Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ปัญหาสุขภาพ อาการผิดปกติที่พบบ่อย การจัดการอาการและการใช้แพทย์ทางเลือก -…
ปัญหาสุขภาพ อาการผิดปกติที่พบบ่อย การจัดการอาการและการใช้แพทย์ทางเลือก
ปัญหาระบบประสาทปัญหาสุขภาพจิตปัญหาเพศสัมพันธ์ในผู้สูงอายุและการพยาบาล
ภาวะสมองเสื่อมDementia
ความหมายเป็นกลุ่มอาการที่มีสาเหตุจากความผิดปกติของการทำงานของสมองด้านการรู้คิดและสติปัญญา โดยมีการเสื่อมของความจำเป็นอาการเด่น
สาเหตุ
. secondary dementia เกิดจากโรคต่าง ๆ ที่ทราบสาเหตุที่มีผลกระทบทำให้เกิดอาการสมองเสื่อม เช่น โรคเกี่ยวกับหลอดเลือดสมอง โรคติดเชื้อต่าง ๆ หากสามารถแก้ปัญหาที่เป็นเหตุได้อาการของสมองเสื่อมก็จะหายไปด้วย
. primary dementia เกิดจากความผิดปกติหรือการเสื่อมลงของเซลล์สมอง ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด เช่น โรคอัลไซเมอร์
ปัจจัยเสี่ยง
ผู้หญิง มีระดับฮอร์โมนเพศหญิงต่ำมานาน
การสูบบุหรี่ ดื่มสุราหรือสิ่งเสพติด
โรคประจำตัว ได้แก่ ความดันโลหิตสูง เบาหวานและภาวะดื้อต่ออินซูลิน
น้ำหนักตัวเกิน ขาดการออกกำลังกาย
โรคหลอดเลือดสมอง เช่น เคยเป็นอัมพฤกษ์หรืออัมพาตมาก่อน หรือเคยมีอุบัติเหตุที่ศีรษะ
ระดับโฮโมซีสเตอีนในเลือดสูง
พยาธิสภาพ
เซลล์สมองที่ทำหน้าที่ในคนปกติ จะมีการลดจำนวนลง ในผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมจะพบว่า จำนวนเซลล์ของสมองที่ทำงานลดลงอย่างมาก ทำให้มีปัญหาด้านความจำ การรับรู้ความคิด การตัดสินใจ อารมณ์ และบุคลิกภาพผิดไปจากเดิมนอกจากนี้อาจพบว่าใยของประสาทในสมองมีความผิดปกติในด้านโครงสร้าง
อาการและอาการแสดง
หลงทาง
บกพร่องในการใช้ภาษา พูดไม่ค่อยเป็นประโยค พูดตะกุกตะกัก หรือพูดเพี้ยน เพราะนึกชื่อสิ่งของที่เรียกไม่ได้
บกพร่องในการตัดสินใจแก้ไขปัญหา เช่น ไม่กล้าตัดสินใจหรือตัดสินใจผิดพลาด ในหน้าที่การงานแม้ในเรื่องเล็กน้อย
บกพร่องในการประกอบกิจกรรมที่เคยทำได้มาก่อน เช่น เคยเปิดโทรทัศน์ได้ ก็ไม่สามารถหาวิธีเปิดช่องที่ต้องการได้
บกพร่องในการประกอบกิจกรรมที่ซับซ้อนหลายขั้นตอน เช่น การคิดเงิน จ่ายกับข้าว
มีการประกอบกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองบกพร่อง
บกพร่องด้านการรับรู้หรือเรียนรู้สิ่งใหม่
อาการเลวลงเวลาพลบค่ำ เรียกว่า sundown syndrome เพราะเป็นช่วงเวลาที่ความสว่างลดลง ผู้ป่วยมองเห็นได้น้อยลง ทำให้แปลสิ่งที่เห็นผิดไป จึงเกิดอาการต่อต้านและก้าวร้าวโวยวาย
บกพร่องด้านความจำสิ่งใหม่ ทำให้พูดทวนเรื่องเก่า ถามซ้ำในคำถามเดิมบ่อยๆ
ระยะการดำเนินโรค
ระยะแรก
มีอาการหลงลืมไม่มาก การรับรู้และสมาธิเสื่อมลง
คลิกภาพเฉื่อยชา ขาดความสนใจสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัย อาบน้ำไม่สะอาด
สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ทำกิจกรรมต่างๆ ช้าลง
ระยะปานกลาง หลงลืมมากขึ้น
-ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ไม่รู้ว่าตนเองอยู่ที่ไหนจำคนหรือชื่อคนไม่ได้เดินไปมาไม่หยุด
-บุคลิกภาพและสติปัญญาเปลี่ยนแปลง อารมณ์แปรปรวน ก้าวร้าว แสดงพฤติกรรมทางเพศไม่เหมาะสม
-ช่วยเหลือตนเองได้น้อยลง ปฏิบัติกิจกรรมประจำวันที่เคยปฏิบัติไม่ได้
-มีอาการของกลุ่มอาการ sundown syndrome อาการสับสนมากขึ้นในเวลาเย็น เนื่องจากเผชิญสิ่งสับสนมากในเวลากลางวัน
ระยะรุนแรงหรือระยะสุดท้าย
พูดลิ้นรัว ขาดเป็นช่วงๆ ไม่เป็นภาษา
เบื่ออาหาร อาจลืมว่ารับประทานอาหารแล้ว
จำเหตุการณ์ไม่ได้ ทั้งอดีตและปัจจุบัน
กลั้นอุจาระและปัสสาวะไม่ได้ ช่วยตัวเองไม่ได้ ใช้เวลาเกือบทั้งหมดอยู่บนเตียง
การวินิจฉัย
ตรวจคัดกรองเบื้องต้นว่ามีอาการซึมเศร้า หรือไม่ เพื่อประเมินสภาวะทางจิตโดยใช้ Geriatric Depression Scale (GDS)
ทดสอบความจำและประเมินความสามารถด้านสติปัญญาโดยใช้ MMSE-Thai,ประเมินภาวะสับสนเฉียบพลันหรือภาวะสมองเสื่อม
ซักประวัติและตรวจร่างกาย โดยทั่วไปผู้ป่วยมักให้ประวัติไม่ได้ต่อเนื่องจากอาการหลงลืม จึงควรมีมีญาติมาด้วย
การตรวจร่างกาย เพื่อค้นหาสาเหตุ จากโรคที่รักษาหาย
การประเมินภาวะสมองเสื่อม
3.ความผิดปกติในข้อ 1 และ 2 มีมากจนส่งผลกระทบต่อความสามารถทางสังคม และอาชีพ
4.ความผิดปกติที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดในช่วงที่มีภาวะซึมสับสน (delirium)
2.มีความผิดปกติอย่างน้อย 1 ข้อในต่อไปนี้
5.ความผิดปกติที่เกิดขึ้นไม่สามารถอธิบายได้ด้วยสาเหตุอื่น
1.มีความผิดปกติของความจำ (memory impairment)
หลักการรักษา
รักษาตามอาการแบบประคับประคอง
การรักษาโดยใช้ยา ยา 2 กลุ่มที่นิยมใช้ยาขยายหลอดเลือดสมองทำให้เลือดไปสู่สมองเพิ่มขึ้น และ ยาช่วยการทำงานของสมองทำให้เซลล์สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รักษาต้นเหตุของภาวะสมองเสื่อม
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อม
อธิบายเป็นขั้นๆ ทีละขั้นตอน
การป้องกันภาวะแทรกซ้อน
การสื่อสารและการใช้ภาษา
อธิบายเป็นขั้นๆ ทีละขั้นตอน
พูดช้าๆ อธิบายสั้นๆ เพียงเรื่องเดียว
การรักษาหน้าที่ของสมองให้คงอยู่มากที่สุด
การส่งเสริมให้ผู้ป่วยทำกิจวัตรประจำวันได้นานที่สุด
การส่งเสริมสภาวะทางด้านจิตสังคมและลดอาการซึมเศร้า
ภาวะซึมสับสนเฉียบพลันภาวะสับสนเฉียบพลันเพ้อคลั่ง Delirium
ภาวะสับสนเฉียบพลัน (Delirium)
อาการ
การสูญเสียความจดจ่อ (attention impairment)
ความจำเสื่อม (memory impairment) กระวนกระวาย (agitation) เฉยเมย (apathy) และ แยกตัว (withdrawal)
ระยะนำ อาจมีอาการเพียงอ่อนเพลีย ไม่มีสมาธิ หงุดหงิด วิตกกังวล ไวต่อสิ่งเร้า
ปัญหาการนอน มักตื่นตอนกลางคืน และหลับตอนกลางวัน
มีอาการเฉียบพลัน มีการเปลี่ยนแปลงของระดับความรู้สึกตัว ความจำ การใช้ภาษา และการคิดอย่างเป็นระบบ
ชนิด ของ Delirium
ชนิด hypoactive จะมีอาการเงียบ ซึมสับสน เฉยเมย นอนมาก
ชนิด mixed ผู้ป่วยจะมีอาการสลับไปมาระหว่างชนิด hyperactive และ hypoactive
ชนิด hyperactive จะมีอาการวุ่นวาย หลงวัน เวลา สถานที่ และบุคคล เห็นภาพหลอน
ปัจจัย
โรคระบบประสาท
การผ่าตัด ทางออร์โธปิดิกส์
โรคที่เกิดร่วม
การอดนอนเป็นเวลานาน
ยา กลุ่มกล่อมประสาท narcotics การหยุดยาหรือสุรากะทันหัน
สาเหตุ
ความผิดปกติของสารสื่อประสาท (neurotransmitter)
Dopamine ที่สูง จะควบคุมการหลั่ง acetylcholine
cholinergic deficiency
การอักเสบ และความเครียดเรื้อรังจากการเจ็บป่วย
จะมีการกระตุ้น sympathetic และ hypothalamic ทำให้มีระดับ cytokine สูงขึ้น และมี hypercortisolism ส่งผลทำให้ซึมสับสนเฉียบพลันได้
การป้องกันการเกิดภาวะ Delirium
ดูแลให้ได้รับอาหารที่เหมาะสม
การกระตุ้นให้มีการเคลื่อนไหวตั้งแต่ระยะแรก
ดูแลให้ได้รับ ออกซิเจนอย่างเพียงพอ
การรักษาและการพยาบาลภาวะ Delirium
การดูแลประคับประคองอาการ
ดูแลสภาพแวดล้อม การปรับให้โล่งแยกออกจากผู้ป่วยอื่น
ค้นหาสาเหตุเพื่อให้การรักษาที่ถูกต้อง
การให้ยา ให้เพื่อควบคุมให้สงบ เช่น haloperidol
โรคอัลไซเมอร์ Alzheimer’s disease : AD
สาเหตุ
กรรมพันธุ์
อายุ
การอักเสบ inflammatory สาร amyloidทำให้เกิดการอักเสบของเซลสมอง
โรคความดันโลหิตสูงเรื้อรัง
จากความผิดปกติในเนื้อสมอง 2 อย่าง
กลุ่มใยประสาทพันกัน neurofibrillary tangles ทำให้สารอาหารไม่สามารถไปเลี้ยงสมอง
มีสาร beta amyloid ในสมองทำให้ระดับ acetylcholine ซึ่งมีส่วนเรื่องการเรียนรู้และความจำในสมองลดลง
อาการและอาการแสดง
ระยะกลาง เริ่มมีปัญหาในการทำกิจวัตรประจำวันพื้นฐาน
ระยะสุดท้าย สื่อสารได้ลดลง มีพฤติกรรมซ้ำๆ มีปัญหาการทรงตัว จำญาติใกล้ชิดไม่ได้ หรือลืมชื่อตนเอง ต้องดูแลตลอด 24 ชม.
ระยะแรก มีปัญหาเรื่องความจำ การเรียนรู้สิ่งใหม่ และลืมเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้น
การวินิจฉัย ใช้DSM-IVในการประเมิน
การรักษาและการพยาบาล
แนวทางที่เชื่อว่าจะช่วยป้องกันและจัดการโรคได้นั้นคือการกระตุ้นทางจิตใจและการออกกำลังกาย และรับประทานอาหารครบทุกหมู่
ยังไม่มีการรักษาที่ช่วยชะลอหรือหยุดการดำเนินโรคอย่างแท้จริง
Parkinson’s Disease
สาเหตุ
นอกจากนี้อาจพบปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องอีกเช่นCVD,genetic,การได้รับยาบางชนิด
ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบว่าภาวะ toxicityเช่น metallic poisoning,hypoxia
อาการและอาการแสดง
เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจได้ เช่นความสามารถในการตัดสินใจ และการควบคุมอารมณ์
สาเหตุการตายที่สำคัญของผู้ป่วย Parkinson’s Disease คือ ภาวะแทรกซ้อน
จะแตกต่างกั้นในแต่ละคน ขึ้นกับสาเหตุของการสั่น (tremors) ผลคือทำให้ dopamine ลดลงทำให้เกิดอาการขึ้นการสั่นของมือและเท้าจึงอาจเป็นอาการแรกๆของ Parkinson’s Disease
การรักษาพยาบาล
การรักษาด้วยยา
ยาที่ใช้ในการควบคุมอาการของโรค คือ Levodopa (L-Dopa)เป็น precursor ของ Dopamine เป็นยารับประทาน เมื่อเข้าไปที่สมองจะเปลี่ยนเป็น Dopamine ใน basal ganglia
Dopamine จะไม่ให้โดยการรับประทาน เพราะจะถูกเผาผลาญก่อนถึงสมอง
การรักษาด้วยการผ่าตัด
การพยาบาล
อาหาร ซุปข้นหรืออาหารทางสายยางในผู้ป่วยที่กลืนลำบาก ควรเป็นชนิดไขมันต่ำ วิตามิน เอ และ อี สูง กากใยสูง
กิจกรรม ควรให้มีกิจกรรมการเคลื่อนไหว
เทคโนโลยีใหม่ๆที่นำมาใช้ควบคุมอาการของโรคเช่นPULSE GENERATORS มีหลักการทำงานคือส่ง electrical impulses ไป block สัญญาณประสาทที่เป็นสาเหตุของการสั่น
ภาวะสับสน Confusion
การตรวจเพื่อวินิจฉัย
Cognitive tests
MRI of the head
Brain and nervous system (neurologic) tests
การพยาบาล
พูดคุยถึงสถานการณ์ปัจจุบันให้ฟัง และบอกแผนหรือสิ่งที่จะต้องทำของแต่ละวันให้ทราบ
จัดสภาพโดยรอบให้สงบ เงียบ และรู้สึกอบอุ่น
ประเมินผู้ป่วยโดยถามชื่อ อายุ วันเดือน ปี
ดูแลให้นอนหลับพักผ่อนได้เพียงพอ
การฆ่าตัวตาย Suicide
อาการและอาการแสดง
อาการไม่สนใจในการรับประทานอาหาร ปฏิเสธการรับประทานยา ปฏิเสธการรักษา ทำในสิ่งที่เป็นการเสี่ยงตาย เหล่านี้เป็นอาการบ่งบอกว่าอยากตาย
-การรักษาและการพยาบาล
จัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัย
ผู้สูงอายุที่พยายามฆ่าตัวตาย ต้องได้รับการป้องกัน และดูแลอย่างใกล้ชิด และรีบรักษาสาเหตุ
การซักประวัติผู้ป่วยหากเป็นไปได้ควรทำในที่เป็นส่วนตัว
ให้พูดระบายความเครียด
ปัญหาสุขภาพจิตและปัญหาเพศสัมพันธ์ในผู้สูงอายุ
ภาวะซึมเศร้า (Depression)
สาเหตุ
ปัจจัยทางด้านจิตใจ การเบี่ยงเบนด้านการคิดรู้ เหตุการณ์ชีวิตที่ก่อให้เกิดความเครียด
ปัจจัยทางสังคมและประชากร เพศหญิงเสี่ยงมากกว่าชาย 2-3 เท่า การขาดแหล่งให้การสนับสนุนทางสังคม
ปัจจัยทางชีวภาพ ความไม่สมดุลของสารสื่อประสาท สูญเสียการทำหน้าที่ของระบบต่อมไร้ท่อ
ปัจจัยเสี่ยง มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นซึมเศร้า สถานะทางเศรษฐกิจสังคมต่ำ
อาการและอาการแสดง
อาการอื่นๆ ได้แก่ ไม่มีความมั่นใจ คุณค่าในตนเองลดน้อยลง รู้สึกผิดหรือบาปอย่างไม่สมเหตุผล
อาการหลัก ได้แก่ มีอารมณ์ซึมเศร้า มีอาการเกิดขึ้นตลอดเวลาทั้งวันติดต่อกันเป็นเวลา 2 อาทิตย์ขึ้นไป
การวินิจฉัย
ตรวจคัดกรอง2Q
เครื่องมือประเมิน 9Q, GDS, TGDS
ซักประวัติ ตรวจร่างกาย
การรักษา
ไฟฟ้ารักษา (electroconvulsive therapy)
จิตบำบัด เช่น Cognitive Behavioral Therapy (CBT)
รักษาด้วยยา เพิ่มปริมาณสารสื่อประสาทที่บริเวณปลายประสาท โดยการเพิ่มปริมาณ serotonin ที่ปลายประสาท
การช่วยเหลือทางสังคม
การพยาบาลผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า
การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้านจิตใจ
พยายามปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในวัยสูงอายุไม่ว่าจะเป็นโรคทางกาย ความสามารถและบทบาทที่เปลี่ยนแปลงไป
ทำกิจกรรมหรืองานอดิเรกที่ชอบ
ทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น
การค้นหาภาวะซึมเศร้าตั้งแต่ระยะแรก
การพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดภาวะซึมเศร้า
ให้การดูแลด้านจิตสังคมอย่างสม่ำเสมอ
เฝ้าระวังยาที่ใช้รักษาโรคทางกายแต่อาจทำให้เกิดอารมณ์ซึมเศร้า
ลดปัจจัยเสี่ยงหรือปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า
การพยาบาลผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าทุกระดับ
ประเมินและควบคุมยาและความเจ็บป่วยทางกาย
ส่งเสริมให้มีกิจกรรมด้านร่างกาย สังคม
ดูแลความปลอดภัยเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย
ประเมินติดตามภาวะซึมเศร้าอย่างต่อเนื่อง
จัดให้ได้รับการบำบัดหรือจัดการภาวะซึมเศร้าตามแนวทางการรักษา
ปัญหาเพศสัมพันธ์ (Sexual dysfunction)
ปัจจัย
ปัญหาสุขภาพ เช่น ต่อมลูกหมากอักเสบ ไขสันหลังถูกกด
การใช้ยาบางชนิด
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย เช่น การตอบสนองทางเพศลดลง ความถี่ของจุดสุดยอดลดลง ผู้ชายไม่แข็งตัว ผู้หญิงเจ็บเมื่อมีเพศสัมพันธ์
ปัญหาเกี่ยวกับความบกพร่องในการทำหน้าที่ทางเพศ
Erectile Dysfunction (ED) การไร้หรือเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ หรือมะเขือเผา
สาเหตุ
ทางจิตใจ เกิดจากความเครียด วิตกกังวล ทัศนคติและความเชื่อในเรื่องทางเพศ
ทางร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดในอวัยวะเพศ
อาการ อวัยวะเพศชายไม่แข็งตัว หรืออ่อนตัวเร็ว
Premature Ejaculation (ล่มปากอ่าว, นกกระจอกไม่ทัน กินน้ำ)
สาเหตุ ความเครียด วิตกกังวล
อาการ ฝ่ายชายถึงจุดสุดยอดเร็วจนไม่สามารถทำให้ฝ่ายหญิงเกิดความพอใจได้
Frigidity (เฉยชาทางเพศ)
สาเหตุ
อารมณ์ ความเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า
ทัศนคติทางเพศ
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายตามวัย
อาการ เพศหญิงเฉยชา ขาดการตอบสนองทางเพศ
Dyspareunia (เจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์)
อาการ ฝ่ายหญิงเจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์ เนื่องจากอวัยวะเพศขาดการหล่อลื่นทำให้เกิดการเสียดสีจนบาดเจ็บ
สาเหตุ
ร่างกาย มีการเปลี่ยนแปลงไปตามวัย
จิตใจ ขาดความรู้สึก ความต้องการทางเพศ ขาดการตอบสนองทางเพศ