Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ เลือดและส่วนประกอบของเลือด - Coggle Diagram
การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ เลือดและส่วนประกอบของเลือด
หลักการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำใหญ่ เป็นการ
ให้สารน้ำหรือของเหลวทางCentral lineทางหลอดเลือดดำใหญ่ๆจะให้ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารทางปากหรือรับประทานอาหารทางปากได้ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
การให้สารน้ำและสารละลายทางหลอดเลือดดำใหญ่ผ่านอุปกรณ์ที่ฝังไว้ใต้ผิวหนัง เป็นการฝังอุปกรณ์ที่ใช้ในการให้ของเหลว
ทางหลอดเลือดดำไว้ใต้ผิวหนังผู้ป่วยที่จำเป็นต้องให้สารละลายทางหลอดเลือดดำเป็นระยะๆและไม่สามารถให้สารน้ำและสารละลายทางหลอดเลือดดำส่วนปลายได้ เช่นในผู้ป่วยโรคเลือดเรื้อรังจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด
การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย เป็นการให้
สารน้ำหรือของเหลวทางหลอดเลือดดำที่อยู่ในชั้นตื้นๆโดยเฉพาะผู้ป่วยที่ต้องงดอาหารและน้ำดื่มเพื่อเตรียมผ่าตัดผู้ป่วยที่จำเป็นต้องให้ยาทางหลอดเลือดดำ
ชนิดของสารน้ำที่ให้ทางหลอดเลือดดำ
สารละลายไฮโปโทนิก สารน้ำที่มีโมเลกุลอิสระของน้ำมากกว่าในเซลล์ จึงทำให้เกิดการเคลื่อนของน้ำเข้าสู่เซลล์การให้สารน้ำชนิดนี้ต้องให้อย่างช้าๆเพื่อป้องการรบกวนของเซลล์
สารละลายไฮเปอร์โทนิก สารน้ำอันนี้มีโมเลกุลอิสระของน้ำน้อยกว่าน้ำในเซลล์และจะทำให้เกิดการดึงน้ำจากเซลล์สู่ระบบการไหลเวียน
สารละลายไอโซโทนิก เมื่อให้ทางหลอดเลือดดำจะไม่มีการ
เคลื่อนที่ของน้ำเข้าหรือออกจากเซลล์ การให้สารน้ำชนิดIsotonicจึงช่วยเพิ่มปริมาตรของน้ำที่อยู่นอกเซลล์
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่ออัตราการหยดของสารน้ำ
เกลียวปรับบังคับหยดที่ลื่นมาก
สายให้สารน้ำ
ขนาดของเข็มที่แทงเข้าหลอดเลือดดำ
การผูกยึดบริเวณหลอดเลือด
ความหนืดของสารน้ำ
การเคลื่อนย้ายและการเคลื่อนไหวร่างกายของผู้ป่วย
ระดับขวดสารน้ำสูงหรือต่ำเกินไป
การปรับอัตราหยดผู้ป่วยเด็กที่เอื้อมมือไปหมุนปรับเล่นหรือญาติผู้ป่วยหมุนปรับเอง
การคำนวณอัตราการหยดของสารน้ำทางหลอดเลือดดำ
การคำนวณอัตราหยดของสารน้ำใน1นาที
จำนวนหยดของสารละลาย(หยด/นาที) = (จำนวนSol.(มล/ชม.) x จำนวนหยดต่อมล.)
/ เวลา(นาที)
การคำนวณสารน้ำที่จะให้ใน1ชั่วโมง
ปริมาตรของสารน้ำที่จะให้ใน1ชม. = ปริมาตรของสารน้ำที่จะให้ / จำนวนเวลาที่จะให้เป็นชั่วโมง
การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
การเลือกตำแหน่งของหลอดเลือดดำที่จะแทงเข็ม
ตรวจสอบบริเวณตำแหน่งที่จะแทงเข็มว่ามีสภาพที่เหมาะสม เช่นไม่มีบาดแผลหรือแผลไหม้ที่ทำให้หลอดเลือดถูกทำลาย
ถ้าจำเป็นต้องผูกยึดแขนและขาให้หลีกเลี่ยงการแทงเข็มให้สารน้ำ
ให้เริ่มต้นแทงเข็มที่ให้สารน้ำที่หลอดเลือดดำส่วนปลายของแขนก่อน
หลีกเลี่ยงการแทงเข็มบริเวณข้อพับต่าง ๆ
เลือกหลอดเลือดดำของแขนข้างที่ผู้ป่วยไม่ถนัดก่อน
คำนึงถึงชนิดของสารน้ำที่ให้
อุปกรณ์เครื่องใช้
เข็มที่ใช้แทงเข้าหลอดเลือดดำส่วนปลายทำด้วยเทฟล่อน
นิยมใช้มากที่สุดในปัจจุบัน
ชุดให้สารน้ำ (IV Administration set) ใช้เป็นทางผ่านของสารน้ำจาก
ขวดไปสู่หลอดเลือดดำของผู้ป่วยบรรจุในซองที่ปิดผนึกมิดชิดผ่านการฆ่าเชื้อสามารถเปิดใช้ได้ทันที
อุปกรณ์อื่นๆ เช่นเสาแขวนขวดให้สารน้ำ ยางรัดแขน แผ่น
โปร่งใสปิดตำแหน่งที่แทงเข็มหรือก๊อซปลอดเชื้อ ไม้รองแขน พลาสเตอร์ สาลีปลอดเชื้อ 70% Alcohol ถุงมือสะอาด
ขวดสารน้ำ โดยขวดสารน้ำ/ยาต้องเตรียมให้ตรงกับใบสั่งการรักษาและตรวจสอบดูว่าสภาพขวดสารน้ำ/ยาไม่มีรอยแตกร้าวหรือรูรั่วสารน้ำไม่หมดอายุ
อาการแทรกซ้อนจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นเฉพาะที่
การมีเลือดออกและแทรกซึมเข้าใต้ผิวหนังบริเวณที่แทงเข็ม
การติดเชื้อเฉพาะที่ บริเวณที่แทงเข็มให้สารน้ำอาจจะมี
หนองบริเวณที่แทงเข็ม
การบวมเนื่องจากสารน้ำซึมออกนอกหลอดเลือดดำเกิดอาการบวมบริเวณที่แทงเข็มให้สารน้ำ
หลอดเลือดดำอักเสบ หลอดเลือดดำที่ให้สารน้ำเป็นลำแข็ง
ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นในระบบไหลเวียนของเลือด
การติดเชื้อในกระแสเลือด มีการติดเชื้อเฉพาะที่เกิดร่วมด้วย
เกิดฟองอากาศในกระแสเลือด
การแพ้ยาหรือสารน้ำที่ได้รับมีผื่นแพ้เกิดขึ้นที่ผิวหนัง
ร่วมกับอาการแพ้ต่าง ๆ
ให้สารน้ำเร็วเกินและมากเกินไปโดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคหัวใจอาจเกิดอาการหัวใจวายหรือน้ำท่วมปอด
การใช้กระบวนการพยาบาลในการฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ
ขั้นตอนที่ 3 การวางแผนในการบริหารยา
ขั้นตอนที่ 4 วิธีการฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ
ขั้นตอนที่ 2 ข้อวินิจฉัย
ขั้นตอนที่ 5 การประเมินผลการบริหารยาฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ
ขั้นตอนที่1 การประเมินสภาพผู้ป่วย
วัตถุประสงค์ของการฉีดยาเข้าทางหลอดเลือดด้า
ให้ยาออกฤทธิ์เร็ว
ให้ยาที่มีผลระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อ
ให้ยาชนิดที่ไม่สามารถให้ทางอื่นได้ผลต่อการรักษา
การใช้กระบวนการพยาบาลในการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
ขั้นตอนที่ 2 ข้อวินิจฉัย
มีความพร้อมในการเริ่มให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษา
ขั้นตอนที่ 3 การวางแผนในการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
ขั้นตอนที่1 การประเมินสภาพผู้ป่วย
การประเมินด้านจิตใจ
การประเมินสิ่งแวดล้อม
การประเมินด้านร่างกาย
การประเมินแผนการรักษา
วัตถุประสงค์ของการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
ให้สารน้ำทดแทนน้ำที่สูญเสียจากร่างกาย
ให้สารน้ำเพียงพอกับความต้องการของร่างกายในรายที่ไม่สามารถรับประทานได้ทางปาก
ให้ยาบางชนิดที่ไม่สามารถดูดซึมทางระบบทางเดินอาหารหรือยารับประทานที่จะถูกทำลายโดยน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร
รักษาสมดุลของกรด-ด่างในร่างกาย
ใช้เป็นช่องทางในการฉีดยาเข้าทางหลอดเลือดดำ
แก้ไขความดันโลหิต
ขั้นตอนที่ 4 การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
ขั้นตอนที่ 5 การประเมินผลการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
การให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำ
ข้อบ่งชี้ในการให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำ
3) ภาวะทางศัลยกรรม
4) ความผิดปกติของจิตใจ
2) โรคของอวัยวะต่างๆ
5) โรคมะเร็งต่างๆ
1) โรคทางเดินอาหาร
ชนิดของสารอาหารทางหลอดเลือดดำ
Total parenteral nutrition (TPN) เป็นการให้โภชนบำบัดครบตามความต้องการของผู้ป่วยทั้งปริมาณพลังงานที่ต้องการและสารอาหารทุกหมู่ในกรณีนี้สารอาหารที่ให้ทางหลอดเลือดดำจะมีความเข้มข้นสูงมากจำเป็นต้องให้ทางCentral vein
2.Partial or peripheral parenteral nutrition (PPN) เป็นการให้โภชนบำบัดทางหลอดเลือดดำเพียงบางส่วนอาจได้พลังงานไม่ครบตามความต้องการหรือได้สารอาหารไม่ครบทุกหมู่
วัตถุประสงค์
ให้ผู้ป่วยที่รับประทานอาหารและน้ำทางปากไม่ได้หรือรับประทานได้น้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายหรือมีภาวะผิดปกติของระบบทางเดินอาหารไม่สามารถให้อาหารทางปากได้
ทดแทนน้ำที่ร่างกายสูญเสียไป
อาการแทรกซ้อนจากการให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำ
การให้สารอาหารมากเกินไป
ไข้
มีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในระบบไหลเวียนของเลือด
บวมเนื่องจากมีสารอาหารเข้าไปอยู่ในเนื้อเยื่อชั้นผิวหนัง
การใช้กระบวนการพยาบาลในการให้สารอาหารทางหลอดเลือดำ
วัตถุประสงค์
ไม่เกิดภาวะหลอดเลือดดำอักเสบ
ไม่เกิดสิ่งแปลกปลอมอยู่ในระบบไหลเวียนของเลือด
การให้เลือดและส่วนประกอบของเลือด
การให้เลือดแม้จะช่วยชีวิตผู้ป่วยได้ แต่ก็ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้
ภาวะแทรกซ้อนจากการให้เลือด และการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับเลือดเพื่อสามารถสังเกตอาการปกติที่เกิดจากการให้เลือดและให้การช่วยเหลือได้ทันท่วงที
การให้เลือด หรือเฉพาะเม็ดเลือด หรือเฉพาะน้ำเลือด
แก่ผู้ป่วยโดยผ่านเข้าทางหลอดเลือดดำ
การให้และการรับเลือดในหมู่เลือด
คนเลือดกรุ๊ป Rh-ve ต้องรับจาก Rh-ve เท่านั้นแต่ต้องดูกรุ๊ปเลือดตามระบบ ABO ด้วย (หากคนเลือดกรุ๊ป Rh-ve รับเลือดจาก Rh+ve อาการข้างเคียงจะยิ่งรุนแรงมากขึ้น ในครั้งถัดๆไป)
คนเลือดกรุ๊ป O รับได้จาก O เท่านั้น แต่ให้กับกรุ๊ปอื่นได้ทุกกรุ๊ป
คนเลือดกรุ๊ป AB รับได้จากทุกกรุ๊ป แต่ให้เลือดแก่ผู้อื่นได้เฉพาะคนที่เป็นเลือดกรุ๊ป AB
คนเลือดกรุ๊ป A รับได้จาก A และ O ให้ได้กับ A และ AB
คนเลือดกรุ๊ป B รับได้จาก B และ O ให้ได้กับ B และ AB
ภาวะแทรกซ้อนจากการให้เลือด
ปริมาตรการไหลเวียนของเลือดมากเกินไป
ไข้
เม็ดเลือดแดงสลายตัว (Hemolysis) เกิดจากการให้เลือดผิดหมู่
ปฏิกิริยาภูมิแพ้
การถ่ายทอดโรค
การอุดตันจากฟองอากาศ
ภาวะสารซิเตรทเกินปกติ เกิดจากการให้เลือดติดต่อกันเป็นจำนวนมากจึงมีการสะสมของสารกันการแข็งตัวของเลือด
ภาวะโปตัสเซียมเกินปกติ
การใช้กระบวนการพยาบาลในการให้เลือดและส่วนประกอบของเลือด
วัตถุประสงค์ของการให้เลือดและสารประกอบของเลือด
ทดแทนเม็ดเลือดแดง และรักษาระดับฮีโมโกลบิน
ทดแทนปัจจัยการแข็งตัวของเลือด
ทดแทนปริมาณเลือดที่สูญเสียไป เช่นจากการตกเลือดหรือจากการผ่าตัด
การดูแลผู้ป่วยภายหลังได้รับเลือด
2) สังเกตปฏิกิริยาที่เกิดจากการให้เลือดอย่างต่อเนื่อง
3) ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับความสุขสบายตลอดระยะเวลาที่ให้เลือด
1) ตรวจสอบสัญญาณชีพหลังการให้เลือด15นาทีและต่อไปทุก4ชั่วโมง
4) บันทึกหมู่เลือด ชนิดของเลือด หมายเลขเลือด ปริมาณเลือด วัน เวลา ชื่อผู้ให้เลือด และบันทึกอาการของผู้ป่วยหลังให้เลือด ลงในแบบบันทึกการพยาบาล
การปฏิบัติเมื่อพบอาการแทรกซ้อนในผู้ป่วยที่ได้รับเลือด
2) รายงานแพทย์
3) ตรวจสอบสัญญาณชีพและสังเกตสังเกตปฏิกิริยาที่เกิดจากการให้เลือดอย่างใกล้ชิด
1) หยุดให้เลือดทันทีแล้วเปิดทางหลอดเลือดดา (KVO) ด้วย NSS
4) เตรียมสารน้ำและยา
5) ส่งขวดเลือดและเจาะเลือดของผู้ป่วยจากแขนที่ไม่ได้ให้เลือดไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจสอบ
6) บันทึกจานวนสารน้ำที่นาเข้า–ออกจากร่างกายเพื่อดูการทางานของไต และน้ำปัสสาวะส่งตรวจในรายที่ได้รับเลือดผิดหมู่
7) การหยุดให้เลือด
การบันทึกปริมาณน้ำเข้า-ออกจากร่างกาย
จำนวนน้ำที่ร่างกายขับออก(Fluid output) หมายถึงจำนวนน้ำที่ร่างกายสูญเสียออกนอกร่างกาย
จำนวนน้ำที่ร่างกายได้รับ(Fluid intake) หมายถึงจำนวนน้ำหรือของเหลวทุกชนิดที่ร่างกายได้รับ
หลักการบันทึกจำนวนสารน้ำที่เข้าและออกจากร่างกาย
6) บันทึกจำนวนสารน้ำที่สูญเสียทางอื่น ๆ
5) การจดบันทึกควรสรุปทุก 8 ชั่วโมงและทุกวัน
4) จดบันทึกจำนวนน้ำและของเหลวทุกชนิดที่ให้ขณะมื้ออาหารและระหว่างมื้ออาหาร
3) ร่วมกับผู้ป่วยในการวางแผนกำหนดจำนวนน้าที่เข้าสู่ร่างกายในแต่ละช่วงเวลา
2) อธิบายเหตุผลและความสำคัญของการวัดและการบันทึกจำนวนน้ำที่รับเข้าและขับออกจากร่างกาย
1) แบบฟอร์มการบันทึกควรแขวนไว้ที่เตียงผู้ป่วย
กระบวนการพยาบาลในการส่งเสริมความสมดุลของสารน้ำในร่างกาย
การวางแผนการพยาบาล
การปฏิบัติการพยาบาล
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
การประเมินผลการพยาบาล
การประเมินภาวะสุขภาพ
วัตถุประสงค์
ไม่เกิดภาวะหลอดเลือดดำอักเสบที่รุนแรงขึ้น