Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สะพานเชื่อมโยงไปสู่อนาคตอันสดใส - Coggle Diagram
สะพานเชื่อมโยงไปสู่อนาคตอันสดใส
ผลการศึกษา
พัฒนาการภาษาไทยล้ำหน้า
มีทักษะการใช้คำและการสื่อสารสูงขึ้น
คะแนนเหนือกว่าทุกกลุ่มสาระ
สอบผ่านเกณฑ์การศึกษาขั้นพื้นฐาน
O-net ประจักษ์แจ้งพัฒนา
ทำคะแนนo-netรายวิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ สูงกว่าค่าเฉลี่ยของโรงเรียนเขตพื้นที่ชายแดนภาคใต้
ชุมชนรักษาสนับสนุนและส่งเสริม
เสียงตอบรับจากชุมชนส่วนใหญ่ระบุว่าการอ่าน-เขียนภาษาไทยเก่งขึ้นและมั่นใจขึ้น
การยอมรับจากนานาชาติ
ได้รับการคัดเลือกให้เป็น ผลงานวิจัยเด่นกลุ่มงานวิจัยและพัฒนา
โครงการจัดการศึกษาแบบทวิ-พหุภาษา
(ภาษาไทย-ภาษามลายูถิ่น)
เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2550
ความสำเร็จ4ประการ
พัฒนาการภาษาไทยล้ำหน้า
คะแนนเหนือกว่าทุกกลุ่มสาระ
ชุมชนรักษาสนับสนุนและส่งเสริม
O-netสูงขึ้น
มีพื้นฐานจาก”แนวปฎิบัติที่เป็นเลิศ”
ช่วยให้นักเรียนมีทักษะในการสื่อสารมีปฏิสัมพันธ์โดยราบรื่น
โรงเรียนสองภาษา พัฒนารูปแบบให้ดียิ่งขึ้น
ใช้ภาษาแม่(ภาษาถิ่น)เป็นพื้นฐานในการเชื่อมโยง
ข้อเสนอแนะ
พัฒนาโครงการจัดการศึกษาโดยใช้ภาษาแม่เป็นฐานสำหรับเด็กไทยกลุ่มชาติพันธุ์
จัดระบบสรรหา ฝึกอบรม พัฒนา และบรรจุแต่งตั้งครูกลุ่มชาติพันธุ์เพื่อคืนภูมิลำเนา
บูรณาการแนวทางจัดการศึกษาโดยใช้ภาษาแม่เป็นฐาน
ปรับใช้สื่อการสอนกับบุตรของแรงงานข้ามชาติ จากประเทศเพื่อนบ้าน
ต่อยอดขยายผลโครงการจัดการศึกษาแบบทวิ-พหุภาษาในโรงเรียนเขตพื้นที่ชายแดนภาคใต้
วิธีการ
สอนภาษาไทยสำหรับเด็กไทยกลุ่มชาติพันธุ์
-ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่2
-กลวิธีการเรียนรู้และรับเอาภาษา
การเขียนภาษามลายูถิ่น
พัฒนาระบบตัวเขียนภาษามลายูถิ่นที่เป็นมาตรฐาน โดยใช้อักษรไทยและเครื่องหมายกำกับตัวอักษรสำหรับหน่วยเสียงที่ไม่พบในภาษาไทย
สะพานเชื่อโยงทางภาษา
เรียนรู้จากสิ่งที่ไม่รู้ไปสู่สิ่งที่ไม่รู้
พัฒนาหลักสูตรและฝึกอบรมครู
ครูผู้สอนในโครงการทวิ-พหุภาษาได้รับเชิญให้เข้าร่วมประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาหลักสูตรและเข้ารับการอบรมในเรื่องหลักการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาแม่เป็นฐานรวมทั้งฝึกเทคนิคการสอนและการใช้สื่อการศึกษาเมื่อนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนครูจะสังเกตพฤติกรรมตอบสนองต่อบทเรียนของเด็กและบันทึกพฤติกรรมดังกล่าวเพื่อปรับปรุงสื่อให้สอดคล้องเหมาะสมต่อไปจึงส่งผลให้โครงการทวิ-พหุภาษา (ภาษาไทย-มลายูถิ่น) สามารถพัฒนาหลักสูตรระดับปฐมวัยและประถมศึกษาที่ต่อเนื่องและเข้มแข็งทั้งยังพิสูจน์แล้วว่าเหมาะสมสำหรับการนำไปต่อยอดขยายผลสู่โรงเรียนอื่น
พัฒนาทักษะการอ่าน-เขียนภาษาแม่
โครงการทวิ-พหุภาษา (ภาษาไทย-มลายูถิ่น) ใช้กลวิธีการสอนแบบสองแนวทาง (Two track method)” สำหรับพัฒนาการด้านการอ่านเขียนภาษาท้องถิ่น ได้แก่ การอ่านเขียนที่เน้นความเข้าใจและการอ่านเขียนที่เน้นความถูกต้องแนวทางแรกเป็นการปูพื้นฐานความคิดสร้างสรรค์และกระตุ้นการนำเสนอความคิดแนวทางที่สองเน้นความถูกต้องเพื่อตรวจสอบความถูกผิดในการใช้ภาษาในระดับเสียงคำและประโยค โครงการฯ ยังใช้กลวิธีการสอนด้วย“ กระบวนการบนลงล่าง (top-down)” ส่วน“ กระบวนการล่างขึ้นบน (bottom-up)” ผ่านสื่อและกลวิธีประกอบการเรียนการสอนหลายรูปแบบ“ หนังสือเล่มยักษ์” ใช้ควบคู่กับกลวิธีการสอนแบบการอ่านร่วมกันให้นักเรียนทั้งชั้นมีส่วนร่วมในการอ่านไปพร้อมกันกับครูผู้สอน
สาเหตุ
ระบบการศึกษาไทยทิ้งเด็กจำนวนมากไว้เบื้องหลัง รัฐบาลลงทุนมหาศาลด้านการศึกษาแต่ก็เกิดความไม่เท่าเทียมและไม่ทั่วถึงเช่น เด็กด้อยโอกาสยังเข้าไม่ถึงระบบ
ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาอันเนื่องมาจากภาษา ในประเทศไทย เด็กที่ไม่ได้พูดภาษาไทยเป็นภาษาแม่ต้องเผชิญปัญหาในการเรียนหลายประการจึงเป็นกลุ่มพิเศษที่ต้องการความช่วยเหลือ