Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ เลือดและส่วนประกอบของเลือด - Coggle Diagram
การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ เลือดและส่วนประกอบของเลือด
อาการและอาการแสดงบ่งชี้
1) ภาวะที่เห็นได้ชัดว่ามีการสูญเสียอิเล็คโตรไลท์ เช่น ท้องเสีย อาเจียน เสียเลือดมาก เป็นต้น
2) ในรายที่สงสัยว่าเป็นโรคที่ทำให้เกิดการเพิ่มหรือลดของอิเลคโตรไลท์
การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
1) รักษาภาวะสมดุลของน้ำและสารน้ำในร่างกาย
2) ให้สารอาหาร วิตามิน และเป็นแหล่งพลังงานแก่ผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารทางปากได้
3) รักษาภาวะสมดุลของความเป็นกรด-ด่างในร่างกาย
4) รักษาภาวะสมดุลและปริมาตรของเลือดและส่วนประกอบของเลือด
5) ให้ยาฉีดบางชนิดเข้าทางหลอดเลือดดำ
หลักการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
1) การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย
Heparin lock
Piggy back IV Administration
2) การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำใหญ่
3) การให้สารน้ำและสารละลายทางหลอดเลือดดำใหญ่ผ่านอุปกรณ์ที่ฝังไว้ใต้ผิวหนัง
ชนิดของสารน้ำที่ให้ทางหลอดเลือดดำ
1) สารละลายไอโซโทนิก (Isotonic solution)
2) สารละลายไฮโปโทนิก (Hypotonic solution)
3) สารละลายไฮเปอร์โทนิก (Hypertonic solution)
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่ออัตราการหยดของสารน้ำ
1) ระดับขวดสารน้ำสูงหรือต่ำเกินไป
2) ความหนืดของสารน้ำ ถ้าสารน้ำมีความหนืดสูงอัตราการหยดจะช้า
3) ขนาดของเข็มที่แทงเข้าหลอดเลือดดำ
4) เกลียวปรับบังคับหยดที่ลื่นมาก จะบังคับการหยดได้ไม่ดีพอ
5) สายให้สารน้ำ มีความยาวมาก มีการหักพับงอหรือถูกกด จะทำให้สารน้ำผ่านไม่สะดวก
6) การผูกยึดบริเวณหลอดเลือด แน่นหรือตึงเกินไปรวมทั้งการนั่ง หรือนอนทับสายให้สารน้ำ จะปิดกั้นทางผ่านของสารน้ำ
7) การเคลื่อนย้ายและการเคลื่อนไหวร่างกายของผู้ป่วย อาจทำให้เข็มเคลื่อนที่
8) การปรับอัตราหยดผู้ป่วยเด็กที่เอื้อมมือไปหมุนปรับเล่น
การเลือกตำแหน่งของหลอดเลือดดำที่จะแทงเข็ม
1) เลือกหลอดเลือดดำของแขนข้างที่ผู้ป่วยไม่ถนัดก่อน
2) ให้เริ่มต้นแทงเข็มที่ให้สารน้ำที่หลอดเลือดดำส่วนปลายของแขนก่อน
3) ตรวจสอบบริเวณตำแหน่งที่จะแทงเข็มว่ามีสภาพที่เหมาะสม
4) ถ้าจำเป็นต้องผูกยึดแขนและขา ให้หลีกเลี่ยงการแทงเข็มให้สารน้ำ
5) หลีกเลี่ยงการแทงเข็มบริเวณข้อพับต่าง ๆ
6) คำนึงถึงชนิดของสารน้ำที่ให้ หากเป็นสารน้ำชนิด Hypertonic
อุปกรณ์เครื่องใช้
1) ขวดสารน้ำ โดยขวดสารน้ำ/ยา ต้องเตรียมให้ตรงกับใบสั่งการรักษาและตรวจสอบดูว่าสภาพขวดสารน้ำ/ยาไม่มีรอยแตกร้าว
2) ชุดให้สารน้ำ (IV Administration set) ใช้เป็นทางผ่านของสารน้ำ
3)เข็มที่ใช้แทงเข้าหลอดเลือดดำส่วนปลาย (Peripheral insertion devices) ทำด้วยเทฟล่อนนิยมใช้มากที่สุดในปัจจุบัน
4) อุปกรณ์อื่น ๆ เช่น เสาแขวนขวดให้สารน้ำ ยางรัดแขน (Tourniquet) แผ่น
ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นเฉพาะที่
1) การบวมเนื่องจากสารน้ำซึมออกนอก หลอดเลือดดำ (Infiltration)
2) การมีเลือดออกและแทรกซึมเข้าใต้ผิวหนังบริเวณที่แทงเข็ม (Extravasations)
3) การติดเชื้อเฉพาะที่ (Local infection) บวมแดง ร้อน
4) หลอดเลือดดำอักเสบ (Phlebitis) ผิวหนังบริเวณที่แทงเข็มบวม
ระดับการอักเสบของหลอดเลือดดำจากการให้สารน้ำ
Grade 0 ไม่มีอาการ
Grade 1 ผิวหนังบริเวณแทงเข็มแดง มีอาการปวดหรือไม่มีก็ได้
Grade 2 ปวดบริเวณที่แทงเข็ม ผิวหนังบวมหรือไม่บวมก็ได้
Grade 3 ปวดบริเวณที่แทงเข็ม ผิวหนังบวมแดงเป็นทาง
Grade 4 ปวดบริเวณที่แทงเข็ม คลำได้หลอดเลือดแข็งเป็นลำ
ความยาวมากกว่า 1 นิ้ว มีหนอง
การพยาบาล
1) หยุดให้สารน้ำ จัดแขนข้างที่บวมให้สูงกว่าลำตัวผู้ป่วย
2) ประคบด้วยความร้อนเปียก
3) เปลี่ยนที่แทงเข็มให้สารน้ำใหม่
4) รายงานให้แพทย์ทราบเพื่อให้การรักษา
5) จัดแขนข้างที่บวมให้สูงกว่าลำตัวผู้ป่วย เพื่อลดอาการบวม
6) ส่งหนองบริเวณที่แทงเข็มเพาะเชื้อ
ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นในระบบไหลเวียนของเลือด
1) การแพ้ยาหรือสารน้ำที่ได้รับ (Allergic reaction)
2) การติดเชื้อในกระแสเลือด (Bacteremia หรือ Septicemia)
3) เกิดฟองอากาศในกระแสเลือด (Air embolism)
4) ให้สารน้ำเร็วเกินและมากเกินไป (Circulatory overload)
การพยาบาล
1) หยุดให้สารน้ำ
2) เปลี่ยนขวดให้สารน้ำ
3) ให้การช่วยเหลือตามอาการ
4) วัดอุณหภูมิ ชีพจร การหายใจ และความดันโลหิต
5) เตรียมรถ Emergency
6) รายงานให้แพทย์ทราบเพื่อให้การรักษา
7) ส่งเลือดและหนองที่เกิดเฉพาะที่ไปเพาะเชื้อ
8) ดูแลให้ยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา
9) ดูแลให้ออกซิเจน
การใช้กระบวนการพยาบาลในการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
การประเมินด้านร่างกาย
ระดับความรู้สึกตัว
พยาธิสภาพของโรค
การประเมินด้านจิตใจ
ความพร้อมของการรับบริการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดา
ความต้องการรับบริการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
ความวิตกกังวลและความกลัว
การประเมินสิ่งแวดล้อม
ความสะอาดของสิ่งแวดล้อมรอบตัวผู้ป่วยและรอบเตียง
ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสิ่งแวดล้อมผู้ป่วย
ความพร้อมใช้ของสิ่งแวดล้อมตัวผู้ป่วย
บรรยากาศในหอผู้ป่วย
การประเมินแผนการรักษา
ตรวจสอบแผนการรักษา
ตรวจสอบชนิดของสารน้ำตามแผนการรักษา ชนิด ปริมาณ อัตรา และเวลา
วัตถุประสงค์ของการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
1) ให้สารน้ำทดแทนน้ำที่สูญเสียจากร่างกาย
2) ให้สารน้ำเพียงพอกับความต้องการของร่างกายในรายที่ไม่สามารถรับประทานได้ทางปาก
3) ให้ยาบางชนิดที่ไม่สามารถดูดซึมทางระบบทางเดินอาหาร
4) รักษาสมดุลของกรด-ด่างในร่างกาย
5) ใช้เป็นช่องทางในการฉีดยาเข้าทางหลอดเลือดดำ
6) แก้ไขความดันโลหิต
วิธีทำการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
1) ตรวจสอบคำสั่งการรักษา และเขียนชื่อนามสกุลของผู้ป่วย
2) เตรียมเครื่องใช้ไปที่เตียงผู้ป่วย ตรวจสอบรายชื่อนามสกุล
3) บอกให้ผู้ป่วยทราบโดยอธิบายวัตถุประสงค์และวิธีการให้
4) ล้างมือให้สะอาด
5) ดึงแผ่นโลหะที่ปิดขวดสารน้ำหรือฝาครอบที่ปิดถุงน้ำพลาสติกออก
6) เช็ดจุกยางที่ขวดหรือถุงสารน้ำด้วยสาลีชุบแอลกอฮอล์ 70%
7) ต่อ IV set กับ IV fluid
8) ต่อ three ways กับ extension tube แล้วมาต่อกับ IV set
9) ปิด clamp ที่ IV set
10) แขวนขวด IV fluid เสาน้ำเกลือแขวนให้สูงประมาณ 1 เมตร (3 ฟุต) จากผู้ป่วย
11) บีบ chamber ของ IV set ให้ IV fluid ลงมาในกระเปาะประมาณ ½ ของกระเปาะ
12) เตรียมผิวหนังและการแทงเข็มให้สารน้ำ
13) เก็บอุปกรณ์ทำความสะอาดและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
14) ลงบันทึกทางการพยาบาล
การประเมินผลการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
1) ประเมินอาการแทรกซ้อนและอาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์
2) ประเมินสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย
3) ประเมินความสุขสบายของผู้ป่วยและจัดท่านอนให้สุขสบายและเหมาะสม
4) ประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วย (โดยการสอบถามผู้ป่วย)
5) ประเมินการปฏิบัติถูกต้องครบและเป็นไปตามขั้นตอนของการปฏิบัติ
6) ประเมินการจัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องใช้ครบถ้วนเพียงพอหรือไม่
7) การประเมินผลคุณภาพการบริการ
การหยุดให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
อุปกรณ์
สาลีปลอดเชื้อ หรือก๊อซปลอดเชื้อ
พลาสเตอร์
ถุงมือชนิดใช้แล้วทิ้ง
วิธีปฏิบัติ
1) ปิด clamp
2) แกะพลาสเตอร์ที่ปิดยึดหัวเข็ม และสายให้สารน้ำออกทีละชิ้น
3) สวมถุงมือเพื่อไม่ให้เลือดสัมผัสกับมือพยาบาล
4) ดึงเข็มที่ให้สารน้ำออกทางผิวหนังตามแนวที่แทงเข็มด้วยความนุ่มนวล
5) ใช้สาลีแห้งหรือก๊อซปลอดเชื้อกดทับที่ตำแหน่งที่ดึงเข็มออก
6) เก็บชุดให้สารน้ำและเข็มที่แทงให้เรียบร้อย
7) บันทึกในบันทึกทางการพยาบาล
การใช้กระบวนการพยาบาลในการฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ
การประเมินด้านร่างกาย
ระดับความรู้สึกตัว
ประวัติการแพ้ยา
พยาธิสภาพของโรค
การประเมินด้านจิตใจ
ความพร้อมของการรับบริการฉีดยา
ความต้องการรับบริการฉีดยา
ความวิตกกังวลและความกลัว
การประเมินสิ่งแวดล้อม
ความสะอาดของสิ่งแวดล้อมรอบตัวผู้ป่วยและรอบเตียง
ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสิ่งแวดล้อมผู้ป่วย
ความพร้อมใช้ของสิ่งแวดล้อมตัวผู้ป่วย
3.4 บรรยากาศในหอผู้ป่วย
การใช้กระบวนการพยาบาลในการฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ
การฉีดยาแบบที่ 1 IV plug กับ piggy back (100 ml)
การฉีดยาแบบที่ 2 IV plug กับ syringe IV push
การฉีดยาแบบที่ 3 Surg plug กับ piggy back (100 ml)
การฉีดยาแบบที่ 4 Surg plug กับ syringe IV push
การฉีดยาแบบที่ 5 three ways กับ piggy back (100 ml)
การฉีดยาแบบที่ 6 three ways กับ syringe IV push
ชนิดของสารอาหารทางหลอดเลือดดำ
Total parenteral nutrition (TPN) เป็นการให้โภชนบำบัดครบตามความต้องการของผู้ป่วยทั้งปริมาณพลังงานที่ต้องการ และสารอาหารทุกหมู่
Partial or peripheral parenteral nutrition (PPN) เป็นการให้โภชนบำบัดทางหลอดเลือดดำเพียงบางส่วน อาจได้พลังงานไม่ครบตามความต้องการ หรือได้สารอาหารไม่ครบทุกหมู่
ตำแหน่งของการให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำ
การให้ทางหลอดเลือดดำแขนง (peripheral vein)
การให้ทางหลอดเลือดดำใหญ่ (central vein)
อาการแทรกซ้อนจากการให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำ
บวมเนื่องจากมีสารอาหารเข้าไปอยู่ในเนื้อเยื่อชั้นผิวหนัง
มีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในระบบไหลเวียนของเลือด
การให้สารอาหารมากเกินไป
ไข้
การใช้กระบวนการพยาบาลในการให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำ
ไม่เกิดภาวะหลอดเลือดดำอักเสบ
ไม่เกิดสิ่งแปลกปลอมอยู่ในระบบไหลเวียนของเลือด
การปฏิบัติการพยาบาล
ก่อนและขณะให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
ประเมินสัญญาณชีพก่อนและขณะให้สารอาหารและติดตามทุก 2-4 ชั่วโมง
ผู้ป่วยที่ได้รับสารอาหารทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย
มีป้ายปิดที่ขวดให้สารอาหาร ระบุชื่อ และสกุลของผู้ป่วย
สังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับผู้ป่วย
ถ้าสารอาหารที่ให้ทางหลอดเลือดดำรั่ว หรือทางเส้นเลือดดำอุดตัน ให้ไม่ได้ ควรรายงานให้แพทย์ทราบ
ดูแลทางด้านจิตใจ
การให้เลือดและส่วนประกอบของเลือด
คนเลือดกรุ๊ป Rh-ve ต้องรับจาก Rh-ve เท่านั้น
คนเลือดกรุ๊ป O รับได้จาก O เท่านั้น แต่ให้กับกรุ๊ปอื่นได้ทุกกรุ๊ป
คนเลือดกรุ๊ป AB รับได้จากทุกกรุ๊ป แต่ให้เลือดแก่ผู้อื่นได้เฉพาะคนที่เป็นเลือดกรุ๊ป AB
คนเลือดกรุ๊ป A รับได้จาก A และ O ให้ได้กับ A และ AB
คนเลือดกรุ๊ป B รับได้จาก B และ O ให้ได้กับ B และ AB
ภาวะแทรกซ้อนจากการให้เลือด
เม็ดเลือดแดงสลายตัว (Hemolysis) จากการให้เลือดผิดหมู่
ปริมาตรการไหลเวียนของเลือดมากเกินไป
ไข้
ปฏิกิริยาภูมิแพ้
การถ่ายทอดโรค
การอุดตันจากฟองอากาศ
ภาวะสารซิเตรทเกินปกติ
ภาวะโปตัสเซียมเกินปกติ
การดูแลผู้ป่วยภายหลังได้รับเลือด
ตรวจสอบสัญญาณชีพหลังการให้เลือด 15 นาที และต่อไปทุก 4 ชั่วโมง
สังเกตปฏิกิริยาที่เกิดจากการให้เลือดอย่างต่อเนื่อง
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับความสุขสบายตลอดระยะเวลาที่ให้เลือด
บันทึกหมู่เลือด ชนิดของเลือด หมายเลขเลือด ปริมาณเลือด วัน เวลา ชื่อผู้ให้เลือด
การบันทึกปริมาณน้ำเข้า-ออกจากร่างกาย
แบบฟอร์มการบันทึกควรแขวนไว้ที่เตียงผู้ป่วย
อธิบายเหตุผลและความสาคัญของการวัดและการบันทึกจานวนน้ำ
ร่วมกับผู้ป่วยในการวางแผนกำหนดจำนวนน้ำที่เข้าสู่ร่างกายในแต่ละช่วงเวลา
จดบันทึกจำนวนน้ำและของเหลวทุกชนิดที่ให้ขณะมื้ออาหารและระหว่างมื้ออาหาร
การจดบันทึกควรสรุปทุก 8 ชั่วโมง และทุกวัน
บันทึกจานวนสารน้ำที่สูญเสียทางอื่น ๆ เช่น อาเจียน ท้องเดิน