Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พรบ.ที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิภาพและสุขภาพของประชาชน - Coggle Diagram
พรบ.ที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิภาพและสุขภาพของประชาชน
พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๕o
หมวด๑สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ
มาตรา๕บุคคลมีสิทธิในการดํารงชีวิตในสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ
มาตรา๖สุขภาพของหญิงในด้านสุขภาพทางเพศและสุขภาพของระบบเจริญพันธุ์ซึ่งมีความจําเพาะซับซ้อนและมีอิทธิพลต่อสุขภาพหญิงตลอดช่วงชีวิตต้องได้รับการสร้างเสริมและคุ้มครองอย่างสอดคล้องและเหมาะสม
มาตรา๘ในการบริการสาธารณสุขบุคลากรด้านสาธารณสุขต้องแจ้งข้อมูลด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการให้ผู้รับบริการทราบอย่างเพียงพอที่ผู้รับบริการจะใช้ประกอบการตัดสินใจในการรับหรือไม่รับบริการใดและในกรณีที่ผู้รับบริการปฏิเสธไม่รับบริการใดจะให้บริการนั้นมิได้
หมวด๒คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
มาตรา๑๓ให้มีคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติเรียกโดยย่อว่า “คสช.”
มาตรา๑๔กรรมการตามมาตรา๑๓ (๖) (๗) (๘) (๙) และ (๑๐) ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม
มาตรา๑๗การเลือกกรรมการตามมาตรา๑๓ (๙) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการสรรหาประกาศกําหนด
มาตรา๑๘การเลือกกรรมการตามมาตรา๑๓ (๑๐) ให้คณะกรรมการสรรหา
ดําเนินการ
มาตรา๑๙ให้มีคณะกรรมการสรรหาคณะหนึ่งซึ่งคสช. แต่งตั้งประกอบด้วย(๑) กรรมการตามมาตรา๑๓ (๗) (๘) (๙) หรือ (๑๐) หนึ่งคนเป็นประธานคณะกรรมการสรรหา
มาตรา๒๐ให้คณะกรรมการสรรหามีหน้าที่และอํานาจ
มาตรา๒๑กรรมการตามมาตรา๑๓ (๖) (๗) (๘) (๙) และ (๑๐) มีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละสี่ปีโดยกรรมการตามมาตรา๑๓ (๗) (๘) (๙) และ (๑๐) จะดํารงตําแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันมิได้
หมวด๓สํานักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
มาตรา๒๖๒ให้จัดตั้งสํานักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติขึ้นเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินและไม่เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรือกฎหมายอื่น
มาตรา๒๗ให้สํานักงานมีหน้าที่และอํานาจ
มาตรา๒๙บรรดารายได้ของสํานักงานตามมาตรา๒๘ไม่เป็นรายได้ที่ต้องนําส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
มาตรา๓๐การเก็บรักษาและการใช้จ่ายเงินของสํานักงานให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการบริหารกําหนด
มาตรา๓๒ให้เลขาธิการมีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละสี่ปีและอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้แต่จะดํารงตําแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันมิได้
หมวด๔สมัชชาสุขภาพ
มาตรา๔๐การจัดสมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่หรือสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นหรือสนับสนุนให้ประชาชนรวมตัวกันเพื่อจัดสมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่หรือสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คสช. กําหนด
มาตรา๔๑ให้คสช. จัดให้มีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
มาตรา๔๓ให้คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติมีหน้าที่ในการจัดการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติกําหนดวันเวลาและสถานที่ในการประชุมซึ่งต้องประกาศให้ประชาชนทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนวันประชุม
มาตรา๔๕ในกรณีที่สมัชชาสุขภาพแห่งชาติมีข้อเสนอให้หน่วยงานของรัฐนําไปปฏิบัติหรือนําไปพิจารณาประกอบในการกําหนดนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพให้เสนอต่อคสช.เพื่อพิจารณาดําเนินการให้บรรลุผลตามควรแก่กรณีต่อไป
หมวด๕ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ
มาตรา๔๖ให้คสช. จัดทําธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติเพื่อใช้เป็นกรอบและแนวทางในการกําหนดนโยบายยุทธศาสตร์และการดําเนินงานด้านสุขภาพของประเทศเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ
มาตรา๔๗ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติต้องสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและอย่างน้อยต้องมีสาระสําคัญเกี่ยวกับเรื่องดังต่อไปนี้
(๑) ปรัชญาและแนวคิดหลักของระบบสุขภาพ
(๒) คุณลักษณะที่พึงประสงค์และเป้าหมายของระบบสุขภาพ
(๓) การจัดให้มีหลักประกันและความคุ้มครองให้เกิดสุขภาพ
(๔) การสร้างเสริมสุขภาพ
(๕) การป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ
(๖) การบริการสาธารณสุขและการควบคุมคุณภาพ
(๗) การส่งเสริมสนับสนุนการใช้และการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพการแพทย์แผนไทยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือกอื่นๆ
(๘) การคุ้มครองผู้บริโภค
(๙) การสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านสุขภาพ
(๑๐) การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ
(๑๑) การผลิตและการพัฒนาบุคลากรด้านสาธารณสุข
(๑๒) การเงินการคลังด้านสุขภาพ
มาตรา๔๘ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติและนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพตามมาตรา๒๕ (๒) ที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้วให้ผูกพันหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องที่จะต้องดําเนินการต่อไปตามอํานาจหน้าที่ของตน
หมวด๖บทกําหนดโทษ
มาตรา๔๙ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา๗หรือมาตรา๙ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา๕๐ให้โอนบรรดากิจการทรัพย์สินสิทธิหนี้สินและเงินงบประมาณของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขในส่วนของสํานักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติไปเป็นของสํานักงานตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา๕๑ให้นําบรรดาข้อบังคับระเบียบประกาศหรือคําสั่งที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของสํานักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติมาใช้บังคับกับการปฏิบัติงานของสํานักงานโดยอนุโลมจนกว่าจะได้มีข้อบังคับระเบียบประกาศหรือคําสั่งที่ออกตามพระราชบัญญัติ
มาตรา๕๔ให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้อํานวยการสํานักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้งเลขาธิการตามพระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๔๕
หมวด๑สิทธิการรับบริการสาธารณสุข
มาตรา๕บุคคลทุกคนมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพตามที่กําหนดโดยพระราชบัญญัตินี้
มาตรา๖บุคคลใดประสงค์จะใช้สิทธิตามมาตรา๕ให้ยื่นคําขอลงทะเบียนต่อสํานักงานหรือหน่วยงานที่สํานักงานกําหนดเพื่อเลือกหน่วยบริการเป็นหน่วยบริการประจํา
มาตรา๙ขอบเขตของสิทธิรับบริการสาธารณสุขของบุคคลดังต่อไปนี้ให้เป็นไปตามกฎหมายกฎระเบียบประกาศมติคณะรัฐมนตรีหรือคําสั่งใดๆที่กําหนดขึ้นสําหรับส่วนราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐและให้ใช้สิทธิดังกล่าวตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา๑๐ขอบเขตของสิทธิรับบริการสาธารณสุขของผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคมให้เป็นไปตามที่กําหนดในกฎหมายว่าด้วยประกันสังคมการขยายบริการสาธารณสุขตามพระราชบัญญัตินี้ไปยังผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคมให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการและคณะกรรมการประกันสังคมตกลงกัน
มาตรา๑๒ในกรณีที่ผู้ประสบภัยจากรถตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถผู้ใดใช้สิทธิรับบริการสาธารณสุขจากหน่วยบริการตามพระราชบัญญัตินี้เมื่อใดแล้วให้หน่วยบริการแจ้งการเข้ารับบริการนั้นต่อสํานักงานและให้สํานักงานมีสิทธิเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยแต่ไม่เกินจํานวนค่าสินไหมทดแทนตามภาระหน้าที่ที่กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยต้องจ่ายตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถส่งเข้ากองทุนเพื่อส่งต่อให้หน่วยบริการต่อไป
หมวด๒คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
มาตรา๑๓ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ”
มาตรา๑๔กรรมการตามมาตรา๑๓จะดํารงตําแหน่งกรรมการตามมาตรา๔๘ในขณะเดียวกันมิได
มาตรา๑๕กรรมการตามมาตรา๑๓วรรคหนึ่ง (๓) (๔) (๕) และ (๖) มีวาระอยู่ในตําแหน่งคราวละสี่ปีและอาจได้รับเลือกหรือแต่งตั้งใหม่อีกได้แต่จะดํารงตําแหน่งเกินกว่าสองวาระติดต่อกันไม่ได
มาตรา๑๗การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
มาตรา๑๙ให้คณะกรรมการมีอํานาจหน้าที่ควบคุมดูแลสํานักงานให้ดําเนินกิจการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้อํานาจหน้าที่เช่นว่านี้ให้รวมถึ
มาตรา๒๐คณะกรรมการมีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
หมวด๓สํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
มาตรา๒๔ให้มีสํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นหน่วยงานของรัฐมีฐานะเป็นนิติบุคคลอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของรัฐมนตรี
มาตรา๒๕ให้สํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานครหรือในเขตจังหวัดใกล้เคียง
มาตรา๒๗ทรัพย์สินของสํานักงานไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคด
มาตรา๒๙ให้คณะกรรมการเสนอขอรับงบประมาณรายจ่ายประจําปีต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของสํานักงาน
มาตรา๓๐การเก็บรักษาและการใช้จ่ายเงินของสํานักงานให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกําหนด
มาตรา๓๑ให้สํานักงานมีเลขาธิการเป็นผู้รับผิดชอบการบริหารกิจการของสํานักงานให้เป็นไปตามกฎหมายระเบียบข้อบังคับข้อกําหนดนโยบายมติและประกาศของคณะกรรมการและเป็นผู้บังคับบัญชาเจ้าหน้าที่และลูกจ้างของสํานักงานทุกตําแหน่ง
หมวด๔กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาต
มาตรา๓๘ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งในสํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเรียกว่า “กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ
มาตรา๔๐การรับเงินการจ่ายเงินและการเก็บรักษาเงินกองทุนรวมทั้งการนําเงินกองทุนไปจัดหาผลประโยชน์ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกําหนด
มาตรา๔๒ในกรณีที่ผู้รับบริการได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลของหน่วยบริการโดยหาผู้กระทําผิดได้แต่ยังไม่ได้รับค่าเสียหายภายในระยะเวลาอันสมควรตามมาตรา๔๑เมื่อสํานักงานได้จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้รับบริการไปแล้วสํานักงานมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ผู้กระทําผิดได้
มาตรา๔๓ภายในสามเดือนนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณให้คณะกรรมการเสนองบดุลและรายงานการรับจ่ายเงินของกองทุนในปีที่ล่วงมาซึ่งสํานักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบรับรองแล้วต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ
หมวด๕หน่วยบริการและมาตรฐานบริการสาธารณสุข
มาตรา๔๔ให้สํานักงานจัดให้มีการขึ้นทะเบียนหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการแล้วประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบเพื่อดําเนินการลงทะเบียนเลือกเป็นหน่วยบริการประจําของตนตามมาตรา๖
มาตรา๔๖หน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการตามมาตรา๔๔และหน่วยบริการที่รับการส่งต่อผู้รับบริการมีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขจากกองทุนตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรม
การกําหนด
มาตรา๔๗เพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้กับบุคคลในพื้นที่โดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมตามความพร้อมความเหมาะสมและความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นให้คณะกรรมการสนับสนุนและประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกําหนดหลักเกณฑ์เพื่อให้องค์กรดังกล่าวเป็นผู้ดําเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่โดยให้ได้รับค่าใช้จ่ายจากกองทุน
หมวด๖คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข
มาตรา๔๘ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข”
มาตรา๔๙การดํารงตําแหน่งวาระการดํารงตําแหน่งการพ้นจากตําแหน่งและการประชุมของคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานให้นํามาตรา๑๔มาตรา๑๕มาตรา๑๖และมาตรา๑๗มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา๕๐คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานมีอํานาจหน้าท
มาตรา๕๑คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานมีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติตามที่คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานมอบหมายได้
มาตรา๕๒ให้คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานและคณะอนุกรรมการมีอํานาจขอให้หน่วยงานของรัฐหรือสั่งให้บุคคลใดที่เกี่ยวข้องมีหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงมาให้ถ้อยคําหรือส่งเอกสารหลักฐานเพื่อประกอบการพิจารณาได
มาตรา๕๓ให้กรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานและอนุกรรมการได้รับค่าเบี้ยประชุมค่าใช้จ่ายในการเดินทางและค่าใช้จ่ายอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ตามที่รัฐมนตรีกําหนด
หมวด๗พนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา๕๔ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจเข้าไปในสถานที่ของหน่วยบริการหรือของเครือข่ายหน่วยบริการในระหว่างเวลาทําการเพื่อตรวจสอบสอบถามข้อเท็จจริงตรวจสอบทรัพย์สินหรือเอกสารหลักฐานถ่ายภาพถ่ายสําเนาหรือนําเอกสารที่เกี่ยวข้องไปตรวจสอบหรือกระทําการอย่างอื่นตามสมควรเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงอันที่จะปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา๕๕ในการปฏิบัติหน้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจําตัวแก่บุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง
มาตรา๕๖ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
หมวด๘การกํากับมาตรฐานหน่วยบริการ
มาตรา๕๗ในกรณีที่สํานักงานตรวจสอบพบว่าหน่วยบริการใดไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานการให้บริการสาธารณสุขที่กําหนดให้รายงานต่อคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานเพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนพิจารณา
มาตรา๕๘ในกรณีที่ผลการสอบสวนตามมาตรา๕๗ปรากฏว่าหน่วยบริการใดไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานที่กําหนดให้คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานดําเนินการ
มาตรา๖๐ในกรณีที่การกระทําผิดของหน่วยบริการตามมาตรา๕๘หรือมาตรา๕๙เป็นการกระทําผิดร้ายแรงหรือเกิดซ้ําหลายครั้งให้เลขาธิการรายงานต่อคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานเพื่อพิจารณาดําเนินการ
มาตรา๖๑ผู้ร้องเรียนหรือหน่วยบริการที่ได้รับคําสั่งจากคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานตามหมวดนี้ให้มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งหรือวันที่ได้รับทราบคําสั่งแล้วแต่กรณี
มาตรา๖๒เมื่อคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์คําสั่งตามมาตรา๖๑ผลเป็นประการใดแล้วให้เลขาธิการรายงานผลการดําเนินการหรือคําวินิจฉัยต่อคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานเพื่อทราบ
หมวด๙บทกําหนดโทษ
มาตรา๖๓ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของคณะกรรมการคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานคณะอนุกรรมการของคณะกรรมการดังกล่าวคณะกรรมการสอบสวนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา๒๒มาตรา๕๒มาตรา๕๔หรือมาตรา๕๗ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา๖๔ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อํานวยความสะดวกตามสมควรแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา๕๕วรรคสามต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
บทเฉพาะกาล
มาตรา๖๕ในวาระเริ่มแรกมิให้นําบทบัญญัติมาตรา๖มาตรา๗มาตรา๘มาตรา๑๑และมาตรา๑๒มาใช้บังคับจนกว่าจะได้มีการจัดเตรียมความพร้อมเพื่อให้บริการสาธารณสุขตามบทบัญญัติดังกล่าว
มาตรา๖๖ให้ตราพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา๙และมาตรา๑๐ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและหากไม่แล้วเสร็จให้ขยายระยะเวลาได้ครั้งละหนึ่งปีโดยให้สํานักงานหรือสํานักงานและสํานักงานประกันสังคมแล้วแต่กรณีรายงานเหตุผลที่ไม่อาจดําเนินการได้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบและจัดให้มีการเผยแพร่รายงานนั้นต่อสาธารณชน
มาตรา๖๗ให้กระทรวงสาธารณสุขดําเนินการให้มีการคัดเลือกและแต่งตั้งกรรมการตามมาตรา๑๓ (๓) (๔) (๕) และ (๖) รวมทั้งสรรหาและคัดเลือกเลขาธิการเพื่อให้ได้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติตามพระราชบัญญัตินี้ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติฉบับนี้ใช้บังคับ
พระราชบัญญัติสถานพยาบาลพ.ศ. ๒๕๔๑
หมวด๑คณะกรรมการสถานพยาบาล
มาตรา๑๐การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
มาตรา๑๑๙คณะกรรมการมีหน้าที่ให้คําปรึกษาให้ความเห็นและให้คําแนะนําแก่รัฐมนตรีหรือผู้อนุญาต
มาตรา๑๒คณะกรรมการมีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาและเสนอความเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ในขอบเขตแห่งหน้าที่ของคณะกรรมการได้
มาตรา๑๓ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้คณะกรรมการและคณะอนุกรรมการที่แต่งตั้งขึ้นตามมาตรา๑๒มีอํานาจออกคําสั่งเป็นหนังสือเรียกให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดมาให้ถ้อยคําหรือให้ส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องหรือสิ่งใดมาเพื่อประกอบการพิจารณาได้
หมวด๒การประกอบกิจการสถานพยาบาลและการดําเนินการสถานพยาบาล
มาตรา๑๔สถานพยาบาลมี๒ประเภท
(๑) สถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน
(๒) สถานพยาบาลประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน
มาตรา๑๕ให้รัฐมนตรีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการมีอํานาจประกาศกําหนดมาตรฐานการบริการของสถานพยาบาล
มาตรา๑๖ห้ามมิให้บุคคลใดประกอบกิจการสถานพยาบาลเว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต
มาตรา๑๗ผู้ขอรับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม
มาตรา๑๘ในการพิจารณาออกใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลของผู้อนุญาตจะต้องปรากฏว่าผู้ขอรับใบอนุญาตได้จัดให้มีกรณีดังต่อไปนี้โดยถูกต้องครบถ้วนแล้ว
หมวด๓พนักงานเจ้าหน้าท
มาตรา๔๖ในการปฏิบัติหน้าที่ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจ
(๑) เข้าไปในอาคารสถานที่หรือยานพาหนะที่พนักงานเจ้าหน้าที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นสถานพยาบาลที่ไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้
(๒) เข้าไปในสถานพยาบาลในระหว่างเวลาทําการเพื่อตรวจสอบและควบคุมให้การเป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
(๓) มีหนังสือเรียกผู้รับอนุญาตผู้ดําเนินการผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่ของสถานพยาบาลมาให้ถ้อยคําหรือชี้แจงหรือให้ส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องมาเพื่อประกอบการพิจารณา
(๔) ยึดหรืออายัดบรรดาเอกสารหรือสิ่งของที่เกี่ยวกับการกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เพื่อเป็นหลักฐานในการดําเนินคด
มาตรา๔๗ในการปฏิบัติหน้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจําตัวบัตรประจําตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่กําหนดในกฎกระทรวง
มาตรา๔๘ในการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ให้ผู้อนุญาตและพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
หมวด๔การปิดสถานพยาบาลและการเพิกถอนใบอนุญา
มาตรา๔๙เมื่อปรากฏว่าผู้รับอนุญาตหรือผู้ดําเนินการปฏิบัติไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัตินี้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจสั่งให้ผู้รับอนุญาตหรือผู้ดําเนินการแล้วแต่กรณีระงับหรือปฏิบัติให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่เห็นสมควรแต่ทั้งนี้ไม่เป็นเหตุลบล้างความผิดตามพระราชบัญญัติ
มาตรา๕๐ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตหรือผู้ดําเนินการกระทําการหรือละเว้นกระทําการอย่างใดๆจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายความเสียหายหรือความเดือดร้อนอย่างร้ายแรงแก่ผู้ที่อยู่ในสถานพยาบาลหรือผู้ที่อยู่ใกล้เคียงกับสถานพยาบาลหรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของผู้อนุญาตตามมาตรา๔๕หรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา๔๙ให้ผู้อนุญาตมีอํานาจออกคําสั่งปิดสถานพยาบาลเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะได้ดําเนินการให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กําหนด
มาตรา๕๒เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองดูแลผู้ป่วยในสถานพยาบาลในกรณีที่
(๑) ผู้รับอนุญาตตายและไม่มีผู้แสดงความจํานงเพื่อขอประกอบกิจการหรือผู้แสดงความจํานงนั้นขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามทั้งนี้ตามที่บัญญัติในมาตรา๒๒
(๒) ผู้อนุญาตมีคําสั่งปิดสถานพยาบาลเป็นการชั่วคราวตามมาตรา๕๐หรือมีคําสั่งเพิกถอนใบอนุญาตตามมาตรา๕๑
มาตรา๕๓คําสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา๔๙หรือของผู้อนุญาตตามมาตรา๕๐หรือมาตรา๕๑ให้ทําเป็นหนังสือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนให้ผู้รับอนุญาตหรือผู้ดําเนินการณภูมิลําเนาของผู้นั้นแล้วแต่กรณีถ้าไม่พบตัวหรือไม่ยอมรับคําสั่งดังกล่าวให้จัดการปิดคําสั่งไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่ายณสถานพยาบาลและให้ถือว่าผู้นั้นได้ทราบคําสั่งนั้นแล้วตั้งแต่วันที่ปิดคําสั่
หมวด๕บทกําหนดโทษ
มาตรา๕๖ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการตามมาตรา๑๓ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินสองพันบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา๕๗ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา๑๖วรรคหนึ่งหรือมาตรา๒๔วรรคหนึ่งต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจําทั้งปรับและศาลจะสั่งริบบรรดาสิ่งของที่ใช้ในการประกอบกิจการสถานพยาบาลด้วยก็ได้
มาตรา๕๘ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของผู้อนุญาตตามมาตรา๓๙หรือมาตรา๔๕หรือคําสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา๔๙ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา๕๙ผู้รับอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา๒๑มาตรา๓๑มาตรา๓๒มาตรา๔๐หรือมาตรา๔๓ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา๖๐ผู้รับอนุญาตผู้ใดประกอบกิจการสถานพยาบาลโดยมิได้จัดให้มีผู้ดําเนินการตามมาตรา๒๓ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา๗๒ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อํานวยความสะดวกให้แก่คณะกรรมการในการดําเนินการตามมาตรา๕๒ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินสองพันบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
บทเฉพาะกาล
มาตรา๗๖ใบอนุญาตให้ตั้งสถานพยาบาลและใบอนุญาตให้ดําเนินการสถานพยาบาลที่ออกตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาลพ.ศ. ๒๕๐๔ให้ถือว่าเป็นใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลหรือใบอนุญาตให้ดําเนินการสถานพยาบาลที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้และให้ใช้ได้จนถึงวันสิ้นปีปฏิทินของปีที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ
มาตรา๗๗บรรดากฎกระทรวงหรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาลพ.ศ. ๒๕๐๔และยังใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ทั้งนี้จนกว่าจะมีกฎกระทรวงหรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัตินี
พระราชบัญญัติโรคติดต่อพ.ศ. ๒๕๕๘
หมวด๑บททั่วไป
มาตรา๖เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อให้รัฐมนตรีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการมีอํานาจประกาศกําหนด
มาตรา๗เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อให้รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการมีอํานาจประกาศกําหนด
มาตรา๘เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดที่อาจจะเข้ามาภายในราชอาณาจักรให้รัฐมนตรีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการด้านวิชาการมีอํานาจประกาศให้ท้องที่หรือเมืองท่าใดนอกราชอาณาจักรเป็นเขตติดโรคและยกเลิกประกาศเมื่อสภาวการณ์ของโรคนั้นสงบลงหรือกรณีมีเหตุอันสมควร
มาตรา๙เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและควบคุมโรคระบาดให้อธิบดีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการด้านวิชาการมีอํานาจประกาศชื่ออาการสําคัญและสถานที่ที่มีโรคระบาดและแจ้งให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา๓๔ทราบรวมทั้งประกาศยกเลิกเมื่อสภาวการณ์ของโรคนั้นสงบลงหรือกรณีมีเหตุอันสมควร
มาตรา๑๐ในกรณีที่ข้อมูลจากการเฝ้าระวังการสอบสวนโรคหรือการแจ้งหรือรายงานตามพระราชบัญญัตินี้ซึ่งมีการพาดพิงถึงตัวบุคคลทั้งที่ระบุตัวได้หรือไม่สามารถระบุตัวได้จะต้องเก็บเป็นความลับและประมวลผลโดยไม่เปิดเผยชื่อทั้งนี้การประมวลผลดังกล่าวจะต้องเหมาะสมและตรงกับวัตถุประสงค์ในการป้องกันและควบคุมโรค
หมวด๒คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ
มาตรา๑๑ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ”
มาตรา๑๒กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละสามปี
มาตรา๑๓นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่งเมื่อ
มาตรา๑๕การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่จึงเป็นองค์ประชุม
มาตรา๑๖ให้มีคณะกรรมการด้านวิชาการคณะหนึ่งประกอบด้วยประธานกรรมการซึ่งแต่งตั้งจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา๑๑ (๔) และให้มีกรรมการซึ่งแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ด้านโรคติดต่ออีกจํานวนไม่เกินเจ็ดคน
มาตรา๑๗ให้นําความในมาตรา๑๕มาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะกรรมการด้านวิชาการและคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม
มาตรา๑๙ให้กรมควบคุมโรคเป็นสํานักงานเลขานุการของคณะกรรมการคณะกรรมการด้านวิชาการและคณะอนุกรรมการรับผิดชอบงานธุรการ
หมวด๓คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวั
มาตรา๒๐ให้มีคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด
มาตรา๒๑การแต่งตั้งวาระการดํารงตําแหน่งและการพ้นจากตําแหน่งของกรรมการตามมาตรา๒๐ (๓) (๔) และ (๕) และกรรมการตามมาตรา๒๐วรรคสองให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการประกาศกําหนด
มาตรา๒๒ให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดมีอํานาจหน้าที
(๑) ดําเนินการตามนโยบายระบบและแนวทางปฏิบัติในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่คณะกรรมการกําหนด
(๒) จัดทําแผนปฏิบัติการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่ออันตรายโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังหรือโรคระบาดในเขตพื้นที่จังหวัด
(๓) รายงานสถานการณ์โรคติดต่อหรือโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่อาจเป็นโรคระบาดซึ่งเกิดขึ้นในเขตพื้นที่จังหวัดต่ออธิบด
(๔) สนับสนุนส่งเสริมติดตามและประเมินผลการปฏิบัติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในจังหวัดแล้วรายงานต่อคณะกรรมการ
(๕) แต่งตั้งคณะทํางานประจําช่องทางเข้าออกตามมาตรา๒๓ในกรณีที่จังหวัดนั้นมีด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ
(๖) เรียกให้บุคคลใดๆมาให้ข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นหรือให้จัดส่งข้อมูลหรือเอกสารใดๆที่จําเป็นหรือข้อคิดเห็นมาเพื่อใช้ประกอบการพิจารณา
(๗) ดําเนินการอื่นใดที่เกี่ยวกับการควบคุมโรคติดต่อตามที่คณะกรรมการหรือผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายหรือตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้
หมวด๔คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร
มาตรา๒๖ให้มีคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร
(๑) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นประธานกรรมการ
(๒) ปลัดกรุงเทพมหานคร
(๓) ผู้อํานวยการโรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานคร
(๔) ผู้อํานวยการโรงพยาบาลในสังกัดหน่วยงาน
ของรัฐนอกจากซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
แต่งตั้งจํานวนไม่เกินห้าคนเป็นกรรมการ
มาตรา๒๘ให้คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครมีอํานาจหน้าที่
(๑) ดําเนินการตามนโยบายระบบและแนวทางปฏิบัติในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่คณะกรรมการกําหนด
(๒) จัดทําแผนปฏิบัติการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่ออันตรายโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังหรือโรคระบาดในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
(๓) รายงานสถานการณ์โรคติดต่อหรือโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่อาจเป็นโรคระบาดซึ่งเกิดขึ้นในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครต่ออธิบดี
(๔) สนับสนุนส่งเสริมติดตามและประเมินผลการปฏิบัติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในกรุงเทพมหานครแล้วรายงานต่อคณะกรรมการ
(๕) แต่งตั้งคณะทํางานประจําช่องทางเข้าออกตามมาตรา๒๓
มาตรา๒๙ให้นําความในมาตรา๑๕มาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครและคณะทํางานประจําช่องทางเข้าออกโดยอนุโลม
มาตรา๓๐ให้นําความในมาตรา๒๓และมาตรา๒๔มาใช้บังคับแก่องค์ประกอบและอํานาจหน้าที่ของคณะทํางานประจําช่องทางเข้าออกที่คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครแต่งตั้งโดยอนุโลม
หมวด๕การเฝ้าระวังโรคติดต่อ
มาตรา๓๑ในกรณีที่มีโรคติดต่ออันตรายโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังหรือโรคระบาดเกิดขึ้นให้บุคคลดังต่อไปนี้แจ้งต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ
มาตรา๓๒เมื่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อได้รับแจ้งตามมาตรา๓๑ว่ามีเหตุสงสัยมีข้อมูลหรือหลักฐานว่ามีโรคติดต่ออันตรายโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังหรือโรคระบาดให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อแจ้งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดหรือคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครแล้วแต่กรณีและรายงานข้อมูลนั้นให้กรมควบคุมโรคทราบโดยเร็ว
มาตรา๓๓ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีโรคติดต่ออันตรายโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังหรือโรคระบาดเกิดขึ้นในต่างประเทศให้กรมควบคุมโรคประสานงานไปยังองค์การอนามัยโลกเพื่อขอข้อมูลเกี่ยวกับโรคดังกล่าว
หมวด๖การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
มาตรา๓๔เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อเมื่อเกิดโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดหรือมีเหตุสงสัยว่าได้เกิดโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดในเขตพื้นที่ใดให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่นั้นมีอํานาจที่จะดําเนินการเองหรือออกคําสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ใดดําเนินการ
มาตรา๓๕ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นเร่งด่วนเพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ของโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดหรือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครมีอํานาจในพื้นที่ความรับผิดชอบของตน
มาตรา๓๙ในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศเมื่อมีเหตุอันสมควรหรือมีเหตุสงสัยว่าพาหนะนั้นมาจากท้องที่หรือเมืองท่าใดนอกราชอาณาจักรที่มีโรคระบาดให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจําด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศมีอํานาจหน้าท
มาตรา๔๐เมื่อรัฐมนตรีประกาศให้ท้องที่หรือเมืองท่าใดนอกราชอาณาจักรเป็นเขตติดโรคตามมาตรา๘ให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจําด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศมีอํานาจดําเนินการเองหรือออกคําสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะที่เข้ามาในราชอาณาจักรจากท้องที่หรือเมืองท่านั้น
หมวด๗เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ
มาตรา๔๖ให้มีเครื่องแบบเครื่องหมายและบัตรประจําตัวสําหรับเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อเพื่อแสดงตัวขณะปฏิบัติหน้าที่ต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องเครื่องแบบเครื่องหมายและบัตรประจําตัวตา
มาตรา๔๗ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
หมวด๘ค่าทดแทน
มาตรา๔๘ในการดําเนินการของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามพระราชบัญญัตินี้หากเกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของบุคคลใดจากการเฝ้าระวังการป้องกันหรือการควบคุมโรคให้ทางราชการชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นให้แก่ผู้นั้นตามความจําเป็น
หมวด๙บทกําหนดโทษ
มาตรา๕๐ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการแจ้งตามมาตรา๓๑ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
มาตรา๕๓ผู้ใดไม่อํานวยความสะดวกแก่เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา๓๘ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
มาตรา๕๖ผู้ใดไม่มีสิทธิที่จะสวมเครื่องแบบหรือประดับเครื่องหมายของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา๔๖กระทําการเช่นนั้นเพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าตนมีสิทธิต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา๕๗บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีโทษปรับสถานเดียวหรือมีโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปีให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอํานาจเปรียบเทียบได้ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์การเปรียบเทียบที่คณะกรรมการกําหนด
บทเฉพาะกาล
มาตรา๕๘ให้เจ้าพนักงานสาธารณสุขตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อพ.ศ. ๒๕๒๓เป็นเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะมีการแต่งตั้งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา๕๙ในวาระเริ่มแรกให้คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการตามมาตรา๑๑ยกเว้นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา๑๑ (๔) ปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการตามพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อนจนกว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามพระราชบัญญัตินี้ทั้งนี้ต้องไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
พระราชบัญญัติยา พ.ศ. ๒๕๑๐
หมวด ๑คณะกรรมการยา
มาตรา ๖ให้มีคณะกรรมกํารคณะหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมการยา”
มาตรา ๗ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี
มาตรา ๘ นอกจากการพ้นจากต ําแหน่งตามมาตรา ๗ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) รัฐมนตรีให้ออก
(๔) เป็นบุคคลล้มละลาย
(๕) เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
มาตรา ๙ การประชุมคณะกรรมการ ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ําหนึ่งในสามของจ ํานวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม ถ้าประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุมให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
มาตรา ๑๑๑๔ให้คณะกรรมการมีอ ํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อพิจารณาศึกษาหรือวิจัยเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ในหน้าที่และอ ํานาจของคณะกรรมการ และเรื่องกระบวนการพิจารณาอนุญาตยาตามมาตรา ๑๑/๒
หมวด ๑/๑กระบวนการพิจารณาอนุญาตยา
มาตรา ๑๑/๒๑๗เพื่อประโยชน์ในกระบวนการพิจารณาอนุญาตยา ให้รัฐมนตรีโดยค ําแนะน ําของคณะกรรมการ
มาตรา ๑๑/๔๑๙การรับเงินตามมาตรา ๑๑/๒ (๒) และ (๓) การจ่ายเงินตามมาตรา๑๑/๓ และการเก็บรักษาเงินให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศก ําหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
หมวด ๒การขออนุญาตและออกใบอนุญาตเกี่ยวกับยาแผนปัจจุบัน
มาตรา ๑๒ ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต ขาย หรือน ําหรือสั่งเข้ามาในราชอําณาจักรซึ่งยาแผนปัจจุบัน เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต
มาตรา ๑๖ ใบอนุญาตที่ออกตามมาตรา ๑๕ ให้คุ้มกันถึงลูกจ้างหรือตัวแทนของผู้รับอนุญาตด้วย
มาตรา ๑๘ ในกรณีผู้อนุญาตไม่ออกใบอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต ผู้ขออนุญาตหรือผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อรัฐมนตรีภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือของผู้อนุญาตแจ้งการไม่ออกใบอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต
หมวด ๓หน้าที่ของผู้รับอนุญาตเกี่ยวกับยาแผนปัจจุบัน
มาตรา ๒๐ผู้รับอนุญาตผลิตยาแผนปัจจุบันต้องมีเภสัชกรชั้นหนึ่งอย่างน้อยสองคนเป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการตามมาตรา ๓๘ และต้องจัดให้มี
เภสัชกรอย่างน้อยหนึ่งคนประจำอยู่ตลอดเวลาที่เปิดทำการ
มาตรา ๒๑ผู้รับอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน ต้องมีเภสัชกรชั้นหนึ่งหรือเภสัชกรชั้นสอง เป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการตามมาตรา ๓๙ และมาตรา ๔๐ ประจำอยู่ตลอดเวลาที่เปิดทำการ
มาตรา ๒๓ผู้รับอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันเฉพาะยาบรรจุเสร็จสำหรับสัตว์ต้องมีเภสัชกรชั้นหนึ่ง เภสัชกรชั้นสอง ผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ชั้นหนึ่งหรือผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ชั้นสอง เป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการตามมาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ ประจำอยู่ตลอดเวลาที่เปิดทำการ
มาตรา ๒๘ ในกรณีใบอนุญาตสูญหายหรือถูกท ําลายในสาระส ําคัญ ให้ผู้รับอนุญาตแจ้งต่อผู้อนุญาตและยื่นค ําขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหายหรือถูกท ําลายดังกล่ําว
หมวด ๔หน้าที่ของเภสัชกร ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันชั้นหนึ่งในสาขาทันตกรรม การผดุงครรภ์หรือการพยาบาลหรือผู้ประกอบการบ ําบัดโรคสัตว์
มาตรา ๔๐ ให้เภสัชกรชั้นสองตามมาตรา ๒๑ ปฏิบัติตามมาตรา ๓๙ เช่นเดียวกับเภสัชกรชั้นหนึ่ง เว้นแต่ในส่วนที่เกี่ยวกับการปรุง การขายและการส่งมอบยาควบคุมพิเศษจะกระท ํามิได้
มาตรา ๔๓ ให้เภสัชกรชั้นสองหรือผู้ประกอบการบ ําบัดโรคสัตว์ชั้นสองตามมาตรา ๒๓ปฏิบัติตามมาตรา ๔๒ เช่นเดียวกับเภสัชกรชั้นหนึ่งหรือผู้ประกอบการบ ําบัดโรคสัตว์ชั้นหนึ่ง เว้นแต่ในส่วนที่เกี่ยวกับการควบคุมการส่งมอบยาบรรจุเสร็จส ําหรับสัตว์ที่เป็นยาควบคุมพิเศษจะกระท ํามิได้
มาตรา ๔๕ห้ามมิให้เภสัชกร ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันชั้นหนึ่งในสาขาทันตกรรม การผดุงครรภ์หรือการพยาบาล ผู้ประกอบการบ ําบัดโรคสัตว์ ปฏิบัติหน้าที่ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการในสถานที่ผลิตยาสถานที่ขายยา หรือสถานที่น่าหรือสั่งยาเข้ามาในราชอาณาจักรโดยตนมิได้มีชื่อเป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการในสถานที่นั้น
หมวด ๕การขออนุญาตและออกใบอนุญาตเกี่ยวกับยาแผนโบราณ
มาตรา ๔๖ ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต ขาย หรือน ําหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งยาแผนโบราณ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต
มาตรา ๕๑ใบอนุญาตตามมาตรา ๔๙ ให้ใช้ได้จนถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคมของปีที่ออกใบอนุญาต ถ้าผู้รับอนุญาตประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาต ให้ยื่นค ําขอเสียก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นค ําขอดังกล่าวแล้วจะประกอบกิจการต่อไปก็ได้จนกว่าผู้อนุญาตจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาตนั้น
มาตรา ๕๒ ในกรณีผู้อนุญาตไม่ออกใบอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต ผู้ขออนุญาตหรือผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อรัฐมนตรีภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือของผู้อนุญาตแจ้งการไม่ออกใบอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต
หมวด ๖หน้าที่ของผู้รับอนุญาตเกี่ยวกับยาแผนโบราณ
มาตรา ๕๓ห้ามมิให้ผู้รับอนุญาตผลิตหรือขายยาแผนโบราณนอกสถานที่ที่ก ําหนดไว้ในใบอนุญาต เว้นแต่เป็นการขายส่ง
มาตรา ๕๕ ผู้รับอนุญาตขายยาแผนโบราณ ต้องมีผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณเป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการตามมาตรา ๖๙ ประจ ําอยู่ตลอดเวลาที่เปิดท ําการ
มาตรา ๕๙ ยาแผนโบราณที่น ําหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักรจะต้องผ่านการตรวจสอบของพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ด่านนำเข้า
มาตรา ๖๒ ห้ามมิให้ผู้รับอนุญาตย้ายสถานที่ผลิตยา สถานที่ขายยา สถานที่น ําหรือสั่งยาเข้ามาในราชอาณาจักรหรือสถานที่เก็บยา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาต
หมวด ๗หน้าที่ของผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ
มาตรา ๗๑ห้ามมิให้ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณปฏิบัติหน้าที่ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการในสถานที่ผลิตยา สถานที่ขายยา หรือสถานที่น ําหรือสั่งยาเข้ามาในราชอาณาจักรโดยตนมิได้มีชื่อเป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการในสถานที่นั้น
มาตรา ๗๕ ห้ามมิให้ผู้ใดขายยาบรรจุเสร็จหลายขนานโดยจัดเป็นชุดในคราวเดียวกัน โดยมีเจตนาให้ผู้ซื้อใช้รวมกันเพื่อบ ําบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรค หรืออาการของโรคใดโรคหนึ่งโดยเฉพาะ
หมวด ๙การประกาศเกี่ยวกับยา
มาตรา ๗๗ ให้รัฐมนตรีมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษาระบุโรคหรืออาการของโรคที่ห้ามโฆษณายาว่าสามารถใช้บำบัด บรรเทา รักษาหรือป้องกันโรคหรืออาการของโรคนั้นได้
มาตรา ๗๗ ตรี๗๗เพื่อประโยชน์ในการควบคุมยาที่นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร รัฐมนตรีมีอ ํานาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดด่านนำเข้าได้
มาตรา ๗๘ ประกาศของรัฐมนตรีตามหมวดนี้ ให้กระท ําได้เมื่อได้รับค ําแนะน ําจากคณะกรรมการ
หมวด ๑๐การขึ้นทะเบียนตำรับยา
มาตรา ๗๙ผู้รับอนุญาตผลิตยาหรือผู้รับอนุญาตให้น ําหรือสั่งยาเข้ามาในราชอาณาจักรผู้ใด ประสงค์จะผลิต หรือน ําหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งยาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณ ต้องนำตำรับยานั้นมาขอขึ้นทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และเมื่อได้รับใบส ําคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาแล้วจึงจะผลิตยา หรือนำหรือสั่งยานั้นเข้าาในราชอาณาจักรได้
หมวด ๑๑การโฆษณา
มาตรา ๘๘ ทวิ๙๐การโฆษณาขายยาทางวิทยุกระจายเสียง เครื่องขยายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ทางฉายภาพหรือภาพยนตร์ หรือทางสิ่งพิมพ์จะต้อง
มาตรา ๘๙ ห้ามมิให้โฆษณาขายยาโดยไม่สุภาพ หรือโดยการร้องรำทำเพลง หรือแสดงความทุกข์ทรมานของผู้ป่วย
มาตา ๙๐ ห้ามมิให้โฆษณาขายยาโดยวิธีแถมพกหรือออกสลากรางวัล
มาตรา ๙๐ ทวิ๙๑เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยามีอำนาจสั่งเป็นหนังสือให้ระงับการโฆษณาขายยาที่เห็นว่าเป็นการโฆษณาโดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินี้ได้
หมวด ๑๒พนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา ๙๒ ในการปฏิบัติการตามหน้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจ ําตัวเมื่อบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องร้องขอ
มาตรา ๙๔ ในการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
หมวด ๑๓การพักใช้ใบอนุญาตและการเพิกถอนใบอนุญาต
มาตรา ๙๖ เมื่อปรากฏต่อผู้อนุญาตว่าผู้รับอนุญาตขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๑๔ หรือมาตรา ๔๘ ผู้อนุญาตโดยค ําแนะน ําของคณะกรรมการมี
อ ํานาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตได้
มาตรา ๙๘ ผู้อนุญาตโดยคำแนะนำของคณะกรรมการมีอำนาจสั่งถอน คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตก่อนก ําหนดเวลาได้ เมื่อเป็นที่พอใจว่าผู้รับอนุญาตซึ่งถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎกระทรวงซึ่งออกตามพระราชบัญญัตินี้แล้ว
มาตรา ๑๐๐ผู้ถูกเพิกถอนใบอนุญาตจะขายยาของตนที่เหลืออยู่แก่ผู้รับอนุญาตอื่น หรือแก่ผู้ซึ่งผู้อนุญาตเห็นสมควรได้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้ทราบค ําสั่งเพิกถอนใบอนุญาตหรือวันที่ได้ทราบคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี เว้นแต่ผู้อนุญาตจะผ่อนผันขยายระยะเวลาดังกล่าวให้
หมวด ๑๔บทกำหนดโทษ
มาตรา ๑๐๑ ผู้ใดฝ่ําฝืนมาตรา ๑๒ ต้องระวางโทษจ ําคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา ๑๐๒๙๓ผู้รับอนุญาตผู้ใดฝ่ําฝืนมาตรา ๑๙ หรือมาตรา ๓๐ ต้องระวํางโทษปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงห้าพันบาท
มาตรา ๑๐๕ผู้รับอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๕ มาตรา ๒๖ มาตรา ๒๖ ทวิ หรือมาตรา ๒๗ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๑๒๘ ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาที่ได้ออกให้ ตามกฎหมายว่ําด้วยการขายยาก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๑๒๙ ภายในสามปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ บรรดายาที่ผลิต ขาย หรือน ําหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักรโดยชอบ
ตามกฎหมายว่าด้วยการขายยาก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ได้รับยกเว้นการปฏิบัติเกี่ยวกับฉลากตามที่ก ําหนดไว้ในมาตรา ๒๕ (๓) มาตรา ๒๖ (๕) มาตรา ๒๗ (๓) มาตรา ๕๗ (๒) มาตรา ๕๘ (๒) และมาตรา ๕๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัตินี้