Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 2 ระบบบริการสุขภาพและสังคมสำหรับผู้สูงอายุ - Coggle Diagram
บทที่ 2 ระบบบริการสุขภาพและสังคมสำหรับผู้สูงอายุ
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มที่ 1 กลุ่มที่ช่วยตนเองได้ดี(ติดสังคม)
ทำกิจวัตรประจำวันพื้นฐานได้สุขภาพดี ไม่มีโรคเรื้อรังหรือมีแต่ควบคุมได้เข้าร่วมกิจกรรมในสังคมได้ช่วยเหลือครอบครัว ผู้อื่น – สังคมได้
แนวทางการดูแลสุขภาพในผู้สูงอายุกลุ่มที่ 1
ส่งเสริมสุขภาพ (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์)
พัฒนาความสามารถในการใช้ศักยภาพและภูมิปัญญาให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม
กลุ่มที่ 2 กลุ่มติดบ้าน
ต้องการความช่วยเหลือบางส่วน ทุพพลภาพเล็กน้อย มีความจำกัดในการดำเนินชีวิตโรคเรื้อรังหลายโรค ควบคุมไม่ได้ ไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมสังคมได้
แนวทางการดูแลสุขภาพในผู้สูงอายุกลุ่มที่ 2
เยี่ยมบ้าน
ประเมินสภาพปัญหา ความต้องการ (ด้านสุขภาพกาย ใจ )
ให้บริการสม่ำเสมอ ตรวจคัดกรองสุขภาพ
กลุ่มที่ 3 กลุ่มติดเตียง
แนวทางการดูแลสุขภาพในผู้สูงอายุกลุ่มที่ 3
การเคลื่อนไหว พลิกตะแคงตัว
การรับประทานอาหาร
การขับถ่าย
สุขภาพจิต (ทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแล)
ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ต้องการความช่วยเหลือในชีวิตประจำวัน โรคเรื้อรังมีภาวะแทรกซ้อน มีความเจ็บป่วยระยะสุดท้าย พึ่งพิงครอบครัวและสังคม
หลักการการดูแลผู้สูงวัย
ผู้สูงอายุเป็นพลังในการขับเคลื่อนสังคม การปฏิรูปต้องไม่สร้างระบบที่จะทำให้ผู้สูงอายุต้องกลายเป็นภาระของสังคม
สร้างสังคมที่ทุกคนอยู่ร่วมกันได้อย่างปลอดภัยและมีความสุข
ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของจตุพลัง “ภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรชุมชน และท้องถิ่น”
เน้น “การสร้าง นำซ่อม” และการประคับประคองให้ผู้สูงอายุอยู่ในสภาพที่สามารถดูแลตนเองให้ได้นานที่สุด
เตรียมความพร้อมในระบบเศรษฐกิจ สังคม และบริการสุขภาพภายใต้บริบทของสังคมสูงวัย
พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 และ พ.ศ. 2553
พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 ได้รับรองให้ผู้สูงอายุได้รับประโยชน์ที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองให้แก่บุคคลที่มีอายุเกิน 60 ปี บริบูรณ์ขึ้นไปและมีสัญชาติไทย ซึ่งในกฎหมายใช้คำว่า สิทธิผู้สูงอายุ ให้มีสิทธิได้รับการคุ้มครอง การส่งเสริม และการสนับสนุนในด้านต่างๆ
1.การบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขที่จัดไว้โดยให้ความสะดวกและรวดเร็ว
2.การศึกษา การศาสนาและข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์
3.การประกอบอาชีพและการฝึกอาชีพที่เหมาะสม
4.พัฒนาตนเองและมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม
5.อานวยความสะดวกและปลอดภัยแก่ผู้สูงอายุในอาคาร สถานที่หรือบริการสาธารณะ
6.การช่วยเหลือด้านค่าโดยสารยานพาหนะ
7.การยกเว้นค่าเข้าชมสถานที่ของรัฐ
8.ช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ถูกทารุณกรรมหรือแสวงหาประโยชน์
9.ให้คาปรึกษา ดาเนินการเกี่ยวข้องทางคดีหรือในการแก้ไขปัญหาครอบครัว
10.จัดที่พักอาศัย อาหารเครื่องนุ่งห่มให้ตามความจาเป็นอย่างทั่วถึง
11.จ่ายเบี้ยยังชีพรายเดือนอย่างทั่วถึง
12.ขอรับเงินสงเคราะห์ในการทาศพผู้สูงอายุ
13.จัดบริการด้านสถานที่ท่องเที่ยว กีฬาและนันทนาการตามคณะกรมการผู้สูงอายุแห่งชาติกาหนด
การจัดสวัสดิการด้านรายได้สำหรับผู้สูงอายุ
กองทุนสวัสดิการชุมชนสำหรับผู้สูงอายุ
เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
การให้เงินช่วยเหลือแก่ผู้สูงอายุที่ด้อยโอกาสและประสบปัญหาความเดือดร้อน
กองทุนผู้สูงอายุ
เพื่อเป็นทุนใช้จ่ายเกี่ยวกับการคุ้มครอง การส่งเสริม และการสนับสนุนผู้สูงอายุให้มีศักยภาพ ความมั่นคง และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
สนับสนุนกิจกรรมขององค์กรที่ดำเนินงานเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสนับสนุนผู้สูงอายุให้มีความเข้มแข็งอย่างต่อเนื่อง
การให้การสนับสนุนโครงการ
การให้ความช่วยเหลือผุ้สูงอายุที่ประสบปัญหา เช่น ทารุณกรรม แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ ถูกทอดทิ้ง รวมทั้งประสบปัญหาความเดือดร้อนเรื่องที่พัก อาหาร และเครื่องนุ่งห่ม
การให้บริการกู้ยืมเงินทุนเพื่อประกอบอาชีพสำหรับผู้สูงอายุ
ศูนย์สวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุ
ศูนย์บริการสำหรับผู้สูงอายุ
ศูนย์เอนกประสงค์
ศูนย์สามวัย สานสายใยรักแห่งครอบครัว
ศูนย์ผู้สูงอายุ
ศูนย์พัฒนาการจัดการสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ
เป็นบุคคลสัญชาติไทย อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป
ต้องมีความสมัครใจ
ไม่เป็นผู้พิการ ทุพพลภาพหรือสติฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ
ต้องไม่อยู่ในระหว่างต้องหาว่ากระทำผิดอาญาหรืออยู่ระหว่างสอบสวนของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือถูกดำเนินคดีอาญา
ไม่เป็นโรคเรื้อรังหรือโรคติดต่ออันตราย
สามารถช่วยเหลือตนเองได้ในกิจวัตรประจําวัน
Day Care / Day Center
จัดบริการแก่ผู้สูงอายุที่อยู่กับครอบครัวได้เข้ามาใช้บริการด้าน สุขภาพอนามัย กายภาพบำบัด กิจกรรมนันทนาการ สังคมสงเคราะห์ กิจกรรมเสริมความรู้ และศาสนกิจ จัดกิจกรรมต่างๆตามความสนใจของสมาชิก
กิจกรรมการให้บริการของศูนย์บริการผู้สูงอายุ
บริการหน่วยเคลื่อนที่ : เป็นบริการที่จัดให้แก่ผู้สูงอายุในชุมชน โดยการ ออกหน่วยเยี่ยมเยียน ให้คำแนะนำปรึกษา บริการด้านสุขภาพอนามัย และบริการด้านข้อมูลข่าวสาร
บริการบ้านพักฉุกเฉิน : เป็นบริการช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ประสบปัญหา ความเดือดร้อนเฉพาะหน้า โดยรับเข้าพักในบ้านพักฉุกเฉินเป็นการชั่วคราว และให้บริการในด้านปัจจัย 4 สังคมสงเคราะห์ หรือส่งไปรับความช่วยเหลือจากหน่วยงานอื่น
บริการภายในศูนย์ : เป็นบริการที่จัดให้แก่ผู้สูงอายุด้านต่าง ๆ เช่น ด้านสุขภาพอนามัย กายภาพบำบัด สังคมสงเคราะห์ กิจกรรมเสริมรายได้ กิจกรรมเสริมความรู้ กิจกรรมด้านศาสนา
การลดหย่อนภาษีสำหรับผู้เลี้ยงดูบิดา-มารดา
บิดามารดาต้องมีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และอยู่ในอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้ และต้องมีรายได้ทั้งปีไม่เกิน 30,000 บาทนั่นเอง
ผู้มีเงินได้หรือสามีหรือภริยาผู้มีเงินได้ต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย (บุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิหักลดหย่อน)
การหักลดหย่อนบิดามารดาของผู้มีเงินได้คนละ 30,000 บาท และหักลดหย่อนได้สำหรับบิดามารดาของคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้อีกคนละ 30,000 บาท
การลดหย่อนค่าเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา
บิดามารดาต้องไม่มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้เกิน 30,000 บาทขึ้นไป (เงื่อนไขเหมือนกับค่าลดหย่อนอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา แต่ไม่มีเงื่อนไขบิดามารดาต้องมีอายุ 60 ปีบริบูรณ์)
ผู้มีเงินได้หรือสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย (บุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิยกเว้นฯ)
ผู้มีเงินได้จ่ายค่าเบี้ยประกันให้บิดามารดาของตนเองและบิดามารดาของคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท