Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR),…
วิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR)
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) คือ การวิจัย ค้นว้า และหาความรู้ตามหลักการของการวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์แบบเดิมๆ ต่างกันเพียงแต่ว่า PAR นั้นมีวัตถุประสงค์มุ่งไปที่การแก้ปัญหาในการพัฒนา และเป็นการวิจัยที่ดำเนินไปด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน ผู้ร่วมงาน รวมทั้งในกระบวนการวิจัย และในการมีหุ้นส่วนใช้ประโยชน์ของการวิจัย”
วัตถุประสงค์ของ PAR
เพื่อปลูกจิตสำนึกให้คนในชุมชนตระหนักในปัญหา หน้าที่ และร่วมกันแก้ปัญหาของตนเอง
เพื่อส่งเสริมกิจกรรมกลุ่ม และการทำงานร่วมกันแก้ปัญหาและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
เพื่อให้ชุมชนร่วมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง
เพื่อให้ชุมชนได้เรียนรู้แบบพหุภาคี (Steak Holder)
แนวคิดของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
PAR เป็นกระบวนการที่เอนเอียงไปทางประชาธิปไตย เพราะ PAR เป็นกระบวนการทำงานร่วมกัน
PAR ทำให้คนต้องพัฒนาตนเอง และ PAR เกิดจากประชาชนต้องการแสวงหาความรู้ในการแก้ปัญหาของตนเอ
เป็นเครื่องมือหนึ่งในการช่วยคนยากจนและด้อยโอกาส ด้วยการวางพื้นฐานร่วมกันระหว่างหน่วยงานพัฒนาทั้งหลายกับชุมชน
PAR จะเน้นหนักการเรียนรู้จากประสบการณ์ เพราะ PAR อาศัยการยอมรับของประชาชนได้สืบทอดต่อเนื่องเป็นประสบการณ์หลากหลาย
ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
ชาวบ้าน ประชาชน จะตื่นตัว ได้รับการศึกษามากขึ้น สามารถคิดและวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง
คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนดีขึ้น
การแก้ไขปัญหา การจัดสรรทรัพยากรต่างๆ จะมีการกระจายอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม รวมทั้งข้อมูลข่าวสาร
ผู้วิจัย นักพัฒนา จะได้เรียนรู้จากชุมชนได้ประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับชุมชน อันก่อให้เกิดความเข้าใจชุมชนได้ดีขึ้น และเกิดแนวคิดในการพัฒนา ที่ยั่งยืนและบูรณาการ ตนเองอย่างแท้จริง
การนำวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมมาใช้ในการวิจัยชุมชน
นักวิจัยทุกคนจำเป็นต้องมีความไวและตอบสนองต่อรูปแบบความสัมพันธ์ที่แตกต่างกัน ในเวลาที่ต่างกันของกระบวนการวิจัย
ผู้วิจัยที่ต้องเป็นผู้นำในการวิเคราะห์ ข้อมูลในขณะที่สมาชิกชุมชนต้องเป็นผู้นำในขั้นตอนการลงมือปฏิบัติเพื่อพัฒนาประเด็นทางสังคม
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมต้องการความผูกพันยึดมั่นของทีมวิจัยต้องให้การศึกษากับผู้มีส่วนร่วมและแบ่งเวลาในการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน ทุกกระบวนการในวงจรวิจัยสามารถดำเนินการตามแผนที่วางไว้
ลักษณะสำคัญของวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
1.PAR เป็นวงจรของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ 5 องค์ ประกอบ
การวางแผน
ตั้งคำถามที่จะต้องหาคำตอบให้ชัดเจน
ระบุกิจกรรมต่างๆที่ทดลอง
การพัฒนาแผนปฏิบัติการ
การสะท้อนคิด
ถอยกลับมาและสะท้อนคิดว่าเกิดอะไรขึ้น ให้เวลากับการเข้าร่วมและฟังผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในส่วนที่มี มุมมองและการตีความที่ต่างกัน
พัฒนาความคิดต่างๆ หรือทฤษฎีเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้น มีการระดมสมองโดยการพูดคุยกัน
การแลกเปลี่ยนความคิดต่างๆ กับผู้อื่น เกี่ยวกับการตีความและการให้ความหมาย
การลงมือปฏิบัติ (Act)
การสื่อสารกับผู้อื่นและเข้าร่วมในกระบวนการ
ติดตามสิ่งที่เกิดขึ้น
เป็นการทำตามที่วางแผนไว้อย่างเป็นระบบ
การสังเกต
เพื่อเตรียมข้อมูลในการสะท้อนคิดโดยการทำความเข้าใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง
การแลกเปลี่ยน (share
เชิญชวนคนอื่นๆ ให้สะท้อนคิดว่าแต่ละคนได้พบอะไร
นำสิ่งที่ยังมีคำตอบไม่แน่นอนมาแลกเปลี่ยนในกลุ่ม
กำหนดขอบเขตข้อสรุปของแต่ละ คนและพิจารณาสิ่งที่จะนำไปปฏิบัติเพื่อวางแผนใน
2.PAR เป็นวิธีการที่อาศัยการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้อง การมีส่วนร่วมในกระบวนการปฏิบัติและ สะท้อนผล (Praxis)
ผู้มีส่วนร่วมทุกคนมีส่วนร่วมตั้งแต่การระบุปัญหา การสำรววิเคราะห์ข้อมูล การลงมือปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหา เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น
ตลอดกระบวนการวิจัยผู้มีส่วนร่วมเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน และพัฒนาไปด้วยกัน
PAR เป็นการเรียนรู้อย่างเป็นระบบวิจัยเชิงปฏิบัติการ เป็นวิธีการศึกษาอย่าง เป็นระบบที่ส่งเสริมให้คนค้นพบวิธีการแก้ปัญหาที่เขาเผชิญอยู่ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
PAR เป็นพลวัตร กระบวนการของ PAR จะมีความยืดหยุ่น มากในแง่ของกิจกรรม เวลา และวิธีการเก็บ รวบรวมข้อมูล การทำวิจัยแบบ PAR จึงเป็นการยากที่จะกำหนดกิจกรรมที่ตายตัวเพราะทิศทาง การวิจัย ลักษณะกิจกรรม ความสำเร็จของงานวิจัยขึ้นกับความพร้อม และภูมิหลังของผู้ร่วมวิจัย
PAR เป็นการพัฒนากระบวนการของ PAR เป็นการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ผู้มีส่วนร่วมจะพัฒนาความสามารถในการคิดและทำงานด้วยกันเพื่อชีวิตที่ดีกว่าองค์ความรู้ทักษะและทรัพยากรต่างๆ จะถูกนำมาแบ่งปันในวิถีทางที่เสมอภาค ยุติธรรม ภายใต้โครงสร้างความ สัมพันธ์ที่เป็นธรรม
PAR เป็นการวิเคราะห์สถานการณ์อย่าง มีวิจารณญาณเพื่อให้เกิดความเข้าใจในสถานการณ์ อย่างแท้จริงตามธรรมชาติของสถานการณ์นั้นๆ จึงต้องใช้การวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ อันจะนำไปสู่การทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแก้ไขอย่างลึกซื้งและเหมาะสม
หลักการของการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม
ปรับปรุงความสามารถและศักยภาพของชาวบ้านด้วยการส่งเสริม ยกระดับและพัฒนาความเชื่อมั่นในตัวเองของเขา ให้สามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์สถานการณ์ปัญหาของเขาเอง
ให้ความสำคัญและเคารพต่อภูมิความรู้ของชาวบ้าน โดยยอมรับว่าความรู้พื้นบ้าน ตลอดจนระบบการสร้างความรู้ และกำเนิดความรู้ในวิธีอื่นที่แตกต่างไปจากของนักวิชาการ
สนใจปริทัศน์ของชาวบ้าน โดยการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมจะช่วยเปิดเผยให้เห็นคำถามที่ตรงกับปัญหาของชาวบ้าน
ให้ความรู้ที่เหมาะสมกับชาวบ้านและคนยากจน โดยให้สามารถได้รับความรู้ที่เกิดขึ้นในระบบสังคมของเขา และสามารถที่จะทำความเข้าใจ แปลความหมาย ตลอดจนนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสม
ปลดปล่อยความคิด การวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมจะช่วยให้ชาวบ้านและคนยากจนสามารถใช้ความคิดเห็นของตนอย่างเสรี
นางสาวสุชัญญา แก้วหล่อ เลขที่ 61 ห้อง A