Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 7 การสร้างเสริมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ - Coggle Diagram
บทที่ 7 การสร้างเสริมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ
การนอนหลับในผู้สูงอายุ
ความหมาย
หมายถึง การพักผ่อนที่ดีที่สุด เป็นกิจกรรมจำเป็นในการดำรงชีวิต เช่นเดียวกับ การหายใจ การรับประทานอาหาร การขับถ่าย
คนใช้เวลานอนหลับตลอดชีวิตถึงหนึ่งในสาม เป็นภาวะที่เกิดซ้ำ ๆ หมุนเวียนเป็นวงจรครบรอบ 24 ชั่วโมง
ตามกระบวนการสรีระ ที่สอดคล้องกับจังหวะการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของร่างกายที่ควบคุมโดยเซลล์ประสาทในสมอง (Milliman, 2012; Van de Wouw, 2013)
สัมพันธ์กับการมืดและความสว่าง โดยผู้หลับจะมีความไวต่อการกระตุ้นภายนอกลดลง แต่สามารถปลุกหรือเรียกให้ตื่นได้ (พัสมณฑ์ คุ้มทวีพร, 2558)
ความรู้สึกตัวและการตอบสนองต่อสิ่งเร้าลดลง การเคลื่อนไหวร่างกายน้อยมากหรือไม่มี มีพฤติกรรมแสดงออกในลักษณะสงบนิ่งและหลับตามักอยู่ในท่านอนราบ
อาจมีพฤติกรรมอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น การเดินละเมอพูด กัดฟัน
ขณะนอนหลับสมองมีการหยุดพัก และพร้อมจะกลับมาคืนสู่การรู้สติตามเดิมถ้ามีการกระตุ้นที่เหมาะสม
จึงต่างจากโคม่า คือ ในระยะโคม่าจะไม่สามารถกระตุ้นให้ตื่นได้ (อรวรรณ แผนคง, 2553)
การนอนหลับและคลื่นไฟฟ้าสมอง
คลื่นไฟฟ้าสมองขณะนอนหลับและขณะตื่นมีความแตกต่างกัน
นพ. เบอเกอร์ พบ คลื่นไฟฟ้าสมองในปี 1929 และพบว่า คลื่นไฟฟ้าสมองความถี่ 8-13 รอบต่อนาที (alpha rhythm or wave) เป็นคลื่นไฟฟ้าสมองในขณะตื่นแต่หลับตา
คลื่นนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงลดลงเล็กน้อยเมื่ออายุมากกว่า 65 ปี อาจเนื่องมาจาก ความเสื่อมตามวัย หรือการสูญเสียเซลล์ประสาท จากการลดลงของเลือดที่ไปเลี้ยง
คลื่นเบต้า (beta wave) เป็นคลื่นไฟฟ้าสมองขณะง่วงนอนหรือการนอนหลับระยะแรก ช่วงที่ไม่มีการกลอกลูกตาอย่างรวดเร็ว (stage 1 NREM) ความสูงคลื่นมากกว่า 30 ไมโครโวลต์ ความถี่ 13-30 รอบต่อนาที คลื่นเบต้าสามารถเปลี่ยนแปลงได้เมื่อรับ บาบิทูเรต (barbiturate) และเบนโซไดอะซิพีน (benzodiazepine)
วงจรการนอนหลับ
โดยปกติของผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ เริ่มจาก ระยะการนอนหลับที่ไม่มีการกลอกตาอย่างรวดเร็ว (non rapid eye movement sleep: NREM) แล้วจึงเข้าสู่ระยะที่มีการกลอกตาไปมาอย่างรวดเร็ว (rapid eye movement sleep: REM)
การตื่นนอนนาน 16 ชั่วโมง เป็นช่วงที่จังหวะชีวภาพ มีการเปลี่ยนแปลงสัมพันธ์กับการทำหน้าที่ของระบบประสาท ฮอร์โมน และอุณหภูมิของร่างกาย ทำให้เกิดความง่วง
เมื่อเริ่มเข้าสู่การนอนหลับจะเข้าสู่ ระยะการนอนหลับที่ไม่มีการกลอกตาอย่างรวดเร็ว (non rapid eye movement sleep: NREM) ซึ่งแบ่งออกเป็น ระยะย่อย ๆ อีก 4 ระยะ เมื่อสิ้นสุดระยะที่ 4 NREM จึงเข้าสู่ระยะ REM
ในแต่ละคืน เมื่อวงจรแรกผ่านไป จะเข้าสู่วงจรการนอนหลับที่สอง โดยเริ่มจากระยะที่ 2 , 3, 4 NREM และ REM วนเวียนตลอดคืน ประมาณ คืนละ 5-6 วงจร (Van de Wouw, 2013)
การนอนหลับปกติทุกคืนจึงแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ NREM and REM
NREM
ระยะที่ 1
หลับตื้น แบบเคลิ้มหลับ กล้ามเนื้อเริ่มผ่อนคลาย อัตราการหายใจช้าลง บางครั้งอาจพบว่า หายใจไม่สม่ำเสมอ
ปกติระยะนี้ใช้เวลานาน 1-7 นาที
เมื่ออายุมากขึ้นระยะการนอนหลับระยะนี้จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 8-15 นาที ทำให้หลับยากขึ้น
และถูกกระตุ้นได้ง่าย ทำให้ตื่นบ่อย และเมื่อตื่นขึ้นจะรู้สึกนอนไม่หลับ ไม่สดชื่น
ระยะที่ 2
ระยะนี้ร่างกายผ่อนคลายมากขึ้น การนอนหลับระยะนี้ไม่มีการกลอกตา หรือมีน้อยมาก
อัตราการเผาผลาญร่างกายและอุณหภูมิจะลดต่ำลง
จะสะดุ้งตื่นได้ ถ้าถูกกระตุ้นอย่างแรง
ระยะนี้ใช้เวลา 10-15 นาที
สำหรับผู้สูงอายุระยะนี้ไม่มีการเปลี่ยนแปลง
ระยะที่ 3
เป็นระยะเริ่มหลับสนิท เกิดหลังจากเริ่มต้นการนอนหลับประมาณ 30-45 นาที
ปลุกตื่นได้ยาก
ระยะนี้ พบ กล้ามเนื้อคลายตัวมากขึ้น ระบบประสาทพาราซิมเธติก จะทำให้อัตราการหายใจ และระดับความดันโลหิตลดลง
อัตราการเผาผลาญอยู่ในระดับต่ำ
ระยะที่ 4
ระยะนี้นอนหลับสนิทที่สุด เกิดหลังจากนอนหลับระยะที่ 1 NREM ประมาณ 40 นาที
ระยะนี้การหลั่งโกรทฮอร์โมน (growth hormone) และฮอร์โมนอื่น ๆ ซึ่งกระตุ้นการสังเคราะห์โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต ส่งเสริมการเจริญเติบโตของกระดูกและกล้ามเนื้อ ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย
มีการเพิ่มขนาดของเซลล์ และสะสมพลังงาน
ปัสสาวะรดที่นอน การกรน การฝันเปียก และเมื่อตื่นสามารถจำความฝันได้ร้อยละ 20
การนอนหลับในระยะนี้จะบ่งบอกถึงคุณภาพการนอนหลับในคืนนั้น
การนอนหลับระยะที่ 3, 4 NREM ของผู้สูงอายุจะลดร้อยละ 15-20
REM
การกระตุ้นการทำงานของสมองในบางส่วนถูกยับยั้งไว้ในขณะที่ร่างกายนอนหลับสนิท
ระยะนี้เกิดขึ้นเริ่มต้นการนอนหลับประมาณ 90-100 นาที
ปลุกได้ยากกว่าระยะอื่น ๆ กล้ามเนื้อคลายตัวอย่างเต็มที่ และไม่มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น
ยกเว้นกล้ามเนื้อตาพร้อมทั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงทางสีรวิทยา
โดยระบบประสาทซิมพาเธติก จะทำให้มีการหลั่งอะดรีนาลินเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ทำให้ร่างกายต้องการออกซิเจนเพิ่มขึ้น
อัตราการหายใจ อัตราการเต้นของหัวใจ ระดับความดันโลหิต อุณหภูมิร่างกาย ปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงสมองสูงขึ้น
มีการหลั่งเหงื่อและมีการกลอกตา
เป็นระยะฝันเป็นเรื่องราว เมื่อตื่นนอนจำความฝันได้ถึงร้อยละ 80
อาจมีการแสดงออกของใบหน้า เช่น หัวเราะ ร้องไห้ เป็นต้น
การนอนหลับระยะนี้มีประโยชน์ ในการส่งเสริมความคิด ความจำ และการรับรู้
ในผู้สูงอายุการนอนหลับระยะนี้จะลดลงร้อยละ 20-25
มีความแตกต่างกันทั้งระดับความรู้สึกตัว คลื่นไฟฟ้าสมอง การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เช่น การเต้นของหัวใจ การหายใจ ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ
การนอนหลับของผู้สูงอายุ
เมื่อเปรียบเทียบกับวัยอื่น ๆ พบว่า ผู้สูงอายุ มีระยะการนอนหลับ Stage 1 NREM เพิ่มขึ้น Stage 3,4 NREM and REM ลดลง
ดังนั้น จึงถูกปลุกตื่นง่ายและบ่อยกว่าวัยอื่น ๆ ทำให้การนอนไม่สามารถเข้าสู่ระยะ REM เท่ากับวัยอื่น ๆ
คุณภาพการนอนหลับลดลง
ตื่นนอนตอนเช้าจึงไม่สดชื่นเท่าที่ควร รู้สึกเหมือนนอนหลับไม่สนิท หรือนอนหลับไม่เพียงพอ
จึงพยายามเข้านอนคืนถัดไปเร็วขึ้น ทำให้พบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่นอนหัวค่ำ ใช้เวลานอนอยู่บนที่นอนยาวกว่าจะหลับได้
และเมื่อหลับแล้วอาจจะตื่นบ่อย ๆ กลางดึก เพราะถูกรบกวนจากสิ่งแวดล้อม ผู้สูงอายุจึงมักงีบหลับในช่วงกลางวันเพิ่มขึ้น
ผลกระทบเนื่องจากปัญหาการนอนหลับของผู้สูงอายุ
มีผลกระทบทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และคุณภาพชีวิต ลดลง ดังนี้
ง่วงซึม อ่อนเพลีย อิดโรย ไม่แจ่มใส
ลดความทรงจำ โดยเฉพาะระยะสั้น ขาดสมาธิ ตอบสนองต่อสิ่งเร้าช้า และอาจผิดพลาด
เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เช่น หกล้ม งีบหลับขณะขับรถ
ระบบภูมิคุ้มกันทำหน้าที่ลดลง เกิดโรคติดเชื้อง่าย
บั่นทอนสุขภาพกาย ผู้สูงอายุที่นอนหลับน้อยกว่า 4 ชั่วโมง สัมพันธ์กับความดันโลหิตสูงมากกว่าผู้สูงอายุที่นอนหลับมากกว่า 4 ชั่วโมง
ผู้สูงอายุที่มี sleep apnea จนทำให้ต้องนอนนานมากกว่าปกติ (มากกว่า 10 ชั่วโมงต่อคืน) เสี่ยงต่อการเกิด MI สูงกว่าที่นอนหลับปกติ
บั่นทอนสุขภาพจิต ผู้สูงอายุที่นอนหลับมากกว่า 10 ชั่วโมงต่อคืนหรือน้อยกว่า 4 ชั่วโมง มักจะมีความวิตกกังวล ปัญหาสุขภาพจิต และโรคจิตเวชสูงกว่าผู้สูงอายุที่นอนหลับปกติ (Luca, Luca, Calandra, 2013)
เพิ่มโอกาสใช้สารเคมีไม่เหมาะสม ตัวอย่างเช่น พยายามลดความง่วงนอนกลางวันด้วยการดื่มกาแฟ ชา เครื่องดื่มบำรุงกำลัง
หรือแก้ปัญหาการนอนไม่หลับตอนกลางคืน โดย การดื่มสุรา หรือซื้อยานอนหลับจากร้านขายยามารับประทานเอง
ความสามารถในการทำกิจกรรมลดลง ร่วมทั้งการร่วมงานทางสังคม และครอบครัวลดลง เพราะง่วงนอน ขาดสมาธิ หรือนอนหลับกลางวันเพิ่มมากขึ้น
ปัจจัยรบกวนการนอนหลับในผู้สูงอายุ
ด้านร่างกาย
ความไม่สุขสบาย
ความไม่สุขสบายเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ได้แก่ ท่านอน ลักษณะของเตียงและที่นอน
การถ่ายปัสสาวะ
เมื่อสูงอายุ มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะตามกระบวนการสูงอายุ ส่งผลให้ความสามารถในการกลั้นปัสสาวะลดลง
การถ่ายปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืนมีผลต่อคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุลดลง
ความเจ็บปวด
การเจ็บปวดที่รบกวนการนอนหลับในผู้สูงอายุ เป็นได้ทั้งการเจ็บปวดชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง
การเจ็บปวดชนิดเฉียบพลันได้แก่ การผ่าตัด การอักเสบ อุบัติเหตุ
การเจ็บปวดชนิดเรื้อรัง ได้แก่ ข้ออักเสบ ข้อเสื่อม เก๊าท์ โรคหลอดเลือดส่วนปลาย โรคหัวใจ และโรคมะเร็ง
การหายใจลำบาก
การหายใจลำบากมักเกิดในขณะนอนหลับเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากกล้ามเนื้อ pharynx คลายตัวทางเดินหายใจ มีแรงต้านเพิ่มขึ้น
ปริมาณอากาศที่หายใจเข้าและออกหนึ่งครั้ง และการระบายอากาศลดลง
ทำให้เกิดภาวะพร่องออกซิเจนระดับปานกลาง โดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
การนอนหลับในระยะ REM ความอิ่มตัวของออกซิเจน ในกระแสเลือดลดลง
หลอดลมหดเกร็ง มีการคั่งของเสมหะในหลอดลม แรงดันในปอดสูงขึ้น
ทำให้หายใจลำบากตามมา ส่งผลต่อคุณภาพในการนอนหลับลดลง
ความสูงอายุ
ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสารเคมี โครงสร้าง และการทำหน้าที่ของระบบประสาท
ทำให้เกิดความไม่สมดุลระหว่าง การกระตุ้น การยับยั้ง และการปล่อยสารสื่อประสาทบริเวณซินแนป
เมื่ออายุมากกว่า 60 ปี พบว่า มีการลดลงของเซลล์ประสาทแคทีโคลามิเนอร์จิก ทำให้จังหวะทางชีวภาพของร่างกายทำงานไม่ประสานกัน วงจรการนอนหลับมีการเปลี่ยนแปลง
โดยทำให้การนอนหลับในระยะที่ 1 NREM เพิ่มขึ้น การนอนหลับในระยะที่ 3 , 4 NREM และ การนอนหลับในระยะ REM ลดลง
อาการไอ
เป็นกลไกป้องกันของร่างกายที่พยายามขจัดสิ่งแปลกปลอมหรือฝุ่นละอองออกจากทางเดินหายใจ
สิ่งระคายเคืองกระตุ้นเส้นประสาททำให้เกิดสัญญาณประสาทไปยับยั้งการทำงานของศูนย์ควบคุมการหายใจ ส่วนเมดุลลา ทำให้หยุดหายใจ CO2 เพิ่มขึ้น
เกิดการยับยั้งการหายใจเข้า ไปกระตุ้นการหายใจออก เมื่อความดันในปอดเพิ่มมากขึ้น จะดันฝาปิดกล่องเสียงเปิด
มีผลให้เกิดเสียงดังและนำเอาฝุ่นละอองหรือสิ่งแปลกปลอมออกจากทางเดินหายใจได้
อาการไอที่เกิดขึ้นจะกระตุ้นให้ร่างกายขณะนอนหลับตื่นขึ้นมา ทำให้ไม่สามารถนอนหลับพักผ่อนได้
การกระตุกของแขนขาขณะนอนหลับ
การกระตุกเป็นการหดตัวของกล้ามเนื้อระยะเวลาสั้น พบในการนอนหลับระยะที่ 1 และ 2 NREM
มักเกิดร่วมกับการหยุดหายใจขณะนอนหลับ มีภาวะไตวายเรื้อรัง หรือการใช้ยาต้านอาการซึมเศร้า
การกระตุกแขนขาทำให้ตื่นบ่อยขณะนอนหลับ
ไม่สดชื่น ภายหลังการตื่นนอน และนอนหลับในกลางวันเพิ่มขึ้น
ยา
ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีโรคประจำตัว จึงจำเป็นต้องใช้ยา
ยาออกฤทธิ์ในระยะยาว และมีผลข้างเคียงค่อนข้างสูงต่อผู้สูงอายุ โดยเฉพาะถ้ารับยาขนาดที่ไม่เหมาะสม
ยาที่รบกวนในการนอนหลับ ได้แก่ บาบิทูเรต โดยยาจะรบกวนการนอนหลับในระยะ REM ทำให้เกิดอาการฝันร้ายเกิดภาพหลอน
ยากั้นเบต้าทำให้เกิดฝันร้าย
ยาคอร์ติโคเสตียรอยด์ รบกวนการนอนหลับและทำให้นอนไม่หลับ
ยาขับปัสสาวะทำให้ถ่ายปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืนและเกิดการหยุดหายใจขณะนอนหลับ
ยาขยายหลอดลม ทำให้นอนหลับยากและรบกวนแบบแผนการนอนหลับ
ยาต้านการซึมเศร้า มีผลต่อการนอนหลับในระยะ REM ทำให้แขนขากระตุกเป็นระยะ ขณะนอนหลับเพิ่มขึ้น
บุหรี่
สารนิโคตินในบุหรี่ เป็นสารกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทซิมพาเธติกทำให้มีการหลั่งแคทีโคลามีน เพิ่มขึ้น
อัตราการเต้นหัวใจและความดันโลหิตสูงขึ้น ส่งผลให้นอนหลับยากขึ้น คุณภาพการนอนหลับลดลง
แอลกอฮอล์
แอลกอฮอล์จะลดการกระตุ้นร่างกายในระยะแรกของการนอนหลับ จึงมีฤทธิ์ทำให้นอนหลับ
แอลกอฮอล์จะกระตุ้นร่างกายในระยะท้ายการนอนหลับ และรบกวนการนอนหลับในระยะ REM
ทำให้ตื่นระหว่างการนอนหลับในตอนกลางคืน มีการนอนหลับตอนกลางวันเพิ่มขึ้น และตื่นช้ากว่าปกติ
คาเฟอีน
คาเฟอีนจะมีฤทธิ์กระตุ้นและคงอยู่ภายในร่างกาย 3-5 ชั่วโมง มีผลทั้งการนอนหลับและการตื่นนอน ทำให้เข้าสู่ระยะการนอนหลับช้า
ลดระยะการนอนหลับในแต่ละคืน ตื่นระหว่างนอนหลับเพิ่มมากขึ้น
ในผู้สูงอายุความรุนแรงจะเพิ่มมากขึ้นเนื่องจาก ผู้สูงอายุมีความทนต่อคาเฟอีนและการทำหน้าที่ของเซลล์ตับลดลง
ด้านจิตใจและอารมณ์
ปัจจัยด้านจิตใจและอารมณ์ที่รบกวนการนอนหลับมีหลายประการ ได้แก่ ความวิตกกังวล อารมณ์เศร้า ความเครียด
ด้านสิ่งแวดล้อม
เสียง บุคคลนอนหลับได้ดีที่ระดับความดังเสียง 45 เดซิเบล ปกติเสียงพูดของคนอยู่ที่ระดับ 50 เดซิเบล
อุณหภูมิ อุณหภูมิห้องที่เหมาะสมนอนหลับควรสูงกว่า 23.9 ถึง 27.0 องศาเซลเซียส
แสง ระดับความเข้มแสงมากกว่า 2,000 ลัคซ์ มีผลต่อการหลั่งเมลาโทนินลดลง ซึ่งส่งผลให้วงจรการนอนหลับลดลง
อื่น ๆ ได้แก่ กลิ่น เพื่อนร่วมห้อง แมลงและสัตว์ต่างๆ
ปัญหาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ
การนอนหลับไม่เพียงพอ
ความหมาย
ปริมาณการนอนหลับลดลง ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ทำให้ตื่นนอนตอนเช้าด้วยความรู้สึกไม่สดชื่น ง่วงนอน ความสามารถในการปฏิบัตกิจวัตรประจำวันลดลง และการเข้าร่วมกิจกรรสังคมตามวัยบกพร่อง
แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ นอนหลับยาก หรือนอนไม่หลับ (initial insomnia) นอนหลับไม่ต่อเนื่อง คือ นอนหลับแล้วตื่นขึ้นมากลางดึก (intermittent insomnia) และตื่นนอนเช้ามาก (terminal insomnia)
การพยาบาล
สาเหตุการนอนหลับไม่เพียงพอมีหลายประการ ก่อนให้การพยาบาลควรประเมินหาสาเหตุของปัญหาการนอนไม่หลับ
สังเกตในเรื่องการนอน การตื่น รวมทั้งผลการนอนหลับไม่เพียงพอ คือ อาการง่วงนอนตอนกลางวัน หาวนอนบ่อย ๆ อ่อนเพลีย ขอบตาคล้ำ หงุดหงิด ขาดความสนใจต่อสิ่งแวดล้อม ซึมเศร้า ก้าวร้าว
การสัมภาษณ์ครอบครัว ผู้สูงอายุ ผู้ดูแล สาเหตุที่ทำให้นอนหลับไม่เพียงพอ เช่น นอนหลับยาก นอนหลับไม่สนิท ตื่นนอนเช้ามากๆ
การตรวจการนอนหลับทางห้องปฏิบัติการ (sleep laboratory)
ผู้สูงอายุควรรับรู้และต้องการแก้ไขปัญหาการนอนหลับของตนเองเพื่อให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามคำแนะนำของพยาบาล
ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงลักษณะการนอนหลับที่ถูกต้องให้ผู้สูงอายุทราบ โดยเน้นเรื่องความรู้สึกเพียงพอในการนอนหลับ และผลกระทบต่อกิจวัตรประจำวัน สุขภาพกายและจิต ผลเสียของการใช้ยานอนหลับซึ่งแม้จะทำให้นอนหลับได้ แต่จะลดคุณภาพการนอนหลับและทำให้ผู้สูงอายุติดยานอนหลับ
จัดให้ผู้สูงอายุเข้านอนด้วยเครื่องนอนที่นำมาจากบ้าน
ทำความสะอาดร่างกาย ปาก ฟัน และการถ่ายปัสสาวะก่อนเข้านอน หากอยู่ในระหว่างการรักษาด้วยยาขับปัสสาวะ ควรให้ยาในตอนเช้า
จัดหาหม้อนอนหรือกระบอกถ่ายปัสสาวะให้สามารถใช้ได้สะดวก แนะนำวิธีใช้และสถานที่เก็บ เพื่อคลายความกังวลเรื่องการปัสสาวะในตอนกลางคืน
แนะนำและดูแลผู้สูงอายุให้เข้านอนและตื่นนอนตรงเวลาทุกวัน เพื่อปรับให้จังหวะชีวภาพมีความสม่ำเสมอ
กำจัดสาเหตุที่รบกวนการนอนหลับ หากสาเหตุเกิดจากการปวดข้อ ควรลดความเจ็บปวดโดยประคบด้วยความเย็นหรือความร้อน จัดท่านอนที่เหมาะสม ให้ยาแก้ปวดก่อนการนอน 30 นาที
งดดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม หลังเวลา 13.30 น เนื่องจากสารคาเฟอีนกระตุ้นสมองทำให้ผู้สูงอายุนอนไม่หลับ
งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ แม้ว่าแอลกอฮอล์ทำให้นอนหลับได้เร็วขึ้น แต่มีผลลดช่วงการนอนหลับแบบ REM
แนะนำเทคนิคผ่อนคลายทั้งร่างกายและจิตใจจากการตั้งใจนอนหลับ ให้กับผู้สูงอายุที่นอนหลับยาก เพื่อช่วยให้สามารถเข้าสู่วงจรการนอนหลับได้เร็วขึ้น วิธีการผ่อนคลายที่ได้ผล
งดออกกำลังกายก่อนนอนอย่างน้อย 3 ชั่วโมง
การอ่านหนังสือ
ฟังเพลงที่ผ่อนคลาย เพื่อลดสิ่งกระตุ้นทางสมอง
การนอนนับลมหายใจ
การสวดมนต์
การทำสมาธิก่อนนอน
การนวดหลังเบา ๆ ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
การอยู่ใกล้ ๆ ทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกมีเพื่อนจึงนอนหลับได้
ลดช่วงงีบหลับเวลานอนกลางวัน การนอนงีบหลับกลางวันเกิน 30 นาที อาจรบกวนวงจรการนอนหลับปกติ
ควรจัดกิจกรรมต่าง ๆ หรือการออกกำลังกายเบา ๆ เช่น เดิน กิจกรรมพูดคุย ซึ่งควรทำในช่วงเช้าหรือบ่าย ทั้งนี้ก่อนนอน 2 ชั่วโมง ไม่ควรจัดกิจกรรมที่กระตุ้นให้ตื่นตัว
อาหารว่างและเครื่องดื่ม นม โอวัลติน เป็นโปรตีนที่ถูกย่อยและเปลี่ยนเป็นสารสื่อประสาทชื่อซีโรโตนิน พบมากในสมองขณะง่วง ข้อสรุปยังไม่ชัดเจนในระยะเวลาของการย่อย การดูดซึมและกลไก แต่พบว่า ความคุ้นชินที่ได้ดื่มรับประทานอาหารว่างทำให้ผุ้สูงอายุนอนหลับได้
จัดสิ่งแวดล้อมให้ช่วยนอนหลับได้ เปิดไฟสลัว ๆ บริเวณทางเดิน ไม่เปิดไฟจ้าตรงเตียงนอนของผู้สูงอายุ
งดการใช้เสียง จัดให้นอนเตียงที่ห่างจากเตียงผู้ป่วยหนัก ซึ่งมีเครื่องช่วยหายใจ เพราะอาจรบกวนการนอนหลับของผู้สูงอายุ
ปรับตารางกิจกรรมการพยาบาลให้ลดการรบกวนการนอนหลับของผู้สูงอายุ เช่น งดวัดสัญญาณชีพเวลา 2.00 น เมื่อพบว่าผู้สูงอายุเริ่มนอน 01.00 น เนื่องจากรบกวนระยะการนอนหลับ REM ซึ่งจะเกิดหลังจากนอนหลับแล้วประมาณ 90 นาทีเป็นอย่างน้อย
การนอนหลับมากกว่าปกติ (Hypersomnia)
ความหมาย อาการง่วงนอนมากจนไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันหรือกิจกรรมสังคมที่เหมาะสมกับวัยได้
สาเหตุ
ความเสื่อมตามวัย ผู้สูงอาจมีการเลื่อนของวงจรการนอนหลับ คือง่วงนอนตั้งแต่หัวค่ำ และตื่นเช้ามาก ดังนั้นช่วงบ่ายหรือเย็นมักอ่อนเพลียง่วงมาก จึงงีบหลับ ทำให้ไม่สามารถนอนหลับในเวลาปกติ การเปลี่ยนนาน ๆ เข้า ส่งผลให้ผู้สูงอายุเกิดอาการนอนไม่หลับตอนกลางคืน
โรคหรือความผิดปกติทางร่างกายและจิตใจ ที่พบบ่อย คือ การหยุดหายใจขณะนอนหลับ เกิดจากการเสื่อมสภาพของกล้ามเนื้อตอนบนของระบบหายใจ ทำให้ตีบแคบ พร่องออกซิเจน และตื่นนอนเป็นระยะ ๆ
พฤติกรรมอนามัยไม่เหมาะสม ที่พบบ่อย คือ การใช้ยานอนหลับที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งหวังผลให้นอนหลับตอนกลางคืนแต่เนื่องจากตับและไตเสื่อม ทำให้ยานอนหลับมีฤทธิ์ในร่างกายนาน โดยทั่วไปมักไม่นิยมให้ยานอนหลับกับผู้สูงอายุ ผล คือทำให้นอนหลับได้ตอนกลางคืนแต่ยังมีอาการง่วงมากในตอนกลางวันด้วย
การพยาบาล
ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงลักษณะการนอนหลับที่ถูกต้องให้ผู้สูงอายุทราบ โดยเน้นเรื่องความรู้สึกเพียงพอในการนอนหลับ
แนะนำและดูแลให้ผู้สูงอายุให้เข้านอนและตื่นตรงเวลาทุกวัน เพื่อปรับจังหวะชีวภาพ
ลดช่วงเวลการนอนหลับเวลากลางวันให้เหลือเพียงวันละ 30 นาที โดยจัดให้ผู้สูงอายุร่วมกิจกรรมต่าง ๆ หรือออกกำลังกายเบา ๆ เช่น เดิน ซึ่งควรจัดในช่วงเช้าหรือบ่าย
หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนัก ๆ ในช่วงใกล้เวลานอน และควรเลือกกิจกรรมที่มีการสื่อสารกับคนอื่น ๆ หรือกิจกรรมที่ต้องใช้ความคิดร่วมกับการเคลื่อนไหวร่างกายไปพร้อม ๆ กัน
จัดสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันอุบัติเหตุให้ผู้สูงอายุ ทั้งที่พัก และสถานที่ดำเนินกิจกรรม ควรเป็นพื้นที่ราบ ไม่มีการยกระดับพื้น หรือมีบันไดมากเกินความจำเป็น มีราวที่ทำด้วยวัสดุ ที่แข็งแรง เพื่อยึดพยุงตัวขณะเดิน มีแสงสว่างชัดเจน และไม่มีสิ่งกีดขวางทางเดิน
การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ
ประโยชน์การออกกำลังกายหรือกิจกรรมทางกาย
ป้องกันโรค ฟื้นฟูสภาพ สร้างความผาสุก และคุณภาพชีวิต
งานวิจัยหลายปีที่ผ่านมาบ่งชี้ว่า physical activity สามารถชะลอความเสื่อมถอยของร่างกายที่เกิดจากการไม่เคลื่อนไหว อันจะส่งผลให้กระบวนการสูงอายุเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วได้ หรือป้องกันการเกิดโรค degenerative disease (WHO, 2002b)
ผู้สูงอายุที่ไม่ได้มี physical activity หรือมีน้อย จะสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ (muscle mass) อย่างรวดเร็ว ต่อมาเกิดการเปลี่ยนแปลงของสรีระที่เนื่องมาจากการไม่ได้ใช้งานในระดับที่ร่างกายต้องการเพื่อดำรงชีวิตอย่างเป็นอิสระ (Young , 1992)
การประเมินความพร้อมทางด้านร่างกาย
ความเสี่ยงต่อการออกกำลังกายจากโรคเรื้อรัง
เพื่อประเมินตนเองก่อนออกกำลังกาย เช่น การจับชีพจร การวัด stress test
(โดยเทียบจากอัตราการเต้นของหัวใจที่ก่อให้เกิดผลดีต่อหัวใจอยู่ระหว่างร้อยละ 65-85 คำนวณโดยการนำอัตราการเต้นหัวใจสูงสุดเท่ากับ 220 ลบด้วย อายุหน่วยเป็นปี)
อัตราการเต้นของหัวใจควรมีอัตราเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 70 ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด
หรือหยุดเมื่อมีอาการเจ็บหน้าอก ปวดกระดูกหรือข้อ
การรับประทานอาหารเพียงพอ
รับประทานอาหารเพียงพอและครบถ้วนตามชนิดที่ร่างกายต้องการ
เพื่อป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้น จากการหกล้ม ข้ออักเสบ โรคหัวใจ หน้ามืดเป็นลม
ประวัติการได้รับยา
ยาขับปัสสาวะ อาจทำให้มีภาวะแคลเซียมและโปแตสเซียมในเลือดต่ำ
กลุ่มยา beta blocker จะลด exercise tolerance
ยา Insulin ควรปรับขนาดลดลง หรือหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายเมื่อระดับ อินสุลินออกฤทธิ์สูงสุด และควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดก่อนออกกำลังกาย
การเตรียมร่างกายก่อนออกกำลังกาย
ก่อนออกกำลังกายควรเตรียมร่างกาย
โดยการอบอุ่นร่างกายก่อน (Warm up)
ผ่อนความรุนแรงลงขณะจะหยุดออกกำลังกาย (Cool down)
หลักการออกกำลังกาย
ชนิดการออกกำลังกาย
Aerobic activities
Resistance activities
Balance activities
Flexibility activities
ความถี่
ขึ้นกับขนาดความแรงของการออกกำลังกาย
ถ้าออกกำลังกายชนิดเบา จำนวนครั้งในการออกกำลังกาย ควรเป็นวันละ 3-4 ครั้ง
ความแรงในการออกกำลังกาย
ควรเพิ่มความแรงของการออกกำลังกายทีละน้อย
ระยะเวลา
ควรใช้เวลาประมาณ 30 นาทีในแต่ละวัน
โดยสรุปการออกกำลังกายควรออกกำลังกาย 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลาราว 20-30 นาทีต่อครั้ง หรือประมาณ 30 นาทีต่อวัน
ความเครียดและการจัดการความเครียดของผู้สูงอายุ
อาการแสดงของภาวะเครียดทางด้านร่างกายและอารมณ์
การนอนไม่หลับ ฝันร้าย
การรับประทานอาหารไม่อร่อย
อาการปัสสาวะบ่อย
อาการปวดกล้ามเนื้อ
วิตกกังวล กลัว ท้อแท้ ซึมเศร้า
อ่อนล้า สมาธิสั้น หลงลืม
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียดในผู้สูงอายุ
การเปลี่ยนแปลงตามวัย: การเสื่อมถอยอย่างรวดร็ว ทำให้ส่งผลกระทบต่อ ADL คุณค่าตนเองลดลง
การเกษียณอายุราชการ: ปรับเปลี่ยนบทบาท เข้าร่วมกิจกรรมสังคมลดลง รายได้ลดลง
การที่ต้องรับภาระในการดูแลบุตรหลาน: การเลี้ยงดูเด็กเป็นกิจกรรมค่อนข้างหนัก อาจทำให้พักผ่อนไม่เพียงพอ ปวดข้อ เกิดแผลในกระเพาะอาหาร
การดูแลคู่สมรสหรือบุคคลใกล้ชิดที่เจ็บป่วยเรื้อรังและการสูญเสียคู่สมรส
สัมพันธภาพระหว่างเพื่อนลดลง
สถานภาพทางสังคมลดลง เช่น บทบาทของผู้นำครอบครัว บทบาทหัวหน้างาน บทบาทหน้าที่การงาน
การจัดการกับความเครียด
การค้นหาแนวทางการเผชิญปัญหา
การเผชิญปัญหาที่มุ่งแก้ปัญหา
เผชิญหน้ากับปัญหา การที่บุคคลมีความคิดหรือพฤติกรรมตรงไปตรงมาในการเผชิญปัญหา ไม่หลีกหนี ถอยหนี หรือกระทำสิ่งต่างๆ อย่างหุนหันพลันแล่น แต่หันหน้าเผชิญปัญหา และมีความเข้าใจสภาพของปัญหาตามความเป็นจริง
การวางแผนแก้ปัญหา การที่บุคคลพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ และจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น โดยมีการกระทำที่เป็นขั้นตอน มีการวิเคราะห์ปัญหา และหาวิธีการต่างๆ มากกว่า 1 วิธี หรือใช้ประสบการณ์เดิม ๆ ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นให้ได้ผลดีมากที่สุด
การเผชิญปัญหาแบบมุ่งปรับอารมณ์
การที่บุคคลเลือกใช้วิธีการเผชิญปัญหาที่จะช่วยควบคุม ปรับอารมณ์ และความรู้สึกของตนเอง
หรือ เป็นความคิดหรือพฤติกรรมของบุคคลที่มุ่งลดความไม่สบายใจ เมื่อไม่สามารถแก้ไขปัญหาหรือสถานการณ์ได้
เป็นการรักษาสมดุลเท่านั้น ไม่ได้จัดการปัญหาให้หมดไป เป็นเพียงวิธีบรรเทาปัญหาหรือลดความเครียด
ถ้าใช้บ่อย ๆ โดยขาดการตระหนักรู้ในตนเอง มีความคิดหรือการกระทำที่บิดเบือน จะก่อให้เกิดความเครียดมากยิ่งขึ้น
อาจนำไปสู่การเจ็บป่วยทางจิต เช่น วิตกกังวล ซึมเศร้า (Forman, 1993)
แต่ถ้าบุคคลใช้วิธีการเผชิญปัญหาลักษณะนี้อย่างรู้สำนึกตามสภาพที่เป็นจริง ก็จะเอื้อให้เผชิญปัญหาได้
วิธี
ประเมินสถานการณ์ใหม่ทางบวก (positive reappraisal)
แสดงความรับผิดชอบต่อปัญหา (accepting responsibility)
ควบคุมตนเอง (self controlling)
แสวงหาการเกื้อหนุนทางสังคม (seeking social support)
ถอยห่าง (distancing)
หลีกเลี่ยงปัญหา (escape avoidance)
ค้นหาสาเหตุของความเครียด
ค้นหาสาเหตุของความเครียด และยอมรับสภาพการณ์ที่เป็นต้นเหตุ
โดยการหากลุ่มเพื่อเพื่อระบายความรู้สึก แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อหาวิธีการบำบัดความเครียด
การหาวิธีผ่อนคลาย
เช่นการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับตนเอง
การออกกำลังกายจะช่วยหลั่งสารเอนโดรฟิน ส่งผลให้ระบบประสาทส่งสารสื่อประสาทได้ดีขึ้น
การออกกำลังกายช่วยให้ปฏิสัมพันธ์ในสังคมดีขึ้น
เป็นการสนับสนุนด้านจิตสังคมอีกวิธีการหนึ่ง
สนับสนุนให้มีการเข้าร่วมกิจกรรม
การมองโลกในแง่ดี
การขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ
นักจิตวิทยา และให้คำปรึกษา และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา
หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และการทำร้ายตนเองด้วยวิธีอื่น ๆ
นันทนาการเพื่อผู้สูงอายุ
ความหมาย กิจกรรมที่ทำในยามว่างที่ผู้เข้าร่วมมีอิสระในการตัดสินใจเลือกปฏิบัติด้วยตนเอง เพื่อก่อให้เกิดอารมณ์ที่ผ่อนคลาย และสนุกสนานเพลิดเพลินกับตนเองและกลุ่ม
ประเภทและลักษณะนันทนาการที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ
คำนึงถึงความจำกัดด้านร่างกาย จิตอารมณ์ และสังคมของผู้สูงอายุ
อาจเป็นกิจกรรมที่ใช้พลังงานน้อย เช่น ดูทีวี อ่านหนังสือ
กิจกรรมที่ใช้พลังงานปานกลาง เช่น กายบริหาร กีฬา และหัตถกรรม
สนับสนุนตั้งแต่วัยทำงานจะมีผลต่อสุขภาวะ
ในสถานพยาบาล สามารถกระตุ้นผู้สูงอายุให้ออกกำลังกายมากขึ้น ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันเพิ่มขึ้น
กิจกรรมที่เหมาะสมผู้สูงอายุ หลากหลาย มีทั้งที่ออกแรง ไม่ออกแรง กิจกรรมที่ทำคนเดียว กิจกรรมกลุ่ม และกิจกรรมทางศาสนา
การออกกำลังกายและกิฬา
มีประโยชน์ทั้งการชะลอการเสื่อมและป้องกันความพิการ
การออกกำลังกาย คือ การทำหน้าที่ของกล้ามเนื้อและอวัยวะต่าง ๆ มากกว่าอิริยาบถปกติ
การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือด ได้แก่ การเดิน ว่ายน้ำ ถีบจักรยาน
การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มการแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เช่น กายบริหารโดยใช้ยางยืด
การออกกำลังกายที่เพิ่มการยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและข้อต่อ เช่น ไท้เก็ก โยคะ
เกมส์
ส่งเสริมให้เกิดการเคลื่อนไหว เป็นทักษะเบื้องต้นของการเล่นกีฬา
เกมส์ไม่มีกฎกติกาที่ซับซ้อน ไม่เคร่งครัดจึงไม่เครียด
รูปแบบเกมส์ ควรเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุปฏิสัมพันธ์กับกลุ่ม เช่น การแนะนำตัว การสาธิตเกมก่อนเริ่มกิจกรรม
ส่งเสริมให้แสดงความคิดเห็นในการทำกิจกรรมให้สนุกสนานมากกว่าแข่งขันเพื่อเอาชนะ
ส่งเสริมผู้สูงอายุให้สรุปประโยชน์ของกิจกรรม
การปลูกต้นไม้
เป็นกิจกรรมที่ให้ความเพลิดเพลิน การสัมผัสธรรมชาติ การออกกำลังกาย และความภาคภูมิใจเมื่อต้นไม้ที่ปลูกงอกงามจนออกดอกออกผล
เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุได้ทำร่วมกับสมาชิกในครอบครัว
งานศิลปะและหัตถกรรม
ส่งเสริมการประสานงาน (coordination) ของกล้ามเนื้อมัดเล็ก การรับรู้และประสาทสั่งงานที่ละเอียดอ่อน
ทำงานฝีมือเพื่อประดิษฐ์สิ่งของ เข่น การเย็บปักถักร้อย การประดิษฐ์สิ่งของ การวาดรูป การปั้น การจักสาน
เหมาะสมกับผู้สูงอายุที่มีความถนัดความชอบ ทำให้ได้ชื่นชมกับผลงานที่สำเร็จด้วยฝีมือตนเอง
เพิ่มความรู้สึกที่มีคุณค่าแห่งตนได้ หากผู้สูงอายุได้มอบงานฝีมือนั้นแก่ผู้อื่น หรือได้เป็นวิทยากรทำหน้าที่ถ่ายทอดภูมิปัญญา
การสะสม
เป็นกิจกรรมที่ผู้สูงอายุสะสมสิ่งของที่ชอบและสนใจทำให้มีความสุข
มีเป้าหมายของการเก็บรวบรวมและจัดหมวดหมู่
ความช่างสังเกต ความจำ เกิดความรู้และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
เมื่อมีโอกาสให้คนอื่นชื่นชมจะทำให้เกิดความภาคภูมิใจ
เพิ่มโอกาสการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับคนที่มีความสนใจเหมือนกัน จึงมีปฏิสัมพันธ์มากขึ้น
ตัวอย่างสิ่งสะสม เช่น แสตมป์ พระเครื่อง เหรียญเงินในสมัยต่างๆ บัตรโทรศัพท์
การทำอาหาร
แม้ว่าการทำอาหารเป็นกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ
การจัดนันทนาการเรื่องการทำอาหารมักเป็นที่สนใจของผู้สูงอายุชาย
ควรเลือกประเภทอาหารที่เหมาะสม
ให้ผู้สูงอายุมีโอกาสทบทวนคุณค่าของอาหาร การวางแผนการทำ การรับประทานอาหารร่วมกันเมื่อปรุงอาหารเสร็จ
ทำให้เพลิดเพลิน รับความรู้ทางโภชนาการ และการเข้าสังคม
เกิดการสร้างสรรค์ในกลุ่มและความภาคภูมิใจที่ทำอาหารสำเร็จ
เป็นนันทนาการที่มีประโยชน์ และส่วนใหญ่สนใจร่วมกิจกรรม
งานประเพณีและวัฒนธรรม
เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมวัฒนธรรมและทักษะทางสังคม เช่น งานบุญในชุมชน งานเทศกาลต่าง ๆ
ทำให้ผู้สูงอายุได้พบปะพุดคุยคนทุกอายุ ทั้งหลาน ญาติ เพื่อน และคนในชุมชน
สามารถกระตุ้นให้ผู้สูงอายุเห็นความสำคัญของตนเอง เช่น งานวันเกิด รดน้ำขอพร
กระตุ้นให้ผู้สูงอายุรับรู้ วันเวลา สถานที่ได้ เช่น งานฉลองปีใหม่ งานตรุษจีน การแจกอาหารหรือเด็กพิการเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ
การร้องเพลง การเล่นดนตรี
เสียงดนตรี การแสดงศิลปวัฒนธรรม ท่ารำ ท่าฟ้อน ท่าเต้น
เป็นสิ่งกระตุ้นให้ผู้สูงอายุรำลึกถึงวัยหนุ่มสาว
กิจกรรมประเภทนี้จะให้ความเพลิดเพลิน และผ่อนคลายความเรียด
ตัวอย่างเช่น ร้องเพลง รำวง เซิ้ง และลีลาศ
สามารถจัดให้เป็นผู้ชมและผู้แสดง
กิจกรรมศาสนา
ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มคนที่ค่อนข้างที่นำศาสนาเป็นหลักในการดำเนินชีวิตมากกว่าวัยเด็กหรือวัยผู้ใหญ่ที่มีภารกิจเรื่องการเรียนและการทำงานเป็นหลัก
การจัดนันทนาการด้วยกิจกรรมศาสนา จึงเป็นที่ชื่นชอบของผู้สูงอายุ
แต่ต้องระวังเรื่องเศรษฐกิจที่ลดลงของผู้สูงอายุ บ่อยครั้งที่ผู้สูงอายุรู้สึกไม่สบายใจที่จะร่วมกิจกรรมนันทนาการทางศาสนา เนื่องจากไม่มีเงินทำบุญ ขายหน้าเพื่อน ที่ให้เงินทำบุญน้อยกว่าเพื่อน
ควรเลี่ยงการเรี่ยไรเงินบริจาคจากผู้สูงอายุ
เน้นการทำกิจกรรม เช่น การร่วมสวดมนต์ การทำสมาธิ
การเขียน อ่าน สนทนา โต้วาที
การเขียน เช่น การเขียนบันทึกประจำวัน การเขียนบทกวี การเขียนเรื่องสั้น
กิจกรรมการอ่าน เช่น การอ่านหนังสือพิมพ์ หนังสือทั่วไป
ซึ่งมีขนาดอักษรเหมาะสมกับสายตา ทำให้เกิดความรู้และความเพลิดเพลิน
กิจกรรมการสนทนา และโต้วาที เช่น การวิเคราะห์ข่าวสุขภาพ การโต้วาทีเรื่องเบาหวานดีกว่าความดันโลหิตสูง
สามารถเสริมทักษะทางภาษาและการสื่อสาร เหมาะกับผู้สูงอายุที่มีประสบการณ์ชีวิตสูง ชอบแนะนำ เมื่อได้พูดหรือแสดงความคิดเห็นต่างๆ ในหมู่ผู้สูงอายุด้วยกัน
จะทำให้เกิดความภาคภูมิใจ และได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
การท่องเที่ยว
วัยทำงานทุกคนต้องทำงาน โอกาสท่องเที่ยวน้อย
เมื่อสูงอายุเป็นอิสระจากงานมากขึ้น การเดินทางท่องเที่ยวจึงเป็นกิจกรรมที่ผู้สูงอายุพอใจ
เพราะเพิ่มประสบการณ์ชีวิต เสริมสร้างความคิด ทำให้มีชีวิตชีวา ไม่ติดอยู่กับที่
ข้อจำกัดคือ สภาพร่างกายและเศรษฐกิจ
การท่องเที่ยวควรคำนึงถึงความปลอดภัย และสิ่งอำนวยความสะดวกในการเดิน
เลือกสถานที่ท่องเที่ยวซึ่งมีบริการรถเข็น รถกระเช้า
เลือกการเดินทางที่ประหยัดและปลอดภัย เช่น รถไฟ
เลือกสถานที่ท่องเที่ยวซึ่งไม่เก็บหรือเก็บค่าเข้าชมเพียงครึ่งเดียวสำหรับผู้สูงอายุ เช่น วัด พระราชวัง พิพิธภัณฑ์ อุทยานประวัติศาสตร์ อุทยานธรรมชาติ สวนสัตว์
แนวคิดการนำนันทนาการมาใช้ในการพยาบาลผู้สูงอายุ
คนเรามีเวลานอนหลับ 6-8 ชม. จึงมีเวลาตื่นนอนประมาณ 16-18 ชม.
แบ่งการทำกิจกรรมเป็น 3 ช่วง คือ
ปฏิบัติภารกิจส่วนตัว เช่น อาบน้ำ แต่งตัว รับประทานอาหาร
เวลาทำงาน ในวัยผู้ใหญ่ หรือเวลาเรียนในเด็ก
เวลาว่าง เด็ก เวลาว่างจะเป็นการเล่น การทำกิจกรรมที่สนุกสนาน
ผู้ใหญ่เวลาว่างของคนรักงาน (work-aholism) จะถูกเวลาทำงานเบียดเบียน
ผู้สูงอายุหลังเกษียณ เวลาว่างจึงเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน
ผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อย เมื่อมีเวลาว่างมาก ๆ จนไม่รู้จะทำอะไรเป็นวิกฤติของชีวิต
การปล่อยให้เป็นไปตามทฤษฎีถดถอยจากสังคม คือ จัดการให้ผู้สูงอายุค่อย ๆ หลีกหายออกจากกลุ่มคนในสังคม ทั้งๆ ที่จะรู้สึกพอใจมากหากดำรงชีวิตในสิ่งแวดล้อมเดิม
ตรงกันข้ามหากใช้ทฤษฎี การมีกิจกรรมร่วม ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุทำกิจกรรมต่างๆ อยู่เสมอ โดยเฉพาะกิจกรรมที่ชอบ จะทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกกระฉับกระเฉง
ลดความรู้สึกโดดเดี่ยว เพิ่มทักษะการปรับตัว รู้สึกว่าตนเองมีประโยชน์ของสังคม เกิดความพึงพอใจในชีวิตในวัยสูงอายุ
การนำเสนอคำแนะนำผ่านกระบวนการที่สร้างความสุขและความเพลิดเพลิน
ส่งผลให้ผู้สูงอายุเกิดพลังใจ ทำให้รู้สึกว่ามีคุณค่า มีศักยภาพ มีกำลังที่จะปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆได้ตามต้องการ
กระบวนการพยาบาล
การประเมิน
กำหนดวัตถุประสงค์และเลือกกิจกรรม
การจัดเตรียมอุปกรณ์
การจัดเตรียมสถานที่
การจัดเตรียมทีมจัดกิจกรรมนันทนาการ
การดำเนินกิจกรรมนันทนาการ
โภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ
ความต้องการสารอาหารในผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุมีความต้องการพลังงานลดลง
ผู้ที่ไม่มีความผิดปกติของตับและไต ต้องการโปรตีน 1-1.2 กรัมต่อกก.ต่อวัน (โปรตีนคุณภาพดี ย่อยง่าย ไม่ติดมัน)
คาร์โบไฮเดรต ร้อยละ 50-60
จำกัดไขมันไม่เกินร้อยละ 30 เน้นไขมันจากพืช
ความต้องการสารอาหารของผู้สูงอายุ
ไขมัน
โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง เป็นสาเหตุการตายที่พบบ่อย
สัมพันธ์กับระดับไขมันในเลือด โดยเฉพาะไขมันอิ่มตัวและโคเลสเตอรอล
การลดไขมันอิ่มตัวและโคเลศเตอรอลในอาหารจะช่วยลดอัตราความเสี่ยง
ไขมันเป็นแหล่งให้พลังงานสูง ร่างกายต้องการในปริมาณน้อย
ไขมันมีหน้าที่ขนส่งวิตามินที่ละลายในไขมัน คือ เอ ดี อี เค
ทำให้รสชาดอาหารดีขึ้น
กรดไขมันอิ่มตัวจะพบในอาหารจากสัตว์ เช่น น้ำมันหมู เนย เนื้อหมู เนื้อวัว
และพบในน้ำมันจากพืช เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม
น้ำมันข้าวโพด ดอกทานตะวัน ดอกคำฝอย งา ถั่วเหลือง จะมีกรดไขมันไม่อิ่มตัว
อาหารที่มีโคเลสตอรอลสูง ได้แก่ ไข่ปลา มันสมอง หอยนางรม และไข่แดง
คาร์โบไฮเดรต
ความทนต่อกลูโคสลดลง มีโอกาสเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำชั่วคราว และโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินสุลิน
อาหารที่มีน้ำตาลต่ำ มีใยอาหารที่ละลายน้ำสูง ทำให้ร่างกายตอบสนองต่ออินสุลินดีขึ้น
เอนไซม์แลคเตสลดลง มีโอกาสเกิดภาวะท้อง ท้องอืด เป็นตะคริว
ดังนั้นควรดื่ม นมเปรี้ยว โยเกิร์ต หรือนมที่มีเอนไซม์แลคเตสเพื่อลดและป้องกัน
พลังงานจากคาร์โบไฮเดรต ร้อยละ 55 ของทั้งหมด และมาจากคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ได้แก่ ข้าว ก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง และน้ำตาลจากธรรมชาติ เช่น ผลไม้ หรือ นม
ไม่รับประทานน้ำตาลทรายหรือน้ำตาลชนิดอื่น ๆ มากเกินร้อยละ 10 ของพลังงานทั้งหมด
ได้รับเส้นใยอาหารวันละ 20-30 กรัม รักษาและป้องกันภาวะไขมันในเลือดสูงและลดการเป็นมะเร็งในลำไส้ใหญ่
โปรตีน
1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน ทำให้ความสมดุลของไนโตรเจนดีที่สุด
ถ้ามีความเครียด เช่น บาดเจ็บ การติดเชื้อ หรือการเจ็บป่วย ความต้องการเพิ่มขึ้น
โปรตีนที่มีคุณค่า คือ เนื้อสัตว์ (ย่อยง่าย ไม่ติดมัน) นม ไข่ และโปรตีนจากพืชที่สำคัญ คือ ถั่วเหลือง
ดื่มนมอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 แก้ว
ไข่สัปดาห์ละ 3 ฟอง
วิตะมินและเกลือแร่
วิตามินเค
มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด
อาหารที่พบ คือ ผักใบเขียว ผลไม้และธัญพืช
ผลิตภัณฑ์จากนมร่วมกับการสังเคราะห์วิตามินเคจากแบคทีเรียในลำไส้
วิตามินซี
สำคัญต่อการสร้างกระดูก เลือด คอลลาเจน ซึ่งเป็นโปรตีนที่สำคัญของผิวหนัง เอ็นและกระดูก
วิตามินซีเป็นสารต้านมะเร็ง
ปัจจัยที่มีผลให้ต้องการวิตามินซีเพิ่มขึ้น การสูบบุหรี่ ยาบางชนิด ภาวะเครียดทางอารมณ์และสิ่งแวดล้อม
ต้องการวิตามินซีเพิ่มวันละ 60 มิลลิกรัม ทั้งผู้สูงอายุชายและหญิง
วิตามินอี
มีคุณสมบัติต้านออกซิเดชั่น ชะลอกระบวนการเสื่อมถอยและอนุมูลอิสระ
ระดับของวิตามินในร่างกายมีความสัมพันธ์กับระดับไขมัน
อาหารที่พบวิตามินอีมากได้แก่ อะโวคาโด ถั่วต่างๆ เมล็ดทานตะวัน เนยถั่ว งา และน้ำมันพืช ผักใบเขียว
วิตามินบี 1
ผู้สูงอายุมีแนวโน้มที่จะขาดไทอะมีน เนื่องจากน้ำย่อยในกระเพาะอาหารลดลง
ผู้สูงอายุที่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง มักจะขาดไทอะมีน
วิตามินดี
บทบาทสำคัญควบคุมธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัส ที่จำเป็นในการสร้างกระดูก
เพราะช่วยดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัสในลำไส้
ปัญหากระดูกพรุนพบบ่อย เพราะได้รับวิตามินดีไม่เพียงพอ ร่วมกับไม่ได้รับแสงแดด
ผลให้การดูดซึมวิตามินดีลดลงและการเปลี่ยนแปลงวิตามินดีที่ตับและไตลดลง
ควรรับประทานอาหารทะเลและนมที่เสริมวิตามินดีเพิ่ม
อาหารที่มีวิตามินดีได้แก่ ปลาที่มีไขมันสูงได้แก่ salmon, tuna, mackere และน้ำมันตับปลาปลา
วิตามินบี 2
มีความเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาออกซิเดชั่น
พบได้ในอาหารประเภทเนื้อ นม ไข่ และผักใบเขียว
วิตามิน บี 2 จะถูกเก็บในร่างกายน้อย จึงควรรับประทานอย่างเพียงพอ
ยาขับปัสสาวะไทอะไซด์ ทำให้มีการขับ ribroflavin ทางปัสสาวะเพิ่มมากขึ้น
วิตามินเอ
รักษาสายตาไม่ให้เสื่อมสภาพเร็ว ช่วยการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อและระบบภูมิคุ้มกัน
พบมากในไขมันสัตว์ ได้แก่ น้ำมันตับปลา และเบต้าแคโรทีน (ผักและผลไม้ที่มีสีเหลือง เช่น ฟักทอง แครอท มะละกอสุก )
ผู้สูงอายุมีความทนต่อวิตามินเอลดลง และมีการดูดซึมวิตามินเอที่ลำไส้เพิ่มขึ้น
เพราะเยื่อบุผนังลำไส้เล็กมีความหนาลดลง ความต้องการวิตามินเอลดลง
วิตามินบี 6
ผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงเยื่อบุลำไส้หลั่งน้ำย่อยน้อยลง
การสังเคราะห์ที่ลำไส้ลดลงและภาวะความเป็นกรดของลำไส้ลดลง
การดูดซึมวิตามินบี 6 ในทางเดินอาหารลดลง และการสังเคราะห์ที่ลำไส้ลดลง
รับวิตามิน บี 6 ไม่เพียงพอจะมีอาการซึมเศร้า หงุดหงิดง่าย มีอาการชา และซีด
ผู้สูงอายุควรได้รับวิตามินบี 6 เพิ่มมากขึ้น ซึ่งมีมากในเนื้อหมู และธัญพืช
วิตามินบี 12
มีความจำเป็นต่อการสังเคราะห์ DNA
ขาดB12 ทำให้สร้างเม็ดเลือดแดงผิดปกติ เกิดภาวะซีด และมีผลต่อการคงสภาพของไมอีลินของเนื้อเยื่อประสาท
ผู้สูงอายุมัก พบว่า มีระดับ B12 ในพลาสมาต่ำ และมีความผิดปกติในการดูดซึมอาหาร
เนื่องจากมีการดูดซึมน้อยลงและมีการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในลำไส้ผิดปกติ
พบในผู้ที่มีปัญหากระเพาะอาหารอักเสบและมีขนาดเล็กลง
ควรได้รับวิตามินบี 12 เพิ่มมากขึ้น
อาหารทะเล เนื้อสัตว์ ไข่นม คนที่รับประทานมังสวิรัติอย่างเคร่งครัดอาจขาดวิตามินบี 12
ควรทานเต้าเจี้ยว เต้าหู้ยี้ (ไม่เหมาะสมกับความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ) ให้รับประทานเต้าหู้ นมถั่วเหลืองแทน
โฟเลท
ผู้สูงอายุมีความผิดปกติการดูดซึมกรดโฟลิก เนื่องมาจากมีปัญหาเรื่องกระเพาะอาหารอักเสบและมีขนาดเล็กลง
ประกอบกับค่า pH ในลำไส้เล็กเพิ่มมากขึ้น
เมื่อขาดโฟเลทจะทำให้เกิดภาวะซีด
อาหารที่มีโฟเลทมาก ได้แก่ ผักใบเขียว ตับ เนื้อสัตว์ ถั่วต่างๆ ยีสต์ และธัญพืช
แคลเซียม
การสูญเสียเนื้อกระดูก พบบ่อยในผู้สูงอายุหญิง พบว่า มีอาการหักของข้อมือ สะโพก และกระดูกสันหลังได้ง่าย
สาเหตุสำคัญ คือ ได้รับแคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามินไม่เพียงพอ ร่วมกับการขาดการออกกำลังกายหรือกิจกรรมลดลง
การดูดซึมแคลเซียมลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น
ผู้สูงอายุต้องการแคลเซียม 800 มิลลิกรัม
แหล่งอาหารที่มีแคลเซียมมากได้แก่ นม ผลิตภัณฑ์นม ปลาเล็กปลาน้อย ที่บริโภคทั้งกระดูก เนื้อสัตว์ต่าง ๆ ธัญพืช เต้าหู้ และผักใบเขียว
เหล็ก
การขาดธาตุเหล็กมีสาเหตุจากการได้รับไม่เพียงพอ เสียเลือดเนื่องจากโรคเรื้อรัง หรือการดูดซึมเหล็กลดลงจากกระเพาะอาหารอักเสบและมีขนาดเล็กลง
การดูดซึมธาตุเหล็กจะดีขึ้นเมื่ออยู่ภาวะเป็นกรดหรือได้รับวิตามินซีเสริม
ถ้ารับอาหารที่มีไฟเตท และออกซาเลทร่วมด้วย ทำให้การดูดซึมธาตุเหล็กลดลง
อาหารที่มีธาตุเหล็กมากได้แก่ ตับ เนื้อแดง เลือด ไข่ ถั่วเมล็ดแห้ง ลูกเดือย เม็ดบัว
อาจให้ยาเสริมถ้าผู้สูงอายุมีอาการซีด
สังกะสี
การขาดสังกะสี ทำให้ผู้สูงอายุรับรสและกลิ่นลดลง มีผลต่อความอยากอาหารลดลง
การหายของแผลช้าลง
อาหารที่มีสังกะสีได้แก่ ไข่ ตับ เนื้อแดง และอาหารทะเล
พลังงาน
ผู้สูงอายุต้องการพลังงานน้อยกว่าความต้องการในวัยหนุ่มสาว เนื่องจากอัตราเมตาบอลิซึมพื้นฐานและการทำกิจกรรมต่าง ๆ ลดลง
ความต้องการพลังงานที่ผู้สูงอายุต้องการประจำวัน ไม่เกินวันละ 2, 250 และ 1,850 กิโลแคลอรี่ หรือ 30 กิโลแคลอรี่ต่อกิโลกรัม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่ทำ
หลักในการจัดอาหารสำหรับผู้สูงอายุ
ปัญหาทุพโภชนาการ
การได้รับอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอทำให้น้ำหนักลดลง
ความผิดปกติของการดูดซึมและการนำสารอาหารไปใช้
ภาวะทุพโภชนาการ
ดัชนีมวลกายน้อยกว่า 18.5 kg/m2
น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ตั้งใจมากกว่า 10% ภายใน 3-6 เดือน
บุคคลที่เสี่ยงต่อภาวะขาดสารอาหาร คือ บุคคลที่รับประทานอาหารน้อย หรือไม่รับประทานอะไรเลยมากกว่า 5 วัน
ผลกระทบของภาวะโภชนาการพร่องต่อผู้สูงอายุ
ความเสี่ยงในการติดเชื้อเพิ่มขึ้น
แผลหายช้าขึ้น
ระบบหายใจบกพร่องเพราะกล้ามเนื้ออ่อนแรง
ซึมเศร้า หดหู่
ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุ
สภาวะทางจิตใจ
ภาวะโภชนาการเดิมและบริโภคนิสัย
ภาวะทางเศรษฐกิจแลสังคม
ความรู้ด้านโภชนาการ
การเปลียนแปลงในวัยสูงอายุ
ภาวะสุขภาพและโรคประจำตัว
การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายที่ผลต่อภาวะโภชนาการ
ตามองไม่เห็น จมูกได้กลิ่นผิดปกติ ฟันผุหรือไม่มีฟัน
การรับรู้รสชาดเสื่อม การหลั่งกรดในกระเพาะอาหารลดลง
การบีบตัวของกระเพาะและลำไส้ทำงานน้อยลง
การหลังน้ำย่อยจากตับอ่อนลดลง และการไหลเวียนเลือดที่ตับลดลง
หลักการจัดอาหารสำหรับผู้สูงอายุ
พลังงาน ลดจำนวนอาหารประเภทพลังงานลง ได้แก่ ไขมัน คาร์โบไฮเดรต ประมาณร้อยละ 10-20 ของพลังงานทั้งหมดตามอายุที่เพิ่มขึ้น
ลดปริมาณอาหารที่ให้พลังงานสูง เช่น ขนมหวาน เค้ก ของเชื่อม และอาหารไขมันสูง เช่น ขาหมู ของทอดต่าง ๆ และแกงกะทิ
ไม่รับประทานน้ำตาลทรายมากเกินไป เพราะมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานหรือภาวะไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงรับประทานอาหารประเภทข้าวหรือแป้งเชิงซ้อนแทน
โปรตีน รับประทานไข่วันละ 1 ฟอง กรณีที่มีโคเลสเตอรอลสูง ควรรับประทานวันเว้นวัน หรือรับประทานเฉพาะไข่ขาว เนื้อสัตว์อื่น ๆ ควรปรุงให้เปื่อย หรือสับให้ละเอียด
ไขมัน ใช้น้ำมันพืชที่มีกรดไลโนเลอิกในการปรุงอาหาร เช่น น้ำมันถั่วเหลือง
ใยอาหาร ควรรับวันละ 20-35 กรัม ผักและผลไม้ เช่น ตำลึง ผักบุ้ง ผักกาดขาว มะเขือเทศ ส้มเขียวหวาน กล้วยสุก และมะละกอสุก
ลดการดื่มเหล้า สูบบุหรี่ และชา กาแฟ
น้ำ ควรให้ผู้สูงอายุได้รับน้ำอย่างเพียงพอ อย่างน้อยวันละ 1,500 มิลลิลิตร
จัดอาหารให้น่ารับประทาน ภาชนะในการจัดอาหารมีสีสัน น่ารับประทาน รวมถึงการอุ่นอาหารเพื่อส่งเสริมความอยากอาหารและรับประทานอาหารให้มากขึ้น