Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 6 ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายและการประกอบวิชาชีพพยาบาล, นางสาวฉวีวรรณ…
บทที่ 6
ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายและการประกอบวิชาชีพพยาบาล
พฤติกรรมของพยาบาลที่มีความเสี่ยงต่อการกระทำผิดกฎหมาย
พฤติกรรมส่วนตัว เป็นพฤติกรรมของพยาบาลที่แสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่อตนเองต่อผู้อื่นและต่อวิชาชีพ
พฤติกรรมบริการ เป็นพฤติกรรมของพยาบาลที่แสดงให้เห็นถึงคุณค่าที่มีต่อผู้รับบริการในด้านการเคารพในสิทธิมนุษยชนและสิทธิผู้ป่วย
พฤติกรรมทางวิชาชีพ เป็นพฤติกรรมของพยาบาลที่แสดงให้เห็นถึงความพยายามสร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่วิชาชีพ
พฤติกรรมทางสังคม เป็นพฤติกรรมของพยาบาลที่แสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบของพยาบาลต่อสังคม การทำให้สังคมไว้วางใจในพยาบาลและวิชาชีพการพยาบาล
วิธีปฏิบัติตัวเมื่อพยาบาลทำผิดกฎหมาย
การมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี ต่อผู้ป่วยและญาติมีความเห็นอกเห็นใจและเห็นคุณค่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ อย่าเอาแต่ใจตนเอง
การให้ความรู้และข้อมูลที่เป็นจริงในการรักษาพยาบาลที่เกิดขึ้น รวมทั้งข้อจำกัดในการรักษาและ
การพยาบาลโดยยึดถือคำประกาศสิทธิผู้ป่วยและกฎระเบียบของโรงพยาบาล
3.การให้ความช่วยเหลือแก่ผู้เสียงหายมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยพิจารณาตามคงามจำเป็นและความพร้อมของหน่วยงาน
4.การจัดเตรียมบันทึกและแลเอกสารสำคัญที่เกี่ยวข้องให้มีความสสมบูรณ์ครบถ้น เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการต่อสู้คดี
5.การศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการ้องเรียนหรือฟ้องร้องในคดีต่างๆ ที่มีความเกี่ยวพันกัน เช่น กฎหมายที่เกี่ยวข้องคดีจริยธรรมและโทษทางการประกอบวิชาชีพ กฎหมายแพ่งโทษทางละเมิด กฎหมายอาญาโทษจำคุก หรือกฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือนโทษทางวินัย
ุ6.การสังเกตสัญญาณอันตรายต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น เช่น ผู้ป่วยอาการทรุดลงหรืออาจนำไปสู่การเสียชีวิต
7.เตรียมตัวต่อสู้คดี เตรียมทนายความและเตรียมเงินค่าใช้จ่าย ซึ่งอาจมีการเจรจายอมความ เจรจารอมชอมโดยคนกลาง หรือด้วยวิธีการอื่นๆ ซึ่งล้วนต้อใช้เงินจำนวนมากทั้งนั้น
วิธีปฏิบัติตัวของพยาบาลเมื่อต้องขึ้นศาลในฐานะจำเลย
การรับหมายศาลที่โจทก์หรือจำเลยก็ตามที่อ้างให้พยาบาลเป็นพยานในคดี ถือเป็นความรับผิดชอบที่พยาบาลจะต้องให้ความร่วมมืออย่างเคร่งครัด โดยให้ถือว่าเป็นการไปปฏิบัติงานตามหน้าที่ไม่ต้องลางาน แต่ต้องแจ้งหัวหน้างานรับทราบเพื่อจัดผู้ปฏิบัติงานแทน
การสาบานตนตามความเชื่อในศาสนาหรือหลักการที่ตนยึดถือต่อหน้าศาลก่อนที่จะเริ่มให้ปากคำ
การให้ปากคำตามคำซักถามของทนายและตามคำอนุญาตของศาล พยาบาลจะต้องเรียบเรียงเหตุการณ์และถ้อยคำที่สั้นกระชับ พูดให้เสียงดังชัดเจนและไม่ควรกลัว
การให้ความเคารพแก่ศาลอย่างเหมาะสม เมื่อไปศาลพยาบาลต้องแต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า ระวังกิริยามารยาท และทำความเคารพแก่ศาลเช่นเดียวกับผู้อื่น
ห้ามนำหมายศาลไปเผยแพร่ไม่ว่าด้วยวิธีการใดๆ เช่น ในสังคมออนไลน์หรือช่องทางอื่นใด โดยศาลจะถือว่าเป็นการไม่ให้ความเคารพแก่ศาลด้วย
การป้องกันการเกิดปัญหาทางกฎหมาย
ใช้ความรู้และทักษะในการทำงานเมื่อสามารถพิสูจน์ได้หากเกิดความผิดพลาดก็อาจเนื่องด้วยเหตุสุดวิสัย ซึ่งพอจะหาทางแก้ปัญหาได้ง่ายขึ้น
สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ป่วยและญาติ รวมทั้งผู้ร่วมงานทุกคนที่เกี่ยวข้อง เมื่อเกิดปัญหาทุกคนจะได้ร่วมมือกันหาทางแก้ไขให้เกิดผลดีที่สุดแก่ผู้ป่วย
มีคุณธรรมและจริยธรรม ซึ่งถือได้ว่าเป็นแกนกลางที่สำคัญในการประกอบวิชาชีพ หากยังเกิดข้อผิดพลาดขึ้นได้อีก สิ่งเหล่านั้นอาจเกิดขึ้นด้วยความไม่เจตนาที่จะละเลยคุณธรรม
การให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยและญาติต้องเป็นจริงไม่ลำเอียงด้านใดด้านหนึ่ง และเป็นเฉพาะข้อมูลที่
สำคัญเกี่ยวข้องโดยตรงเท่านั้น และให้ข้อมูลโดยเคารพในความสูญเสียของผู้ป่วยและครอบครัวเป็นสำคัญ
การไม่ประมาทและทำตามมาตรฐานวิชาชีพ การปฏิบัติการพยาบาลต่อผู้ป่วยต้องใช้ความเอาใจใส่และความรับผิดชอบตลอดเวลา ความบกพร่องของงานจะเกิดขึ้นได้ยาก
การรายงานข้อมูลที่สำคัญแก่แพทย์ทั้งที่เกี่ยวกับอาการของผู้ป่วยและข้อมูลอื่นๆ ความรอบคอบในการรายงานแพทย์เป็นสิ่งสำคัญที่จะป้องกันความผิดพลาดที่อาจจะเกิดแก่ผู้ป่วย
การทำงานเกินขอบเขตของพยาบาลเป็นสิ่งที่อาจก่ออันตรายแก่ผู้ป่วย ดังนั้นจึงต้องเข้าใจความสามารถและหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเอง รวมทั้งความรับผิดชอบของแพทย์ด้วย โดยยึดความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นหลัก
นางสาวฉวีวรรณ มิ่งศรีสุข 600120811
เลขที่ 33 sec.B