Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ เลือดและส่วนประกอบของเลือด - Coggle Diagram
การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ เลือดและส่วนประกอบของเลือด
การให้เลือดและส่วนประกอบของเลือด
การให้เลือด (Blood transfusion) หมายถึง การให้เลือด หรือเฉพาะเม็ดเลือด หรือเฉพาะน้ำเลือด แก่ผู้ป่วยโดยผ่านเข้าทางหลอดเลือดดำ การให้เลือดแม้จะช่วยชีวิตผู้ป่วยได้ แต่ก็ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้เช่นกัน ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิตได้
การให้และการรับเลือดในหมู่เลือด
คนเลือดกรุ๊ปABรับได้จากทุกกรุ๊ปแต่ให้เลือดแก่ผู้อื่นได้เฉพาะคนที่เป็นเลือดกรุ๊ปAB
คนเลือดกรุ๊ป A รับได้จาก A และ O ให้ได้กับ A และ AB
คนเลือดกรุ๊ป O รับได้จาก O เท่านั้น แต่ให้กับกรุ๊ปอื่นได้ทุกกรุ๊ป
คนเลือดกรุ๊ป B รับได้จาก B และ O ให้ได้กับ B และ AB
คนเลือดกรุ๊ป Rh-ve ต้องรับจาก Rh-ve เท่านั้น แต่ต้องดูกรุ๊ปเลือดตามระบบ ABO ด้วย (หาก คนเลือดกรุ๊ป Rh-ve รับเลือดจาก Rh+ve อาการข้างเคียงจะยิ่งรุนแรงมากขึ้น ในครั้งถัดๆไป)
เลือด ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ เซลล์เม็ดเลือด แบ่งเป็น เซลล์เม็ดเลือดแดง (red blood cell หรือ erythrocyte) เซลล์เม็ดเลือดขาว (white blood cell หรือ leukocyte) เกร็ดเลือด (platelet) และน้ำเลือด(plasma)
ภาวะแทรกซ้อนจากการให้เลือด
ปฏิกิริยาภูมิแพ้ (Allergic reaction) เกิดจากผู้รับแพ้สารอย่างใดอย่างหนึ่งในเลือดที่ได้รับ
การถ่ายทอดโรค (Transfusion-associated graft versus host disease)
ไข้(Febrile transfusion reaction)เกิดจากการได้รับสารที่ทำให้เกิดไข้
การอุดตันจากฟองอากาศ(Airembolism)เกิดจากการไล่ฟองอากาศไม่หมดไปจากสายให้เลือด
ปริมาตรการไหลเวียนของเลือดมากเกินไป (Volume overload)
ภาวะสารซิเตรทเกินปกติ
เม็ดเลือดแดงสลายตัว (Hemolysis)
ภาวะโปตัสเซียมเกินปกติ(Hyperkalemia)
การบันทึกปริมาณน้ำเข้า-ออกจากร่างกาย (Record Intake-Output)
จำนวนน้ำที่ร่างกายขับออก(Fluid output) หมายถึง จำนวนน้ำที่ร่างกายสูญเสียออกนอกร่างกายด้วยวิธีการต่างๆ ได้แก่ ทางปัสสาวะ อาเจียน อุจจาระ ของเหลวที่ออกจากท่อระบายต่างๆ
หลักการบันทึกจำนวนสารน้ำที่เข้าและออกจากร่างกาย
ร่วมกับผู้ป่วยในการวางแผนกำหนดจำนวนน้ำที่เข้าสู่ร่างกายในแต่ละช่วงเวลา
จดบันทึกจำนวนน้ำและของเหลวทุกชนิดที่ให้ขณะมื้ออาหารและระหว่างมื้ออาหาร พร้อมทั้งอธิบายให้ผู้ป่วยดื่มน้ำในขวดที่เตรียมไว้ให้ ไม่นำน้ำที่เตรียมไว้ไปบ้วนปากหรือเททิ้ง
อธิบายเหตุผลและความสำคัญของการวัดและการบันทึกจำนวนน้ำที่รับเข้าและขับออกจากร่างกาย
การจดบันทึกควรสรุปทุก 8 ชั่วโมง และทุกวัน
แบบฟอร์มการบันทึกควรแขวนไว้ที่เตียงผู้ป่วย
บันทึกจำนวนสารน้ำที่สูญเสียทางอื่นๆ เช่น อาเจียน ท้องเดิน ของเหลวที่ระบายออกจากการใช้เครื่องดูดกับสายยางจากกระเพาะ
จำนวนน้ำที่ร่างกายได้รับ (Fluid intake) หมายถึง จำนวนน้ำหรือของเหลวทุกชนิดที่ร่างกายได้รับ ซึ่งจะได้รับด้วยวิธีใดก็ตาม ได้แก่ ได้รับทางปาก เช่น การดื่มน้ำ นมหรือเครื่องดื่มชนิดต่างๆ การได้รับ อาหารทางสายให้อาหาร
อาการแทรกซ้อนจากการให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำ
บวมเนื่องจากมีสารอาหารเข้าไปอยู่ในเนื้อเยื่อชั้นผิวหนัง(Localinfiltration)เกิดขึ้นเมื่อเข็มเคลื่อน ออกจากหลอดเลือด พบได้บ่อยในหลอดเลือดที่เล็ก บาง หรือผู้ป่วยที่มีกิจกรรมมากๆ
ลักษณะที่พบ
บวมบริเวณที่ให้ บางครั้งอาจมองเห็นไม่ชัดเจน แต่บางครั้งก็อาจมองไม่ชัดเจน อุณหภูมิของบริเวณนั้นจะเย็นกว่าบริเวณอื่นๆ เนื่องจากสารอาหารมีอุณหภูมิต่ากว่าร่างกาย
ผู้ป่วยรู้สึกไม่สุขสบายบริเวณที่ให้ ซึ่งเป็นมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสารอาหาร ซึ่งถ้าสารอาหารเหล่านี้ซึมออกไปจากหลอดเลือดจะทำให้รู้สึกปวดมาก
การพยาบาลและการป้องกัน
ถ้าพบว่ามีสารอาหารซึมออกมาอยู่ในเนื้อเยื่อควรหยุดให้สารอาหารทันที
ควรดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันการเกิดสารอาหารซึมออกมาอยู่ในเนื้อเยื่อ
มีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในระบบไหลเวียนของเลือด ที่พบบ่อยจะเป็นก้อนเลือดและอากาศ สาเหตุของการเกิดก้อนเลือดมักมาจากผนังด้านในของหลอดเลือดดำไม่เรียบและมีเข็มแทงผ่าน
ลักษณะที่พบ
อาการเขียว เนื่องจากขาดออกซิเจน ความดันเลือดต่ำ ชีพจรเบาเร็ว หมด
ความรู้สึกและอาจตายได้
สังเกตพบว่าอัตราการหยดของสารอาหารจะช้าลงหรือหยุดไหล
การพยาบาลและการป้องกัน
หยุดให้สารอาหารทันทีถ้าพบว่ามีก้อนเลือดอุดตันที่เข็ม
ห้ามนวดคลึงเพราะอาจทำให้ก้อนเลือดนั้นหลุดเข้าไปในกระแสเลือดและ ถ้าผู้ป่วยมีอาการแสดงให้บันทึกสัญญาณชีพ และรายงานแพทย์ด่วน
ระมัดระวังในการเปลี่ยนขวดสารอาหารไม่ให้อากาศผ่านเข้าไปในชุดสาย ให้สารอาหารโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้ป่วยอยู่ในท่านอนหรือยืน
การให้สารอาหารมากเกินไป (Circulatory overload) พบได้ง่ายในผู้ป่วยเด็ก
ลักษณะที่พบ
ตรวจพบความดันเลือดและแรงดันหลอดเลือดส่วนกลางสูงขึ้น ชีพจรเร็ว
ผู้ป่วยมีปริมาณน้ำเข้าและออก (intake/output) ไม่สมดุล
อาการแสดงที่ปรากฏเริ่มแรก คือ ปวดศีรษะ หายใจตื้น และหอบเหนื่อย
มีการคั่งของเลือดดำจะพบว่าหลอดเลือดดำที่คอโป่ง
ถ้ารุนแรงจะมีภาวะปอดบวมน้ำ อาการคือ หายใจลาบาก นอนราบไม่ได้
ผิวหนังเขียวคล้า ไอมีเสมหะเป็นฟองและอาจมีเลือดปน
การพยาบาลและการป้องกัน
บันทึกสัญญาณชีพ
จัดผู้ป่วยให้อยู่ในท่านั่งเพื่อช่วยให้หายใจสะดวกขึ้น
ปรับอัตราหยดให้ช้าที่สุดและรายงานให้แพทย์ทราบด่วน
ไข้ สาเหตุเนื่องจากอาจมีการปนเปื้อนในการเตรียมสารอาหาร หรือการฉีดยาทางสายยางให้อาหาร สารอาหารเสื่อมอายุ หมดอายุ ขวดบรรจุสารอาหารมีรอยร้าว หรือหมดอายุของขวดบรรจุสารอาหาร
ลักษณะที่พบ
ปวดหลัง ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน
หนาวสั่น
ไข้สูง 37.3-41 องศาเซลเซียส
ความรุนแรงของอาการขึ้นอยู่กับเชื้อจุลินทรีย์ที่ได้รับและสภาวะของผู้ป่วย
การพยาบาลและการป้องกัน
เขียนวัน เวลาที่เริ่มให้สารอาหารข้างขวดเพื่อให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องทราบโดยทั่วไป สารอาหารแต่ละขวดไม่ควรให้นานเกิน 24 ชั่วโมง
ตรวจสอบรูรั่วของสายให้อาหารก่อนใช้ทุกครั้ง
การเตรียมสารอาหารควรทำด้วยวิธีปลอดเชื้อ
เปลี่ยนชุดให้สารอาหารทุก24ชั่วโมง
ถ้าเป็นไปได้ ควรเก็บชุดให้สารอาหารและชุดสายให้สารอาหารส่งเพาะเชื้อ
ควรมีสถานที่เฉพาะสำหรับเตรียมสารอาหารและหมั่นรักษาความสะอาด กำจัดฝุ่นละอองให้มากที่สุด
บันทึกสัญญาณชีพ และรายงานแพทย์
ล้างมือทุกครั้งก่อนสัมผัสอุปกรณ์และบริเวณที่แทงเข็ม
หุ้มผ้าก๊อซปราศจากเชื้อบริเวณรอยข้อต่อต่างๆ
หยุดให้สารอาหาร
การใช้กระบวนการพยาบาลในการให้เลือดและส่วนประกอบของเลือด
ขั้นตอนที่ 4 การให้เลือดและสารประกอบของเลือด
เครื่องใช้
extension tube
three ways
สำลีชุบแอลกอฮอล์ 70%
IV stand (เสาน้ำเกลือ)
tourniquet
พลาสเตอร์ หรือ transparent สำเร็จรูป
blood transfusion set (Blood set)
แผ่นฉลากชื่อ
intravenous catheter (IV cath.) เบอร์ 18
ถุงมือสะอาด mask
intravenous fluid (IV fluid) ตามแผนการรักษา
วิธีทำการให้เลือดและสารประกอบของเลือด
เช็ดรอบๆด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์ 70%
ต่อ blood set กับ ขวดเลือด
ดึงที่ปิดถุงเลือดออก
ต่อ three waysกับ extension tubeแล้วมาต่อกับ blood set ปิด clamp
ล้างมือให้สะอาด
แขวนขวดเลือดกับเสาน้ำเกลือแขวนให้สูงประมาณ 1 เมตร (3 ฟุต)จากผู้ป่วย
บอกให้ผู้ป่วยทราบโดยอธิบายวัตถุประสงค์และวิธีการให้ เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจและลดความวิตกกังวล และผู้ป่วยให้ความร่วมมือ
บีบ chamber ของ blood set ให้ เลือดไหลลงมาในกระเปาะประมาณ 1⁄2 ของกระเปาะ
เตรียมเครื่องใช้ไปที่เตียงผู้ป่วย ตรวจสอบรายชื่อนามสกุล เตียงผู้ป่วยให้ตรงกับป้ายข้อมือผู้ป่วยอีกครั้ง
การเตรียมผิวหนังและการแทงเข็มให้สารน้ำ
ตรวจสอบชื่อนามสกุล Rh. ของผู้ป่วย HN กับป้ายชื่อข้างขวดเลือดหรือส่วนประกอบของเลือดจากธนาคารเลือด (blood bank) โดยพยาบาล 2 คน
ลงบันทึกทางการพยาบาล
ตรวจสอบแผนการรักษา และเขียนชื่อนามสกุลของผู้ป่วย ชนิดของเลือดและส่วนประกอบของเลือด Rh. วัน เวลาที่เริ่มให้อัตราการหยด ลงในแผ่นฉลากปิดข้างขวด
เก็บอุปกรณ์ทำความสะอาดและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
ขั้นตอนที่ 5 การประเมินผลการให้เลือดและสารประกอบของเลือด
การประเมินผลกิจกรรมการพยาบาล เป็นการประเมินผลของการปฏิบัติงาน เพื่อนำมาปรับปรุงการปฏิบัติงานในครั้งต่อไป
การประเมินผลคุณภาพการบริการ เป็นการประเมินคุณภาพของผลการปฏิบัติงาน เพื่อนำมาปรับปรุงการปฏิบัติงานในครั้งต่อไป
การประเมินผลการให้เลือดและส่วนประกอบของเลือด
ขั้นตอนที่ 3 การวางแผนในการให้เลือดและส่วนประกอบของเลือด
วางแผนให้ผู้ป่วยได้รับเลือดและสารประกอบของเลือดโดยประยุกต์ใช้หลักการ 6 Rights และหลัก ความปลอดภัย SIMPLE ของ patient safety goals
การดูแลผู้ป่วยภายหลังได้รับเลือด
สังเกตปฏิกิริยาที่เกิดจากการให้เลือดอย่างต่อเนื่อง
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับความสุขสบายตลอดระยะเวลาที่ให้เลือด
ตรวจสอบสัญญาณชีพหลังการให้เลือด 15 นาที และต่อไปทุก 4 ชั่วโมง
บันทึกหมู่เลือด ชนิดของเลือด หมายเลขเลือด ปริมาณเลือด วัน เวลา ชื่อผู้ให้
ขั้นตอนที่ 2 ข้อวินิจฉัย มีความพร้อมในการเริ่มให้เลือดและสารประกอบของเลือดตามแผนการรักษา
การปฏิบัติเมื่อพบอาการแทรกซ้อนในผู้ป่วยที่ได้รับเลือด
เตรียมสารน้ำและยา เช่น Antidiuretic, Antihistamine, Epinephrine, Steroid และ Aminophyline เป็นต้น เพื่อให้การรักษาตามแพทย์กาหนด
ส่งขวดเลือดและเจาะเลือดของผู้ป่วยจากแขนที่ไม่ได้ให้เลือดไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจสอบ
ตรวจสอบสัญญาณชีพและสังเกตสังเกตปฏิกิริยาที่เกิดจากการให้เลือดอย่างใกล้ชิด
บันทึกจำนวนสารน้ำที่นำเข้า–ออกจากร่างกาย เพื่อดูการทำงานของไต และนำปัสสาวะ ส่งตรวจในรายที่ได้รับเลือดผิดหมู่
รายงานแพทย์
การหยุดให้เลือด เมื่อผู้ป่วยได้รับเลือดครบให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับการหยุดให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
หยุดให้เลือดทันทีแล้วเปิดทางหลอดเลือดดา (KVO) ด้วย NSS
ขั้นตอนที่1 การประเมินสภาพผู้ป่วย
การประเมินด้านจิตใจ
ความต้องการรับบริการให้เลือดและสารประกอบของเลือด
ความวิตกกังวลและความกลัว
ความพร้อมของการรับบริการให้เลือดและสารประกอบของเลือด
การประเมินสิ่งแวดล้อม
ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสิ่งแวดล้อมผู้ป่วย
ความพร้อมใช้ของสิ่งแวดล้อมตัวผู้ป่วย เช่น ตู้ข้างเตียง เหล็กกั้นเตียง เป็นต้น
ความสะอาดของสิ่งแวดล้อมรอบตัวผู้ป่วยและรอบเตียง
บรรยากาศในหอผู้ป่วย และมีอากาศถ่ายเทสะดวก
การประเมินด้านร่างกาย
ระดับความรู้สึกตัว
พยาธิสภาพของโรค ประวัติเจ็บป่วย โรคของผู้ป่วยและโรคหรืออาการแทรกซ้อน
การประเมินแผนการรักษา
ตรวจสอบแผนการรักษาและประวัติการรับเลือด (มีอาการแพ้หรือไม่?)
ตรวจสอบแผนการรักษาและประวัติการรับเลือด (มีอาการแพ้หรือไม่?)
การให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำ
ชนิดของสารอาหารทางหลอดเลือดดำ
Total parenteral nutrition (TPN) เป็นการให้โภชนบำบัดครบตามความต้องการของผู้ป่วย ทั้งปริมาณพลังงานที่ต้องการและสารอาหารทุกหมู่
Partial or peripheral parenteral nutrition (PPN) เป็นการให้โภชนบำบัดทางหลอดเลือดดำ เพียงบางส่วน อาจได้พลังงานไม่ครบตามความต้องการ หรือได้สารอาหารไม่ครบทุกหมู่
ตำแหน่งของการให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำ
การให้ทางหลอดเลือดดำแขนง(peripheral vein) ข้อดีของการให้วิธีนี้คือไม่ยุ่งยาก สามารถให้แก่ผู้ป่วยได้ทันที แต่มีข้อจำกัดคือ ไม่สามารถให้น้ำตาลกลูโคสมากกว่าร้อยละ 10 ของสารละลายเพราะ สารละลายจะมีค่าออสโมลาลิตี้สูง จะทาให้เกิดหลอดเลือดดำอุดตันในที่สุด
การให้ทางหลอดเลือดดำใหญ่(central vein) สามารถเพิ่มความเข้มข้นของน้ำตาลกลูโคสได้ถึงร้อยละ 20-25 เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับสารอาหารทางหลอดเลือดดำเป็นเวลานานและต้องการพลังงานค่อนข้างสูงเป็นการทำหัตถการโดยแพทย์
ส่วนประกอบของสารอาหารในสารละลาย
โปรตีนอยู่ในรูปกรดอะมิโน ให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี่ต่อ 1 กรัม ใช้กรดอะมิโนทุกชนิดทั้งที่จำเป็นและไม่จำเป็นในปริมาณและสัดส่วนที่พอเหมาะ
วิตามินให้ทั้งชนิดละลายในน้ำ เช่น วิตามินB12, thiamine เป็นต้นและชนิดละลายในไขมัน เช่น วิตามินเอ, ดี, อี และวิตามินเค
สารละลายไขมัน ให้พลังงาน 9 กิโลแคลอรี่ต่อ 1 กรัม
เกลือแร่
คาร์โบไฮเดรต นิยมใช้ในรูปของกลูโคส ให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี่ต่อ 1 กรัม
น้ำให้คำนวณจำนวนน้ำที่จะให้แก่ผู้ป่วยตามน้ำหนักตัว
อุปกรณ์ในการให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำ
สายให้อาหารทางหลอดเลือดดำ ปัจจุบันสายให้อาหารทางหลอดเลือดดำมีรูปแบบต่างๆ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย
ชุดให้สารอาหาร
ข้อบ่งชี้ในการให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำ
ภาวะทางศัลยกรรม เช่น ถูกน้ำร้อนลวก ภายหลังการผ่าตัด เป็นต้น
ความผิดปกติของจิตใจ เช่น anorexia nervosa เป็นต้น
โรคของอวัยวะต่างๆเช่น ภาวะไตวาย โรคหัวใจแต่กำเนิด เป็นต้น
โรคมะเร็งต่างๆ เช่น มะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นต้น
โรคทางเดินอาหาร เช่น อุจจาระร่วงเรื้อรัง การอักเสบในระบบทางเดินอาหาร ลำไส้อักเสบ จากการฉายรังสี เป็นต้น
ขั้นตอนในการให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำ
ตรวจสอบ PPN หรือ TPN จะต้องไม่ขุ่นหรือมีตะกอน
มีป้ายปิดที่ขวดให้สารอาหาร ระบุชื่อ และสกุลของผู้ป่วย ชนิดและปริมาณของสารอาหาร อัตราหยดต่อนาที วันและเวลาที่เริ่มให้ วันและเวลาที่สารอาหารหมด ชื่อผู้เตรียมสารอาหาร
ต่อสายยางให้อาหารเข้าไปในชุดให้สารอาหาร ปิดผ้าก๊อซปราศจากเชื้อบริเวณรอยต่อโดยใช้เทคนิคปราศจากเชื้อ
นำสารอาหารและสายยางให้สารอาหารไปต่อกับผู้ป่วยโดยเช็ดบริเวณรอยต่อด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์ ปิดด้วยผ้าก๊อซปราศจากเชื้อ
เตรียมอุปกรณ์ในการให้ PPN หรือ TPN ที่สะอาดปราศจากเชื้อ และเตรียมชุดให้สารอาหารให้พร้อม โดยการเช็ดทำความสะอาดจุดปิดขวดสารอาหารด้วยสำลีปราศจากเชื้อชุดแอลกอฮอล์ 70%
ให้สารอาหารปรับจำนวนหยดตามแผนการรักษา
ล้างมือให้สะอาดก่อนให้การพยาบาลทุกครั้ง สวมmask
อธิบายให้ผู้ป่วยทราบ เนื่องจากผู้ป่วยเมื่อทราบว่าจะต้องให้สารอาหารมักมีความวิตกกังวล หวาดกลัว และจะถูกจำกัดการทำกิจกรรมต่างๆ
การใช้กระบวนการพยาบาลในการให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำ
ขั้นตอนที่ 3 การวางแผนการพยาบาล (Planning)
ให้ผู้ป่วยได้รบัสารน้าตามแผนการรักษาและไม่เกิดอาการแทรกซ้อน
ขั้นตอนที่ 4 การปฏิบัติการพยาบาล (Implementation)
มีป้ายปิดที่ขวดให้สารอาหาร ระบุชื่อ และสกุลของผู้ป่วย ชนิด และปริมาณของสารอาหารอัตราหยดต่อนาที วัน และเวลาที่เริ่มให้ วัน และเวลาที่สารอาหารหมด ชื่อผู้เตรียมสารอาหาร
สังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับผู้ป่วย เช่น มีผื่นขึ้นตามตัว หายใจเร็วหรือช้ากว่าปกติ เป็นต้น
ผู้ป่วยที่ได้รับสารอาหารทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย (peripheral vein) ควรเปลี่ยนตำแหน่งให้ทุก 3 วันหรือทุกครั้งที่มีสารอาหารรั่วไหล (leak) ออกนอกเส้น
ถ้าสารอาหารที่ให้ทางหลอดเลือดดำรั่วหรือทางเส้นเลือดดำอุดตัน ให้ไม่ได้ ควรรายงานให้แพทย์ทราบ
ประเมินสัญญาณชีพก่อนและขณะให้สารอาหารและติดตามทุก 2-4 ชั่วโมง
หลีกเลี่ยงการให้ยาฉีดทางหลอดเลือดดำสายเดียวกับให้สารอาหารทางหลอกเลือดดำ
ก่อนและขณะให้สารน้ำทางหลอดเลือดดา ควรมีการประเมินสภาพร่างกายและควบคุม ผู้ป่วยในระยะแรกและระยะหลังของการได้รับสารอาหารทางหลอดเลือดดำ
ขั้นตอนที่ 2 ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล (Nursing diagnosis)
มีโอกาสเกิดหลอดเลือดดำอักเสบจากการให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำป็นเวลาหลายวัน
มีโอกาสเกิดสิ่งแปลกปลอมอยู่ในระบบไหลเวียนของเลือดจากการให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำเป็นเวลาหลายวัน
ขั้นตอนที่ 5 การประเมินผลทางการให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำ (Evaluation)
การประเมินผลคุณภาพการบริการ เป็นการประเมินคุณภาพของผลการปฏิบัติงานเพื่อนำมาปรับปรุงการปฏิบัติงานในครั้งต่อไป
การประเมินผลกิจกรรมการพยาบาล เป็นการประเมินผลของการปฏิบัติงาน เพื่อนำมาปรับปรุงการปฏิบัติงานในครั้งต่อไป
การประเมินผลการให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำ
ขั้นตอนที่1 การประเมินสภาพผู้ป่วย(Assessment)
S: “รู้สึกปากแห้ง อยากเคี้ยวอาหารทางปาก”
O: Known case CA stomach S/P Subtotal gastrectomy มีรูปร่างผอม
กระบวนการพยาบาลในการส่งเสริมความสมดุลของสารน้ำในร่างกาย
การวางแผนการพยาบาล (Planning) : วัตถุประสงค์
ไม่เกิดภาวะหลอดเลือดดำอักเสบที่รุนแรงขึ้น
การปฏิบัติการพยาบาล (Implementation)
จัดมือซ้ายที่บวมให้สูงกว่าลำตัวผู้ป่วยโดยใช้หมอนรองเพื่อลดอาการบวม
เปลี่ยนบริเวณที่แทงเข็มให้สารน้ำใหม่
บันทึกสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง เพื่อประเมินอาการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย
ประเมินการขาดสารน้ำและอิเล็คโตรไลท์ โดยบันทึกปริมาณสารน้ำเข้าและออกทุกเวร เพื่อให้ความช่วยเหลือและแก้ไขโดยเร็ว
ประเมินอาการบวมท่ีหลังมือซ้ายทุกเวร หากบวมมากขึ้น ผู้ป่วยมีไข้
ลดภาวะเครียดโดยให้ความช่วยเหลือท้ังด้านร่างกายและจิตใจ
หยุดให้สารน้ำทันที
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล (Nursing diagnosis)มีภาวะหลอดเลือดดำอักเสบจากการได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำเป็นเวลานาน
การประเมินผลการพยาบาล (Evaluation)
ประเมินอาการหลอดเลือดดำอักเสบบริเวณหลังมือ (อาการบวมลดลง)
ปริมาณสารน้ำเข้าและออกมีความสมดุล
ประเมินอาการปวดของผู้ป่วย (โดยการสังเกตสีหน้าท่าทางของผู้ป่วย และจาก Pain scale) ผู้ป่วยสีหน้าสดช่ืน ไม่บ่นปวดบริเวณหลังมือซ้าย
การประเมินภาวะสุขภาพ (Health assessment)
S : ผู้ป่วยบ่นปวดบริเวณที่ให้สารน้ำมาก ขอเปลี่ยนตำแหน่งที่แทงเข็มใหม่
O : จากการสังเกตบริเวณที่หลังมือซ้ายบวมแดง หลอดเลือดดำที่ให้สารน้ำเป็นลำแข็งบริเวณที่แทงเข็มให้สารน้าเป็นตาแหน่งเดิมนาน 5 วันแล้ว