Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วิธีการและหลักการการสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม, นางสาวปิยะนันท์ พรมพินิจ…
วิธีการและหลักการการสัมภาษณ์
และการสนทนากลุ่ม
การสัมภาษณ์
วิธีการและหลักการการสัมภาษณ์
การแนะนำตัว (Introduction) ผู้สัมภาษณ์จะต้องแนะนำตัวเองเสียก่อน
เพื่อให้ผู้ให้สัมภาษณ์ได้ทราบและคุ้นเคย จะต้องสังเกตสิ่งแวดล้อมของผู้
ให้สัมภาษณ์ว่ามีความพร้อมหรือไม่
การสร้างความสัมพันธ์ที่ดี (Good Relationship) ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอน
ที่ผู้สัมภาษณ์จะต้องสร้างความคุ้นเคยมีมนุษยสัมพันธ์อันดีต่อผู้ให้
สัมภาษณ์จึงเป็นเทคนิคเฉพาะของผู้สัมภาษณ์แต่ละคน
การเข้าใจวัตถุประสงค์ (Objectives) ผู้สัมภาษณ์จะต้องมีความเข้าใจ
วัตถุประสงค์ของคำถามที่กำหนดขึ้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจในการซักถาม
รวมทั้งควรจะบอกวัตถุประสงค์แก่ผู้ให้สัมภาษณ์เพื่อให้เกิดความเข้าใจ
การจดบันทึก (Take Note) ผู้สัมภาษณ์จะต้องเตรียมการจดบันทึกใน
ขณะที่จะทำการสัมภาษณ์ เป็นการจดบันทึกเพื่อให้คำตอบที่ได้จากการ
สัมภาษณ์ถูกบันทึกลงอย่างเรียบร้อย ขั้นตอนนี้ผู้สัมภาษณ์จะต้องมีความ
ตั้งใจในการฟังการสัมภาษณ์เพื่อจะได้ข้อมูลที่แท้จริง
การสัมภาษณ์ (Interview)
5.2 การฟัง (Listening)
5.3 การซักถาม (Questioning)
5.4 การถามซ้ำ (Probing)
5.1 การสังเกตการณ์ (Observing)
การยุติการสัมภาษณ์ (Thanks) เมื่อเสร็จสิ้นการสัมภาษณ์ผู้สัมภาษณ์
ควรจะกล่าวขอบคุณแก่ผู้ให้สัมภาษณ์เป็นการอำลาและขอบคุณที่ได้เสีย
สละเวลาในการสัมภาษณ์เป็นการแสดงออกถึงมารยาทที่ดี
ข้อดีของการสัมภาษณ์
ผู้สัมภาษณ์มีโอกาสได้สังเกตและศึกษา
สภาพการณ์ตลอดจนปฏิกิริยาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ได้คำตอบที่แน่ชัดสมบูรณ์เพราะสามารถอธิบาย
ข้อสงสัยต่าง ๆ ให้แก่ผู้ตอบได้
3 สามารถเก็บข้อมูลได้แม้ผู้ตอบจะมีการศึกษาต่ำ
หรือเป็นผู้ที่อ่านไม่ออกเขียน
4 โอกาสที่จะได้ข้อมูลมีสูงมากเพราะผู้ตอบส่วนใหญ่
ยินดีให้ความร่วมมือ
ประเภทของการสัมภาษณ์
การสัมภาษณ์ที่ไม่กำหนดคำตอบล่วงหน้า (Non-directive Interview)
เป็นวิธีการสัมภาษณ์ที่ผู้ให้สัมภาษณ์สามารถตอบได้ตามอิสระที่ต้องการ
โดยผู้สัมภาษณ์เป็นเพียงผู้ฟังมากกว่าเป็นผู้ซักถาม
การสัมภาษณ์แบบลึกซึ้งหรือแบบเจาะลึก (Indepth Interview)
เป็นวิธีการสัมภาษณ์ที่ต้องการรายละเอียดมากที่สุด
ในเรื่องที่ผู้ศึกษาต้องการการสัมภาษณ์แบบลึกซึ้ง
การสัมภาษณ์แบบเจาะจง (Focused Interview)
เป็นการสัมภาษณ์ที่เจาะจงหัวข้อเรื่องที่ต้องการข้อมูล
ข้อจำกัดของการสัมภาษณ์
ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง
มีปัญหาเกี่ยวกับการฝึกให้คำแนะนำผู้ที่ออกไป
สัมภาษณ์การติดตามและควบคุมการสัมภาษณ์
จะมีอคติหรือความลำเอียงของผู้สัมภาษณ์
ต้องใช้เวลาและแรงงานมาก
การสนทนากลุ่ม
องค์ประกอบในการจัดสนทนากลุ่ม
แบบฟอร์มสำหรับคัดเลือกผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่ม
ควรมีการจัดเตรียมแบบฟอร์มสำหรับคัดเลือกผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่ม
ส่งเสริมสร้างบรรยากาศ
ควรส่งเสริมสร้างบรรยากาศ เช่น เครื่องดื่ม อาหารว่าง สิ่งของดังกล่าวช่วยให้บรรยากาศเป็นกันเอง
อุปกรณ์สนาม
ได้แก่ เครื่องบันทึกเสียง เทปเปล่า ถ่านวิทยุ สมุดบันทึก และดินสอ
ของสมนาคุณแก่ผู้ที่ร่วมสนทนา
เพื่อเป็นการตอบแทนผู้เข้าร่วมสนทนาแม้จะเป็นสิ่งที่เล็กน้อย
แนวทางในการเตรียมการสนทนากลุ่ม
ควรต้องจัดแนวทางในการสนทนากลุ่มและการจัดลำดับหัวข้อในการสนทนา ในทางปฏิบัติอาจยืดหยุ่นได้ อาจจะได้ประเด็นซึ่งไม่ได้คาดคิดเอาไว้
สถานที่และระยะเวลา
สถานที่ในการสนทนากลุ่มอาจจะที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก ห่างไกลจากความพลุกพล่าน
บุคลากรที่เกี่ยวข้อง
1.2 ผู้จดบันทึกการสนทนา (Note taker)
1.3 ผู้ช่วย (Assistant)
1.1 ผู้ดำเนินการสนทนา (Moderator)
หลักการการดำเนินงานสนทนากลุ่ม
เริ่มต้นด้วยการแนะนำตนเองและทีมงาน พร้อมชี้แจงวัตถุประสงค์และแจ้งการบันทึกเสียงไว้ด้วย
สร้างบรรยากาศ สร้างความคุ้นเคย และเริ่มคำถามตามลำดับที่เตรียมไว้
ควรมีป้ายชื่อ (อาจเป็นชื่อจริงหรือชื่อสมมุติก็ได้) สำหรับสมาชิกทุกคน
เปิดโอกาสให้สมาชิกมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และควรกระตุ้นให้แสดงความคิดเห็นอย่างทั่วถึง
เชิญสมาชิกเข้าห้องที่จัดเตรียมไว้ หากเป็นห้องที่ใหญ่ และสมาชิกนั่งห่างกัน อาจมีระบบเสียงเข้ามาช่วยให้การสนทนาเป็นไปอย่างราบรื่น
เมื่อได้พูดคุยจบประเด็น และถึงเวลาที่ต้องยุติ (ไม่ควรเกิน 2 ชั่วโมง)
ข้อดีของการจัดสนทนากลุ่ม
ผู้เข้าร่วมสนทนาจะมีลักษณะความเป็นอยู่ใกล้เคียงกัน จึงไม่ค่อยรู้สึกขัดเขิน
ลักษณะการสนทนากลุ่ม เป็นการเปิดโอกาสให้มีปฏิกิริยาโต้ตอบกัน ทำให้ผู้ทำการศึกษาสามารถวิเคราะห์ประเมินปัญหาต่าง ๆ ได้ชัดเจน
ผู้ดำเนินการสนทนาแก้ไขได้ทันทีเพราะเป็นผู้ที่รู้ ถึงความต้องการและวัตถุประสงค์ของการศึกษาในเรื่องนั้น ๆ เป็นอย่างดี
บรรยากาศในกลุ่มสนทนา จะลดความกลัวว่าความคิดเห็นของแต่ละคนจะเป็นเป้าหมายในการถูกบันทึกเอาไว้
ข้อจำกัดของการสนทนากลุ่ม
การจัดสนทนากลุ่มทุกครั้งต้องระมัดระวังมิให้เกิดการผูกขาดการสนทนนาขึ้น
พฤตกรรมหรือความคิดเห็นบางอย่าง ซึ่งเป็นสวนที่ไม่ยอมรับของชุมชนอาจจะไม่ได้รับการเปิดเผยในการจดสนทนากลุ่ม
นางสาวปิยะนันท์ พรมพินิจ เลขที่34 ห้อง25A