Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 พรบ.ที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิภาพและสุขภาพของประชาชน - Coggle Diagram
บทที่ 5 พรบ.ที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิภาพและสุขภาพของประชาชน
5.1 พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ 2550
หมวด ๑ สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ
มาตรา ๕ บุคคลมีสิทธิในการดํารงชีวิตในสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ
มาตรา ๖ สุขภาพของหญิงในด้านสุขภาพทางเพศและสุขภาพของระบบเจริญพันธุ์ซึ่งมีความจําเพาะซับซ้อนและมีอิทธิพลต่อสุขภาพหญิงตลอดช่วงชีวิตต้องได้รับการสร้างเสริมและคุ้มครองอย่างสอดคล้องและเหมาะสม
มาตรา ๗ ข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคลเป็นความลับส่วนบุคคลผู้ใดจะนําไปเปิดเผยในประการที่น่าจะทําให้บุคคลนั้นเสียหายไม่ได้เว้นแต่การเปิดเผยนั้นเป็นไปตามความประสงค์ของบุคคลนั้นโดยตรงหรือมีกฎหมายเฉพาะบัญญัติให้ต้องเปิดเผยแต่ไม่ว่าในกรณีใดๆผู้ใดจะอาศัยอํานาจหรือสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการหรือกฎหมายอื่นเพื่อขอเอกสารเกี่ยวกับข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคลที่ไม่ใช่ของตนไม่ได
มาตรา ๘ ในการบริการสาธารณสุขบุคลากรด้านสาธารณสุขต้องแจ้งข้อมูลด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการให้ผู้รับบริการทราบอย่างเพียงพอที่ผู้รับบริการจะใช้ประกอบการตัดสินใจในการรับหรือไม่รับบริการใดและในกรณีที่ผู้รับบริการปฏิเสธไม่รับบริการใดจะให้บริการนั้นมิได
ในกรณีที่เกิดความเสียหายหรืออันตรายแก่ผู้รับบริการเพราะเหตุที่ผู้รับบริการปกปิดข้อเท็จจริงที่ตนรู้และควรบอกให้แจ้งหรือแจ้งข้อความอันเป็นเท็จผู้ให้บริการไม่ต้องรับผิดชอบในความเสียหายหรืออันตรายนั้นเว้นแต่เป็นกรณีที่ผู้ให้บริการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับกรณีดังต่อไปน
(๑) ผู้รับบริการอยู่ในภาวะที่เสี่ยงอันตรายถึงชีวิตและมีความจําเป็นต้องให้ความช่วยเหลือเป็นการรีบด่วน
(๒) ผู้รับบริการไม่อยู่ในฐานะที่จะรับทราบข้อมูลได้และไม่อาจแจ้งให้บุคคลซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ผู้ปกครองผู้ปกครองดูแลผู้พิทักษ์หรือผู้อนุบาลของผู้รับบริการแล้วแต่กรณีรับทราบข้อมูลแทนในขณะนั้นได
มาตรา ๙ ในกรณีที่ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขประสงค์จะใช้ผู้รับบริการเป็นส่วนหนึ่งของการทดลองในงานวิจัยผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขต้องแจ้งให้ผู้รับบริการทราบล่วงหน้าและต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้รับบริการก่อนจึงจะดําเนินการได้ความยินยอมดังกล่าวผู้รับบริการจะเพิกถอนเสียเมื่อใดก็ได
มาตรา ๑๐ เมื่อมีกรณีที่จะมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนเกิดขึ้นหน่วยงานของรัฐที่มีข้อมูลเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวต้องเปิดเผยข้อมูลนั้นและวิธีป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพให้ประชาชนทราบและจัดหาข้อมูลให้โดยเร็ว
มาตรา ๑๑ บุคคลหรือคณะบุคคลมีสิทธิร้องขอให้มีการประเมินและมีสิทธิร่วมในกระบวนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพจากนโยบายสาธารณะ
มาตรา ๑๒ บุคคลมีสิทธิทําหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตนหรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้
หมวด ๒ คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
มาตรา ๑๓ ให้มีคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติเรียกโดยย่อว่า “คสช.” ประกอบด้วย
(๑) นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธานกรรมการ
(๒) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นรองประธานกรรมการ
(๓) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่นายกรัฐมนตรีกําหนดจํานวนไม่เกินห้าคนเป็นกรรมการ
(๔) ประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นกรรมการ
(๕) ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็นกรรมการ
(๖) ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งเลือกกันเองจํานวนสี่คนเป็นกรรมการ
(๗) ผู้แทนองค์กรวิชาชีพด้านสาธารณสุขที่มีกฎหมายจัดตั้งองค์กรละหนึ่งคนเป็นกรรมการ
(๘) ผู้แทนคณะกรรมการวิชาชีพที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะซึ่งเลือกกันเองจํานวนหนึ่งคนเป็นกรรมการ
(๙) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่างๆซึ่งต้องไม่เป็นผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขโดยเลือกกันเองจํานวนหกคนเป็นกรรมการ
(๑๐) ผู้แทนองค์กรภาคเอกชนที่ไม่แสวงหากําไรไม่ว่าจะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือไม่ซึ่งเลือกกันเองจํานวนสิบสามคนเป็นกรรมการ
มาตรา๑๔กรรมการตามมาตรา ๑๓ (๖) (๗) (๘) (๙) และ (๑๐) ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(๑) มีสัญชาติไทย(๒) มีอายุไม่ต่ํากว่ายี่สิบปีบริบูรณ์(๓) ไม่เป็นผู้มีความผิดปกติทางจิตอันเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่(๔) ไม่ติดยาเสพติดให้โทษ
(๕) ไม่เคยถูกลงโทษทางวินัยถึงไล่ออกปลดออกหรือให้ออกจากหน่วยงานของรัฐ(๖) ไม่เคยได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกเว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
มาตรา ๑๕ การเลือกกรรมการตามมาตรา๑๓ (๖) ให้ดําเนินการดังน
(๑) ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครนายกเมืองพัทยาและหัวหน้าผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะทํานองเดียวกันดําเนินการเลือกกันเองให้ได้กรรมการหนึ่งคน(๒) ให้นายกเทศมนตรีทุกแห่งเลือกกันเองให้ได้กรรมการหนึ่งคน(๓) ให้นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดทุกแห่งเลือกกันเองให้ได้กรรมการหนึ่งคน(๔) ให้นายกองค์การบริหารส่วนตําบลทุกแห่งเลือกกันเองให้ได้กรรมการหนึ่งคน
มาตรา ๑๖ การเลือกกรรมการตามมาตรา๑๓ (๘) ให้เป็นไปตามวิธีการที่คณะกรรมการการประกอบโรคศิลปะตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะกําหนด
มาตรา ๑๗ การเลือกกรรมการตามมาตรา๑๓ (๙) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการสรรหาประกาศกําหนด
มาตรา ๑๘ การเลือกกรรมการตามมาตรา๑๓ (๑๐) ให้คณะกรรมการสรรหาดําเนินการดังต่อไปนี้
(๑) จัดกลุ่มขององค์กรภาคเอกชนตามลักษณะของกิจกรรมที่ดําเนินงานเกี่ยวกับสุขภาพ
(๒) จัดให้องค์กรภาคเอกชนในแต่ละจังหวัดที่ประสงค์จะมีส่วนร่วมมาขึ้นทะเบียนในกลุ่มต่างๆตาม (๑) (๓) จัดให้ผู้ซึ่งมีหนังสือมอบหมายให้เป็นผู้แทนขององค์กรภาคเอกชนที่ขึ้นทะเบียนตาม (๒) ของแต่ละจังหวัดมาเลือกกันเองในแต่ละกลุ่มให้เหลือกลุ่มละหนึ่งคน(๔) จัดให้ผู้ได้รับการเลือกเป็นผู้แทนของแต่ละกลุ่มในแต่ละจังหวัดตาม (๓) มาประชุมร่วมกันและเลือกกันเองให้เหลือผู้แทนจังหวัดละหนึ่งคน(๕) ประกาศกําหนดพื้นที่ของประเทศออกเป็นสิบสามเขตโดยให้กรุงเทพมหานครเป็นหนึ่งเขตและให้ผู้แทนตาม (๔) ของแต่ละจังหวัดในแต่ละเขตยกเว้นกรุงเทพมหานครมาประชุมร่วมกันและเลือกกันเองให้เหลือเขตละหนึ่งคน
มาตรา ๑๙ ให้มีคณะกรรมการสรรหาคณะหนึ่งซึ่งคสช. แต่งตั้งประกอบด้วย
(๑) กรรมการตามมาตรา๑๓ (๗) (๘) (๙) หรือ (๑๐) หนึ่งคนเป็นประธานคณะกรรมการสรรหา(๒) ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งแต่งตั้งจากผู้แทนกระทรวงสาธารณสุขหนึ่งคนผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขหนึ่งคนศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยของรัฐซึ่งมิใช่เป็นผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขหนึ่งคนผู้ประกอบอาชีพสื่อมวลชนหนึ่งคนผู้ซึ่งทําหน้าที่เป็นผู้แทนตามกฎหมายขององค์กรภาคเอกชนที่เป็นนิติบุคคลและดําเนินงานเกี่ยวกับสุขภาพโดยไม่แสวงหากําไรหนึ่งคนเป็นกรรมการ(๓) เลขาธิการเป็นเลขานุการคณะกรรมการสรรหา
มาตรา ๒๐ ให้คณะกรรมการสรรหามีหน้าที่และอํานาจดังต่อไปน
(๑) กําหนดวิธีการหลักเกณฑ์และระยะเวลาตลอดจนดําเนินการอื่นใดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา๑๕มาตรา๑๗และมาตรา๑๘(๒) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่คณะกรรมการสรรหามอบหมาย
มาตรา ๒๑ กรรมการตามมาตรา๑๓ (๖) (๗) (๘) (๙) และ (๑๐) มีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละสี่ปีโดยกรรมการตามมาตรา๑๓ (๗) (๘) (๙) และ (๑๐) จะดํารงตําแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันมิได
มาตรา ๒๒ นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระกรรมการตามมาตรา๑๓ (๖) พ้นจากตําแหน่งเมื่อพ้นจากตําแหน่งตามที่ระบุไว้ในมาตรา๑๕ (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) แล้วแต่กรณี
มาตรา๒๓นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระกรรมการตามมาตรา๑๓ (๖) (๗) (๘) (๙) และ (๑๐) พ้นจากตําแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย(๒) ลาออก(๓) ถูกจําคุก(๔) คสช. มีมติไม่น้อยกว่าสองในสามของจํานวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ให้ออกเพราะบกพร่องต่อหน้าที่มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือหย่อนความสามารถ(๕) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา๑๔
มาตรา ๒๔ หลักเกณฑ์และวิธีการการประชุมคสช. และการปฏิบัติงานของคสช. ให้เป็นไปตามระเบียบที่คสช. กําหนด
มาตรา ๒๕ ให้คสช. มีหน้าที่และอํานาจดังต่อไปนี้
(๑) จัดทําธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ(๒) เสนอแนะหรือให้คําปรึกษาต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพและติดตามผลการดําเนินงานตามที่ได้เสนอแนะหรือให้คําปรึกษาดังกล่าวพร้อมทั้งเปิดเผยให้สาธารณชนทราบด้วย(๓) จัดให้มีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติและสนับสนุนในการจัดให้มีสมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่หรือสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น(๔) จัดให้มีหรือส่งเสริมสนับสนุนให้มีกระบวนการในการพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพเพื่อให้เกิดการดําเนินงานอย่างต่อเนื่องและมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย(๕) กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการติดตามและประเมินผลเกี่ยวกับระบบสุขภาพแห่งชาติและผลกระทบด้านสุขภาพที่เกิดจากนโยบายสาธารณะทั้งระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการ(๖) เสนอแนะหรือให้คําปรึกษาในการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัตินี้หรือการออกกฎกระทรวงตามพระราชบัญญัตินี้(๗) กําหนดนโยบายและกํากับดูแลการดําเนินการของคณะกรรมการบริหารและสํานักงาน
(๘) แต่งตั้งคณะกรรมการคณะอนุกรรมการหรือคณะทํางานเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่คสช. มอบหมาย(๙) วางระเบียบว่าด้วยเบี้ยประชุมที่มิใช่เบี้ยประชุมของคสช. และระเบียบว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางและค่าใช้จ่ายอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้(๑๐) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นหรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
หมวด ๓ สํานักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาต
มาตรา๒๖๒ให้จัดตั้งสํานักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติขึ้นเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินและไม่เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรือกฎหมายอื่น
มาตรา ๒๗ ให้สํานักงานมีหน้าที่และอํานาจดังต่อไปนี้
(๑) รับผิดชอบงานธุรการของคสช. และคณะกรรมการบริหาร(๒) ประสานงานกับหน่วยงานด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ของรัฐบาลและหน่วยงานอื่นๆทั้งภาครัฐและเอกชนที่ดําเนินงานเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพและดําเนินการเพื่อให้เกิดการทํางานร่วมกันในระดับนโยบายยุทธศาสตร์และแผนงานด้านสุขภาพ(๓) สํารวจศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆรวมทั้งสถานการณ์ของระบบสุขภาพเพื่อจัดทําเป็นรายงานหรือเพื่อประโยชน์ในการดําเนินการตามพระราชบัญญัตินี้(๔) ดําเนินการเพื่อให้การจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติและการสนับสนุนการจัดสมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่และสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นบรรลุผลตามมติของคสช. (๕) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่นหรือตามที่คณะรัฐมนตรีหรือคสช. มอบหมาย
มาตรา ๒๘ รายได้ของสํานักงานประกอบด้วย
มาตรา๒๖วรรคหนึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ (ฉบับที่๒) พ.ศ. ๒๕๕๓
(๑) เงินอุดหนุนทั่วไปที่รัฐบาลจัดสรรให้ตามความเหมาะสมเป็นรายปี(๒) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้(๓) เงินหรือทรัพย์สินอื่นที่ตกเป็นของสํานักงาน(๔) รายได้จากการดําเนินกิจการของสํานักงาน(๕) ดอกผลของเงินหรือทรัพย์สินตาม (๑) (๒) (๓) และ (๔)
มาตรา ๒๙ บรรดารายได้ของสํานักงานตามมาตรา๒๘ไม่เป็นรายได้ที่ต้องนําส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
มาตรา ๓๐ การเก็บรักษาและการใช้จ่ายเงินของสํานักงานให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการบริหารกําหนด
มาตรา ๓๑ ให้มีเลขาธิการคนหนึ่งเป็นผู้รับผิดชอบการบริหารงานของสํานักงานขึ้นตรงต่อคสช. มีหน้าที่ควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งงานของสํานักงานและเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างในสํานักงานโดยอาจมีรองเลขาธิการตามจํานวนที่คณะกรรมการบริหารกําหนดเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติงานตามที่เลขาธิการมอบหมายก็ได
มาตรา ๓๒ ให้เลขาธิการมีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละสี่ปีและอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้แต่จะดํารงตําแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันมิได
มาตรา ๓๓ นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระแล้วเลขาธิการพ้นจากตําแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย(๒) ลาออก(๓) ถูกจําคุก(๔) ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ผ่านการประเมินทั้งนี้ตามระเบียบที่คณะกรรมการบริหารกําหนดโดยความเห็นชอบของคสช.
มาตรา ๓๔ เลขาธิการมีหน้าที่และอํานาจดังต่อไปนี้
(๑) บริหารกิจการของสํานักงานให้เป็นไปตามกฎหมายนโยบายมติข้อบังคับระเบียบหรือประกาศของคสช. และคณะกรรมการบริหาร(๒) จัดทําแผนงานหลักแผนการดําเนินงานแผนการเงินและงบประมาณประจําปีของสํานักงานเสนอคณะกรรมการบริหารเพื่ออนุมัติ(๓) ดําเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลการเงินการงบประมาณและการบริหารด้านอื่นของสํานักงานตามระเบียบที่คณะกรรมการบริหารกําหนด(๔) วางระเบียบเกี่ยวกับการดําเนินงานของสํานักงานเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายนโยบายมติข้อบังคับระเบียบหรือประกาศของคสช. และคณะกรรมการบริหาร(๕) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะรัฐมนตรีคสช. และคณะกรรมการบริหารมอบหมาย
มาตรา ๓๕ เงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนอื่นของเลขาธิการให้คณะกรรมการบริหารกําหนดตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกําหนด
มาตรา ๓๖ ให้เลขาธิการเป็นผู้แทนของสํานักงานในกิจการของสํานักงานที่เกี่ยวข้องกับบุคคลภายนอกแต่เลขาธิการจะมอบหมายให้บุคคลใดปฏิบัติงานในเรื่องใดแทนตามระเบียบที่คณะกรรมการบริหารกําหนดก็ได
มาตรา ๓๗ ให้คสช. แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารประกอบด้วย
(๑) ประธานกรรมการบริหารซึ่งแต่งตั้งจากกรรมการ(๒) กรรมการบริหารซึ่งแต่งตั้งจากผู้แทนกระทรวงสาธารณสุขหนึ่งคน(๓) กรรมการบริหารซึ่งแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิจํานวนไม่เกินห้าคน(๔) เลขาธิการเป็นกรรมการบริหารและเลขานุการคุณสมบัติหลักเกณฑ์และวิธีการในการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิตาม (๓) ให้เป็นไปตามระเบียบที่คสช. กําหนด
มาตรา ๓๘ การดํารงตําแหน่งการพ้นจากตําแหน่งการประชุมและการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริหารให้เป็นไปตามระเบียบที่คสช. กําหนด
มาตรา ๓๙ คณะกรรมการบริหารมีหน้าที่และอํานาจดังต่อไปนี้
(๑) กําหนดนโยบายและกํากับดูแลการดําเนินงานของสํานักงานให้เกิดการจัดการที่ดีมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ตามอํานาจหน้าที่(๒) กําหนดคุณสมบัติของเลขาธิการและรองเลขาธิการและดําเนินการคัดเลือกเลขาธิการตามระเบียบที่คสช. กําหนด(๓) อนุมัติแผนงานหลักแผนการดําเนินงานแผนการเงินและงบประมาณประจําปีของสํานักงาน(๔) ออกข้อบังคับระเบียบหรือประกาศตามที่กําหนดในพระราชบัญญัตินี้(๕) จัดให้มีการประเมินผลการดําเนินงานของสํานักงานและรายงานต่อคสช. อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง(๖) จัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของเลขาธิการ(๗) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่คณะกรรมการบริหารมอบหมาย(๘) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือตามที่คสช. มอบหมาย
หมวด ๔ สมัชชาสุขภาพ
มาตรา ๔๐ การจัดสมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่หรือสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นหรือสนับสนุนให้ประชาชนรวมตัวกันเพื่อจัดสมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่หรือสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คสช. กําหนดในกรณีที่สมัชชาสุขภาพตามวรรคหนึ่งมีข้อเสนอให้หน่วยงานของรัฐนําไปปฏิบัติหรือนําไปพิจารณาประกอบในการกําหนดนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพให้เสนอต่อคสช. เพื่อพิจารณาดําเนินการให้บรรลุผลตามควรแก่กรณีต่อไป
มาตรา ๔๑ ให้คสช. จัดให้มีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
มาตรา ๔๒ ในการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติให้คสช. แต่งตั้งคณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติคณะหนึ่งมีจํานวนตามที่คสช. กําหนดกรรมการตามวรรคหนึ่งให้แต่งตั้งจากผู้แทนหน่วยงานของรัฐและผู้ซึ่งมิได้เป็นผู้แทนหน่วยงานของรัฐในอัตราส่วนที่คสช. กําหนดทั้งนี้ผู้ซึ่งมิได้เป็นผู้แทนหน่วยงานของรัฐจะต้องมีจํานวนไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบของจํานวนกรรมการตามวรรคหนึ่งให้คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติมีอํานาจกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเกี่ยวกับการจัดประชุมและหลักเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่
มาตรา ๔๓ ให้คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติมีหน้าที่ในการจัดการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติกําหนดวันเวลาและสถานที่ในการประชุมซึ่งต้องประกาศให้ประชาชนทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนวันประชุ
มาตรา ๔๔ ผู้ใดประสงค์จะเข้าร่วมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติในการประชุมครั้งใดให้สมัครลงทะเบียนสําหรับการประชุมครั้งนั้นต่อเจ้าหน้าที่ที่คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติกําหนดตามแบบและหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติกําหนดนอกจากผู้ลงทะเบียนตามวรรคหนึ่งคณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติจะกําหนดให้เชิญบุคคลผู้แทนหน่วยงานของรัฐหรือองค์กรภาคเอกชนตามที่เห็นสมควรมาร่วมประชุมด้วยก็ได
มาตรา ๔๕ ในกรณีที่สมัชชาสุขภาพแห่งชาติมีข้อเสนอให้หน่วยงานของรัฐนําไปปฏิบัติหรือนําไปพิจารณาประกอบในการกําหนดนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพให้เสนอต่อคสช.เพื่อพิจารณาดําเนินการให้บรรลุผลตามควรแก่กรณีต่อไป
หมวด ๕ ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาต
มาตรา ๔๖ ให้คสช. จัดทําธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติเพื่อใช้เป็นกรอบและแนวทางในการกําหนดนโยบายยุทธศาสตร์และการดําเนินงานด้านสุขภาพของประเทศเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบในการจัดทําธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติให้คสช. นําความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของสมัชชาสุขภาพมาประกอบด้วยเมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติแล้วให้รายงานต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเพื่อทราบและประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้คสช. ทบทวนธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติอย่างน้อยทุกห้าปี
มาตรา ๔๗ ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติต้องสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและอย่างน้อยต้องมีสาระสําคัญเกี่ยวกับเรื่องดังต่อไปนี้
(๑) ปรัชญาและแนวคิดหลักของระบบสุขภาพ(๒) คุณลักษณะที่พึงประสงค์และเป้าหมายของระบบสุขภาพ(๓) การจัดให้มีหลักประกันและความคุ้มครองให้เกิดสุขภาพ(๔) การสร้างเสริมสุขภาพ(๕) การป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ(๖) การบริการสาธารณสุขและการควบคุมคุณภาพ(๗) การส่งเสริมสนับสนุนการใช้และการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพการแพทย์แผนไทยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือกอื่นๆ(๘) การคุ้มครองผู้บริโภค(๙) การสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านสุขภาพ(๑๐) การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ(๑๑) การผลิตและการพัฒนาบุคลากรด้านสาธารณสุข(๑๒) การเงินการคลังด้านสุขภาพ
มาตรา ๔๘ ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติและนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพตามมาตรา๒๕ (๒) ที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้วให้ผูกพันหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องที่จะต้องดําเนินการต่อไปตามอํานาจหน้าที่ของตน
หมวด ๖ บทกําหนดโทษ
มาตรา ๔๙ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา๗หรือมาตรา๙ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับความผิดตามมาตรานี้เป็นความผิดอันยอมความได
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๕๐ ให้โอนบรรดากิจการทรัพย์สินสิทธิหนี้สินและเงินงบประมาณของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขในส่วนของสํานักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติไปเป็นของสํานักงานตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๕๑ ให้นําบรรดาข้อบังคับระเบียบประกาศหรือคําสั่งที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของสํานักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติมาใช้บังคับกับการปฏิบัติงานของสํานักงานโดยอนุโลมจนกว่าจะได้มีข้อบังคับระเบียบประกาศหรือคําสั่งที่ออกตามพระราชบัญญัตินี
มาตรา ๕๒ ให้ถือว่าข้าราชการที่โอนมาตามมาตรา๕๐ออกจากราชการเพราะทางราชการเลิกหรือยุบตําแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการหรือกฎหมายว่าด้วยกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการแล้วแต่กรณ
มาตรา ๕๓ ให้นําความในมาตรา๕๒มาใช้บังคับกับการออกจากราชการหรือออกจากงานของข้าราชการหรือลูกจ้างของส่วนราชการที่สํานักงานรับเข้าทํางานด้วยโดยอนุโลมแต่ข้าราชการหรือลูกจ้างนั้นต้องแสดงความจํานงเป็นหนังสือสมัครเข้าทํางานต่อสํานักงานภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๕๔ ให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้อํานวยการสํานักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้งเลขาธิการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๕๕ ในวาระเริ่มแรกให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาตามมาตรา๑๙ให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(๑) ประธานกรรมการสรรหาตามมาตรา๑๙ (๑) ให้แต่งตั้งจากผู้เคยดํารงตําแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๔๓
(๒) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา๑๙ (๒) ให้นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งตามข้อเสนอแนะของเลขาธิการให้คณะกรรมการสรรหาดําเนินการตามมาตรา๒๐ให้แล้วเสร็จภายในสองร้อยสี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
5.2 พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๔๕
หมวด ๑ สิทธิการรับบริการสาธารณสุข
มาตรา ๕ บุคคลทุกคนมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพตามที่กําหนดโดยพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๖ บุคคลใดประสงค์จะใช้สิทธิตามมาตรา๕ให้ยื่นคําขอลงทะเบียนต่อสํานักงานหรือหน่วยงานที่สํานักงานกําหนดเพื่อเลือกหน่วยบริการเป็นหน่วยบริการประจํา
มาตรา ๗ บุคคลที่ได้ลงทะเบียนแล้วให้ใช้สิทธิรับบริการสาธารณสุขได้จากหน่วยบริการประจําของตนหรือหน่วยบริการปฐมภูมิในเครือข่ายหน่วยบริการที่เกี่ยวข้องหรือจากหน่วยบริการอื่นที่หน่วยบริการประจําของตนหรือเครือข่ายหน่วยบริการที่เกี่ยวข้องส่งต่อเว้นแต่กรณีที่มีเหตุสมควรหรือกรณีอุบัติเหตุหรือกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินให้บุคคลนั้นมีสิทธิเข้ารับบริการจากสถานบริการอื่นได้ทั้งนี้ตามที่คณะกรรมการกําหนดโดยคํานึงถึงความสะดวกและความจําเป็นของผู้ใช้สิทธิรับบริการและให้สถานบริการที่ให้บริการนั้นมีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายจากกองทุนตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการกําหนด
มาตรา ๘ ผู้ซึ่งมีสิทธิตามมาตรา๕ที่ยังไม่ได้ลงทะเบียนตามมาตรา๖อาจเข้ารับบริการครั้งแรกที่หน่วยบริการใดก็ได้และให้หน่วยบริการที่ให้บริการแก่บุคคลดังกล่าวจัดให้บุคคลนั้นลงทะเบียนเลือกหน่วยบริการประจําตามมาตรา๖และแจ้งให้สํานักงานทราบภายในสามสิบวันนับแต่ให้บริการโดยหน่วยบริการดังกล่าวมีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายสําหรับการให้บริการครั้งนั้นจากกองทุนตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการกําหนด
มาตรา ๙ ขอบเขตของสิทธิรับบริการสาธารณสุขของบุคคลดังต่อไปนี้ให้เป็นไปตามกฎหมายกฎระเบียบประกาศมติคณะรัฐมนตรีหรือคําสั่งใดๆที่กําหนดขึ้นสําหรับส่วนราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐและให้ใช้สิทธิดังกล่าวตามพระราชบัญญัตินี้
(๑) ข้าราชการหรือลูกจ้างของส่วนราชการ
๒) พนักงานหรือลูกจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(๓) พนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจหรือผู้ซึ่งปฏิบัติงานให้แก่หน่วยงานอื่นของรัฐหรือบุคคลอื่นใดที่มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลโดยใช้จ่ายจากเงินงบประมาณ(๔) บิดามารดาคู่สมรสบุตรหรือบุคคลอื่นใดที่ได้รับสวัสดิการการรักษาพยาบาลโดยอาศัยสิทธิของบุคคลตาม (๑) (๒) หรือ (๓)
มาตรา ๑๐ ขอบเขตของสิทธิรับบริการสาธารณสุขของผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคมให้เป็นไปตามที่กําหนดในกฎหมายว่าด้วยประกันสังคมการขยายบริการสาธารณสุขตามพระราชบัญญัตินี้ไปยังผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคมให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการและคณะกรรมการประกันสังคมตกลงกัน
มาตรา ๑๑ ในกรณีที่ลูกจ้างซึ่งมีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทนผู้ใดใช้สิทธิรับบริการสาธารณสุขจากหน่วยบริการตามพระราชบัญญัตินี้เมื่อใดแล้วให้หน่วยบริการแจ้งการเข้ารับบริการนั้นต่อสํานักงานและให้สํานักงานมีสิทธิเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขจากกองทุนเงินทดแทนแต่ไม่เกินอัตราที่กําหนดตามกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทนส่งเข้ากองทุนเพื่อส่งต่อให้หน่วยบริการต่อไป
มาตรา ๑๒ ในกรณีที่ผู้ประสบภัยจากรถตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถผู้ใดใช้สิทธิรับบริการสาธารณสุขจากหน่วยบริการตามพระราชบัญญัตินี้เมื่อใดแล้วให้หน่วยบริการแจ้งการเข้ารับบริการนั้นต่อสํานักงานและให้สํานักงานมีสิทธิเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยแต่ไม่เกินจํานวนค่าสินไหมทดแทนตามภาระหน้าที่ที่กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยต้องจ่ายตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถส่งเข้ากองทุนเพื่อส่งต่อให้หน่วยบริการต่อไป
หมวด ๒ คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
มาตรา ๑๓ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” ประกอบด้วย
(๑) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานกรรมการ(๒) ปลัดกระทรวงกลาโหมปลัดกระทรวงการคลังปลัดกระทรวงพาณิชย์ปลัดกระทรวงมหาดไทยปลัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมปลัดกระทรวงสาธารณสุขปลัดกระทรวงศึกษาธิการและผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ(๓) ผู้แทนเทศบาลหนึ่งคนองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนึ่งคนองค์การบริหารส่วนตําบลหนึ่งคนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบอื่นหนึ่งคนโดยให้ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละประเภทคัดเลือกกันเอง(๔) ผู้แทนองค์กรเอกชนซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่มิใช่เป็นการแสวงหาผลกําไรและดําเนินกิจกรรมดังต่อไปนี้องค์กรละหนึ่งคนโดยการคัดเลือกกันเองในแต่ละกลุ่มให้เหลือกลุ่มละหนึ่งคนและให้ผู้แทนดังกล่าวคัดเลือกกันเองให้เหลือจํานวนห้าคน(ก) งานด้านเด็กหรือเยาวชน(ข) งานด้านสตรี(ค) งานด้านผู้สูงอายุ(ง) งานด้านคนพิการหรือผู้ป่วยจิตเวช(จ) งานด้านผู้ติดเชื้อเอชไอวีหรือผู้ป่วยเรื้อรังอื่น(ฉ) งานด้านผู้ใช้แรงงาน(ช) งานด้านชุมชนแออัด(ซ) งานด้านเกษตรกร(ฌ) งานด้านชนกลุ่มน้อย(๕) ผู้แทนผู้ประกอบอาชีพด้านสาธารณสุขจํานวนห้าคนได้แก่ผู้แทนแพทยสภาสภาการพยาบาลสภาเภสัชกรรมทันตแพทยสภาและสมาคมโรงพยาบาลเอกชนด้านละหนึ่งคน(๖) ผู้ทรงคุณวุฒิจํานวนเจ็ดคนซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความเชี่ยวชาญทางด้านประกันสุขภาพการแพทย์และสาธารณสุขการแพทย์แผนไทยการแพทย์ทางเลือกการเงินการคลังกฎหมายและสังคมศาสตร์ด้านละหนึ่งคน
มาตรา ๑๔ กรรมการตามมาตรา๑๓จะดํารงตําแหน่งกรรมการตามมาตรา๔๘ในขณะเดียวกันมิได
มาตรา ๑๕ กรรมการตามมาตรา๑๓วรรคหนึ่ง (๓) (๔) (๕) และ (๖) มีวาระอยู่ในตําแหน่งคราวละสี่ปีและอาจได้รับเลือกหรือแต่งตั้งใหม่อีกได้แต่จะดํารงตําแหน่งเกินกว่าสองวาระติดต่อกันไม่ได
มาตรา ๑๖ นอกจากการพ้นตําแหน่งตามวาระตามมาตรา๑๕วรรคหนึ่งแล้วกรรมการตามมาตรา๑๓วรรคหนึ่ง (๓) (๔) (๕) และ (๖) พ้นจากตําแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย(๒) ลาออก(๓) เป็นบุคคลล้มละลาย(๔) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ(๕) ได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกเว้นแต่โทษสําหรับความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ(๖) คณะรัฐมนตรีให้ออกเพราะบกพร่องต่อหน้าที่มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือหย่อนความสามารถ
มาตรา ๑๗ การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
มาตรา ๑๘ คณะกรรมการมีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปน
(๑) กําหนดมาตรฐานการให้บริการสาธารณสุขของหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการและกําหนดมาตรการในการดําเนินงานเกี่ยวกับหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้มีประสิทธิภาพ(๒) ให้คําแนะนําต่อรัฐมนตรีในการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ออกกฎกระทรวงและประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้(๓) กําหนดประเภทและขอบเขตในการให้บริการสาธารณสุขที่จําเป็นต่อสุขภาพและการดํารงชีวิตและอัตราค่าบริการสาธารณสุขตามมาตรา๕(๔) กําหนดหลักเกณฑ์การดําเนินงานและการบริหารจัดการกองทุน(๕) กําหนดหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขในการถอดถอนเลขาธิการตามมาตรา๓๑และกําหนดคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามของเลขาธิการตามมาตรา๓๒(๖) ออกระเบียบเกี่ยวกับการรับเงินการจ่ายเงินและการรักษาเงินกองทุนรวมทั้งการจัดหาผลประโยชน์ตามมาตรา๔๐(๗) กําหนดหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขในการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นในกรณีที่ผู้รับบริการได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลโดยหาผู้กระทําผิดมิได้หรือหาผู้กระทําผิดได้แต่ผู้รับบริการไม่ได้รับค่าเสียหายภายในระยะเวลาอันสมควรตามมาตรา๔๑(๘) สนับสนุนและประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดําเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ได้ตามความพร้อมความเหมาะสมและความต้องการเพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้แก่บุคคลในพื้นที่ตามมาตรา๔๗(๙) สนับสนุนและกําหนดหลักเกณฑ์ให้องค์กรชุมชนองค์กรเอกชนและภาคเอกชนที่ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อดําเนินการแสวงหาผลกําไรดําเนินงานและบริหารจัดการเงินทุนในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ได้ตามความพร้อมความเหมาะสมและความต้องการโดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้แก่บุคคลในพื้นที่ตามมาตรา๔๗(๑๐) กําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ให้บริการและผู้รับบริการเพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข(๑๑) กําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการลงโทษปรับทางปกครองและการเพิกถอนการขึ้นทะเบียน(๑๒) จัดทํารายงานเกี่ยวกับผลงานและอุปสรรคในการดําเนินงานรวมทั้งบัญชีและการเงินทุกประเภทของคณะกรรมการแล้วรายงานต่อคณะรัฐมนตรีสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเป็นประจําทุกปีภายในหกเดือนนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ(๑๓) จัดประชุมเพื่อให้คณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นโดยทั่วไปจากผู้ให้บริการและผู้รับบริการเป็นประจําทุกปี(๑๔) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่พระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นกําหนดให้เป็นอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการหรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมายมาตรา๑๙ให้คณะกรรมการมีอํานาจหน้าที่ควบคุมดูแลสํานักงานให้ดําเนินกิจการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้อํานาจหน้าที่เช่นว่านี้ให้รวมถึง(๑) กําหนดนโยบายการบริหารงานและให้ความเห็นชอบแผนการดําเนินงานของสํานักงาน(๒) อนุมัติแผนการเงินของสํานักงาน(๓) ควบคุมดูแลการดําเนินงานและการบริหารงานทั่วไปตลอดจนออกระเบียบข้อบังคับประกาศหรือข้อกําหนดเกี่ยวกับการบริหารงานทั่วไปการบริหารงานบุคคลการงบประมาณการเงินและทรัพย์สินการติดตามประเมินผลและการดําเนินการอื่นของสํานักงาน
มาตรา ๒๐ คณะกรรมการมีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
มาตรา ๒๑ ให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบขึ้นคณะหนึ่งมีอํานาจหน้าที่ตรวจสอบการบริหารเงินและการดําเนินงานของสํานักงานเพื่อให้การดําเนินงานเป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนที่เกี่ยวข้องมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพมีความโปร่งใสและมีผู้รับผิดชอบทั้งนี้ตามระเบียบที่คณะกรรมการกําหนด
มาตรา ๒๒ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ให้คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการแล้วแต่กรณีมีอํานาจขอให้หน่วยงานของรัฐหรือสั่งให้บุคคลใดที่เกี่ยวข้องมีหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงมาให้ถ้อยคําหรือส่งเอกสารหลักฐานเพื่อประกอบการพิจารณาได
มาตรา ๒๓ ให้กรรมการและอนุกรรมการได้รับเบี้ยประชุมค่าใช้จ่ายในการเดินทางและค่าใช้จ่ายอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ตามที่รัฐมนตรีกําหนด
หมวด ๓ สํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาต
มาตรา ๒๔ ให้มีสํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นหน่วยงานของรัฐมีฐานะเป็นนิติบุคคลอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของรัฐมนตร
มาตรา ๒๕ ให้สํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานครหรือในเขตจังหวัดใกล้เคียง
มาตรา ๒๖ ให้สํานักงานมีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปน
(๑) รับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานคณะอนุกรรมการของคณะกรรมการดังกล่าวและคณะกรรมการสอบสวน(๒) เก็บรวบรวมวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการดําเนินงานการบริการสาธารณสุข(๓) จัดให้มีทะเบียนผู้รับบริการหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการ(๔) บริหารกองทุนให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกําหนด(๕) จ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขตามที่คณะกรรมการกําหนดให้แก่หน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการตามมาตรา๔๖(๖) ตรวจสอบเอกสารหลักฐานการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ(๗) ดําเนินการเพื่อให้ประชาชนมีหน่วยบริการประจําและการขอเปลี่ยนหน่วยบริการประจํารวมทั้งประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนทราบข้อมูลของหน่วยบริการ(๘) กํากับดูแลหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการในการให้บริการสาธารณสุขให้เป็นไปตามมาตรฐานที่คณะกรรมการกําหนดและอํานวยความสะดวกในการเสนอเรื่องร้องเรียน(๙) ถือกรรมสิทธิ์มีสิทธิครอบครองและมีทรัพยสิทธิต่างๆ(๑๐) ก่อตั้งสิทธิและทํานิติกรรมสัญญาหรือข้อตกลงใดๆเกี่ยวกับทรัพย์สิน(๑๑) เรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการในการดําเนินกิจการของสํานักงาน(๑๒) มอบให้องค์กรอื่นหรือบุคคลอื่นทํากิจการที่อยู่ภายในอํานาจหน้าที่ของสํานักงาน(๑๓) จัดทํารายงานประจําปีเกี่ยวกับผลงานและอุปสรรคในการดําเนินงานของคณะกรรมการและคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานและเผยแพร่ต่อสาธารณชน(๑๔) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่พระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นบัญญัติให้เป็นอํานาจหน้าที่ของสํานักงานหรือตามที่คณะกรรมการหรือคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานมอบหมาย
มาตรา ๒๗ ทรัพย์สินของสํานักงานไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคด
มาตรา ๒๘ บรรดาอสังหาริมทรัพย์ที่สํานักงานได้มาโดยมีผู้บริจาคให้หรือได้มาโดยการซื้อหรือแลกเปลี่ยนจากรายได้ของสํานักงานให้เป็นกรรมสิทธิ์ของสํานักงานให้สํานักงานมีอํานาจในการปกครองดูแลบํารุงรักษาใช้และจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของสํานักงาน
มาตรา ๒๙ ให้คณะกรรมการเสนอขอรับงบประมาณรายจ่ายประจําปีต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของสํานักงาน
มาตรา ๓๐ การเก็บรักษาและการใช้จ่ายเงินของสํานักงานให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกําหนด
มาตรา ๓๑ ให้สํานักงานมีเลขาธิการเป็นผู้รับผิดชอบการบริหารกิจการของสํานักงานให้เป็นไปตามกฎหมายระเบียบข้อบังคับข้อกําหนดนโยบายมติและประกาศของคณะกรรมการและเป็นผู้บังคับบัญชาเจ้าหน้าที่และลูกจ้างของสํานักงานทุกตําแหน่ง
มาตรา ๓๒ เลขาธิการต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี
(๑) มีสัญชาติไทย(๒) สามารถทํางานให้แก่สํานักงานได้เต็มเวลา(๓) ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือน(๔) ไม่เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย(๕) ไม่เคยได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกเว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ(๖) ไม่เคยต้องคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ํารวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ(๗) ไม่เป็นผู้บริหารหรือพนักงานของรัฐวิสาหกิจอื่นหรือกิจการอื่นที่แสวงหากําไร(๘) ไม่เป็นข้าราชการพนักงานหรือลูกจ้างซึ่งมีตําแหน่งหรือเงินเดือนประจําของราชการส่วนกลางราชการส่วนภูมิภาคราชการส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ(๙) ไม่เป็นข้าราชการการเมืองสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมาชิกวุฒิสภาสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น(๑๐) ไม่เป็นกรรมการหรือที่ปรึกษาพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง(๑๑) ไม่เคยถูกไล่ออกปลดออกหรือให้ออกจากหน่วยงานของรัฐรัฐวิสาหกิจหรือบริษัทมหาชนจํากัดเพราะทุจริตต่อหน้าที่(๑๒) ไม่เป็นหรือภายในระยะเวลาหนึ่งปีก่อนวันได้รับแต่งตั้งไม่เคยเป็นกรรมการหรือผู้บริหารหรือผู้มีอํานาจในการจัดการหรือมีส่วนได้เสียในนิติบุคคลซึ่งเป็นคู่สัญญาผู้เข้าร่วมงานหรือมีประโยชน์ได้เสียเกี่ยวข้องกับกิจการของสํานักงา(๑๓) คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามอื่นตามที่คณะกรรมการกําหนด
มาตรา ๓๓ เลขาธิการพ้นจากตําแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย(๒) ลาออก(๓) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา๓๒(๔) ต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกเว้นแต่ในความผิดอันได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ(๕) ขาดการประชุมคณะกรรมการเกินสามครั้งติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร(๖) คณะกรรมการถอดถอนจากตําแหน่งเพราะบกพร่องต่อหน้าที่มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือหย่อนความสามารถ(๗) ถูกเลิกสัญญาจ้าง
มาตรา ๓๔ ให้เลขาธิการมีวาระอยู่ในตําแหน่งคราวละสี่ปีและอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้แต่จะดํารงตําแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันไม่ได
มาตรา ๓๕ ให้เลขาธิการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งเป็นผู้ดํารงตําแหน่งระดับสูงและให้ถือเป็นผู้ดํารงตําแหน่งซึ่งต้องห้ามมิให้ดําเนินกิจการที่เป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวมตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตด้วย
มาตรา ๓๖ เลขาธิการมีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) บรรจุแต่งตั้งเลื่อนลดตัดเงินเดือนหรือค่าจ้างลงโทษทางวินัยเจ้าหน้าที่และลูกจ้างของสํานักงานตลอดจนให้เจ้าหน้าที่และลูกจ้างของสํานักงานออกจากตําแหน่
(๒) ออกระเบียบหรือประกาศเกี่ยวกับการดําเนินงานของสํานักงานโดยไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบข้อบังคับประกาศข้อกําหนดนโยบายหรือมติของคณะกรรมการ
มาตรา ๓๗ ให้มีสํานักตรวจสอบขึ้นในสํานักงานทําหน้าที่เป็นสํานักงานเลขานุการของคณะอนุกรรมการตรวจสอบและให้รับผิดชอบขึ้นตรงต่อคณะอนุกรรมการตรวจสอบและรายงานเลขาธิการตามระเบียบที่คณะกรรมการกําหนด
หมวด ๔ กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาต
มาตรา ๓๘ ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งในสํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเรียกว่า “กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ
มาตรา๓๙กองทุนประกอบด้วย
(๑) เงินที่ได้รับจากงบประมาณรายจ่ายประจําปี(๒) เงินที่ได้รับจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามที่กฎหมายบัญญัติ(๓) เงินที่ได้รับจากการดําเนินการให้บริการสาธารณสุขตามพระราชบัญญัตินี้(๔) เงินค่าปรับทางปกครองตามพระราชบัญญัตินี้(๕) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคหรือมอบให้แก่กองทุน(๖) ดอกผลหรือผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน(๗) เงินหรือทรัพย์สินใดๆที่กองทุนได้รับมาในกิจการของกองทุน(๘) เงินสมทบอื่นตามที่กฎหมายบัญญั
มาตรา ๔๐ การรับเงินการจ่ายเงินและการเก็บรักษาเงินกองทุนรวมทั้งการนําเงินกองทุนไปจัดหาผลประโยชน์ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกําหนด
มาตรา ๔๑ ให้คณะกรรมการกันเงินจํานวนไม่เกินร้อยละหนึ่งของเงินที่จะจ่ายให้หน่วยบริการไว้เป็นเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้รับบริการในกรณีที่ผู้รับบริการได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลของหน่วยบริการโดยหาผู้กระทําผิดมิได้หรือหาผู้กระทําผิดได้แต่ยังไม่ได้รับค่าเสียหายภายในระยะเวลาอันสมควร
มาตรา ๔๒ ในกรณีที่ผู้รับบริการได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลของหน่วยบริการโดยหาผู้กระทําผิดได้แต่ยังไม่ได้รับค่าเสียหายภายในระยะเวลาอันสมควรตามมาตรา๔๑เมื่อสํานักงานได้จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้รับบริการไปแล้วสํานักงานมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ผู้กระทําผิดได
มาตรา ๔๓ ภายในสามเดือนนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณให้คณะกรรมการเสนองบดุลและรายงานการรับจ่ายเงินของกองทุนในปีที่ล่วงมาซึ่งสํานักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบรับรองแล้วต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ
หมวด ๕ หน่วยบริการและมาตรฐานบริการสาธารณสุข
มาตรา ๔๔ ให้สํานักงานจัดให้มีการขึ้นทะเบียนหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการแล้วประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบเพื่อดําเนินการลงทะเบียนเลือกเป็นหน่วยบริการประจําของตนตามมาตรา๖
มาตรา ๔๕ ให้หน่วยบริการมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) ให้บริการสาธารณสุขรวมทั้งการใช้วัคซีนยาเวชภัณฑ์อุปกรณ์ในการรักษาที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพโดยให้ความเสมอภาคและอํานวยความสะดวกในการให้บริการสาธารณสุขที่จําเป็นตลอดจนเคารพในสิทธิส่วนบุคคลในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และความเชื่อทางศาสนา
(๒) ให้ข้อมูลการบริการสาธารณสุขของผู้รับบริการตามที่ผู้รับบริการร้องขอและตามประกาศที่มีการกําหนดเกี่ยวกับสิทธิของผู้ป่วยและผู้รับบริการโดยไม่บิดเบือนทั้งในเรื่องผลการวินิจฉัยแนวทางวิธีการทางเลือกและผลในการรักษารวมทั้งผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นเพื่อให้ผู้รับบริการตัดสินใจในการเลือกรับบริการหรือถูกส่งต่อ
(๓) ให้ข้อมูลที่เกี่ยวกับชื่อแพทย์เจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรือผู้รับผิดชอบในการดูแลอย่างต่อเนื่องทางด้านสุขภาพกายและสังคมแก่ญาติหรือผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้รับบริการอย่างเพียงพอก่อนจําหน่ายผู้รับบริการออกจากหน่วยบริการหรือเครือข่ายหน่วยบริการ
(๔) รักษาความลับของผู้รับบริการจากการปฏิบัติหน้าที่ตาม (๑) และ (๒) อย่างเคร่งครัดเว้นแต่เป็นการเปิดเผยต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย(๕) จัดทําระบบข้อมูลการให้บริการสาธารณสุขเพื่อสะดวกต่อการตรวจสอบคุณภาพและบริการรวมทั้งการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข
มาตรา ๔๖ หน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการตามมาตรา๔๔และหน่วยบริการที่รับการส่งต่อผู้รับบริการมีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขจากกองทุนตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการกําหนด
มาตรา ๔๗ เพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้กับบุคคลในพื้นที่โดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมตามความพร้อมความเหมาะสมและความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นให้คณะกรรมการสนับสนุนและประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกําหนดหลักเกณฑ์เพื่อให้องค์กรดังกล่าวเป็นผู้ดําเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่โดยให้ได้รับค่าใช้จ่ายจากกองทุน
หมวด ๖ คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข
มาตรา ๔๘ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข” ประกอบด้วย
(๑) อธิบดีกรมการแพทย์เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาประธานสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลและผู้อํานวยการกองการประกอบโรคศิลปะ(๒) ผู้แทนแพทยสภาผู้แทนสภาการพยาบาลผู้แทนทันตแพทยสภาผู้แทนสภาเภสัชกรรมและผู้แทนสภาทนายความ(๓) ผู้แทนโรงพยาบาลเอกชนที่เป็นสมาชิกของสมาคมโรงพยาบาลเอกชนหนึ่งคน(๔) ผู้แทนเทศบาลหนึ่งคนองค์การบริการส่วนจังหวัดหนึ่งคนองค์การบริหารส่วนตําบลหนึ่งคนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบอื่นหนึ่งคนโดยให้ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละประเภทคัดเลือกกันเอง) ผู้แทนผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ทันตกรรมและเภสัชกรรมวิชาชีพละหนึ่งคน(๖) ผู้แทนราชวิทยาลัยแพทย์เฉพาะทางสาขาสูตินรีเวชสาขาศัลยกรรมสาขาอายุรกรรมและสาขากุมารเวชกรรมสาขาละหนึ่งคน(๗) ผู้แทนผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์สาขากายภาพบําบัดสาขาเทคนิคการแพทย์สาขารังสีเทคนิคสาขากิจกรรมบําบัดสาขาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอกและสาขาการแก้ไขความผิดปกติของการสื่อความหมายสาขาละหนึ่งคนและให้ผู้แทนดังกล่าวคัดเลือกกันเองให้เหลือจํานวนสามคน(๘) ผู้แทนองค์กรเอกชนซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่มิใช่เป็นการแสวงหาผลกําไรและดําเนินกิจกรรมดังต่อไปนี้องค์กรละหนึ่งคนโดยการคัดเลือกกันเองในแต่ละกลุ่มให้เหลือกลุ่มละหนึ่งคนและให้ผู้แทนดังกล่าวคัดเลือกกันเองให้เหลือจํานวนห้าคน(
มาตรา ๔๙ การดํารงตําแหน่งวาระการดํารงตําแหน่งการพ้นจากตําแหน่งและการประชุมของคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานให้นํามาตรา๑๔มาตรา๑๕มาตรา๑๖และมาตรา๑๗มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๕๐ คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานมีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) ควบคุมคุณภาพและมาตรฐานหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการตามมาตรา๔๕(๒) กํากับดูแลการให้บริการสาธารณสุขของหน่วยบริการให้มีคุณภาพและมาตรฐานในกรณีที่หน่วยบริการนั้นๆมีการให้บริการในส่วนที่สูงกว่าบริการสาธารณสุขตามมาตรา๕(๓) กําหนดมาตรการควบคุมและส่งเสริมคุณภาพและมาตรฐานหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการ(๔) เสนอแนะอัตราราคากลางของโรคทุกโรคต่อคณะกรรมการเพื่อประกอบการวางหลักเกณฑ์กําหนดค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขให้แก่หน่วยบริการตามมาตรา๔๖(๕) กําหนดหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขในการร้องเรียนของผู้ซึ่งถูกละเมิดสิทธิจากการใช้บริการและวิธีพิจารณาเรื่องร้องเรียนดังกล่าวรวมทั้งหลักเกณฑ์และวิธีการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ซึ่งถูกละเมิดสิทธิจากการใช้บริการและกําหนดหน่วยรับเรื่องร้องเรียนเพื่อให้ประชาชนสามารถเสนอเรื่องร้องเรียนได้โดยสะดวกและเป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียน(๖) รายงานผลการตรวจตราและการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการต่อคณะกรรมการพร้อมทั้งแจ้งหน่วยบริการและหน่วยงานต้นสังกัดเพื่อปรับปรุงแก้ไขและติดตามประเมินผลในเรื่องการปรับปรุงคุณภาพและมาตรฐาน(๗) สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจตราและการควบคุมกํากับหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการ(๘) จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นในกรณีที่ผู้รับบริการได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลโดยหาผู้กระทําผิดมิได้หรือหาผู้กระทําผิดได้แต่ผู้รับบริการไม่ได้รับค่าเสียหายภายในระยะเวลาอันสมควรตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการกําหนด(๙) สนับสนุนให้มีการพัฒนาระบบการเผยแพร่ข้อมูลแก่ประชาชนเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในการเข้ารับบริการสาธารณสุข(๑๐) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่พระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นกําหนดให้เป็นอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานหรือตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
มาตรา ๕๑ คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานมีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติตามที่คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานมอบหมายได
ให้นํามาตรา ๑๗ มาใช้บังคับกับการประชุมวิธีการประชุมและวิธีปฏิบัติงานของคณะอนุกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานโดยอนุโลม
มาตรา ๕๒ ให้คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานและคณะอนุกรรมการมีอํานาจขอให้หน่วยงานของรัฐหรือสั่งให้บุคคลใดที่เกี่ยวข้องมีหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงมาให้ถ้อยคําหรือส่งเอกสารหลักฐานเพื่อประกอบการพิจารณาได้
มาตรา ๕๓ ให้กรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานและอนุกรรมการได้รับค่าเบี้ยประชุมค่าใช้จ่ายในการเดินทางและค่าใช้จ่ายอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ตามที่รัฐมนตรีกําหนด
หมวด ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา ๕๔ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจเข้าไปในสถานที่ของหน่วยบริการหรือของเครือข่ายหน่วยบริการในระหว่างเวลาทําการเพื่อตรวจสอบสอบถามข้อเท็จจริงตรวจสอบทรัพย์สินหรือเอกสารหลักฐานถ่ายภาพถ่ายสําเนาหรือนําเอกสารที่เกี่ยวข้องไปตรวจสอบหรือกระทําการอย่างอื่นตามสมควรเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงอันที่จะปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ
มาตรา ๕๕ ในการปฏิบัติหน้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจําตัวแก่บุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง
มาตรา ๕๖ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
หมวด ๘ การกํากับมาตรฐานหน่วยบริการ
มาตรา ๕๗ ในกรณีที่สํานักงานตรวจสอบพบว่าหน่วยบริการใดไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานการให้บริการสาธารณสุขที่กําหนดให้รายงานต่อคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานเพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนพิจารณา
มาตรา ๕๘ ในกรณีที่ผลการสอบสวนตามมาตรา๕๗ปรากฏว่าหน่วยบริการใดไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานที่กําหนดให้คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานดําเนินการดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีที่เป็นการกระทําโดยไม่เจตนาให้มีคําสั่งเตือนให้ปฏิบัติโดยถูกต้อง(๒) ในกรณีที่มีเจตนากระทําผิดให้มีคําสั่งให้หน่วยบริการนั้นชําระค่าปรับทางปกครองเป็นจํานวนไม่เกินหนึ่งแสนบาทสําหรับการกระทําความผิดแต่ละครั้งและให้นําบทบัญญัติเกี่ยวกับการบังคับทางปกครองตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้บังคับและในกรณีที่ไม่มีเจ้าหน้าที่ดําเนินการบังคับตามคําสั่งให้เลขาธิการมีอํานาจฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อบังคับชําระค่าปรับในการนี้ถ้าศาลปกครองเห็นว่าคําสั่งให้ชําระค่าปรับนั้นชอบด้วยกฎหมายก็ให้ศาลปกครองมีอํานาจพิจารณาพิพากษาและบังคับคดีให้มีการยึดหรืออายัดทรัพย์สินขายทอดตลาดเพื่อชําระค่าปรับได้(๓) แจ้งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีการสอบสวนและวินิจฉัยชี้ขาดข้อกล่าวหาหรือข้อกล่าวโทษผู้ประกอบวิชาชีพทางด้านสาธารณสุขซึ่งอาจมีส่วนรับผิดชอบในการกระทําผิดของหน่วยบริการและให้มีการดําเนินการทางวินัยในกรณีที่ผู้กระทําผิดเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ
มาตรา ๕๙ ในกรณีที่ผู้รับบริการผู้ใดไม่ได้รับความสะดวกตามสมควรหรือตามสิทธิที่จะได้รับบริการสาธารณสุขที่กําหนดตามพระราชบัญญัตินี้จากหน่วยบริการหรือหน่วยบริการเรียกเก็บค่าบริการจากตนโดยไม่มีสิทธิที่จะเก็บหรือเรียกเก็บเกินกว่าอัตราที่คณะกรรมการกําหนดหรือไม่ได้รับค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลของหน่วยบริการภายในระยะเวลาอันสมควรให้ผู้นั้นมีสิทธิร้องเรียนต่อสํานักงานเพื่อให้มีการสอบสวนและให้นําความในมาตรา๕๗มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา๖๐ในกรณีที่การกระทําผิดของหน่วยบริการตามมาตรา๕๘หรือมาตรา๕๙เป็นการกระทําผิดร้ายแรงหรือเกิดซ้ําหลายครั้งให้เลขาธิการรายงานต่อคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานเพื่อพิจารณาดําเนินการ
มาตรา ๖๑ ผู้ร้องเรียนหรือหน่วยบริการที่ได้รับคําสั่งจากคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานตามหมวดนี้ให้มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งหรือวันที่ได้รับทราบคําสั่งแล้วแต่กรณีคําวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการให้เป็นที่สุดหลักเกณฑ์และวิธีการอุทธรณ์และวิธีพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกําหนด
มาตรา ๖๒ เมื่อคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์คําสั่งตามมาตรา๖๑ผลเป็นประการใดแล้วให้เลขาธิการรายงานผลการดําเนินการหรือคําวินิจฉัยต่อคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานเพื่อทราบ
หมวด ๙ บทกําหนดโทษ
มาตรา ๖๓ ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของคณะกรรมการคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานคณะอนุกรรมการของคณะกรรมการดังกล่าวคณะกรรมการสอบสวนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา๒๒มาตรา๕๒มาตรา๕๔หรือมาตรา๕๗ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๖๔ ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อํานวยความสะดวกตามสมควรแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา๕๕วรรคสามต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๖๕ ในวาระเริ่มแรกมิให้นําบทบัญญัติมาตรา๖มาตรา๗มาตรา๘มาตรา๑๑และมาตรา๑๒มาใช้บังคับจนกว่าจะได้มีการจัดเตรียมความพร้อมเพื่อให้บริการสาธารณสุขตามบทบัญญัติดังกล่าว
มาตรา ๖๖ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา๙และมาตรา๑๐ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและหากไม่แล้วเสร็จให้ขยายระยะเวลาได้ครั้งละหนึ่งปีโดยให้สํานักงานหรือสํานักงานและสํานักงานประกันสังคมแล้วแต่กรณีรายงานเหตุผลที่ไม่อาจดําเนินการได้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบและจัดให้มีการเผยแพร่รายงานนั้นต่อสาธารณชน
มาตรา ๖๗ ให้กระทรวงสาธารณสุขดําเนินการให้มีการคัดเลือกและแต่งตั้งกรรมการตามมาตรา๑๓ (๓) (๔) (๕) และ (๖) รวมทั้งสรรหาและคัดเลือกเลขาธิการเพื่อให้ได้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติตามพระราชบัญญัตินี้ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติฉบับนี้ใช้บังคับ
มาตรา ๖๘ ให้กระทรวงสาธารณสุขดําเนินการให้มีการคัดเลือกและแต่งตั้งกรรมการตามมาตรา๔๘ (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) และ (๙) เพื่อให้ได้คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานตามพระราชบัญญัตินี้ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๖๙ ให้โอนกิจการทรัพย์สินสิทธิหนี้และความรับผิดรวมทั้งเงินงบประมาณของกระทรวงสาธารณสุขในส่วนที่เกี่ยวกับงานประกันสุขภาพตามพระราชบัญญัตินี้ตลอดจนเงินทุนหมุนเวียนบัตรประกันสุขภาพไปเป็นของสํานักงานในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๗๐ ข้าราชการหรือลูกจ้างของส่วนราชการใดสมัครใจจะเปลี่ยนไปเป็นเจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างของสํานักงานให้แจ้งความจํานงเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาและจะต้องผ่านการคัดเลือกหรือการประเมินตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกําหนด
5.3 พระราชบัญญัติสถานพยาบาลพ.ศ. ๒๕๔๑
หมวด ๑ คณะกรรมการสถานพยาบาล
มาตรา ๖ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการสถานพยาบาล” ประกอบด้วยปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานกรรมการอธิบดีหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกรมทุกกรมในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขผู้แทนกระทรวงกลาโหมผู้แทนกระทรวงมหาดไทยผู้แทนสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาผู้แทนสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคและผู้แทนสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) เป็นกรรมการโดยตําแหน่งกับกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากบุคคล
มาตรา ๗ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา๗มีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละสามปีกรรมการซึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้แต่จะดํารงตําแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระมิได
มาตรา ๙ นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระตามมาตรา๘กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา๗พ้นจากตําแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย(๒) ลาออก(๓) รัฐมนตรีให้ออก(๔) เป็นบุคคลล้มละลาย(๕) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ(๖) พ้นจากการเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะผู้ประกอบวิชาชีพผู้ดําเนินการในกรณีที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการในฐานะนั้น(๗) ได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาหรือคําสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายถึงที่สุดให้จําคุกเว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่งก่อนวาระให้รัฐมนตรีแต่งตั้งผู้อื่นเป็นกรรมการแทนและให้กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งแทนอยู่ในตําแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งตนแทนแต่ถ้าวาระการดํารงตําแหน่งของกรรมการเหลือไม่ถึงเก้าสิบวันจะไม่แต่งตั้งก็ได้ในการนี้ให้คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการเท่าที่เหลืออยู่
มาตรา ๑๐ การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
มาตรา ๑๑ คณะกรรมการมีหน้าที่ให้คําปรึกษาให้ความเห็นและให้คําแนะนําแก่รัฐมนตรีหรือผู้อนุญาตในเรื่องดังต่อไปน
(๑) การออกกฎกระทรวงหรือประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้(๒) การอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลการดําเนินการสถานพยาบาลการปิดสถานพยาบาลหรือการเพิกถอนใบอนุญาต(๓) การส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการบริการของสถานพยาบาล(๔) การควบคุมหรือการพิจารณาเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการดําเนินการสถานพยาบาล(๕) การกําหนดลักษณะและมาตรฐานหรือการรับรองคุณภาพสถานพยาบาลที่ได้รับยกเว้นตามมาตรา๕วรรคหนึ่งและการแจ้งให้ดําเนินการปรับปรุงหรือแก้ไขสถานพยาบาลดังกล่าว(๖) การกําหนดผู้ป่วยฉุกเฉินตามกฎหมายว่าด้วยการแพทย์ฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังหรือโรคระบาดตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อหรือสาธารณภัยตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยซึ่งผู้ป่วยจําเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลโดยฉุกเฉินจากสถานพยาบาลและการกําหนดหลักเกณฑ์การดําเนินการในกรณีเช่นว่านั้น(๗) เรื่องอื่นๆตามที่รัฐมนตรีหรือผู้อนุญาตมอบหมาย
มาตรา ๑๒ คณะกรรมการมีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาและเสนอความเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ในขอบเขตแห่งหน้าที่ของคณะกรรมการได้ให้นํามาตรา๑๐มาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม
มาตรา ๑๓ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้คณะกรรมการและคณะอนุกรรมการที่แต่งตั้งขึ้นตามมาตรา๑๒มีอํานาจออกคําสั่งเป็นหนังสือเรียกให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดมาให้ถ้อยคําหรือให้ส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องหรือสิ่งใดมาเพื่อประกอบการพิจารณาได
หมวด ๒ การประกอบกิจการสถานพยาบาลและการดําเนินการสถานพยาบาล
มาตรา ๑๔ สถานพยาบาลมี๒ประเภทดังต่อไปน
(๑) สถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน(๒) สถานพยาบาลประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน
มาตรา ๑๔/๑๑๐ สถานพยาบาลอาจจัดให้มีการศึกษาการฝึกอบรมการวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุขหรือการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐรัฐวิสาหกิจหรือองค์กรเอกชนในการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสมที่เกี่ยวเนื่องกับการประกอบโรคศิลปะหรือการประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพของสถานพยาบาลทั้งนี้ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นและหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๑๕ ให้รัฐมนตรีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการมีอํานาจประกาศกําหนดมาตรฐานการบริการของสถานพยาบาล
มาตรา ๑๖ ห้ามมิให้บุคคลใดประกอบกิจการสถานพยาบาลเว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต
มาตรา ๑๗ ผู้ขอรับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังนี้
มาตรา ๑๘ ในการพิจารณาออกใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลของผู้อนุญาตจะต้องปรากฏว่าผู้ขอรับใบอนุญาตได้จัดให้มีกรณีดังต่อไปนี้โดยถูกต้องครบถ้วนแล้
มาตรา ๑๙ ใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลให้ใช้ได้จนถึงวันสิ้นปีปฏิทินของปีที่สิบนับแต่ปีที่ออกใบอนุญาต
มาตรา ๒๐ ผู้รับอนุญาตต้องชําระค่าธรรมเนียมตามหลักเกณฑ์วิธีการและอัตราที่กําหนดในกฎกระทรวงตลอดเวลาที่ยังประกอบกิจการถ้ามิได้ชําระค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กําหนดให้ชําระเงินเพิ่มอีกร้อยละห้าต่อเดือนและถ้ายังไม่ยินยอมชําระค่าธรรมเนียมและเงินเพิ่มหลังจากพ้นกําหนดหกเดือนให้ผู้อนุญาตดําเนินการตามมาตรา๔๙ต่อไป
มาตรา ๒๑ การโอนใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลให้แก่บุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา๑๗ให้กระทําได้เมื่อได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาต
มาตรา ๒๒ ถ้าผู้รับอนุญาตตายและมีบุคคลแสดงความจํานงต่อผู้อนุญาตภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้รับอนุญาตตายเพื่อขอประกอบกิจการที่ผู้ตายได้รับอนุญาตนั้นต่อไปเมื่อผู้อนุญาตตรวจสอบแล้วว่าบุคคลนั้นมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา๑๗ก็ให้ผู้แสดงความจํานงนั้นประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าใบอนุญาตนั้นสิ้นอายุในกรณีเช่นว่านี้ให้ถือว่าผู้แสดงความจํานงเป็นผู้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันที่ผู้รับอนุญาตตาย
มาตรา ๒๓ ผู้รับอนุญาตต้องจัดให้มีผู้ดําเนินการคนหนึ่งเป็นผู้มีหน้าที่ควบคุมดูแลและรับผิดชอบในการดําเนินการสถานพยาบาล
มาตรา ๒๔ ห้ามมิให้บุคคลใดดําเนินการสถานพยาบาลเว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต
มาตรา ๒๕ ในการพิจารณาออกใบอนุญาตให้ดําเนินการสถานพยาบาลของผู้อนุญาตจะต้องปรากฏว่าผู้ขอรับใบอนุญาต
มาตรา ๒๖ ถ้าผู้ดําเนินการพ้นจากหน้าที่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้เกินเจ็ดวันผู้รับอนุญาตอาจมอบหมายให้บุคคลซึ่งมีคุณสมบัติตามมาตรา๒๕ดําเนินการแทนได้ไม่เกินเก้าสิบวันในกรณีเช่นว่านี้ให้ผู้ได้รับมอบหมายให้ดําเนินการแทนแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้อนุญาตทราบภายในสามวันนับแต่วันที่เข้าดําเนินการแทน
มาตรา ๒๗ ผู้รับอนุญาตผู้ดําเนินการและผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลแห่งหนึ่งๆจะเป็นบุคคลคนเดียวกันก็ได
มาตรา ๒๘ ใบอนุญาตให้ดําเนินการสถานพยาบาลให้ใช้ได้จนถึงวันสิ้นปีปฏิทินของปีที่สองนับแต่ปีที่ออกใบอนุญาต
มาตรา ๒๙ ในกรณีที่ผู้อนุญาตไม่ออกใบอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตผู้ขอรับใบอนุญาตหรือผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตแล้วแต่กรณีมีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อรัฐมนตรีภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการไม่ออกใบอนุญาตหรือการไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต
มาตรา ๓๐ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหายหรือถูกทําลายในสาระสําคัญให้ผู้รับอนุญาตหรือผู้ดําเนินการแล้วแต่กรณีแจ้งต่อผู้อนุญาตและยื่นคําขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับทราบการสูญหายหรือถูกทําลายดังกล่าว
มาตรา ๓๑ ผู้รับอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่ายณสถานพยาบาลนั้น
มาตรา ๓๒ ผู้รับอนุญาตต้องแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ณสถานพยาบาลนั้น(๑) ชื่อสถานพยาบาล(๒) รายการเกี่ยวกับผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล(๓) อัตราค่ารักษาพยาบาลค่ายาและเวชภัณฑ์ค่าบริการทางการแพทย์ค่าบริการอื่นและสิทธิของผู้ป่วยที่สถานพยาบาลต้องแสดงตามมาตรา๓๓วรรคหนึ่
มาตรา ๓๓ รัฐมนตรีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการมีอํานาจประกาศกําหนดชนิดหรือประเภทของการรักษาพยาบาลยาและเวชภัณฑ์การบริการทางการแพทย์หรือการบริการอื่นของสถานพยาบาลและสิทธิของผู้ป่วย
มาตรา ๓๔ ให้ผู้ดําเนินการมีหน้าที่และความรับผิดชอบดังต่อไปนี้(๑) ควบคุมและดูแลมิให้ผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลประกอบวิชาชีพผิดไปจากสาขาชั้นหรือแผนที่ผู้รับอนุญาตได้แจ้งไว้ในการขอรับใบอนุญาตหรือมิให้บุคคลอื่นซึ่งมิใช่เป็นผู้ประกอบวิชาชีพทําการประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล(๒) ควบคุมและดูแลให้ผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพของตน(๓) ควบคุมและดูแลมิให้มีการรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนเกินจํานวนเตียงตามที่กําหนดไว้ในใบอนุญาตเว้นแต่กรณีฉุกเฉินซึ่งหากไม่รับไว้อาจเกิดอันตรายแก่ผู้ป่วย(๔) ควบคุมและดูแลสถานพยาบาลให้สะอาดเรียบร้อยปลอดภัยและมีลักษณะอันเหมาะสมแก่การใช้เป็นสถานพยาบาล
มาตรา ๓๕ ให้ผู้รับอนุญาตและผู้ดําเนินการมีหน้าที่และความรับผิดชอบร่วมกันดังนี้(๑) จัดให้มีผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลตามวิชาชีพและจํานวนที่กําหนดในกฎกระทรวงตลอดเวลาทําการ(๒) จัดให้มีเครื่องมือเครื่องใช้ยาและเวชภัณฑ์ที่จําเป็นประจําสถานพยาบาลนั้นตามชนิดที่กําหนดในกฎกระทรวง(๓) จัดให้มีและรายงานหลักฐานเกี่ยวกับผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลและผู้ป่วยและเอกสารอื่นที่เกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กําหนดใน
มาตรา ๓๖ ผู้รับอนุญาตและผู้ดําเนินการของสถานพยาบาลต้องควบคุมและดูแลให้มีการช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ป่วยตามมาตรา๓๓/๑ซึ่งอยู่ในสภาพอันตรายและจําเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลโดยฉุกเฉินเพื่อให้พ้นจากอันตรายตามมาตรฐานวิชาชีพและตามประเภทของสถานพยาบาลนั้นๆ
มาตรา ๓๗ ผู้รับอนุญาตและผู้ดําเนินการต้องควบคุมดูแลมิให้มีการใช้หรือยินยอมให้ผู้อื่นใช้สถานพยาบาลประกอบกิจการสถานพยาบาลผิดประเภทหรือผิดลักษณะการให้บริการตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาต
มาตรา ๓๘ ผู้ใดประสงค์จะโฆษณาหรือประกาศด้วยประการใดๆเกี่ยวกับการประกอบกิจการของสถานพยาบาลนอกจากชื่อและที่ตั้งของสถานพยาบาลตามที่ปรากฏในใบอนุญาตต้องได้รับอนุมัติข้อความเสียงหรือภาพที่ใช้ในการโฆษณาหรือประกาศจากผู้อนุญาตทั้งนี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการเงื่อนไขและค่าใช้จ่ายที่ผู้อนุญาตประกาศกําหนด
มาตรา ๓๙ ในกรณีที่มีการโฆษณาหรือประกาศฝ่าฝืนมาตรา๓๘ผู้อนุญาตม
มาตรา ๔๐ ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตประสงค์จะเปลี่ยนแปลงการประกอบกิจการของสถานพยาบาลให้แตกต่างไปจากที่ระบุไว้ในใบอนุญาตหรือก่อสร้างอาคารขึ้นใหม่หรือดัดแปลงอาคารเกินกว่าที่กําหนดในกฎกระทรวงเพื่อใช้ในการประกอบกิจการสถานพยาบาลให้กระทําได้เมื่อได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาต
มาตรา ๔๑ ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตประสงค์จะย้ายสถานพยาบาลไปประกอบกิจการที่อื่นให้ดําเนินการเสมือนเป็นผู้ขออนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาลใหม่
มาตรา ๔๒ เมื่อมีการเปลี่ยนตัวผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลตามมาตรา๑๘(๔) ผู้รับอนุญาตต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้อนุญาตทราบภายในกําหนดสามสิบวันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนนั้น
1 more item...
มาตรา ๔๔ ผู้รับอนุญาตผู้ใดประสงค์จะเลิกกิจการสถานพยาบาลต้องแจ้งเป็นหนังสือและจัดทํารายงานที่จะปฏิบัติเกี่ยวกับผู้ป่วยให้ผู้อนุญาตทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบห้าวันทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดในกฎกระทรวง
มาตรา๔๕ให้ผู้อนุญาตจัดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจลักษณะของสถานพยาบาลและการประกอบกิจการของสถานพยาบาลให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้โดยสม่ําเสมอในการนี้ถ้าพบว่าสถานพยาบาลตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้ยาและเวชภัณฑ์ของสถานพยาบาลนั้นมีลักษณะที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ที่อยู่ในสถานพยาบาลหรือผู้ที่อยู่ใกล้เคียงกับสถานพยาบาลผู้อนุญาตมีอํานาจออกคําสั่งให้ผู้รับอนุญาตแก้ไขปรับปรุงให้เหมาะสมภายในระยะเวลาที่กําหนดได้
หมวด ๓ พนักงานเจ้าหน้าท
มาตรา ๔๖ ในการปฏิบัติหน้าที่ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจดังต่อไปนี้
(๑) เข้าไปในอาคารสถานที่หรือยานพาหนะที่พนักงานเจ้าหน้าที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นสถานพยาบาลที่ไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้(๒) เข้าไปในสถานพยาบาลในระหว่างเวลาทําการเพื่อตรวจสอบและควบคุมให้การเป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้(๓) มีหนังสือเรียกผู้รับอนุญาตผู้ดําเนินการผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่ของสถานพยาบาลมาให้ถ้อยคําหรือชี้แจงหรือให้ส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องมาเพื่อประกอบการพิจารณา(๔) ยึดหรืออายัดบรรดาเอกสารหรือสิ่งของที่เกี่ยวกับการกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เพื่อเป็นหลักฐานในการดําเนินคดีในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่งให้ผู้รับอนุญาตผู้ดําเนินการผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลเจ้าหน้าที่ของสถานพยาบาลหรือบุคคลซึ่งอยู่ในสถานพยาบาลนั้นอํานวยความสะดวกตามสมควร
มาตรา ๔๗ ในการปฏิบัติหน้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจําตัวบัตรประจําตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่กําหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๔๘ ในการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ให้ผู้อนุญาตและพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
หมวด ๔ การปิดสถานพยาบาลและการเพิกถอนใบอนุญาต
มาตรา ๔๙ เมื่อปรากฏว่าผู้รับอนุญาตหรือผู้ดําเนินการปฏิบัติไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัตินี้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจสั่งให้ผู้รับอนุญาตหรือผู้ดําเนินการแล้วแต่กรณีระงับหรือปฏิบัติให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่เห็นสมควรแต่ทั้งนี้ไม่เป็นเหตุลบล้างความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๕๐ ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตหรือผู้ดําเนินการกระทําการหรือละเว้นกระทําการอย่างใดๆจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายความเสียหายหรือความเดือดร้อนอย่างร้ายแรงแก่ผู้ที่อยู่ในสถานพยาบาลหรือผู้ที่อยู่ใกล้เคียงกับสถานพยาบาลหรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของผู้อนุญาตตามมาตรา๔๕หรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา๔๙ให้ผู้อนุญาตมีอํานาจออกคําสั่งปิดสถานพยาบาลเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะได้ดําเนินการให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กําหนด
มาตรา ๕๑ ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตหรือผู้ดําเนินการขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา๑๗หรือมาตรา๒๕แล้วแต่กรณีหรือถ้าผู้รับอนุญาตหรือผู้ดําเนินการไมดําเนินการให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่ผู้อนุญาตกําหนดตามมาตรา๕๐ให้ผู้อนุญาตโดยคําแนะนําของคณะกรรมการมีอํานาจออกคําสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลได้
มาตรา ๕๒ เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองดูแลผู้ป่วยในสถานพยาบาลในกรณีที่(๑) ผู้รับอนุญาตตายและไม่มีผู้แสดงความจํานงเพื่อขอประกอบกิจการหรือผู้แสดงความจํานงนั้นขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามทั้งนี้ตามที่บัญญัติในมาตรา๒๒(๒) ผู้อนุญาตมีคําสั่งปิดสถานพยาบาลเป็นการชั่วคราวตามมาตรา๕๐หรือมีคําสั่งเพิกถอนใบอนุญาตตามมาตรา๕๑
มาตรา ๕๓ คําสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา๔๙หรือของผู้อนุญาตตามมาตรา๕๐หรือมาตรา๕๑ให้ทําเป็นหนังสือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนให้ผู้รับอนุญาตหรือผู้ดําเนินการณภูมิลําเนาของผู้นั้นแล้วแต่กรณีถ้าไม่พบตัวหรือไม่ยอมรับคําสั่งดังกล่าวให้จัดการปิดคําสั่งไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่ายณสถานพยาบาลและให้ถือว่าผู้นั้นได้ทราบคําสั่งนั้นแล้วตั้งแต่วันที่ปิดคําสั่ง
มาตรา ๕๔ ผู้ใดถูกเพิกถอนใบอนุญาตแล้วจะขอรับใบอนุญาตใหม่อีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกําหนดสองปีนับแต่วันที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต
มาตรา ๕๕ คําสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา๔๙หรือของผู้อนุญาตตามมาตรา๕๐หรือมาตรา๕๑ผู้ที่ได้รับคําสั่งมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคําสั่ง
หมวด ๕ บทกําหนดโทษ
มาตรา ๕๖ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการตามมาตรา๑๓ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินสองพันบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๕๗ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา๑๖วรรคหนึ่งหรือมาตรา๒๔วรรคหนึ่งต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจําทั้งปรับและศาลจะสั่งริบบรรดาสิ่งของที่ใช้ในการประกอบกิจการสถานพยาบาลด้วยก็ได
มาตรา ๕๘ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของผู้อนุญาตตามมาตรา๓๙หรือมาตรา๔๕หรือคําสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา๔๙ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรั
มาตรา ๕๙ ผู้รับอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา๒๑มาตรา๓๑มาตรา๓๒มาตรา๔๐หรือมาตรา๔๓ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา ๖๐ ผู้รับอนุญาตผู้ใดประกอบกิจการสถานพยาบาลโดยมิได้จัดให้มีผู้ดําเนินการตามมาตรา๒๓ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๖๑ ผู้ใดมีหน้าที่ต้องแจ้งให้ผู้อนุญาตทราบแต่ไม่แจ้งภายในกําหนดเวลาตามมาตรา๒๖มาตรา๓๐มาตรา๔๒หรือมาตรา๔๔วรรคหนึ่งต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา ๖๒ ผู้รับอนุญาตผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา๓๓วรรคสองต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๖๓ ผู้ดําเนินการผู้ใดไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามมาตรา๓๔ (๑) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๖๔ ผู้ดําเนินการผู้ใดไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามมาตรา๓๔ (๓) หรือ (๔) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา ๖๕ ผู้รับอนุญาตหรือผู้ดําเนินการผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา๓๔(๒) หรือมาตรา๓๕ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๖๖ ผู้รับอนุญาตหรือผู้ดําเนินการผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา๓๖ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๖๗ ผู้รับอนุญาตหรือผู้ดําเนินการผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา๓๗ต้องระวางโทษปรับ
มาตรา ๖๘ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา๓๘วรรคหนึ่งต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาทและให้ปรับอีกวันละไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทนับแต่วันที่ฝ่าฝืนคําสั่งที่ให้ระงับการโฆษณาหรือประกาศทั้งนี้จนกว่าจะระงับการโฆษณาหรือประกาศดังกล่าว
มาตรา ๖๙ ผู้รับอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของผู้อนุญาตตามมาตรา๔๔วรรคสองต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๗๐ ผู้รับอนุญาตผู้ดําเนินการผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลเจ้าหน้าที่ของสถานพยาบาลหรือบุคคลซึ่งอยู่ในสถานพยาบาลผู้ใดไม่อํานวยความสะดวกให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ตามมาตรา๔๖ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท
มาตรา ๗๑ ผู้ใดประกอบกิจการสถานพยาบาลในระหว่างที่สถานพยาบาลนั้นถูกสั่งปิดชั่วคราวตามมาตรา๕๐ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับและให้ปรับอีกวันละไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน
มาตรา ๗๒ ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อํานวยความสะดวกให้แก่คณะกรรมการในการดําเนินการตามมาตรา๕๒ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินสองพันบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๗๓ ผู้รับอนุญาตผู้ดําเนินการผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่ของสถานพยาบาลผู้ใดจัดทําหรือยินยอมให้ผู้อื่นจัดทําหลักฐานเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลและค่าบริการเอกสารแสดงการตรวจโรคเอกสารแสดงผลการรักษาพยาบาลของสถานพยาบาลหรือเอกสารกรณีอื่นอันเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลอันเป็นเท็จต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๗๔ ในกรณีที่ผู้กระทําความผิดเป็นนิติบุคคลถ้าการกระทําความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทําของกรรมการหรือผู้จัดการหรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดําเนินงานของนิติบุคคลนั้นหรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทําการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทําการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทําความผิดผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สําหรับความผิดนั้นๆด้วย
มาตรา๗๕ให้มีคณะกรรมการเปรียบเทียบคดี
(๑) ในเขตกรุงเทพมหานคร
(๒) ในเขตจังหวัดอื่น
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๗๖ ใบอนุญาตให้ตั้งสถานพยาบาลและใบอนุญาตให้ดําเนินการสถานพยาบาลที่ออกตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาลพ.ศ. ๒๕๐๔ให้ถือว่าเป็นใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลหรือใบอนุญาตให้ดําเนินการสถานพยาบาลที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้และให้ใช้ได้จนถึงวันสิ้นปีปฏิทินของปีที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ
มาตรา ๗๗ บรรดากฎกระทรวงหรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาลพ.ศ. ๒๕๐๔และยังใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ทั้งนี้จนกว่าจะมีกฎกระทรวงหรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้
5.4 พระราชบัญญัติโรคติดต่อพ.ศ. ๒๕๕๘
หมวด ๑ บททั่วไป
มาตรา ๖ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อให้รัฐมนตรีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการมีอํานาจประกาศกําหนดดังต่อไปนี้(๑) ชื่อและอาการสําคัญของโรคติดต่ออันตรายและโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง(๒) ช่องทางเข้าออกแห่งใดในราชอาณาจักรให้เป็นด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศและยกเลิกด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ(๓) การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคมาตรา๗เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อให้รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการมีอํานาจประกาศกําหนดดังต่อไปนี้(๑) หลักเกณฑ์และวิธีการแจ้งในกรณีที่มีโรคติดต่ออันตรายโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังหรือโรคระบาดเกิดขึ้น(๒) หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขในการดําเนินการหรือออกคําสั่งและการสอบสวนโรค(๓) หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการกําหนดค่าใช้จ่ายสําหรับเจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะ(๔) หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่ผู้เดินทางต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย
มาตรา ๘ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดที่อาจจะเข้ามาภายในราชอาณาจักรให้รัฐมนตรีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการด้านวิชาการมีอํานาจประกาศให้ท้องที่หรือเมืองท่าใดนอกราชอาณาจักรเป็นเขตติดโรคและยกเลิกประกาศเมื่อสภาวการณ์ของโรคนั้นสงบลงหรือกรณีมีเหตุอันสมควร
มาตรา ๙ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและควบคุมโรคระบาดให้อธิบดีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการด้านวิชาการมีอํานาจประกาศชื่ออาการสําคัญและสถานที่ที่มีโรคระบาดและแจ้งให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา๓๔ทราบรวมทั้งประกาศยกเลิกเมื่อสภาวการณ์ของโรคนั้นสงบลงหรือกรณีมีเหตุอันสมควร
มาตรา ๑๐ ในกรณีที่ข้อมูลจากการเฝ้าระวังการสอบสวนโรคหรือการแจ้งหรือรายงานตามพระราชบัญญัตินี้ซึ่งมีการพาดพิงถึงตัวบุคคลทั้งที่ระบุตัวได้หรือไม่สามารถระบุตัวได้จะต้องเก็บเป็นความลับและประมวลผลโดยไม่เปิดเผยชื่อทั้งนี้การประมวลผลดังกล่าวจะต้องเหมาะสมและตรงกับวัตถุประสงค์ในการป้องกันและควบคุมโรค
หมวด ๒ คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาต
มาตรา ๑๑ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ” ประกอบด้วย(๑) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานกรรมการ(๒) ปลัดกระทรวงกลาโหมปลัดกระทรวงการต่างประเทศปลัดกระทรวงคมนาคมปลัดกระทรวงมหาดไทยปลัดกระทรวงแรงงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการปลัดกระทรวงสาธารณสุขเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติอธิบดีกรมการแพทย์อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์อธิบดีกรมปศุสัตว์อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอธิบดีกรมอนามัยอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชและปลัดกรุงเทพมหานครเป็นกรรมการ(๓) กรรมการซึ่งมาจากผู้แทนแพทยสภาผู้แทนสภาการพยาบาลผู้แทนสภาเทคนิคการแพทย์และผู้แทนสมาคมโรงพยาบาลเอกชนจํานวนแห่งละหนึ่งคน(๔) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์ในด้านการสาธารณสุขการควบคุมโรคและด้านอื่นที่เป็นประโยชน์ในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อจํานวนสี่คนโดยในจํานวนนี้ต้องแต่งตั้งจากองค์กรพัฒนาเอกชนซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่มิใช่เป็นการแสวงหาผลกําไรและดําเนินกิจกรรมด้านการสาธารณสุขอย่างน้อยหนึ่งคน
มาตรา ๑๒ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละสามปีในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่งก่อนครบวาระให้รัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านเดียวกันแทนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พ้นจากตําแหน่งและให้ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งแทนอยู่ในตําแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งตนแทนเว้นแต่วาระของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจะเหลืออยู่ไม่ถึงเก้าสิบวันรัฐมนตรีจะไม่ดําเนินการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนก็ได้และในการนี้ให้คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการเท่าที่เหลืออยู่
มาตรา ๑๓ นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย(๒) ลาออก(๓) รัฐมนตรีให้ออกเพราะมีพฤติกรรมเสื่อมเสียบกพร่องหรือไม่สุจริตต่อหน้าที่หรือหย่อนความสามารถ(๔) เป็นบุคคลล้มละลาย(๕) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ(๖) ได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกเว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
มาตรา ๑๔ ให้คณะกรรมการมีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) กําหนดนโยบายวางระบบและแนวทางปฏิบัติในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อเพื่อให้หน่วยงานของรัฐคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดและคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครดําเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้(๒) พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อหรือโรคระบาดและเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ(๓) เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีในการออกกฎกระทรวงระเบียบประกาศและแนวทางปฏิบัติเพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้(๔) ให้คําปรึกษาแนะนําและประสานงานแก่หน่วยงานของรัฐและเอกชนเกี่ยวกับการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ(๕) ติดตามประเมินผลและตรวจสอบการดําเนินงานของหน่วยงานของรัฐคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดและคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครเพื่อให้ปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อหรือโรคระบาดที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบตาม (๒) (๖) พิจารณาให้ความเห็นชอบหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการเบิกจ่ายค่าชดเชยค่าทดแทนค่าตอบแทนหรือค่าใช้จ่ายอื่นที่จําเป็นในการดําเนินการเฝ้าระวังการสอบสวนโรคการป้องกันหรือการควบคุมโรคติดต่อ(๗) แต่งตั้งคณะกรรมการด้านวิชาการหรือคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้(๘) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่พระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นบัญญัติให้เป็นอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการหรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
มาตรา ๑๕ การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่จึงเป็นองค์ประชุม
มาตรา ๑๖ ให้มีคณะกรรมการด้านวิชาการคณะหนึ่งประกอบด้วยประธานกรรมการซึ่งแต่งตั้งจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา๑๑ (๔) และให้มีกรรมการซึ่งแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ด้านโรคติดต่ออีกจํานวนไม่เกินเจ็ดคน
มาตรา ๑๗ ให้นําความในมาตรา๑๕มาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะกรรมการด้านวิชาการและคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม
มาตรา ๑๘ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ให้คณะกรรมการคณะกรรมการด้านวิชาการและคณะอนุกรรมการมีอํานาจออกคําสั่งเป็นหนังสือเรียกให้บุคคลใดๆ
มาตรา ๑๙ ให้กรมควบคุมโรคเป็นสํานักงานเลขานุการของคณะกรรมการคณะกรรมการด้านวิชาการและคณะอนุกรรมการรับผิดชอบงานธุรการ
หมวด ๓ คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด
มาตรา ๒๐ ให้มีคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดประกอบด้วย(๑) ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานกรรมการ(๒) ปลัดจังหวัดประชาสัมพันธ์จังหวัดปศุสัตว์จังหวัดหัวหน้าสํานักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดผู้อํานวยการสํานักงานป้องกันควบคุมโรคที่รับผิดชอบในเขตจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นกรรมการ(๓) นายกเทศมนตรีจํานวนหนึ่งคนและนายกองค์การบริหารส่วนตําบลจํานวนหนึ่งคนซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งเป็นกรรมการ(๔) ผู้อํานวยการโรงพยาบาลศูนย์หรือผู้อํานวยการโรงพยาบาลทั่วไปจํานวนหนึ่งคนผู้อํานวยการโรงพยาบาลชุมชนจํานวนสองคนและสาธารณสุขอําเภอจํานวนสองคนซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัด(๕) ผู้ดําเนินการสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลจํานวนหนึ่งคนซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งเป็นกรรมการแต่งตั้งเป็นกรรมการ
มาตรา ๒๑ การแต่งตั้งวาระการดํารงตําแหน่งและการพ้นจากตําแหน่งของกรรมการตามมาตรา๒๐ (๓) (๔) และ (๕) และกรรมการตามมาตรา๒๐วรรคสองให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการประกาศกําหนด
มาตรา๒๒ให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดมีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้(๑) ดําเนินการตามนโยบายระบบและแนวทางปฏิบัติในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่คณะกรรมการกําหนด(๒) จัดทําแผนปฏิบัติการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่ออันตรายโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังหรือโรคระบาดในเขตพื้นที่จังหวัด(๓) รายงานสถานการณ์โรคติดต่อหรือโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่อาจเป็นโรคระบาดซึ่งเกิดขึ้นในเขตพื้นที่จังหวัดต่ออธิบดี(๔) สนับสนุนส่งเสริมติดตามและประเมินผลการปฏิบัติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในจังหวัดแล้วรายงานต่อคณะกรรมการ(๕) แต่งตั้งคณะทํางานประจําช่องทางเข้าออกตามมาตรา๒๓ในกรณีที่จังหวัดนั้นมีด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ(๖) เรียกให้บุคคลใดๆมาให้ข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นหรือให้จัดส่งข้อมูลหรือเอกสารใดๆที่จําเป็นหรือข้อคิดเห็นมาเพื่อใช้ประกอบการพิจารณา(๗) ดําเนินการอื่นใดที่เกี่ยวกับการควบคุมโรคติดต่อตามที่คณะกรรมการหรือผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายหรือตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติ
มาตรา ๒๓ คณะทํางานประจําช่องทางเข้าออกประกอบด้วย(๑) เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบช่องทางเข้าออกนั้นเป็นประธานคณะทํางาน(๒) ผู้แทนกรมปศุสัตว์ผู้แทนกรมวิชาการเกษตรผู้แทนกรมศุลกากรผู้แทนสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาและผู้แทนสํานักงานตรวจคนเข้าเมืองผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในช่องทางเข้าออกนั้นเป็นคณะทํางาน(๓) ผู้อํานวยการโรงพยาบาลในสังกัดหน่วยงานของรัฐที่ดูแลรับผิดชอบช่องทางเข้าออกนั้นเป็นคณะทํางาน(๔) เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อซึ่งประจําด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศจํานวนหนึ่งคนเป็นคณะทํางานและเลขานุการในกรณีที่ช่องทางเข้าออกใดมีผู้แทนจากหน่วยงานของรัฐปฏิบัติหน้าที่ในช่องทางเข้าออกน้อยกว่าหน่วยงานตามที่กําหนดไว้ใน (๒) ในการนี้ให้คณะทํางานประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานเท่าที่มีอย
มาตรา ๒๔ ให้คณะทํางานประจําช่องทางเข้าออกมีอํานาจหน้าที่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบดังต่อไปนี้(๑) จัดทําแผนปฏิบัติการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศและแผนเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข(๒) ประสานสนับสนุนและติดตามประเมินผลการดําเนินงานตามแผนใน (๑) (๓) จัดทําแผนการติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ(๔) ดําเนินการอื่นใดที่เกี่ยวกับการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อตามที่คณะกรรมการหรือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดมอบหมาย
มาตรา ๒๕ ให้นําความในมาตรา๑๕มาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดและคณะทํางานประจําช่องทางเข้าออกโดยอนุโลม
หมวด ๔ คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๒๖ ให้มีคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๒๗ การแต่งตั้งวาระการดํารงตําแหน่งและการพ้นจากตําแหน่งของกรรมการตามมาตรา๒๖ (๓) (๔) และ (๕) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการประกาศกําหนด
มาตรา ๒๘ ให้คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครมีอํานาจหน้าที่
มาตรา ๒๙ ให้นําความในมาตรา๑๕มาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครและคณะทํางานประจําช่องทางเข้าออกโดยอนุโลม
มาตรา ๓๐ ให้นําความในมาตรา๒๓และมาตรา๒๔มาใช้บังคับแก่องค์ประกอบและอํานาจหน้าที่ของคณะทํางานประจําช่องทางเข้าออกที่คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครแต่งตั้งโดยอนุโลม
หมวด ๕ การเฝ้าระวังโรคติดต่อ
มาตรา ๓๑ ในกรณีที่มีโรคติดต่ออันตรายโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังหรือโรคระบาดเกิดขึ้นให้บุคคลดังต่อไปนี้แจ้งต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ
มาตรา ๓๒ เมื่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อได้รับแจ้งตามมาตรา๓๑ว่ามีเหตุสงสัยมีข้อมูลหรือหลักฐานว่ามีโรคติดต่ออันตรายโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังหรือโรคระบาดให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อแจ้งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดหรือคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครแล้วแต่กรณีและรายงานข้อมูลนั้นให้กรมควบคุมโรคทราบโดยเร็ว
มาตรา ๓๓ ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีโรคติดต่ออันตรายโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังหรือโรคระบาดเกิดขึ้นในต่างประเทศให้กรมควบคุมโรคประสานงานไปยังองค์การอนามัยโลกเพื่อขอข้อมูลเกี่ยวกับโรคดังกล่าว
หมวด ๖ การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
มาตรา ๓๔ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อเมื่อเกิดโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดหรือมีเหตุสงสัยว่าได้เกิดโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดในเขตพื้นที่ใดให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่นั้นมีอํานาจที่จะดําเนินการเองหรือออกคําสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ใดดําเนินการ
มาตรา ๓๕ ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นเร่งด่วนเพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ของโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดหรือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครมีอํานาจในพื้นที่ความรับผิดชอบของตน
มาตรา ๓๖ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดหรือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครแล้วแต่กรณีจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อขึ้นในทุกอําเภอหรือทุกเขตอย่างน้อยหนึ่งหน่วยเพื่อทําหน้าที่ในการเฝ้าระวังสอบสวนโรคป้องกันและควบคุมโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดทั้งนี้หลักเกณฑ์การจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการประกาศกําหนด
มาตรา ๓๗ ให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบช่องทางเข้าออกปฏิบัติตามวิธีการเพื่อการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศในบริเวณช่องทางเข้าออก
มาตรา ๓๘ เมื่อมีเหตุอันสมควรให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจําด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศมีอํานาจตรวจตราควบคุมกํากับดูแลในพื้นที่นอกช่องทางเข้าออกและแจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นดําเนินการกําจัดยุงและพาหะนําโรคในบริเวณรัศมีสี่ร้อยเมตรรอบช่องทางเข้าออกในการนี้ให้เจ้าของหรือผู้อยู่ในบ้านโรงเรือนหรือสถานที่ในบริเวณดังกล่าวอํานวยความสะดวกแก่เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจําด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศและเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามสมควร
มาตรา ๓๙ ในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศเมื่อมีเหตุอันสมควรหรือมีเหตุสงสัยว่าพาหนะนั้นมาจากท้องที่หรือเมืองท่าใดนอกราชอาณาจักรที่มีโรคระบาดให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจําด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศมีอํานาจหน้าที
มาตรา ๔๐ เมื่อรัฐมนตรีประกาศให้ท้องที่หรือเมืองท่าใดนอกราชอาณาจักรเป็นเขตติดโรคตามมาตรา๘ให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจําด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศมีอํานาจดําเนินการเองหรือออกคําสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะที่เข้ามาในราชอาณาจักรจากท้องที่หรือเมืองท่านั้น
มาตรา ๔๑ ให้เจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการขนส่งผู้เดินทางซึ่งมากับพาหนะนั้นเพื่อแยกกักกักกันคุมไว้สังเกตหรือรับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคตลอดทั้งออกค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูการรักษาพยาบาลการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศตามมาตรา๔๐และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
มาตรา ๔๒ ในกรณีที่พบว่าผู้เดินทางเป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดต่ออันตรายโรคระบาดหรือพาหะนําโรคให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจําด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศมีอํานาจสั่งให้บุคคลดังกล่าวถูกแยกกักกักกันคุมไว้สังเกตหรือได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
มาตรา ๔๓ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันโรคติดต่อระหว่างประเทศหรือโรคระบาดให้อธิบดีหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายมีอํานาจออกหนังสือรับรองการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคหรือการได้รับยาป้องกันโรคติดต่อระหว่างประเทศหรือหนังสือรับรองอื่นๆให้แก่ผู้ร้องขอโดยผู้ร้องขอเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย
มาตรา ๔๔ ในกรณีที่เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อได้ออกคําสั่งให้ผู้ใดดําเนินการตามมาตรา๓๔ (๓) (๔) หรือ (๕) มาตรา๓๘มาตรา๓๙ (๔) หรือมาตรา๔๐ (๑) (๒) หรือ (๓) แล้วผู้นั้นละเลยไม่ดําเนินการตามคําสั่งภายในเวลาที่กําหนดเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อมีอํานาจดําเนินการแทนได้โดยให้ผู้นั้นชดใช้ค่าใช้จ่ายในการดําเนินการนั้นตามจํานวนที่จ่ายจริงทั้งนี้ตามระเบียบที่กระทรวงสาธารณสุขกําหนด
หมวด ๗ เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่
มาตรา ๔๕ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อมีอํานาจดังต่อไปนี้(๑) มีหนังสือเรียกบุคคลใดๆมาให้ถ้อยคําหรือแจ้งข้อเท็จจริงหรือทําคําชี้แจงเป็นหนังสือหรือให้ส่งเอกสารหรือหลักฐานใดเพื่อตรวจสอบหรือเพื่อใช้ประกอบการพิจารณา(๒) เข้าไปในพาหนะอาคารหรือสถานที่ใดๆในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกหรือในเวลาทําการของอาคารหรือสถานที่นั้นเพื่อตรวจสอบหรือควบคุมให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้และหากยังดําเนินการไม่แล้วเสร็จในเวลาดังกล่าวให้สามารถดําเนินการต่อไปได้จนกว่าจะแล้วเสร็จการดําเนินการตาม (๒) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีกําหนดในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตาม (๒) ให้บุคคลที่เกี่ยวข้องอํานวยความสะดวกตามสมควร
มาตรา ๔๖ ให้มีเครื่องแบบเครื่องหมายและบัตรประจําตัวสําหรับเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อเพื่อแสดงตัวขณะปฏิบัติหน้าที่ต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง
มาตรา ๔๗ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
หมวด ๘ ค่าทดแทน
มาตรา ๔๘ ในการดําเนินการของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามพระราชบัญญัตินี้หากเกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของบุคคลใดจากการเฝ้าระวังการป้องกันหรือการควบคุมโรคให้ทางราชการชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นให้แก่ผู้นั้นตามความจําเป็นการชดเชยความเสียหายตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวง
หมวด ๙ บทกําหนดโทษ
มาตรา ๔๙ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของคณะกรรมการคณะกรรมการด้านวิชาการหรือคณะอนุกรรมการตามมาตรา๑๘หรือคําสั่งของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดตามมาตรา๒๒(๖) หรือคําสั่งของคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครตามมาตรา๒๘ (๖) หรือคําสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา๔๕ (๑) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๕๐ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการแจ้งตามมาตรา๓๑ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
มาตรา ๕๑ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา๓๔ (๑) (๒) (๕) หรือ (๖) มาตรา๓๙ (๑) (๒) (๓) หรือ (๕) มาตรา๔๐ (๕) หรือไม่อํานวยความสะดวกแก่เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา๓๙ (๔) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
มาตรา ๕๒ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา๓๔ (๓) (๔) (๗) หรือ (๘) หรือมาตรา๔๐ (๓) หรือ (๔) หรือผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตามมาตรา๓๕ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๕๓ ผู้ใดไม่อํานวยความสะดวกแก่เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา๓๘ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
มาตรา ๕๔ เจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา๔๐ (๒) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินห้าแสนบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๕๕ ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อํานวยความสะดวกแก่เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา๔๕วรรคสามต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
มาตรา ๕๖ ผู้ใดไม่มีสิทธิที่จะสวมเครื่องแบบหรือประดับเครื่องหมายของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา๔๖กระทําการเช่นนั้นเพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าตนมีสิทธิต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๕๗ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีโทษปรับสถานเดียวหรือมีโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปีให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอํานาจเปรียบเทียบได้ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์การเปรียบเทียบที่คณะกรรมการกําหนด
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๕๘ ให้เจ้าพนักงานสาธารณสุขตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อพ.ศ. ๒๕๒๓เป็นเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะมีการแต่งตั้งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๕๙ ในวาระเริ่มแรกให้คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการตามมาตรา๑๑ยกเว้นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา๑๑ (๔) ปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการตามพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อนจนกว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามพระราชบัญญัตินี้ทั้งนี้ต้องไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๖๐ บรรดากฎกระทรวงระเบียบประกาศหรือคําสั่งใดที่ออกตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อพ.ศ. ๒๕๒๓ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้ใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะมีกฎกระทรวงระเบียบหรือประกาศตามพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
5.5 พระรําชบัญญัติยํา พ.ศ. ๒๕๑๐
หมวด ๑ คณะกรรมกํารยํา
หมวด ๒ กํารขออนุญําตและออกใบอนุญําตเกี่ยวกับยําแผนปัจจุบั
หมวด ๓ หน้ําที่ของผู้รับอนุญําตเกี่ยวกับยําแผนปัจจุบัน
หมวด ๔ หน้ําที่ของเภสัชกร ผู้ประกอบวิชําชีพเวชกรรม ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันชั้นหนึ่งในสําขําทันตกรรม กํารผดุงครรภ์หรือกํารพยําบําลหรือผู้ประกอบกํารบ ําบัดโรคสัตว์
หมวด ๕ กํารขออนุญําตและออกใบอนุญําตเกี่ยวกับยําแผนโบรําณ
หมวด ๖ หน้ําที่ของผู้รับอนุญําตเกี่ยวกับยําแผนโบรําณ
หมวด ๗หน้ําที่ของผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบรําณ
หมวด ๘ ยาปลอม ยาผิดมําตรฐาน ยาเสื่อมคุณภาพ
หมวด ๙ การประกาศเกี่ยวกับยา
หมวด ๙ การประกาศเกี่ยวกับยา
หมวด ๑๑ การโฆษณา
หมวด ๑๒ พนักงานเจ้าหน้าที่
หมวด ๑๓ การพักใช้ใบอนุญาตและการเพิกถอนใบอนุญาต
หมวด ๑๔บทกําหนดโทษ
5.6 พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ. ๒๕๕๙
หมวด ๑ คณะกรรมการวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
หมวด ๒ การขออนุญาตและการออกใบอนุญาตเกี่ยวกับวัตถุออกฤทธิ์
หมวด ๓ หน้าที่ของผู้รับอนุญาต
หมวด ๔ หน้าที่ของเภสัชกร
หมวด ๕ วัตถุออกฤทธิ์ที่ห้ามผลิตขายนําเข้าหรือส่งออก
หมวด ๖ การขึ้นทะเบียนวัตถุตํารับ
หมวด ๗ การโฆษณา
หมวด ๘ พนักงานเจ้าหน้าที่
หมวด ๙ การพักใช้ใบอนุญาตและการเพิกถอนใบอนุญาต
หมวด ๑๐ มาตรการควบคุมพิเศษ
หมวด ๑๑ การค้าระหว่างประเทศ
หมวด ๑๒ บทกําหนดโทษ
5.7 พระราชบัญญัติเครื่องสําอางพ.ศ. ๒๕๕๘
หมวด ๑ คณะกรรมการเครื่องสําอาง
หมวด ๒ การจดแจ้งและการรับจดแจ้งเครื่องสําอาง
หมวด ๓ ฉลากเครื่องสําอาง
หมวด ๔ การควบคุมเครื่องสําอาง
หมวด ๕ การเพิกถอนใบรับจดแจ้งเครื่องสําอาง
หมวดที่ ๖ การโฆษณา
หมวด ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่
หมวด ๘ การอุทธรณ์
หมวด ๙ บทกําหนดโทษ
5.8 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคพ.ศ. ๒๕๒๒
มวด ๑ คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
หมวด ๒ การคุ้มครองผู้บริโภค
ส่วนที่ ๑ การคุ้มครองผู้บริโภคในด้านการโฆษณา
ส่วนที่ ๒ การคุ้มครองผู้บริโภคในด้านฉลาก
ส่วนที่ ๒ ทวิ การคุ้มครองผู้บริโภคในด้านสัญญา
ส่วนที่ ๓ การคุ้มครองผู้บริโภคโดยประการอื่
หมวด ๓ การอุทธรณ
หมวด ๔ บทกําหนดโทษ
5.9 พระราชบัญญัติสุขภาพจิตพ.ศ. ๒๕๕๑
หมวด ๑ คณะกรรมการ
ส่วนที่ ๑ คณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาต
ส่วนที่ ๒ คณะกรรมการสถานบําบัดรักษา
หมวด ๒ สิทธิผู้ป่วย
หมวด ๓ การบําบัดรักษาทางสุขภาพจิต
ส่วนที่ ๑ ผู้ป่วย
ส่วนที่ ๒ ผู้ป่วยคด
ส่วนที่ ๓ การฟื้นฟูสมรรถภาพ
หมวด ๔ การอุทธรณ์
หมวด ๕ พนักงานเจ้าหน้าที่
หมวด ๖ บทกําหนดโทษ