Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พระราชบัญญัติ เครื่องสําอาง พ.ศ. ๒๕๕๘ - Coggle Diagram
พระราชบัญญัติ เครื่องสําอาง
พ.ศ. ๒๕๕๘
หมวด ๑ คณะกรรมการเครื่องสําอาง
มาตรา ๑๓ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการตามมาตรา ๑๒ มีอํานาจออกคําสั่งเป็นหนังสือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคํา หรือให้ส่งเอกสาร หรือวัตถุใดเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาได้
มาตรา ๑๒ คณะกรรมการมีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณา ศึกษา หรือวิจัยเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ในอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการ หรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่คณะกรรมการ
มอบหมาย
มาตรา ๑๐ คณะกรรมการมีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
ให้คําแนะนําหรือความเห็นแก่รัฐมนตรีในเรื่องที่เกี่ยวกับนโยบายและมาตรการควบคุมเครื่องสําอางตามพระราชบัญญัตินี้
ให้คําแนะนําแก่รัฐมนตรีในการออกประกาศตามมาตรา ๖
ให้คําแนะนําเกี่ยวกับการเพิกถอนใบรับจดแจ้งตามมาตรา ๓๖
ให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับการเพิกถอนใบรับจดแจ้งตามมาตรา ๓๗
ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย
มาตรา ๗ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมการเครื่องสําอาง”ประกอบด้วยปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานกรรมการ อธิบดีกรมการแพทย์ อธิบดีกรมควบคุมโรค
มาตรา ๘ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละสองปี และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่จะดํารงตําแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันไม่ได้
มาตรา ๙ นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่งเมื่อ
รัฐมนตรีให้ออกเพราะทุจริตต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือหย่อนความสามารถ
ลาออก
ตาย
ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๗ วรรคสาม
เป็นบุคคลล้มละลาย
เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
ได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
มาตรา ๑๑ การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งขงจํานวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
หมวด ๒การจดแจ้งและการรับจดแจ้งเครื่องสําอาง
มาตรา ๒๐ ผู้จดแจ้งรายใดประสงค์จะขอออกหนังสือรับรองเกี่ยวกับเครื่องสําอางให้ยื่นคําขอต่อผู้รับจดแจ้ง
มาตรา ๑๙ ในกรณีที่ผู้จดแจ้งประสงค์จะขอแก้ไขรายการในใบรับจดแจ้ง ให้ยื่นคําขอต่อผู้รับจดแจ้ง
มาตรา ๑๘ ถ้าใบรับจดแจ้งชํารุด สูญหาย หรือถูกทําลายในสาระสําคัญ ให้ผู้จดแจ้งยื่นคําขอรับใบแทนใบรับจดแจ้งต่อผู้รับจดแจ้งภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบการชํารุด สูญหาย หรือถูกทําลาย
มาตรา ๑๖ ผู้ซึ่งผลิตหรือนําเข้าเครื่องสําอางเพื่อเป็นตัวอย่าง เพื่อจัดนิทรรศการ หรือเพื่อใช้ในการศึกษา วิจัย หรือวิเคราะห์ทางวิชาการ
มาตรา ๑๔ ผู้ใดประสงค์จะผลิตเพื่อขาย นําเข้าเพื่อขาย หรือรับจ้างผลิตเครื่องสําอางต้องจดแจ้งรายละเอียดของเครื่องสําอางต่อผู้รับจดแจ้ง
มาตรา ๑๕ ใบรับจดแจ้งให้มีอายุสามปีนับแต่วันที่ออกใบรับจดแจ้ง
มาตรา ๑๗ ให้ผู้รับจดแจ้งมีคําสั่งไม่รับจดแจ้งเครื่องสําอางที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
เครื่องสําอางนั้นใช้ชื่อไปในทํานองโอ้อวด ไม่สุภาพ หรืออาจทําให้เข้าใจผิดจากความจริง
เครื่องสําอางที่ใช้ชื่อไม่เหมาะสมกับวัฒนธรรมอันดีงามของไทยหรือส่อไปในทางทําลายคุณค่าของภาษาไทย
มาตรา ๒๑ การพิจารณาออกใบรับจดแจ้งตามมาตรา ๑๔ การพิจารณาแก้ไขรายการตามมาตรา ๑๙ และการออกหนังสือรับรองตามมาตรา ๒๐
หมวด ๓
ฉลากเครื่องสําอาง
มาตรา ๒๒ ผู้ผลิตเพื่อขาย ผู้นําเข้าเพื่อขาย และผู้รับจ้างผลิตเครื่องสําอางต้องจัดให้มีฉลากฉลากของเครื่องสําอางตามวรรคหนึ่ง จะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี
ใช้ข้อความที่ตรงต่อความจริง ไม่มีข้อความที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสําคัญเกี่ยวกับเครื่องสําอาง และไม่ใช้ข้อความที่ขัดต่อศีลธรรม หรือวัฒนธรรมอันดีงามของไทย
ใช้ข้อความภาษาไทย และมีขนาดที่สามารถอ่านได้ชัดเจน และอาจมีภาษาต่างประเทศด้วยก็ได้
ต้องระบุข้อความดังต่อไปนี้
ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต กรณีที่ผลิตในประเทศ ชื่อและที่ตั้งของผู้นําเข้า และชื่อผู้ผลิตและประเทศที่ผลิต กรณีที่นําเข้า
ปริมาณ วิธีใช้ ข้อแนะนํา คําเตือน เดือน ปีที่ผลิตและที่หมดอายุ เลขที่หรืออักษรแสดงครั้งที่ผลติ และชื่อของสารทุกชนิดที่ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิต
มาตรา ๒๓ ในกรณีที่ฉลากใดไม่เป็นไปตามมาตรา ๒๒ เลขาธิการโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการมีอํานาจสั่งให้ผู้จดแจ้งเครื่องสําอางเลิกใช้ฉลากดังกล่าวหรือดําเนินการแก้ไขฉลากนั้นให้ถูกต้อง
มาตรา ๒๔ ผู้จดแจ้งผู้ใดสงสัยว่าฉลากของตนจะเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่เป็นไปตามมาตรา ๒๒ผู้จดแจ้งผู้นั้นอาจขอให้คณะกรรมการให้ความเห็นเกี่ยวกับฉลากที่ประสงค์จะใช้นั้นได้
หมวด ๔
การควบคุมเครื่องสําอาง
มาตรา ๓๔ เมื่อมีการประกาศกําหนดให้วัตถุใดอาจใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสําอางตามมาตรา ๖ (๓) ให้ถือว่าการใช้วัตถุดังกล่าวในเครื่องสําอางได้รับการยกเว้นไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย
มาตรา ๓๒ ห้ามมิให้ผู้ใดขายเครื่องสําอางดังต่อไปนี้
เครื่องสําอางที่มิได้จดแจ้งตามมาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง
เครื่องสําอางที่ไม่มีฉลากตามมาตรา ๒๒ วรรคหนึ่ง
เครื่องสําอางที่มีฉลากซึ่งไม่เป็นไปตามมาตรา ๒๒ วรรคสอง
เครื่องสําอางที่มีฉลากซึ่งไม่เป็นไปตามมาตรา ๒๒ วรรคสอง
เครื่องสําอางที่มีฉลากซึ่งเลขาธิการสั่งเลิกใช้ตามมาตรา ๒๓
เครื่องสําอางที่หมดอายุการใช้ตามที่แสดงไว้ในฉลาก
มาตรา ๓๐ เครื่องสําอางซึ่งมีสารสําคัญขาดหรือเกินกว่าที่ได้จดแจ้งไว้ต่อผู้รับจดแจ้งหรือที่ระบุไว้ในฉลากเกินเกณฑ์ค่าคลาดเคลื่อนที่รัฐมนตรีกําหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๒๘ เครื่องสําอางที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นเครื่องสําอางที่ไม่ปลอดภัยในการใช้
เครื่องสําอางที่มีวัตถุที่ห้ามใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสําอางตามมาตรา ๖
เครื่องสําอางที่ผลิตหรือใช้ภาชนะบรรจุไม่ถูกสุขลักษณะอันอาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้
เครื่องสําอางที่มีสารอันสลายตัวได้รวมอยู่ด้วยและอาจทําให้เกิดเป็นพิษอันเป็นอันตราย
ต่อผู้ใช้
เครื่องสําอางที่มีสิ่งที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้เจือปนอยู่ด้วย
มาตรา ๒๕ เมื่อมีประกาศตามมาตรา ๖ (๙) การนําเข้าเพื่อขายเครื่องสําอาง ต้องผ่านการตรวจสอบของพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ด่านตรวจสอบเครื่องสําอาง
มาตรา ๒๖ ผู้จดแจ้งต้องผลิตหรือนําเข้าเครื่องสําอางให้ตรงตามที่ได้จดแจ้งไว้
มาตรา ๒๗ ห้ามมิให้ผู้ใดผลิตเพื่อขาย นําเข้าเพื่อขาย รับจ้างผลิตหรือขายเครื่องสําอาง
ดังต่อไปนี
เครื่องสําอางที่ไม่ปลอดภัยในการใช้
เครื่องสําอางปลอม
เครื่องสําอางผิดมาตรฐาน
เครื่องสําอางที่ถูกสั่งเพิกถอนใบรับจดแจ้งตามมาตรา ๓๖ หรือมาตรา ๓๗
มาตรา ๒๙ เครื่องสําอางที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นเครื่องสําอางปลอม
เครื่องสําอางที่ใช้ฉลากแจ้งชื่อผู้ผลิต ผู้นําเข้า หรือแหล่งผลิตที่มิใช่ความจริง
เครื่องสําอางซึ่งมีสารสําคัญขาดหรือเกินกว่าร้อยละยี่สิบตามที่จดแจ้งไว้ต่อผู้รับจดแจ้งหรือตามที่ระบุไว้ในฉลาก
เครื่องสําอางที่ใช้วัตถุอย่างหนึ่งอย่างใดที่ทําเทียมขึ้นเป็นสารสําคัญของเครื่องสําอางนั้นหรือเป็นเครื่องสําอางที่ไม่มีสารสําคัญตามที่ได้จดแจ้งไว้ต่อผู้รับจดแจ้ง
เครื่องสําอางที่แสดงว่าเป็นเครื่องสําอางที่ได้จดแจ้งไว้ซึ่งมิใช่ความจริง
มาตรา ๓๑ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้จดแจ้งฝ่าฝืนมาตรา ๒๖ หรือไม่ปฏิบัติตามประกาศของ
รัฐมนตรีตามมาตรา ๖ (๕) (๖) (๗) หรือ (๘) ให้ผู้รับจดแจ้งมีอํานาจสั่งให้ผู้นั้นระงับการกระทําที่ฝ่าฝืนหรือแก้ไขปรับปรุงหรือปฏิบัติให้ถูกต้องได้
มาตรา ๓๓ ในกรณีมีความจําเป็นเพื่อคุ้มครองความปลอดภัยและอนามัยของบุคคลเลขาธิการมีอํานาจออกคําสั่งให้ผู้จดแจ้งดําเนินการดังต่อไปนี้
จัดส่งตัวอย่างของเครื่องสําอางที่ตนได้ผลิตหรือนําเข้าต่อสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
มาตรา ๓๕ เพื่อประโยชน์ในการส่งออก ผู้ผลิตหรือผู้นําเข้าจะผลิตหรือนําเข้าเครื่องสําอางเพื่อการส่งออกโดยมีคุณภาพ มาตรฐาน ฉลาก หรือรายละเอียดอื่น ๆ ตามที่ผู้สั่งซื้อกําหนดก็ได้
หมวด ๕การเพิกถอนใบรับจดแจ้งเครื่องสําอาง
มาตรา ๔๐ การแจ้งคําสั่งเพิกถอนใบรับจดแจ้งเครื่องสําอางโดยวิธีส่งทางไปรษณีย์ตอบรับให้ถือว่าได้รับแจ้งเมื่อครบกําหนดเจ็ดวันนับแต่วันส่ง เว้นแต่จะมีการพิสูจน์ได้ว่าไม่มีการได้รับหรือได้รับก่อนหรือหลังจากวันนั้น
มาตรา ๓๙ การแจ้งคําสั่งเพิกถอนใบรับจดแจ้งเครื่องสําอางโดยวิธีให้บุคคลนําไปส่งถ้าผู้จดแจ้งไม่ยอมรับหรือในขณะนําไปส่งไม่พบผู้จดแจ้ง
มาตรา ๓๘ คําสั่งเพิกถอนใบรับจดแจ้งเครื่องสําอาง ให้ทําเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้จดแจ้งทราบโดยให้ส่งหนังสือแจ้งไปยังสถานที่ที่ระบุไว้ในใบรับจดแจ้ง ตามวิธีการที่กําหนดไว้ในมาตรา ๓๙ หรือมาตรา ๔๐
มาตรา ๓๗ เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองสุขภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภค ผู้รับจดแจ้งโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการมีอํานาจสั่งเพิกถอนใบรับจดแจ้งเครื่องสําอางได้ หากปรากฏว่า
ผู้จดแจ้งไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดในมาตรา ๑๔ วรรคสาม
เป็นเครื่องสําอางที่ไม่ปลอดภัยในการใช้ตามมาตรา ๒๘
เป็นเครื่องสําอางที่ผู้จดแจ้งได้เปลี่ยนหรือเพิ่มเติมวัตถุประสงค์ในการใช้หรือคุณประโยชน์ของเครื่องสําอางเป็นยา อาหาร วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
มาตรา ๓๖ ผู้รับจดแจ้งมีอํานาจสั่งเพิกถอนใบรับจดแจ้งเครื่องสำอาง หากปรากฏว่า
เครื่องสําอางนั้นเป็นเครื่องสําอางที่รัฐมนตรีประกาศตามมาตรา ๖
ผู้จดแจ้งไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๖
หมวด ๖การโฆษณา
มาตรา ๔๑ การโฆษณาเครื่องสําอางต้องไม่ใช้ข้อความที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือใช้ข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวม ทั้งนี้ ไม่ว่าข้อความดังกล่าวนั้นจะเป็นข้อความที่เกี่ยวกับแหล่งกําเนิด สภาพ คุณภาพ ปริมาณ หรือลักษณะของเครื่องสําอาง
ข้อความที่เป็นเท็จหรือเกินความจริง
ข้อความที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสําคัญเกี่ยวกับเครื่องสําอาง ไม่ว่าจะกระทําใช้หรืออ้างอิงรายงานทางวิชาการ สถิติ หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอันไม่เป็นความจริง
ข้อความที่แสดงสรรพคุณที่เป็นการรักษาโรคหรือที่มิใช่จุดมุ่งหมายเป็นเครื่องสําอาง
ข้อความที่ทําให้เข้าใจว่ามีสรรพคุณบํารุงกาม
ข้อความที่เป็นการสนับสนุนโดยตรงหรือโดยอ้อมให้มีการกระทําผิดกฎหมายหรือศีลธรรมหรือนําไปสู่ความเสื่อมเสียในวัฒนธรรมของชาติ
ข้อความที่จะทําให้เกิดความแตกแยกหรือเสื่อมเสียความสามัคคีในหมู่ประชาชน
ข้อความอย่างอื่นตามที่กําหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๔๒ การโฆษณาจะต้องไม่กระทําด้วยวิธีการอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกายหรือจิตใจ หรือขัดต่อศีลธรรมอันดีงามของประชาชน หรืออันอาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนรําคาญแก่ผู้บริโภค
มาตรา ๔๓ ในกรณีที่เลขาธิการเห็นว่าเครื่องสําอางใดอาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค ให้เลขาธิการโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการมีอํานาจออกคําสั่งให้ผู้จดแจ้งหรือผู้ทําการโฆษณาดําเนินการ ดังต่อไปนี
กำหนดให้การโฆษณานั้นต้องกระทําไปพร้อมกับคําแนะนําหรือคําเตือนเกี่ยวกับวิธีใช้หรืออันตราย ตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการกําหนด
จํากัดการใช้สื่อโฆษณาสําหรับเครื่องสําอางนั้น
ห้ามการโฆษณาเครื่องสําอางนั้น
มาตรา ๔๔ ในกรณีที่เลขาธิการเห็นว่าการโฆษณาใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๑ หรือมาตรา ๔๒ให้เลขาธิการโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการมีอํานาจออกคําสั่งให้ผู้จดแจ้งหรือผู้ทําการโฆษณาดําเนินการ
ให้แก้ไขข้อความหรือวิธีการในการโฆษณา
ห้ามการใช้ข้อความบางอย่างที่ปรากฏในการโฆษณา
ห้ามการโฆษณาหรือห้ามใช้วิธีการนั้นในการโฆษณา
ให้โฆษณาเพื่อแก้ไขความเข้าใจผิดของผู้บริโภคที่อาจเกิดขึ้นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกําหนด
มาตรา ๔๕ ในกรณีที่เลขาธิการมีเหตุอันควรสงสัยว่า ข้อความใดที่ใช้ในการโฆษณาเป็นเท็จ
หรือเกินความจริงตามมาตรา ๔๑ วรรคสอง (๑)
มาตรา ๔๖ ผู้จดแจ้งหรือผู้ทําการโฆษณาเครื่องสําอางซึ่งสงสัยว่าการโฆษณาของตนจะเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้าจขอให้คณะกรรมการให้ความเห็นในเรื่องนั้น
ก่อนทําการโฆษณาได้
หมวด ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา ๔๗ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจดังต่อไปนี้
นําเครื่องสําอางหรือวัตถุที่สงสัยว่าเป็นเครื่องสําอางซึ่งไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ในปริมาณพอสมควรไปเป็นตัวอย่างเพื่อตรวจสอบหรือวิเคราะห์
มีหนังสือเรียกให้บุคคลใดๆ มาให้ถ้อยคํา หรือส่งเอกสารหรือหลักฐานที่จําเป็น เพื่อประกอบการพิจารณาของพนักงานเจ้าหน้าที่
มีหนังสือเรียกให้บุคคลใดๆ มาให้ถ้อยคํา หรือส่งเอกสารหรือหลักฐานที่จําเป็น เพื่อประกอบการพิจารณาของพนักงานเจ้าหน้าที่
เข้าไปในสถานที่ผลิต สถานที่นําเข้า สถานที่เก็บ หรือสถานที่ขายเครื่องสําอาง ในเวลาทําการ
ของสถานที่นั้น
มาตรา ๔๘ ในกรณีที่ปรากฏต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่ามีการกระทําความผิดตามมาตรา ๑๔วรรคหนึ่ง มาตรา ๒๖ มาตรา ๒๗ หรือมาตรา ๓๒ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่โดยได้รับอนุมัติจากเลขาธิการมีอํานาจสั่งให้ผู้จดแจ้ง ผู้ขาย หรือผู้ครอบครองเครื่องสําอางดังกล่าว
มาตรา ๔๙ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ค้น บันทึกรายละเอียดแห่งการค้นและบัญชีรายละเอียดสิ่งของที่ค้น ยึด หรืออายัด
มาตรา ๕๐ สิ่งของที่ยึดหรืออายัดไว้ตามพระราชบัญญัตินี้ให้ตกเป็นของกระทรวงสาธารณสุขเพื่อจัดการตามระเบียบที่กระทรวงสาธารณสุขกําหนด เมื่อปรากฏว่
ไม่ปรากฏเจ้าของ หรือไม่มีผู้มาแสดงตัวเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองภายในเก้าสิบวันนับแต่วนทั ี่ได้ยึดหรืออายัด
ในกรณีที่มีการดําเนินคดีและพนักงานอัยการสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดี หรือศาลไม่ได้พิพากษาให้ริบ และผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองมิได้ร้องขอคืนภายในเก้าสิบวัน
มาตรา ๕๑ ในกรณีที่สิ่งของที่ยึดหรืออายัดไว้ตามพระราชบัญญัตินี้เป็นของเสียง่ายหรือเป็นของที่ใกล้จะหมดอายุการใช้งานตามที่กําหนดไว้ หรือในกรณีที่เก็บไว้จะเป็นการเสี่ยงต่อความเสียหาย
มาตรา ๕๒ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๗ (๑) (๒) หรือ (๓) ให้กระทําการต่อหน้าผู้ครอบครองสถานที่หรือยานพาหนะ หรือถ้าเจ้าของหรือผู้ครอบครองไม่อยู่ในที่นั้น ก็ให้กระทําต่อหน้าบุคคลอื่นอย่างน้อยสองคน
มาตรา ๕๓ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๕๔ ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจําตัวต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องบัตรประจําตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด
ตรา ๕๕ ให้เลขาธิการโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ มีอํานาจประกาศผลการตรวจสอบหรือวิเคราะห์เครื่องสําอาง หรือวัตถุที่สงสัยว่าเป็นเครื่องสําอางซึ่งไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
หมวด ๘การอุทธรณ์
มาตรา ๕๙ การพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา ๕๖ มาตรา ๕๗ และมาตรา ๕๘ ให้รัฐมนตรี
พิจารณาอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคําอุทธรณ์ ถ้ามีเหตุจําเป็นไม่อาจพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าว
มาตรา ๕๖ ในกรณีผู้รับจดแจ้งไม่ออกใบรับจดแจ้งหรือไม่ต่ออายุใบรับจดแจ้ง ผู้ขอจดแจ้งหรือผู้จดแจ้งซึ่งขอต่ออายุใบรับจดแจ้งมีสิทธิอุทธรณ์คําสั่งดังกล่าวเป็นหนังสือต่อรัฐมนตรีภายในสามสิบวัน
มาตรา ๕๖ ในกรณีผู้รับจดแจ้งไม่ออกใบรับจดแจ้งหรือไม่ต่ออายุใบรับจดแจ้ง ผู้ขอจดแจ้งหรือผู้จดแจ้งซึ่งขอต่ออายุใบรับจดแจ้งมีสิทธิอุทธรณ์คําสั่งดังกล่าวเป็นหนังสือต่อรัฐมนตรีภายในสามสิบวัน
มาตรา ๕๘ ในกรณีที่ผู้ได้รับคําสั่งของเลขาธิการตามมาตรา ๒๓ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๓มาตรา ๔๔ หรือมาตรา ๔๕ ไม่พอใจคําสั่งดังกล่าว ให้มีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อรัฐมนตรีภายในสามสิบวันับแต่วันที่ได้รับแจ้งคําสั่ง
หมวด ๙บทกําหนดโทษ
มาตรา ๙๐ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีโทษปรับสถานเดียวหรือเป็นความผิดที่มีโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี
มาตรา ๘๙ เมื่อศาลพิพากษาลงโทษผู้ใดเนื่องจากได้กระทําความผิดตามมาตรา ๑๔ วรรคหนึ่งหรือมาตรา ๒๗ ให้ศาลสั่งริบเครื่องสําอาง ภาชนะบรรจุ ฉลาก และอุปกรณ์สําหรับใช้กับเครื่องสําอาง
มาตรา ๘๘ ถ้าการกระทําความผิดตามมาตรา ๘๔ หรือมาตรา ๘๕ เป็นความผิดต่อเนื่องผู้กระทําต้องระวางโทษปรับวันละไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทตลอดระยะเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือยังไม่ปฏิบัติให้ถูกต้อง
มาตรา ๘๗ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สั่งตามมาตรา ๔๘ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๘๖ ผู้ใดไม่อํานวยความสะดวกตามสมควรแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๗ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๘๕ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของเลขาธิการตามมาตรา ๔๓ หรือมาตรา ๔๔ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๘๔ ผู้ใดโฆษณาโดยไม่เป็นไปตามมาตรา ๔๑ หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๒ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๘๓ ผู้ใดผลิตเพื่อขาย นําเข้าเพื่อขาย หรือรับจ้างผลิตเครื่องสําอางที่ถูกเพิกถอนการจดแจ้งตามมาตรา ๓๖ (๒) หรือมาตรา ๓๗ (๑) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
มาตรา ๘๒ ผู้ใดผลิตเพื่อขาย นําเข้าเพื่อขาย หรือรับจ้างผลิตเครื่องสําอางที่ถูกเพิกถอนการจดแจ้งตามมาตรา ๓๖ (๑) หรือมาตรา ๓๗ (๒) หรือ (๓) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปีและปรับไม่เกินห้าแสนบาท
มาตรา ๘๑ ผู้ผลิตหรือผู้นําเข้าเพื่อการส่งออกซึ่งไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๕ วรรคหนึ่งต้องระวางโทษจาคํ ุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๘๐ ผู้จดแจ้งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของเลขาธิการตามมาตรา ๓๓ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๗๙ ผู้ใดขายเครื่องสําอางที่หมดอายุการใช้อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๓๒ (๖)ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา ๗๘ ผู้ใดขายเครื่องสําอางที่มไดิ ้จดแจ้งอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๓๒ (๑) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท :warning:
มาตรา ๗๗ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๗ (๓) ผลิตเพื่อขาย นําเข้าเพื่อขาย หรือรับจ้างผลิตเครื่องสําอางผิดมาตรฐานตามมาตรา ๓๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท
มาตรา ๗๖ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๗ (๒) ผลิตเพื่อขาย นําเข้าเพื่อขาย หรือรับจ้างผลิตเครื่องสำอางปลอมตามมาตรา ๒๙ (๓) หรือ (๔) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๗๕ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๗ (๒) ผลิตเพื่อขาย นําเข้าเพื่อขาย หรือรับจ้างผลิตเครื่องสําอางปลอมตามมาตรา ๒๙ (๑) หรือ (๒) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๗๔ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๗ (๑) ผลิตเพื่อขาย นําเข้าเพื่อขาย หรือรับจ้างผลิตเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยในการใช้ตามมาตรา ๒๘ (๔) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๗๓ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๗ (๑) ผลิตเพื่อขาย นําเข้าเพื่อขาย หรือรับจ้างผลิตเครื่องสําอางที่ไม่ปลอดภัยในการใช้ตามมาตรา ๒๘ (๓) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๗๒ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๗ (๑) ผลิตเพื่อขาย นําเข้าเพื่อขาย หรือรับจ้างผลิตเครื่องสําอางที่ไม่ปลอดภัยในการใช้ตามมาตรา ๒๘ (๑) หรือ (๒) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๗๑ ผู้จดแจ้งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๖ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
มาตรา ๗๐ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
มาตรา ๖๙ ผู้จดแจ้งซึ่งใช้ฉลากที่เลขาธิการสั่งเลิกใช้ตามมาตรา ๒๓ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๖๘ ผู้ผลิตเพื่อขาย ผู้นําเข้าเพื่อขาย หรือผู้รับจ้างผลิตเครื่องสําอางซึ่งใช้ฉลากที่ไม่เป็นไปตามมาตรา ๒๒ วรรคสอง (๒) หรือ (๓) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินหรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๖๗ ผู้ผลิตเพื่อขาย ผู้นําเข้าเพื่อขาย หรือผู้รับจ้างผลิตเครื่องสําอางซึ่งไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๒ วรรคหนึ่ง
มาตรา ๖๖ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๘ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
มาตรา ๖๕ ผู้ใดไม่ปฏิบตัิตามมาตรา ๑๖ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา ๖๔ ผู้จดแจ้งผู้ใดยื่นคําขอต่ออายุใบรับจดแจ้งภายหลังที่ใบรับจดแจ้งสิ้นอายุแต่ภายในเวลาที่กําหนดตามมาตรา ๑๕ วรรคสี่ ต้องระวางโทษปรับรายวัน วันละห้าร้อยบาท
มาตรา ๖๓ ผู้จดแจ้งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามมาตรา ๑๔วรรคสาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
มาตรา ๖๒ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๖๑ ผู้ใดไม่มาให้ถ้อยคํา หรือไม่ส่งเอกสาร หรือวัตถุตามที่คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการสั่งตามมาตรา ๑๓ หรือตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่มีคําสั่งตามมาตรา ๔๗ (๔) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกนหน ิ ึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๖๐ ผู้ใดผลิตเพื่อขาย นําเข้าเพื่อขาย หรือรับจ้างผลิตเครื่องสําอางอันเป็นการฝ่าฝืนประกาศที่รัฐมนตรีออกตามมาตรา ๖ (๑) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ