Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
5.4พระราชบัญญัติ โรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘, นางสาวภัทชราภรณ์ ป๊กคำ 6001210668…
5.4พระราชบัญญัติ โรคติดต่อ
พ.ศ. ๒๕๕๘
หมวด ๑บททั่วไป
มาตรา ๖ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ ให้รัฐมนตรีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการมีอํานาจประกาศกําหนด ดังต่อไปนี้
การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
ช่องทางเข้าออกแห่งใดในราชอาณาจักรให้เป็นด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศและยกเลิกด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ
ชื่อและอาการสําคัญของโรคติดต่ออันตรายและโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง
มาตรา ๗ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ ให้รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการมีอํานาจประกาศกําหนด ดังต่อไปนี้
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการดําเนินการหรือออกคําสั่ง และการสอบสวนโรค
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการกําหนดค่าใช้จ่ายสําหรับเจ้าของพาหนะ
หรือผู้ควบคุมพาหนะ
หลักเกณฑ์และวิธีการแจ้งในกรณีที่มีโรคติดต่ออันตราย โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังหรือโรคระบาดเกิดขึ้น
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ผู้เดินทางต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย
มาตรา ๘ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดที่อาจจะเข้ามาภายในราชอาณาจักร
มาตรา ๙ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและควบคุมโรคระบาด ให้อธิบดีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการด้านวิชาการมีอํานาจประกาศชื่อ อาการสําคัญ และสถานที่ที่มีโรคระบาด
มาตรา ๑๐ ในกรณีที่ข้อมูลจากการเฝ้าระวัง การสอบสวนโรค หรือการแจ้งหรือรายงาน
ตามพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งมีการพาดพิงถึงตัวบุคคลทั้งที่ระบุตัวได้หรือไม่สามารถระบุตัวได้ จะต้องเก็บเป็นความลับและประมวลผลโดยไม่เปิดเผยชื่อ
หมวด ๒
คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ
มาตรา ๑๑ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ”ประกอบด้วย
ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ปลัดกระทรวงคมนาคมปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงแรงงาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นต้น
กรรมการซึ่งมาจากผู้แทนแพทยสภา ผู้แทนสภาการพยาบาล ผู้แทนสภาเทคนิคการแพทย์และผู้แทนสมาคมโรงพยาบาลเอกชน จํานวนแห่งละหนึ่งคน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานกรรมการ
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์ในด้านการสาธารณสุข การควบคุมโรค
มาตรา ๑๒ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละสามปี
มาตรา ๑๓ นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่งเมื่อ
รัฐมนตรีให้ออก เพราะมีพฤติกรรมเสื่อมเสีย บกพร่องหรือไม่สุจริตต่อหน้าที่ หรือหย่อนความสามารถ
เป็นบุคคลล้มละลาย
ลาออก
เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
ตาย
ได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
มาตรา ๑๔ ให้คณะกรรมการมีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีในการออกกฎกระทรวง ระเบียบ ประกาศและแนวทางปฏิบัติเพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัติน
ให้คําปรึกษา แนะนํา และประสานงานแก่หน่วยงานของรัฐและเอกชนเกี่ยวกับการเฝ้าระวังป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ
พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อหรือโรคระบาด และเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ**
ติดตาม ประเมินผล และตรวจสอบการดําเนินงานของหน่วยงานของรัฐ คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด และคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร พื่อให้ปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง
ป้องกัน
กําหนดนโยบาย วางระบบ และแนวทางปฏิบัติในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อเพื่อให้หน่วยงานของรัฐ
พิจารณาให้ความเห็นชอบหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการเบิกจ่ายค่าชดเชย ค่าทดแทน ค่าตอบแทน หรือค่าใช้จ่ายอื่นที่จําเป็นในการดําเนินการเฝ้าระวัง
แต่งตั้งคณะกรรมการด้านวิชาการหรือคณะอนุกรรมการ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติน
ปฏิบัติการอื่นใดตามที่พระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นบัญญัติให้เป็นอํานาจหน้าที่ข้องคณะกรรมการ หรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
มาตรา ๑๕ การประชุมของคณะกรรมการ ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ จึงเป็นองค์ประชุม
มาตรา ๑๖ ให้มีคณะกรรมการด้านวิชาการคณะหนึ่ง ประกอบด้วยประธานกรรมการซึ่งแต่งตั้งจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๑และให้มีกรรมการซึ่งแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ด้านโรคติดต่อ อีกจํานวนไม่เกินเจ็ดคน
ให้คําแนะนําแก่อธิบดีในการประกาศโรคระบาด
ให้คําแนะนําแก่รัฐมนตรีหรืออธิบดีในการประกาศยกเลิกเมื่อสภาวการณ์ของโรคตาม
ให้คําแนะนําแก่รัฐมนตรีในการประกาศเขตติดโรค
ปฏิบัติการตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
มาตรา ๑๗ ให้นําความในมาตรา ๑๕ มาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะกรรมการด้านวิชาการและคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม
มาตรา ๑๘ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ให้คณะกรรมการ คณะกรรมการด้านวิชาการ และคณะอนุกรรมการมีอํานาจออกคําสั่งเป็นหนังสือเรียกให้บุคคลใดๆ
มาตรา ๑๙ ให้กรมควบคุมโรคเป็นสํานักงานเลขานุการของคณะกรรมการ คณะกรรมการด้านวิชาการ และคณะอนุกรรมการ รับผิดชอบงานธุรการ โดยให้มีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
จัดทําระบบในการเฝ้าระวังโรคติดต่ออันตราย โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง และโรคระบาดเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการ
จัดทําแผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อหรือโรคระบาดเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการ
เป็นหน่วยงานกลางในการดําเนินการเกี่ยวกับการพิจารณาเสนอนโยบาย และวางระบบในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ
เป็นศูนย์ข้อมูลกลางในการประชาสัมพันธ์หรือเผยแพร่ข้อมูลและข่าวสารเกี่ยวกับการเฝ้าระวัง
การป้องกัน และการควบคุมสภาวการณ์ของโรคติดต่อและโรคระบาด
เป็นหน่วยงานประสานงานในการติดตาม ประเมินผล และตรวจสอบการดําเนินการของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด
ปฏิบัติการ ประสานการปฏิบัติ ให้การสนับสนุนและช่วยเหลือหน่วยงานของรัฐและเอกชนให้เกิดการปฏิบัติการตามนโยบายและแผนการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ
ส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานทางด้านวิชาการ เวชภัณฑ์และวัสดุอุปกรณ์ในการเฝ้าระวังป้องกัน ควบคุม หรือวินิจฉัย เกี่ยวกับโรคติดต่อ
ฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการ คณะกรรมการด้านวิชาการ หรือคณะอนุกรรมการมอบหมาย
หมวด ๓
คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด
มาตรา ๒๐ ให้มีคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด ประกอบด้วย
นายกเทศมนตรี จํานวนหนึ่งคน และนายกองค์การบริหารส่วนตําบล จํานวนหนึ่งคน
ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง เป็นกรรมการ
ผู้อํานวยการโรงพยาบาลศูนย์หรือผู้อํานวยการโรงพยาบาลทั่วไป จํานวนหนึ่งคน ผู้อํานวยการโรงพยาบาลชุมชน จํานวนสองคน และสาธารณสุขอําเภอ จํานวนสองคน
ปลัดจังหวัด ประชาสัมพันธ์จังหวัด ปศุสัตว์จังหวัด หัวหน้าสํานักงานป้องกันและบรรเทา
สาธารณภัยจังหวัด
ผู้ดําเนินการสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล จํานวนหนึ่งคน ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง เป็นกรรมการ
ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานกรรมการ
มาตรา ๒๑ การแต่งตั้ง วาระการดํารงตําแหน่ง และการพ้นจากตําแหน่งของกรรมการตามมาตรา ๒๐
มาตรา ๒๒ ให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดมีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
รายงานสถานการณ์โรคติดต่อหรือโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่อาจเป็นโรคระบาดซึ่งเกิดขึ้นในเขตพื้นที่จังหวัดต่ออธิบดี
สนับสนุน ส่งเสริม ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในจังหวัดแล้วรายงานต่อคณะกรรมการ
จัดทําแผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่ออันตราย โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง หรือโรคระบาดในเขตพื้นที่จังหวัด
แต่งตั้งคณะทํางานประจําช่องทางเข้าออกตามมาตรา ๒๓ ในกรณีที่จังหวัดนั้นมีด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ
ดําเนินการตามนโยบาย ระบบ และแนวทางปฏิบัติในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ ที่คณะกรรมการกําหนด
ดําเนินการอื่นใดที่เกี่ยวกับการควบคุมโรคติดต่อตามที่คณะกรรมการหรือผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย หรือตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติน
เรียกให้บุคคลใดๆ มาให้ข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็น หรือให้จัดส่งข้อมูลหรือเอกสารใดๆที่จําเป็นหรือข้อคิดเห็นมาเพื่อใช้ประกอบการพิจารณา
มาตรา ๒๓ คณะทํางานประจําช่องทางเข้าออก ประกอบด้วย
ผู้แทนกรมปศุสัตว์ ผู้แทนกรมวิชาการเกษตร ผู้แทนกรมศุลกากร ผู้แทนสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
ผู้อํานวยการโรงพยาบาลในสังกัดหน่วยงานของรัฐที่ดูแลรับผิดชอบช่องทางเข้าออกนั้นเป็นคณะทํางาน
เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบช่องทางเข้าออกนั้น เป็นประธานคณะทํางาน
เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อซึ่งประจําด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ จํานวนหนึ่งคนเป็นคณะทํางานและเลขานการ
มาตรา ๒๔ ให้คณะทํางานประจําช่องทางเข้าออกมีอํานาจหน้าที่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบดังต่อไปนี้
ประสาน สนับสนุน และติดตามประเมินผลการดําเนินงานตามแผนใน
จัดทําแผนการติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ
จัดทําแผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศและแผนเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข
ดําเนินการอื่นใดที่เกี่ยวกับการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อตามที่คณะกรรมการหรือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดมอบหมาย
หมวด ๔
คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๒๖ ให้มีคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย
ผู้อํานวยการโรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานคร จํานวนหนึ่งคน ผู้อํานวยการโรงพยาบาลในสังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จํานวนหนึ่งคน
ผู้อํานวยการโรงพยาบาลในสังกัดหนวยงานของร ่ ัฐนอกจาก (๓) ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง จํานวนไม่เกินห้าคน เป็นกรรมการ
ปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้แทนสํานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ผู้แทนกรมควบคุมโรคผู้แทนกรมประชาสัมพันธ์ ผู้แทนกรมปศุสัตว์ ผู้แทนกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
ผู้ดําเนินการสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานครซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง จํานวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานกรรมการ
้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อซึ่งประจําด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศในเขตกรุงเทพมหานคร จํานวนแห่งละหนึ่งคน
มาตรา ๒๗ การแต่งตั้ง วาระการดํารงตําแหน่ง และการพ้นจากตําแหน่งของกรรมการตามมาตรา ๒๖ (๓) (๔) และ (๕) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการประกาศกําหนด
มาตรา ๒๘ ให้คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครมีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
สนับสนุน ส่งเสริม ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในกรุงเทพมหานคร แล้วรายงานต่อคณะกรรมการ
แต่งตั้งคณะทํางานประจําช่องทางเข้าออกตามมาตรา ๒๓
รายงานสถานการณ์โรคติดต่อหรือโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่อาจเป็นโรคระบาดซึ่งเกิดขึ้นในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครต่ออธิบดี
เรียกให้บุคคลใดๆ มาให้ข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็น หรือให้จัดส่งข้อมูลหรือเอกสารใดๆที่จําเป็นหรอข้อคิดเห็นมาเพื่อใช้ประกอบการพิจารณา
จัดทําแผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่ออันตราย โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังหรือโรคระบาดในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
ดําเนินการอื่นใดที่เกี่ยวกับการควบคุมโรคติดต่อตามที่คณะกรรมการหรือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมาย หรือตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติน
ดําเนินการตามนโยบาย ระบบ และแนวทางปฏิบัติในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ ที่คณะกรรมการกําหนด
มาตรา ๒๙ ให้นําความในมาตรา ๑๕ มาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครและคณะทํางานประจําช่องทางเข้าออกโดยอนุโลม
มาตรา ๓๐ ให้นําความในมาตรา ๒๓ และมาตรา ๒๔ มาใช้บังคับแก่องค์ประกอบและอํานาจหน้าที่ของคณะทํางานประจําช่องทางเข้าออกที่คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครแต่งตั้งโดยอนุโลม
หมวด ๕
การเฝ้าระวังโรคติดต่อ
าตรา ๓๑ ในกรณีที่มีโรคติดต่ออันตราย โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง หรือโรคระบาดเกิดขึ้นให้บุคคลดังต่อไปนี้แจ้งต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ
ผู้รับผิดชอบในสถานพยาบาล ในกรณีที่พบผู้ที่เป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดต่อดังกล่าวเกิดขึ้นในสถานพยาบาล
ผู้ทําการชันสูตรหรือผู้รับผิดชอบในสถานที่ที่ได้มีการชันสูตร ในกรณีที่ได้มีการชันสูตรทางการแพทย์หรือทางการสัตวแพทย์ตรวจพบว่าอาจมีเชื้ออันเป็นเหตุของโรคติดต่อดังกล่าว
เจ้าบ้านหรือผู้ควบคุมดูแลบ้าน หรือแพทย์ผู้ทําการรักษาพยาบาลในกรณีที่พบผู้ที่เป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดต่อดังกล่าวเกิดขึ้นในบ้าน
เจ้าของ หรือผู้ควบคุมสถานประกอบการหรือสถานที่อื่นใด ในกรณีที่พบผู้ที่เป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดต่อดังกล่าวเกิดขึ้นในสถานที่นั้น
มาตรา ๓๒ เมื่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อได้รับแจ้งตามมาตรา ๓๑ ว่ามีเหตุสงสัย มีข้อมูลหรือหลักฐานว่ามีโรคติดต่ออันตราย โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง หรือโรคระบาด
มาตรา ๓๓ ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีโรคติดต่ออันตราย โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังหรือโรคระบาดเกิดขึ้นในต่างประเทศ
หมวด ๖การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
มาตรา ๓๔ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ เมื่อเกิดโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดหรือมีเหตุสงสัยว่าได้เกิดโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดในเขตพื้นที่ใดให้เจ้าพนักงาน
ให้เจ้าของ ผู้ครอบครอง หรือผู้พักอาศัยในบ้าน โรงเรือน สถานที่ หรือพาหนะที่มีโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดเกิดขึ้น กําจัดความติดโรคหรือทําลายสิ่งใดๆ
ให้เจ้าของ ผู้ครอบครอง หรือผู้พักอาศัยในบ้าน โรงเรือน สถานที่ หรือพาหนะที่มีโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดเกิดขึ้นดําเนินการเพื่อการป้องกันการแพร่ของโรคด้วยการกําจัดสัตว์
แมลง
ให้นําศพหรือซากสัตว์ซึ่งตายหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าตายด้วยโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดไปรับการตรวจ หรือจัดการทางการแพทย์
ห้ามผู้ใดกระทําการหรือดําเนินการใด ๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดสภาวะที่ไม่ถูกสุขลักษณะซึ่งอาจเป็นเหตุให้โรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดแพร่ออกไป
ให้ผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะติดโรคได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ตามวัน เวลา และสถานที่ซึ่งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อกําหนด เพื่อมิให้โรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดแพร่ออกไป
ห้ามผู้ใดเข้าไปหรือออกจากที่เอกเทศ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ
ให้ผู้ที่เป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาด หรือผู้ที่เป็นผู้สัมผัสโรคหรือเป็นพาหะ มารับการตรวจหรือรักษาละเพื่อความปลอดภัยอาจดําเนินการโดยการแยกกัก กักกัน หรือคุมไว้สังเกต
เข้าไปในบ้าน โรงเรือน สถานที่ หรือพาหนะที่มีหรือสงสัยว่ามีโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดเกิดขึ้นเพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมมิให้มีการแพร่ของโรค
มาตรา ๓๕ ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นเร่งด่วนเพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ของโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาด ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด
สั่งให้ผู้ที่เป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดหยุดการประกอบ
อาชีพเป็นการชั่วคราว
สั่งห้ามผู้ที่เป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดเข้าไปในสถานที่ชุมนุมชน โรงมหรสพ สถานศึกษา หรือสถานที่อื่นใด
สั่งปิดตลาด สถานที่ประกอบหรือจําหน่ายอาหาร สถานที่ผลิตหรือจําหน่ายเครื่องดื่มโรงงาน สถานที่ชุมนุมชน โรงมหรสพ สถานศึกษา หรือสถานที่อื่นใดไว้เป็นการชั่วคราว
มาตรา ๓๖ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดหรือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี
มาตรา ๓๗ ให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบช่องทางเข้าออกปฏิบัติตามวิธีการเพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ในบริเวณช่องทางเข้าออก
มาตรา ๓๘ เมื่อมีเหตุอันสมควร ให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจําด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศมีอํานาจตรวจตรา ควบคุม กํากับดูแลในพื้นที่นอกช่องทางเข้าออก
มาตรา ๓๙ ในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ เมื่อมีเหตุอันสมควร
หรือมีเหตุสงสัยว่าพาหนะนั้นมาจากท้องที่หรือเมืองท่าใดนอกราชอาณาจักรที่มีโรคระบาดให้เจ้าพนักงาน
ควบคุมโรคติดต่อประจําด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศมีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
ให้เจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะที่เข้ามาในราชอาณาจักรยื่นเอกสารต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจําด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ
ห้ามผู้ใดเข้าไปในหรือออกจากพาหนะที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งยังไม่ได้รับการตรวจจากเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจําด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ
ให้เจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะแจ้งกําหนดวัน เวลา และสถานที่ที่พาหนะนั้น ๆ
ข้าไปในพาหนะและตรวจผู้เดินทาง สิ่งของ หรือสัตว์ที่มากับพาหนะ ตรวจตราและควบคุม
ให้เจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะแก้ไขการสุขาภิบาลของพาหนะให้ถูกสุขลักษณะ
ห้้ามเจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะนําผู้เดินทางซึ่งไม่ได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดโดยคําแนะนําของคณะกรรมการเข้ามาในราชอาณาจักร
มาตรา ๔๐ เมื่อรัฐมนตรีประกาศให้ท้องที่หรือเมืองท่าใดนอกราชอาณาจักรเป็นเขตติดโรคตามมาตรา ๘ ให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจําด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ
ห้ามผู้ใดเข้าไปในหรือออกจากพาหนะนั้น หรือที่เอกเทศ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจําด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ
ามผู้ใดนําวัตถุ สิ่งของ หรือเครื่องใช้ที่เป็นหรือมีเหตุสงสัยว่าเป็นสิ่งติดโรคเข้าไปในหรือออกจากพาหนะนั้น
ให้ผู้เดินทางซึ่งมากับพาหนะนั้นรับการตรวจในทางแพทย์ และอาจให้แยกกัก กักกันคุมไว้สังเกต หรือรับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ณ สถานที่และระยะเวลาที่กําหนด
จัดให้พาหนะจอดอยู่ ณ สถานที่ที่กําหนดให้จนกว่าเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจําด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศจะอนุญาตให้ไปได
าจัดความติดโรค เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ของโรค
มาตรา ๔๑ ให้เจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการขนส่งผู้เดินทางซึ่งมากับพาหนะนั้น เพื่อแยกกัก กักกัน คุมไว้สังเกต หรือรับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
มาตรา ๔๒ ในกรณีที่พบว่าผู้เดินทางเป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดต่ออันตรายโรคระบาด หรือพาหะนําโรค
าตรา ๔๓ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันโรคติดต่อระหว่างประเทศหรือโรคระบาด ให้อธิบดี
หรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายมีอํานาจออกหนังสือรับรองการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคหรือการได้รับยาป้องกันรคติดต่อระหว่างประเทศ
มาตรา ๔๔ ในกรณีที่เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อได้ออกคําสั่งให้ผู้ใดดําเนินการ
ตามมาตรา ๓๔ (๓) (๔) หรือ (๕) มาตรา ๓๘ มาตรา ๓๙ (๔) หรือมาตรา ๔๐ (๑) (๒) หรือ (๓) แล้วผู้นั้นละเลยไม่ดําเนินการตามคําสั่งภายในเวลาที่กําหนด เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อมีอํานาจดําเนินการ
แทนได้
หมวด ๗
เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ
มาตรา ๔๕ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ
มีอํานาจดังต่อไปนี้
มีหนังสือเรียกบุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคําหรือแจ้งข้อเท็จจริงหรือทําคําชี้แจงเป็นหนังสือหรือให้ส่งเอกสารหรือหลักฐานใดเพื่อตรวจสอบหรือเพื่อใช้ประกอบการพิจารณา
เข้าไปในพาหนะ อาคาร หรือสถานที่ใดๆ ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก
หรือในเวลาทําการของอาคารหรือสถานที่นั้น เพื่อตรวจสอบหรือควบคุมให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔๖ ให้มีเครื่องแบบ เครื่องหมาย และบัตรประจําตัวสําหรับเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อเพื่อแสดงตัวขณะปฏิบัติหน้าที่ต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง
มาตรา ๔๗ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
หมวด ๘
ค่าทดแทน
มาตรา ๔๘ ในการดําเนินการของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามพระราชบัญญัตินี้หากเกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของบุคคลใดจากการเฝ้าระวัง การป้องกัน หรือการควบคุมโรคให้ทางราชการชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นให้แก่ผู้นั้นตามความจําเป็น
หมวด ๙
บทกําหนดโทษ
มาตรา ๔๙ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของคณะกรรมการ คณะกรรมการด้านวิชาการ
หรือคณะอนุกรรมการตามมาตรา ๑๘ หรือคําสั่งของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดตามมาตรา ๒๒ (๖) ือคําสั่งของคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครตามมาตรา ๒๘ (๖) หรือคําสั่งของเจ้าพนักงาน
ควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา ๔๕ (๑) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๕๐ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการแจ้งตามมาตรา ๓๑ ต้องระวางโทษปรับ
ไม่เกินสองหมื่นบาท
มาตรา ๕๑ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา ๓๔
(๑) (๒) (๕) หรือ (๖) มาตรา ๓๙ (๑) (๒) (๓) หรือ (๕) มาตรา ๔๐ (๕) หรือไม่อํานวยความสะดวกก่เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา ๓๙ (๔) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
มาตรา ๕๒ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรรือผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตามมาตรา ๓๕ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๕๓ ผู้ใดไม่อํานวยความสะดวกแก่เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา ๓๘ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
มาตรา ๕๔ เจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา ๔๐ (๒) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท
หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๕๕ ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อํานวยความสะดวกแก่เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา ๔๕ วรรคสาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
มาตรา ๕๖ ผู้ใดไม่มีสิทธิที่จะสวมเครื่องแบบหรือประดับเครื่องหมายของเจ้าพนักงานควบคุม
โรคติดต่อตามมาตรา ๔๖ กระทําการเช่นนั้นเพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าตนมีสิทธต้องระวางโทษจําคุก
ไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๕๗ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีโทษปรับสถานเดียวหรือมีโทษจําคุก
ไม่เกินหนึ่งปี
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๕๘ ให้เจ้าพนักงานสาธารณสุขตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๒๓เป็นเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะมีการแต่งตั้งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ
ตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๕๙ ในวาระเริ่มแรก ให้คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการตามมาตรา ๑๑ ยกเว้นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๑ (๔) ปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการตามพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อน
าตรา ๖๐ บรรดากฎกระทรวง ระเบียบ ประกาศ หรือคําสั่งใดที่ออกตามพระราชบัญญัติ
โรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๒๓ ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ้ใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่
ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้
นางสาวภัทชราภรณ์ ป๊กคำ 6001210668 เลขที่ 31 Sec B