Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 3 นโยบาย กฎหมายแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ และประเด็กจริยธรรม …
หน่วยที่ 3 นโยบาย กฎหมายแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ และประเด็กจริยธรรม
ในการดูแลผู้สูงอายุ
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550
ปฎิญญาผู้สูงอายุ
พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546
แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2545-2564)
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550
มาตรา 53 บุคคลซึ่งมีอายุเกินหกสิบปีบริบูรณ์และไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ มีสิทธิได้รับสวัสดิการ สิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะอย่างสมศักดิ์ศรี และความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ
มาตรา 80 รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านสังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม ดังต่อไปนี้
คุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน สนับสนุนการอบรมเลี้ยงดู และให้การศึกษาปฐมวัย ส่งเสริมความเสมอภาคของหญิงและชาย เสริมสร้างและพัฒนาความเป็นปึกแผ่นของสถาบันครอบครัวและชุมชน รวมทั้งต้องสงเคราะห์และจัดสวัสดิการให้แก่ผู้สูงอายุ ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ และผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและพึ่งพาตนเองได้
ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาระบบสุขภาพที่เน้นการสร้างเสริมสุขภาพ อันนำไปสู่สุขภาวะที่ยั่งยืนของประชาชน รวมทั้งจัดและส่งเสริมให้ประชาชนได้รับริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมให้ เอกชนและชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาสุขภาพ และการจัดบริการสาธารณสุข โดยผู้มีหน้าที่ให้บริการดังกล่าวซึ่งได้ ปฎิบัติหน้าที่ตามมาตรฐานวิชาชีพและจริยธรรม ย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาในทุกระดับและทุกรูปแบบให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทาง เศรษฐกิจและสังคม จัดให้มีแผนการศึกษาแห่งชาติกฎหมายเพื่อพัฒนาการศึกษาของชาติจัดให้มีการพัฒนาคุณภาพ ครูและบุคลากรทางการ ศึกษา ให้ก้าวหน้าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกรวมทั้งปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกของ ความเป็นไทยมีระเบียบวินัย คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมและยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ส่งเสริมและสนับสนุนการกระจายอำนาจเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นชุมชนองค์การทางศาสนาและเอกชนจัด และมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนามาตรฐานคุณภาพการศึกษาให้เท่าเทียมและสอดคล้องกับแนวนโยบาย พื้นฐาน แห่งรัฐ
ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาวิจัยในศิลปะวิทยาการแขนงต่างๆ และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ของชาติ ตลอดจนค่านิยมอันดีงามและภูมิปัญญาท้องถิ่น
มาตรา 84 รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านเศรษฐกิจ ดังนี้ โดยจัดให้มีการออมเพื่อการดำรงชีพในามชราแก่ประชาชนและเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างทั่วถึง
ปฏิญญาผู้สูงอายุไทย
ผู้สูงอายุควรอยู่กับครอบครัวโดยได้รับความเคารพรัก ความเข้าใจ ความเอื้ออาทร การดูแลเอาใจใส่ การยอมรับ บทบาทของกันและกันระหว่างสมาชิกในครอบครัว เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีในการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข
ผู้สูงอายุต้องได้รับปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่าและศักดิ์ศรี ได้รับการพิทักษ์และคุ้มครองให้พ้นจากการถูกทอดทิ้ง และละเมิดสิทธิโดยปราศจากการเลือกปฏบัติ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ไม่สามารถพึ่งตนเองได้และผู้พิการที่สูงอายุ
รัฐโดยการมีส่วนร่วมขององค์กรภาคเอกชน ประชาชน สถาบันสังคมต้องตรากฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุ เพื่อเป็นหลักประกันและการบังคับใช้ในการพิทักษ์สิทธิ คุ้มครองสวัสดิภาพ และจัดสวัสดิการแก่ผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุควรได้รับโอกาสในการศึกษาเรียนรู้ และพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างต่อเนื่อง เข้าถึงข้อมูลข่าวสารและบริการทางสังคมอันเป็นประโยชน์ในการดำรงชีวิต เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของสังคมรอบด้าน เพื่อสามารถปรับบทบาทของตนให้สมวัย
รัฐโดยการมีส่วนร่วมขององค์กรภาคเอกชน ประชาชน สถาบันสังคมต้องรณรงค์ปลูกฝังค่านิยมให้สังคมตระหนักถึงคุณค่าของผู้สูงอายุตามวัฒนธรรมไทยที่เน้นความกตัญญูกตเวทีและเอื้ออาทรต่อกัน
รัฐโดยการมีส่วนร่วมขององค์กรภาคเอกชน ประชาชน สถาบันสังคมต้องกำหนดนโยบายและแผนหลักด้านผู้สูงอายุ ส่งเสริมและประสานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องให้บรรลุผลตามเป้าหมาย
ผู้สูงอายุส่วนใหญ่พึ่งพาตนเองได้ สามารถช่วยเหลือครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วมในสังคม เป็นแหล่งภูมิปัญญาของคนรุ่นหลัง มีการเข้าสังคม มีนันทนาการที่ดี และมีเครือข่ายช่วยเหลือซึ่งกันและกันในชุมชน
ผู้สูงอายุควรได้เรียนรู้ในการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง ต้องมีหลักประกันและสามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพอนามัยอย่างครบวงจรโดยเท่าเทียมกัน รวมทั้งได้รับการดูแลจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิตอย่างสงบตามคตินิยม
ผู้สูงอายุควรได้ถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์ให้สังคม มีโอกาสได้ทำงานที่เหมาะสมกับวัยและตามความสมัครใจ โดยได้รับค่าตอบแทนที่เป็นธรรม เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจและเห็นชีวิตมีคุณค่า
แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่2
ปรัชญา สร้างหลักประกันในวัยสูงอายุ โดยเริ่มจากการช่วยเหลือตนเอง ครอบครัวให้การเกื้อหนุน ชุมชนให้ความช่วยเหลือและสุดท้ายคือ สังคม-ภาครัฐให้การเกื้อหนุนตามลำดับ การคำนึงถึงศักดิ์สรีของผู้สูงอายุ ซึ่งสมควรดำรงชีวิตอยู่ในชุมชนของตนเองได้อย่างมีคุณภาพ
วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้สูงอายุดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์สรี พึ่งตนเองได้ มีคุณภาพชีวิต และมีหลักประกัน เพื่อให้ประชาชน ครอบครัว ชุมชน องค์กรภาครัฐ เอกชน มีส่วนร่วมในภารกิจด้านผู้สูงอายุ
ยุทธศาสตร์
1.ด้านการเตรียมความพร้อมของประชากรเพื่อวัยสูงอายุที่มีคุณภาพ
2.ด้านส่งเสริมผู้สูงอายุ
3.ด้านระบบคุ้มครองทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุ
4.ด้ารการบริหารจัดการ เพื่อการพัฒนางานด้านผู้สูงอายุ และการพัฒนาบุคลากรด้านผู้สูงอายุ
ด้านการประมวลและพัฒนาองค์ความรู้ด้านผู้สูงวัย และการติดตามประเมินผลการดำเนินการตามแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ
พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546
หลักที่กำหนดให้ผู้สูงอายุมีสิทธิได้รับการคุ้มครองในด้านต่างๆ
แนวคิดการนำแผนระยะยาวและนโยบายของรัฐสู่การปฏิบัติ
1.การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ
การเตรียมเรื่องการเงินและทรัพย์สิน
การเตรียมเรื่องบ้านและที่อยู่
การเตรียมความพร้อมของสุขภาพร่างกาย
การเตรียมเรื่องงาน
2.พิทักษ์สิทธิ์ผู้สูงอายุให้ได้รับสิทธิประโยชน์ที่พึงได้
3.พัฒนาระบบบริการสุขภาพ ให้มีศักยภาพในการให้บริการแก่ผู้สูงอายุ
4.ให้บริการแก่ผู้สูงอายุโดยไม่ลำเอียง
5.พัฒนาฐานข้อมูลผู้สูงอายุ
จริยธรรมในการพยาบาลผู้สูงอายุ
1.การเคารพเอกสิทธิ์ หรือความเป็นอิสระ
2.การทำประโยชน์ (beneficence)
3.การไม่ทำอันตราย (nonmaleficence)
4.ความยุติธรรม (Justice)
5.การมีสัจจะ และความซื่อสัตย์ (veracity and fidelity)
ประเด็นจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในการดูแลผู้สูงอายุ
บุคคลมีสิทธิแสดงเจตนาไม่ประสงค์รับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน
Advance Directive คนไข้กำหนดหรือแสดงเจตนาเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลในอนาคตเอาไว้
Living Will เอกสารทางกฎหมายที่ยืนยันและให้ดำเนินการรักษาพยาบาลตามการตัดสินใจของคนไข้ ตลอดจนการปฏิเสธหรือยอมรับการรักษาชีวิตคนไข้เอาไว้
การขอความยินยอมในการรักษามีองค์ประกอบ 3 ส่วน
1.Capacity ผู้ป่วยมีความสามารถในการแยกแยะผลดีและผลเสีย
2.Disclosure ผู้ป่วยได้รับทราบข้อมูลอย่างมากเพียงพอที่จะสร้างความเข้าใจสำหรับตัดสินใจ
3.Voluntariness ผู้ป่วยตัดสินใจโดยปราศจากการขู่เข็ญบังคับทั้งทางตรงและทางอ้อม
แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับลักษณะสูงอายุ
1.แนวคิดพฤฒพลัง Active ageing ช่วยลดอัตราการพึ่งพาลงได้
2.แนวคิดผู้สูงอายุสุขภาพดี (Healthy ageing) คือการเป็นผู้สูงอายุปราศจากโรค มีศักยภาพในการดำรุงชีวิตตามปกติ
3.แนวคิดการประสบความสำเร็จในวัยสูงอายุ (successful ageing) สามารถช่วยเหลือ สอน แนะนำคนอื่น ถ่ายอดข้อมูล เพิ่มคุณค่าแก่สังคม มีกิจกรรมที่สร้างสรรค์
4.แนวคิดผู้สูงอายุยังประโยชน์ (Productive ageing) การใช้ความสามารถเพื่อให้เกิดความสร้างสรรค์ต่อตนเองและบุคคลอื่น ดึงความสามารถของผู้สูงอายุเพื่อมาใช้ประโยชน์
นางสาวญาณิศา พลศักดิ์ B01 61106010005