Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System) - Coggle Diagram
ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System)
ความหมายของระบบคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์ ( Computer System ) คือ องค์ประกอบที่จะทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ถ้าขาดองค์ประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งแล้ว เครื่องคอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถทำงานได้
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
1.Hardware
อุปกรณ์หรือชิ้นส่วนของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีวงจรไฟฟ้าอยู่ภายในเป็นส่วนใหญ่ สามารถจับ ต้องได้ เช่น ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวซีพูยู จอภาพ เมาส์ แป้นพิมพ์ ลำโพง ฯลฯ เป็นต้น
Storage
จัดเก็บข้อมูล คอมพิวเตอร์จะทำการจัดเก็บข้อมูลลงในอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลได้แก่ ฮาร์ดดิสก์ แผ่นดิสเก็ต
Process
ประมวลผล เมื่อคอมพิวเตอร์รับข้อมูลเข้าสู่ระบบแล้ว จะทำการประมวลผลตามโปรแกรมคำสั่งที่กำหนดไว้
Input
รับข้อมูลเข้า คอมพิวเตอร์จะทำหน้าที่รับข้อมูลเพื่อนำไปประมวลผล อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลได้แก่ แป้นพิมพ์ เมาส์
Output
แสดงผล คอมพิวเตอร์จะแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลไปยังหน่วยแสดงผล อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แสดงผล ได้แก่ จอภาพ เครื่องพิมพ์
2.Software
โปรแกรมหรือชุดคำสั่ง ที่จะสั่ง และควบคุมให้ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ทำงาน เราไม่สามารถจับต้องโดยตรงเหมือนกับตัวฮาร์แวร์ เพราะซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมนี้จะถูกจัดเก็บอยู่ในสื่อ ที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล เช่น แผ่นดิสก์ ฮาร์ดดิส ซีดีรอม แฮนดีไร์ฟ เป็นต้น ซอฟต์แวร์ที่มักติดตั้งไว้ในฮาร์ดดิสก์เพื่อทำงานทันทีที่เปิดเครื่องคือ ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ
System Software
เป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ประสานกัน และควบคุมลำดับขั้นตอนการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ระบบที่นิยมแพร่หลาย ได้แก่ DOS, UNIX, WINDOWS, SUN, OS/2, NET WARE
ระบบปฏิบัติการของไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer Operating System) จะมีลักษณะเฉพาะโดยขึ้นอยู่กับระบบปฏิบัติการและฮาร์ดแวร์ โปรแกรมสำเร็จรูปไม่สามารถใช้ข้ามระบบปฏิบัติการได้ เช่น โปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้บนระบบปฏิบัติการ MS - DOS จะไม่สามารถนำไปใช้บน Windows ได้
โปรแกรมที่ทำงานทางด้านควบคุม (Control Programs) หมายถึง โปรแกรมที่ใช้ ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องที่สำคัญ
link to coggle.it
Application Software
เป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่ง ที่เขียนขึ้นเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานเฉพาะอย่าง หรือเฉพาะด้านประเภทของซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) มี 2 ประเภท
ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน
เป็นโปรแกรมที่ผลิตขึ้นมาเพื่อทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง และไม่สามารถทำงานอื่นได้ เช่น โปรแกรมระบบบัญชี โปรแกรมช่วยงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไปหรือซอฟต์แวร์สำเร็จรูป
ซอฟต์แวร์เกี่ยวกับระบบจัดการ
ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ
ซอฟต์แวร์กระดานคำนวณ
ซอฟต์แวร์จัดการข้อมูลด้านงานธุรกิจ
ซอฟต์แวร์นำเสนอ
ซอฟต์แวร์เพื่อการติดต่อสื่อสารและเข้าถึงข้อมูล
3.People ware
บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ พีเพิลแวร์หรือบุคคลากรด้านคอมพิวเตอร์นับว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด เพราะบุคคลกรจะเป็นผู้จัดการหรือผู้ดำเนินงานให้ระบบ คอมพิวเตอร์ดำเนินต่อไปได้
Systems Analyst and Designer : SA
ทำหน้าที่วางแผนและออกแบบระบบงาน เพื่อนำเอาระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งาน
Programmer
ทำหน้าที่เขียน/สร้างชุดคำสั่งเพื่อควบคุมให้คอมพิวเตอร์ทำงาน
User
ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่อง และวิธีการใช้งานโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ
Operator
ทำหน้าที่ควบคุมเครื่อง เตรียมข้อมูล และป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์
Database Administrator : DBA
ทำหน้าที่รับผิดชอบด้านความปลอดภัยของข้อมูล ประสานงานและตรวจสอบการใช้งาน รวมทั้งจัดหาและดูแลรักษาอุปกรณ์
System Manager
ทำหน้าที่วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน
4.Data / Information
รายละเอียดข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลสิ่งของ สถานที่หรือเหตุการณ์ใด ๆ ที่สนใจศึกษา และนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ การประมวลผลของคอมพิวเตอร์ เพื่อให้อยู่ ในรูปแบบที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้
Data
หมายถึง ข้อเท็จจริง หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ประจำวัน ในการดำเนินธุรกิจอาจเป็นได้หลายชนิด เช่น ตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ รูปถ่าย หรือแม้กระทั่งเสียง
Information
หมายถึงข่าวสารที่ได้จากข้อมูลที่ผ่านกระบวนการเก็บรวบรวมและเรียบเรียง การนำข้อมูลดิบ (data) มาคำนวณทางสถิติหรือประมวลผลอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งข่าวสารที่ได้ออกมานั้นจะอยู่ในรูปที่สามารถนำไปใช้งานได้ทันที
5.Procedure
ขั้นตอนที่ผู้ใช้จะต้องทำตาม เพื่อให้ได้งานเฉพาะอย่างจากคอมพิวเตอร์ซึ่งผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทุกคนต้องรู้การทำงานพื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อที่จะสามารถใช้งานได้อย่างถูกต้อง
ขั้นตอนที่ 1 การวางแผนระบบ (System Planning) เป็นขั้นตอนแรกในการพัฒนาระบบสารสนเทศในการวางแผนระบบสารสนเทศนั้นมีจุดมุ่งหมายเพื่อการตรวจสอบระบบงานเบื้องต้นเช่น- การรับรู้สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นของระบบงานเดิม
การหาสาเหตุของปัญหาที่เกิดจากระบบงานเดิม
การทำการศึกษาความเป็นไปในแง่มุมต่าง ๆ
การรวบรวมความต้องการจากผู้ที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาความเป็นไปได้ (feasibilty Study) หรือความเหมาะสม ซึ่งพิจารณาจาก
-ความเป็นไปได้ทางเทคนิค
-ความเป็นไปได้ในการปฏิบัติงาน
-ความเป็นไปได้ในเชิงเศรษฐศาสตร์
การกำหนดปัญหาและความต้องการ (Determination of Problems and Requirements) ตัวอย่างปัญหาที่เกิดจากระบบงานเดิม เช่น
-ระบบเดิมไม่ตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของใช้อหรือขาดการประสานงานที่ดี
-ระบบเดิมอาจไม่สนับสนุนงานในอนาคต
-ระบบเดิมมีองค์ประกอบของเทคโนโลยีไม่เหมาะสมหรือล้าสมัย
-ระบบเดิมมีการดำเนินงานผิดพลายบ่อย
การกำหนดวัตถุประสงค์ (Specification of Objectives) เป็นการกำหนดให้แน่ชัดว่าจะแก้ปัญหาอะไรบ้างจากปัญหาทั้งหมด
ขั้นตอนที่ 2 การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) เป็นขั้นตอนการคิดวิเคราะห์ระบบงานปัจจุบันหรือระบบงานเดิม ซึ่งอาจเป็นระบบงานที่ใช้คอมพิวเตอร์อยู่หรือไม่ก็ได้ เพื่อทราบถึงรายละเอียดของระบบงานที่ใช้อยู่ ข้อดี ข้อเสีย ทรัพยากร และความเหมาะสมของระบบงานในแต่ล่ะส่วน สิ่งที่จะวิเคราะห์ระบ
-วิเคราะห์ถึงปัญหาหลักและปัญหารองที่เกิดขึ้นในระบบ
-ทำความเข้าใจถึงระบบงานเดิม
-กำหนดความต้องการของผู้ใช้ระบบ
-เสนอทางเลือกในการออกแบบระบบ โดยการสร้างแบบจำลองเชิงตรรกะ
-
ขั้นตอนที่ 3 การออกแบบระบบ ( System Design) เป็นการนำผลลัพธ์ที่ได้จากการวิเคราะห์ระบบมาพัฒนาเป็นรูปแบบทางกายภาพ โดยเริ่มจากการออกแบบงานทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ทั้งในส่วนนำข้อมูลเข้า ส่วนประมวลผล ส่วนแสดงผลลัพธ์ ส่วนจัดเก็บข้อมูล การออกแบบจำลองข้อมูล การออกแบบรายงานและการออกแบบหน้าจอในการติดต่อกับผู้ใช้ระบบ ซึ่งมุงเน้นการวิเคราะห์ว่าช่วยแก้ปัญหาอะไร และการออกแบบช่วยแก้ปัญหาอย่างไร
ขั้นตอนที่ 5 การติดตั้งระบบ (System Implementation) เป็นขั้นตอนการส่งมอบระบบงานเพื่อนำไปใช้จริง โดยจะรวมถึงการจัดเตรียมแฟ้มข้อมูลหรือฐานข้อมูลของระบบการอบรมผู้ที่เกี่ยวข้อง การปรับเปลี่ยนระบบงานเดิมมาใช้ระบบงานใหม่ ซึ่งจะต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมของพื้นที่ที่จะติดตั้ง อุปกรณ์ที่ใช้ และผู้เชี่ยวชาญหรือทีมงานด้านเทคนิคที่เกี่ยวข้อง จากนั้นจึงติดตั้งโปรแกรมให้ครบถ้วน
ขั้นตอนที่ 4 การพัฒนาระบบ (System Development) ประกอบไปด้วยการเขียนโปรแกรมเพื่อสร้างระบบงาน การทดสอบโปรแกรมหน่วยย่อย การทดสอบระบบรวม การแก้ไขข้อผิดพลาดที่พบ ตลอดจนการจัดทำเอกสารต่าง ๆ ทั้งในส่วนของเอกสารโปรแกรม เอกสารระบบ และคู่มือการฝึกอบรมสำหรับผู้ปฏิบัติงานข้อควรคำนึงในการพัฒนาระบบคือ การเลือกภาษาคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมและพัฒนาต่อได้ง่าย
ขั้นตอนที่ 6 การดูแลรักษาระบบ (system Maintenance) เป็นขั้นตอนสุดท้ายในวงจรการพัฒนาระบบ ซึ่งเป็นขั้นตอนการดูแลแก้ไขปัญหาระบบงานใหม่ ๆ ในขั้นตอนที่ถ้าเกิดปัญหาจากโปรแกรม โปรแกรมเมอร์จะต้องเข้ามาแก้ไข หรือผู้ใช้อาจมีความต้องการวิธีการทำงานใหม่ ๆ เพิ่มเติม ทั้งนี้การดูแลรักษาระบบจะเป็นขั้นตอนในส่วนที่จะเกิดตามมาภายหลังที่ได้มีการติดตั้งและใช้งานระบบแล้ว
รายชื่อสมาชิก
1.นายชูศักดิ์ น้อยสันโดด เลขที่ 2 ม.4/11
2.นายธนวัฒน์ สนธิช่วย เลขที่ 6 ม.4/11
3.นางสาวสุพรรษา จิตรมุ่ง เลขที่ 20 ม.4/11
4.นางสาวทิพธน จินดากาญจน์ เลขที่ 22 ม.4/11
5.นาวสาวนันทัชพร ราชอำไพ เลขที่ 30 ม.4/11