แนวคิด และขอบเขต กฎหมาย พระราชบัญญัติวิชาชีพ

แนวคิดและหลักการรักษาพยาบาลเบื้องต้น

ความเป็นมาของการรักษาโรคเบื้องต้น

  1. ปี พ.ศ. 2540
  1. ปี พ.ศ. 2545
  1. ปี พ.ศ. 2550
  1. ปี พ.ศ. 2539
  1. ปีพ.ศ.2520 -2524
  1. ปี พ.ศ. 2551

ดำเนินการควบคุมป้องกันและรักษาพยาบาลผู้ป่วยด้วยโรคติดต่อต่างๆ

ส่งเสริมงานด้านชันสูตร และวินิจฉัยโรค โดยเฉพาะเกี่ยวกับงานด้านรักษาพยาบาลและงานอนามัยในส่วน
ภูมิภาค

ปรับปรุงและขยายบริการด้านการรักษาพยาบาลให้ผู้มีรายได้น้อยสามารถรับบริการอย่างทั่วถึง

ดำเนินงานวางแผนครอบครัวให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และเป็นไปอย่างทั่วถึง

เพิ่มจำนวนและสมรรถภาพบุคลากรสาธารณสุขประเภทต่างๆ

ดำเนินการปรับปรุงสภาวะสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก และปรับปรุงภาวะโภชนาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ทารกและเด็กวัยก่อนเรียน ให้ได้รับสารอาหารที่จ าเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกายเพียงพอ

กระทรวงสาธารณสุข ออกระเบียบมอบหมายให้พยาบาล และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอื่น ซึ่งปฏิบัติงานในกระทรวง ทบวง กรม กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา เทศบาล สุขาภิบาล องค์กรบริหารส่วน
จังหวัด องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นอื่น และสภากาชาดไทย สามารถประกอบวิชาชีพเวชกรรได้ แต่อยู่ในความควบคุมดูแลของเจ้าหน้าที่

สภาการพยาบาลได้ปรับปรุงพระราชบัญญัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์โดยกำหนดให้ การประกอบวิชาชีพการพยาบาล ครอบคลุม การรักษาโรคเบื้องต้นและการให้ภูมิคุ้มกันโรคเนื่องจากมองเห็นว่า พยาบาลเป็นกำลังหลักในการให้บริการการรักษาโรคเบื้องต้นแต่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ภายใต้ความรับผิดชอบของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม

กระทรวงสาธารณสุขได้ออกระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการประกอบวิชาชีพการ
พยาบาลตามข้อก าหนดในการรักษาโรคเบื้องต้นและการให้ภูมิคุ้มกันโรค พ.ศ. 2545

สภาการพยาบาลได้ออกข้อบังคับว่าด้วยข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์และข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วยข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพ
การพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2550

สภาการพยาบาลได้ออกข้อกำหนดในการรักษาโรคเบื้องต้นและการให้ภูมิคุ้มกันโรค พ.ศ. 2551 (ฉบับปรับปรุง) ประกอบด้วย ความเป็นมา การควบคุมมาตรฐานการปฏิบัติการรักษาโรคเบื้องต้น การจำแนกผู้ป่วยที่มารับบริการ การดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง หัตถการที่กำหนด รายการยาที่กำหนด และการให้
ภูมิคุ้มกันโรค

  1. การบรรเทาความรุนแรงของโรคหรือการบาดเจ็บระยะต้นก่อนการส่งต่อเพื่อรับการรักษา
  1. การให้การรักษาดูแลสุขภาพการเจ็บป่วยด้วยโรคที่ไม่ซับซ้อนได้อย่างเหมาะสม
  1. ตัดสินใจช่วยเหลือผู้ป่วยและส่งต่อผู้ป่วยหรือแนะน าให้ไปรับการรักษาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

ความหมายการรักษาโรคเบื้องต้น

การตรวจ การวินิจฉัย การบำบัดรักษาเบื้องต้น เพื่อแก้ไขปัญหาการบาดเจ็บ ความเจ็บป่วย บรรเทาความรุนแรง หรืออาการของโรคให้ผู้ป่วยพ้นภาวะความเจ็บป่วยหรือภาวะวิกฤต ทั้งนี้ รวมถึง การประเมินผลการรักษาเบื้องต้นด้วย

ความสำคัญของการรักษาพยาบาลเบื้องต้น

ลดภาวะความพิการและการเสียชีวิตของผู้ป่วย

ประหยัดต้นทุนการให้บริการ

ผู้ป่วยได้รับการพยาบาลอย่างถูกต้อง เหมาะสม ทันท่วงที

ส่งเสริมคุณภาพชีวิตและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพของประชาชนในชุมชน

ขอบเขตความสามารถในการให้การรักษาโรคเบื้องต้นของพยาบาลวิชาชีพ

ปี 2540

ปี 2550

  1. ให้ยาเพื่อบรรเทาอาการ / รักษาโรคตามแนวทางที่กำหนดไว้ให้ภูมิคุ้มกันโรคพื้นฐาน และให้บริการวางแผนครอบครัว
  1. ติดตามผลการให้การช่วยเหลือรักษา
  1. รับดูแลผู้ป่วยต่อ เพื่อให้การดูแลที่ต่อเนื่อง
  1. ให้การดูแลช่วยเหลือ ส่งต่อ การรักษาโรค และอาการที่พบบ่อย และทำหัตถการที่กำหนด
  1. สามารถตรวจ ประเมินสภาพ วินิจฉัย แยกโรคว่า อยู่ในกลุ่มใด แล้วให้การรักษาดูแลช่วยเหลือที่เหมาะสม ตามข้อกำหนดการรักษาโรคเบื้องต้นและการให้ภูมิคุ้มกันโรค
  1. กระทำการพยาบาลโดยการทำหัตถการต่อไปนี้ จะต้องผ่านการอบรมตามหลักสูตรที่สภาการพยาบาลประกาศกำหนดและได้รับใบรับรองจากสภาการพยาบาล
  1. ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง ให้กระทำการประกอบวิชาชีพการพยาบาลตามข้อกำหนดในการรักษาโรคเบื้องต้นและการให้ภูมิคุ้มกันโรคได้จะต้อง
    ได้รับการศึกษา/อบรมตามหลักสูตรที่สภาการพยาบาลกำหนด และต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ผ่านการอบรมหลักสูตร การพยาบาลเฉพาะทางสาขาเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น) ตามประกาศของสภาการพยาบาล
  1. ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง กระทำ
    การพยาบาลโดยการทำหัตถการตามขอบเขตที่กำหนด
  1. “การเจ็บป่วยฉุกเฉิน” หมายความว่า การเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน จำเป็นต้องดำเนินการช่วยเหลือ และการดูแลรักษาทันที

การใส่และถอดห่วง (IUD)

การฝังและถอดยาคุมกำเนิด (Nor Plant)

การผ่าตัดตาปลา

การเลาะก้อนใต้ผิวหนัง บริเวณที่ไม่เป็นอันตราย

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี VIA (Visual Inspection Using Acetic Acid)

การจี้ปากมดลูกด้วยความเย็น (Cryotherapy)

  1. ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง ต้องให้ผู้ป่วยไปรับการบำบัดรักษาจากผู้ประกอบวิชาชีพอื่นเมื่อปรากฏ ตรวจพบหรือเห็นว่าอาการไม่บรรเทา อาการรุนแรงเพิ่มขึ้น มีโรคหรือภาวะแทรกซ้อน เป็นโรคติดต่อที่ต้องแจ้งความตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อหรือมีเหตุอันควรอื่น ๆ
    เกี่ยวกับการบำบัดรักษา เช่น เครื่องมืออุปกรณ์ การบำบัดรักษาหรือ เวชภัณฑ์ เป็นต้น
  1. ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งที่ได้รับวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญเฉพาะทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ สาขาเวชปฏิบัติชุมชน กระทำการประกอบวิชาชีพการพยาบาลตามข้อกำหนดในการรักษาโรคเบื้องต้นและการให้ภูมิคุ้มกันโรคได้และต้องขึ้นทะเบียน เป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลตามข้อกำหนดในการรักษาโรคเบื้องต้นและการให้ภูมิคุ้มกันโรคตามประกาศของสภาการพยาบาล
  1. ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งจะให้ภูมิคุ้มกันโรค ต้องปฏิบัติตามแนวทางการให้ภูมิคุ้มกันโรคที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
  1. ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง จะต้องบันทึกรายงานเกี่ยวกับประวัติของผู้ป่วย หรือผู้รับบริการอาการ และการเจ็บ ป่วยโรค การให้การรักษาโรค หรือการให้การบริการตามความเป็นจริง ตามแบบของสภาการพยาบาล และต้องเก็บบันทึกรายงานไว้เป็นหลักฐาน
  1. ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งถ้าจำเป็นต้องใช้ยาให้ใช้ยาได้ตามคู่มือการใช้ยาที่สภาการพยาบาลกำหนด

คุณสมบัติของพยาบาลวิชาชีพ ที่รับผิดชอบในการตรวจรักษาโรคเบื้องต้น

  1. ผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น) ที่สภาการพยาบาลรับรอง และได้รับประกาศนียบัตรการพยาบาล เฉพาะทางการรักษาโรคเบื้องต้นจากสถาบันที่ฝึกอบรม
  1. ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น) กับสภาการพยาบาล
  1. มีประสบการณ์ในการปฏิบัติการพยาบาลหลังได้รับใบอนุญาต เป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้นหนึ่ง ไม่น้อยกว่า 2 ปี
  1. มีการเพิ่มพูนความรู้และทักษะในการรักษาโรคเบื้องต้นให้ทันสมัยอยู่เสมอเป็นไปตามประกาศสภาการพยาบาลกำหนด
  1. ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง

การจำแนกผู้รับบริการหรือผู้ป่วย

  1. กลุ่มอาการที่ต้องได้รับการวินิจฉัยเพิ่มเติม (28 อาการ)
  1. กลุ่มอํากํารที่ต้องวินิจฉัยแยกโรคและให้กํารรักษําโรคเบื้องต้น
  1. กลุ่มอํากํารฉุกเฉินที่ต้องช่วยเหลือเบื้องต้นและส่งต่อทันที (39 กลุ่ม)

การควบคุมคุณภาพและมาตรฐานการปฏิบัติ

  1. มีการบันทึก และทำรายงานเพื่อการตรวจสอบ และควบคุมคุณภาพ
  1. สภาการพยาบาล จะต้องจัดทำเนียบทะเบียนผู้ได้รับประกาศนียบัตรการพยาบาลเฉพาะทาง
    เวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น) ที่เป็นปัจจุบันทุก 6 เดือน
  1. มีแนวปฏิบัติทางคลินิกที่ชัดเจน (Clinical Practice Guideline)
  1. มีกลไกในการประสานเพื่อการควบคุมคุณภาพติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ
  1. ต้องมีเครือข่ายที่สามารถปรึกษา หรือส่งต่อ เมื่อเกินขอบเขตความสามารถหรือรับผิดชอบ