Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 8 ปัญหาสุขภาพจิตและปัญหาเพศสัมพันธ์ ในผู้สูงอายุ, ถ้าจะวินิจฉัย…
บทที่ 8 ปัญหาสุขภาพจิตและปัญหาเพศสัมพันธ์
ในผู้สูงอายุ
ภาวะสมองเสื่อม Dementia
ความหมาย
กลุ่มอาการที่มีสาเหตุจากความผิดปกติของการทำงานของสมองด้านการรู้คิดและสติปัญญาน มีความผิดปกติทางด้านความคิด การตัดสินใจ ร่วมกับมีการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรม บุคลิกภาพและอารมณ์ มีความสามารถในการคิดเชิงซ้อนส่งผลต่อการดำเนินชีวิต
สาเหตุ
Primary
เกิดจากความผิดปกติหรือการเสื่อมลงของเซลล์สมอง ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดพบบ่อยที่สุด ประเภทนี้สมองจะเสื่อมลงเรื่อย ๆ ทำให้อาการของโรครุนแรงขึ้น
Secondary
เกิดจากโรคต่าง ๆ ที่ทราบสาเหตุ เป็นผลจากโรคทางกายอื่น ๆ
ปัจจัยเสี่ยง
โรคหลอดเลือดสมอง
เคยเป็นอัมพฤกษ์หรืออัมพาตมาก่อน
เคยมีอุบัติเหตุที่ศีรษะ
โรคประจำตัว
ผู้หญิง
การสูบบุหรี่ ดื่มสุราหรือสิ่งเสพติด
น้ำหนักตัวเกิน
สารพิษในสิ่งแวดล้อมรอบตัว
ระดับโฮโมซีสเตอีนในเลือดสูง
กรรมพันธุ์
พยาธิสภาพ
จำนวนเซลล์ของสมองลดลงมากกว่าปกติ
ทำให้มีปัญหา
ด้านความจำ
การตัดสินใจ
การรับรู้ความคิด
อารมณ์และบุคลิกภาพผิดไปจากเดิม
ใยประสาทในสมองผิดปกติในด้านโครงสร้าง
ผู้ป่วยอัลไซเมอร์
มีสาร amyloid ในสมองและมีระดับของ dopamine ลดลงอย่างมากทำให้การทำงานของสมองเสื่อมลง
อาการและอาการเเสดง
หลงทาง
บกพร่องในการใช้ภาษา
บกพร่องในการตัดสินใจแก้ไขปัญหา
บกพร่องในการประกอบกิจกรรมที่เคยทำได้มาก่อน
บกพร่องในการประกอบกิจกรรมที่ซับซ้อนหลายขั้นตอน
ประกอบกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองบกพร่อง
บกพร่องด้านการรับรู้หรือเรียนรู้สิ่งใหม่
อาการเลวลงเวลาพลบค่ำ
sundown syndrome
เป็นช่วงเวลาที่ความสว่างลดลง ผู้ป่วยมองเห็นได้น้อยลง ทำให้แปลสิ่งที่เห็นผิดไป จึงเกิดอาการต่อต้านและก้าวร้าวโวยวาย
บกพร่องด้านความจำสิ่งใหม่
พฤติกรรมแปลกๆ และมีบุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง
ระยะการดำเนินโรค
ระยะแรก
สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ทำกิจกรรมต่างๆ ช้าลง
หลงลืมไม่มาก ลืมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใหม่ๆ พูดช้าลง นึกคำที่พูดไม่ได้
การรับรู้และสมาธิเสื่อมลง
บุคลิกภาพเฉื่อยชา ขาดความสนใจสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัย อาบน้ำไม่สะอาด
อารมณ์ไม่เบิกบาน โกรธง่าย หงุดหงิด คิดว่าจะมีคนมาทำร้าย
มักบ่นเกี่ยวกับความเจ็บป่วยทางกายและมีการซึมเศร้า
รู้สึกตนเองมีความจำไม่ดีจะวิตกกังวลสูง
ลืมเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดไม่นาน
สับสนเมื่อต้องทำงานที่ใช้ข้อมูลหลายด้าน
เล่าเรื่องเก่าซ้ำๆ ถามคำถามเดิม
ระยะรุนเเรง
จำเหตุการณ์ไม่ได้ ทั้งอดีตและปัจจุบัน
เบื่ออาหาร อาจลืมว่ารับประทานอาหารแล้ว
จำคนสนิทไม่ได้ อาจไม่รู้จักตนเอง
พูดลิ้นรัว ขาดเป็นช่วงๆ ไม่เป็นภาษา ไม่สามารถพูดสื่อสารได้
สับสน กระวนกระวายตื่นกลางคืน เดินไม่ได้
เงียบและแยกตัว
กลั้นอุจาระและปัสสาวะไม่ได้ ช่วยตัวเองไม่ได้
ใช้เวลาเกือบทั้งหมดอยู่บนเตียง
มักเสียชีวิตจากโรคแทรกซ้อน
ปอดบวม
แผลกดทับ
ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
หลอดเลือดในสมองอุดตัน
ระยะปานกลาง
ช่วยเหลือตนเองได้น้อยลง กิจกรรมประจำวันที่เคยปฏิบัติไม่ได้
ไม่สนใจสิ่งแวดล้อมการงาน หรือบุคคลอื่น
ไม่รับรู้เวลา สถานที่ บุคคล
ไม่รู้ว่าตนเองอยู่ที่ไหนจำคนหรือชื่อคนไม่ได้
เดินไปมาไม่หยุด เดินหลง
บุคลิกภาพและสติปัญญาเปลี่ยนแปลง อารมณ์แปรปรวน ก้าวร้า
แสดงพฤติกรรมทางเพศไม่เหมาะสม
มีอาการของกลุ่มอาการ
sundown syndrome
การวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย
การตรวจเลือด
เพื่อประเมินการทำงานของร่างกายเบาหวานไต วัดความดันโลหิต
ตรวจการทำงานของหัวใจ เอ็กซเรย์ปอดเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง
ค้นหาสาเหตุ จากโรคที่รักษาหาย
ตรวจคัดกรองอาการซึมเศร้า
Geriatric Depression Scale: GDS หรือเครื่องมือของ Beck ฉบับย่อ
ซักประวัติและตรวจร่างกาย
ผู้ป่วยมักให้ประวัติไม่ได้ต่อเนื่องจากอาการหลงลืมควรมีมีญาติ หรือผู้ดูแลที่อยู่กับผู้ป่วยมานานและทราบรายละเอียดอย่างดีมาร่วมในการซักประวัติด้วย
การเปลี่ยนแปลงในด้านความจำ พฤติกรรม การทำงานของผู้ป่วย กรรมพันธุ์
ปัจจัยเสี่ยงได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ ฯลฯ
แบบประเมิน
ทดสอบความจำและประเมินความสามารถด้านสติปัญญา
Mini-Mental State Examination-Thai version (MMSE-Thai)
ประเมินภาวะสับสนเฉียบพลัน(Confusion Assessment Method: CAM)
ภาวะสมองเสื่อม (เช่น Clock Drawing Test, Modified Short Blessed Test, ADAS-cog)
ประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันพื้นฐาน (basic ADL)
การประเมินภาวะสมองเสื่อม
เครื่องมือ
เครื่องมือประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรชนิดพื้นฐาน( Basic activities of daily living : Basic ADL เช่น การรับประทาน อาหาร อาบน้ำ ขับถ่าย)
เครื่องมือประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรชนิดอุปกรณ์( Instrumental activities of daily living : Basic ADL เช่น การใช้โทรศัพท์ การทำงานบ้าน การจัดยา)
เกณฑ์ในการวินิจฉัยนิยมใช้เกณฑ์ของ DSM IV
1.มีความผิดปกติของความจำ (memory impairment)
มีความผิดปกติอย่างน้อย 1 ข้อในต่อไปนี้
มีความผิดปกติของการใช้ภาษา (aphasia)
ไม่รู้จักในสิ่งที่เคยรู้จักมาก่อน (agnosia)
การสูญเสียทักษะในการทำกิจกรรม (apraxia) โดยไม่ใช่เกิดจาก motor system
ความผิดปกติในการบริหารจัดการ เช่น การวางแผนงาน จัดลำดับงาน
ความผิดปกติในข้อ 1 และ 2 มีมากจนส่งผลกระทบต่อความสามารถทางสังคม และอาชีพ
ความผิดปกติที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดในช่วงที่มีภาวะซึมสับสน (delirium)
ความผิดปกติที่เกิดขึ้นไม่สามารถอธิบายได้ด้วยสาเหตุอื่น
หลักการรักษา
รักษาต้นเหตุ
รักษาตามอาการแบบประคับประคอง
การให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย
การจัดที่อยู่อาศัยสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
การออกกำลังกาย
การรักษาโดยใช้ยา
1) ยาขยายหลอดเลือดสมอง ทำให้เลือดไปสู่สมองเพิ่มขึ้น
2) ยาช่วยการทำงานของสมองทำให้เซลล์สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Ergoloid mesylste, Piracetam,
Pyritinol, Lecithin, Rivastigmine
การป้องกัน
1.รับประทานอาหารครบหมู่
ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้เกิดเกณฑ์
ฝึกฝนสมอง
ออกกำลังกายสม่ำเสมอสัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง
การพูดคุยพบปะผู้อื่นบ่อยๆ
ตรวจสุขภาพประจำปี
หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
ระมัดระวังเรื่องอุบัติเหตุต่อสมอง ระวังการ หกล้ม
ปฏิบัติกิจกรรมอย่างมีสติ และฝึกสมาธิอยู่ตลอดเวลา
การพยาบาล
บทบาทที่สำคัญของพยาบาล
การประเมินปัญหาและความต้องการของผู้ป่วยในการพยาบาลอย่างถูกต้อง
ให้ความรู้และคำแนะนำแก่ผู้ดูแล
การพยาบาลที่สำคัญ
1.การส่งเสริมให้ผู้ป่วยทำกิจวัตรประจำวันได้นานที่สุด
3.การสื่อสารและการใช้ภาษา
2.การแก้ไขปัญหาพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนจากปกติ
การถามคำถามซ้ำ
การเลือกเสื้อผ้าและการแต่งตัว
อาการหวาดระแวงและกล่าวโทษผู้อื่น
พฤติกรรมต่อต้านก้าวร้าว มีอารมณ์รุนแรงและเปลี่ยนแปลงง่าย
พฤติกรรมในการเดินหลงทาง (wandering)
พฤติกรรมการขโมยสิ่งของและสะสมของ
พฤติกรรมทางเพศไม่เหมาะสม
การป้องกันภาวะแทรกซ้อน
5.การรักษาหน้าที่ของสมองให้คงอยู่มากที่สุด
6.การส่งเสริมสภาวะทางด้านจิตสังคมและลดอาการซึมเศร้า
การพยาบาลญาติผู้ดูแลผู้ป่วย
ที่มีภาวะสมองเสื่อม
เรียนรู้และทำความเข้าใจกับภาวะสมองเสื่อม
พยายามทำจิตใจให้สดใส มีอารมณ์สดชื่นสนุกสนาน มองโลกในแง่ดี ใจเย็น
แก้ไขอารมณ์และพฤติกรรมที่เป็นปัญหามากที่สุดก่อน
พักผ่อนเพียงพอ
ยืดหยุ่น ใช้ความรู้สึก สัญชาตญาณ และจินตนาการในการดูแล
ภาวะสับสนเฉียบพลัน Delirium
คือ
ภาวะที่ผู้ป่วยมีการเปลี่ยนแปลงของระดับความรู้สึกตัว มีสมาธิลดลงโดยมีอาการเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ภายในเวลาเป็นชั่วโมง หรือเป็นวัน
อาการ
มีอาการเฉียบพลัน เปลี่ยนแปลงของระดับความรู้สึกตัว ความจำ การใช้ภาษา และการคิดอย่างเป็นระบบ จะมีช่วงที่ดีขึ้น สลับกับเลวลง
ระยะนำ
อาจมีอาการเพียงอ่อนเพลีย
ไม่มีสมาธิ หงุดหงิด วิตกกังวล ไวต่อสิ่งเร้า
การสูญเสียความจดจ่อ (attention impairment)
ความจำเสื่อม (memory impairment) และ disoriented มักสูญเสียความจำระยะสั้น และหลงวัน เวลา สถานที่ และบุคคลด้วย
กระวนกระวาย (agitation) ดึงสายต่างๆ ออก ปีนลงจากเตียง
เฉยเมย (apathy) และ แยกตัว (withdrawal)
ปัญหาการนอน มักตื่นตอนกลางคืน และหลับตอนกลางวัน
อารมณ์แปรปรวน
อาการทางระบบประสาท
ท่าเดิน ไม่มั่นคง
สั่นกระตุก
ความผิดปกติในการรับรู้ อาจเห็นภาพหลอน หูแว่ว
อาาการเตือน
มีการเปลี่ยนแปลงของสภาวะจิตใจอย่างรวดเร็ว
มีอาการผิดปกติทางจิตประสาท
กำลังมีโรคทางกายที่อาจทำให้ซึมสับสนเฉียบพลัน
ได้ยาบางชนิด
มีอาการเห็นภาพหลอน
พูดจาสับสน หรือหลงวัน เวลา สถานที่ และบุคคล
ตรวจคลื่นสมองพบมี diffuse slow wave หรือ epileptiform discharge
ชนิด
hypoactive
จะมีอาการเงียบ ซึมสับสน เฉยเมย นอนมาก
mixed
ผู้ป่วยจะมีอาการสลับไปมาระหว่างชนิด hyperactive และ hypoactive
hyperactive
จะมีอาการวุ่นวาย หลงวัน เวลา สถานที่ และบุคคล เห็นภาพหลอน
เกณฑ์การวินิจฉัย
ใช้ Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders IV (DSM – IV)
ความผิดปกติของระดับความรู้สึกตัว
ความตื่นตัวต่อสิ่งแวดล้อมลดลง
ภาวะสมองไม่สามารถคิดและหาเหตุผลได้ (cognitive impairment) เช่น ความจำบกพร่อง หลงวัน เวลา สถานที่
ผิดปกติในระยะเวลาสั้น และมักมีอาการสลับระหว่างอาการดีขึ้น และเลวลง
อาการที่เกิดขึ้นเกิดจากความผิดปกติของโรคทางกาย
Confusion assessment method
เริ่มมีอาการแบบเฉียบพลัน และมีการดำเนินโรคสลับดี และไม่ดี
Inattention
มีความคิดไม่เป็นระบบ
มีการเปลี่ยนแปลงระดับความรู้สึกตัว
ปัจจัยกระตุ้น
โรคระบบประสาท
การผ่าตัด
โรคที่เกิดร่วม
สิ่งแวดล้อม
ยา
การอดนอนเป็นเวลานาน
สาเหตุ
ความผิดปกติของสารสื่อประสาท (neurotransmitter)
cholinergic deficiency; ได้รับยา anticholinergics
Dopamine ที่สูง จะควบคุมการหลั่ง acetylcholine
การอักเสบ และความเครียดเรื้อรังจากการเจ็บป่วย
มีการกระตุ้น sympathetic และ hypothalamic - pituitary – adrenal axis ทำให้มีระดับ cytokine สูงขึ้น และมี hypercortisolism
การป้องกัน
ดูแลให้ได้รับ ออกซิเจนอย่างเพียงพอ
ลดอาการเจ็บปวด
ดูแลการขับถ่าย
หยุดยาที่ไม่จำเป็น
ดูแลให้ไดรับอาหารที่เหมาะสม
การกระตุ้นให้มีการเคลื่อนไหวตั้งแต่ระยะแรก
การปรับสภาพแวดล้อม
การรักษาและการพยาบาล
ค้นหาสาเหตุเพื่อให้การรักษาที่ถูกต้อง
การดูแลประคับประคองอาการ
ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง
ให้สารน้ำ สารอาหารให้เพียงพอ
พลิกตะแคงตัวทุก 2 ชม.
หลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์ยึดตรึงผู้ป่วย จะทำให้ยิ่งวุ่นวายมากขึ้น
ดูแลเรื่องการขับถ่าย และความสะอาดของร่างกาย
ดูแลสภาพแวดล้อม
การปรับให้โล่ง แยกออกจากผู้ป่วยอื่น
ช่วยให้ผู้ป่วยประกอบกิจวัตรประจำวันได้
การให้ยาให้เพื่อควบคุมให้สงบ
haloperidol
ภาวะสับสน Confusion
อาการที่เกิดแบบทันที
Cold or clammy skin
Dizziness or feeling faint
Fast pulse
Fever
Headache
Slow or rapid breathing
Uncontrolled shivering
การตรวจเพื่อวินิจฉัย
Brain and nervous system (neurologic) tests
Cognitive tests
MRI of the head
Blood and urine tests
EEG
การพยาบาล
ประเมินผู้ป่วยโดยถามชื่อ อายุ วันเดือน ปี
ถ้าพบว่าเป็น confused person ต้องดูแลใกล้ชิด ไม่ปล่อยให้อยู่ตามลำพัง
วางปฏิทิน นาฬิกา ไว้ใกล้ๆ
พูดคุยถึงสถานการณ์ปัจจุบันให้ฟัง และบอกแผนหรือสิ่งที่จะต้องทำของแต่ละวันให้ทราบ
จัดสภาพโดยรอบให้สงบ เงียบ และรู้สึกอบอุ่น
แนะนำให้ลด/เลิกดื่มสุรา
ให้รับประทานอาหารที่มีวิตามินและเกลือแร่สูง
ดูแลให้นอนหลับพักผ่อนได้เพียงพอ
ลด/เลิกสูบบุหรี่
ดูแลควบคุมโรคที่เป็นอยู่ให้ดี
อาจเกิดขึ้นช้าๆเป็นอยู่นาน หรือเกิดขึ้นกะทันหันได้ ขึ้นกับสาเหตุที่ทำให้เกิด
อาจเกิดเป็น temporaryหรืออาจ permanent ก็ได้
พบมากในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะเมื่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
การฆ่าตัวตาย Suicide
สาเหตุ
ภาวะซึมเศร้า
การเจ็บป่วยทางกาย หรือ การเจ็บป่วยทางจิต
การสูญเสียคู่ชีวิต
การติดสารเสพติด
อาการและอาการแสดง
อาการไม่สนใจในการรับประทานอาหาร
ปฏิเสธการรับประทานยา ปฏิเสธการรักษา
ทำในสิ่งที่เป็นการเสี่ยงตาย เหล่านี้เป็นอาการบ่งบอกว่าอยากตาย
การประเมินภาวะเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในผู้สูงอายุ
การซักประวัติผู้ป่วยหากเป็นไปได้ควรทำในที่เป็นส่วนตัว
ผู้สูงอายุที่พยายามฆ่าตัวตาย ต้องได้รับการป้องกัน และดูแลอย่างใกล้ชิด และรีบรักษาสาเหตุ
จัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัย นำสิ่งที่จะใช้ในการทำร้ายตัวเองได้ออกให้หมด
ให้พูดระบายความเครียด
พยาบาลต้องแสดงความเต็มใจ ตั้งใจฟัง แสดงความเข้าใจถึงความทุกข์ใจของผู้ป่วย เห็นใจ ไม่แสดงท่าทีตัดสินถูกผิดต่อสิ่งที่เขาได้กระทำลงไป
ควรมีท่าทีที่มั่นคง แสดงความเห็นอย่างชัดเจนว่าแม้ว่าปัญหาของผู้ป่วยดูจะยุ่งยาก แต่การตายไม่ใช่แนวทางในการแก้ปัญหา
ไม่ปล่อยให้อยู่คนเดียว
ยารักษาโรคจิตในขนาดต่ำควบคุมความยับยั้งผู้ป่วยที่มีบุคลิกภาพแบบหุนหันพลันแล่นโดยให้ perphenazine หรือ haloperidol
การรักษาและการพยาบาล
ประเมินเกี่ยวกับ
recent losses
new or worsening health problems
lifestyle change
new symptoms of depression
changes in or a limited support system
family history of suicide
ภาวะซึมเศร้า Depression
ความหมาย
ภาวะซึมเศร้าเป็นกลุ่มอาการที่ประกอบด้วยอาการแสดงของความผิดปกติด้านอารมณ์ การคิดรู้ และการทำหน้าที่ด้านร่างกาย
สาเหตุ
ปัจจัยทางชีวภาพ
ความไม่สมดุลของสารสื่อประสาท และการสูญเสียการควบคุมการทำหน้าที่ของระบบต่อมไร้ท่อ
ปัจจัยทางด้านจิตใจ
การเบี่ยงเบนด้านการคิดรู้ เหตุการณ์ชีวิตที่ก่อให้เกิดความเครียด เช่น การสูญเสีย การคาดหวังความสามารถในตนเองต่ำ
ปัจจัยทางสังคมและประชากร
เพศหญิงเสี่ยงมากกว่าชาย 2-3 เท่า ผู้ที่ไม่ได้สมรส อยู่ตามลำพัง การขาดแหล่งให้การสนับสนุนทางสังคม
ปัจจัยเสี่ยง
ผู้สูงอายุหญิง มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นซึมเศร้า สถานะทางเศรษฐกิจสังคมต่ำ มีโรคร่วมหลายโรค มีภาวะทุพพลภาพต้องพึ่งพา ได้รับยาหลายขนาน ประวัติใช้สารเสพติด
อาการ
อาการหลัก
มีอารมณ์ซึมเศร้า มีอาการเกิดขึ้นตลอดเวลาทั้งวันติดต่อกันเป็นเวลา 2 อาทิตย์ขึ้นไป ไม่มีความสุข ไม่สนใจในสิ่งต่างๆที่ปกติเคยสนใจ อ่อนเพลีย (fatigue) เหนื่อยง่าย
อาการอื่นๆ
ไม่มีความมั่นใจ คุณค่าในตนเองลดน้อยลง รู้สึกผิดหรือบาปอย่างไม่สมเหตุผล
คิดถึงเรื่องความตาย มีความคิดหรือพฤติกรรมอยากฆ่าตัวตาย ไม่มีสมาธิหรือคิดอะไรไม่ออก ตัดสินใจไม่ได้
การเคลื่อนไหวผิดปกติไปจากเดิม เชื่องช้า กระวนกระวายผุดลุกผุดนั่ง นอนไม่หลับ (insomnia) เบื่ออาหาร (anorexia) ไม่สนใจเรื่องเพศสัมพันธ์
การวินิจฉัย
ซักประวัติ ตรวจร่างกาย
SIG E CAPS
S
- Sleep disturbances (นอนไม่หลับ)
I
- Loss of Interest (ไม่อยากสนใจอะไร)
G
- Feelings of Guilt (รู้สึกผิด)
E
- Decreased Energy (อ่อนเพลียง่าย)
C
- Concentration/memory problems (ลืมง่าย)
A
- Appetite/weight changes (เบื่ออาหาร ผอมลง)
P
- Psychomotor changes (agitationretardation) (เฉื่อยชา /กระวนกระวาย)/
S
- Thoughts of death or Suicide (คิดอยากตาย)
ตรวจคัดกรอง: 2Q
เครื่องมือประเมิน: 9Q, GDS, TGDS
การรักษา
รักษาด้วยยา
เพิ่มปริมาณสารสื่อประสาทที่บริเวณปลายประสาท โดยการเพิ่มปริมาณ serotonin ที่ปลายประสาท (selective serotonin reuptake enhances : SSRE)
จิตบำบัด
Interpersonal Psychotherapy (IPT)
Problem Solving Therapy (PST)
Cognitive Behavioral Therapy (CBT)
ไฟฟ้ารักษา (electroconvulsive therapy)
การช่วยเหลือทางสังคม
การพยาบาล
เพื่อลดความรุนแรงของภาวะซึมเศร้า
ประสานการบำบัดรักษากับแพทย์ที่รักษาและจิตแพทย์
ให้ยาตามแนวทางการรักษาและสังเกตผลลัพธ์ของยา
ประสานการบำบัดรักษาต่างๆ เช่น psychotherapy counseling electroconvulsive therapy
เพื่อป้องกันการเกิดภาวะซึมเศร้า
ลดปัจจัยเสี่ยงหรือปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า
เช่น หลีกเลี่ยงการแยกผู้สูงอายุออกจากสังคม การปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ทำให้เกิดความรู้สึกด้อยค่า
ให้การดูแลด้านจิตสังคมอย่างสม่ำเสมอ โดยร่วมกับญาติและครอบครัวเพื่อส่งเสริมกระบวนการปรับตัวกับความเจ็บป่วยและผลของการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น
เฝ้าระวังยาที่ใช้รักษาโรคทางกายแต่อาจทำให้เกิดอารมณ์ซึมเศร้า
ลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคที่ป้องกันได้ ซึ่งอาจทำฝห้การเจ็บป่วยรุนแรงขึ้น เช่น ภาวะ hypo-hyperglycemia
การพยาบาลผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าทุกระดับ
จัดให้ได้รับการบำบัดหรือจัดการภาวะซึมเศร้าตามแนวทางการรักษา
ดูแลความปลอดภัยเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย
ประเมินและควบคุมยาและความเจ็บป่วยทางกายที่เป็นสาเหตุ
เฝ้าระวัง และส่งเสริมผู้สูงอายุ เรื่องโภชนาการ การขับถ่าย แบบแผนการนอนหลับพักผ่อน ความไม่สุขสบาย
ส่งเสริมให้มีกิจกรรมด้านร่างกายเพิ่มขึ้น
ส่งเสริมการสนับสนุนทางสังคม
ส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ
ประคับประคองด้านจิตใจอารมณ์ ให้การช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหาต่างๆ
ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยและการรักษา และความสำคัญของการรักษา
ประเมินติดตามภาวะซึมเศร้าอย่างต่อเนื่อง ทำงานร่วมกับหน่วยสุขภาพ
สนับสนุนให้เข้าร่วมกิจกรรมบำบัดด้วยการผ่อนคลาย กิจกรรมที่ทำให้สบายใจ
การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้านจิตใจ
พยายามปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในวัยสูงอายุไม่ว่าจะเป็นโรคทางกาย ความสามารถและบทบาทที่เปลี่ยนแปลงไป
ทำกิจกรรมหรืองานอดิเรกที่ชอบ เช่น ปลูกต้นไม้ เย็บปักถักร้อย เป็นต้น
ทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น เช่น เข้าชมรมผู้สูงอายุ ไปออกกำลังกายเป็นประจำ
ควรรีบไปตรวจและแจ้งแพทย์โดยไม่ต้องอายเมื่อมีอาการซึมเศร้า
การค้นหาภาวะซึมเศร้าตั้งแต่ระยะแรก
ประเมินการคิดรู้หรือสภาพสมอง
MMSE
SGDS
SIG E CAPS
สาเหตุที่ผู้สูงอายุมีอาการโรคซึมเศร้ามากกว่าวัยอื่น?
การเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทในสมอง ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ง่าย
การที่มีโรคทางกายบางอย่าง เช่น โรคสมองเสื่อม โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง โรคต่อมธัยรอยด์เป็นต้น
การเจ็บป่วยทางกายที่ไม่ได้มีผลกระทบต่อสมองโดยตรงแต่ทำให้เกิดความทุกข์ทรมาน ทำให้เกิดอารมณ์ซึมเศร้าได้
ยาหลายชนิดอาจทำให้มีอารมณ์เศร้าได้
การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ เช่น ต้องสูญเสียคู่ชีวิต ทำให้ต้องปรับตัวกับการดำเนินชีวิตแบบใหม่
การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม เช่น การต้องเปลี่ยนบทบาทจากหัวหน้าผู้นำครอบครัวเป็นผู้ตาม
ปัญหาเพศสัมพันธ์ (Sexual dysfunction)
ความเชื่อและความเข้าใจที่ผิด
ผู้สูงอายุไม่ควรคิดเรื่องเพศ
ผู้สูงอายุที่ยังคิดเรื่องเพศ เป็นความผิดปกติ
เพศสัมพันธ์ในวัยสูงอายุเป็นเรื่องน่าอาย
การมีเพศสัมพันธ์กับเด็กจะช่วยเพิ่มพลังทางเพศ
สมุนไพร อวัยวะสัตว์ จะเพิ่มพลังทางเพศ
เพศสัมพันธ์ที่เหมาะสมส่งผลดีต่อผู้สูงอายุ
สามารถจัดเป็นการออกกำลังกายอย่างหนึ่ง
การมีกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้มีการทำงาน
ของระบบต่างๆ ของร่างกายดีขึ้น
เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง เกิดความพึงพอใจ
ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี ทำให้อายุยืนยาวมากขึ้น
ปัจจัยที่ส่งผลต่อเพศสัมพันธ์ในผู้สูงอายุ
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย
การตอบสนองทางเพศลดลง ความถี่ของจุดสุดยอดลดลง
ง ผู้สูงอายุชายมีการตื่นตัวทางเพศลดลง ผู้สูงอายุหญิงมีอาการเจ็บปวดเมื่อมีเพศสัมพันธ์ (painful intercourse หรือ dyspareunia)
ปัญหาสุขภาพ
ต่อมลูกหมากอักเสบ ไขสันหลังถูกกดจากโรคข้อเสื่อม
Pakinsonism โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน พิษสุราเรื้อรัง
การใช้ยาบางชนิด
ยารักษาโรคความดันโลหิต ยาแก้แพ้
ปัญหาเกี่ยวกับความบกพร่องในการทำหน้าที่ทางเพศ
Erectile Dysfunction (ED) การไร้หรือเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ หรือมะเขือเผา
อาการ
อวัยวะเพศชายไม่แข็งตัว หรืออ่อนตัวเร็ว จนไม่สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้
สาเหตุ
ทางร่างกาย
พบในผู้สูงอายุ ที่มีการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดในอวัยวะเพศ
ทางจิตใจ
เกิดจากความเครียด วิตกกังวล ทัศนคติและความเชื่อในเรื่องทางเพศ
Premature Ejaculation (ล่มปากอ่าว, นกกระจอกไม่ทันกินน้ำ)
อาการ
ฝ่ายชายถึงจุดสุดยอดเร็วจนไม่สามารถทำให้ฝ่ายหญิงเกิดความพอใจได้
สาเหตุ
ทางจิตใจ ความเครียด วิตกกังวล
Frigidity (เฉยชาทางเพศ)
อาการ
เพศหญิงเฉยชา ขาดการตอบสนองทางเพศ
สาเหตุ
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายตามวัย
ทางจิตใจ อารมณ์ ความเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า
ทัศนคติทางเพศ
Dyspareunia (เจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์)
อาการ
ฝ่ายหญิงเจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์ เนื่องจากอวัยวะเพศขาดการหล่อลื่นทำให้เกิดการเสียดสีจนบาดเจ็บ
สาเหตุ
ทางร่างกาย
มีการเปลี่ยนแปลงไปตามวัย
ทางจิตใจ
ขาดความรู้สึก ความต้องการทางเพศ ขาดการตอบสนองทางเพศ
บทบาทของพยาบาลในการช่วยเหลือ
ผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านเพศสัมพันธ์
ประเมินปัญหาโดยซักประวัติเกี่ยวกับเรื่องเพศ
แบบแผนการทำหน้าที่ทางเพศ ปัญหาสุขภาพ
สัมพันธภาพระหว่างคู่ ความสนใจในเรื่องเพศ
ประเมินการใช้ยาในผู้สูงอายุโดยเฉพาะยาที่ใช้ทั่วไปในการรักษาโรคที่มีผลกระทบต่อการแสดงออกด้านเพศสัมพันธ์ เช่น กลุ่มยาต้านเศร้า กลุ่มยาลดความดันโลหิต
ประเมินการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ซึ่งส่งผลต่อวงจรการตอบสนองทางเพศ
ใช้ข้อมูลที่ได้จากการประเมินปัญหามาแก้ไขความเข้าใจผิดในเรื่องเพศ
ส่งเสริมให้มีอัตมโนทัศน์ที่ดี
ให้คำแนะนำ เป็นที่ปรึกษา และปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง
โรคอัลไซเมอร์
Alzheimer’s disease : AD
สาเหตุ
จากความผิดปกติในเนื้อสมอง
กลุ่มใยประสาทพันกัน
neurofibrillary tangles ทำให้สารอาหารไม่สามารถไปเลี้ยงสมอง
มีสาร beta amyloid
งทำให้ระดับ acetylcholine ซึ่งมีส่วนสำคัญในเรื่องการเรียนรู้และความจำในสมองลดลง
การอักเสบ inflammatory
สาร amyloid เมื่อสลายจะให้สารอนุมูลอิสระออกมา อนุมูลนี้จะทำให้เกิดการอักเสบของเซลสมอง
กรรมพันธุ์
อายุ
โรคความดันโลหิตสูงเรื้อรัง
อาการและอาการแสดง
ความผิดปกติของความจำ
จากความผิดปกติของ temporal lobe
การใช้ภาษา
จากความผิดปกติของ sylvian fissure ด้านซ้าย
การรับรู้ภาพ
จากความผิดปกติของ parietal lobe
การวินิจฉัย
ใช้ Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders , fourth edition (DSM-IV) ในการประเมิน
การรักษาและการพยาบาล
ยังไม่มีการรักษาที่ช่วยชะลอหรือหยุดการดำเนินโรคอย่างแท้จริง
แนวทางที่เชื่อว่าจะช่วยป้องกันและจัดการโรคได้นั้นคือ
การกระตุ้นทางจิตใจ (Mental stimulation)
การออกกำลังกาย และรับประทานอาหารครบทุกหมู่
โรคอัลไซเมอร์เป็นโรคความเสื่อมที่รักษาไม่หาย การบำบัดและดูแลผู้ป่วยจึงเป็นสิ่งสำคัญ
ระยะการดำเนินโรค
ระยะเเรก
มีปัญหาเรื่องความจำ การเรียนรู้สิ่งใหม่ และลืมเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นประสาทการมองเห็นอาจผิดปกติ ทำให้ขาดความสามารถในการทำกิจกรรมที่ซับซ้อน
ระยะกลาง
เริ่มมีปัญหาในการทำกิจวัตรประจำวันพื้นฐาน เช่น อาบน้ำ แปรงฟัน การขับถ่าย การรับประทานอาหาร และมีปัญหาทางพฤติกรรม และอารมณ์
ระยะสุดท้าย
สื่อสารได้ลดลง มีพฤติกรรมซ้ำๆ มีปัญหาการทรงตัว จำญาติใกล้ชิดไม่ได้ หรือลืมชื่อตนเอง ต้องดูแลตลอด 24 ชม. อาจติดเชื้อทางเดินหายใจ หรือทางเดินปัสสาวะ และเสียชีวิตได้
โรคพาร์คินสัน Parkinson’s Disease
สาเหตุ
เกิดจากความเสื่อมของสมองกลาง (CNS) ส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย
ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบว่าภาวะ toxicity เช่น metallic poisoning , hypoxia หรือ encephalitis เป็นปัจจัยตั้งต้นให้เกิดได้
อาจพบปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องอีกเช่น CVD , genetic , การได้รับยาบางชนิด เช่น cocaine , reserpine , haloperidol(Haldol) เป็นสาเหตุให้เกิดได้
อาการและอาการแสดง
กล้ามเนื้อแข็งตึง( muscular rigidity)
การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อที่อยู่ในอำนาจจิตใจทำได้ช้า (bradykinesia) เช่นการพูด การกลืนอาหาร
กล้ามเนื้ออ่อนแรง (muscular weakness) ตามี drooling หน้าเหมือนใส่หน้ากาก
สูญเสียรีเฟล็กซ์การทรงตัว (postural reflexes)
อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย
ท่าทางเดิน
มีลักษณะศีรษะก้มลง ตัวงอไปข้างหน้า ไหล่ห่อและแขนงอ
เดินจะลากเท้าและก้าวได้สั้นๆ มีผลให้เสี่ยงต่อการหกล้ม
ผลต่อระบบประสาทอัตโนมัติ
มีน้ำลายออกมาก กลืนลำบาก เหงื่อออกมาก
อาจเกิด Orthostatic hypotension จากสูญเสียการตอบสนองของระบบประสาทส่วนปลายได้
กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ
ความสามารถในการตัดสินใจ และการควบคุมอารมณ์ วิกลจริตความจำเสื่อม (dementia) ซึมเศร้า
การรับรู้ผิดปกติได้ แต่ไม่กระทบต่อความเฉลียวฉลาดของบุคคล
การตรวจเพื่อการวินิจฉัย
ม่มีการตรวจเฉพาะที่ระบุได้
พิจารณาจากอาการและอาการแสดงทางคลินิค ในรายที่พบอาการตั้งแต่เริ่มแรกต้องแยกจาก Wilson’s disease และการได้รับทองแดง
การรักษา
รักษาด้วยยา
การควบคุมอาการไม่ให้รุนแรงมากขึ้นและสนับสนุนการรักษาอื่นในการคงไว้ซึ่งการทำหน้าที่ของร่างกายให้ได้มากที่สุด
Levodopa (L-Dopa)
เป็น precursor ของ Dopamine เป็นยารับประทาน เมื่อเข้าไปที่สมองจะเปลี่ยนเป็น Dopamine ใน basal ganglia
Dopamine
จะไม่ให้โดยการรับประทาน เพราะจะถูกเผาผลาญก่อนถึงสมอง
Dopadecarboxylase inhibitors
carbidopa-levodopa (Sinemet) ขัดขวางการเปลี่ยน Levodopa เป็น Dopamine ใน peripheral tissue ไม่สามารถผ่าน blood brain barrier ได้ จึงถูกใช้ในการยับยั้งเอนไซม์ซึ่งเปลี่ยน Levodopa เป็น Dopamine เพื่อให้ไปเปลี่ยนที่สมอง
Anticholinergic drugs
trihexyphenidyl hydrochloride (Artane)
cycrimine hydrochloride (pagitane hydrochloride)
ใช้ในการควบคุมอาการสั่นและแข็งเกร็งของกล้ามเนื้อ ใช้เดี่ยวในกรณีมีอาการเล็กน้อยหรือห้ามใช้ Levodopa หรือใช้ร่วมกับ Levodopa
รักษาด้วยการผ่าตัด
การพยาบาล
เทคโนโลยีใหม่ๆที่นำมาใช้ควบคุมอาการของโรค
PULSE GENERATORS มีหลักการทำงานคือส่ง electrical impulses ไป block สัญญานประสาทที่เป็นสาเหตุของการสั่น
Genes therapy
Active & passive joint
mobility (ROM exercise)
Warm bath & massage
นำเข้า exercise program
Psychological support
อาหาร
ซุปข้น หรืออาหารทางสายยางอาจจำเป็นสำหรับผู้ป่วยเนื่องจากกลืนลำบาก
กิจกรรม
ควรให้มีกิจกรรมการเคลื่อนไหว โดยช่วยเหลือและป้องกันการเกิดอุบัติเหตุด้วย ไม่ควรให้ทำอย่างรีบร้อน
การรักษาอื่นๆ
กายภาพบำบัดเพื่อคงความสามารถในการเคลื่อนไหวของข้อและคงท่าทางที่ปกติและการเดินไว้
ถ้าจะวินิจฉัย ต้องมีทั้ง 1, 2 , 3 และ 4