Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่8 ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ, นางสาวญาณิศา พลศักดิ์…
หน่วยที่8 ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ
โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
เป็นภาวะที่มีความผิดปกติของระบบหลอดเลือดสมอง เป็นเหตุให้สมองบางส่วนหรือทั้งหมดทำงานผิดปกติไปก่อให้เกิดอาการและอาการแสดงซึ่งคงอยู่เกิน ชั่วโมงหรือทำให้เสียชีวิต
ภาษาไทย คือ โรคอัมพาต
กรณีอ่อนแรงไม่มากหรือ
เป็นชั่วคราว เรียก อัมพฤกษ์
เกิดจากสมองขาดเลือด (Ischemic stroke) พบประมาณร้อยละ 75-80
เกิดจากการมีเลือดออกในสมอง (Hemorrhagic stroke)
พบประมาณร้อยละ 20-25
ระยะเฉียบพลันเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาล เรียกว่า Brain attack เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของโรคที่ต้องการการรักษาอย่างรีบด่วน จึงมีคำกล่าวว่า "Time is brain"
อาการ
หน้าเบี้ยว
แขนขาอ่อนแรง
พูดไม่ชัด
ปวดศีรษะ อาเจียน ชัก สับสน
ความรู้สึกตัวลดลง
กลืนลำบาก
กลั้นปัสสาวะ อุจจาระไม่ได้
ปัจจัยเสี่ยงที่ปรับเปลี่ยนไม่ได้
อายุ45 ปีขึ้นไป เกิดขึ้นได้ 2
เท่า ทุกๆ 10 ปี ที่อายุเพิ่มขึ้น
เพศชายเสี่ยงเป็น 1.5 เท่า
ชาติพันธ์ คนผิวดำ: อุบัติการณ์ 1283/100000 คน
คนเชื้อสาย Hispanic : อุบัติการณ์ 667/100000 คน
คนผิวขาว: อุบัติการณ์ 712/100000 คน
พันธุกรรม ปัจจัยด้านบิดา เพิ่มความเสี่ยง 2.4 เท่า ด้านมารดาเพิ่มความเสี่ยง 1.4 เท่า
ปัจจัยเสี่ยงที่ปรับเปลี่ยนได้
ความดันโลหิตสูง ความเสี่ยงสัมพัทธ์ 4-6 เท่า
Atrial fibrillation ความเสี่ยงสัมพัทธ์ 5 เท่า
โรคหลอดเลือดหัวใจ ความเสี่ยงสัมพัทธ์ 2 เท่า
ความผิดปกติของหลอดเลือดแดง Carotid 2 เท่า
การสูบบุหรี่ ความเสี่ยงสัมพัทธ์ 1.5 เท่า
เบาหวาน 2 เท่า
ไขมันในเลือดสูง ไม่พบความเสี่ยงสัมพัทธ์
1 more item...
การประเมินสภาพ
BP ; SBP > 185-220 mmHg,
DBP > 120-140 mmHg
2.พร่องออกซิเจน O2sat <95 หรือมีภาวะ cyanosis
3.GCS < 10 หรือ >400mg%
4.DTX<50mg% หรือ >400mg%
5.เจ็บหน้าอก ชัก เกร็ง กระตุก เหนื่อยหอบ เป็นต้น
การตรวจวินิจฉัย
CBC,PT,PTT,INR,Glucose,E+,EKG,BUN,Cr+,ABG,Lipid profife ; LDL,HDL,Cholesterol
CT เพื่อตรวจสอบภาวะเลือดออกในสมอง MRI เพื่อตรวจสอบหาภาวะสมองขาดเลือดเฉียบพลัน
การรักษา
การรักษาแบบทางด่วน Fast track ควรเข้ารับการรักษาภายใน 3 ชั่วโมง การรักษาโดย ให้ยาละลายลิ่มเลือด ทางหลอดเลือดดำ
ผู้ป่วยควรได้รับ แอสไพริน 160-325 มิลลิกรัมต่อวัน ภายใน 48 ชั่วโมง
ป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ ได้แก่ ป้องกันเกล็ดเลือดเกาะตัว คือ ให้แอสไพริน การป้องกันการเกิดลิ่มเลือด การลดความดันโลหิต
การลดไขมันในเลือด รักษาระดับน้ำตาลให้คงที่ งดสูบบุหรี่
การักษาแบบไม่ใช่ทางด่วน
การพยาบาล
ระยะพักฟื้นและฟื้นฟูสภาพ
ดูแลป้องกันไม่ให้เกิดความดันในช่องท้องและช่องอกสูงขึ้น เพราะทำให้หลอดเลือดดำไหลกลับเขาสู่หัวใจลดลง
ระยะฉุกเฉินและวิกฤติ
ไม่ควรให้Nifeddipine อมใต้ลิ้นหรือทางปาก
เพราะทำให้ความดันโลหิตลดลงอย่างรวดเร็ว
ทำให้สมองขาดเลือดไปเลี้ยงมากขึ้น
ขณะให้ยาละลายลื่มเลือด
กรณีที่สงสัยว่าจะมีเลือดออกในสมอง
ให้หยุดให้ยาละลายลิ่มเลือด เจาะ lab
เตรียมให้ FFP ตามแผนการรักษา
ข้อเสื่อม (Osteoarthritis : OA)
มีการเปลี่ยนแปลงกระดูกอ่อนผิวข้อสึกบางลง ทำให้มีการเสียดสีของกระดูก เกิดเสียงเมื่อเคลื่อนไหว อาการปวด ข้อฝืด เมื่อเวลาผ่านไปจะมีกระดูกงอกเข้าในข้อ และมีเศษกระดูลอยอยู่ในข้อ ทำให้ปวดข้อมากยิ่งขึ้นและเคลื่อนไหวลำบาก มีผลทำให้ข้อผิดรูปและพิการ
ลักษณะสำคัญของโรค
มีการเสื่อมทำลายของกล้ามเนื้อและกระดูกบริเวณข้อ โดยไม่มีการอักเสบของข้อ
เป็นความผิดปกติ เกิดขึ้นกับข้อที่เคลื่อนไหวได้ ทำให้มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว
กระดูกๅอ่อนผิวข้อเสื่อมเป็นรอยถลอกกร่อนไป ร่วมกับการมีการสร้างกระดูกใหม่บริเวณขอบข้อ
พบมากในผู้สูงอายุ
ปัจจัยชักนำ
อายุ การใช้งานข้อมากเกินไปเป็นเวลานาน บาดเจ็บที่ข้อ โรคอ้วน ขาดวิตามินดีและซี กรรมพันธ์ุ
อาการและอาการแสดง
ปวดตื้อๆ บริเวณข้อ ปวดมากเมื่อใช้งาน
เป็นมากที่สุดในข้อที่รับน้ำหนักมาก
ข้อฝืด ในช่วงเช้าและหลังพักใช้ข้อนั้นๆ
ข้อบวม ผิดรูป
อาจพบเข่าโก่ง เข่าฉิ่ง
เสียงดังกรอบแกรบขณะเคลื่อนไหวข้อ
การรักษา
รักษาไม่หาย เป้าหมายเพื่อบรรเทาอาการปวด ลดการอักเสบ คงสภาพการทำงานของข้อให้ปกติ ป้องกันชะลอภาวะแทรกซ้อน ให้มีคุณภาพชีวิตใกล้เคียงคนปกติ
การพยาบาล
ประคบร้อนเพื่อลดการปวด
สวมถุงเท้าหรือใช้ผ้าคลุมห่อหุ้มบริเวณข้อ เพื่อให้ความอบอุ่น
แนะนำให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่ถูกต้อง ลดแรงกดข้อ
หลีกเลี่ยงการใช้งานข้อมากเกินไป
แนะนำการขึ้นลงบันไดให้ถูกวิธี โดยเดินขึ้นก้าวทีละก้าว เดินลงก้าวขาที่เจ็บก่อน
แนะนำใช้ไม้เท้าหรือเครื่องพยุงเดิน
ออกกำลังกายเพื่อคงไว้ซึ่งพิสัยของข้อ
ไม่ควรใช้พรมปูพื้น เพื่อป้องกันการสะดุดหกล้ม
ดูแลให้ยาตามแผนการรักษา
ดูแลด้านจิตใจ ให้ผู้ป่วยระบายความรู้สึกที่ไม่สบายใจ
กระดูกพรุน
โรคที่ความหนาแน่นของเนื้อกระดูกน้อยลงเรื่อยๆ และมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของกระดูก ซึ่งมีผลให้กระดูกไม่สามารถรับน้ำหนักหรือแรงกดได้ตามกติ ทำให้กระดูกหักตามมา
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
เพศและอายุ หญิงมากกว่าชาย เพราะมีเนื้อกระดูกน้อยกว่า ฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง
รูปร่างเล็กผอม เพราะมีประมิณเนื้อกระดูกน้อยกว่า (BMI<19)
เชื้อชาติ พันธุกรรม ชาวเอเชียผิวขาว มีโอกาสมากกว่าคนผิวดำ
โรคประจำตัว เช่น เบาหวาน โรคไต ตับ
ข้ออักเสบรูมาตอยด์
การใช้ยาที่มีผลสลายเนื้อกระดูก เช่น สเตียรอยด์ ยารักษาไธรอยด์ ยาลดกรดที่มีฤทธิ์จับฟอสเฟต ยากันชัก
การไม่เคลื่อนไหวหรือ
ขาดการออกกำลังกาย
รับประทานอาหารเค็มจัด
ลดการดูดซึมแคลเซียมที่ไต
ขาดวิตามินดี
รับประทานแคลเซียมไม่เพียงพอ อาหารไขมันสูงและการสูบบุหรี่ลดการดูดซึมแคลเซียม
อาการและอาการแสดง
ปวดหลัง
Dowager's hump กระดูกสันหลังโค้ง
น้ำหนักลด
กล้ามเนื้อเกร็งเฉพาะบั้นเอว
ก้มได้น้อย
การวินิจฉัย
ใช้ Dual Energy X-ray Absorbtionmetry (DEXA) เป็นเครื่องมือที่เหมาะสมที่สุด
ตรวจ CBC,แคลเซียม,ฟอตเฟต,อัลบูมิน การทำงานของตับ ไต ฮอร์โมนไทรอยด์ พาราไทรอยด์ วิตามินดี ฮอร์โมนเพศ เช่น estradiol,testosterone
การรักษา
การรักษาโดยใช้ยา biphosphonate เพิ่มความหนาแน่นกระดูก
การได้รับวิตามินดี แคลเซียมเพียงพอ การออกกำลังกาย ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง
เบาหวาน
ปัจจัยชักนำ
ปริมาณอินซูลินลดลงเนื่องจากสูงอายุ
เกิดการดื้ออินซูลินเนื่องจากสูงอายุ
โรคอ้วน
กิจกรรมด้านร่างกายลดลง
ยาที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง
การเจ็บป่วยหรือความเครียด
กรรมพันธ์ุ
การควบคุมเบาหวาน
การควบคุมระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด
ควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่างๆต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนทางหลอดเลือดใหญ่ เช่น ระดับไขมันและความดันโลหิต
เพื่อให้ผู้ป่วยดำรงชีวิตในสังคมอย่างมีความสุขไม่มีโรคแทรกซ้อนทั้งเฉียบพลันและเรื้องรัง
ติดตามผลตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ควรดูค่า HBA1C เป็นหลัก
การใช้ยาฉีด และยารักษาเบาหวานชนิดรับประทาน อย่างถูกต้อง
การลดน้ำหนัก ออกกำลังกาย
การบริโภคอาหารที่เหมาะสม
การวินิจฉัย
1.มีอาการของโรคเบาหวานร่วมกับมีระดับน้ำตาลกลูโคสในพลาสมาจากหลอดเลือดดำ
2.มีระดับน้ำตาลในเลือดหลังงดน้ำ งดอาหารมากกว่าหรือเท่ากับ 126 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์
3.ระดับน้ำตาลในเลือดที่เวลา2ชั่วโมงหลังทำการทดสอบความทนกลูโคส มีค่ามากกว่า 200มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์
อาการ
ระยะแรกไม่ค่อยมีอาการ
กินจุ ปัสสาวะบ่อย ดื่มน้ำมาก น้ำหนักลด ติดเชื้อบ่อย
ระบบประสาททำงานบกพร่อง เช่น ชา ปวดแสบปวดร้อน
ทำให้เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นที่ตาทำให้เกิด macular disease
Insulin resistance syndrome (syndrome X)
การพยาบาล
เกี่ยวข้องกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การใช้ยา
แนะนำเรื่องการรับประทานอาหาร ควรรับประทารร่วมกับออกกำลังกาย เพื่อรักษาดัชนีมวลกาย
ส่งเสริมให้มีความรู้และสามารถปฏิบัติเพื่อควบคุมโรคเบาหวานได้ดี โดยใช้เทคนิคต่างๆ
แนะนำผู้ป่วยเกี่ยวกับการใช้อินซูลิน
ภาวะท้องผูก
(constipation)
การถ่ายอุจจาระ 3 ครั้งต่อวัน ไปจนถึงอย่างน้อย 3 ครั้ง ต่อสัปดาห์ โดยอุจจาระต้องไม่แข็งเกินไปหรือก่อให้เกิดการเจ็บปวด และไม่รู้สึกว่ายังมีอุจจาระค้างอยู่ในลำไส้อีก
ชนิดของภาวะท้องผูก
ภาวะท้องผูกชนิดถ่ายลำบาก หรือเจ็บปวดในขณะถ่าย
ภาวะท้องผูกที่มีการไหลอุจจาระ
ในลำไส้อย่างช้าๆ
ความสูงอายุกับการขับถ่ายอุจจาระ
ขับถ่ายช้า โดยเฉพาะผู้ที่ถูกจำกัดให้นอนบนเตียงนาน
ถ่ายอุจจาระออกไม่หมด เนื่องจากสมรรถภาพความตึงตัวของกล้ามเนื้อน้อยลง
ละลายต่อการปวดถ่ายอุจจาระ
ได้รับอาหารน้อยลง
ดื่มน้ำไม่เพียงพอ น้อยกว่า 1000 มิลลิกรัมต่อวัน
ได้รับยา
การพยาบาล
แนะนำการรับประทานอาหารอย่างเพียงพอและอาหารที่มีเส้นใยสูง
แนะนำให้ดื่มน้ำวันละ 6-8แก้ว
เป็นอย่างน้อย โดยเฉพาะหลังตื่นนอน
หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ
เคี้ยวอาหารให้ละเอียด
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
ไม่กลั้นอุจจาระ เมื่อปวดควรรีบเข้าห้องน้ำทันที
ระวังการใช้ยาลดกรดที่มีองค์ประกอบของแคลเซียมคาร์บอเนตและโซเดียมเพราะทำให้ท้องผูก
ยาเหน็บควรใช้เป็นครั้งคราว
กรณีที่รับประทานยาระบายแล้วอุจจาระไม่ออก
ควรใช้ยาเหน็บ ใช้สารหล่อลื่น
ควักอุจจาระออกมาให้หมด
ต่อมลูกหมากโต
สาเหตุ
ไม่ทราบชัดเจน
สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงตามวัย
ฮอร์โมน dihydrotestosterone หรือ DHT เกี่ยวข้องกับการเกิด BPH
วัยสูงอายุระดับtestosterone ในเลือดลดลง แต่ระดับ DHT จะคั่งอยู่ในต่อมลูกหมาก จะกระตุ้นให้สร้างเซลล์ เพิ่มขึ้นอย่างปกติ hyperplasia
อาการ
ปัสสาวะต้องเบ่งหรือรอนานกว่าปัสสาวะจะออกมา
ปัสสาวะไม่สุดเหมือนคนที่ยังไม่ได้ปัสสาวะ
ปัสสาวะบ่อย ต้องตื่นกลางดึกเนื่องจากปวดปัสสาวะ
ภาวะแทรกซ้อน
กระเพาะปัสสาวะบีบตัวไม่ดีเกิดการคั่งของปัสสาวะ
เกิดการติดเชื้อง่าย
ไตเสื่อม
กลั้นปัสสาวะไม่ได้
ปัสสาวะเล็ด
นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
การวินิจฉัยโรค
การซักประวัติ สอบถามอาการปัสสาวะที่ผิดปกติ
ระยะเวลาที่เริ่มเป็น ลักษณะของขับถ่ายปัสสาวะ
การตรวจร่างกาย บวมตามตัวเนื่องจากมีภาวะ Azotemia ตรวจทางทวารหนักเพื่อดูขนาดและลักษณะต่อมลูกหมาก
ตรวจปัสสาวะเพื่อหาว่ามีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
Tumor-marker ในการสืบค้นหามะเร็งต่อมลูกหมาก
Uroflowmetry เพื่อดูว่าทางเดินปัสสาวะอุดกลั้นมากน้อย
การรักษา
การเฝ้าสังเกตอาการ watchful waiting
รักษาโดยยาลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อที่บีบรัดท่อปัสสาวะ ได้แก่ Alfa blocker drug treatment เช่น terzosin(Hytrin),Doxazosin(Cardura)
ยาลดขนาดต่อมลูกหมาก ได้แก่ Finasteride(Proscar) ผลข้างเคียง คือ ลดความต้องการทางเพศ
การผ่าตัดแบบ TURP,TUPI,Open prostatectomy or suprapubic prostatectomy
การพยาบาล
กรณีที่รักษาโดยวิธี watchful waiting ควรแนะนำให้สังเกตอาการผิดปกติ และมาตรวจตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
กรณีที่รักษาโดยการใช้ยา แนะนำการรับประทานยา ผลข้างเคียง พร้อมทั้งการมาตรวจตามเสมอ
กรณีรักษาด้วยการผ่าตัด ปฏิบัติเหมือนการเตรียมผู้ป่วยผ่าตัดทั่วไป เตรียมบริเวณที่จะผ่าตัด ให้ยาตามแผนการรักษาเพื่อป้องกันการติดเชื้อ ติดตาม ประเมินผล และสังเกตอาการผู้ป่วยหลังผ่าตัด
การกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
(Urinary Incontinence)
การสูญเสียการควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะทำให้มีปัสสาวะเล็ดราดออกมาทางท่อปัสสาวะ โดยไม่สามารถควบคุมได้และก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต และการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมของบุคคล
การขับถ่ายปัสสาวะเป็นความสัมพันธ์ของการทำงานที่ควบคุมได้กับรีเฟล็กซ์ที่ควบคุมกะเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ กล้ามเนื้อ Detruser และกล้ามเนื้อหูรูดรอบท่อปัสสาวะ
ชนิดของการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
แบบชั่วคราว หรือแบบเฉียบพลัน ป้องกัน รักษาให้หายได้ พบบ่อย แต่มักไม่ค่อยได้รับการประเมิน
แบบเริ้อรัง เป็นมานานเป็นเดือนหรือเป็นปี แบ่งเป็น 4 ประเภท 1.Functional incontinence 2.Stress incontinence 3.Urge incontinence 4.Overflow incontinence
การประเมินภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในผู้สูงอายุ
การเปลี่ยนแปลงด้านสรีระวิทยา
ลดลง
-Bladder capacity,
-sensation,
-speed of contraction of detrusor, -Pelvic Floor bulk,
-Sphincteric "resistance",
-Urinary flow rate
เพิ่มขึ้น
-Urinary Frequency
-Prevalence of post void
-Residual Volume
-OutFlow tract obstruction
โรคที่เกิดขึ้นมาก่อน (Co-morbidities)
เบาหวาน
ความดันโลหิตสูง
หัวใจล้มเหลวจากการมีของเหลวคั่ง
ข้ออักเสบ
ซึมเศร้า
ความบกพร่องทางสติปัญญา
ยาที่รับประทานมีผลข้างเคียง
ที่ทำให้เกิดโรคขึ้นได้
ประวัติมีปัสสาวะราด
การทำ voiding diary ทำให้วินิจฉัยแยกโรคได้ เสียค่าใช้จ่ายน้อยแต่ต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ป่วยและญาติ
ทำต่อเนื่องประมาณ 3-4 วัน
การตรวจร่างกาย
ชั่งน้ำหนัก ส่วนสูง ตรวจหน้าท้อง ตรวจระบบประสาท ประเมินความแข็งแรงของอุ้งเชิงกรานในเพศหญิง
การตรวจพิเศษ Uroflowmetry เป็นการวัดการไหลของปัสสาวะโดยใช้เครื่องอิเลคโทรนิก
Cystometry เป็นการวัดการทำหน้าที่ของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ
Cystourethroscopy การตรวจโดยการส่องกล้องทางท่อปัสสาวะ
การรักษา
ใช้ยา
ผ่าตัด
เชิงพฤติกรรม
การพยาบาล
ค้นหาวิธีจัดการปัญหานี้แล้วสำเร็จ ส่งเสริมให้ใช้วิธีเดิมต่อไป
พัฒนาแผนการดูแลเฉพาะผู้ป่วยแต่ละคน โดยใช้ข้อมูลจากการประเมิน
หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ทำให้เกิดภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
ประเมินการได้รับน้ำและวางแผนการจัดการรับน้ำอย่างเพียงพอ
ค้นหาปัญหาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ชนิดที่เป็นและร่วมแก้ไขสาเหตุ
ปรับสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม
ป้องกันอันตรายเกิดกับผิวหนัง โดยทำความสะอาดทันทีเมื่อมีการเปรอะเปื้อน
หลีกเลี่ยงการผูกยึดหรือยกไม้กั้นเตียงตลอดเวลา
นางสาวญาณิศา พลศักดิ์ 61106010005 B01