Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ผู้รับบริการ หญิงไทยวัยสูงอายุ อายุ 73 ปี มีโรคประจำตัวคือ เบาหวาน…
ผู้รับบริการ หญิงไทยวัยสูงอายุ อายุ 73 ปี มีโรคประจำตัวคือ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และเกิดอุบัติเหตุหกล้ม เมื่อสามปีที่แล้ว ทำให้สะโพกหลุด ไม่สามารถเดินได้ด้วยตนเอง ได้รับการทำกายภาพบำบัด จึงทำให้สามารถจับราวเดินด้วยตนเองได้
-
-
เกิดอุบัติเหตุหกล้ม เมื่อสามปีที่แล้ว ทำให้สะโพกหลุด ไม่สามารถเดินได้ด้วยตนเอง ได้รับการทำกายภาพบำบัด จึงทำให้สามารถจับราวเดินด้วยตนเองได้
-
-
-
ทฤษฎีการเชื่อมตามขวาง (Cross linking theory)
จากปัญหาโรคประจำตัว ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานอธิบายได้ด้วย ทฤษฎีการเชื่อมตามขวาง (Cross linking theory) หรือทฤษฎีคอลลาเจน (Collagen Theory) ทฤษฎีนี้เชื่อว่า เมื่ออายุมากขึ้นโปรตีนบางตัวจะเปลี่ยนแปลงมีลักษณะไขว้ขวางกัน (cross-linked) และอาจขัดขวางกระบวนการเผาผลาญในร่างกายโดยอุดกั้นทางเดินระหว่างภายในและภายนอกเซลล์ การเชื่อมตามขวางนี้อาจเกิดระหว่างสารภายในโมเลกุลเดียวกันหรือสารระหว่างโมเลกุลก็ได้ การเชื่อมตามขวางพบได้มากที่สุดคือ โปรตีนที่อยู่ภายนอกเซลล์ คือ elastin และ collagen ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เช่น ligament, tendon กล้ามเนื้อผนังหลอดเลือดแดง และสารประกอบที่อยู่ใน ground substance การเชื่อมตามขวางจะค่อยๆ เป็นไปตามอายุ ซึ่งทำให้เนื้อเยื่อขาดความยืดหยุ่น
การเปลี่ยนแปลงของผิวหนังจะเกิดเนื่องจาก collagen หนืดมากขึ้นและเข้าแทนที่ในสารประกอบต่างๆของ ground substance การขาดความยืดหยุ่นของผนังหลอดเลือดเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็งตัว ความดันโลหิตสูง เป็นต้น
-
ผู้สูงอายุ
หญิงไทยวัยสูงอายุ อายุ 73 ปี มีโรคประจำตัว คือ โรคความดันโลหิตสูง (Hypertention) เป็นมาแล้ว 28 ปีรับยาสม่ำเสมอ ที่โรงพยาบาลส่งเริมสุขภาพตำบลบ้านดงหวาย ยาที่ได้รับ Amlodipine, Enalapril, Simvastatin, Aspirin
สาเหตุมีส่วนเกินจากพันธุกรรม ซึ่งผู้รับบริการบอกว่ามารดาและบิดาเสียชีวิตตอนผู้รับบริการอายุยังเด็ก จึงทำให้ไม่สามารถทราบได้แน่ชัดว่าเกิดจากพันธุกรรมหรือไม่ แต่เมื่ออายุมากขึ้นโปรตีนบางตัวมีลักษณะไขว้ขวางกัน ทำให้ขัดขวางกระบวนการเผาผลาญ ทำให้ขากการยืดหยุ่นของผนังหลอดเลือด เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็งตัว ความดันโลหิตสูงเกิดขึ้น
ทฤษฎีระบบประสาท / ต่อมไร้ท่อ
และภูมิคุ้มกัน (Neuroendocrine-Immunologic Theory)
จากปัญหาที่พบสามารถอธิบายด้วยทฤษฎีระบบประสาท / ต่อมไร้ท่อ และภูมิคุ้มกัน (Neuroendocrine-Immunologic Theory) เชื่อว่าความสูงอายุเป็นผลร่วมกันของการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบประสาท ต่อมไร้ท่อ และระบบภูมิคุ้มกันที่ทำหน้าที่ลดลง หรือแตกต่างจากเดิม เมื่ออายุมากขึ้นเซลล์ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกันคือ T lymphocytes กับ B lymphocytes จะถูกทำลาย ซึ่ง T cells จะบ่งบอกถึงความสูงอายุได้มากกว่า B cells ระบบภูมิคุ้มกันแบบ cell-mediated immunity เป็นการทำงานของ T cells ระดับของฮอร์โมนจากต่อมธัยมัสจะลดลงหลังอายุ 30 ปี และจะไม่พบในเลือดของผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี เมื่อ T cells ถูกสร้างลดลง ความสามารถในการต่อต้านเซลล์มะเร็งก็ลดลง ระบบภูมิคุ้มกันแบบ humoral immunity เป็นการทำงานของ B cells ร่างกายจะสร้าง antibody ต่อต้าน antigen เช่น ไวรัส แบคที่เรีย ภูมิคุ้มกันนี้ทำงานลดลงมีผลทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย
-
ผู้สูงอายุ
หญิงไทยวัยสูงอายุ อายุ 73 ปี มีโรคประจำตัว คือ โรคบาหวาน (Diabetes Mellitus) เป็นมาแล้ว 28 ปีรับยาสม่ำเสมอ ที่โรงพยาบาลส่งเริมสุขภาพตำบลบ้านดงหวาย ยาที่ได้รับ Metformin และได้รับการฉีด Insulin Mixtard 6 Unit subcutaneous OD เมื่อ 1 ปีที่แล้ว ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
เบาหวานมีส่วนเกินจากพันธุกรรม ซึ่งผู้รับบริการบอกว่ามารดาและบิดาเสียชีวิตตอนผู้รับบริการอายุยังเด็ก จึงทำให้ไม่สามารถทราบได้แน่ชัดว่าเกิดจากพันธุกรรมหรือไม่ และมีผลจาก ความผิดปกติทางระบบภูมิคุ้มกัน ความเครียด ความชรา จากการประเมินความเครียด ซึ่งความเครียดของผู้รับบริการอยู่ในระดับปานกลาง การเพิ่มอะนาบอลิซึมของโปรตีนและกระตุ้นการให้กล้ามเนื้อรับเอากรดอะมิโนไว้มาก ทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ ผู้ป่วยจะกระหายน้ำ ดื่มน้ำมากขึ้น เซลล์ร่างกายเมื่อขาดกลูโคสจะกระตุ้นไฮโปทาลามัส ทำให้รู้สึกหิวและรับประทานอาหารมากขึ้น เกิดการกินจุก กินจิก ทำให้เกิดการสะสมของน้ำตาล ไขมันเพิ่มมากขึ้น บวกกับปัจจัยทางด้านพันธุกรรม ความผิดปกติทางระบบภูมิคุ้มกัน ความเครียด ความชรา สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้รับบริการเกิดโรคเบาหวาน