Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 8 ปัญหาระบบประสาท ปัญหาสุขภาพจิต ปัญหาเพศสัมพันธ์ในผู้สูงอายุและก…
หน่วยที่ 8 ปัญหาระบบประสาท ปัญหาสุขภาพจิต ปัญหาเพศสัมพันธ์ในผู้สูงอายุและการพยาบาล
Dementia
ความหมาย
ภาวะสมองเสื่อม เป็นกลุ่มอาการที่มีสาเหตุจากความผิดปกติของการทำงานของสมองด้านการรู้คิดและสติปัญญา โดยมีการเสื่อมของความจำเป็นอาการเด่น
สาเหตุ
Primary demntia : เกิดจากความผิดปกติหรือการเสื่อมลงของเซลล์สมอง ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด
Secondary dementia : เกิดจากโรคต่างๆ ที่ทราบสาเหตุ เป็นผลจากโรคทางกายอื่นๆ ที่มีผลกระทบทำให้เกิดอาการสมองเสื่อม
พยาธิสภาพ
จำนวนเซลล์ของสมองที่ทำงานลดลงอย่างมากมายอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้อาจพบว่าใยของประสาทในสมองมีความผิดปกติในด้านโครงสร้างด้วย
อาการและอาการแสดง
บกพร่องด้านความจำสิ่งใหม่
บกพร่องด้านการรับรู้หรือเรียนรู้สิ่งใหม่
บกพร่องในการประกอบกิจกรรมที่ซับซ้อนหลายขั้นตอน
บกพร่องในการตัดสินใจแก้ไขปัญหา
หลงทาง
บกพร่องในการใช้ภาษา
บกพร่องในการประกอบกิจกรรมที่เคยทำได้มาก่อน
มีการประกอบกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองบกพร่อง
อาการเลวลงเวลาพลบค่ำ
พฤติกรรมแปลกๆ และมีบุคลิกภาพเปลี่ยน
การประเมินภาวะสมองเสื่อม
เครื่องมือประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรชนิดพื้นฐาน (Basic Activities of Daily Living : Basic ADL)
เครื่องมือประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรชนิดอุปกรณ์ (Instrumental Activities of Daily Living : IADL)
Diagnostic and Statistical Manual of the American psychiatric association, forth edition (DSM-IV)
การพยาบาล
มุ่งส่งเสริมคุณภาพชีวิต และคงความสามารถของผู้ป่วยในการช่วยเหลือตนเองตามความสามารถให้นานที่สุด
ให้ความรู้และคำแนะนำแก่ผุ้ดูแล จนเกิดความเข้าใจวิธีการดูแลผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความสุขสบายและลดปัญหาในการดูแล
Delirium
ความหมาย
เป็นภาวะที่ผู้ป่วยมีการเปลี่ยนแปลงของระดับความรู้สึกตัว มีสมาธิลดลงโดยมีอาการเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ภายในเวลาเป็นชั่วโมง หรือเป็นวัน
อาการและอาการแสดง
มีอาการเฉียบพลัน มีการเปลี่ยนแปลงของระดับความรู้สึกตัว ความจำ การใช้ภาษา และการคิดอย่างเป็นระบบ จะมีช่วงที่ดีขึ้น สลับกับเลวลง
อาจมีอาการเพียงอ่อนเพลีย ไม่มีสมาธิ หงุดหงิด วิตกกังวล ไวต่อสิ่งเร้า
การสูญเสียความจดจ่อ
ความจำเสื่อม และdisoriented มักสูญเสียความจำระยะสั้น
กระวนกระวาย
6.เฉยเมย และแยกตัว
มักตื่นตอนกลางคืน และหลับตอนกลางวัน
อารมณ์แปรปรวน
ความผิดปกติในการรับรู้ อาจเห็นภาพหลอน หูแว่ว
อาการท่าระบบประสาท เช่น ท่าเดินไม่มั่นคง สั่นกระตุก
ชนิดของ Delirium
ชนิด Hyperactive : วุ่นวาย หลงวัน เวลาสถานที่ และบุคคล เห็นภาพหลอน
ชนิด Hypoactive : เงียบ ซึมสับสน เฉยเมย นอนมาก
ชนิด Mixed : จะมีอาการสลับไปมาระหว่างชนิด hyperactive และ hypoactive
สาเหตุ
ความผิดปกติของสารสื่อประสาท
(neurotransmitter)
Cholinergic deficiency
Dopamine
การอักเสบ และความเครียดเรื้อรังจากการเจ็บป่วย
การพยาบาล
ค้นหาสาเหตุเพื่อให้การรักษาที่ถูกต้อง
การดูแลประคับประคองอาการ
ดูแลสภาพแวดล้อม
การให้ยา เพื่อควบคุมให้สงบ เช่น haloperidol
Alzheimer’s Disease : AD
ความหมาย
เป็นโรคเรื้อรัง เกิดจากเซลล์สมองเสื่อมอย่างรุนแรง
สาเหตุ
จากความผิดปกติในเนื้อสมอง 2 อย่าง
กลุ่มใยประสาทพันกัน (neurofibrillary tangles)
ทำให้สารอาหารไม่สามารถไปเลี้ยงสมอง
มีสาร beta amyloid ในสมองทำให้ระดับ
acetylcholine ลดลง
มีการอักเสบ (inflammatory) สาร amyloid
กรรมพันธุ์
อายุ
โรคความดันโลหิตสูงเรื้อรัง
อาการและอาการแสดง
ความผิดปกติของความจำ : จากความผิดปกติของ temporal lope
การใช้ภาษา : จากความผิดปกติของ sylvian fissure ด้านซ้าย
การรับรู้ภาพ : จากความผิดปกติของ parietal lope
การพยาบาล
ยังไม่มีการรักษาที่ช่วยชะลอหรือหยุดการดำเนินโรคอย่างแท้จริง
แนวทางที่เชื่อว่าจะช่วยป้องกันและจัดการโรคได้นั้นคือ
การกระตุ้นทางจิตใจ
การออกกำลังกาย และรับประทานอาหารครบทุกหมู่
Parkinson’s Disease
ความหมาย
เกิดจากความเสื่อมของสมองส่วนกลาง ส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย
พบในชายมากกว่าหญิง มักเกิดหลังอายุ 50 ปี มากสุดที่อายุ 75 ปี
สาเหตุ
ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบว่าภาวะ toxicity เช่น metallic poisoning,
hypoxia หรือ encephalitis เป็นปัจจัยตั้งต้นให้เกิดได้
ปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น CVD, genetic, การได้รับยาบางชนิด
เช่น cocaine, reserpine, haloperidol
อาการและอาการแสดง
จะแตกต่างกันในแต่ละคน ขึ้นกับสาเหตุของการสั่น ผลคือทำให้ dopamine ลดลงทำให้เกิดอาการขึ้น
ผลต่อระบบประสาทอัตโนมัติ ทำให้มีน้ำลายออกมาก กลืนลำบาก เหงื่อออกมาก อาจเกิด Orthostatic hypotension
กล้ามเนื้อแข็งตึง, กล้ามเนื้ออ่อนแรง, สูญเสียรีเฟล็กซ์การทรงตัว, อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย
เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจได้ การรับรู้ผิดปกติได้ แต่ไม่กระทบต่อความเฉลียวฉลาดของบุคคล
การพยาบาล
เทคโนโลยีใหม่ๆที่นำมาใช้ควบคุมอาการของโรค เช่น
PULSE GENERATORS
Genes therapy
Active & Passive joint
Mobility (ROM exercise)
Warm bath & massage
นำเข้า Exercise program
Psychological support
Confusion
อาจเกิดขึ้นอย่างช้าๆเป็นอยู่นาน หรือเกิดขึ้นกะทันหัน
ได้ขึ้นกับสาเหตุที่ทำให้เกิด
อาจเกิดเป็น temporary หรืออาจ permanent ก็ได้
พบมากในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะเมื่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
อาการและอาการแสดง
ผิวหนังเย็นชื้น
วิงเวียนศีรษะหรือหน้ามืด
หัวใจเต้นเร็ว
มีไข้ ปวดหัว
สาเหตุ
เนื้องอกที่สมอง
การกระทบกระเทือน
ศีรษะบาดเจ็บ
ติดเชื้อ
การตรวจเพื่อวินิจฉัย
Brain and nervous system (neurologic) test
Cognitive tests
MRI of the head
Blood and urine tests
EEG
การพยาบาล
ประเมินผู้ป่วยโดยถามชื่อ อายุ วัน เดือน ปี
ถ้าพบว่าเป็น confused person ต้องดูแลใกล้ชิด ไม่ปล่อยให้อยู่ตามลำพัง
ดูแลให้ยา รักษาสาเหตุที่ทำให้เกิด
ให้รับประทานอาหารที่มีวิตามินและเกลือแร่สูง
Suicide
ความหมาย
การฆ่าตัวตาย เป็นภาวะเสี่ยงที่สำคัญในบุคคลที่มีภาวะซึมเศร้า (Depress) สถิติเพิ่มขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น
สาเหตุ
ภาวะซึมเศร้า
การเจ็บป่วยทางกาย
หรือการเจ็บป่วยทางจิต
การสูญเสียคู่ชีวิต
การติดสารเสพติด
อาการและอาการแสดง
ไม่สนใจในการรับประทานอาหาร
ปฏิเสธการรับประทานยา
ปฏิเสธการรักษา
ทำในสิ่งที่เป็นการเสี่ยงตาย
การพยาบาล
การซักประวัติผู้ป่วยหากเป็นไปได้ควรทำในที่เป็นส่วนตัว
จัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัย นำสิ่งที่จะใช้ใน
การทำร้ายตัวเองออกให้หมด
แสดงความเข้าใจถึงความทุกข์ใจของผู้ป่วย เห็นใจ
ไม่แสดงท่าทีตัดสินถูกผิดต่อสิ่งที่เขาได้กระทำลงไป
ไม่ปล่อยให้อยู่คนเดียว
ยารักษาดรคจิตในขนาดต่ำควบคุมยับยั้งผู้ป่วยที่มีบุคลิกภาพแบบหุนหันพลันแล่นโดยให้ perphenazine หรือ haloperidol
Depression
ความหมาย
ภาวะซึมเศร้าเป็นกลุ่มอาการที่ประกอบด้วยอาการแสดงของ
ความผิดปกติด้านอารมณ์ ความคิดรู้ และการทำหน้าที่ด้านร่างกาย
สาเหตุ
ปัจจัยทางชีวภาพ : ความไม่สมดุลของสารสื่อประสาท
และการสูญเสียการควบคุมการทำหน้าที่ของระบบต่อมไร้ท่อ
ปัจจัยทางด้านจิตใจ : การเบี่ยงเบนด้านการคิดรู้
เหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียด
ปัจจัยทางสังคมและประชาการ : เพศหญิงเสี่ยงกว่า
เพศชาย 2-3 เท่า การขาดแหล่งสนับสนุนทางสังคม
ปัจจัยเสี่ยง : มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นซึมเศร้า
สถานะทางเศรษฐกิจสังคมต่ำ ประวัติใช้สารเสพติด
อาการและอาการแสดง
มีอาการซึมเศร้า มีอาการเกิดขึ้นตลอดเวลาทั้งวันติดต่อกันเป็นเวลา
2 อาทิตย์ขึ้นไป ไม่มีความสุข ไม่สนใจในสิ่งต่างๆ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
การวินิจฉัย
ซักประวัติ ตรวจร่างกาย
ตรวจคัดกรอง : 2Q
เครื่องประเมิน : 9Q, GDS, TGDS
การพยาบาล
การป้องกันการเกิดภาวะซึมเศร้า
การค้นหาภาวะซึมเศร้าตั้งแต่ระยะแรก
การพยาบาลเพื่อลดความรุนแรงของภาวะซึมเศร้า
การป้องกันอันตรายอันเกิดจากภาวะซึมเศร้า
Sexual Dysfunction
เพศสัมพันธ์เป็นวิถีแห่งธรรมชาติของคนเรา ซึ่งมีความสัมพันธ์กับความสุขและความทุกข์ของบุคคลและเป็นเรื่องสำคัญของครอบครัวอย่างยิ่งเรื่องหนึ่ง
ปัจจัยที่ส่งผลต่อ
เพศสัมพันธ์ในผู้สูงอายุ
การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย เช่น การตอบสนอง
ทางเพศลดลง ความถี่ของจุดสุดยอดลดลง การตื่นตัวลดลง
ปัญหาสุขภาพ เช่น ต่อมลูกหมากอักเสบ โรคหัวใจและหลอดเลือด
การใช้ยาบางชนิด เช่น ยารักษาโรคความดันโลหิต ยาแก้แพ้
ปัจจัยเกี่ยวกับความบกพร่อง
ในการทำหน้าที่ทางเพศ
Erectile Dysfunction (ED) : มะเขือเผา อวัยวะเพศชายไม่แข็งตัว หรืออ่อนตัวเร็ว
Premature Ejaculation : ล่มปากอ่าว, นกกระจอกไม่ทันกินน้ำ) ฝ่ายชายถึงจุดสุดยอดเร็ว
จนไม่สามารถทำให้ฝ่ายหญิงเกิดความพอใจได้
Frigidity : เฉยชาทางเพศ เพศหญิงเฉยชา ขาดการตอบสนองทางเพศ
Dyspareunia : เจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์ เนื่องจากอวัยวะ
เพศฝ่ายหญิงขาดการหล่อลื่นทำให้เกิดการเสียดสีจนบาดเจ็บ
การพยาบาล
ประเมินปัญหาโดยซักประวัติเกี่ยวกับเรื่องเพศ
ประเมินการใช้ยาในผู้สูงอายุโดยเฉพาะยาที่ใช้ทั่วไปใน
การรักษาโรคที่ผลกระทบต่อการแสดงออกด้านเพศสัมพันธ์
ประเมินการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
ซึ่งส่งผลต่อวงจรการตอบสนองทางเพศ
ใช้ข้อมูลที่ได้จากการประเมินปัญหา
มาแก้ไขความเข้าใจผิดในเรื่องเพศ
ส่งเสริมให้มีอัตมโนทัศน์ที่ดี
ให้คำแนะนำ เป็นที่ปรึกษา และปรึกษาแพทย์
ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง