Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 4 ทฤษฎีการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม - Coggle Diagram
บทที่ 4 ทฤษฎีการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
แนวคิดสำคัญของทฤษฎี
การพยาบาล (Nursing)
วิชาชีพและศาสตร์ในการเรียนรู้มนุษย์โดยมีจุดเน้น
อยู่ที่การศึกษาปรากฏการณ์ดูแลของมนุษย์ และกิจกรรมในการช่วยเหลือ ส่งเสริม สนับสนุน บุคคลหรือชุมชนในการคงไว้ซึ่งสุขภาวะ และสอดคล้องกับวัฒนธรรม
โลกทัศน์หรือทัศนะ (Worldview)
มุมมองของบุคคลต่อโลกรอบตัวหรือค่านิยมเกี่ยวกับชีวิตหรือโลกรอบตัว
ความเป็นสากลของการดูแลเชิงวัฒนธรรม (Culture care universality)
ความหมาย ค่านิยม รูปแบบการแสดงออก วิถีชีวิต ที่เหมือนกันของแต่ละวัฒนธรรม และสะท้อนให้เห็นถึงการช่วยเหลือ สนับสนุนการดูแลของประชาชน
มิติของโครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรม (Cultural and social structuredimensions)
การเปลี่ยนของรูปแบบหรือคุณลักษณะที่สัมพันธ์กับโครงสร้างหรือองค์ประกอบ และปัจจัยต่าง ๆ ในวัฒนธรรมนั้น ๆ ซึ่งรวมถึงปัจจัยทางศาสนา สังคม การเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา เทคโนโลยีและค่านิยมทางวัฒนธรรม และอิทธิพลของปัจจัยเหล่านี้ต่อพฤติกรรมของ มนุษย์ในบริบทของสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน
ความหลากหลายของการดูแลเชิงวัฒนธรรม (Culture care diversity)
ความแตกต่างในความหมาย ค่านิยม รูปแบบการแสดงออก วิถีชีวิต ของแต่ละวัฒนธรรม ในการช่วยเหลือสนับสนุนการดูแลของประชาชน
บริบทของสิ่งแวดล้อม (Environmental context)
เหตุการณ์สถานการณ์หรือประสบการณ์เฉพาะในการให้ความหมาย
การแสดงออก และความสัมพันธ์ทางสังคมของแต่ละวัฒนธรรม
การดูแลเชิงวัฒนธรรม (Cultural care)
การเรียนรู้และการถ่ายทอดค่านิยม
ความเชื่อ รูปแบบวิถีชีวิต ในการส่งเสริม สนับสนุน บุคคลและชุมชน เพื่อคงไว้ซึ่งความผาสุก สุขภาวะ ในการเผชิญกับความเจ็บป่วย ความพิการ หรือความตาย
ระบบการดูแลพื้นบ้าน (Generic/folk care system)
การเรียนรู้ทางวัฒนธรรม การถ่ายทอดความรู้และทักษะที่ใช้ภายในวัฒนธรรม เพื่อการช่วยเหลือสนับสนุนกระบวนการดูแลสุขภาพ
วัฒนธรรม (Culture)
การเรียนรู้และถ่ายทอดค่านิยม ความเชื่อ บรรทัดฐาน
และวิถีชีวิต ของกลุ่มคน ซึ่งจะเป็นแนวทางในการคิด การตัดสินใจ และการปฏิบัติของกลุ่มนั้น ๆ
ระบบการดูแลเชิงวิชาชีพ (Professional care system)
ความรู้และทักษะการปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ความเจ็บป่วย และสุขภาวะ ซึ่งได้รับการสอน การเรียนรู้และ การถ่ายทอดอย่างเป็นระบบ
การดูแล (Care)
ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือ สนับสนุน บุคคล ครอบครัว หรือชุมชน ในการตอบสนองความต้องการของตนเองและปรับปรุงวิถีชีวิต หรือการเผชิญ ความตาย ได้อย่างเหมาะสม
มโนมติหลักและกรอบแนวคิดของทฤษฎี
ไลนินเจอร์ไม่ได้กล่าวถึงความหมายของมโนมติหลักไว้โดยตรง แต่ความหมายของมโนมติหลักได้จากคำอธิบายในข้อตกลงเบื้องต้น
สิ่งแวดล้อม
โครงสร้างของสังคมและวัฒนธรรมที่ทำให้บุคคลมีความแตกต่าง
กัน และเป็นสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อภาวะสุขภาพและการดูแลสุขภาพ รวมทั้งการเลือกและการยอมรับการดูแลสุขภาพ ได้แก่ ปัจจัยทางเทคโนโลยี ปัจจัยทางศาสนา ระบบเครือญาติและเครือข่ายทางสังคม ค่านิยมทาง
วัฒนธรรมและวิถีชีวิต การปกครองและกฎหมาย ปัจจัยทางเศรษฐกิจ
และปัจจัยทางการศึกษา
บุคคล
มีความเป็นสากลในทุกวัฒนธรรม แต่มีความแตกต่างกันในเรื่องของค่านิยม รูปแบบการแสดงออก วิถีชีวิต ของแต่ละวัฒนธรรม รวมทั้งมีมุมมองของบุคคลต่อโลกรอบตัวหรือค่านิยม เกี่ยวกับชีวิตหรือโลกรอบตัวที่แตกต่างกัน เรียกว่า โลกทัศน์หรือทัศนะของบุคคลเกี่ยวกับวัฒนธรรมสุขภาพ
สุขภาพ
ในทุกวัฒนธรรมทั่วโลกจะมีระบบการดูแลที่เป็นสากล 2 ระบบ คือ ระบบการดูแลพื้นบ้าน (Folk/indigenous or naturalistic lay care system) และระบบการดูแลสุขภาพเชิงวิชาชีพ (Professional health care system) ซึ่งการดูแลทั้ง 2 ระบบใหญ่ๆ นี้จะช่วยในการดูแลบุคคลให้มีสุขภาพดีเป็นที่พึงพอใจ และสอดคล้องกับ คำนิยมในวัฒนธรรมและต้องการของบุคคล
การพยาบาล
เป็นการช่วยเหลือดูแลบุคคลโดยคำนึงถึงความเหมาะสมของวัฒนธรรมซึ่ง
มีความหลากหลายและเป็นสากล ดังนั้น รูปแบบการดูแลจะต้องมีส่วนร่วมกันระหว่างผู้ดูแลผู้ใช้บริการในการตัดสินใจ วางแผน ดำเนินการ และประเมินผล เพื่อให้การพยาบาลที่สอดคล้องกับวัฒนธรรม การจัด
กิจกรรมการพยาบาล พยาบาลตัดสินใจใน 3 ลักษณะ
4.2 การจัดหาและการต่อรองเพื่อการดูแลด้านวัฒนธรรม หรือการปรับการดูแลในวัฒนธรรมที่เป็นอยู่ (Cultural care accommodation)
การกระทำหรือการตัดสินใจเชิงวิชาชีพในการช่วยเหลือ สนับสนุน ประชาชนในวัฒนธรรมย่อยให้มีการเจรจาต่อรองหรือปรับเข้าหากันเพื่อก่อให้เกิดผลจากการดูแลที่มีความหมาย มีประโยชน์และ สอดคล้องกับภาวะสุขภาพของประชาชน
4.3 การวางรูปแบบและโครงสร้างใหม่เพื่อการดูแลด้านวัฒนธรรม หรือการเปลี่ยนรูปแบบการดูแลในวัฒนธรรมที่เป็นอยู่
(Cultural care Repatterning)
การกระทำและการตัดสินใจเชิงวิชาชีพ ในการปรับเปลี่ยนหรือปรับปรุงวิถีชีวิตของประชาชนเพื่อก่อให้เกิดระบบการดูแลสุขภาพแบบใหม่ ที่มีประโยชน์และแตกต่างไปจากระบบปัจจุบัน
4.1 การสงวนและดำรงไว้ซึ่งการดูแลด้านวัฒนธรรม หรือการคงไว้ซึ่งการดูแลตามวัฒนธรรมที่เป็นอยู่ (Cultural care preservation)
การกระทำหรือการตัดสินใจเชิงวิชาชีพ เพื่อการช่วยเหลือ สนับสนุนประชาชนแต่ละวัฒนธรรม ให้รักษาหรือคงไว้ซึ่งค่านิยมในการดูแลสุขภาพและวิถีชีวิตเพื่อคงไว้ซึ่งสุขภาวะหรือฟื้นหายจากการเจ็บป่วย หรือเผชิญกับความพิการหรือความตายได้ตามวัฒนธรรมเฉพาะของเขา
แนวทางในการนำทฤษฎีไปใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้กระบวนการพยาบาล
ทฤษฎีการดูแลเชิงวัฒนธรรมที่หลากหลายและเป็นสากลของไลนินเจอร์ สามารถนำมาประยุกต์ในกระบวนการพยาบาลแต่ละขั้นตอนได้
การวางแผนการพยาบาล
กำหนดเป้าหมายการพยาบาลที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ที่แสดงว่า
ปัญหาที่มีสาเหตุจากความเชื่อและวัฒนธรรมของผู้ใช้บริการบรรเทาลงหรือหมดไปโดยคำนึงถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรม
การปฏิบัติการพยาบาล
2) ร่วมกับผู้ป่วยหาแนวทางในการดูแลที่ผู้ป่วยจะสามารถปรับให้สอดคล้องกับแนวทางการดูแลที่จำเป็นได้ โดยผสมผสานความต้องการและความเชื่อของผู้ป่วย รวมทั้งเจรจาต่อรองให้ได้ แนวทางที่เหมาะสมที่สุด (การจัดหาและการต่อรองเพื่อการดูแลด้านวัฒนธรรม)
3) ทดลองให้ผู้ป่วยปฏิบัติตามแนวทางที่เลือกสรร และปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม (การวางรูปแบบและโครงสร้างใหม่เพื่อการดูแลด้านวัฒนธรรม)
1) เปรียบเทียบข้อมูลแนวทางการดูแลสุขภาพตามแนวปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและวิธีการดูแลตนเองตามความเชื่อของผู้ป่วย
(การสงวนและดำรงไว้ซึ่งการดูแลด้านวัฒนธรรม)
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
วินิจฉัยปัญหาทางการพยาบาลให้ครบทั้งด้านกาย
จิต สังคม และจิตวิญญาณ โดยเน้นผลกระทบ
ของวัฒนธรรม ต่อปัญหาของผู้ใช้บริการ
ตัวอย่างข้อวินิจฉัย
การพยาบาล เช่น
3) ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอสำหรับการหายของแผล เนื่องจากปฏิบัติตามความเชื่อเกี่ยวกับการรับประทานอาหารเจอย่างเคร่งครัด
4) เสี่ยงต่อการลุกลามและเกิดความรุนแรงจากภาวะแทรกซ้อนของโรค เนื่องจากแผนการรักษาไม่สอดคล้องกับความเชื่อทางศาสนา
2) ไม่สามารถดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคลได้ตามคำแนะนำ เนื่องจากมีความเชื่อและปฏิบัติตามวัฒนธรรมการดูแลสุขภาพ
หลังคลอดบุตรความเชื่อและวัฒนธรรมพื้นบ้าน
5) เสี่ยงต่อแผลหายช้าและเกิดการติดเชื้อลุกลาม เนื่องจากการรักษาบาดแผลตามความเชื่อและวัฒนธรรมพื้นบ้าน
1) ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ เนื่องจากมีความเชื่อเกี่ยวกับการรักษาที่ไม่สอดคล้องกับแผนการรักษาของแพทย์
การประเมินผล (Evaluation)
ประเมินผลการการพยาบาลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
ให้ครบทั้งด้านกาย จิต สังคม และจิตวิญญาณ
การประเมิน
เก็บรวบรวมข้อมูลให้ครอบคลุมปัจจัยที่มีอิทธิพล
ต่อการปฏิบัติการดูแลสุขภาพของบุคคล ให้ครอบคลุม
ทั้งมิติทางโครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรม
ด้านค่านิยมและวัฒนธรรม
ด้านการเมืองและกฎหมาย
ด้านเครือญาติและสังคม
ด้านเศรษฐกิจ
ด้านศาสนาและปรัชญา
ด้านการศึกษา
ปัจจัยด้านเทคโนโลยี
รวมทั้งระบบการดูแลในสังคมและวัฒนธรรมของบุคคล
เพื่อให้ได้ข้อมูลเพียงพอที่จะตัดสินใจให้การพยาบาล