Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3 การตรวจร่างกายทุกระบบ (2) การตรวจทรวงอกและปอด (Thorax and lung),…
บทที่ 3 การตรวจร่างกายทุกระบบ (2)
การตรวจทรวงอกและปอด
(Thorax and lung)
การตรวจทรวงอกและปอด
การเคาะทรวงอก (ปอด)
การเคาะทรวงอกด้านหลัง เริ่มเคาะยอดปอดหรือบริเวณไหล่ซ้ายขวาเปรียบเทียบกัน แล้วจึงเคาะปอดซ้ายขวาเปรียบเทียบกัน ระยะเคาะห่าง
กันบนล่างประมาณ 4-5 เซนติเมตร
การเคาะปอด ด้านหลัง
• ภาวะปกติจะได้ยินเสียงเคาะชนิที่บริเวณหัวใจคือด้านซ้ายของกระดูก sternum ของตับที่ช่องซี่โครงที่ 6 ด้าน ขวาของกระดูก อาจพบเสียง tympany ของกระเพาะอาหาร
เคาะไล่จากบนลงล่างจนถึงช่องซี่โครงที่ 11 แนวการเคาะจะเคาะสองข้างของกระดูก สันหลัง ห่างจากแนวกลางลําตัวประมาณ 5 เซนติเมตร
ภาวะปกติจะได้ยินเสียงเคาะชนิด resonance
ภาวะผิดปกติพบเสียง hyperresonance
การเคาะทรวงอกด้านหน้า เริ่มเคาะที่บริเวณเหนือกระดูกไหปลาร้า
(1/3 ของกระดูกไหปลาร้าด้านใน) เคาะตั้งแต่ช่องซีโครงที่ 2 ถึง 6 ในแนว
mid clavicular line หรือห่างจาก sternum 2.5 เซนติเมตร จากนั้นเคาะ
ทรวงอกด้านข้างในแนว anterior axillary line จากช่องที่โครงที่ 4ถึง 8
การฟัง
การฟังเสียงหายใจ ต้องสังเกตทั้งระยะหายใจเข้า-ออก ความดังช่วงเวลาที่ เสียงที่เกิดจากการหายใจ เสียงผิดปกติหรือแปลก
ภาวะปกติ ได้ยินตามตําแหน่งต่าง ๆ มี 3 เสียง คือ
Bronchial ช่วงเงียบอยู่กลางระหว่างหายใจเข้าและหายใจ หลอดลมคอ ซึ่งไม่มีเนื้อปอดอยู่
Broncho-vesicular breath sound ไม่มีช่วงเงียบระหว่างเสียงหายใจเข้าและออก ฟังได้ที่บริเวณช่องซี่โครงที่ 2 และ 3
Vesicular breath sound เสียงเบา สัดส่วนเป็น 3:1 ไม่มีช่วงเงียบระหว่างหายใจเข้าและออก
ภาวะผิดปกติ จะหายใจเบากว่าปกติ
เสียงผิดปกติ (adventitious sound)
Crepitation หรือ crackle ลักษณะเสียงคล้ายใช้นิ้วขยี้ผมใกล้ๆ หู crepitation เกิดจากอากาศผ่านนํ้าเมือก
ในหลอดลมฝอย และถุงลม นํ้าเมือก
Rhonchi เกิดจากอากาศ ผ่านหลอดลมใหญ่ที่ตีบแคบ และมีนํ้าเมือกหรือ exudate ขวางอยู่เป็นระยะ ๆ
Wheezing เกิดจากอากาศผ่านหลอดลมเล็กที่ตีบแคบ และมีนํ้ามือก หรือ exudate เกาะขวางอยู่
Pleural friction rub ไม่เปลี่ยเเปลงเวลาไอ เกิดจาก
การเสียดสีของเยื่อหุ้มปอดที่อักเสบ
การตรวจหัวใจ (Heart)
ขอบเขตของหัวใจ ประมาณว่าอยู่ที่โครงที่ 2 ถึง 3 - 6
อยู่ชิดกับขอบขวาของ sfermum ขอบซ้ายอยู่ไม่เกิน
mid clavicular line
การดูสังเกตสีผิว หลอดเลือดดําบริเวณทรวงอก
และรูปร่างทรวงอกโดยเฉพาะบริเวณ precordium
รูปร่างและตําแหน่งการเต้น
ภาวะปกติ การเต้นของหัวใจ ที่อยู่ขอบนอกซ้ายสุดและ
ตํ่าสุด (lower and most lateral) มักอยู่ที่ช่องซีโครงที่ 5
ภาวะผิดปกติ การนูนหรือยุบบริเวณ precordium พบ apical impulse อยู่ตํ่าและออกไป
การคลํา apex beat ให้คลําหา apex beat หรือ
ตําแหน่งตํ่าสุดและนอกสุด ใช้ฝ่ามือ วางบนทรวงอกด้านซ้าย ให้นิ้วหัวแม่มืออยู่ medial ต่อหัวนม เหยียดกดไปบนผนังทรวงอก และทาบบริเวณยอดหัวใจ คนปกติจะอยู่ที่ช่องซี่โครงที่ 5 ตัดกับ mid clavicular line ซ้าย
ภาวะปกติ apex beat คลําได้กว้างประมาณ 1-2 เซนติเมตร อยู่ที่ช่องซี่โครงที่ 5 ข้างซ้าย
ภาวะผิดปกติ apex beat เลื่อนจากตําแหน่งปกติ
การคลํา heave วางฝ่ามือบริเวณหัวใจห้องล่างซ้าย เหนือบริเวณยอดหัวใจ หันปลายมือไปทางด้านข้าง กดฝ่ามือให้แนบและแรงพอควร
การคลํา thril หรือ การสั่นสะเทือนของ cardiac murmur
คลําทั่ว pericardial area เมื่อมีthrill จะรู้สึกมีคลื่นมา
กระทบฝ่ามือในขณะตรวจ thrill เกิดจากการเคลื่อนไหว
ผิดปกติของลิ้นหัวใจ และเกิดการสั่นสะเทือน
การเคาะ
เริ่มเคาะเบา ๆ ที่ทรวงอกซ้ายจาก mid clavicular line ช่องซี่โครงที่ 3, 4, 5 เคลื่อนเข้าหา sternum เคาะจนได้ยินเสียงทึบ
ภาวะปกติริมซ้ายของหัวใจจะอยู่ไม่เกินแนว mid clavicular line และริมขวา จะเกินขอบขวาของ sternum เล็กน้อย
ภาวะผิดปกติริมซ้ายและริมขวาของหัวใจกว้างเกินปกติ
การฟัง
เสียงของ aortic valve ฟังได้ชัดที่ขอบขวาของ sternum
ตรงช่องซี่โครงที่ 2
เสียงของ pulmonic Valve ฟังได้ชัดที่ขอบซ้ายของ sternum ตรงช้องซีโครงที่ 2
เสียงของ tricuspid valve ฟังได้ชัดที่ขอบซ้ายของ sternum ตรงช่องซีโครงที่ 4 หรือ 5
เสียงของ mitral valve ฟ้งได้ชัดที่บริเวณ apex beat
ฟังเริ่มจากฐานของหัวใจ คือ บริเวณ aortic Valve ไป pulmonic valve ไป tricuspid Valve และ mitral valve
ภาวะปกติ ได้ยินเสียงหัวใจอย่างน้อย 2 เสียง คือเสียง
S1 เเละS2
ภาวะผิดปกติ หัวใจผิดปกติจังหวะ ไม่สมํ่าเสมอมีเสียงผิด
ปกติอื่นๆ เช่น S3 S4
Click เป็นเสียงสูงและสั้น คล้ายมีการประทุ ได้ยินพร้อมการเต้นของหัวใจ
Murmur หรือเสียงฟูเป็นเสียงที่เกิดจากการสั่นสะเทือน
เนื่องจากการไหลของเลือดผ่าน ลิ้นหัวใจที่มีความผิดปกติ
หลอดเลือด
การตรวจหลอดเลือดดําที่คอ (Jugular vein)
หันหน้าตรงให้กล้ามเนื้อ sternocleidomastoid
หย่อนตัวดูบริเวณด้านข้างของลําคอ
ภาวะปกติไม่เห็น jugular vein โป่งพองหรือ
neck vein engorge
ภาวะผิดปกติ jugular vein โป่งพอง ความดันเลือดดํา
jugular เกินกว่า 4 เซนติเมตร
การตรวจ abdominal jugular reflux ทําโดย กดท้อง
บริเวณ periumbilical เป็นเวลา 10-30 วินาที
การคลําหลอดเลือดส่วนปลาย จะคลําหลอดเลือดแดงเพื่อประเมินความเเรงของการ ไหลเวียนที่ไปยังอวัยวะส่วนปลาย โดยเปรียบเทียบซ้าย-ขวา
การตรวจการไหลเวียนของหลอดเลือดฝอย
บริเวณปลายเล็บ
กดปลายเล็บชั่วครู่ เล็บซีดลง แล้วปล่อย สีชมพูของ
เล็บจะกลับคืนระยะเวลาในการกลับคืนต้องไม่
ช้ากว่า 2 วินาทีเรียกการตรวจว่า capillary filing test