าหนด
1.3 การแสดงเจตนาโดยส าคัญผิดในสาระส าคัญแห่งนิติกรรม
1.1 นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย
2.โมฆียกรรม หมายถึง การทำนิติกรรมที่มีผลสมบูรณ์ในขณะกระทำ แต่สามารถบอกล้างหรือปฏิเสธนิติกรรมโดยผู้เสียหายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด มีผลให้นิติกรรมนั้นตกเป็นโมะะตั้งแต่เริ่มแรก เสมือนไม่ได้ทำนิติกรรมใด
2.1 ความสามารถของบุคคลนิติกรรมใดที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายเป็นโมฆียะ เช่น นิติกรรมที่ผู้เยาว์ท าต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม
2.2 การแสดงเจตนาโดยวิปริต
การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์สิน
การแสดงเจตนาโดยการข่มขู่
การแสดงเจตนาโดยการฉ้อฉล
การบังคับชำระหนี้ เป็นการชำระเงิน ส่งมอบทรัพย์สิน กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อใช้หนี้ หรืองดกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อใช้หนี้
การชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทน หมายถึงการที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายให้กลับคืนสู่ฐานะเดิมมากที่สุด
ความเสียหายที่คำนวณราคาเป็นเงินได้ คือ ความเสียหายที่แน่นอนและไม่ไกลเกินเหตุ รวมถึงการคืนทรัพย์สิน หรือใช้ราคาค่าเสียหายของความเสียหายที่เกิดขึ้น
ความเสียหายที่ไม่อาจคำนวณราคาเป็นตัวเงินได้ เช่น หมิ่นประมาท ความเศร้าเสียใจที่บุตรถูกรถชนตาย ค่าเสื่อมสุขภาพอนามัย ค่าทำขวัญ เป็นต้น
ความรับผิดทางแพ่งที่เกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
สัญญา
การกระทำของบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป ที่แสดงเจตนาด้วยใจสมัครถูกต้องตรงกันที่จะกระทำหรืองดเว้นการกระทำ และตกลงกันทุกข้อโดยไม่มีข้อสงสัย
ความรับผิดจากการละเมิด
การกระทำหรืองดเว้นการกระทำ โดยจงใจหรือประมาทต่อผู้อื่นโดยผิดกฎหมาย จนเป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สิน หรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด
1.การกระทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย
การประทุษกรรม หรือกระทำต่อผู้อื่นโดยผิดกฎหมายด้วยการฝ่าฝืนข้อห้าม หรือละเว้นการกระทำในสิ่งที่ผิดกฎหมายบัญญัติให้กระทำ งดเว้นในสิ่งที่ตนมีหน้าที่ตามกฎหมายที่ต้องกระทำ
2.การกระทำโดยจงใจหรือประมาท
การกระทำโดยจงใจ
การกระทำที่ตั้งใจหรือเจตนาโดยผิดกฎหมาย ไม่มีสิทธิหรือใช้สิทธิเกินขอบเขต ทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น โดยรู้สำนึกถึงผลเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่บุคคลอื่น
การกระทำโดยประมาทเลินเล่อ
การกระทำโดยมิได้จงใจ แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังในระดับวิญญูชน ซึ่งอาจเทียบได้กับความระมัดระวังของบุคคลในอาชีพเดียวกัน ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจะต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ แต่หาได้ใช้เพียงพอไม่
3.ทำให้บุคคลอื่นเสียหาย
ความเสียหายแก่ชีวิต หมายถึง ทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย เช่น การทำผ่าตัดผิดพลาด ทำให้ผู้ป่วยเสียเลือดมากและเสียชีวิต
ความเสียหายแก่ร่างกายหมายถึง ทำให้ผู้อื่นบาดเจ็บ ทุพพลภาพ หรือเจ็บป่วยเรื้อรัง
ความเสียหายแก่อนามัยหมายถึง ความสุขสบายและความรู้สึกต่างๆ
ความเสียหายแก่เสรีภาพหมายถึง การทำให้ผู้อื่นถูกจำกัดอิสรภาพ
ความเสียหายแก่ทรัพย์สินและสิทธิต่างๆหมายถึง การให้ทรัพย์ของผู้อื่นเสียหายหรือการทำให้ผู้อื่นเสียสิทธิต่างๆที่ได้มาถูกต้อง
บุคคลต้องร่วมรับผิดกับผู้กระทำ
1.นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งการละเมิด ซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปตามที่ว่าจ้าง
2.ตัวการต้องรับผิดชอบผลแห่งการละเมิดของตัวแทนที่ได้กระทำไปภายในของเขตอำนาจของตัวแทน ซึ่งกระทำตามที่ตัวการมอบหมาย (ปพพ. มาตรา 427)
3.บิดามารดาของผู้เยาว์หรือผู้อนุบาลของผู้วิกลจริต ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิดที่ผู้เยาว์หรือผู้วิกลจริตกระทำ เว้นแต่พิสูจน์ได้ว่า ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรในหน้าที่การดูแล (ปพพ. มาตรา 429)
4.ครูบาอาจารย์นายจ้างหรือบุคคลอื่น ซึ่งรับดูแลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิตย์ หรือชั่วครั้งคราว จะต้องร่วมรับผิดกับผู้ไร้ความสามารถในการละเมิด ซึ่งได้กระทำระหว่างอยู่ในความดูแลของตน หากพิสูจน์ได้ว่า ครูบาอาจารย์ นายจ้างหรือบุคคลอื่นมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร (ปพพ. มาตรา 430)
อายุความ
ระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดให้บุคคลมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ถ้าผู้เสียหายใช้สิทธินั้นร้องเรียนต่อศาลเกินระยะเวลาที่กำหนด ศาลจะมีคำสั่งยกฟ้องได้ เนื่องจากคดีขาดอายุความ
ตัวอย่างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่เกี่ยวข้อง
มาตรา ๑๙ บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์
มาตรา ๒๐ ผู้เยาว์ย่อมบรรลุนิติภาวะเมื่อทำการสมรส หากการสมรสนั้นได้ทำตามบทบัญญัติมาตรา ๑๔๔๘
มาตรา ๑๕ สภาพบุคคลย่อมเริ่มแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารกและสิ้นสุดลงเมื่อตายทารกในครรภ์มารดาก็สามารถมีสิทธิต่างๆ ได้ หากว่าภายหลังคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก
มาตรา ๒๓ ผู้เยาว์อาจทำการใดๆ ได้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการต้องทำเองเฉพาะตัว
มาตรา ๒๔ ผู้เยาว์อาจทำการใดๆ ได้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการสมแก่ฐานานุรูปแห่งตนและเป็นการอันจำเป็นในการดำรงชีพตามสมควร
มาตรา ๒๕ ผู้เยาว์อาจทำพินัยกรรมได้เมื่ออายุสิบห้าปีบริบูรณ์
มาตรา ๒๙ การใดๆ อันบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้กระทำลง การนั้นเป็นโมฆียะ
กฎหมายอาญาสำหรับพยาบาลและการกระทำความผิดที่พบบ่อย
ความหมาย
กฎหมายมหาชน ซึ่งบัญญัติว่าการกระทำใดเป็นความผิดและกำหนดโทษอาญาแก่ผู้ฝ่าฝืน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมความประพฤติของบุคคลให้อยู่ในสังคมด้วยความสงบเรียบร้อย รักษาโครงสร้างของสังคมให้มั่นคง คุ้มครองความปลอดภัย รักษาความสงบสุขให้แก่สมาชิกในชุมชน และป้องกันความเสียหายต่อสังคม
ประเภทของความรับผิดทางอาญา
1.ความผิดต่อแผ่นดิน
เป็นความผิดที่สำคัญและร้ายแรง มีผลกระทบต่อผู้เสียหายและสังคมส่วนรวม
2.ความผิดต่อส่วนตัว
เป็นความผิดที่ไม่ร้ายแรงมีผลกระทบต่อผู้เสียหายฝ่ายเดียว และกฎหมายบัญญัติประเภทไว้ชัดเจน
ลักษณะสำคัญของความรับผิดทางอาญา
2.ต้องตีความเคร่งครัดตามตัวอักษร
การถอดความหมายของข้อความหรือศัพท์ต่างๆ ในบทบัญญัติออกมา เพื่อให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น โดยใช้ภาษาที่คนทั่วไปเข้าใจ เช่น “การประทุษร้าย”
3.ไม่มีผลย้อนหลังที่เป็นโทษ
จะไม่มีผลในการเพิ่มโทษแก่บุคคลหากขณะกระทำยังไม่มีกฏหมายบัญญัติว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด แม้ต่อมาภายหลังมีกฎหมายบัญญัติว่าการการกระทำอย่างเดียวกันนั้นจะเป็นความผิด ศาลหรือผู้พิพากษาจะนำกฎหมายใหม่มาใช้บังคับลงโทษผู้กระทำผิดไม่ได้
1.ต้องมีบทบัญญัติความผิด และกำหนดโทษไว้โดยชัดแจ้ง
ในขณะที่กระทำผิด ต้องมีกฎหมายบัญญัติความผิดและโทษเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจน
หลักเกณฑ์ความรับผิดทางอาญา
1.การกระทำ
การเคลื่อนไหวร่างกาย หรือไม่เคลื่อนไหวร่างกาย โดยรู้สำนึกและอยู่ภายใต้การบังคับของจิตใจ
2.กฎหมายบัญญัติว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดและกำหนดโทษ
3.กระทำโดยเจตนา ประมาท หรือไม่เจตนา
การกระทำโดยเจตนา หมายถึง การกระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำ และในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น
การกระทำประมาท (Negligence)หมายถึง การกระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะนั้นต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำไม่ได้ใช้ความระมัดระวังเพียงพอ
วิสัย หมายถึง ลักษณะที่เป็นอยู่ของบุคคลผู้กระทำ หรือสภาพภายในตัวผู้กระทำ โดยคำนึงถึงอายุ เพศ การศึกษา ประสบการณ์ อาชีพ
พฤติการณ์หมายถึง ข้อเท็จจริงประกอบการกระทำหรือเหตุภายนอกของผู้กระทำ
การกระทำโดยไม่เจตนาหมายถึง การกระทำที่ผู้กระทำไม่ได้ตั้งใจให้เกิด และไม่คาดคิดว่าจะเกิดจากการกระทำนั้น แต่ผลลัพธ์ที่เกิดมากกว่าตั้งใจ
4.เหตุยกเว้นความรับผิดทางอาญา
4.1 เหตุยกเว้นความรับผิด
การกระทำที่โดยทั่วไปกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด แต่ถ้ามีเหตุการณ์หรือสภาพแวดล้อมบังคับให้ผู้กระทำต้องกระทำเช่นนั้น ซึ่งเข้าหลักเกณฑ์เหตุยกเว้นความผิด ผู้กระทำจะไม่มีความผิดทางอาญา
ผู้เสียหายยินยอมให้กระทำ
การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
4.2 เหตุยกเว้นโทษ
การกระทำที่เป็นความผิดทางอาญาที่ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษ หากมีเหตุอันควรที่กฎหมายระบุ
การกระทำผิดเพราะความบกพร่องทางจิต
การกระทำตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน
กระทำด้วยความจำเป็น
การกระทำของเด็กอายุไม่เกิน 10 ปี
การกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์
4.3เหตุลดหย่อนโทษ
มีพฤติการณ์หรือเหตุการณ์ที่น่าเห็นใจ หรือมีเหตุเป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด ให้หย่อนโทษได้
การกระทำโดยบันดาลโทสะ
เหตุอื่นๆ ในการลดหย่อนหรือบรรเทาโทษ
การกระทำความผิดโดยไม่รู้ว่ากฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด
5.อายุความ
5.1อายุความฟ้องคดีทั่วไป
5.2อายุความฟ้องคดีความผิดอันยอมความได้
โทษทางอาญา
มีอยู่ 5 อย่างคือ โทษประหารชีวิต โทษจำคุก โทษกักขัง โทษปรับ โทษริบทรัพย์สิน หรือ ลหุโทษ การทำงานเพื่อบริการสังคม
ความรับผิดทางอาญาที่เกี่ยวกับการปฏิบัติการพยาบาล
1.ความประมาทในการประกอบวิชาชีพ(Malpractice / Professional negligence / Professional misconduct)
3)ความบกพร่องด้านการสื่อสาร(Failure to communication)
4)ความบกพร่องด้านการบันทึก(Failure to document)
2)ใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์การแพทย์ไม่ถูกต้อง(Failure to use equipment in a responsible manner)
5)ความบกพร่องด้านการประเมินและเฝ้าระวังอาการ(Failure to assess and monitor)
1)ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพ(Failure to follow standard of care)
6)ความบกพร่องด้านการไม่พิทักษ์สิทธิของผู้ป่วย(Failure to act as patient advocate)
2.ความประมาทในการประกอบวิชาชีพกับการปฏิเสธการรักษา
2)ประมาททำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสผู้กระทำจะได้รับโทษหนักขึ้น กล่าวคือ ต้องระวางโทษจ าคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
1)ประมาททำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายเล็กน้อยแก่ร่างกายหรือจิตใจเป็นความผิดลหุโทษ คือต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
3.การเปิดเผยความลับของผู้ป่วย(Confidential disclosure)
2)เปิดเผยความลับนั้น ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด
3)ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
1)รู้ความลับผู้อื่นมาเนื่องจากการประกอบอาชีพหรือจากการศึกษาอบรม
5.ความผิดเกี่ยวกับเอกสาร: การปลอมเอกสารและการทำหรือรับรองเอกสารเท็จ
5.1ความผิดฐานปลอมเอกสาร
5.2ความผิดฐานทำหรือรับรองเอกสารเท็จ
6.การทำให้หญิงแท้งลูก(Induced abortion)
6.2การทำให้หญิงแท้งลูกโดยผู้เสียหายยินยอม
6.3การทำให้หญิงแท้งลูกโดยผู้เสียหายไม่ยินยอม
6.1การทำให้ตนเองแท้งลูก
6.4การพยายามทำให้หญิงแท้งลูก
6.5การทำให้หญิงแท้งที่ถูกกฎหมาย
ตัวอย่างประมวลกฎหมายอาญาที่เกี่ยวข้อง
มาตรา ๓๒ ทรัพย์สินใดที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่า ผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิด ให้ริบเสียทั้งสิ้น ไม่ว่าเป็นของผู้กระทำความผิด และมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่
มาตรา ๗๐ ผู้ใดกระทำตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน แม้คำสั่งนั้นจะมิชอบด้วยกฎหมาย ถ้าผู้กระทำมีหน้าที่หรือเชื่อโดยสุจริตว่ามีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ เว้นแต่จะรู้ว่าคำสั่งนั้นเป็นคำสั่งซึ่งมิชอบด้วยกฎหมาย
มาตรา ๒๘ ผู้ใดต้องโทษปรับ ผู้นั้นจะต้องชำระเงินตามจำนวนที่กำหนดไว้ในคำพิพากษาต่อศาล
มาตรา ๑๐๒ ความผิดลหุโทษ คือ ความผิดซึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๒ บุคคลจักต้องรับโทษในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้น ต้องเป็นโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย