Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
จิตวิทยาการกีฬา [Sport Psycholgy] - Coggle Diagram
จิตวิทยาการกีฬา
[Sport Psycholgy]
ทำความรู้จักกับจิตวิทยาการกีฬา
[Introduction to Sport Psycholgy]
เช่น
สรีรวิทยาการออกกําลังกาย
โภชนาการทางการกีฬา
ชีวกลศาสตร์การกีฬา
เวชศาสตร์การกีฬา
เทคโนโลยีการกีฬา
รวมถึงจิตวิทยาการกีฬามาใช้พัฒนาขีดความสามารถของนักกีฬาเพื่อให้ประสบความสำเร็จในระดับสูงขึ้นและนักกีฬามีศักยภาพเพียงพอที่จะเข้าร่วมการแข่งขันได้อย่างเต็มศักยภาพของตนเอง
ปัญหาที่มักเกิดขึ้นกับนักกีฬาส่วนใหญ่
คือ ฝึกซ้อมด้านร่างกายและทักษะกีฬามาอย่างดีแต่เมื่อถึงวันแข่งขันกับไม่ประสบความสำเร็จดั่งที่ตั้งใจไว้ดังนั้นการเตรียมพร้อมด้านจิตใจถึงความเริ่มต้นแต่การเข้าสู่การเล่นกีฬาในระดับเยาวชนและค่อยๆพัฒนาฝึกฝนจนกระทั่งเข้าสู่การแข่งขันในระดับสูงขึ้นเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และนำไปปฏิบัติได้อย่างอัตโนมัติ
นักกีฬาที่มีสมรรถภาพทางจิตดี
หมายถึงการที่นักกีฬามีความมุ่งมั่นตั้งใจมีความทุ่มเทยอมรับในความสามารถของตนเองและผู้อื่นควบคุมสติของตนเองได้มีจิตใจเข้มแข็งไม่วิตกกังวลจนเกินเหตุสามารถตัดสินใจและแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การที่นักกีฬาจะประสบความสำเร็จสูงสุดต้องประกอบด้วย 3 องค์ประกอบคือ
สมรรถภาพทางจิตใจ (Psychological fitness)
ทักษะกีฬา (Sport Skills)
สมรรถภาพทางกาย (physical fitness)
การฝึกจิตใจมีอยู่ด้วยกันหลายวิธีเช่น
การพูดและการคิดกับตนเอง
การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
การสร้างสมาธิ
การจินตภาพ
นอกจากจะแยกฝึกต่างหากเป็นโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถภาพทางจิตใจแล้ว ยังสามารถดำเนินการควบคู่กับการฝึกทางร่างกาย และทักษะกีฬาได้ด้วยการสอดแทรกในช่วง การอบอุ่นร่างกาย (Warm up) ช่วงการคลายอุ่น (Cool down) ช่วงการแสดงทักษะกีฬาหรือที่เรียกว่า "พรีช๊อตรูทีน" (Pre - shot routine)
ความหมายของจิตวิทยาการกีฬา
จิตวิทยาการกีฬาแยกออกเป็น 2 คำ
คือจิตวิทยา กับ กีฬา
จิตวิทยา หมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือสัตว์ทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัวทั้งที่แสดงออกและไม่แสดงออก
กีฬาหมายถึงกิจกรรมการเล่นเพื่อความสนุกสนานเพื่อความผ่อนคลายความเครียดทางจิตใจโดยเป็นการเล่นภายใต้กฎกติกาเนื้อที่และขอบเขตที่กำหนด
โดยสรุป จิตวิทยาการกีฬาคือการศึกษาพฤติกรรมต่างๆของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับการเข้าร่วมกิจกรรมกีฬาหรือการออกกำลังกายรวมทั้งอิทธิพลของนักกีฬาผู้ฝึกสอนและสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการเพิ่มขีดความสามารถของนักกีฬาและการใช้ชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข
วัตถุประสงค์ของการศึกษาจิตวิทยาการกีฬา
2 เพื่อศึกษาผลของการเข้าร่วมกิจกรรมกีฬาที่มีต่อสภาวะจิตใจและอารมณ์
3 เพื่อควบคุมพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ต่อการเล่นกีฬา
1 เพื่อศึกษาผลของภาวะจิตใจและอารมณ์ที่มีต่อความสามารถทางการกีฬา
องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬาเข้ามามีส่วนร่วมเกี่ยวข้องในเรื่องอุปกรณ์สถานที่และโปรแกรมการฝึกซ้อมกีฬาต่างๆส่งผลให้ผู้ฝึกสอนและนักกีฬาต้องอาศัยหลักการทางวิทยาศาสตร์การกีฬาซึ่งมีอยู่หลากหลายสาขาวิชา
ประโยชน์ของวิทยาการกีฬาสำหรับนักกีฬา
2.ทำให้นักกีฬาสามารถควบคุมอารมณ์และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมสำหรับสถานการณ์
3.ทำให้นักกีฬาสามารถฝึกซ้อมและแข่งขันกีฬารวมถึงอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
1.ทำให้นักกีฬาสามารถเรียนรู้และรู้จักจิตใจตนเองอย่างแท้จริง
คนที่จะเกิดขึ้นหากนักกีฬาได้รับการฝึกด้านจิตใจ
3.สามารถจัดการกับข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์ที่มีความกดดันได้
4.มีอะไรจูงใจในระดับเหมาะสมและส่งผลดีต่อความสามารถทางการกีฬา
8.การเกิดความสามัคคีภายในทีม
5.การพัฒนาทักษะการสื่อสารทั้งกับตนเองและผู้อื่นได้อย่างถูกต้อง
2.มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่ปฏิบัติและสามารถขจัดสิ่งที่มารบกวนจิตใจได้
6.การพัฒนาความคิดและความเชื่อของตนเองในสิ่งที่เป็นเหตุเป็นผล
1.มีความสุขกับการฝึกซ้อมและการแข่งขัน
7.การพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเองภายหลังได้รับการบาดเจ็บ
ความเป็นมาของจิตวิทยาการกีฬาแห่งประเทศไทย
จิตวิทยาการกีฬาของประเทศไทยเริ่มมีการตื่นตัวหลังจากที่นักวิชาการต่างๆได้มีโอกาสเข้าร่วมการประชุมวิชาการในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 10 ณ กรุงโซล ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี เมื่อปี พ. ศ. 2529
ชมรมจิตวิทยาการกีฬาแห่งประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
3.เป็นศูนย์ติดต่อและแลกเปลี่ยนวิชาการด้านจิตวิทยาการกีฬาระหว่างสมาชิกและองค์กรต่างๆทั้งในและนอกประเทศ
4.ให้บริการด้านจิตวิทยาการกีฬา
2.ศึกษาและวิจัยงานด้านจิตวิทยาการกีฬา
5.ส่งเสริมให้สมาชิกได้ศึกษาและดูงานด้านจิตวิทยาการกีฬาระหว่างสมาชิกและองค์กรต่างๆทั้งในประเทศและนอกประเทศ
1.ส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ด้านจิตวิทยาการกีฬา
6.ไม่ดำเนินการกิจกรรมใดๆที่เกี่ยวข้องกับการเมือง
นอกจากสมาคมจิตวิทยาการกีฬาแห่งประเทศไทย ยังมีสมาคมจิตวิทยาการกีฬาประยุกต์แห่งประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1.ส่งเสริมและเผยแพร่บทความวิชาการรายงานการวิจัยทางด้านจิตวิทยาการกีฬาตลอดจนผลงานของสมาคมจิตวิทยาการกีฬาประยุกต์แห่งประเทศไทย
2.เป็นศูนย์กลางประสานงานทางวิชาการด้านจิตวิทยาการกีฬาระหว่างสมาชิกและองค์กรต่างๆทั้งภายในและระหว่างประเทศ
บทบาทของนักจิตวิทยาการกีฬา มีอยู่ 3 กลุ่ม
กลุ่มที่ 2 นักจิตวิทยาการกีฬาที่ทำหน้าที่นักวิจัย
กลุ่มที่ 3 นักจิตวิทยาการกีฬาที่ทำหน้าที่ผู้ให้คำปรึกษา
กลุ่มที่ 1 นักจิตวิทยาการกีฬาที่ทำหน้าที่ให้ความรู้
การประยุกต์ใช้
การเตรียมความพร้อมรับมือกับผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของภาพจิตใจนักกีฬาซึ่งหากเกินความสามารถของผู้ฝึกสอนในการจัดการแก้ไข ควรขอรับคำปรึกษาหรือขอแนะนำจากนักจิตวิทยาการกีฬาต่อไป
การสังเกตความคิดและพฤติกรรมของนักกีฬาที่มีการแสดงออกแตกต่างกันในแต่ละบุคคลเพื่อนำมาเป็นแนวทางสำหรับการจัดการกับความรู้สึกความคิดและพฤติกรรมให้เป็นไปในทิศทางที่เหมาะสมตามบุคลิกภาพและความเชื่อส่วนบุคคล
การจัดโปรแกรมการฝึกซ้อมด้านจิตใจควบคู่ไปกับการฝึกด้านร่างกายและทักษะกีฬาเพื่อการเป็นนักกีฬาที่ประสบความสำเร็จมีความสุขกับการฝึกซ้อมและการแข่งขันรวมถึงการส่งเสริมการมีคุณภาพชีวิตที่ดี
ความเข้มแข็งทางจิตใจ
[Mental Toughness]
นักกีฬาไม่ควรสร้างขีดจำกัดตัวเองเพื่อความเชื่อที่ว่าเราไม่มีพรสวรรค์เพียงพอหรือไม่เก่งเพียงพอหรือจะคิดว่าเราไม่ได้รักกันถ่ายทอดพันธุกรรมที่ยอดเยี่ยมข้อความเข้มแข็งทางจิตใจเป็นคุณสมบัติสำคัญประการหนึ่งของผู้ที่ประสบความสำเร็จทางการกีฬานักกีฬาคนใดไม่มีความเข้มแข็งทางจิตใจจะไม่สามารถก้าวขึ้นสู่การแข่งขันในระดับสูงได้เลย
ความหมายของความเข้มแข็งทางจิตใจ
ความเข้มแข็งทางจิตใจคือความสามารถของนักกีฬาที่จะต่อสู้กับความสภาวะกดดันครั้งระหว่างการแข่งขันหรือระหว่างฝึกซ้อมได้โดยไม่ย่อท้อ
ผศ.ดร.นฤพน์ วงศ์จตุรภัทร ด้านจิตวิทยาการกีฬาเสนอแนวทางการสร้างและรักษาระดับความเข้มแข็งทางจิตใจและความมั่นคงทางจิตใจให้เกิดขึ้นและคงที่ตลอดไป ดังนี้คือ
2.นักกีฬาต้องมีทักษะที่ดีคนที่เล่นกีฬาได้ดีอย่างสม่ำเสมอต้นเสมอปลายไม่ว่าจะสถานการณ์ใดก็ตามเพราะการมีจิตใจที่มั่นคงการเล่นที่ดีบ้างไม่ดีบ้างอาจมีสาเหตุจากความไม่แน่นอน ขึ้นๆลงๆ ของสภาวะจิตใจ
สรุปความเข้มแข็งทางจิตใจเป็นสิ่งที่เรียนรู้ได้ไม่ได้มีมาตั้งแต่เกิดหรือถ่ายทอดทางพันธุกรรมทั้งนักกีฬาและผู้ฝึกสอนสามารถสร้างให้เกิดขึ้นได้
1.นักกีฬาต้องฝึกเทคนิคและฟอร์มการเล่นให้เกิดความชำนาญทางเทคนิคคือฟอร์มการเล่นไม่ดีไม่ถูกต้องแม้จิตใจจะแข็งแกร่งเพียงใดโอกาสที่จะถึงจุดสูงสุดของการเล่นคงยากความไม่แน่นอนจะเกิดขึ้นตามมา
การพัฒนาความเข้มแข็งทางจิตใจ
ความเข้มแข็งทางจิตใจของนักกีฬาสามารถฝึกฝนและพัฒนาได้ด้วยวิธีการฝึกจิตใจ 7 ประการคือการสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง การควบคุมพลังงานเชิงลบ การควบคุมสมาธิ การจินตภาพ การสร้างแรงจูงใจพลังงานเชิงบวก และ การควบคุมเจตคติให้เป็นเชิงบวก ดังต่อไปนี้
3.การควบคุมสมาธิหรือความตั้งใจประกอบไปด้วย 2 ขั้นตอนคือ
3.1การควบคุมสมาธิ คือ ความสามารถในการมีจิตใจจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในสถานการณ์ตรงหน้า สามารถบอกตัวเองได้ว่าอะไรเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่ควรทำและไม่ควรทำ การควบคุมสมาชิกจึงมีความสามารถที่จะช่วยให้นักกีฬาสามารถคิดแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี
3.2การหลีกเลี่ยงที่จะไม่ใส่ใจกับสิ่งที่เข้ามารบกวน นอกจากนักกีฬาจะมีสมาธิจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในสถานการณ์นั้นแล้วขณะเดียวกันนักกีฬาต้องหลีกเลี่ยงสิ่งที่มารบกวนทั้งจากภายนอกและภายในจิตใจตนเองด้วยเส้นทางตัดสิ่งเหล่านี้ออกไปได้แล้วจะเหลือแต่สมาธิและความตั้งใจต่อสถานการณ์เท่านั้น
4.การจินตภาพ เป็นการบันทึกภาพด้วยการสร้างภาพเคลื่อนไหวในใจที่ทำให้มองเห็นสถานการณ์ต่างๆเป็นการสร้างประสบการณ์การรับรู้ขึ้นมาใหม่ซึ่งสามารถสร้างความหนักแน่นทางจิตใจเพื่อต่อสู้กับอุปสรรคต่างๆนอกจากนั้นยังเป็นการพัฒนาทักษะการกีฬาให้ประสบความสำเร็จได้อีกทางหนึ่ง
5.การสร้างแรงจูงใจ แรงจูงใจมีบทบาทสำคัญต่อการเตรียมทีมและการฝึกซ้อมการสร้างแรงจูงใจเป็นการสร้างความพอใจให้เกิดขึ้นกับนักกีฬาเป็นเหตุผลสำคัญประการหนึ่งที่ช่วยให้นักกีฬาประสบความสำเร็จ
6.การสร้างพลังงานเชิงบวก พลังงานเชิงบวกคือความสามารถในการคิดให้สนุกสนานมีความสุขไม่ว่าจะเจอสถานการณ์กดดันเพียงใดก็ตามสามารถคิดให้เห็นเรื่องสนุกได้ซึ่งการมีพลังงานเชิงบวกจะช่วยให้นักกีฬาเป็นคนที่มีสปิริตมีน้ำใจเป็นนักกีฬาอยู่ร่วมกับทีมได้ดีเป็นที่รักของผู้อื่นเพราะจะเป็นคนไม่กลัวความพ่ายแพ้ไม่กลัวปัญหาดังนั้นนักกีฬาต้องปรับเจตคติของตนเองให้มองโลกในแง่ดี
2.การควบคุมพลังงานเชิงลบ เช่น การควบคุมพลังงานเชิงลบมีความสามารถในการควบคุมอารมณ์ไม่ดีเช่น กลัว ท้อแท้ โกรธ ไม่พอใจ อาจเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่มีความกดดัน
7.การควบคุมเจตคติให้เป็นเชิงบวก คือ การควบคุมลักษณะนิสัยและความคิดของตนเองอย่างจริงจังและสม่ำเสมอจนกลายเป็นคนที่มีเจตคติที่ดีมุ่งมั่นสู่ความสำเร็จเจตคติที่ดีจะช่วยให้นักกีฬาสามารถตัดความกลัวและความวิตกกังวลในการแข่งขันหรือสถานการณ์อื่นๆที่ก่อให้เกิดความเครียดได้
การสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง เช่น การพูดกับตนเองทางบวกอยู่เสมอมีความเชื่อในความสามารถของตัวเองและเพื่อนร่วมทีมว่าสามารถประสบความสำเร็จได้
การประยุกต์ใช้
1.การพัฒนาความเข้มแข็งทางจิตใจด้วยการสร้างความเชื่อมั่นในตนเองการควบคุมพลังงานเชิงลบการควบคุมสมาธิการสิ้นสภาพการสร้างแรงจูงใจการสร้างพลังงานเชิงบวกและการควบคุมเจตคติให้เป็นเชิงบวกอยู่เสมอ
2.การคำนึงถึงความแตกต่างของนักกีฬาตามชนิดกีฬาประสบการณ์และอื่นๆซึ่งอาจมีผลต่อการพัฒนาความเข้มแข็งทางจิตใจทางนักกีฬาแต่ละคน