Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พระราชบัญญัติสถานพยาบาลพ.ศ. 2541 - Coggle Diagram
พระราชบัญญัติสถานพยาบาลพ.ศ. 2541
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่15 มีนาคม พ.ศ. 2541 เป็นปีที่ 53 ในรัชกาลปัจจุบัน
สถานพยาบาลอันจะเป็นการจํากัดเสรีภาพในการประกอบกิจการหรือประกอบอาชีพและการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม ซึ่งมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
มาตรา1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541”
มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา 3 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2504
มาตรา 4 “สถานพยาบาล” หมายความว่า สถานที่รวมตลอดถึงยานพาหนะซึ่งจัดไว้เพื่อการประกอบโรคศิลปะตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ
มาตรา 5 พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช่บังคับแก่สถานพยาบาลของกระทรวง ทบวง กรม กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล องค์การ บริหารส่วนท้องถิ่น สภากาชาดไทย และสถานพยาบาลอื่นซึ่งรัฐมนตรีประกาศในราช ิจจานุเบกษา
มาตรา 6 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้และให้มีอํานาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ออกกฎกระทรวงกําหนดค่าธรรมเนียมไม่เกิน อ้ตราท้ายพระราชบัญญัตินี้ยกเว้นค่าธรรมเนียม และกําหนดกิจการอื่นตลอดจนออกประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
หมวด 1
คณะกรรมการสถานพยาบาล
มาตรา 7 ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการสถานพยาบาล”
ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานกรรมการ อธิบดีกรมการแพทย์ และผู้แทนสํานักคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นกรรมการโดยตําแหน่ง กับ
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง
ผู้ประกอบโรคศิลปะโดยคําแนะนําของคณะกรรมการควบคุมการประกอบโรคศิลปะจํานวนสามคน และผู้ประกอบวิชาชีพโดยคําแนะนําของสภาวิชาชีพ ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายเพื่อควบคุมการประกอบวิชาชีพนั้นสภาละหนึ่งคน
ผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีกไม่เกินห้าคน ซึ่งในจํานวนนี้จะต้องแต่งตั้งจากผู้ดําเนิน
การอย่างน้อยหนึ่งคน แต่ไม่เกินสามคน
มาตรา 8 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา 7 อยู่ในตําแหน่งคราวละสองปีกรรมการ
ซึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระ อาจได้รับแต่งตั้งอีกได้
มาตรา 9 นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระตามมาตรา 8 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา 7 พ้นจากตําแหน่ง
รัฐมนตรีให้ออก
ตาย
ลาออก
เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
เป็นบุคคลไร้ความสามารถ
มาตรา10 การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่ง
หนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม
มาตรา11 คณะกรรมการมีหน้าที่ให้คําปรึกษา ให้ความเห็นและให้คําแนะนําแก่
รัฐมนตรีหรือผู้อนุญาต
การออกกฎกระทรวง หรือประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
การอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล การดําเนินการสถานพยาบาล
การปิดสถานพยาบาล หรือการเพิกถอนใบอนุญาต
มาตรา12 คณะกรรมการมีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาและเสนอ
ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ในขอบเขตแห่งหน้าที่ของคณะกรรมการได้
มาตรา13 ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ คณะกรรมการและคณะอนุกรรมการที่แต่งตั้งขึ้นตามมาตรา 12 มีอํานาจออกคําสั่งเป็นหนังสือเรียกให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดมาให้ถ้อยคําหรือให้ส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องหรือสิ่งใดมาเพื่อประกอบ
การพิจารณาได
หมวด 2การประกอบกิจการสถานพยาบาลและการดําเนินการสถานพยาบาล
มาตรา14 สถานพยาบาลมี 2 ประเภท
สถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน
สถานพยาบาลประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน
มาตรา15 ให้รัฐมนตรีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการมีอํานาจประกาศกําหนด
มาตรฐานการบริการของสถานพยาบาล
มาตรา16 ห้ามมิให้บุคคลใดประกอบกิจการสถานพยาบาล เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต
มาตรา17 ผู้ขอรับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล ต้องมีคุณสมบัติและ
ไม่มีลักษณะต้องห้าม
มีอายุไม่ต่ํากว่ายี่สิบปีริบูรณ์
ไม่เคยได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาหรือคําสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายถึงที่สุด
ให้จําคุก เว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
ไม่เป็นโรคตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดในราชกิจจานุเบกษา
ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต คนไร้ความสามาร
มาตรา18 ในการพิจารณาออกใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลของผู้อนุญาต จะต้องปรากฏว่าผู้ขอรับใบอนุญาต
มาตรา19 ใบอนุญาตให้กอกิจการสถานพยาบาลให้ใช้จนถึงวันสิ้นปีปฏิทิน
ของปีที่สิบนับแต่ปีที่ออกใบอนุญาต
มาตรา 20 ผู้รับอนุญาตต้องชําระค่าธรรมเนียมตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราที่
กําหนดในกฎกระทรวงตลอดเวลาที่ยังประกอบกิจการ
ถ้ามิได้ชําระค่าธรรมเนียมภายใน
เวลาที่กําหนด ให้ชําระเงินเพิ่มอีกร้อยละห้าต่อเดือน
มาตรา 21 การโอนใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลให้แก่บุคคล ซึ่งมี
คุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา17 ให้กระทําได้ เมื่อได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาต
มาตรา 22 ถ้าผู้รับอนุญาตตายและมีบุคคลแสดงความจํานงต่อผู้อนุญาตภายในสาม
สิบวันนับแต่วันที่ผู้รับอนุญาตตาย เพื่อขอประกอบกิจการที่ผู้ตายได้รับอนุญาตนั้นต่อไปเมื่อผู้อนุญาตตรวจสอบแล้วว่าบุคคลนั้นมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 7ก็ให้ผู้แสดงความจํานงนั้นประกอบกิจการต่อไป
มาตรา 23 ผู้รับอนุญาตต้องจัดให้มีผู้ดําเนินการคนหนึ่ง เป็นผู้มีหน้าที่ควบคุม ดูแล
และรับผิดชอบในการดําเนินการสถานพยาบาล
มาตรา 24 ห้ามมิให้บุคคลใดดําเนินการสถานพยาบาล เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต
มาตรา 25 ในการพิจารณาออกใบอนุญาตให้ดําเนินการสถานพยาบาลของผู้อนุญาตจะต้องปรากฏว่าผู้ขอรับใบอนุญาต
มาตรา 26 ถ้าผู้ดําเนินการพ้นจากหน้าที่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้เกินเจ็ดวัน
ผู้รับอนุญาตอาจมอบหมายให้บุคคลซึ่งมีคุณสมบัติตามมาตรา 25
มาตรา 27 ผู้รับอนุญาต ผู้ดําเนินการ และผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลแห่ง
หนึ่ง ๆ จะเป็นบุคคลคนเดียวกันก็ได้
มาตรา 28 ใบอนุญาตให้ดําเนินการสถานพยาบาลให้ใช้ได้จนถึงวันสิ้นปีปฏิทินของปีที่สองนับแต่ปีที่ออกใบอนุญาต
มาตรา 29 ในกรณีที่ผู้อนุญาตไม่ออกใบอนุญาต หรือไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต
ผู้ขอรับใบอนุญาตหรือผู้ขอต่ออายุใบอนุญาต
มาตรา 30 ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหายหรือถูกทําลายในสาระสําคัญ ให้ผู้รับอนุญาต
หรือผู้ดําเนินการ แล้วแต่กรณี แจ้งต่อผู้อนุญาตและยื่นคําขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับทราบการสูญหายหรือถูกทําลายดังกล่าว
มาตรา 31 ผู้รับอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ
สถานพยาบาลนั้น
มาตรา 32 ผู้รับอนุญาตต้องแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ ในที่เปิดเผยและเห็นได้
ง่าย ณ สถานพยาบาลนั้น
ชื่อสถานพยาบาล
รายการเกี่ยวกับผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม การพยาบาล การผดุงครรภ์
มาตรา 33 รัฐมนตรีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการมีอํานาจประกาศกําหนดชนิด
หรือประเภทของการรักษาพยาบาล การบริการอื่นของสถานพยาบาลและสิทธิของผู้ป่วยซึ่ง
ผู้รับอนุญาตจะต้องแสดงตามมาตรา 32
มาตรา 34 ให้ผู้ดําเนินการมีหน้าที่และความรับผิดดังนี้
ควบคุมและดูแลมิให้ผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลประกอบวิชาชีพผิด
ไปจากสาขา ชั้น หรือแผนที่ผู้รับอนุญาตได้แจ้งไว้ในการขอรับใบอนุญาต หรือมิให้
บุคคลอื่นซึ่งมิใช้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพทําการประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล
ควบคุมและดูแลมิให้มีการรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนเกินจํานวนเตียงตามที่กําหนด
ไว้ในใบอนุญาต เว้นแต่กรณีฉุกเฉินซึ่งหากไม่รับไว้อาจเกิดอันตรายแก่ผูู้ป่วย
ควบคุมดูแลสถานพยาบาลให้สะอาด เรียบร้อย ปลอดภัย และมีลักษณะอัน
เหมาะสมแก่การใช้เป็นสถานพยาบาล
มาตรา 35 ให้ผู้รับอนุญาตและผู้ดําเนินการมีหน้าที่และความรับผิดชอบร่วมกัน
จัดให้มีผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลตามวิชาชีพและจํานวนที่กําหนด
ในกฎกระทรวงตลอดเวลาทําการ
จัดให้มีเครื่องมือ เครื่องใช้ ยา และเวชภัณฑ์ที่จําเป็นประจําสถาพยาบาลนั้น
ตามชนิดที่กําหนดในกฎกระทรวง
ควบคุมและดูแลการประกอบกิจการสถานพยาบาลให้เป็นไปตามมาตรฐาน
การบริการที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดตามมาตรา 15
มาตรา 36 ผู้รับอนุญาตและผู้ดําเนินการของสถานพยาบาลต้องควบคุมและดูแลให้มี
การช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยพ้นจากอันตรายตามมาตรฐานวิชาชีพและตามประเภท
ของสถานพยาบาลนั้น ๆ
มาตรา 37 ผู้รับอนุญาตและผู้ดําเนินการต้องควบคุมดูแลมิให้มีการใช้หรือยินยอมใหผู้อื่นใช้สถานพยาบาลประกอบกิจการสถานพยาบาลผิดประเภทหรือผิดลักษณะการให้บริการตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาต
มาตรา 38 ห้ามมิให้ผู้รับอนุญาตหรือผู้ดําเนินการโฆษณาหรือประกาศหรือยินยอมให้ผู้อื่นโฆษณาหรือประกาศด้วยประการใด ๆ
มาตรา 39 ในกรณีที่มีการโฆษณาหรือประกาศฝ่าฝืนมาตรา 38 ผู้อนุญาตมีอํานาจสั่งเป็นหนังสือให้ผู้โฆษณาหรือประกาศระงับการกระทําดังกล่าวได้
มาตรา 40 ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตประสงค์จะเปลี่ยนแปลงการประกอบกิจการของ
สถานพยาบาลให้แตกต่างไปจากที่ระบุไว้ในใบอนุญาต หรือก่อสร้างอาคารขึ้นใหม่ หรือ
ดัดแปลงอาคารเกินกว่าที่กําหนดในกฎกระทรวงเพื่อใช้ในการประกอบกิจการสถานพยาบาลให้กระทําได้เมื่อได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาต
มาตรา 41 ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตประสงค์จะย้ายสถานพยาบาลไปประกอบกิจการที่อื่น ให้ดําเนินการเสมือนเป็นผู้ขออนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาลใหม่
มาตรา 42 เมื่อมีการเปลี่ยนตัวผู่ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล ตามมาตรา 18 (4)
ผู้รับอนุญาตต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้อนุญาตทราบภายในกําหนดสามสิบวัน
มาตรา 43 ภายใต้บังคับมาตรา 18 (5) การเปลี่ยนชื่อสถานพยาบาลต้องได้รับอนุญาตจากผู้รับอนุญาต
มาตรา 44 ผู้รับอนุญาตผู้ใดประสงค์จะเลิกกิจการสถานพยาบาล ต้องแจ้งเป็นหนังสือ
และจัดทํารายงานที่จะปฏิบัติเกี่ยวกับผูให้ป่วยผู้อนุญาตทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน
มาตรา 45 ให้ผู้อนุญาตจัดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจลักษณะของสถานพยาบาลและการประกอบกิจการของสถานพยาบาลให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ
หมวด 3
พนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา 46 ในการปฏิบัติหน้าที่ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจ
เข้าไปในอาคารสถานที่หรือยานพาหนะที่พนักงานเจ้าหน้าที่มีเหตุอันควร
สงสัยว่าเป็นสถานพยาบาลที่ไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้
เข้าไปในสถานพยาบาลในระหว่างเวลาทําการเพื่อตรวจสอบและควบคุมให้
การเป็นไปตามพระราชบัญญัติน
มีหนังสือเรียกผู้รับอนุญาต ผู้ดําเนินการ ผู้ประกอบวิชาชีพใน
สถานพยาบาล หรือเจ้าหน้าที่ของสถานพยาบาลมาให้ถ้อยคําหรือชี้แจงหรือให้ส่งเอกสาร
ยึดหรืออายัดบรรดาเอกสารหรือสิ่งของที่เกี่ยวกับการกระทําความผิดตาม
พระราชบัญญัตินี้เพื่อเป็นหลักฐานในการดําเนินคด
มาตรา 47 ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจําตัวบัตรประจําตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้เป็นไปตามแบบที่กําหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 48 ในการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ให้ผู้อนุญาตและพนักงานเจ้าหน้าที่
เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
หมวด 4
การปิดสถานพยาบาลและการเพิกถอนใบอนุญาต
มาตรา 49 เมื่อปรากฏว่าผู่รับอนุญาตหรือผู้ดําเนินการปฏิบัติไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติน ใหพ้นักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจสั่งให้ผู้รับอนุญาตหรือผู้ดําเนินการแล้วแต่กรณีระงับหรือปฏิบัติให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่เห็นสมควร
มาตรา 50 ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตหรือผู้ดําเนินการ กระทําการหรือละเว้นกระทําการอย่างใด ๆ จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายให้ผู้อนุญาตมีอํานาจออกคําสั่งปิดสถานพยาบาลเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะได้ดําเนินการให้ถูก
ต้องภายในระยะเวลาที่กําหนด
มาตรา 51 ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตหรือผู้ดําเนินการขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้อง
ห้ามตามมาตรา 17 หรือมาตรา 25 แล้วแต่กรณี หรือถ้าผู้รับอนุญาตหรือผู้ดําเนินการไม่ให้ผู้อนุญาตโดย
คําแนะนําของคณะกรรมการมีอํานาจออกคําสั่งเพิกถอนบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลได้
มาตรา 52 เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองดูแลผู้ป่วยในสถานพยาบาลในกรณีที
ผู้รับอนุญาตตาย และไม่มีผู้แสดงความจํานงเพื่อขอประกอบกิจการหรือผู้แสดงความจํานงนั้น ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม
อนุญาตมีคําสั่งปิดสถานพยาบาลเป็นการชั่วคราวตามมาตรา 50 หรือมีคําสั่งเพิกถอนใบอนุญาตตามมาตรา 51
มาตรา 53 คําสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 49 หรือของผู้อนุญาตตามมาตรา
50 หรือมาตรา 51 ถ้าไม่พบตัวหรือไม่ยอมรับคําสั่งดังกล่าว
ให้จัดการปิดคําสั่งไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานพยาบาล
มาตรา 54 ผู้ใดถูกเพิกถอนใบอนุญาตแล้วจะขอรับใบอนุญาตใหม่อีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกําหนดสองปีนับแต่วันที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต
หมวด 5
บทกําหนดโทษ
มาตรา 56 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของคณะกรรมการ หรือคณะอนุกรรมการตาม
มาตรา 13 ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา 57 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 16 วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 24 วรรคหนึ่ง ต้องระวาง
โทษจําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท
มาตรา 58 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของผู้อนุญาตตามมาตรา 39 หรือมาตรา 45 หรือคําสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 49 ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน
มาตรา 59 ผู้รับอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 21 มาตรา 31 มาตรา 32 มาตรา 40
หรือมาตรา 43 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา 60 ผู้รับอนุญาตผู้ใดประกอบกิจการสถานพยาบาลโดยมิได้จัดให้มีผู้
ดําเนินการตามมาตรา 23 ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี
มาตรา 61 ผู้ใดมีหน้าที่ต้องแจ้งให้ผู้อนุญาตทราบ แต่ไม่แจ้งภายในกําหนดเวลาตามมาตรา 26 มาตรา 30 มาตรา 42 หรือมาตรา 44 วรรคหนึ่งต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา 62 ผู้รับอนุญาตผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 33 วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
มาตรา 63 ผู้ดําเนินการผู้ใดไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามมาตรา 34 (1) ต้องระวาง
โทษจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา 64 ผู้ดําเนินการผู้ใดไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตาม มาตรา 34 (3) หรือ (4)
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา 65 ผู้รับอนุญาตหรือผู้ดําเนินการผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 34 (2)
หรือมาตรา 35 ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือไมีเกินสองหมื่นบาท
มาตรา 66 ผู้รับอนุญาตหรือผู้ดําเนินการผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 36 ต้องระวางโทษจําคุก
ไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา 67 ผู้รับอนุญาตหรือผู้ดําเนินการผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 37 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
มาตรา 68 ผู้รับอนุญาตหรือผู้ดําเนินการผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 38 ต้องระวางโทษปรับไม่
เกินสองหมื่นบาท
มาตรา 69 ผู้รับอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของผู้อนุญาตตามมาตรา 44 วรรคสองต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
มาตรา 70 ผู้รับอนุญาต ผู้ดําเนินการ ผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล เจ้าหน้าที่ของสถานพยาบาล หรือบุคคลซึ่งอยู่ในสถานพยาบาล
มาตรา 71 ผู้ใดประกอบกิจการสถานพยาบาลในระหว่างที่สถานพยาบาลนั้นถูกสั่ง
ปิดชั่วคราวตามมาตรา 50 ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท
มาตรา 72 ผูใดขัดขวางหรือไม่อํานวยความสะดวกให้แก่คณะกรรมการในการดําเนินการตามมาตรา 52 ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งเดือน
มาตรา 73 ผู้รับอนุญาต ผู้ดําเนินการ ผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลัดทําหรือยินยอมให้อื่นจัดทําหลักฐานเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลและค่าบริการเอกสารแสดงการตรวจโรค
มาตรา 74 ในกรณีที่ผู้กระทําความผิดซึ่งต้องรับโทษตามพระราชบัญญัตินี้เป็นนิติบุคคลกรรมการผู้จัดการ หรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้น ต้องรับโทษตามที่บัญญัต
มาตรา 75 ให้รัฐมนตรีมีอํานาจแต่งตั้งคณะกรรมการเปรียบเทียบคดีในเขตกรุงเทพ
มหานครและในส่วนภูมิภาคได้ตามความเหมาะสม