Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กระบวนการพยาบาล NURSING PROCESS, 0PnSiMu2jRRnyXCmPmPIlQ - Coggle Diagram
กระบวนการพยาบาล NURSING PROCESS
ความหมายของกระบวนการพยาบาล
เป็นวิธีการที่มีขั้นตอนต่อเนื่องอย่างมีระบบ เป็นวิธีการของการ แก้ปัญหาตามหลักการวิทยาศาสตร์ที่ต้องอาศัยความรู้ความสามารถ ทักษะ และการตัดสินใจของพยาบาล โดยมีเป้าหมายชัดเจนและมีผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง
ขั้นตอนของกระบวนการพยาบาล
ประกอบด้วยขั้นตอนเป็นแบบวงจร 5 ขั้นตอนดังนี้
1.Assessment
2.Nursing Diagnosis
3.Planning
4.Implementing
5.Evaluating
ความสำคัญของกระบวนการพยาบาล
กระบวนการพยาบาลเป็นหัวใจของการปฏิบัติการวิชาชีพพยาบาล
กระบวนการพยาบาลช่วยให้การปฏิบัติพยาบาลมีคุณภาพมาตรฐาน
กระบวนการพยาบาลส่งเสริมให้พยาบาลมีทักษะในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
กระบวนการพยาบาลช่วยในการสื่อสารของทีมการพยาบาลให้มีประสิทธิภาพ
กระบวนการพยาบาลช่วยให้การมอบหมายงานได้เหมาะสมกับสถานการณ์
กระบวนการพยาบาลแสดงถึงเอกลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล
กระบวนการพยาบาลส่งเสริมให้มีการพัฒนาวิชาชีพ
ปัญหาการใช้กระบวนการพยาบาลและแนวทางแก้ไข
สำหรับพยาบาลวิชาชีพ
การใช้กระบวนการพยาบาลยังไม่ครบทุกขั้นตอน แต่ละขั้นตอนยังทำไม่ครบถ้วน
ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการนำกระบวนการพยาบาลไปใช้ในการปฏิบัติงาน ได้แก่ การขาดความรู้และทักษะในการใช้กระบวนการพยาบาลในการปฏิบัติงานโดยเฉพาะขั้นตอนการวินิจฉัยการพยาบาล อุปสรรคด้านบริหารจัดการ ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพมีภาระงานมากไม่สมดุลกับอัตรากำลังที่มี
มีการใช้กระบวนการพยาบาลในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับ ปานกลาง
แนวทางแก้ไข
การแก้ปัญหาการใช้กระบวนการพยาบาลในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพทั้งในส่วนของ นักศึกษาพยาบาลและพยาบาลวิชาชีพนั้นจำเป็นต้องมีความร่วมมือกันทั้งฝ่ายการศึกษาและฝ่ายบริการพยาบาล
ฝ่ายการศึกษา
ควรจัดการเรียนการสอนทั้งรายวิชาภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติทุกรายวิชาให้มีความสอดคล้องต่อเนื่องและเชื่อมโยงกัน เน้นให้นักศึกษาคิดวิเคราะห์ และฝึกประสบการณ์ในการวินิจฉัยการพยาบาลมากขึ้น เพื่อเตรียมให้นักศึกษาพยาบาลมีความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาลกับผู้ป่วยได้จริงเมื่อเป็นพยาบาลวิชาชีพ
ผู้สอน ควรปลูกฝังทัศนคติที่ดีต่อการเรียนกระบวนการพยาบาลให้แก่นักศึกษาพยาบาล เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจว่ากระบวนการพยาบาลกับการปฏิบัติงานในคลินิก
เป็นสิ่งที่สามารถปฏิบัติควบคู่ไปด้วยกันได้ และขณะฝึกปฏิบัติงานควรให้สอดคล้องกับสภาพการณ์จริงเพื่อนักศึกษาจะได้นำมาประยุกต์ต่อเนื่องได้เมื่อสำเร็จเป็นพยาบาลวิชาชีพและไม่เห็นว่าการใช้กระบวนการพยาบาลเป็นสิ่งที่ปฏิบัติ
ได้เฉพาะในการเรียน การสอนเท่านั้น
ควรมีการพัฒนาอาจารย์ การใช้ภาษาในการเขียนข้อวินิจฉัยการพยาบาลควรมีความยืดหยุ่น เหมาะกับสังคมไทย และเป็นแนวเดียวกัน เพื่อให้การสอนหรือการนิเทศนักศึกษาใน ภาคปฏิบัติไปในรูปแบบเดียวกันทำให้นักศึกษา เรียนรู้ได้ง่ายและไม่สับสน
กรอบแนวคิดที่ใช้ในกระบวนการพยาบาล
กรอบแนวคิดความต้องการพื้นฐานของมาสโลว์(Maslow)
กรอบแนวคิดของแนนดา (NANDA)
กรอบแนวคิดแบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน (Gordon)
กรอบแนวคิดระบบการจำแนกการปฏิบัติการพยาบาลระดับสากล
(ICNP)
กรอบแนวคิดทฤษฎีการพยาบาลต่างๆ เช่น ทฤษฎี การพยาบาลของรอย(Roy) ทฤษฎีการพยาบาลของโอเร็ม (Orem) เป็นต้น
สิ่งสำคัญคือ การมีความตระหนักถึงความสำคัญของกระบวนการพยาบาลและการมีทัศนคติที่ดีต่อการใช้กระบวนการพยาบาล
จะช่วยให้เกิดความมั่นใจในการใช้กระบวน การพยาบาลในการปฏิบัติงาน และส่งผลให้การบริการพยาบาลมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น