Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ปัญหาระบบประสาท สุขภาพจิต เพศสัมพันธ์ในผู้สูงอายุ และการพยาบาล - Coggle…
ปัญหาระบบประสาท สุขภาพจิต เพศสัมพันธ์ในผู้สูงอายุ และการพยาบาล
โรคอัลไซเมอร์ Alzheimer’s disease : AD
• การวินิจฉัย
ใช้ DSM – IV ในการประเมิน
• การรักษาและการพยาบาล
ยังไม่มีการรักษาที่ช่วยชะลอหรือหยุดการดำเนินโรคอย่างแท้จริง
แนวทางที่เชื่อว่าจะช่วยป้องกันและจัดการโรคได้นั้นคือ การกระตุ้นทางจิตใจ (Mental stimulation) การออกกำลังกาย และรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
• อาการและอาการแสดง
ความผิดปกติของความจำ จากความผิดปกติของ temporal lobe
การใช้ภาษา จากความผิดปกติของ sylvian fissure ด้านซ้าย
การรับรู้ภาพ จากความผิดปกติของ parietal lobe
ระยะแรก มีปัญหาเรื่องการจำ การเรียนรู้สิ่งใหม่ และลืมเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้น
ระยะกลาง เริ่มมีปัญหาในการทำกิจวัตรประจำวันพื้นฐาน เช่น อาบน้ำ แปรงฟัน การขับถ่าย
ระยะสุดท้าย สื่อสารได้ลดลง มีพฤติกรรมซ้ำๆ มีปัญหาการทรงตัว จำญาติใกล้ชิดไม่ได้ หรือลืมชื่อตนเอง ต้องดูแลตลอด 24 ชม.
• อาการและอาการแสดงที่สำคัญ
แตกต่างกันในแต่ละคน ขึ้นกับสาเหตุของการสั่น (tremors) ผลทำให้ dopamine ลดลงทำให้เกิดอาการขึ้น
การสั่นของมอและเท้าจึงอาจเป็นอาการแรกๆ โดยสั่นมากขณะพัก (resting tremors) และ pill rolling motion แต่ถ้าจับจะหยุดสั่น
กล้ามเนื้อแข็งตึง (muscular rigidity)
การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อที่อยู่ในอำนาจจิตใจทำได้ช้า (bradykinesia) เช่นการพูด การกลืนอาหาร
กล้ามเนื้ออ่อนแรง ตามี drooling หน้าเหมือนใส่หน้ากาก
สูญเสียรีเฟล็กซ์การทรงตัว
อารมณ์เปลี่ยนแปลง
• สาเหตุ
กรรมพันธุ์
อายุ
การอักเสบ inflammatory สาร amyloid
โรคความดันโลหิตสูงเรื้อรัง
จากความผิดปกติในเนื้อสมอง 2 อย่าง
กลุ่มใยประสาทพันกัน neurofibrillary tangles ทำให้สารอาหารไม่สามารถไปเลี้ยงสมอง
มีสาร beta amyloid ในสมองทำให้ระดับ acetylcholine ซึ่งมีส่วนช่วยเรื่องการเรียนรู้และความจำเสื่อมลง
• การรักษาพยาบาล
การักษาด้วยยา Levodopa (L - Dopa), Anticholinergic drugs
การรักษาด้วยการผ่าตัด
• เป็นโรคเรื้อรัง เกิดจากความเสื่อมของสมองกลาง (CNS) ส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย
พบในชายมากกว่าหญิง มักเกิดหลังอายุ 50 ปี มากสุดที่อายุ 75 ปี
ภาวะสับสนเฉียบพลัน (Delirium)
• ปัจจัยกระตุ้นต่อ Delirium
ยา : ยากล่อมประสาท หรือยานอนหลับ ยากลุ่ม narcotics ยารักษาโรคพาร์กินสัน รักษาโรคจิตเภท การหยุดยาหรือสุรากะทันหัน
โรคที่เกิดร่วม : โรคติดเชื้อ เจ็บป่วยกะทันหัน พร่องออกซิเจน ช็อค โลหิตจาง ไข้สูงมากๆ ขาดสารน้ำ ไม่สมดุลน้ำและอิเลคโตรลัยท์
โรคระบบประสาท : โรคหลอดเลือดสมอง สมองอักเสบ
การผ่าตัด : ผ่าตัดทางออร์โธปิดิดส์ การผ่าตัดหัวใจ
สิ่งแวดล้อม : เข้ารักษาใน ICU ใส่เครื่องช่วยต่างๆ ความเจ็บปวด ความเครียด
การอดนอนเป็นเวลานาน
• สาเหตุของ Delirium
ความผิดปกติของสารสื่อประสาท (neurotransmitter)
การอักเสบ และความเครียดเรื้อรังจากการเจ็บป่วย
• ชนิดของ Delirium
ชนิด hyperactive จะมีอาการวุ่นวาย หลงวัน เวลา สถานที่ และบุคคล เห็นภาพหลอน
ชนิด hypoactive จะมีอาการเงียบ ซึมสับสน เฉยเมย นอนมาก
ชนิด mixed ผู้ป่วยจะมีอาการสลับไปมาระหว่างชนิด hyperactive และ hypoactive
• การดำเนินโรค
เมื่อแก้ไขสาเหตุได้ Delirium มักจะดีขึ้นภายในเวลาเป็นวัน หรือสัปดาห์ แต่มีเพียงร้อยละ 18 ที่ฟื้นกลับเป็นปกติสมบูรณ์
อาการเตือน
มีการเปลี่ยนแปลงของสภาวะจิตใจอย่างรวดเร็ว
มีอาการผิดปกติทางจิตประสาท
กำลังมีโรคทางกายที่อาจทำให้ซึมสับสนเฉียบพลัน
ได้ยาบางชนิด
มีอาการเห็นภาพหลอน
พูดจาสับสน หรือหลงวัน เวลา สถานที่ และบุคคล
ตรวจคลื่นสมองพบมี diffuse slow wave หรือ epileptiform discharge
• การป้องกันการเกิดภาวะ Delirium
ดูแลให้ได้รับ ออกซิเจนอย่างเพียงพอ
ลดอาการเจ็บปวด
ดูแลการขับถ่าย
หยุดยาที่ไม่จำเป็น
ดูแลให้ได้รับอาหารที่เหมาะสม
การกระตุ้นให้มีการเคลื่อนไหวตั้งแต่ระยะแรก
การปรับสภาพแวดล้อม
• อาการ
มีอาการเฉียบพลัน มีการเปลี่ยนแปลงของรับความรู้สึกตัว ความจำ การใช้ภาษา และการคิดอย่างเป็นระบบ จะมีช่วงที่ดีขึ้น สลับกับเลวลง
ระยะนำ อาจมีอาการเพียงอ่อนเพลีย ไม่มีสมาธิ หงุดหงิด วิตกกังวล ไวต่อสิ่งเร้า
การสูญเสียความจดจ่อ (attention impairment)
ความจำเสื่อม (memory impairment) และ disoriented มักสูญเสียความจำระยะสั้น และหลงวัน เวลา สถานที่ และบุคคลด้วย
กระวนกระวาย (agitation) ดึงสายต่างๆออกปีนลงจากเตียง
เฉยเมย (apathy) และ แยกตัว (withdrawal)
ปัญหาการนอน มักตื่นตอนกลางคืน และหลับตอนกลางวัน
อารมณ์แปรปรวน
ความผิดปกติในการรับรู้ อาจเห็นภาพหลอน หูแว่ว
อาการทางระบบประสาท เช่น ท่าเดิน ไม่มั่นคง สั่นกระตุก
• การรักษาและการพยาบาลภาวะ Delirium
ค้นหาสาเหตุเพื่อให้การรักษาที่ถูกต้อง
การดูแลประคับประคองอาการ
การดูแลสภาพแวดล้อม
การให้ยา
• เป็นภาวะที่ผู้ป่วยมีการเปลี่ยนแปลงของระดับความรู้สึกตัว มีสมาธิลดลงโดยมีอาการเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ภายในเวลาเป็นชั่วโมง หรือเป็นวัน
ภาวะสับสน (Confusion)
• อาจเกิดขึ้นช้าๆเป็นอยู่นาน หรือเกิดขึ้นกะทันหันได้ ขึ้นกับสาเหตุที่ทำให้เกิด อาจเกิดเป็น temporary หรือ permanent พบมากในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะเมื่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
ภาวะสมองเสื่อม Dementia
• อาการและอาการแสดง
บกพร่องในการประกับกิจกกรมที่ซับซ้อนหลายขั้นตอน
บกพร่องในการตัดสินใจแก้ไขปัญหา
บกพร่องด้านการรับรู้หรือเรียนรู้สิ่งใหม่
หลงทาง
บกพร่องด้านความจำสิ่งใหม่
บกพร่องในการใช้ภาษา
บกพร่องในการประกอบกิจกรรมที่เคยทำได้มาก่อน
มีการประกอบกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองบกพร่อง
อาการเลวลงเวลาพลบค่ำ Sundown syndrome
พฤติกรรมแปลกๆ และมีบุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงกลายเป็นคนเฉยเมย เฉื่อยชาซึมเศร้า ไม่กระตือรือร้น มีการเปลี่ยนแปลงอารมณ์รวดเร็ว ควบคุมอารมณ์ไม่ได้
• ระยะการดำเนินโรค
ระยะปานกลาง
ไม่รับรู้เวลา สถานที่ บุคคล
ไม่รู้ว่าตนเองอยู่ที่ไหนจำคนหรือชื่อคนไม่ได้ เดินไปมาไม่หยุด เดินหลง
ไม่สนใจสิ่งแวดล้อมการทำงาน หรือบุคคลอื่น
บุคลิกภาพและสติปัญญาเปลี่ยนแปลง อารมณ์แปรปรวน ก้าวร้าว แสดงพฤติกรรมทางเพศไม่เหมาะสม
มีอาการของกลุ่มอาการ Sundown syndrome
ช่วยเหลือตนเองได้น้อยลง ปฏิบัติกิจกรรมประจำวันที่เคยปฏิบัติไม่ได้ ปัสสาวะผิดที่ ตื่นแลหลับผิดเวลา
ระยะรุนแรง
พูดลิ้นรัว ขาดเป็นช่วงๆ ไม่เป็นภาษา ไม่สามารถพูดสื่อสารได้
เบื่ออาหาร อาจลืมว่ารับประทานอาหารแล้ว
จำคนสนิทไม่ได้ อาจไม่รู้จักตนเอง
มีอาการสับสน กระวนกระวายตื่นกลางคืน เดินไม่ได้
เงียบและแยกตัว
กลั้นอุจาระและปัสสาวะไม่ได้ ช่วยตัวเองไม่ได้ ใช้เวลาเกือบทั้งหมดอยู่บนเตียง
จำเหตุการณ์ไม่ได้ ทั้งอดีตและปัจจุบัน
ระยะแรก
มีอาการหลงลืมไม่มาก ลืมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใหม่ๆพูดช้าลง นึกคำที่พูดไม่ได้
การรับรู้และสมาธิเสื่อมลง
บุคลิกภาพเฉื่อยชา ขาดความสนใจสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัย อาบน้ำไม่สะอาด
อารมณ์ไม่เบิกบาน โกรธง่าย หงุดหงิด คิดว่าจะมีคนมาทำร้าย
สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ทำกิจกรรมต่างๆช้าลง
ระยะนี้รู้สึกตนเองมีความจำไม่ดีจะวิตกกังวลสูง
ผู้ป่วยมักบ่นเกี่ยวกับความเจ็บป่วยทางกายและมีการซึมเศร้า
ลืมเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดไม่นาน ลืมนัดหมาย
สับสนเมื่อต้องทำงานที่ใช้ข้อมูลหลายด้าน
• พยาธิสภาพ
ปริมาณและจำนวนเซลล์สมองที่ทำหน้าที่ในคนปกติ จะมีการลดจำนวนลงเรื่อยๆ เมื่ออายุเพิ่มขึ้น ในผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมจะพบว่า จำนวนเซลล์ของสมองที่ทำงานลดลงอย่างมากมายอย่างเห็นได้ชัดเจนจึงทำให้มีปัญหาด้านความจำ การรับรู้ความคิด การตัดสินใจ อารมณ์ และบุคลิกภาพผิดไปจากเดิมอย่างมาก นอกจากนี้อาจพบว่าใยของประสาทในสมองมีความผิดปกติในด้านโครงสร้างด้วย
ในผู้ป่วยอัลไซเมอร์ พบว่ามีสารผิดปกติ คือ อมัยลอยด์ (amyloid) ในสมอง และมีระดับของ dopamine ลดลงอย่างมาก ทำให้การทำงานของสมองเสื่อมลง จนกระทั่งส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย
• การวินิจฉัย
ตรวจคัดกรองเบื้องต้นว่ามีอาการซึมเศร้าหรือไม่ เพื่อประเมินสภาวะทางจิตโดยใช้ Geriatric Depression Scale: GDS หรือเครื่องมือของ Beck ฉบับย่อ
ทดสอบความจำและประเมินความสามารถด้านสติปัญญาโดยใช้ Mini - Mental State Examination - Thai version (MMSE-Thai) ประเมินภาวะสับสนเฉียบพลัน (Confusion Assessment Method : CAM) หรือภาวะสมองเสื่อม (เช่น Clock Drawing Test, Modified Short Blessed Test, ADAS - cog) และประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันพื้นฐาน (Basic ADL)
ซักประวัติและตรวจร่างกาย โดยทั่วไปผู้ป่วยมักให้ประวัติไม่ได้ต่อเนื่องจากอาการหลงลืม จึงควรมีญาติ หรือผู้ดูแลที่อยู่กับผู้ป่วยมานานและทราบรายละเอียดอย่างดีมาร่วมในการซักประวัติด้วย
การตรวจร่างกาย เช่น การตรวจเลือดเพื่อประเมินการทำงานของร่างกาย เบาหวาน ไต วัดความดันโลหิต ตรวจการทำงานของหัวใจ เอ็กซเรย์ปอด และอาจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง เพื่อค้นหาสาเหตุจากโรคที่รักษาหาย
• ปัจจัยเสี่ยง
การสูบบุหรี่ ดื่มสุราหรือสิ่งเสพติด
น้ำหนักตัวเกิน จาดการออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว และโคเลสเตอรอลสูง
ผู้หญิง มีระดับฮอร์โมนเพศหญิงต่ำมานาน
สารพิษในสิ่งแวดล้อมรอบตัว
โรคประจำตัว ได้แก่ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และภาวะดื้อต่ออินซูลิน โรคหลอดเลือดหัวใจหรือหัวใจเต้นผิดปกติ ภาวะไขมันในเลือดสูง โรคซึมเศร้า อาการซึม ภาวะสับสนเฉียบพลัน
ระดับโฮโมซีสเตอีนในเลือดสูง (Hyperhomocysteinemia)
โรคหลอดเลือดสมอง เช่นเคยเป็นอัมพฤกษ์หรืออัมพาตมาก่อน หรือเคยมีอุบัติเหตุที่ศีรษะ
กรรมพันธุ์ พบว่า คนที่มีพ่อหรือแม่มีภาวะนี้จะมีโอกาสเกิดมากกว่าคนที่มีพ่อแม่ปกติ 3 เท่า ถ้าพ่อและแม่มีภาวะนี้จะมีโอกาสเป็นมากกว่าปกติถึง 5 เท่า
• หลักการรักษา
รักษาตามอาการแบบประคับประคอง
การรักษาโดยใช้ยา
ยาขยายหลอดเลือดสมอง ทำให้เลือดไปสู่สมองเพิ่มขึ้น
ยาช่วยการทำงานของสมองทำให้เซลล์สมองทำวานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รักษาต้นเหตุของภาวะสมองเสื่อม
• ความแตกต่างของภาวะสมองเสื่อมระหว่างโรคอัลไซเมอร์ และ โรคหลอดเลือดสมอง
เนื้อสมองของผู้ป่วยอัลไซเมอร์จะตายทั่วไปพร้อมๆกัน จึงทำให้ความสามารถของผู้ป่วยลดลงทุกๆด้าน
แต่ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เนื้อสมองจะตายเฉพาะส่วน จึงพบความผิดปกติเกิดขึ้นแบบทันทีทันใดและเป็นความเป็นความผิดปกติเฉพาะด้าน เช่น ขับรถชน หมดสติ หรือมีบุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงแต่ความจำยังดี
• สมองเสื่อมที่สามารถกลับคืนเป็นปกติได้ (Reversible dementia)
D Drug toxicity
E Emotional disorder
M Metabolic & Endocrine disorder
E Eye & Ear disorder
N Nutritional disorder
T Tumor & Trama of the brain
I Infection of Brain
A Arteriosclerosis (vascular dementia)
• สาเหตุของภาวะสมองเสื่อม
Primary dementia เกิดจากความผิดปกติหรือการเสื่อมลงของเซลล์สมอง ซึ่งยังไม่ทราบแน่ชัด เช่น Alzheimer’s disease ซึ่งเป็นภาวะสมองเสื่อมที่พบบ่อยที่สุด ประเภทนี้สมองจะเสื่อมลงเรื่อยๆ ทำให้อาการของโรครุนแรงขึ้น
Secondary dementia เกิดจากโรคต่างๆที่ทราบสาเหตุ เป็นผลจากโรคทางกายอื่นๆ ที่มีผลกระทบทำให้เกิดอาการสมองเสื่อม เช่น โรคเกี่ยวกับหลอดเลือดสมอง ประเภทนี้หากสามารถแก้ปัญหาที่เป็นเหตุได้อาการของสมองเสื่อมก็จะหายไปด้วย
• การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อม
บทบาทที่สำคัญของพยาบาล
การประเมินปัญหาและความต้องการของผู้ป่วยในการพยาบาลอย่างถูกต้อง
ให้ความรู้และคำแนะนำแก่ผู้ดูแล จนเกิดความเข้าใจวิธีการดูแลผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความสุขสบายและลดปัญหาในการดูแล
การพยาบาลที่สำคัญ
การแก้ไขปัญหาพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนจากปกติ
o การถามคำถามซ้ำ
o การเลือกเสื้อผ้าและการแต่งตัว
o อาการหวาดระแวงและกล่าวโทษผู้อื่น
o พฤติกรรมต่อต้านก้าวร้าว มีอารมณ์รุนแรงและเปลี่ยนแปลงง่าย
o พฤติกรรมในการเดินหลงทาง (wandering)
o พฤติกรรมการขโมยสิ่งของและสะสมของ
o พฤติกรรมทางเพศไม่เหมาะสม
การป้องกันภาวะแทรกซ้อน
การสื่อสารและการใช้ภาษา
การรักษาหน้าที่ของสมองให้คงอยู่มากที่สุด
การส่งเสริมให้ผู้ป่วยทำกิจวัตรประจำวันได้นานที่สุด
การส่งเสริมสภาวะทางด้านจิตสังคมและลดอาการซึมเศร้า
จุดมุ่งหมายสำคัญในการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม
มุ่งส่งเสริมคุณภาพชีวิต และคงความสามารถของผู้ป่วยในการช่วยเหลือตนเองตามความสามารถให้นานที่สุด
การพยาบาลญาติผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อม
หมายถึง กลุ่มอาการที่มีสาเหตุจากความผิดปกติของการทำงานของสมองด้านการรู้คิดและสติปัญญา โดยมีการเสื่อมความจำเป็นอาการเด่นมีความผิดปกติทางด้านความคิด การตัดสินใจ ร่วมกับมีการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรม บุคลิกภาพและอารมณ์มีความสามารถในการคิดเชิงซ้อนลดลง ความผิดปกติที่กล่าวมานี้รบกวนการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุ ก่อให้เกิดผลเสียต่อหน้าที่การงาน ชีวิตสังคม และความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น
• การป้องกัน
รับประทานอาหารครบหมู่
ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้เกินเกณฑ์
ฝึกฝนสมอง ได้แก่ การพยายามฝึกสมองได้คิดบ่อยๆ
ออกกำลังกายสม่ำเสมอสัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง
การพูดคุยพบปะผู้อื่นบ่อยๆ
ตรวจสุขภาพประจำปี หรือ ถ้ามีโรคประจำตัวที่สำคัญ เช่น ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด ต้องติดตามการรักษาเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของภาวะสมองเสื่อม
ระมัดระวังเรื่องอุบัติเหตุต่อสมอง ระวังการหกล้ม
ปฏิบัติกิจกรรมอย่างมีสติ และฝึกสมาธิอยู่ตลอดเวลา
หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น เชื้อไวรัสเอชไอวี
การฆ่าตัวตาย (Suicide)
• สาเหตุ
ภาวะซึมเศร้า
การเจ็บป่วยทางกาย หรือ การเจ็บป่วยทางจิต
การสูญเสียคู่ชีวิต
การติดสารเสพติด
• อาการและอาการแสดง
ไม่อยากอาหาร ปฏิเสธการรับประทานยา ปฏิเสธการรักษา ทำในสิ่งที่เป็นการเสี่ยงตาย
• เป็นภาวะเสี่ยงที่สำคัญในบุคคลที่มีภาวะ ซึมเศร้า (Depress) สถิติเพิ่มขึ้นจามอายุที่เพิ่มขึ้น
• การรักษาและการพยาบาล
ซักประวัติในที่เป็นส่วนตัว
ผู้สูงอายุที่พยายามฆ่าตัวตาย ต้องได้รับการป้องกัน ดูแลอย่างใกล้ชิด รีบรักษา
จัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัย
ให้พูดระบายความเครียด
พยาบาลต้องแสดงความตั้งใจฟัง แสดงความเข้าใจถึงความทุกข์ของผู้ป่วย
ควรมีท่าทีที่มั่นคง แสดงความเห็นอย่างชัดเจนว่าแม้ปัญหาของผู้ป่วยดูยุ่งยาก แต่การตายไม่ใช่แนวทางในการแก้ปัญหา
ไม่ปล่อยให้อยู่คนเดียว
ยารักษาโรคจิตในขนาดต่ำควบคุมความยับยั้งผู้ป่วยที่มีบุคลิกภาพแบบหุนหันพลันแล่น โดยให้ perphenazine หรือ haloperidol