Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีความสูงอายุ - Coggle Diagram
ทฤษฎีความสูงอายุ
-
ทฤษฎีทางชีวภาพ
1.2 ทฤษฎีการเชื่อมตามขวาง (Cross-Linking Theory) หรือทฤษฎีคอลลาเจน (Collagen Theory)เนื้อเยื่อคอลลาเจนมีการเปลี่ยนแปลงทำให้มีลักษณะแข็งแตกแห้งสูญเสียความยืดหยุ่นมีผลให้ความคล่องตัวในการเคลื่อนไหวร่างกายลดลงและเนื้อเยื่อสูญเสียความยืดหยุ่นเป็นผลให้เกิดการเสื่อมของอวัยวะ เช่น ผิวหนัง ผนังหลอดเลือดเลนซ์ในลูกตาทำให้มีความทึบแสงมากขึ้นและกลายเป็นต้อกระจก (cataracts)
-
1.1 ทฤษฎีอนุมูลอิสระ (Free Radical Theory)ทฤษฎีนี้อธิบายว่าความสูงอายุเกิดจากการสะสมสารที่เกิดจากการเผาผลาญไขมันโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตประกอบกับการได้รับการกระตุ้นจากความร้อนแสงและรังสีก่อให้เกิดสารที่เรียกว่าอนุมูลอิสระ (free radicals) (Ebersole, Hess, Touhy, & Jett, 2005)อนุมูลอิสระก่อให้เกิดปฏิกิริยาทางชีวเคมีหลายอย่างภายในเซลล์และสามารถก่อให้เกิดอนุมูลอิสระเพิ่มขึ้นอีกอนุมูลอิสระทำลายโปรตีนเอ็นไซม์และ DNA โดยการเข้าไปแทนที่โมเลกุลต่างๆเหล่านี้ทำให้เกิดความผิดปกติของระบบพันธุกรรมการทำงานของเซลล์จึงผิดปกติมากขึ้นเรื่อย ๆ จนส่งผลให้เนื้อเยื่ออวัยวะเสื่อมลงในที่สุดการทำหน้าที่ของร่างกายลดลงร่างกายจึงเสื่อมโทรมลงมีความเสื่อมของร่างกายก่อนวัยโดยเฉพาะอวัยวะที่สัมผัสกับลมและแสงแดดมากกว่าบริเวณอื่นของร่างกายเช่น มือและใบหน้าผิวหนังบางลงมองเห็นหลอดเลือดได้ชัดเจน
-
1.3 ทฤษฎีการเสื่อมสลาย (Wear and Tear Theory)ทฤษฎีการเสื่อมสลายเชื่อว่าการบาดเจ็บเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการใช้งานอวัยวะมาเป็นเวลานานหรือใช้อย่างหักโหมสะสมมาเรื่อย ๆ เมื่ออายุมากขึ้นจึงเกิดการตายของเซลล์เนื้อเยื่ออวัยวะและระบบต่างๆในร่างกายจะทำงานเสื่อมลงเช่น หลอดเลือด ข้อเข่า เป็นต้น (Ebersole, Hess, Touhy, & Jett, 2005)
-