Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรณีศึกษาที่ 3 โรค Glomerulonephritis - Coggle Diagram
กรณีศึกษาที่ 3 โรค Glomerulonephritis
พยาธิสภาพของโรค
เมื่อร่างกายเกิดการติดเชื้อ จะมี antigen กระตุ้นให้สร้าง antibody ขึ้น ปริมาณของเซลล์ที่มีการอักเสบมากขึ้น และความสามารถในการผ่านของสารในเซลล์ (Basement membrane permeability) ที่ลดลง ทำให้พื้นที่การกรองและอัตราการกรองลดลง ปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงไตลดลงในอัตราส่วนเดียวกับอัตรากรอง
สาเหตุ
การอักเสบของไตไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อที่ไตโดยตรง แต่เกิดตามหลังการติดเชื้ออื่นๆของร่างกาย ที่พบบ่อยคือ Pharyngitis จากเชื้อ streptococcus group A หรือการติดเชื้อที่ผิวหนัง หรืออื่นๆ
อาการและอาการแสดง
จะพบการบวม, proteinuria, gross hematuria, back pain, oliguria และความดันโลหิตสูง อาการมักเกิดตามหลัง Pharyngitis ประมาณ 1-3 สัปดาห์ หากมีการติดเชื้อที่ผิวหนัง จะเกิดตามหลัง 3-6 สัปดาห์
การวินิจฉัยโรค
จากการซักประวัติ อาการและอาการแสดง การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตรวจปัสสาวะจะพบเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว casts และ albumin ไม่พบแบคทีเรียหรือเพาะเชื้อไม่ขึ้น
การตรวจเลือดพบระดับ Na+, K+, Cl- ปกติหรือสูงในรายที่มีอาการรุนแรง ระดับ BUN,Cr และ Uric acid สูง
การตรวจอื่นๆ เช่น ตรวจเพาะเชื้อจาก Pharynx พบ streptococcus บางรายทำ renal biopsy,EKG และถ่ายภาพรังสี
Plan for diagnosis
ส่งตรวจปัสสาวะ
ตรวจเลือด Electrolyte
เพาะเชื้อจาก Pharynx
ทำ EKG
ถ่ายภาพรังสี
ข้อมูลสนับสนุน
Subjective Data
ผู้ป่วยบอกว่า มีอาการปวดท้องน้อยด้านขวา ปัสสาวะออกน้อย 4 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล ให้ประวัติว่าปวดท้องน้อยขวาแล้วร้าวไปหลัง ปัสสาวะไม่ค่อยออก เวียนศรีษะ คลื่นไส้ อาเจียนออกมาเป็นเศษอาหาร 4 ครั้ง
Objective Data
ตรวจร่างกายพบ R = 24 ครั้ง/นาที BP = 140/90 mmHg. GA : look weakness, tenderness at right site, rebound tenderness
Plan for treatment
Specific treatment
ให้ยาปฏิชีวินะเพื่อรักษาการติดเชื้อ Streptococci ได้แก่ Peniciliin, Erythromycin เป็นต้น โดยให้นาน 7-10 วัน
Symptomatic treatment
รักษาภาวะ volume overload, ควบคุมความดันโลหิต, ควบคุมสมดุลเกลือแร่ในร่างกาย โดยจำกัดโซเดียม ระวังการเกิดโปแทสเซียมในเลือดสูง และอาจต้องทำ dialysis หากมีข้อบ่งชี้