Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 3 นโยบาย กฎหมาย แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ และประเด็นจริยธรรมในการดูแล…
หน่วยที่ 3 นโยบาย กฎหมาย แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ และประเด็นจริยธรรมในการดูแลผู้สูงอายุ
การเตรียมตัวรับมือกับ aging society
สหภาพยุโรป EU
การปรับปรุงนโยบายในเรื่องบํานาญ และการดูแลสุขภาพของผู้สูงวัย
ขึ้นภาษีเงินได้บุคคลเพิ่มขึ้น 20% ของ รายได้
ก่อตั้งคณะทํางานที่ดูแลเกี่ยวกับสุขภาพของประชากรผู้สูงวัยในประเทศ European Innovation Partnership on Active and Healthy Ageing (EIP)
โดยการตั้งเป้าหมายว่า ต้องการยืดอายุช่วงชีวิตมนุษย์ให้เพิ่มขึ้นอีก 2 ปี ภายในปี 2020 โดยต้องมีชีวิตอยู่ด้วยคุณภาพชีวิตที่ดีสามารถพึ่งพาตนเองได้และสร้างผลผลิต ให้กับประเทศชาติ
รัฐบาลเสริมสร้างการจ้างงานในผู้สูงอาย
ญี่ปุ่น
พัฒนาการเพิ่มผลผลิตจากการพัฒนา เทคโนโลยี การพัฒนาระบบการศึกษา
มีการเตรียมแผนรองรับปัญหาที่จะ เกิดขึ้นทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม
การพัฒนาสาธารณูปโภคเพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้สูงอายุ
การปรับระบบการเงินการคลังให้ทันสมัยโดยการปฏิรูประบบการเงินการธนาคาร จัดสรรกองทุนและสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนในการจัดสรรการให้ทุน สร้างระบบที่มีประสิทธิภาพในการให้สินเชื่อและการทวงหนี้การปรับระบบการประกันสังคม (Oizumi, Kajiwara, and Artame 2006)
รัฐบาลมีการออกกฎหมายข้อบังคับสนับสนุนการจ้างงาน ผู้สูงอายุโดย ให้ความสนับสนุนในสิทธิประโยชน์การจ้างงานผู้สูงอายุแก่นายจ้างและ ผู้ประกอบการและให้คําปรึกษาแก่ผู้สูงอายุในการเตรียมความพร้อมสําหรับอาชีพในสูงวัย
เกาหลี
ออกนโยบายการจ้างงานผู้สูงอายุ
ดูแลเรื่องบํานาญสําหรับข้าราชการโดยเฉพาะ อย่างยิ่งข้าราชการทหาร และครูสถาบันการศึกษาเอกชน รวมทั้งการเพิ่มโปรแกรมประกัน สุขภาพระยะยาวสําหรับผู้สูงอายุ
นโยบายเพิ่มความเข้มแข็งของ ความเป็นครอบครัว โดยการสนับสนุนทรัพยากรต่างๆ (Ki-Soo Eun 2008) เพื่อให้ครอบครัว สามารถดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวได้โดยเป็นการแบ่งเบาภาระของรัฐบาลอีกทางหนึ่ง
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550
“มาตรา 53 บุคคลซึ่งมีอายุเกินหกสิบปีบริบูรณ์และไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ มีสิทธิได้รับสวัสดิการ สิ่งอานวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะอย่างสมศักดิ์ศรี และความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ” และ
“มาตรา 80 รัฐต้องดาเนินการตามแนวนโยบายด้านสังคม การสาธารณสุขการศึกษา และวัฒนธรรม ดังนี้
คุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน สนับสนุนการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาปฐมวัย ส่งเสริมความเสมอภาคของหญิงและชาย เสริมสร้างและพัฒนาความเป็นปึกแผ่นของสถาบันครอบครัวและชุมชน รวมทั้งต้องสงเคราะห์และจัดสวัสดิการให้แก่ผู้สูงอายุ ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้อยู่ในสภาวะยากลาบาก ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและพึ่งพาตนเองได้”
มาตรา 84 รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านเศรษฐกิจ ดังต่อไปนี้
(4) จัดให้มีการออมเพื่อการดำรงชีพในยามชราแก่ประชาชนและเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างทั่วถึง
ปฏิญญาผู้สูงอายุไทย
มีสาระสำคัญ 9 ประการเพื่อส่งเสริมสวัสดิการของผู้สูงอายุ คือ
ได้รับปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่าและศักดิ์ศรี
ได้รับการพิทักษ์และคุ้มครองให้พ้นจากการถูกทอดทิ้ง และละเมิดสิทธิโดยปราศจากการเลือกปฏิบัติ
การอยู่กับครอบครัวโดยได้รับความเคารพรัก ความเข้าใจความเอื้ออาทร การดูแลเอาใจใส่
การได้รับโอกาสในการศึกษาเรียนรู้ และพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างต่อเนื่อง
การได้ถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์ให้สังคม
การได้เรียนรู้ในการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง มีหลักประกันและสามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพอนามัย
การมีส่วนร่วมในสังคมและชุมชน ด้านผู้สูงอายุกับบริการปฐมภูมิหลักด้านผู้สูงอายุ
การตรากฎหมายเพื่อบังคับใช้ในการพิทักษ์สิทธิ คุ้มครองสวัสดิภาพ และจัดสวัสดิการแก่ผู้สูงอายุ
การปลูกฝัง ค่านิยมให้สังคมตระหนักถึงคุณค่าของผู้สูงอายุตามวัฒนธรรมไทย
พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546
มีสาระสำคัญ คือ หลักที่กำหนดให้ผู้สูงอายุมีสิทธิได้รับการคุ้มครองในด้านต่างๆ
กระทรวงสาธารณสุข เรื่องการบริการทางการแพทย์และการสาธารณสุขที่จัดไว้ให้โดยให้ความสะดวกรวดเร็วแก่ผู้สูงอายุเป็นกรณีพิเศษ
กระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การส่งเสริมและสนับสนุนผู้สูงอายุในการศึกษาและข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต
ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต
กระทรวงแรงงาน เรื่อง การสนับสนุนผู้สูงอายุในการประกอบอาชีพหรือฝึกอาชีพที่เหมาะสม
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เรื่องการพัฒนาตนเองและการมีส่วนร่วมกิจกรรมในสังคม การอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยโดยตรงแก่ผู้สูงอายุ การช่วยเหลือผู้สูงอายุซึ่งได้รับอันตรายจากการถูกทารุณกรรมหรือถูกแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย หรือถูกทอดทิ้ง และการให้คำแนะนำปรึกษาดำเนินการในการแก้ไขปัญหาครอบครัวตาม การสนับสนุนจัดที่พักอาศัย อาหาร และเครื่องนุ่งห่ม และการสงเคราะห์การจัดการศพตามประเพณี
กระทรวงมหาดไทย ออกระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่ยากจน และด้อยโอกาสทั่วประเทศผ่านองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
กระทรวงวัฒนธรรม เรื่องการจัดบริการเพื่ออำนวยความสะดวกด้านพิพิธภัณฑ์โบราณสถาน หอจดหมายเหตุฯ และการจัดกิจกรรมด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรม
กระทรวงคมนาคม เรื่องการอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยแก่ผู้สูงอายุในอาคารสถานที่หรือยานพาหนะ และการช่วยเหลือค่าโดยสารตามความเหมาะสม โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้มีคำสั่งให้ลดค่าโดยสารยานพาหนะ ตามช่วงเวลาที่กำหนด (มิถุนายน-กันยายน) การบินไทยลดหย่อนค่าโดยสารแก่ผู้สูงอายุร้อยละ 15 และรถไฟใต้ดินลดหย่อนค่าโดยสารครึ่งราคา
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องการกำหนดให้หน่วยงานของรัฐยกเว้นค่าเข้าชมสถานที่ของรัฐ
กระทรวงยุติธรรม เรื่องการให้คำแนะนำ ปรึกษา ดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องในทางคดีสำหรับผู้สูงอายุ
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เรื่องการส่งเสริมและการสนับสนุนผู้สูงอายุในการจัดบริการเพื่ออำนวยความสะดวกสถานที่ท่องเที่ยวและการจัดกิจกรรมกีฬาและนันทนาการ
กระทรวงการคลัง ได้ออกประกาศกระทรวงกำหนดให้กองทุนผู้สูงอายุเป็นองค์การตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมทั้งมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2548 ซึ่งมีสาระในการกำหนดให้ผู้อุปการะเลี้ยงดูบุพการีซึ่งเป็นผู้สูงอายุที่ไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ มีสิทธิได้รับการหักลดหย่อนภาษีสำหรับบิดามารดา ที่มีอายุหกสิบปีขึ้นไป
แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2545 - 2564)
ปรัชญา“สร้างหลักประกันในวัยสูงอายุ โดยเริ่มจากการช่วยเหลือตนเอง ครอบครัวให้การเกื้อหนุน ชุมชนให้ความช่วยเหลือ และสุดท้าย คือ สังคม-ภาครัฐให้การเกื้อหนุนตามลำดับ การคำนึงถึงศักดิ์ศรีของผู้สูงอายุ ซึ่งสมควรดำรงชีวิตอยู่ในชุมชนของตนได้อย่างมีคุณภาพ”
วิสัยทัศน์ “ผู้สูงวัยเป็นหลักชัยของสังคม”
วัตถุประสงค์ของแผน คือ เพื่อให้ผู้สูงอายุดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี พึ่งตนเองได้ มีคุณภาพชีวิต และมีหลักประกัน เพื่อให้ประชาชน ครอบครัว ชุมชน องค์กรภาครัฐ เอกชน มีส่วนร่วมในภารกิจด้านผู้สูงอายุ
ยุทธศาสตร์
ด้านการเตรียมความพร้อมของประชากรเพื่อวัยสูงอายุที่มีคุณภาพ
ด้านการส่งเสริมผู้สูงอายุ
ด้านระบบคุ้มครองทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุ
ด้านการบริหารจัดการ เพื่อการพัฒนางานด้านผู้สูงอายุระดับชาติ และการพัฒนาบุคลากรด้านผู้สูงอายุ
ด้านการประมวลและพัฒนาองค์ความรู้ด้านผู้สูงอายุ และการติดตาม
ประเมินผลการดำเนินการตามแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ
แนวคิดการนำแผนระยะยาวและนโยบายของรัฐสู่การปฏิบัติ
1.การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ
การเตรียมความพร้อมของสุขภาพร่างกาย
การเตรียมเรื่องการเงินและทรัพย์สิน
การเตรียมเรื่องบ้านและที่อยู่
เตรียมการเรื่องงาน
พิทักษ์สิทธิ์ผู้สูงอายุให้ได้รับสิทธิประโยชน์ที่พึงได้
พัฒนาระบบบริการสุขภาพ ให้มีศักยภาพในการให้บริการแก่ผู้สูงอายุ
ให้บริการแก่ผู้สูงอายุโดยไม่ลำเอียง
พัฒนาฐานข้อมูลผู้สูงอายุ
เจตคติและประเด็นจริยธรรมในการดูแลผู้สูงอายุ
จริยธรรมในการพยาบาลผู้สูงอายุ
การเคารพเอกสิทธิ์ หรือความเป็นอิสระ (autonomy)
การทำประโยชน์ (beneficence)
การไม่ทำอันตราย (nonmaleficence)
ความยุติธรรม (justice)
การมีสัจจะ และความซื่อสัตย์ (veracity and fidelity)
ประเด็นจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในการดูแลผู้สูงอายุ
ประเด็นจริยธรรมที่ต้องคำนึงถึงสำหรับผู้สูงอายุ
เอกสิทธิ์ (Autonomy)
การกำหนดเอง (Self-Determination)
ความสามารถ (Ability)
การช่วยฟื้นคืนชีวิต หรือการให้การบำบัดรักษา
ประเทศไทยได้มีออกพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 มาตรา 12 ซึ่งกล่าวไว้ว่า“บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้ การดำเนินการตามหนังสือเจตนาตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กาหนดในกฎกระทรวง เมื่อผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขได้ปฏิบัติตามเจตนาของบุคคลตามวรรคหนึ่งแล้วมิให้ถือว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดและให้พ้นจากความรับผิดทั้งปวง”
Advance Directive: คนไข้กำหนดหรือแสดงเจตนาเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลในอนาคตเอาไว้
Living Will: เอกสารทางกฎหมายที่ยืนยันและให้ดำเนินการการรักษาพยาบาลตามการตัดสินใจของคนไข้ ตลอดจนการปฏิเสธหรือยอมรับการรักษาชีวิตคนไข้เอาไว้
การขอความยินยอมในการรักษา (Informed consent) จะมีความสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อมีองค์ประกอบ 3 ส่วน
Disclosure: ผู้ป่วยได้รับทราบข้อมูลอย่างมากเพียงพอที่จะสร้างความเข้าใจสาหรับตัดสินใจ
Voluntariness: ผู้ป่วยตัดสินใจโดยปราศจากการขู่เข็ญบังคับทั้งทางตรงและทางอ้อม
Capacity: ผู้ป่วยมีความสามารถในการแยกแยะผลดีและผลเสีย
แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับลักษณะสูงอายุ
แนวคิดพฤฒพลัง (Active ageing)
WHO: Active ageing คือ กระบวนการที่เอื้อให้เกิดการสร้างเหมาะสม และโอกาสในการพัฒนาตนเอง การมีส่วนร่วม ความมั่นคง เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตเมื่อสูงวัยในอนาคต และยังอธิบายถึงความหมายแบ่งไว้ 3 ประการ คือ
การพึ่งพาตนเองได้ หรือคงภาวะสุขภาพที่ดีที่สุดของตนเองในแต่ละช่วงชีวิตให้ได้
การมีส่วนร่วมกับสังคมให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้
การสร้างหลักประกันและความมั่นคงให้ตนเองตามอัตภาพ ซึ่งข้อนี้รัฐอาจต้องลงมามีส่วนช่วยในการสร้างหลักประกันให้กับผู้สูงอายุในท้ายที่สุด
ความสำคัญของ Active Aging คือ ช่วยลดอัตราการพึ่งพาลงได้
แนวคิดผู้สูงอายุสุขภาพดี (Healthy ageing)
Healthy Ageing หมายถึง การเป็น ผู้สูงอายุที่ปราศจากโรคมีศักยภาพในการดำรงชีวิตตามปกติ สามารถสร้างประโยชน์ในกับชุมชนและสังคม
แนวคิดการประสบความสำเร็จในวัยสูงอายุ (Successful ageing)
Successful aging คือ ผู้สูงอายุที่มีความสำเร็จในชีวิต ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับ activity ได้แก่
Interpersonal relationship : ช่วยเหลือ สอนแนะคนอื่น
Productive activity : ถ่ายทอดข้อมูล เพิ่มคุณค่าแก่สังคม มีกิจกรรมที่สร้างสรรค์ สร้างสรรค์
แนวคิดผู้สูงอายุยังประโยชน์ (Productive ageing)
การเป็นผู้สูงอายุที่มีศักยภาพและความสามารถในการพึ่งพาตนเองเท่าที่จะทำได้ของผู้สูงอายุ และการใช้ความสามารถเพื่อให้เกิดความสร้างสรรค์ต่อตนเอง และบุคคลอื่น โดยมีนัยยะของการลดอุปสรรคในการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุในการดึงความสามารถของผู้สูงอายุเพื่อมาใช้ประโยชน์