Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 4.3 การให้สารน้้าทางหลอดเลือดดำ เลือดและส่วนประกอบของเลือด - Coggle…
บทที่ 4.3
การให้สารน้้าทางหลอดเลือดดำ เลือดและส่วนประกอบของเลือด
4.3.1 หลักการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำใหญ่
(Central venous therapy)
เป็นการให้สารน้ำหรือของเหลวทาง Central line
ทางหลอดเลือดดำใหญ่ ๆ
การให้สารน้ำและสารละลายทางหลอดเลือดดำใหญ่ผ่านอุปกรณ์ที่ฝังไว้ใต้ผิวหนัง(Implanted vascular access device หรือ venous port)
เป็นการฝังอุปกรณ์ที่ใช้ในการให้ของเหลวทางหลอดเลือดดำไว้ใต้ผิวหนัง โดยที่ปลายสายสอดผ่านเข้าหลอดเลือดดำใหญ่
การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย
(Peripheral intravenous infusion)
เป็นการให้สารน้ำหรือของเหลวทางหลอดเลือดดำที่อยู่ในชั้นตื้น ๆ
ของผิวหนังหรือหลอดเลือดดำที่อยู่ในส่วนปลายของแขนและขา
4.3.5การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
การเลือกตำแหน่งของหลอดเลือดดำที่จะแทงเข็ม
3) ตรวจสอบบริเวณตำแหน่งที่จะแทงเข็มว่ามีสภาพที่เหมาะสม เช่น ไม่มีบาดแผล หรือแผลไหม้ที่ทำให้หลอดเลือดถูกทำลาย แขนข้างนั้นได้รับการผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองออกหรือไม่ ถ้าใช่ห้าม แทงเข็ม หรือเจาะเลือดที่แขนข้างนั้น เพราะจะทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายและการรัดสาย Tourniquet จะขัดขวางระบบไหลเวียนแขนอาจบวมได้
4) ถ้าจำเป็นต้องผูกยึดแขนและขา ให้หลีกเลี่ยงการแทงเข็มให้สารน้ำ
2) ให้เริ่มต้นแทงเข็มที่ให้สารน้ำที่หลอดเลือดดำส่วนปลายของแขนก่อน เพื่อให้หลอดเลือดดำส่วนที่ถัดเข้ามาสามารถใช้งานได้อีก โดยตำแหน่งเส้นเลือดดำส่วนปลายที่แขนและมือ ซึ่งเหมาะสำหรับการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ได้แก่ Cephalic vein และ Basilic vein
5) หลีกเลี่ยงการแทงเข็มบริเวณข้อพับต่าง ๆ เพราะจะทำให้หลอดเลือดแตกทะลุง่าย หรือถ้าจำเป็นต้องแทงบริเวณข้อพับให้ใช้ไม้ดามป้องกันการงอพับ
1) เลือกหลอดเลือดดำของแขนข้างที่ผู้ป่วยไม่ถนัดก่อน เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถใช้แขนข้างที่ถนัดทำกิจวัตรต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง
6) คำนึงถึงชนิดของสารน้ำที่ให้ หากเป็นสารน้ำชนิด Hypertonic เนื่องจากสารน้ำมีความเข้มข้นของสารละลายสูง และมีความหนืดควรเลือกหลอดเลือดเส้นใหญ่ในการให้สารน้ำ
อุปกรณ์เครื่องใช้
2) ชุดให้สารน้ำ (IV Administration set) ใช้เป็นทางผ่านของสารน้ำจาก
ขวดไปสู่หลอดเลือดดำของผู้ป่วยบรรจุในซองที่ปิดผนึกมิดชิดผ่านการฆ่าเชื้อ สามารถเปิดใช้ได้ทันที
3) เข็มที่ใช้แทงเข้าหลอดเลือดดำส่วนปลาย (Peripheral insertion devices) ทำด้วยเทฟล่อนนิยมใช้มากที่สุดในปัจจุบัน มีหลายขนาดตั้งแต่เบอร์ 14, 16, 18, 20, 22 และ 24 เป็นต้น
1) ขวดสารน้ำ โดยขวดสารน้ำ/ยา ต้องเตรียมให้ตรงกับใบสั่งการรักษาและตรวจสอบดูว่าสภาพ ขวดสารน้ำ/ยาไม่มีรอยแตกร้าว หรือรูรั่วสารน้ำไม่หมดอายุ ไม่มีลักษณะขุ่น ไม่มีผงตะกอนลอยอยู่ภายขวดสารน้ำ/ยา เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำ/ยาที่ปราศจากเชื้ออย่างแท้จริง
4) อุปกรณ์อื่น ๆ เช่น เสาแขวนขวดให้สารน้ำ ยางรัดแขน (Tourniquet) แผ่นโปร่งใสปิดตำแหน่งที่แทงเข็ม (Transparent dressing) หรือก๊อซปลอดเชื้อ ไม้รองแขน พลาสเตอร์ สำลี ปลอดเชื้อ 70% Alcohol ถุงมือสะอาด เป็นต้น
4.3.3 ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการหยดของสารน้ำ
เกลียวปรับบังคับหยดที่ลื่นมาก จะบังคับการหยดได้ไม่ดีพอ อัตราการหยดจะเร็ว
สายให้สารน้ำ มีความยาวมาก มีการหักพับงอหรือถูกกด จะทำให้สารน้ำผ่านไม่สะดวก อัตราการไหลจะช้าลง และถ้าปลายข้อต่อของสายให้น้ำถูกดึงรั้งจนหลวมหลุดจากเข็มสารน้ำจะไหลเร็วแต่ไม่เข้าหลอดเลือดดำ และจะมีเลือดออกมาจากหัวเข็มด้วย
ขนาดของเข็มที่แทงเข้าหลอดเลือดดำ เข็มขนาดใหญ่จะมีทางผ่านกว้าง อัตราการหยดจะเร็วกว่าใช้เข็มขนาดเล็ก
การผูกยึดบริเวณหลอดเลือด แน่นหรือตึงเกินไปรวมทั้งการนั่ง หรือนอนทับสายให้สารน้ำ จะปิดกั้นทางผ่านของสารน้ำ ทำอัตราการหยดช้าลง
ความหนืดของสารน้ำ
ถ้าสารน้ำมีความหนืดสูงอัตราการหยดจะช้า
การเคลื่อนย้ายและการเคลื่อนไหวร่างกายของผู้ป่วย อาจทำให้เข็มเคลื่อนที่ ปลายตัดของเข็มแนบชิดผนังหลอดเลือด หรือแทงทะลุหลอดเลือด สารน้ำไหลไม่สะดวก อัตราการหยดจะช้าลง
ระดับขวดสารน้ำสูงหรือต่ำเกินไป การแขวนขวดสารน้ำให้สูง สารน้ำจะหยดเร็วกว่าการแขวนขวดในระดับต่ำ และถ้าขวดสารน้ำอยู่ต่ำกว่าระดับหลอดเลือด แรงดันในหลอดเลือดจะมากกว่าทำให้เลือดไหลย้อนเข้ามาในเข็มและปนกับสารน้ำในสายให้สารน้ำ
การปรับอัตราหยดผู้ป่วยเด็กที่เอื้อมมือไปหมุนปรับเล่น
หรือญาติผู้ป่วยหมุนปรับเอง
4.3.7การใช้กระบวนการพยาบาลในการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
ขั้นตอนที่3 การวางแผนในการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
วางแผนให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำโดยประยุกต์ใช้หลักการ 6 Rights และหลักความปลอดภัย SIMPLEของ patient safety goal
วัตถุประสงค์ของการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
ให้สารน้ำเพียงพอกับความต้องการของร่างกายในรายที่ไม่สามารถรับประทานได้ทางปาก เช่น การงดน้ำและอาหารทางปากในผู้ป่วยก่อนและหลังได้รับการผ่าตัด เป็นต้น
ให้ยาบางชนิดที่ไม่สามารถดูดซึมทางระบบทางเดินอาหาร หรือยารับประทานที่จะถูกทำลายโดยน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร
ให้สารน้ำทดแทนน้ำที่สูญเสียจากร่างกาย เช่น ท้องเสีย อาเจียน
เสียเลือด เป็นต้น
รักษาสมดุลของกรด-ด่างในร่างกาย ในรายที่มีภาวะเสียสมดุลกรด–ด่าง
ใช้เป็นช่องทางในการฉีดยาเข้าทางหลอดเลือดดำ ติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยให้ปริมาณของยาในกระแสโลหิตอยู่ในระดับสม่ำเสมอกัน
แก้ไขความดันโลหิต โดยการให้สารละลายที่มีความเข้มข้นมากกว่าน้ำในร่างกาย
เกณฑ์การประเมิน
ผู้ป่วยได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำไม่พบอาการแทรกซ้อนและปลอดภัยตามหลักการ 6 Rightsและหลักความปลอดภัย SIMPLE ของ patient safety goals
ขั้นตอนที่ 4 การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
เครื่องใช้
extension tube
three ways
สำลีชุบแอลกอฮอล์ 70%
IV stand (เสาน้ำเกลือ)
tourniquet
พลาสเตอร์ หรือ พลาสเตอร์ใสสำเร็จรูป (transparent)
intravenous set (IV set)
แผ่นฉลากชื่อ
intravenous catheter (IV cath.) เบอร์ 22/ 24
ถุงมือสะอาด mask
intravenous fluid (IV fluid) ตามแผนการรักษา
ขั้นตอนที่2 ข้อวินิจฉัย
มีความพร้อมในการเริ่มให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษา
ขั้นตอนที่ 5 การประเมินผลการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
การประเมินผลกิจกรรมการพยาบาล เป็นการประเมินผลของการปฏิบัติงาน เพื่อนำมาปรับปรุงการปฏิบัติงานในครั้งต่อไป โดย
2.1 ประเมินการปฏิบัติถูกต้องครบและเป็นไปตามขั้นตอนของการปฏิบัติ
2.2 ประเมินการจัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องใช้ครบถ้วนเพียงพอหรือไม่
การประเมินผลคุณภาพการบริการ เป็นการประเมินคุณภาพของผลการปฏิบัติงาน เพื่อนำมาปรับปรุงการปฏิบัติงานในครั้งต่อไป โดย
3.1 ประเมินคุณภาพของการปฏิบัติงานในข้อ 2 อยู่ในคุณภาพระดับใด
3.2 ประเมินคุณภาพของการให้บริการ ข้อ 3 อยู่ในคุณภาพระดับใด
การประเมินผลการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
เป็นการประเมินผลลัพธ์การพยาบาล โดย
1.2 ประเมินสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย (โดยการสอบถามผู้ป่วย)
1.3 ประเมินความสุขสบายของผู้ป่วยและจัดท่านอน
ให้สุขสบายและเหมาะสม (โดยการสอบถามผู้ป่วย)
1.1 ประเมินอาการแทรกซ้อนและอาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ของผู้ป่วยและปลอดภัยตามหลักการ 6 Rightsและหลักความปลอดภัย SIMPLE ของ patient safety goals
1.4 ประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วย (โดยการสอบถามผู้ป่วย)
ขั้นตอนที่1 การประเมินสภาพผู้ป่วย
การประเมินด้านจิตใจ
2.2 ความต้องการรับบริการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
2.3 ความวิตกกังวลและความกลัว
2.1 ความพร้อมของการรับบริการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
การประเมินสิ่งแวดล้อม
3.2 ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสิ่งแวดล้อมผู้ป่วย
3.3 ความพร้อมใช้ของสิ่งแวดล้อมตัวผู้ป่วย เช่น ตู้ข้างเตียง เหล็กกั้นเตียง เป็นต้น
3.1 ความสะอาดของสิ่งแวดล้อมรอบตัวผู้ป่วยและรอบเตียง
3.4 บรรยากาศในหอผู้ป่วย และมีอากาศถ่ายเทสะดวก
การประเมินด้านร่างกาย
1.1 ระดับความรู้สึกตัว
1.2 พยาธิสภาพของโรค ประวัติเจ็บป่วย โรคของผู้ป่วย
และโรคหรืออาการแทรกซ้อน
การประเมินแผนการรักษา
4.1 ตรวจสอบแผนการรักษา
4.2 ตรวจสอบชนิดของสารน้ำตามแผนการรักษา
ชนิด ปริมาณ อัตรา และเวลา
4.3.4 การคำนวณอัตราการหยดของสารน้ำ
สูตรการคำนวณอัตราหยดของสารน้ำใน 1 นาที
จำนวนหยดของสารละลาย (หยด/ นาที) = จำนวน Sol.(มล/ชม.) x จำนวนหยดต่อมล.) / เวลา(นาที)
สูตรการคำนวณสารน้ำที่จะให้ใน 1 ชั่วโมง
ปริมาตรของสารน้ำที่จะให้ใน 1 ชม. = ปริมาตรของสารน้ำที่จะให้ / จำนวนเวลาที่จะให้เป็นชั่วโมง
4.3.6 อาการแทรกซ้อนจากการได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ
ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นเฉพาะที่
(Local complication)
3) การติดเชื้อเฉพาะที่ (Local infection) บวมแดง ร้อน บริเวณที่แทงเข็มให้สารน้ำอาจจะมีหนองบริเวณที่แทงเข็ม
4) หลอดเลือดดำอักเสบ (Phlebitis) ผิวหนังบริเวณที่แทงเข็มบวม ตำแหน่งที่แทงเข็มแดงร้อนไปตามแนวของหลอดเลือด หลอดเลือดดำที่ให้สารน้ำเป็นลำแข็ง บางครั้งอาจมีไข้ร่วมด้วย
2) การมีเลือดออกและแทรกซึมเข้าใต้ผิวหนังบริเวณที่แทงเข็ม (Extravasations) บริเวณที่แทงเข็มบวมและมีเลือดแทรกซึมใต้ผิวหนัง ผู้ป่วยรู้สึกปวดแสบ ปวดร้อน ไม่สุขสบาย ผิวหนังบริเวณที่แทงเข็มแดง สารน้ำที่ให้หยดช้าลง เมื่อปิด Clamp ชุดให้สารน้ำจะไม่มีเลือดไหลย้อนเข้ามาในสาย
1) การบวมเนื่องจากสารน้ำซึมออกนอก หลอดเลือดดำ (Infiltration) เกิดอาการบวมบริเวณที่แทงเข็มให้สารน้ำ ผู้ป่วยรู้สึกปวดแสบบริเวณที่บวมและไม่สุขสบาย สารน้ำที่ให้หยดช้าลงหรือไม่ไหล
ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นในระบบไหลเวียนของเลือด
(Systemic complication)
2) การติดเชื้อในกระแสเลือด (Bacteremia หรือ Septicemia) มีไข้สูง หนาวสั่น ความดันโลหิตลดลง คลื่นไส้ อาเจียน บางครั้งมีอาการถ่ายเหลว มีการติดเชื้อเฉพาะที่เกิดร่วมด้วย
3) เกิดฟองอากาศในกระแสเลือด (Air embolism) เกิดจากการไล่ฟองอากาศในชุดสายให้สารน้ำไม่หมด หรือการปล่อยสารน้ำจนหมดจนอากาศผ่านเข้าไปในชุดให้สารน้ำนอกจากฟองอากาศ ลิ่มเลือด (Thrombus) ที่เกิดจากการแทงเข็ม อาจหลุดเข้าไปอุดกั้นบริเวณอวัยวะสำคัญ
1) การแพ้ยาหรือสารน้ าที่ได้รับ (Allergic reaction) มีผื่นแพ้เกิดขึ้นที่ผิวหนัง ร่วมกับอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น น้ำมูกไหล คันที่ผิวหนัง หายใจไม่สะดวกเนื่องจากมี Bronchospasm ถ้าอาการเป็นมากอาจช็อคได้
4) ให้สารน้ำเร็วเกินและมากเกินไป (Circulatory overload) เกิดจากอัตราการหยดของสารน้ำเร็วเกินไป โดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคหัวใจ อาจเกิดอาการหัวใจวาย (Cardiac failure) และ/หรือ น้ำท่วมปอด(Pulmonary edema) ได้
4.3.2 ชนิดของสารน้ำที่ให้ทางหลอดเลือดดำ
สารละลายไฮโปโทนิก
(Hypotonic solution)
ออสโมลาริตี้ น้อยกว่า 280 m0sm/l ซึ่งค่าOsmolarityน้อยกว่าน้ำนอกเซลล์เป็นสารน้ำที่มีโมเลกุลอิสระของน้ำมากกว่าในเซลล์จึงทำให้เกิดการเคลื่อนของน้ำเข้าสู่เซลล์ ฉะนั้นการให้สารน้ำชนิดนี้ต้องให้อย่างช้า ๆ เพื่อป้องการลบกวนของเซลล์ ได้แก่ ½Normal saline, 0.33% Sodium chloride และ 2.5% Dextrose in water เป็นต้น
สารละลายไฮเปอร์โทนิก
(Hypertonic solution)
เป็นสารน้ำที่มีค่าออสโมลาริตี้ มากกว่า310 m0sm/l ซึ่งมีมากกว่าออสโมลาริตี้ของน้ำนอกเซลล์ สารน้ำอันนี้มีโมเลกุลอิสระของน้ำน้อยกว่าน้ำในเซลล์ และจะทำให้เกิดการดึงน้ำจากเซลล์สู่ระบบการไหลเวียน
สารละลายไอโซโทนิก
(Isotonic solution)
จะมีความเข้มข้นเท่ากับน้ำนอกเซลล์ (Extracellular fluid) ซึ่งมีออสโมลาริตี้ระหว่าง 280-310 m0sm/l เมื่อให้ทางหลอดเลือดดำจะไม่มีการเคลื่อนที่ของน้ำเข้าหรือออกจากเซลล์ ฉะนั้นการให้สารน้ำชนิด Isotonic จึงช่วยเพิ่มปริมาตรของน้ำที่อยู่นอกเซลล์
4.3.8การใช้กระบวนการพยาบาลในการฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ
ขั้นตอนที่3 การวางแผนในการบริหารยา
วางแผนบริหารยาตามหลักการ 6 Rights และหลักความปลอดภัย SIMPLE ของ patient safety goals
ขั้นตอนที่ 4 วิธีการฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ
การฉีดยาเข้าทางหลอดเลือดดำ ปัจจุบันมีวัสดุทางการแพทย์ที่ช่วยให้การฉีดยาให้มีความสะดวก ง่ายและไม่ยุ่งยาก ทำให้ผู้ป่วยมีความสุขสบายเพิ่มขึ้นด้วย
ขั้นตอนที่2 ข้อวินิจฉัย
การบริหารยาที่มีประสิทธิภาพโดยใช้หลักการ 6 Rights และหลักความปลอดภัย SIMPLE ของpatient safety goals
ขั้นตอนที่ 5 การประเมินผลการบริหารยาฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ
การประเมินผลกิจกรรมการพยาบาล เป็นการประเมินผลของ
การปฏิบัติงาน เพื่อนำมาปรับปรุงการปฏิบัติงานในครั้งต่อไป
การประเมินผลคุณภาพการบริการ เป็นการประเมินคุณภาพของผลการปฏิบัติงาน เพื่อนำมาปรับปรุงการปฏิบัติงานในครั้งต่อไป
การประเมินผลการบริหารยาฉีด เป็นการประเมินผลลัพธ์การพยาบาล
ขั้นตอนที่1 การประเมินสภาพผู้ป่วย
การประเมินด้านจิตใจ
2.2 ความต้องการรับบริการฉีดยา
2.3 ความวิตกกังวลและความกลัว
2.1 ความพร้อมของการรับบริการฉีดยา
การประเมินสิ่งแวดล้อม
3.2 ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสิ่งแวดล้อมผู้ป่วย
3.3 ความพร้อมใช้ของสิ่งแวดล้อมตัวผู้ป่วย เช่น ตู้ข้างเตียง เหล็กกั้นเตียง เป็นต้น
3.1 ความสะอาดของสิ่งแวดล้อมรอบตัวผู้ป่วยและรอบเตียง
3.4 บรรยากาศในหอผู้ป่วย และมีอากาศถ่ายเทสะดวก
การประเมินด้านร่างกาย
1.2 ประวัติการแพ้ยา
1.3 พยาธิสภาพของโรค ประวัติเจ็บป่วย โรคของผู้ป่วย
และโรคหรืออาการแทรกซ้อน
1.1 ระดับความรู้สึกตัว