Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 8 ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ - Coggle Diagram
หน่วยที่ 8 ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ
หลอดเลือดสมอง
ความหมาย
เป็นภาวะที่มีความผิดปกติของระบบหลอดเลือดสมอง เป็นเหตุให้สมองบางส่วนหรือทั้งหมดทำงานผิดปกติไป ก่อให้เกิดอาการและอาการแสดงซึ่งคงอยู่เกิน 24 ชั่วโมงหรือทำให้เสียชีวิต
อาการ
หน้าเบี้ยว
แขนขาอ่อนแรง
พูดไม่ชัด
ปวดศีรษะ อาเจียน ชัก สับสน
ความรู้สึกตัวลดลง
กลืนลำบาก
กลั้นปัสสาวะอุจจาระไม่ได้
การรักษา
การรักษาแบบทางด่วน
กรณีที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน และเข้ารับการรักษาภายในโรงพยาบาลไม่เกิน 3 ชั่วโมง
Reperfusion คือ ให้ยาสลายลิ่มเลือด ขนาด 0.9 มก./กก. ไม่เกิน 90 มก. ทางหลอดเลือดดำ
การรักษาแบบไม่ใช่ทางด่วน
Prevention therapy ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ ควรได้รับแอสไพริน 160-325 มิลลิกรัมต่อวัน ภายใน 48 ชั่วโมง
การป้องกันการกลับเป็นซ้ำ ได้แก่ การป้องกันเกล็ดเลือดเกาะตัว
การป้องกันการเกิดลิ่มเลือด การลดความดันโลหิต การลดไขมัน
ในเลือด รักษาระดับน้ำตาลให้คงที่ งดสูบบุหรี่
การตรวจวินิจฉัย
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ : CBC, PT, PTT, INR, Glucose, E+, EKG, BUN, Cr+, ABG, Lipid profife; LDL,HDL, Cholesterol
การตรวจทางรังสี : CT, MRI
ข้อเสื่อม
ความหมาย
การเสื่อมของข้อ ที่มีการเปลี่ยนแปลงกระดูกอ่อนผิวข้อ สึกบางลง ทำให้มีการเสียดสีของกระดูก เกิดเสียงเมื่อเคลื่อนไหว อาการปวดข้อฝืด
อาการและอาการแสดง
ปวด ปวดตื้อๆ บริเวณข้อ ปวดมากเมื่อใช้งานหรือลงน้ำหนักบนข้อนั้น
ข้อฝืด พบบ่อยในช่วงเช้าและหลังพักใช้ข้อนั้นนานๆ
ข้อปวดผิดรูป ตรวจพบข้อที่อยู่ตื้น เช่น ข้อเข่า ข้อนิ้ว
สูญเสียการเคลื่อนไหวและการทำงาน
เสียงดังกรอบแกรบขณะเคลื่อนไหวข้อ
การรักษา
เพื่อบรรเทาอาการปวด ลดการอักเสบ
แก้ไขหรือคงสภาพการทำงานของข้อให้ปกติ
ป้องกันและชะลอภาวะแทรกซ้อน
ให้มีคุณภาพชีวิตใกล้เคียงคนปกติ
การวินิจฉัย
การเจาะเลือด
การตรวจน้ำหล่อเลี้ยงเข่า
การถ่าภาพรังสี
ซักประวัติและตรวจร่างกาย
กระดูกพรุน
ความหมาย
โรคที่ความหนาแน่นของเนื้อกระดูกลดน้อยลงเรื่อยๆ และมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของกระดูก ซึ่งมีผลให้กระดูกไม่สามารถรับน้ำหนักหรือแรงกดได้ตามปกติ ทำให้กระดูกหักตามมา
สาเหตุ
เพศและอายุ : หญิงมากกว่าชาย สตรีวัยหมดประจำเดือน ฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง
รูปร่างเล็กผอม เพราะมีปริมาณเนื้อกระดูกน้อยกว่า
เชื้อชาติ พันธุกรรม ชาวเอเชียผิวขาว มีโอกาสมากกว่าคนผิวดำ
คนที่มีประวัติคนในครอบครัวเกิดภาวะกระดูกพรุนมีโอกาสมากขึ้น
โรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ไต ตับแข็ง ข้ออักเสบรูมาตอยด์
อาการและอาการแสดง
ปวดหลัง
Dowager’s hump
น้ำหนักลด
กล้ามเนื้อเกร็งโดยเฉพาะบั้นเอว
การก้มทำได้น้อยกว่าการแหงนเหยียด
การรักษา
การรักษาโดยไม่ใช้ยา
การได้รับปริมาณแคลเซียมเพียงพอ
วิตามินดี
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน
การออกกำลังกาย
การรักษาโดยใช้ยา
ต้องทำควบคู่กับการรักษาโดยไม่ใช้ยาเสมอ
Biphosphonate เพิ่มความหนาแน่นของกระดูก
หลักการเลือกใช้ยา คือ ป้องกันไม่ให้กระดูกหัก
เบาหวาน
ประเภท
เบาหวานชนิดที่ 1
พบในเด็กหรือผู้ที่อายุน้อย ส่วนใหญ่น้อยกว่า 30 ปี
เกิดจากตับอ่อนม่สามารถสร้างอินสุลินได้
ต้องรักษาโดยการฉีดอินสุลิน
ถ้าขาดจะเกิดภาวะหมดสติจากน้ำตาล
ในเลือดสูงและกรดคั่งในเลือด
เบาหวานชนิดที่ 2
พบมากร้อยละ 95-97 ส่วนใหญ่มักอ้วน
ตับอ่อนยังพอผลิตอินสุลินได้ แต่มีภาวะดื้อต่ออินสุลิน
ระยะแรกรักษาโดยการควบคุมอาหารหรือ
ยาเม็ดลดระดับน้ำตาลในเลือด
ส่วนใหญ่พบมากในผู้สูงอายุ
อาการและอาการแสดง
ระยะแรกไม่ค่อยมีอาการ
กินจุ ปัสสาวะน้อย ดื่มน้ำมาก น้ำหนักลด
ติดเชื้อบ่อย โดยเแพาะเชื้อแบคทีเรีย รา
ที่ระบบทางเดินปัสสาวะ ผิวหนัง มีแผลหายยาก
ระบบประสาททำงานบกพร่อง
มีภาวะแทรกซ้อนของระบบต่อมไร้ท่อ
Insulin Resistance Syndrome (Syndrome X)
การควบคุมเบาหวาน
การบริโภคอาหารที่เหมาะสม
การออกกำลังกาย
การลดน้ำหนัก
การใช้ยาฉีด คือ อินสุลิน และยารักษา
เบาหวานชนิดรับประทาน
การพยาบาล
เกี่ยวข้องกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การรับประทานอาหาร
การออกกำลังกาย การใช้ยา
ส่งเสริมให้มีความรู้และสามารถปฏิบัติ
เพื่อควบคุมโรคเบาหวานได้
การแนะนำเรื่องอาหาร ควรรับประทานอาหารร่วมกับ
ออกกำลังกาย โดยใช้โภชนบำบัด 9 ประการ
แนะนำผู้ป่วยเบาหวานเกี่ยวกับการใช้อินสุลิน
การดูแลสุขภาพเท้า
ตรวจดูเท้าของตนเองทุกวัน เมื่อมีปัญหาที่เท้าต้องรีบรักษา
ล้างเท้าและซับผ้าให้แห้งสะอาดทุกวันหลังอาบน้ำ
สวมร้องเท้าหรือรองเท้าแตะตลอดเวลาทั้งในและนอกบ้าน
บริหารเท้า ช่วยทำให้เลือดไหลเวียนได้ดี
ภาวะท้องผูก
ความหมาย
การถ่ายอุจจาระแข็งและแห้งผิดปกติ ความถี่คือหลายวันจึงจะขับถ่าย เวลาเบ่งถ่ายอุจจาระนานหรือเบ่งมากหรือรู้สึกถ่ายอุจจาระไม่หมด
ชนิดของภาวะท้องผูก
แบ่งตามลักษณะการขับถ่ายอุจจาระ
ภาวะท้องผูกชนิดถ่ายลำบาก หรือเจ็บปวดในขณะถ่าย
ภาวะท้องผูกที่มีการไหลอุจจาระในลำไส้อย่างช้าๆ
แบ่งตามสาเหตุการทำให้เกิดท้องผูก
Primary constripation เกิดขึ้นเอง
โดยไม่มีโรคอื่นเป็นสาเหตุนำมาก่อน
Secondary constripation
การพยาบาล
แนะนำรับประทานอาหารอย่างเพียงพอ และอาหารที่มีเส้นใย
แนะนำให้ดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้วเป็นอย่างน้อย โดยเฉพาะ
หลังตื่นนอนตอนเช้าควรดื่มน้ำ 1 แก้ว
การฝึกการขับถ่าย โดยกำหนดเวลาที่แน่นอนในแต่ละวัน
เพื่อนั่งถ่ายอุจจาระ
ไม่กลั้นอุจจาระ เมื่อปวดควรรีบเข้าห้องน้ำทันที
ต่อมลูกหมากโต
สาเหตุ
ไม่ทราบชัดเจน
การโตของต่อมลูกหมากสัมพัธ์กับการเปลี่ยนแปลงตามวัย
ฮอร์โมน Dihydrotestosterone เกี่ยวข้องกับการเกิด BPH
วัยสูงอายุระดับเทสโตเสตอโรนในเลือดจะลดลงแต่ระดับ DHT จะคั่งอยู่ในต่อมลูกหมาก จะกระตุ้นให้สร้างเซลล์เพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติ (hyperplasia)
อาการ
ปัสสาวะต้องเบ่งเมื่อเริ่มปัสสาวะหรือ
รอนานกว่าจะปัสสาวะออกมาได้
ปัสสาวะไม่พุ่งเป็นลำเล็กๆ
ปัสสาวะบ่อย ต้องตื่นกลางคืน
เนื่องจากปวดปัสสาวะ
ปัสสาวะไม่สุดเหมือนคนที่ยังไม่ได้ปัสสาวะ
กระเพาะปัสสาวะบีบตัวไม่ดีเกิดการคั่งของปัสสาวะ
การวินิจฉัยโรค
อาศัยการซักประวัติ
การตรวจร่างกาย
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจพิเศษ
การรักษา
การเฝ้าสังเกตอาการ
รักษาโดยยา
การรักษาต่อมลูกหมากโตโดยไม่ใช้วิธีผ่าตัด
การผ่าตัดเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการรักษาต่อมลูกหมากโต
การพยาบาล
ควรแนะนำให้สังเกตอาการผิดปกติ
และมาตรวจตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
แนะนำการรับประทานยา การออกฤทธิ์และผลข้างเคียง
ของยาพร้อมทั้งการมาตรวจตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
การกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
ความหมาย
การสูญเสียการควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะ ทำให้มีปัสสาวะเล็ดราดออกมาทางท่อปัสสาวะ โดยไม่สามารถควบคุมได้และก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต และการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมของบุคคล
ผลกระทบที่เกิดจาก
ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
ด้านร่างกาย : ระคายเคืองผิวหนัง เกิดบาดแผล เสี่ยงต่อ
การติดเชื้อผิวหนังและทางเดินเป๋า สมรรถภาพทางเพศลดลง
ด้ายจิตใจและสังคม : คุณค่าตัวเองลดลง แยกตัวจากสังคม เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจเพราะต้องจัดซื้อผ้ารองซับปัสสาวะ คุณภาพชีวิตลดลง
ปัจจัยเกี่ยวข้องกับการควบคุม
การขับถ่ายปัสสาวะ
โครงสร้าง สรีรวิทยา ความสมบูรณ์ในการ
ทำหน้าที่ของทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง
จิตใจและวัฒนธรรม : การตระหนักรู้
การใช้อุปกรณ์ในการขับถ่าย
สิ่งแวดล้อมที่ช่วยเกื้อกูลในการปัสสาวะ
ชนิดของการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
ภาวะการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่แบบชั่วคราว (Transient)
หรือแบบเฉียบพลัน (Acute) : ป้องกัน รักษาให้หายได้ พบบ่อยแต่มักไม่ค่อยได้รับการประเมิน
ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่แบบเรื้อรัง (Chronic)
การรักษา
การรักษาเชิงพฤติกรรม (behavioral therapy) :
การฝึกกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
การรักษาโดยการใช้ยา (pharmacologic therapy) :
Alpha-adrenergic agonist, Antibiotic
การรักษาโดยการผ่าตัด (surgical therapy)
การพยาบาล
พัฒนาแผนการดูแลเฉพาะผู้ป่วยแต่ละคน
โดยใช้ข้อมูลจากการประเมิน
หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ทำให้เกิดภาวะกลั้นปัสสาวะภาวะไม่อยู่
หลีกเลี่ยงการใส่สายสวนปัสสาวะคาไว้ทำให้เกิดการติดเชื้อ
ประเมินการได้รับน้ำและวางแผนการจัดการรับน้ำอย่างเพียงพอ
หัวใจขาดเลือด
ความหมาย
กล้ามเนื้อหัวใจมีความไม่สมดุลของการใช้ออกซิเจน กับความต้องการออกซิเจน ทำให้หัวใจขาดเลือดและหรือตายจากเลือดในหลอดเลือดหัวใจไปเลี้ยงลดลงอย่างเฉียบพลัน
ST segment elevation myocardial infarction (STEMI)
Non-STEMI (NSTEMI)
Unstable angina
สาเหตุ
มีหลายสาเหตุ เช่น พยาธิสภาพของหลอดเลือดหัวใจ ลิ้นหัวใจตีบ
ภาวะซีด กล้ามเนื้อหัวใจโตหรือสาเหตุหลายอย่างร่วมกัน
ร้อยละ 70 เกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดหัวใจ
ปัจจัยเสี่ยง
ลักษณะของคราบไขมันในหลอดเลือดหัวใจ
การไหลเวียนของเลือดในหัวใจ
กระบวนการแข็งตัวของเลือดภายใน
กลุ่มอาการไม่ต้องผลิตและการอักเสบ
ความไม่สมดุลของระบบฮอร์โมนและระบบประสาท
สิ่งแวดล้อมและยา
อาการ
เจ็บหน้าอก
คลื่นไส้อาเจียน
มีไข้
เหนือออกมากตัวเย็น
อาการของระบบหัวใจและหลอดเลือด
อาการทางจิตใจ
การรักษา
เป้าหมายคือ การจำกัดบริเวณการขาดเลือดของหัวใจ
ไม่ให้เกิดวงกว้างและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน
การรักษาเบื้องต้นคือ เปิดหลอดเลือดด้วยยาละลาย
ลิ่มเลือดหรือการขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูน
มีขั้นตอนการรักษา ในระยะ 24 ชั่วโมงแรก
หัวใจล้มเหลว
ชนิดของหัวใจล้มเหลว
แบ่งตามเวลาการเกิดโรค
Acute heart failure
Chronic heart failure
แบ่งตามประสิทธิภาพการบีบตัวของหัวใจ
Heart failure with reduce ejection fraction (HFrEF)
Heart failure with mid range ejection fraction (HFmrEF)
Heart failure with preserved ejection fraction (HFpEF)
แบ่งตามระยะของภาวะหัวใจล้มเหลว
Stage A HF เป็นผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการ
มีโครงสร้างและการทำหน้าที่ของหัวใจผิดปกติ
Stage B HF เป็นผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจแต่ไม่มีอาการและอาการแสดงของภาวะหัวใจล้มเหลว
Stage C HF เป็นผู้ป่วยที่มีหรือเคยมีอาการ
แสดงของภาวะหัวใจล้มเหลวมาก่อน
Stage D HF เป็นผู้ป่วยที่อยู่ในระยะสุดท้ายของโรคมีการดำเนินการของโรคไม่ดีและ
ตอบสนองต่อการรักษาต่ำ
แบ่งตามหน้าที่ทางกาย
Class I : ผู้ป่วยไม่มีข้อจำกัดในการทำกิจกรรม
หรือทำกิจวัตรประจำวันปกติ
Class II : ผู้ป่วยที่มีข้อจำกัดในการทำกิจกรรม
เล็กน้อยหรือผู้ป่วยรู้สึกสบายเมื่อพัก
Class III : ผู้ป่วยที่มีข้อจำกัดในการทำกิจกรรมมาก
Class IV : ผู้ป่วยไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้เลย
อาการแสดง
อาการแสดงภาวะหัวใจซีคซ้ายวาย
เหนื่อยขณะนอนหลับ ต้องตื่นมาลุกนั่งหายใจ
หัวใจเต้นเร็วความดันโลหิตต่ำจากการมี CO ลง
หัวใจเต้นเร็วอาจเต้นแรงสลับเบา เป็นผลจากการ
ทำงานชดเชยของระบบประสาทซิมพาเธติก
ผิวหนังส่วนปลายเย็น ชื้น จากหลอดเลือดส่วนปลายหดตัว
อาการแสดงภาวะหัวใจซีคขวาวาย
หลอดเลือดดำที่คอโป่งพอง จากการมีแรงดันกลับ
superior venacava เพิ่มขึ้น
บวมกดบุ๋ม บริเวณข้อเท้าและเท้า ตับโต มีน้ำในช่องท้อง
และอาจพบอาการคลื่นไส้ เบื่ออาหาร
การรักษา
การจัดการการจัดการผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวในปัจจุบันเป็นไปตาม stage of heart failure
การรักษาด้วยยาและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
การใส่เครื่องมือพิเศษ
การผ่าตัด
ความดันโลหิตสูง
ความหมาย
ระดับความดันโลหิต 140/90 mmHg หรือมากกว่า
ซึ่งอาจจะเป็นตัวบนหรือตัวล่างก็ได้
จุดมุ่งหมายการประเมินผู้ป่วยที่
สงสัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง
เพื่อยืนยันว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงและประเมินความรุนแรงของโรค
เพื่อประเมินร่องรอยอวัยวะที่ถูกทำร้าย
เพื่อตรวจหาโรคที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด CVD
เพื่อตรวจหาโรคความดันโลหิตสูงทุติยภูมิที่อาจรักษาต้นเหตุได้
ลักษณะผู้ที่มีความเสี่ยงสูงและสูงมากในการเกิดการเสียชีวิตจาก CVD
เป็นโรคความดันโลหิตสูงในระดับรุนแรง
มี pulse pressure > 60 มม.ปรอท
เป็นโรคเบาหวาน
มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด CVD มากกว่า 3 ปัจจัยขึ้นไป
มี TOD โดยไม่มีอาการ
เป็น CVD แล้ว
เป็น CKD ตั้งแต่ stage 3 ขึ้นไป
การรักษา
การปรับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต
การรักการรักษาด้วยยา
การพยาบาล
สังเกตอาการผิดปกติ เช่น อาการปวดมึนศีรษะบริเวณท้ายทอย ตึงที่ต้นคอ วิงเวียน ปวดศีรษะตุบๆแบบไมเกรน เลือดกำเดาไหลตามัว
หรือตามองไม่เห็นข้างใดข้างหนึ่งแบบชั่วคราว
ติดตามวัดความดันโลหิต ชั่งน้ำหนักตัว และวัดรอบเอวอยู่เสมอ
สร้างสุขนิสัยที่ดีและมีพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกัน
ความดันโลหิตสูง
รับประทานยาให้สม่ำเสมอ ตามแผนการรักษา จะช่วยควบคุมภาวะความดันโลหิตไม่ให้รุนแรงมากขึ้นและช่วยลดภาวะแทรกซ้อนให้เกิดช้าที่สุด
รับประทานยาลดความดันโลหิต ควรแนะนำให้ผู้ป่วยเปลี่ยนท่าทางช้าๆระวังอาการหน้ามืด เป็นลม เนื่องจากความโลหิตต่ำลงมากหรือเร็วเกินไป
ปอดอุดกั้นเรื้อรัง
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุหลัก ทั้งสูบด้วยตนเอง
หรือ เป็นผู้สูบบุหรี่มือสอง
มลพิษในอากาศ การใช้ไม้ฟืนในการทำครัวในบ้าน
ฝุ่นควัน สารเคมีหรือสารละเหยจากการทำงาน
การขาด alpha1-antitrypsin (โรค Alpha1-antitrypsin : AAT)
เพศชายและหญิงมีโอกาสเกิดโรคใกล้เคียงกัน
เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการสูบบุหรี่
โรคหอบหืด พบว่า ผู้ที่เป็นโรคหอบหืดมีโอกาสเกิดโรคปอด
อุดกั้นเรื้อรัง 12 เท่าของผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคหอบหืด
พยาธิสภาพ
การจำกัดการไหลของอากาศและการขังของอากาศในถุงลม (Airflow limitation and air tapping)
มีความผิดปกติของการเปลี่ยนก๊าซ (Gas exchange abnormalities)
มีการหลั่งมูกเพิ่มมากขึ้น (Mucus hypersecretion)
ความดันในปอดสูง (Pulmonary hypertention: PAH)
อาการและอาการแสดง
เหนื่อยหายใจลำบาก ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กช่วยในการหายใจ
ไอเรื้อรัง พบในระยะแรกของโรค อาจมีหรือไม่มีเสมหะร่วมด้วย
แน่นหน้าอก หายใจมีเสียงหวีด (Wheeze)
เหนื่อยล้า รู้สึกเบื่ออาหาร พบบ่อยในผู้ป่วยที่อยู่ในระยะรุนแรง
การรักษา
การใช้ยา
Anticholinergic
Methylxanthines
Corticosteriods
การหยุดสูบบุหรี่
การรับการรักษาด้วยออกซิเจน
การรักษาอื่นๆ
การให้วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่
การฟื้นฟูสมรรถภาพปอด
การให้ Alpha1 antitrypsin
การพยาบาล
ประเมินการหายใจ อัตราการหายใจ ภาวะพร่องออกซิเจน
การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กช่วยการหายใจ
ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง สามารถระบายเสมหะได้ดี
ดูดเสมหะตามความจำเป็น
สอนและสาธิตการไออย่างมีประสิทธิภาพให้ผู้ป่วยปฏิบัติตาม
ช่วยผู้ป่วยจัดตารางในการทำกิจกรรม ค่อยๆปรับ
การทำกิจกรรมและการออกกำลังกาย
ปัญหาในการสื่อสาร
ความหมาย
การสื่อสาร คือ การส่งสารและรับข้อมูลจากโลก
ภายนอกทั้งโดยวัจนะและอวัจนะภาษา และส่งสาร
ติดต่อแปลผลภายในร่างกายของมนุษย์ก่อนการ
ตอบสนองเป็นกระบวนการทำงานที่ต้องการทำ
หน้าที่ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
Aphasia
เป็นความผิดปกติของการพูดและการเข้าใจภาษา
ลักษณะอาการคือ พูดไม่ได้ หรือพูดได้หรือไม่เข้าใจภาษา
สาเหตุของความผิดปกติ มักจะพบในผู้ป่วยโรคหลอด
เลือดสมอง อุบัติเหตุทางสมอง เนื้องอกที่สมอง
การทำงานของสมองซีกซ้าย
เป็นสมองที่ควบคุม เกี่ยวกับภาษา
และทักษะต่างๆของผู้ที่ถนัดขวา
คนที่ถนัดมือซ้ายมักจะมีสมอง
ซีกซ้ายหรือทั้งสองข้างเด่น
ถ้าผู้ป่วยมีพยาธิสภาพของสมองซีกซ้าย
จะทำให้เกิดความผิดปกติของการใช้ภาษา
การทำงานของสมองซีกขวา
เป็นสมองซีกที่ควบคุมและเชื่อมโยงการเคลื่อนไหว
กับการรับรู้ต่างๆแสดงพฤติกรรมทางอารมณ์
ถ้าสมองส่วนนี้ได้รับบาดเจ็บทำให้ผู้ป่วยจำ
ทิศทางไม่ได้ ไม่สนใจร่างกายด้านตรงข้าม
ประเภทของความผิดปกติของ Aphasia
มีปัญหาเรื่องการรับรู้เข้าใจในภาษา
(Wernick’s Aphasia)
มีปัญหาเรื่องการแสดงออกทางภาษา แต่มีความ
เข้าใจในภาษาที่ปกติ (Broca’s Aphasia)
มีปัญหาเรื่องการนึกคำพูด (Norminal Aphasia)
ปัญหาทั้งเรื่องการแสดงออกทางภาษาและ
ความเข้าใจในภาษา(Global Aphasia)
Dysarthria
เป็นความผิดปกติในการควบคุมกล้ามเนื้อการพูด คือ
พูดไม่ได้ พูดไม่ชัด พูดแบบลิ้นแข็งๆ หรือพูดตะกุกตะกัก
เกิดจากการอ่อนแรงของใบหน้า ปาก ลิ้น และขากรรไกร
สาเหตุมาจากโรคหลอดเลือดสมองที่มีการตีบขนาดใหญ่ หรือตีบบริเวณเนื้อสมองส่วนสีขาว บริเวณก้านสมอง หรือสมองน้อย
ปัญหา (Dysarthria) จะดีขึ้นด้วยการบำบัดด้วย
การฝึกการพูดและการออกกำลังกาย
การพยาบาล
Aphasia
อธิบายสถานการณ์ การบำบัดรักษาและกิจกรรม
ทุกอย่างที่ต้องปฏิบัติกับผู้สูงอายุ
พยายามสื่อสารด้วยคำพูดถ้าผู้สูงอายุฟังเข้าใจ
พูดช้า ชัด ถามทีละคำถาม ให้รอคำตอบ
อาจต้องถามซ้ำตามจำเป็น
ผู้สูงอายุที่พูดไม่ได้ให้ใช้คำถามที่ผู้สูงอายุสามารถ
ตอบสนองได้โดยการกระพริบตาหรือพยักหน้า
Dysarthria
บอกกับผู้ที่ผู้สูงอายุสื่อสารด้วยว่า
มีความยากลำบากในการสื่อสาร
ตระหนักว่าผู้สูงอายุมี dysarthria ไม่ได้สูญเสียความฉลาดไปด้วย
หายใจลึกๆก่อนพูด พูดผิดละคำ พูดในขณะหายใจออก
เปิดปากให้กว้างเวลาพูด เพื่อให้ลิ้นได้เคลื่อนไหว
ขณะพูดกับผู้สูงอายุ ให้ความสนใจ
ประสานสายตาและมองหน้าขณะพูด
ปัญหาการมองเห็น
ประเมิประเมินว่าควรจะพูดคุยกับผู้สูงอายุ
ทางด้านไหนจึงจะเหมาะสม
ผู้สูงอายุตาบอด ต้องส่งเสียงพูดเมื่อพบกัน แนะนำตัวเองและผู้ที่อยู่ด้วย และเมื่อจากไปต้องบอก
พูดคุยด้วยเสียงปกติ และพูดด้วยท่าทางตามปกติที่เคยทำ เมื่อมีผู้เข้ามาใหม่ต้องแนะนำ บอกตำแหน่งที่อยู่อาจให้แตะเบาเบาที่แขนเพื่อบอกตำแหน่ง
ตรวจสอบแสงสว่างที่เหมาะสมที่ช่วยในการมองเห็นที่เหลืออยู่