Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวคิด หลักการ และความสําคัญของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม - Coggle Diagram
แนวคิด หลักการ และความสําคัญของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
ประวัติความเป็นมาของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
สังคมที่มีความหลากหลายมากขึ้นมีการเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารและการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้พรมแดนการเปลี่ยนแปลงด้านประชากรและโครงสร้างทางสังคมอย่างรวดเร็วซึ่งมีการย้ายถิ่นของคนเข้ามาประกอบอาชีพและการรับบริการทางด้านสาธารณสุขของชาวต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น การดูแลประชาชนในสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมจึงมีความสําคัญ
วัตถุประสงค์ของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
เป็นการค้นหาคําตอบเกี่ยวกับวัฒนธรรมของประเทศต่างๆ ตามหลักวิชาการ
เพื่อให้เกิดความเข้าใจในวัฒนธรรมที่แตกต่างซึ่งกันและกัน
เพื่อให้เกิดความร่วมมือและช่วยเหลือกันและกันในด้านบริการสุขภาพ
แนวคิดและหลักการของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมเป็นการนําแนวคิดการพยาบาลแบบองค์รวม(holistic nursing) มาผสมผสานกับแนวคิดมานุษยวิทยา(anthropology)โดยกล่าวได้ว่าบุคคลที่อาศัยอยู่ในพื้นที่และบริบทสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันย่อมมีการรับรู้และความต้องการการดูแลแตกต่างกัน
กรอบแนวคิดทางการพยาบาล 4 มโนมติ
ด้านสิ่งแวดล้อมได้แก่ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพสิ่งแวดล้อมทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมเช่นค่านิยมบรรทัดฐานของแต่ละบุคคล
ด้านบุคคลซึ่งแต่ละคนย่อมมีแบบแผนการดําเนินชีวิตและพฤติกรรมสุขภาพแตกต่างกัน
ด้านสุขภาพเป็นสภาวะการผสมผสานการตอบสนองความเจ็บป่วยตามมาตรฐานการพยาบาลควบคู่กับการให้คุณค่าทางวัฒนธรรม
การพยาบาลโดยมุ่งให้ผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง
โสภา อิสระณรงค์พันธ์ (2560)ได้สรุปเกี่ยวกับหลักการทั่วไปของการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมไว้ว่า
วัฒนธรรมคือการให้คุณค่า ความเชื่อ และการปฏิบัติในชีวิตประจําวันของกลุ่มชนเรียนรู้สืบต่อกัน
การดูแล คือ พฤติกรรมการช่วยเหลือ สนับสนุนเพิ่มความสามารถ เกิดการพัฒนา เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ของชีวิต
การดูแลทางด้านวัฒนธรรมคือ คุณค่าความช่วยเหลือ ประคับประคอง เพิ่มความสามารถ ปรับปรุงสภาพการณ์ส่วนบุคคล การเผชิญความตาย
การมองโลก คือ การมองของบุคคลโดยมองที่โครงสร้างของสังคม เช่น ศาสนา เศรษฐกิจ และการศึกษา
ระบบสุขภาพและความผาสุกของบุคคล คือ การดูแลเชิงวิชาชีพที่ให้ความสําคัญกับวัฒนธรรม
การจัดกิจกรรมการพยาบาล
ความหลากหลายของการดูแลทางวัฒนธรรม
การดูแลผู้ป่วยหรือผู้รับบริการที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมนั้นผู้ดูแลจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจและความสามารถ
มีความเข้าใจในเรื่องความเท่าเทียมกันในสังคมและเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ในทุกวัฒนธรรม
มีความเข้าใจตื่นตัว ใฝ่รู้ เกี่ยวกับ ขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมความเชื่อเชื้อชาติ เพศ และพฤติกรรมต่างๆ
มีทัศนคติด้านบวกกับการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการที่มีความแตกต่างด้านวัฒนธรรม
มีความไวเชิงวัฒนธรรม(cultural sensitivity) รู้จักสังเกตค้นหาค่านิยมความเชื่อวิถีการดาเนินชีวิตตลอดจนพฤติกรรมการปฏิบัติตนเมื่อเจ็บป่วยซึ่งสะท้อนแนวคิดด้านวัฒนธรรมของแต่ละบุคคล
มีบุคลิกภาพท่าทางเป็นมิตรเข้าใจในวัฒนธรรมการสื่อสารของผู้ใช้บริการที่มีความแตกต่างด้านเชื้อชาติวัฒนธรรม
สามารถสื่อสารกับผู้ใช้บริการที่ไม่ใช้ภาษาไทยได้มีทักษะในการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้บริการที่มีความแตกต่างด้านเชื้อชาติวัฒนธรรม
ประเมินความเข้าใจในสารที่ส่งกับผู้ใช้บริการได้
สามารถค้นหาแนวทางการแก้ปัญหาร่วมกับผู้ใช้บริการได้เหมาะสมและสอดคล้องตามวัฒนธรรม
บูรณาการความรู้ทางการพยาบาลมาใช้กับผู้ใช้บริการที่มีความหลากหลายด้านวัฒนธรรมได้
พิทักษ์สิทธิผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสมตามความแตกต่างด้านวัฒนธรรมได้
ให้การพยาบาลผู้ใช้บริการทุกเชื้อชาติศาสนาและวัฒนธรรมโดยคํานึงกฎระเบียบและจรรยาบรรณวิชาชีพ
สามารถรักษาลับของข้อมูลความเชื่อของผู้ใช้บริการที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมได้
การประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมไปใช้ในกระบวนการพยาบาล
การประเมินผู้ป่วย ดูข้อมูลดูวิถีชีวิต และแนวคิดความเชื่อของแต่ละบุคคลเป็นหลัก
การตั้งข้อวินิจฉัยการพยาบาลใช้มุมมองของผู้รับบริการเป็นหลัก
การวางแผนการพยาบาล ให้กระทําตามความต้องการของผู้ป่วยที่สอดคล้องกับวัฒนธรรม ครอบครัวและเน้นการมีส่วนร่วม
การปฏิบัติการพยาบาลและการดูแล ควรคํานึงถึงความสอดคล้องกับวัฒนธรรม และ สนองตอบต่อค่านิยม หรือไม่แตกต่างมากนัก
การประเมินผลหรือผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น จะทําให้สุขภาพดี หายจากโรค หรือตายอย่างสงบ ประเมินโดยใช้ผู้ป่วย ครอบครัวและการยอมรับของกลุ่มชนเป็นหลัก