Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
5.2พระราชบัญญัติ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๔๕, นางสาว ภัทชราภรณ์…
5.2พระราชบัญญัติ
หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๔๕
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๔๕”
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วัน ถัดจากวันประกาศใน
ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้
“สถานบริการ” หมายความว่า สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ ของเอกชน และของสภากาชาดไทยหน่วยบริการการประกอบโรคศิลปะสาขาต่างๆ และสถานบริการสาธารณสุขอื่นที่คณะกรรมการกําหนดเพิ่มเติม
หน่วยบริการ” หมายความว่า สถานบริการที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ตามพระราชบัญญัตินี้
“บริการสาธารณสุข” หมายความว่า บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขซึ่งให้โดยตรงแก่บุคคลเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การตรวจวินิจฉัยโรค การรักษาพยาบาล
“เครือข่ายหน่วยบริการ” หมายความว่า หน่วยบริการที่รวมตัวกันและขึ้นทะเบียนเป็นเครือข่าย
หน่วยบริการตามพระราชบัญญัติ
“ค่าบริการ” หมายความว่า เงินที่ผู้รับบริการจ่ายให้แก่หน่วยบริการในการรับบริการสาธารณสุขแต่ละครั้ง
“ค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข” หมายความว่า ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการให้บริการ
สาธารณสุขของหน่วยบริการ ได้แก่
ค่าตรวจและรับฝากครรภ์
ค่าบําบัดและบริการทางการแพทย์
ค่ายา ค้าเวชภัณฑ์ค่าอวัยวะเทียม และค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์
ค่าตรวจวินิจฉัยโรค
ค่าสร้างเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค
ค่าทําคลอด
ค่ากินอยู่ในหน่วยบริการ
“กองทุน” หมายความว่า กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
“คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐาน” หมายความว่า คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข
“เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการสํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยคําแนะนําของคณะกรรมการหรือคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐาน แล้วแต่กรณีให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือสํานักงานสาขา แล้วแต่กรณี
“รัฐมนตรี”หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้และให้มีอํานาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ กับออกกฎกระทรวงและประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
หมวด ๑
สิทธิการรับบริการสาธารณสุข
มาตรา ๕ บุคคลทุกคนมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพตามที่กําหนดโดยพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๖ บุคคลใดประสงค์จะใชืสิทธิตามมาตรา ๕ ใหืยื่นคําขอลงทะเบียนต่อสํานักงานหรือ
หน่วยงานที่สํานักงานกําหนด เพื่อเลือกหน่วยบริการ เป็นหน่วยบริการประจํา
มาตรา ๗ บุคคลที่ได้ลงทะเบียนแล้ว ให้ใช้สิทธิรับบริการสาธารณสุขได้จากหน่วยบริการประจําของตนหรือหน่วยบริการปฐมภูมิในเครือข่ายหน่วยบริการที่เกี่ยวข้อง
มาตรา ๘ ผู้ซึ่งมีสิทธิตามมาตรา ๕ ที่ยังไม่ได้ลงทะเบียนตามมาตรา ๖ อาจเข้ารับบริการครั้งแรกทีหน่วยบริการใดก็ได้และให้หน่วยบริการที่ให้บริการแก่บุคคลดังกล่าวจัดให้บุคคลนั้นลงทะเบียนเลือกหน่วยบริการประจําตามมาตรา ๖
มาตรา ๙ ขอบเขตของสิทธิรับบริการสาธารณสุขของบุคคลดังต่อไปนี้ให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ประกาศ มติคณะรัฐมนตรีหรือคําสั่งใดๆ
พนักงานหรือลูกจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ หรือผู้ซึ่งปฏิบัติงานให้แก่หน่วยงานอื่นของรัฐหรือบุคคลอื่นใดที่มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลโดยใช้จ่ายจากเงินงบประมาณ
ข้าราชการหรือลูกจ้างของส่วนราชการ
บิดามารดา คู่สมรส บุตร หรือบุคคลอื่นใดที่ได้รับสวัสดิการการรักษาพยาบาลโดยอาศัยสิทธิของบุคคลตาม
มาตรา ๙ ขอบเขตของสิทธิรับบริการสาธารณสุขของบุคคลดังต่อไปนี้ให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ประกาศ มติคณะรัฐมนตรีหรือคําสั่งใดๆ
พนักงานหรือลูกจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ หรือผู้ซึ่งปฏิบัติงานให้แก่หน่วยงานอื่นของรัฐหรือบุคคลอื่นใดที่มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลโดยใช้จ่ายจากเงินงบประมาณ
ข้าราชการหรือลูกจ้างของส่วนราชการ
บิดามารดา คู่สมรส บุตร หรือบุคคลอื่นใดที่ได้รับสวัสดิการการรักษาพยาบาลโดยอาศัยสิทธิ
ของบุคคลตาม
มาตรา ๑๐ ขอบเขตของสิทธิรับบริการสาธารณสุขของผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคมให้เป็นไปตามที่กําหนดในกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม
มาตรา ๑๑ ในกรณีที่ลูกจ้างซึ่งมีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทนผู้ใดใช้
สิทธิรับบริการสาธารณสุขจากหน่วยบริการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๑๒ ในกรณีที่ผู้ประสบภัยจากรถตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถผู้ใดใช้สิทธิรับบริการสาธารณสุขจากหน่วยบริการตามพระราชบัญญัตินี้เมื่อใดแล้ว ให้หน่วยบริการแจ้งการเข้ารับบริการนั้น้
หมวด ๒
คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแหงชาติ
มาตรา ๑๓ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ”
ประกอบด้วย
ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงพาณิชย์ปลัดกระทรวงมหาดไทยปลัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และผู้อํานวยการ
สํานักงบประมาณ
ผู้แทนเทศบาลหนึ่งคน องค์การบริหารส่วนจังหวัดหนึ่งคน องค์การบริหารส่วนตําบลหนึ่งคน
และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบอื่นหนึ่งคน โดยให้ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละประเภท
คัดเลือกกันเอง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานกรรมการ
ผู้แทนองค์กรเอกชนซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่มิใช้เป็นการแสวงหาผลกําไรและดําเนินกิจกรรมดังต่อไปนี้องค์กรละหนึ่งคน โดยการคัดเลือกกันเองในแต่ละกลุ่มให้เหลือกลุ่มละหนึ่งคน และให้ผู้แทนดังกล่าวคัดเลือกกันเองให้เหลือจํานวนห้าคน
งานดานคนพิการหรือผูปวยจิตเวช
งานด้านผู้ติดเชื้อเอชไอวีหรือผู้ป่วยเรื้อรังอื่น
งานด้านผู้ใช้แรงงาน
งานด้านผู้สูงอาย
งานด้านสตรี
งานด้านชุมชนแออัด
งานด้านเด็กหรือเยาวชน
งานด้านเกษตรกร
งานด้านชนกลุ่มน้อย
ผู้แทน ผู้ประกอบอาชีพด้านสาธารณสุขจํานวนห้าคน ได้แก่ ผู้แทนแพทยสภา สภาการพยาบาล สภาเภสัชกรรม ทันตแพทยสภา และสมาคมโรงพยาบาลเอกชน ด้านละหนึ่งคน
ทรงคุณวุฒิจํานวนเจ็ดคนซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความเชี่ยวชาญทางด้านประกันสุขภาพ การแพทย์และสาธารณสุข การแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือก
มาตรา ๑๔ กรรมการตามมาตรา ๑๓ จะดํารงตําแหน่งกรรมการตามมาตรา ๔๘ ในขณะเดียวกัน
มิได
มาตรา ๑๕ กรรมการตามมาตรา ๑๓ วรรคหนึ่ง (๓) (๔) (๕) และ (๖) มีวาระอยูสในตําแหนสง
คราวละสี่ปีและอาจได้รับเลือกหรือแต่งตั้งใหม่อีกได้แต่จะดํารงตําแหน่งเกินกว่าสองวาระติดต่อกันไม
มาตรา ๑๖ นอกจากการพ้นตําแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๕ วรรคหนึ่งแล้วกรรมการตามมาตรา๑๓ วรรคหนึ่ง (๓) (๔) (๕) และ (๖) พ้นจากตําแหน่ง
ลาออก
เป็นบุคคลล้มละลาย
ตาย
เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
ได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่โทษสําหรับความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
คณะรัฐมนตรีให้ออกเพราะบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือหย่อนความสามารถ
มาตรา ๑๗ การประชุมคณะกรรมการ ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวน
กรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม
มาตรา ๑๘ คณะกรรมการมีอํานาจหนาที่ ดังตอไปนี้
ให้คําแนะนําต่อรัฐมนตรีในการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ออกกฎกระทรวงและประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติน
กําหนดประเภทและขอบเขตในการให่บริการสาธารณสุขที่จําเป็นต่อสุขภาพและการดํารงชีวิตและอัตราค่าบริการสาธารณสุขตามมาตรา ๕
าหนดมาตรฐานการให้บริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ และเครือข่ายหน่วยบริการ และกําหนดมาตรการในการดําเนินงานเกี่ยวกับหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้มีประสิทธิภาพ
กําหนดหลักเกณฑ์การดําเนินงานและการบริหารจัดการกองทุน
กําหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไข ในการถอดถอนเลขาธิการตามมาตรา ๓๑ และกําหนดคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามของเลขาธิการตามมาตรา ๓๒
ออกระเบียบเกี่ยวกับการรับเงิน การจ่ายเงิน และการรักษาเงินกองทุน รวมทั้งการจัดหาผลประโยชน์ตามมาตรา ๔๐
กําหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขในการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ในกรณีที่ผู้รับบริการได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลโดยหาผู้กระทําผิดมิได
สนับสนุนและประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดําเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ได้ตามความพร้อม ความเหมาะสมและความต้องการ
นับสนุนและกําหนดหลักเกณฑ์ให้องค์กรชุมชน องค์กรเอกชนและภาคเอกชนที่ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อดําเนินการแสวงหาผลกําไร
กําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ให้บริการและผู้รับบริการเพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข
กําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการลงโทษปรับทางปกครองและการเพิกถอนการขึ้นทะเบียน
จัดทํารายงานเกี่ยวกับผลงานและอุปสรรคในการดําเนินงาน รวมทั้งบัญชีและการเงินทุก
ประเภทของคณะกรรมการ
จัดประชุมเพื่อให้คณะกรรมการรับฟ้งความคิดเห็นโดยทั่วไปจากผู้ให้บริการและผู้รับบริการเป็นประจําทุกปี
ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่พระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นกําหนดให้เป็นอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการหรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
มาตรา ๑๙ ให้คณะกรรมการมีอํานาจหน้าที่ควบคุมดูแลสํานักงานให้ดําเนินกิจการให้เป็นไปตาม
วัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้อํานาจหน้าที่เช่นว่านี้ให้รวมถึง
อนุมัติแผนการเงินของสํานักงาน
ควบคุมดูแลการดําเนินงานและการบริหารงานทั่วไป ตลอดจนออกระเบียบข้อบังคับ ประกาศหรือข้อกําหนดเกี่ยวกับการบริหารงานทั่วไป
กําหนดนโยบายการบริหารงาน และให้ความเห็นชอบแผนการดําเนินงานของสํานักงาน
มาตรา ๒๐ คณะกรรมการมีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ
นี้หรือตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
ให้นํามาตรา ๑๗ มาใช้บังคับกับการประชุม วิธีการประชุม และการปฏิบัติงานของคณะอนุกรรมการ
และอนุกรรมการโดยอนุโลม
มาตรา ๒๑ ให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบขึ้นคณะหนึ่งมีอํานาจหน้าที่
ตรวจสอบการบริหารเงินและการดําเนินงานของสํานักงาน
มาตรา ๒๒ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ให้คณะกรรมการ หรือคณะอนุกรรมการ
แล้วแต่กรณี
มาตรา ๒๓ ให้กรรมการและอนุกรรมการได้รับเบี้ยประชุม ค่าใช้จ่ายในการเดินทางและค่าใช้จ่ายอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ ตามที่รัฐมนตรีกําหนด
หมวด ๓
สํานักงานหลักประกันสุขภาพแหงชาติ
มาตรา ๒๔ ให้มีสํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นหน่วยงานของรัฐมีฐานะเป็นนิติบุคคลอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของรัฐมนตร
มาตรา ๒๕ ให้สํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร หรือในเขตจังหวัด
ใกล้เคียง
มาตรา ๒๖ ให้สํานักงานมีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
จัดให้มีทะเบียนผู้รับบริการ หน่วยบริการ และเครือข่ายหน่วยบริการ
บริหารกองทุนให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกําหนด
จ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขตามที่คณะกรรมการกําหนดให้แก่หน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการตามมาตรา ๔๖
ตรวจสอบเอกสารหลักฐานการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ
ดําเนินการเพื่อให้ประชาชนมีหน่วยบริการประจํา และการขอเปลี่ยนหน่วยบริการประจํารวมทั้งประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนทราบข้อมูลของหน่วบริการ
กํากับดูแลหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการในการให้บริการสาธารณสุขให้เป็นไปตามมาตรฐานที่คณะกรรมการกําหนด และอํานวยความสะดวกในการเสนอเรื่องร้องเรียน
ถือกรรมสิทธิ์มีสิทธิครอบครอง และมีทรัพยสิทธิต่างๆ
ก่อตั้งสิทธิและทํานิติกรรมสัญญาหรือข้อตกลงใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สิน
เรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการในการดําเนินกิจการของสํานักงาน
มอบให้องค์กรอื่นหรือบุคคลอื่นทํากิจการที่อยู่ภายในอํานาจหน้าที่ของสํานักงาน
จัดทํารายงานประจําปีเกี่ยวกับผลงานและอุปสรรคในการดําเนินงานของคณะกรรมการและคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐาน และเผยแพร่ต่อสาธารณชน
เก็บ รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการดําเนินงานการบริการสาธารณสุข
รับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการ คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานคณะอนุกรรมการของคณะกรรมการดังกล่าว และคณะกรรมการสอบสวน
ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่พระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นบัญญัติให้เป็นอํานาจหน้าที่ของสํานักงานหรือตามที่คณะกรรมการหรือคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานมอบหมาย
มาตรา ๒๗ ทรัพย์สินของสํานักงานไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี
มาตรา ๒๘ บรรดาอสังหาริมทรัพย์ที่สํานักงานได้มาโดยมีผู้บริจาคให้หรือได้มาโดยการซื้อหรือ
แลกเปลี่ยนจากรายได้ของสํานักงาน ให็เป็นกรรมสิทธิ์ของสํานักงาน
มาตรา ๒๙ ให้คณะกรรมการเสนอขอรับงบประมาณรายจ่ายประจําปีต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อเป็น
ค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของสํานักงาน
มาตรา ๓๐ การเก็บรักษาและการใช้จ่ายเงินของสํานักงานให็เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการ
กําหนด
มาตรา ๓๑ ให้สํานักงานมีเลขาธิการเป็นผู้รับผิดชอบการบริหารกิจการของสํานักงานให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกําหนด นโยบาย มติและประกาศของคณะกรรมการ
มาตรา ๓๒ เลขาธิการต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
ไม่เคยได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
ไม่เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย
ไม่เคยต้องคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ํารวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ
ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟันเฟื้อน
ไม่เป็นผู้บริหารหรือพนักงานของรัฐวิสาหกิจอื่น หรือกิจการอื่นที่แสวงหากำไร
สามารถทํางานให้แก่สํานักงานได้เต็มเวลา
ไม่เป็นข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้าง ซึ่งมีตําแหน่งหรือเงินเดือนประจําของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
มีสัญชาติไทย
ไม่เป็นข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภาสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือ
ผู้บริหารท้องถิ่น
ไม่เป็นกรรมการหรือที่ปรึกษาพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
ไม่เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากหนาวยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือบริษัทมหาชนจํากัด เพราะทุจริตตาอหน้าที่
ไม่เป็นหรือภายในระยะเวลาหนึ่งปีก่อนวันได้รับแต่งตั้ง ไม่เคยเป็นกรรมการหรือผู้บริหารหรือผู้มีอํานาจในการจัดการหรือมีส่วนได้เสียในนิติบุคคลซึ่งเป็นคู่สัญญาผู้เข้าร่วมงาน
คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามอื่นตามที่คณะกรรมการกําหนด
มาตรา ๓๓ เลขาธิการพ้นจากตําแหน่งเมื่อ
ต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทําโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
ขาดการประชุมคณะกรรมการเกินสามครั้งติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร
ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๒
คณะกรรมการถอดถอนจากตําแหน่งเพราะบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือหย่อนความสามารถ
ถูกเลิกสัญญาจ้าง
ลาออก
ตาย
มาตรา ๓๔ ให้เลขาธิการมีวาระอยู่ในตําแหน่งคราวละสี่ปรและอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้แต่จะดํารงตําแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันไม่ได้
มาตรา ๓๕ ให้เลขาธิการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งเป็นผู้ดํารงตําแหน่งระดับสูงและให้ถือเป็นผู้ดํารงตําแหน่งซึ่งต้องห้ามมิให้ดําเนินกิจการที่เป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์
มาตรา ๓๖ เลขาธิการมีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี
ออกระเบียบหรือประกาศเกี่ยวกับการดําเนินงานของสํานักงานโดยไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบข้อบังคับ ประกาศ ข้อกําหนด นโยบาย หรือมติของคณะกรรมการ
บรรจุ แต่งตั้ง เลื่อน ลด ตัดเงินเดือน หรือค่าจ้าง ลงโทษทางวินัยเจ้าหน้าที่และลูกจ้างของ
สํานักงาน
มาตรา ๓๗ ให้มีสํานักตรวจสอบขึ้นในสํานักงานทําหน้าที่เป็นสํานักงานเลขานุการของคณะอนุกรรมการตรวจสอบ
หมวด ๔
กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
มาตรา ๓๘ ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งในสํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเรียกว่า
“กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ”
มาตรา ๓๙ กองทุนประกอบด้วย
เงินค่าปรับทางปกครองตามพระราชบัญญัตินี้
เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคหรือมอบให้แก่กองทุน
ดอกผลหรือผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน
เงินหรือทรัพย์สินใดๆ ที่กองทุนได้รับมาในกิจการของกองทุน
เงินที่ได้รับจากการดําเนินการให้บริการสาธารณสุขตามพระราชบัญญัตินี้
เงินที่ได้รับจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
เงินที่ได้รับจากงบประมาณรายจ่ายประจําปี
เงินสมทบอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
มาตรา ๔๐ การรับเงิน การจ่ายเงิน และการเก็บรักษาเงินกองทุน รวมทั้งการนําเงินกองทุนไปจัดหาผลประโยชน์เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกําหนด
มาตรา ๔๑ ให้คณะกรรมการกันเงินจํานวนไม่เกินร้อยละหนึ่งของเงินที่จะจ่ายให้หน่วยบริการไว้เป็น
เงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้รับบริการ
มาตรา ๔๒ ในกรณีที่ผู้รับบริการได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลของหน่วยบริการ
มาตรา ๔๓ ภายในสามเดือนนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ให้คณะกรรมการเสนองบดุลและรายงานการรับจ่ายเงินของกองทุนในปีที่ล่วงมา
หมวด ๕หน่วยบริการและมาตรฐานบริการสาธารณสุข
มาตรา ๔๔ ให้สํานักงานจัดให้มีการขึ้นทะเบียนหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการ แล้วประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ เพื่อดําเนินการลงทะเบียนเลือกเป็นหน่วยบริการประจําของตนตามมาตรา ๖
มาตรา ๔๕ ให้หน่วยบริการมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้
ให้ข้อมูลที่เกี่ยวกับชื่อแพทย์เจ้าหน้าที่สาธารณสุข หรือผู้รับผิดชอบในการดูแลอย่างต่อเนื่องทางด้านสุขภาพกายและสังคม แก่ญาติหรือผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้รับบริการอย่างเพียงพอ
รักษาความลับของผู้รับบริการจากการปฏิบัติหน้าที่ตาม (๑) และ (๒)อย่างเคร่งครัด เว้นแต่เป็นการเปิดเผยต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย
ให้ข้อมูลการบริการสาธารณสุขของผู้รับบริการตามที่ผู้รับบริการร้องขอและตามประกาศที่มีการกําหนดเกี่ยวกับสิทธิของผู้ป่วยและผู้รับบริการโดยไม่บิดเบื้อน
จัดทําระบบข้อมูลการให้บริการสาธารณสุข เพื่อสะดวกต่อการตรวจสอบคุณภาพและบริการ
รวมทั้งการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข
ให้บริการสาธารณสุข รวมทั้งการใช้วัคซีน ยา เวชภัณฑ์อุปกรณ์ในการรักษาที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ โดยให้ความเสมอภาคและอํานวยความสะดวกในการให้บริการสาธารณสุขที่จําเป็น
มาตรา ๔๖ หน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการตามมาตรา ๔๔ และหน่วยบริการที่รับการส่งต่อผู้รับบริการ
ครอบคลุมถึงค้าใช้จ่ายของหน่วยบริการในส่วนเงินเดือนและค่าตอบแทนบุคลากร
คํานึงถึงความแตกต่างในภารกิจของหน่วยบริการ
อาศัยราคากลางที่เป็นจริงของโรคทุกโรคมาเป็นฐานตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานตามมาตรา ๕๐
คํานึงถึงความแตกต่างในกลุ้มผู้รับบริการและในขนาดของพื้นที่บริการที่หน่วยบริการรับผิดชอบ
มาตรา ๔๗ เพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้กับบุคคลในพื้นที่ โดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น
หมวด ๖
คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข
มาตรา ๔๘ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐาน
บริการสาธารณสุข” ประกอบด้วย
ผู้แทนเทศบาลหนึ่งคน องค์การบริการส่วนจังหวัดหนึ่งคน องค์การบริหารส่วนตําบลหนึ่งคนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบอื่นหนึ่งคน
ผู้แทนผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ทันตกรรม และเภสัชกรรม วิชาชีพละหนึ่งคน
ผู้แทนโรงพยาบาลเอกชนที่เป็นสมาชิกของสมาคมโรงพยาบาลเอกชนหนึ่งคน
ผู้แทนราชวิทยาลัยแพทย์เฉพาะทางสาขาสูตินรีเวช สาขาศัลยกรรม สาขาอายุรกรรม และสาขากุมารเวชกรรม สาขาละหนึ่งคน
ผู้แทนแพทยสภา ผู้แทนสภาการพยาบาล ผู้แทนทันตแพทยสภา ผู้แทนสภาเภสัชกรรม และผู้แทนสภาทนายความ
ผู้แทนผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์สาขากายภาพบําบัด สาขาเทคนิคการแพทย์สาขารังสีเทคนิค สาขากิจกรรมบําบัด สาขาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก
อธิบดีกรมการแพทย์เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ประธานสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล และผู้อํานวยการกองการประกอบโรคศิลปะ
ผู้แทนองค์กรเอกชนซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่มิใชเเป็นการแสวงหาผลกําไร และดําเนินกิจกรรม
ดังต่อไปนี้องค์กรละหนึ่งคน
มาตรา ๔๙ การดํารงตําแหน่ง วาระการดํารงตําแหน่ง การพ้นจากตําแหน่งและการประชุมของคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐาน
มาตรา ๕๐ คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานมีอํานาจหนาที่ดังต่อไปนี
กำหนดมาตรการควบคุมและส่งเสริมคุณภาพและมาตรฐานหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการ
เสนอแนะอัตราราคากลางของโรคทุกโรคต่อคณะกรรมการเพื่อประกอบการวางหลักเกณฑ์กําหนดค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขให้แก่หน่วยบริการตามมาตรา ๔๖
กำกับดูแลการให้บริการสาธารณสุขของหน่วยบริการให้มีคุณภาพและมาตรฐาน ในกรณีที่หน่วยบริการนั้นๆ
กําหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขในการร้องเรียนของผู้ซึ่งถูกละเมิดสิทธิจากการใช้บริการและวิธีพิจารณาเรื่องร้องเรียนดังกล่าว
ควบคุมคุณภาพและมาตรฐานหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการตาม มาตรา ๔๕
รายงานผลการตรวจตราและการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานหน่วยบริการและเครือข่าย
หน่วยบริการต่อคณะกรรมการ
สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจตราและการควบคุมกํากับหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการ
จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ในกรณีที่ผู้รับบริการได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลโดยหาผู้กระทําผิดมิได้หรือหาผู้กระทําผิดได้แต่ผู้รับบริการไม่ได้รับค่าเสียหายภายในระยะเวลาอัน
สมควรตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกําหนด
สนับสนุนให้มีการพัฒนาระบบการเผยแพร่ข้อมูลแก่ประชาชนเพื่อใช่ประกอบการตัดสินใจในการเข้ารับบริการสาธารณสุข
ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่พระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นกําหนด ให้เป็นอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานหรือตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
มาตรา ๕๑ คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานมีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติตามที่คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานมอบหมายได้
มาตรา ๕๒ ให้คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐาน และคณะอนุกรรมการมีอํานาจขอให้
หน่วยงานของรัฐหรือสั่งให้บุคคลใดที่เกี่ยวข้องมีหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริง
มาตรา ๕๓ ให้กรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานและอนุกรรมการได้รับค่าเบี้ยประชุม
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางและค่าใช้จ่ายอื่น ในการปฏิบัติหน้าที่ตามที่รัฐมนตรีกําหนด
หมวด ๗
พนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา ๕๔ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจเข้าไปใน สถานที่ของหน่วยบริการ หรือของเครือข่ายหน่วยบริการ ในระหว่างเวลาทําการ เพื่อตรวจสอบ สอบถามข้อเท็จจริง
มาตรา ๕๕ ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจําตัวแก่บุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง บัตรประจําตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีกําหนด โดยประกาศใน
ราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๕๖ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตาม ประมวลกฎหมายอาญา
หมวด ๘
การกํากับมาตรฐานหน่วยบริการ
มาตรา ๕๗ ในกรณีที่สํานักงานตรวจสอบพบว่าหน่วยบริการใดไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานการ ให้บริการสาธารณสุขที่กําหนด ให้รายงานต่อคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานเพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการ สอบสวนพิจารณา
มาตรา ๕๘ ในกรณีที่ผลการสอบสวนตามมาตรา ๕๗ ปรากฏว่าหน่วยบริการใดไม่ปฏิบัติตาม มาตรฐานที่กําหนด ให้คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานดําเนินการ ดังต่อไปนี้
ในกรณีที่เป็นการกระทําโดยไม่เจตนาให้มีคําสั่งเตือนให้ปฏิบัติโดยถูกต้อง
ในกรณีที่มีเจตนากระทําผิด ให้มีคําสั่งให้หน้วยบริการนั้นชําระค้าปรับทางปกครองเป็นจํานวน ไม่เกินหนึ่งแสนบาท สําหรับการกระทําความผิดแต่ละครั้ง
แจ้งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีการสอบสวนและวินิจฉัยชี้ขาดข้อกล่าวหาหรือข้อ กล่าวโทษผู้ประกอบวิชาชีพทางด้านสาธารณสุขซึ่งอาจมีส่วนรับผิดชอบในการกระทําผิดของหน่วยบริการ
มาตรา ๕๙ ในกรณีที่ผู้รับบริการผู้ใดไม่ได้รับความสะดวกตามสมควรหรือตามสิทธิที่จะได้รับ บริการสาธารณสุขที่กําหนดตามพระราชบัญญัตินี้จากหน่วยบริการหรือหน่วยบริการเรียกเก็บค่าบริการจากตนโดยไม่มีสิทธิที่จะเก็บหรือเรียกเก็บเกินกว่าอัตราที่คณะกรรมการกําหนด
มาตรา ๖๐ ในกรณีที่การกระทําผิดของหน่วยบริการตามมาตรา ๕๘ หรือมาตรา ๕๙ เป็นการกระทํา ผิดร้ายแรงหรือเกิดซ้ําหลายครั้ง ให้เลขาธิการรายงานตอคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานเพื่อพิจารณา
มาตรา ๖๑ ผู้ร้องเรียนหรือหน่วยบริการที่ได้รับคําสั่งจากคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและ มาตรฐานตามหมวดนี้ ให้มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งหรือวันที่ได้รับทราบ คําสั่ง แล้วแต่กรณี
หมวด ๙
บทกําหนดโทษ
มาตรา ๖๓ ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของคณะกรรมการ คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและ มาตรฐาน คณะอนุกรรมการของคณะกรรมการดังกล่าว ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือ ทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๖๔ ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อํานวยความสะดวกตามสมควรแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติ หน้าที่ตามมาตรา ๕๕ วรรคสาม ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้ง ปรับ
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๖๕ ในวาระเริ่มแรก มิให้นําบทบัญญัติมาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๑๑ และ มาตรา ๑๒ มาใช้บังคับ จนกว่าจะได้มีการจัดเตรียมความพร้อมเพื่อให้บริการสาธารณสุขตามบทบัญญัติดังกล่าว
มาตรา ๖๖ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา ๙ และมาตรา ๑๐ ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และหากไม่แล่วเสร็จให้ขยายระยะเวลาได้ครั้งละหนึ่งปี
มาตรา ๖๗ ให้กระทรวงสาธารณสุขดําเนินการให้มีการคัดเลือกและแต่งตั้งกรรมการตามมาตรา
มาตรา ๖๙ ให้โอนกิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ และความรับผิด รวมทั้งเงินงบประมาณของกระทรวง สาธารณสุข ในส่วนที่เกี่ยวกับงานประกันสุขภาพตามพระราชบัญญัตินี้ตลอดจนเงินทุนหมุนเวียนบัตรประกันสุขภาพ ไปเป็นของสํานักงานในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๗๐ ข้าราชการหรือลูกจ้างของส่วนราชการใดสมัครใจจะเปลี่ยนไปเป็นเจ้าหน้าที่หรือลูกจ้าง ของสํานักงาน ให้แจ้งความจํานงเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชา
นางสาว ภัทชราภรณ์ ป๊กคำ 6001210668 เลขที่ 31 sec B