Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์, ประภัสสร จุ่มแก้ว…
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
วิวัฒนาการ
พระราชบัญญัติการแพทย์ พ.ศ. 2466 ออกกฎหมายไว้ว่า“การบำบัดโรคทางยาและทางผ่าตัด รวมทั้งการผดุงครรภ์ การช่างฟัน การสัตวแพทย์ การปรุงยา การพยาบาลการนวดหรือการรักษาคนเจ็บป่วยไข้โดยประการใดๆ”
พ.ศ. 2472 มีการแก้ไขโดยการตัดสาขาสัตวแพทย์ออกโดยให้การประกอบโรคศิลปะเป็นการกระทำต่อมนุษย์เท่านั้น
พ.ศ. 2480 มีการประกาศใช้กฎหมายฉบับใหม่
พ.ศ. 2479 แบ่งการประกอบโรคศิลปะออกเป็น2 แผน แผนโบราณและแผนปัจจุบัน
พ.ศ. 2518 เพิ่มอีก2 สาขากายภาพบำบัดและเทคนิคการแพทย์
พ.ศ.2528 วิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์แยกออกจากพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ
กฎหมายอาญาสำหรับพยาบาลและการกระทำความผิดที่พบบ่อย
ประเภทของความรับผิดทางอาญา
ความผิดต่อแผ่นดิน
มีผลกระทบต่อผู้เสียหายและสังคมส่วนรวม
ความผิดต่อส่วนตัว
มีผลกระทบต่อผู้เสียหายฝ่ายเดียว และกฎหมายบัญญัติประเภทไว้ชัดเจน
ลักษณะสำคัญของความรับผิดทางอาญา
“ไม่มีความผิด ไม่มีโทษ ถ้าไม่มีกฏหมาย” และใช้บังคับเฉพาะการกระท าในราชอาณาจักรเท่านั้น
ต้องมีบทบัญญัติความผิด และกำหนดโทษไว้โดยชัดแจ้ง
มีกฎหมายบัญญัติความผิดและโทษเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจน
ต้องตีความเคร่งครัดตามตัวอักษร
การถอดความหมายของข้อความหรือศัพท์ต่างๆ ในบทบัญญัติออกมา เพื่อให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น โดยใช้ภาษาที่คนทั่วไปเข้าใจ
ไม่มีผลย้อนหลังที่เป็นโทษ
จะไม่มีผลในการเพิ่มโทษแก่บุคคลหากขณะกระทำยังไม่มีกฏหมายบัญญัติว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด
หลักเกณฑ์ความรับผิด
การกระทำ
ผู้กระทำต้องรู้สึกตัวและรู้ว่าตนกำลังทำสิ่งใด
กฎหมายบัญญัติว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดและกำหนดโทษ
สอดคล้องตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิดจนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด
กระทำโดยเจตนา ประมาท หรือไม่เจตนา
การกระทำโดยเจตนา
ผู้กระทำประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น
การกระทำโดยประมาท
ผู้กระทำไม่ได้ใช้ความระมัดระวังเพียงพอ
วิสัย ผู้กระทำไม่ได้ใช้ความระมัดระวังเพียงพอ
พฤติการณ์หมายถึง ข้อเท็จจริงประกอบการกระทำหรือเหตุภายนอกของผู้กระทำ
การกระทำโดยไม่เจตนาหมายถึง การกระทำที่ผู้กระทำไม่ได้ตั้งใจให้เกิด
เหตุยกเว้นความรับผิดทางอาญา
เหตุยกเว้นความรับผิด
การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายได้แก่ กรณีที่บุคคลจำต้องกระทำเพื่อป้องกันตนเองหรือผู้อื่น
ผู้เสียหายยินยอมให้กระทำความผิดทางอาญาบางประเภท หากผู้เสียหายยินยอมให้กระทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ
เหตุยกเว้นโทษ
กระทำด้วยความจำเป็นเป็นการกระทำเพราะเหตุถูกบังคับ
การกระทำผิดเพราะความบกพร่องทางจิต
การกระทำตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน
การกระท าของเด็กอายุไม่เกิน 10 ปี
การกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์บางความผิดระหว่างสามี ภรรยา
เหตุลดหย่อนโทษ
การกระทำความผิดโดยไม่รู้ว่ากฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด
การกระทำโดยบันดาลโทสะ
เหตุอื่นๆ ในการลดหย่อนหรือบรรเทาโทษ
อายุความ
อายุความฟ้องคดีทั่วไป
ระยะเวลาของอายุความแปรตามอัตราโทษตามความผิด
อายุความฟ้องคดีความผิดอันยอมความได้
ความผิดฐานบุกรุกหรือหมิ่นประมาท กฎหมายกำหนดให้ผู้เสียหายต้องร้องทุกข์ภายใน 3เดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำความผิด
โทษทางอาญา
โทษประหารชีวิต
โทษจำคุก
โทษกักขัง
โทษปรับ
โทษริบทรัพย์สิน
ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้หรือมีไว้ใช้ในการกระท าความผิด
ทรัพย์สินซึ่งกฎหมายบัญญัติว่า ผู้ใดทำหรือมีไว้ในครอบครองเป็นความผิด
ทรัพย์สินซึ่งเกี่ยวข้องกับสินบนของเจ้าพนักงานเพื่อจูงใจ
การชำระเงินต่อศาลตามจำนวนที่ศาลกำหนดไว้ในคำพิพากษา
เป็นโทษที่เปลี่ยนจากโทษอย่างอื่นมาเป็นโทษกักขัง
เป็นความผิดมีโทษจำคุก
ศาลต้องลงโทษจำคุกไม่เกิน 3ปี
ผู้กระทำความผิดต้องไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน
ศาลคำนึงถึงองค์ประกอบต่อไปนี้ คือ อายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษา สุขภาพ ภาวะแห่งจิต นิสัย อาชีพ และสิ่งแวดล้อม
เป็นโทษสูงสุด สำหรับลงโทษผู้กระทำความผิดคดีอุกฉกรรจ์
ลหุโทษ
ความผิดที่ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1เดือนหรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การทำงานเพื่อบริการสังคม
ผู้นั้นกระทำความผิดและต้องโทษปรับ แต่ไม่มีเงินชำระค่าปรับ
ในคดีที่ศาลพิพากษาปรับไม่เกิน 200,000 บาท
ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของพนักงานคุมประพฤติ เจ้าหน้าที่ของรัฐ
ให้ผู้ดูแลรายงานเกี่ยวกับการทำงานให้ศาลทราบ
ผู้ที่จะทำงานบริการสังคมต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมทางศีลธรรม วินัย, ละเว้นการคบหาสมาคมที่จะนำไปสู่ความผิด, ห้ามเสพสิ่งเสพติดทุกชนิด
ความรับผิดทางอาญาที่เกี่ยวกับการปฏิบัติการพยาบาล
ความประมาทในการประกอบวิชาชีพ
สาเหตุ
ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพ
ใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์การแพทย์ไม่ถูกต้อง
ความบกพร่องด้านการสื่อสาร
ความบกพร่องด้านการบันทึก
ความบกพร่องด้านการประเมินและเฝ้าระวังอาการ
ความบกพร่องด้านการไม่พิทักษ์สิทธิของผู้ป่วย
ความประมาทในการประกอบวิชาชีพกับการปฏิเสธการรักษา
ประมาททำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายเล็กน้อยแก่ร่างกายหรือจิตใจเป็นความผิดลหุโทษ
ประมาททำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสผู้กระทำจะได้รับโทษหนักขึ้น
เสียอวัยวะสืบพันธุ์ หรือความสามารถสืบพันธุ์เช่น ชายถูกทำร้ายโดยวิธีตอนอวัยวะ
ตาบอด หูหนวก ลิ้นขาด หรือเสียฆานประสาท
เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้ว หรืออวัยวะอื่นใด
หน้าเสียโฉมอย่างติดตัว
แท้งลูก
จิตพิการอย่างเต็มตัว
ทุพพลภาพหรือเจ็บป่วยเรื้อรัง
ทุพพลภาพหรือเจ็บป่วยด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่า 20วัน
ประมาททำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายถึงแก่ความตาย
การทอดทิ้งหรือละเลยผู้ป่วยความผิดฐานนี้เกี่ยวกับผู้มีหน้าที่ตามกฎหมายหรือสัญญาที่ต้องดูแลผู้ซึ่งพึ่งตนเองไม่ได้
การเปิดเผยความลับของผู้ป่วย
รู้ความลับผู้อื่นมาเนื่องจากการประกอบอาชีพหรือจากการศึกษาอบรม
เปิดเผยความลับนั้น ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด
ต้องระวางโทษจ าคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
แนวปฏิบัติในการรักษาความลับของผู้ป่วย
ไม่นำเรื่องของผู้ป่วยมาวิพากษ์วิจารณ์ให้บุคคลภายนอกได้ยิน
ไม่วางแฟ้มประวัติหรือเขียนการวินิจฉัยไว้ที่ปลายเตียง/หน้าห้องผู้ป่วย
กรณีศึกษาของนักศึกษาพยาบาล ไม่ควรเขียนนามสกุลจริงของผู้ป่วย
ไม่นำบันทึกรายงานของผู้ป่วยออกจากหอผู้ป่วย
ไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้ป่วยแก่ญาติหรือคนอื่น โดยผู้ป่วยไม่ยินยอม
ระมัดระวังการพูดเกี่ยวกับการวินิจฉัย
หากส่งข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วยที่เป็นความลับ
อภิปรายข้อมูลผู้ป่วยเฉพาะกับผู้ร่วมทีมสุขภาพ
จัดเก็บรายงานผู้ป่วยไว้เป็นสัดส่วน
จัดเก็บรายงานผู้ป่วยไว้เป็นสัดส่วน
จัดทำระเบียบการขอสำเนาเวชระเบียนของผู้ป่วยต่อบุคคลที่สาม
การปฏิเสธความช่วยเหลือผู้ที่ตกอยู่ในอันตรายต่อชีวิต
ต้องระวางโทษจ าคุกไม่เกิน 1เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจ าทั้งปรับ
ความผิดเกี่ยวกับเอกสาร: การปลอมเอกสารและการทำหรือรับรองเอกสารเท็จ
ความผิดฐานปลอมเอกสาร
ความผิดฐานทำหรือรับรองเอกสารเท็จ
การทำให้หญิงแท้งลูก(Induced abortion)
การทำให้ตนเองแท้งลูก
การทำให้หญิงแท้งลูกโดยผู้เสียหายยินยอม
การทำให้หญิงแท้งลูกโดยผู้เสียหายไม่ยินยอม
การพยายามทำให้หญิงแท้งลูก
การทำให้หญิงแท้งที่ถูกกฎหมาย
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์สำหรับพยาบาลและการกระทำความผิดที่พบบ่อย
ความหมายและลักษณะ
กฎหมายพาณิชย์
เกี่ยวข้องกับการค้าขาย
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
วิธีการดำเนินพิจารณาพิพากษาคดีในกรณีที่เกิดข้อพิพาทในทางแพ่ง
กฎหมายแพ่ง
กำหนดสิทธิ หน้าที่ และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชนโดยทุกฝ่ายมีฐานะเท่าเทียมกัน
นิติกรรม
การใดๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล
องค์ประกอบ
ผู้กระทำต้องแสดงออกในฐานะที่เป็นเอกชน
การกระทำโดยเจตนา
การแสดงเจตนาโดยชัดแจ้งอาจทำโดยวาจา เป็นลายลักษณ์อักษร หรือแสดงกิริยา
การแสดงเจตนาโดยปริยายเป็นการแสดงเจตนาไม่ชัดแจ้งแต่ผู้อื่นเข้าใจเจตนา
การกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย
ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวสิทธิ
ประเภท
แบ่งตามจำนวนคู่กรณี
นิติกรรมฝ่ายเดียว
นิติกรรมหลายฝ่าย
แบ่งตามการมีผลของนิติกรรม
นิติกรรมที่มีผลขณะผู้แสดงเจตนายังมีชีวิต
นิติกรรมที่มีผลขณะผู้แสดงเจตนาไม่มีชีวิต
แบ่งตามค่าตอบแทน
นิติกรรมที่มีค่าตอบแทนอาทิ สัญญาจ้างงาน
นิติกรรมที่ไม่มีค่าตอบแทนอาทิ การให้โดยเสน่หา
ความสามารถของบุคคล
สภาพที่กฎหมายกำหนดขอบเขตให้บุคคลมีสิทธิหรือใช้สิทธิ
บุคคล
บุคคลธรรมดา
มนุษย์ที่มีชีวิตรอดภายหลังการคลอดจากครรภ์มารดาเริ่มตั้งแต่เมื่อคลอดและอยู่รอดเป็นทารก และสิ้นสุดลงเมื่อตาย
การตายตามกฎหมาย
การตายโดยธรรมชาติ
หมายถึง การป่วยตาย แก่ตาย หรือถูกะ่าตายของบุคคลทำให้สภาพบุคคลสิ้นสุด
การสาบสูญ
การที่บุคคลได้ไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครรู้แน่ว่า บุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ เป็นเวลาติดต่อกัน 5ปี ในเหตุการณ์ปกติ หรือเป็นเวลา 2ปี ในกรณีที่มีเหตุอันตรายจากการรบ การสงคราม
นิติบุคคล
สิ่งซึ่งกฎหมายสมมติให้เป็นบุคคล เพื่อให้มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย
ประเภทบุคคลที่กฎหมายจำกัดสิทธิในการทำนิติกรรม
ผู้เยาว์
บุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ในทางกฎหมาย
นิติกรรมที่ผู้เยาว์ทำได้
นิติกรรมที่ทำให้ผู้เยาว์ได้ประโยชน์ สิทธิ หรือหลุดพ้นจากหน้าที่
นิติกรรมที่ผู้เยาว์ต้องกระทำเองเฉพาะตัว
นิติกรรมที่สมควรแก่ฐานะและจำเป็นแก่การดำรงชีพ
นิติกรรมการจำหน่ายทรัพย์สิน ประกอบธุรกิจการค้า หรือสัญญาจ้างแรงงาน
คนไร้ความสามารถ
คนวิกลจริตหรือ อยู่ในภาวะผัก บุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้สามารถไม่อาจทำนิติกรรมใดๆ หากกระท านิติกรรมนั้น ถือเป็นโมะียะทั้งหมด
คนเสมือนไร้ความสามารถ
บุคคลที่ไม่สามารถจัดทำการงานโดยตนเอง หรือจัดกิจการไปในทางเสื่อมเสียแก่ทรัพย์สินของตนเองหรือครอบครัว
กายพิการ จิตฟั่นเฟือน ประพฤติสุรุ่ยสุร่าย เสเพลเป็นอาจิณ ติดสุรายาเมา
คนเสมือนไร้ความสามารถใช้สิทธิและปฏิบัติหน้าที่อย่างธรรมดาทั่วไป รวมทั้งการยินยอมรับการรักษาพยาบาล
ลูกหนี้ที่ถูกศาลสั่งเป็นบุคคลล้มละลาย
สามีภริยาเป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกัน จึงต้องให้ความยินยอมซึ่งกันและกันเป็นการท านิติกรรมบางประเภท
สภาพบังคับทางแพ่ง
โมฆียกรรม
การทำนิติกรรมที่มีผลสมบูรณ์ในขณะกระทำ แต่สามารถบอกล้างหรือปฏิเสธนิติกรรมโดยผู้เสียหายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด มีผลให้นิติกรรมนั้นตกเป็นโมะะตั้งแต่เริ่มแรก เสมือนไม่ได้ทำนิติกรรมใด
สาเหตุที่ทำให้ นิติกรรมเป็นโมฆียกรรม
ความสามารถของบุคคล นิติกรรมใดที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายเป็นโมะียะ
การแสดงเจตนาโดยวิปริต
การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์สิน
การแสดงเจตนาโดยการฉ้อฉล
การแสดงเจตนาโดยการข่มขู่
การบังคับชำระหนี้
โมฆะกรรม
ความเสียเปล่าของนิติกรรม ที่กระทำตั้งแต่ต้น
สาเหตุที่ทำให้นิติกรรมเป็นโมฆะ
นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย
นิติกรรมที่ไม่ได้ทำให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายกำหนด
การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรม
การชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทน
ความเสียหายที่คำนวณราคาเป็นเงินได้
ความเสียหายที่ไม่อาจคำนวณราคาเป็นตัวเงิน
การชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทน
ความเสียหายที่คำนวณราคาเป็นเงินได้
ความเสียหายที่ไม่อาจคำนวณราคาเป็นตัวเงินได้
ค่าสินไหมทดแทนที่ผู้เสียหายจะเรียกร้องได้
ค่าปลงศพ ค่าขาดไร้อุปการะ ค่าขาดแรงงาน ถ้ายังไม่ตายทันที สามารถเรียกค่ารักษาพยาบาลที่จำเป็น
ความรับผิดตามสัญญา และความรับผิดจากการละเมิด
การกระทำหรืองดเว้นการกระทำ โดยจงใจหรือประมาทต่อผู้อื่นโดยผิดกฎหมาย จนเป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สิน หรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด
การละเมิด
การกระทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย
การประทุษกรรม หรือกระทำต่อผู้อื่นโดยผิดกฎหมายด้วยการฝ่าฝืนข้อห้าม
การกระทำโดยจงใจหรือประมาท
การกระทำโดยจงใจ
การกระทำที่ตั้งใจหรือเจตนาโดยผิดกฎหมาย
การกระทำโดยประมาทเลินเล่อ
การกระทำโดยมิได้จงใจ แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังในระดับวิญญูชน
ทำให้บุคคลอื่นเสียหาย
บุคคลต้องร่วมรับผิดกับผู้กระทำ
นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งการละเมิด ซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปตามที่ว่าจ้าง
ตัวการต้องรับผิดชอบผลแห่งการละเมิดของตัวแทนที่ได้กระทำไปภายในของเขตอำนาจของตัวแทน
บิดามารดาของผู้เยาว์หรือผู้อนุบาลของผู้วิกลจริต
ครูบาอาจารย์นายจ้างหรือบุคคลอื่น ซึ่งรับดูแลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิตย์
อายุความ
ระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดให้บุคคลมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
ประภัสสร จุ่มแก้ว 6001210149