Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
5.7พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558 - Coggle Diagram
5.7พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558
๑. หลักการและเหตุผล
เพื่อเป็นการควบคุมเครื่องสำอางที่ผลิตหรือนำเข้าเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค รัฐจึงกำหนดนโยบายในการควบคุมโดยการรับขึ้นทะเบียนเครื่องสำอางควบคุมและกำกับดูแลให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้า และผู้ขายปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้
๒. สาระสำคัญของพระราชบัญญัติ
เครื่องสำอาง ตามกฎหมายหมายความว่า วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ทา ถู นวด โรย พ่น หยอด ใส่ อบ หรือกระทำด้วยวิธีอื่นใดต่อร่างกายเพื่อความสะอาด ความสวยงาม และหมายความรวมถึงวัตถุที่เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอางโดยเฉพาะ และอื่น ๆ ที่กำหนดโดยกฎกระทรวงให้เป็นเครื่องสำอาง
๑. เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ[๒] (มาตรา ๕ (๑)) เช่น ผลิตภัณฑ์ขจัดรังแค ผลิตภัณฑ์ประเภทใช้กับผิวหนัง ผลิตภัณฑ์ประเภทน้ำยายืดผม เป็นต้น ผู้ที่สามารถผลิตเครื่องสำอางควบคุมพิเศษเพื่อขาย หรือนำเข้าเพื่อขายได้จะต้องขึ้นทะเบียนเครื่องสำอางที่จะผลิต หรือจะนำเข้า แต่ทั้งนี้สำหรับร้านค้าปลอดอากรไม่จำต้องขึ้นทะเบียนเครื่องสำอางดังกล่าวแต่จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้เพื่อความปลอดภัยของประชาชน (มาตรา ๑๓) สำหรับการฝ่าฝืนไม่ดำเนินการขึ้นทะเบียนเครื่องสำอางและไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เพื่อความปลอดภัย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
๒. เครื่องสำอางควบคุม (มาตรา ๕ (๒)) ได้แก่ ผ้าอนามัย ผ้าเย็นหรือกระดาษเย็น แป้งฝุ่นโรยตัว[๓] ผู้ผลิตเพื่อขาย หรือนำเข้าเครื่องสำอางควบคุมต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการที่รัฐมนตรีกำหนดในกฎกระทรวง และจะต้องแจ้งชื่อ ที่ตั้งสำนักงาน สถานที่ผลิตหรือเก็บเครื่องสำอาง แจ้งชื่อ ประเภทและชนิดของเครื่องสำอางที่ผลิตหรือนำเข้า
๓. เครื่องสำอางที่ต้องควบคุมฉลาก (มาตรา ๕ (๖)) ได้แก่ เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ และเครื่องสำอางควบคุม และเครื่องสำอางอื่นตามประกาศของคณะกรรมการเครื่องสำอาง ฉลากของเครื่องสำอางจะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ ตามมาตรา ๓๐
เครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยในการใช้ ได้แก่
๑. เครื่องสำอางที่มีสารที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้เจือปนอยู่ด้วย
๒. เครื่องสำอางที่มีวัตถุที่ห้ามใช้ตามมาตรา ๕ (๔) เช่น สารปฏิชีวนะ สารหนู ฟอร์มาลดีไฮด์[๔]
๓. เครื่องสำอางที่ผลิตหรือใช้ภาชนะบรรจุไม่ถูกสุขลักษณะอันอาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้
๔. เครื่องสำอางที่มีสารอันสลายตัวทั้งหมดหรือแต่บางส่วนภายหลังที่บรรจุภาชนะแล้ว และทำให้เกิดเป็นพิษอันอาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้
ครื่องสำอางปลอม ได้แก่
๑. เครื่องสำอางที่ใช้วัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งที่ทำเทียมขึ้นเป็นสารสำคัญของเครื่องสำอางนั้น หรือเป็นเครื่องสำอางที่ไม่มีสารสำคัญตามที่ได้แจ้งไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
๒. เครื่องสำอางที่แสดงว่าได้ขึ้นทะเบียนไว้ซึ่งไม่เป็นความจริง
๓. เครื่องสำอางที่ใช้ฉลากแจ้งชื่อผู้ผลิต หรือแหล่งผลิตที่ไม่เป็นความจริง
๔. เครื่องสำอางที่มีสารสำคัญขาด หรือเกินกว่าร้อยละยี่สิบตามที่ขึ้นทะเบียนไว้ หรือตามที่แจ้งไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือตามที่ระบุไว้ในฉลาก
ครื่องสำอางผิดมาตรฐาน ได้แก่ เครื่องสำอางที่มีสารสำคัญน้อยหรือมากกว่าที่ขึ้นทะเบียนเครื่องสำอางไว้ หรือที่ได้แจ้งไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือที่ระบุไว้ในฉลากเกินเกณฑ์ค่าคลาดเคลื่อนที่รัฐมนตรีกำหนดไว้ในประกาศ แต่ไม่เกินหรือขาดจนถึงขนาดเป็นเครื่องสำอางปลอมในข้อ ๔
๓. ผู้รักษาการตามกฎหมายและวันใช้บังคับ
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. ๒๕๓๕ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ปี ๒๕๓๕ ตอนที่ ๔๒ หน้า ๕๙ วันที่ ๘ เมษายน ๒๕๓๕ ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป