Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3 ( part 2 ) การตรวจทรวงอกและปอด (Thorax and lung), image, image,…
บทที่ 3 ( part 2 )
การตรวจทรวงอกและปอด
(Thorax and lung)
Chest landmark
Mid Sternal Line (MSL) เส้นลากในแนวดิ่งผ่านกลาง sternum
Mid Clavicular Line (MCL) เส้นลากในแนวดิ่งผ่านจุดกึ่งกลางกระดูกไหปลาร้ามี 2 เส้น ซ้าย และขวา
Anterior Axillary Line (AAL) เส้นลากใน แนวดิ่งผ่านรอยพับด้านหน้าของรักแร้มี 2 เส้น ซ้าย และขวา
Mid Axillary Line (MAL) เส้นลากในแนวดิ่งผ่านจุดกึ่งกลางรักแร้มี 2 เส้น ซ้ายและขวา
Posterior Axillary Line (PAL) เส้นลากในแนวดิ่งผ่านรอยพับด้านหลังของรักแร้มี 2 เส้น ซ้าย และขวา
Vertebral Line เส้นที่ลากแนวดิ่งผ่านไปตามแนวกระดูกสันหลัง
Scapular Line เส้นที่ลากในแนวดิ่งผ่านมุมแหลมด้านล่างของกระดูกสะบัก
anatomical landmark
จุดสําคัญที่ใช้ในการตรวจทรวงอก และปอด
หัวนม (nipple)
Angle of Louis เป็นส่วนต่อระหว่างmanubrium และ sternum
Suprasternal notch อยู่ที่ฐานคอด้านหน้า อยู่เหนือ manubrium ลักษณะบุ๋มลงไป
Costal angle มุมที่เกิดจากชายโครงทั้ง 2 ข้างมาต่อกับ sternum
Spinous process เมื่อให้ผู้รับบริการก้มศีรษะจะพบปุ่ม 2 ปุ่ม ปุ่มบนคือ spinous process ของ C7 ปุ่มล่างคือ spinous process ของ T1
กระดูกไหปลาร้า (clavicle)
Inferior angle of scapular หรือมุมแหลม
ล่างของกระดูกสะบักอยู่ตรงกับกระดูก
ซี่โครงด้านหลังอันที่ 7 (7th rib)
Costrovertebral angle (CVA)กระดูกซี่โครงมาต่อกับกระดูกสันหลัง
การแบ่งกลีบปอด
ปอดกลีบบน (upper lobe) อยู่เหนือเส้นแบ่งกลีบปอด oblique fissure ลากจากspinous processที่ 3 ลากเฉียง
ไปทางด้านหน้า ผ่าน mid axillary line ที่กระดูกซี่โครงที่ 5 ผ่านmid clavicular line ที่กระดูกซี่โครงที่ 6 ส่วนที่อยู่ใต้
เส้นนี้เป็นปอดกลีบล่าง
ปอดกลีบกลาง (middle lobe) มีเฉพาะด้านขวา มีเส้นแบ่ง
กลีบปอด horizonal ตรงกับเส้นแนว นอนที่ลากมาจาก
ขอบขวาของกระดูก sternum ตรงกับกระดูกซี่โครงอันที่
4 ไปจรดกับ obliquefissure ที่ mid axillary line
ยอดปอดแต่ละข้างจะอยู่เหนือ 1/3 ด้านในของกระดูกไหปลาร้าประมาณ 2-4 เซนติเมตร
ขอบปอดด้านล่างหรือฐานปอด ด้านหน้า อยู่บริเวณกระดูกซี่โครงที่ 6 ตัดกับเส้น mid Clavicular Iineด้านข้างอยู่บริเวณกระดูกซี่โครงที่ 8 ตัดกับ mid axillary line
การตรวจทรวงอกและปอด
ตรวจด้านหลังและด้านหน้า ควรถอดเสื้อออก
จนถึงระดับเอว ผู้หญิงให้เปิดผ้าเฉพาะส่วนที่ตรวจ
และปิดคลุมส่วนหน้าอก
เทคนิคในการตรวจทรวงอกและปอด การดูคลํา
เคาะ และฟัง
การดู
สิ่งที่ต้องสังเกต คือ รูปร่างของทรวงอก ขนาดของทรวงอก การเคลื่อนไหวของทรวงอก และผิวหนัง
ความโค้งของกระดูกซี่โครงกระดูกไหปลาร้า กระดูก
sternum ดูความหนา ดูความกว้าง หรือเส้นผ่านศูนย์กลาง
จากด้านซ้ายไป ด้านขวา หรือ lateral (transverse)
diameter (lat diameter)
ขนาดของทรวงอก สังเกตทรวงอก 2 ข้าง เปรียบเทียบกันและสังเกตช่องซี่โครง
ภาวะปกติทรวงอกขนาดเท่ากันทั้ง 2 ข้าง ช่องซี่โครง
ไม่แคบหรือกว้างเกิน
ภาวะผิดปกติทรวงอกไม่เท่ากัน ช่องซี่โครงแคบ
การเคลื่อนไหวของทรวงอก อกจะขยายตัวออกเมื่อหายใจเข้า และจะแฟบลงเมื่อ ให้สังเกต อัตราการหายใจ ความลึกจังหวะ การเคลื่อนไหว
ภาวะปกติ : การเคลื่อนไหวทรวงอกสัมพันธ์กับการหายใจ
และเท่ากันทั้ง 2ข้าง
ภาวะผิดปกติ : การเคลื่อนไหวของทรวงอกไม่สัมพันธ์กับการหายใจ หรือไม่
ภาวะผิดปกติรูปร่างทรวงอกที่ผิดปกติ
Kyphosis หรือหลังโกง ในผู้สูงอายุมักเป็น
(curved kyphosis)
Scoliosis หรือหลังคด
Pigeon chest หรือ อกนูน กระดูก sternum ยื่น
ออกมาเหนือระดับอก คล้ายอกนก
Funnel chest หรืออกบุ๋ม กระดูก sternum ยุบเข้า
ไปคล้ายกรวยทําให้ posterior diameter แคบลง
Barrel shape หรือ อกถังเบียร์กระดูก sternum
นูนออกมาจนเห็นผิดสังเกต
การคลํา
คลํากล้ามเนื้อ กระดูก ตําแหน่งกดเจ็บ หรือยุบลงหรือตํา
แหน่งที่มีความผิดปกติเช่น คลําได้เสียงกรอบแกรบ
ภาวะปกติ : rib cage จะยืดหยุ่น กระดูก sternum ไม่ค่อยเคลื่อนที่ กระดูกสันหลังอยู่กับที่ กระดูกสะบักและมุมล่างของกระดูกสะบักอยู่ระดับเดียวกัน
ภาวะผิดปกติ : มีก่อน แผล ตําแหน่งกดเจ็บ มี crepitus ลักษณะกรอบแกรบที่คลํา และฟังได้แสดงถึงการมีอากาศยังอยู่ในชั้นใต้ผิวหนัง
คลําการขยายตัวของทรวงอก (ปอด) (expansion of thorax or lung)
คลําการขยายตัวทรวงอกด้านหลัง วางฝ่ามือทั้งสองทาบทรวงอกด้านหลัง ให้นิ้ว หัวแม่มือทั้งสองวางทอดขนานไปกับซี่โครงส่วนอกที่ 10 (T10) ใช้แรง ดันจากข้อมือ ให้ข้อศอกและไหล่หย่อน และอาจใช้นิ้วหัวแม่มือดันผิวหนังให้เกิดลอนหรือจีบ ระหว่างนิ้วหัวแม่มือกับกระดูกสันหลัง บอกให้ผู้รับบริการหายใจเข้าลึกๆ สังเกตความรู้สึกขยายของฝ่ามือ
คลําการขยายตัวของทรวงอกด้านหน้า ทาบฝ่ามือทั้งสองกับทรวงอก นิ้วหัวแม่มือทั้งสองวางทอดไปตาม costal margin หัวแม่มืออยู่ที่ xiphoid process ฝ่ามือทาบทรวงอก ใช้นิ้วหัวแม่มือดันผิวหนังให้เกิดลอนหรือจีบอยู่ ระหว่างนิ้วหัวแม่มือทั้งสอง
การคลํา tactile fremius ด้านหลัง วางฝ่ามือแนบชิด
กับผนังทรวงอก นับ 1 2 3 ด้วยความดังเท่าๆ กันตลอด สังเกตความรู้สึกสั่นสะเทือนของนิ้วมือที่วาง และเปรียบเทียบความรู้สึก คลำเหนือกระดูกสะบักสองข้างของ
กระดูกสันหลังจนถึงซี่โครงที่ 11
การตรวจเต้านม
การดู
สังเกต ขนาดเต้านมทั้งสองข้าง ดูสีผิว
เส้นเลือด และลักษณะการบวม
ภาวะปกติเต้านมทั้งสองข้างไม่ควรแตกต่าง
กันมาก สีผิวอ่อนกว่าผิวกาย ไม่มีก่อน
ไม่พบ หลอดเลือดที่ผิดปกติ
ภาวะผิดปกติเต้านมขนาดใหญ่มากกว่าปกติ
หรือทั้งสองข้างไม่เท่ากันแตกต่างกันมากผิวหนัง
มีการอักเสบ
การคลํา
คลําทุกส่วนของเต้านม โดยใช้อุ้งมือส่วน
นิ้วชี้นิ้วกลางและนิ้วนางคลําแบบคลึงเป็นวง
เริ่มคลําที่บริเวณ aereola
ภาวะปกติเต้านมจะยืดหยุ่น กดไม่เจ็บคลํา
ไม่พบก้อน แผล หัวนมกดไม่เจ็บ ไม่มีแผล
ไม่มีสิ่งคัดหลั่ง
ภาวะผิดปกติอาการบวมแดง กดเจ็บของเต้านม
หรือหัวนมคลําพบก้อน มีแผล
การตรวจรักแร้
สังเกตสีผิวและการมีก้อนบริเวณรักแร้
คลําสอดเข้าไปใต้รักแร้คลส่วนยอดรักแร้ผนังข้าง
ของรักแร้ให้ทั่ว ใช้นิ้วชี้นิ้วกลางและนิ้วนางคลําคลึง
วนรอบ ๆ และเลื่อนไปเรื่อย ๆ สังเกตว่ามีก่อน
หรือต่อมนํ้าเหลือง โตหรือไม่
ภาวะปกติคลําไม่พบก่อน คลําไม่พบต่อมนํ้าเหลือง
ภาวะผิดปกติ : พบก่อนหรือต่อมนํ้าเหลืองขนาดใหญ่
กว่าปกติ