Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรณีที่ 2 : โรคที่1. bronchitis - Coggle Diagram
กรณีที่ 2 : โรคที่1. bronchitis
พยาธิสภาพ
สาเหตุ
จากการติดเชื้อ
ส่วนมากเกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มเดียวกับที่ก่อให้เกิดไข้หวัดใหญ่ และติดต่อแบบเดียวกับไข้หวัด บางครั้งอาจมีการติดเชื้อแบคทีเรีย (เช่น Mycoplasma pneumonia, Clamydia pneumonia, Streptococcus pneumonia, Hemophilus influenza, Moraxella catarrhalis ) แทรกซ้อนมักพบได้บ่อยในเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่ภูมิต้านทานโรคต่ำ ผู้ที่สูบบุหรีหรือมีภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรั้ง
จากการถูกสิ่งระคายเคือง
ที่พบบ่อย คือ การสูบบุหรี่ ซึ่งทําให้ขนอ่อน (ciia) ที่เยื่อบุหลอดลมเคลื่อนไหว ( โบกพัดเพื่อปกป้องผิวหลอดลม ) น้อยลง เยื่อบุหลอดลมถูกระคายเคือง ทําให้ต่อมเมือกโตขึ้น มีเสมหะมากขึ้น นอกจากนี้ ยังอาจเกิดจากควัน ไอเสียรถยนต์ ฝุ่นละออง สารเคมี
อาการและอาการแสดง
อาการสําคัญ คือ อาการไอบ่อย ระยะแรกจะไอแห้งๆแล้วไอมีเสมหะเล็กน้อยเป็นสีขาวใน 2-3 ชั่วโมงหรือ 2-3 วันต่อมา ต่อมาเสมหะจะมีปริมาณมากขึ้น อาจมีลักษณะเป็นสีขาว ( ถ้าเกิดจากไวรัสหรือการระคายเคืองล้วนๆ ) หรือกลายเป็นเสมหะข้นสีเขียวหรือเหลือ ( ถ้ามีการติดเชื้อแบคทีเรีย ) ผู้ป่วยอาจไม่มีไข้หรือมีไข้ต่ำๆ อยู่นาน 3-5 วัน
เป็นโรคทางระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากการติดเชื้อที่หลอดลม หลอดลมในร่างกายมีขนาดใหญ่ และจะแตกแขนงเป็นขนาดเล็กย่อยๆจนกว่าจะถึงถุงลม ปอด เกิดจากการติดเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เยื่อบุหลอดลมเกิดการอักเสบบวม ทำให้การไหลผ่านอากาศทำได้ไม่ดี
ข้อมูลสนับสนุน
SD
ผู้ป่วยบอกว่า "มีอาการไอ หายใจเหนื่อย เดิมมีอาการไป ไปหาที่รพ.ได้ยาไป รับประทานแต่อาการไม่ดีขึ้น และเป็นมากขึ้น หายใจเหนื่อยมากขึ้น "
OD
Pharynx mild injected
cough with moderate mucoid sputum
R = 30 ครั้ง/นาที
rhonchi breath sound at left lower lobe
T=36.5 องศาเซลเซียส
plan diagnosis
การฟังตรวจปอด อาจได้ยินเสียงหายใจหยาบ (coarse breath sound ) หรือมีเสียงอื๊ด ( rhonchi ) หรือเสียงกรอบแกรบ ( crepitation ) บางอาจมีเสียงวื๊ด ( wheezing )
ตรวจภาพรังสีทรวงอก
ซักประวัติ ตรวจร่างกาย
plan for treatment
symptomatic
ถ้ามีอาการไอมาก อาจรับประทานยาลดหรือระงับอาการไอ (cough suppressants or antitussives เช่น dextromethorphan, codeine) หรือยาขยายหลอดลม (bronchodilator)
ถ้ามีเสมหะมาก อาจรับประทานยาขับเสมหะ (expectorants) หรือ ยาละลายเสมหะ (mucolytics)
รักษาตามอาการ เช่น ถ้ามีไข้ อาจรับประทานยาลดไข้ [paracetamol หรือ non-steroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDs)]
specific
ถ้าผู้ป่วยไม่ได้แพ้ยา penicillin คือ amoxicillin แต่ถ้าผู้ป่วยแพ้ยา penicillin อาจพิจารณาเลือกใช้ยาในกลุ่ม macrolides เช่น clarithromycin, azithromycin, midecamycin เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 7 – 10 วัน
supportive
หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยง ควัน, กลิ่นฉุน, ควันบุหรี่, สารเคมี, ฝุ่น, สารระคายเคืองต่างๆ ซึ่งจะทำให้การอักเสบในหลอดลมเป็นมากขึ้น
ควรพยายามหลีกเลี่ยงอากาศเย็น และแห้ง ซึ่งจะทำให้ไอมากขึ้น โดยเฉพาะแอร์ พัดลมเป่า
พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำอุ่นบ่อยๆ เพราะน้ำเป็นยาละลายเสมหะที่ดีที่สุด
ควรให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายขณะนอนให้เพียงพอ เช่น นอนห่มผ้า ถ้าจะให้ดี ควรใส่ถุงเท้า หมวก หรือผ้าพันคอ