Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วย 9 การฟื้นฟูสภาพและการเจ็บป่วยเรื้อรังในผู้สูงอายุ - Coggle Diagram
หน่วย 9 การฟื้นฟูสภาพและการเจ็บป่วยเรื้อรังในผู้สูงอายุ
แนวคิดเกี่ยวกับการเจ็บป่วยเรื้อรังในผู้สูงอายุ
มีการเปลี่ยนแปลงอย่างถาวร
มีความพิการหลงเหลืออยู่
พยาธิสภาพที่เกิดขึ้นไม่สามารถกลับคืนสู่ปกติ
ความต้องการการฟื้นฟู
ความต้องการการติดตามอาการและให้การดูแลเป็นระยะเวลานาน
การเจ็บป่วยเรื้อรังด้วยโรคที่เมื่อเป็นแล้วจะมีอาการหรือต้องรักษาติดต่อกันนานหรือตลอดชีวิตหรือเป็นความบกพร่อง ความเบี่ยงเบนจากปกติ 1 อย่างหรือมากกว่า
สาเหตุ
กรรมพันธ์ุ
อาหาร
สารเคมีหรือมลพิษ
อุบัติเหตุต่างๆ
เชื้อโรค
สภาพจิตใจ
เสียงดัง แรงสั่นสะเทือน รังสีต่างๆ
ปัจจัยส่งเสริม
อายุ
พฤติกรรมสุขภาพไม่เหมาะสม
ลักษณะบุคลิกภาพ
ฐานะทางเศรษฐกิจ
ลักษณะอาชีพ
เชื้อชาติและชาติและชาติพันธุ์
วัฒนธรรรมและค่านิยมทางสังคม
ผลกระทบของการเจ็บป่วยเรื้อรัง
ทางด้านร่างกาย
ความสามารถในการภาวะโภชณาการผิดปกติ
ภูมิคุ้มกันบกพร่อง
การรับรู้ความรู้สึกและตอบสนองผิดปกติ
การขับถ่ายผิดปกติ
พักผ่อนไม่เพียงพอ
มีข้อจำกัดในการมีเพศสัมพันธ์
ความสามารถในการรับรู้และการดูแลสุขภาพลดลง
ทำกิจกรรมลดลง
ทางด้านจิตสังคม
วิตกกังวล (Anxiety)
ซึมเศร้า (Depression)
ภาวะหมดหนทางช่วยเหลือ (Helplessness)
ภาวะไร้พลัง (Powerlessness)
ครอบครัว
ขาดผู้ดูแล รู้สึกโดดเดี่ยว
เศรษฐกิจและสังคม
ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะไร้พลัง (Powerlessness)
ความรู้สึกสูญเสียจากการเจ็บป่วยเรื้อรัง ผู้ป่วยจะรู้สึกสูญเสียความหวังในอนาคต สมรรถภาพทางเพศลดลง คุณภาพชีวิตแย่ลง รู้สึกต้องพึ่งพา
ขาดความรู้และทักษะในการดูแลตนเอง โอกาสมีส่วนร่วมในการออกความคิดเห็นในการรักษาของตนเองถูกละเลย
ขาดแหล่งช่วยเหลือ ขาดพาหนะในการมาพบแพทย์ต้องอยู่ตามลำพัง
วัฒนธรรมในบางสังคมมองบุคคลที่เจ็บป่วยเรื้อรังเป็นบุคคลที่ไร้ประโยชน์
วิถีทางของการเจ็บป่วยเรื้อรัง
ช่วงเวลาของการเจ็บป่วยที่ใช้เวลานานรวมถึงการปฏิบัติตนของผู้ป่วย ครอบครัวและบุคลากรสุขภาพถูกกำหนดโดยพยาธิสรีรวิทยาและการเปลี่ยนแปลงทางด้านสุขภาพมีความเเตกต่างกันในแต่ละบุคคล มี 9 ระยะ
Pretrajectory phase : ระยะการป้องกันในความเจ็บป่วยที่ยังไม่เกิดขึ้น
Trajectory phase : อาการและอาการแสดงของโรคปรากฏ มีการวินิจฉัยโรคเกิดขึ้น บุคคลเริ่มจัดการกับปัญหาเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้น
Stable phase : อาการแสดงความเจ็บป่วยอยู่ภายใต้การควบคุมและจัดการ การดูแลระดับปฐมภูมิเกี่ยวกับโรคที่จะเกิดขึ้น
ที่บ้าน
Unstable phase : ระยะขาดความสามารถในการรักษาหรือควบคุมอาการที่เกิดขึ้นได้
Acute phase : เกิดความรุนเเรงและอาการแสดงที่ไม่สามารถบรรเทาได้หรือเกิดอาการแทรกซ้อนของโรค
Crisis phase : เกิดภาวะฉุกเฉินหรืออยู่ในสถานะชีวิตถูกคุกคามและต้องการการรักษาที่เร่งด่วน
Comeback : เป็นการแสดงย้อนกลับของความเจ็บป่วยเรื้อรังกลับมาอย่างทีละนิดและยอมรับว่าเกิดการเจ็บป่วยและมีอาการแสดง
Downward phase : เป็นลักษณะที่มีภาวะเพิ่มขึ้นของการถอดถอย ความพิการเพิ่มขึ้นและอาการแสดงเพิ่มขึ้นในรูปแบบวิถีทางความเจ็บป่วยจะจบลงในระยะนี้
Dying phase : มีการเพิ่มขึ้นทีละนิดหรือร่างกายหยุดการทำงานอย่างรวดเร็ว
การพยาบาล
เป้าหมาย : การส่งเสริมและคงไว้ซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยและครอบครัว
การพยาบาล : ให้ความสำคัญในการแก้ไขความผิดปกติที่เกิดขึ้น ทั้งด้านร่างกาย จิตสังคม จิตวิญญาณและวัฒนธรรมโดยเน้นการฟื้นฟูสภาพโดยการควบคุมอาการ การป้องกันความพิการและป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
บทบาทพยาบาล
มีทัศนคติที่ดีกับผู้ป่วย
เป็นผู้ช่วยเหลือสนับสนุนให้เกิดพฤติกรรมการดูแลตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ
สนับสนุนให้ผู้ป่วยและผู้ดูแลมีการเผชิญความเครียดได้
ให้ความรู้เพื่อให้ผู้ป่วยนำไปปฏิบัติโดยต้องให้ผู้ป่วยมีการรับรู้สมรรถนะของตนเองในการปฏิบัติกิจกรรมนั้นด้วยโดยให้ผู้ป่วยมีประสบการณ์และประสบผลสำเร็จด้วยตนเอง การได้รับคำแนะนำ การชักจูงและการได้รับารกระตุ้นพฤติกรรม ลดการกระตุ้นทางอารมณ์โดยการค่อยเป็นค่อยไป การฝึกผ่อนคลายและการบรรเทาอาการ
การพยาบาลเพื่อควบคุมอาการ
ให้ความรู้ คำแนะนำ และส่งเสริมความสามารถในการดูแลตนเอง
ดูแลภาวะโภชณาการ
ให้การพยาบาลแบบองค์รวมที่เหมาะสมกับผู้ป่วยเเต่ละราย
ดูแลให้ได้รับยาอย่างสม่ำเสมอ
ส่งเสริมการทำกิจกรรมเพื่อลดความวิตกกังวล
การพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน
การวางแผนการพยาบาลเพื่อฟื้นฟูสภาพอย่างเหมาะสมตั้งเเต่อยู่ในโรงพยาบาลและต่อเนื่องที่บ้าน
โดยมีการวางแผนติดตามผู้ป่วยให้ปฏิบัติการฟื้นฟูสภาพอย่างเป็นระบบ
ประเมินความพร้อมของผู้ป่วยและครอบครัวในการกลับไปพักฟื้นที่บ้าน
ประสานงานกับโรงพยาบาลและแนะนำแหล่งประโยชน์ในชุมชนที่สามารถช่วยเหลือฟื้นฟูสภาพต่อไป
การพยาบาลเพื่อป้องกันอาการกำเริบรุนเเรงซ้ำ
ประเมินความสามารถในการดูแลตนเอง สาเหตุและอุปสรรคในการดูแลตนเอง
ให้ความรู้เเก่ผู้ป่วยและครอบครัวเพื่อให้มีทักษะในการดูแลตนเอง
หากผู้ป่วยและครอบครัวไม่เห็นความสำคัญของการดูแลตนเองตามที่ให้คำแนะนำ ต้องประเมินหาสาเหตุ เพื่อนำมาปรับปรุง แก้ไขให้สอดคล้องกับผู้ป่วยเเต่ละราย
การพยาบาลเพื่อคงไว้ซึ่งการดำเนินชีวิตอย่างผาสุก
มีทัศนคติที่ดีกับผู้ป่วย เป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยเล่าระบายความรู้สึก
ประเมินความสามารถในการปรับตัวของผู้ป่วยเรื้อรัง
ให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการตัดสินเกี่ยวกับการรักษา
สนใจและให้เวลาแก่ผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ
จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมความมีคุณค่าในตนเองและเสริมสร้างพลังอำนาจในตนเองแก่ผู้ป่วย
จัดแหล่งหาสนับสนุนทางสังคมให้ความช่วยเหลือชี้เเนะทางด้านการเงินโดยเฉพาะการสนับสนุนจากบุคคลในครอบครัวหรือคนใกล้ชิดผู้ป่วย
การฟื้นฟูสภาพ
แนวคิดเกี่ยวกับการเจ็บป่วยเรื้อรังในผู้สูงอายุ
การฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุสูงอายุมีจุดมุ่งหมายเพื่อคงไว้ซึ่งหน้าที่ของอวัยวะของร่างกาย ป้องกันความพิการ ภาวะแทรกซ้อนและสามารถช่วยเหลือตนเองได้
ลักษณะเฉพาะของผู้สูงอายุ
R - Reduce body reserve : การทำงานของร่างกายลดลง
A - Atypical presentation : อาการผิดปกติที่ไม่จำเพาะกับโรค
M - Multiple pathology : เกิดพยาธิสภาพหลายระบบ
P - Polypharmacy : การใช้ยาหลายตัวร่วมกัน
S - Social adversity : การเข้าสังคมลดลง
การฟื้นฟูสภาพในผู้สูงอายุ
ความเเตกต่างทางด้านร่างกาย : มีโรคเรื้อรังหลายโรคความสามารถในการทำหน้าที่ของระบบต่างๆลดลง
ความเเตกต่างทางด้านจิตใจ : ความเชื่อ การเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์และความรู้สึกนึกคิด ซึมเศร้า การขาดแรงจูงใจ
ความเเตกต่างด้านสังคมสิ่งแวดล้อม : ปรับตัวเข้ากับสังคมยาก มีสภาพร่างกายที่บกพร่องกว่าวัยอื่น ต้องอาศัยสิ่งอวดล้อมที่เอื้อ
ความเเตกต่างด้านการตั้งเป้าหมายการรักษา
อุปสรรคของการฟื้นฟูสภาพในผู้สูงอายุ
ปัจจัยทางด้านร่างกาย : การนอนหลับ ภาวะทุพโภชณาการ ภาวะการควบคุมอุณหภูมิเป็นต้น
ปัจจัยด้านจิตใจ : ความเชื่อ การรู้คิดบกพร่อง การขาดแรงจูงใจ
ปัจจัยทางด้านเศรษฐานะ สังคม และสภาพแวดล้อม : ค่าใช้จ่ายสูง สภาพร่างกายไม่เอื้อต่อการเข้าสังคม สิ่งแวดล้อมทางกายภาพไม่เอื้ออำนวย
ผู้ป่วยมีหลายโรคและได้รับยาจำนวนหลายชนิด
ความไม่พร้อมของทีมสุขภาพ
ความต้องการเตียงสูงมีผู้ป่วยรอเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเป็นจำนวนมาก
ความคาดหวังที่มีมากหรือน้อยเกินไปของผู้ป่วยและญาติ
1 more item...
ขั้นตอนของการฟื้นฟูสภาพในผู้สูงอายุ
ตรวจหาโรคหรือปัญหาที่อาจก่อให้เกิดภาวะทุพพลภาพโดยเร็ว
ดำเนินการประเมินผู้สูงอายุอย่างละเอียดโดยครอบคลุม
กำหนดเป้าหมายและเเผนการฟื้นฟูสภาพที่เหมาะสม
ดำเนินการฟื้นฟูสภาพตามเป้าหมายที่วางไว้
การติดตามประเมินผลเป็นระยะเพื่อปรับเปลี่ยนแผนการฟื้นฟูสภาพให้สอดคล้องกับปัญหาความต้องการของผู้ป่วย
กลวิธีในการฟื้นฟูสภาพในผู้สูงอายุ
ควบคุมความบกพร่องหรือโรคที่เป็นสาเหตุ
พัฒนาความสามารถในการทำหน้าที่และคงไว้ซึ่งความสมดุลระหว่างการออกกำลังกายและการพักผ่อน
ป้องกันความพิการ ส่งเสริมการทำกิจกรรมในขณะที่ผู้ป่วยมีความสามารถที่จำกัด
สร้างบรรยากาศของการฟื้นฟูสภาพโดยเพิ่มแรงจูงใจให้แก่ผู้ป่วยและบุคลากร
เริ่มให้การฟื้นฟูทันทีที่ผู้ป่วยเข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาลก่อนที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา
รักษาไว้ซึ่งศักดิ์ศรีของบุคคล ส่งเสริมความภาคภูมิใจในตนเองและส่งเสริมการช่วยเหลือตนเองให้มากที่สุด
ปฏิบัติการฟื้นฟูสภาพอย่างต่อเนื่อง
1 more item...
ข้อควรคำนึงในการฟื้นฟูสภาพในผู้สูงอายุ
ให้การดูแลให้ครอบคลุมทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม และเข้าใจในความเเตกต่างและมองเห็นความต้องการของผู้ป่วยเเต่ละราย
ให้การดูแลผู้ป่วยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
ให้ความอิสระแก่ผู้ป่วยมากที่สุดโดยส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความสามารถที่จะปฏิบัติกิจกรรมต่างๆด้วยตนเอง
การสร้างแรงจูงใจให้มีความกระตือรือร้นที่จะฟื้นฟูสภาพอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ผู้ป่วยมีความรับผิดชอบเกี่ยวกับการดูแลตนเอง
การฟื้นฟูสภาพในกลุ่มผู้สูงอายุ
การไม่เคลื่อนไหว (Immobility) : มักเกิดจากภาวะทางกาย เช่น การปวดข้อ การทรงตัว เดินแล้วหกล้ม Postural hypotension และจากภาวะทางจิตใจ เช่น ซึมเศร้า เบื่อหน่าย ไม่อยากทำอะไร กลัวการหกล้ม อาจเกิดปัญหา Immobilization Syndrome ที่ส่งผลให้กล้ามเนื้อลีบลง ข้อต่อหดรั้ง แผลกดทับ ลิ่มเลือดอุดกั้น เป็นต้น
การฟื้นฟู : ในระยะแรกจะป้องกันภาวะแทรกซ้อนหรือภาวะถดถอยของร่างกายในระบบต่างๆที่พบและในระยะหลังเมื่อพ้นภาวะวิกฤตจะเพิ่มระดับความสามารถในการช่วยเหลือตนเองไม่ให้ถดถอย
การเดินไม่มั่นคง (Instability) : เป็นสาเหตุการหกล้มทำให้ผู้สูงอายุบางรายกลัวการหกล้ม ขาดความมั่นใจในการเดิน เป็นต้น
การฟื้นฟู : ค้นหาปัจจัยเสี่ยงต่อการหกล้มและเเก้ไขสาเหตุ ฝึกการทรงตัวในผู้ที่มีการทรงตัวบกพร่องและปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม
การควบคุมการขับถ่ายผิดปกติ (Incontinence) : เป็นปัญหาที่มีมากขึ้นเมื่อมีการเจ็บป่วยทำให้ขาดความมั่นใจในตนเองและเลี่ยงการเข้าสังคม
การฟื้นฟู : กระตุ้นลำไส้โดยการรับประทานอาหารที่มีกากใย ดื่มน้ำให้มากๆและเปลี่ยนอริยาบทบ่อยๆหรือรับประทานยาระบายและนวดท้องตามแนวลำไส้ใหญ่
ความบกพร่องทางสติปัญญา (Intellectual impairment) : ผู้สูงอายุที่มีสมองเสื่อมปานกลางถึงรุนแรงมากจะมีข้อจำกัดในการเรียนรู้สิ่งใหม่และกระทบต่อ IADL และเมื่อโรคดำเนินไปจนในที่สุดจะส่งผลต่อ BADL
การฟื้นฟู : ประเมินระดับความสามารถในการเรียนรู้ในผู้สูงอายุและประเมิน mental status จากผู้ดูแล
คุณลักษณะของพยาบาลในการฟื้นฟูสภาพ
มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการพยาบาลทั่วไป หลักและวิธีการในการฟื้นฟูสภาพ
มีความมั่นใจ กล้าตัดสินใจที่จะช่วยผู้สูงอายุให้ลุกตากเตียง
มีเจตคติที่ดี อดทน ใจเย็น
มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
มีความสามารถในการวางแผน
เป็นผู้ประสานงานที่ดีในทีมฟื้นฟูสภาพและสร้างสัมพันธภาพให้ผู้สูงอายุมีความไว้วางใจ รู้สึกปลอดภัย
การวางแผนการพยาบาลเพื่อการฟื้นฟูสภาพ
1.ประเมินสภาวะ พฤติกรรมและความพร้อมของผู้ป่วย เช่น functional ability การรับความรู้สึกและการรับรู้ จิตสังคม เศรษฐกิจ การส่งต่อผู้ป่วยกลับบ้าน เป็นต้น
2.วางแผนการปฏิบัติเพื่อการฟื้นฟูสภาพ โดยมุ่งเน้นให้ผู้ป่วยมีความสามารถในการดูแลตนเอง การรักษาสมดุลร่างกาย เช่น การไหลเวียน การป้องกันการติดเชื้อ เป็นต้น การให้ความรู้และการสอนหรือแนะนำ ฝึกฝนทักษะในการดูแลตนเองโดยมุ่งเน้นเรื่องการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการวางแผน
3.การวางแผนการจำหน่ายและส่งต่อ : โดยการวางแผนการดูแลที่บ้านให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้และรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่บ้านของผู้ป่วย ประเมินสภาพของผู้ป่วยและวางแผนร่วมกับครอบครัวเพื่อกำหนดแนวทางที่สามารถปฏิบัติได้จริงไว้ล่วงหน้า และให้ความรู้ครอบครัวและผู้ดูแลเพื่อให้เข้าใจ ไม่กลัวหรือคับข้องใจและส่งต่อผู้ป่วยไปหน่วยงานอื่นที่ต้องการให้ดูแลต่อไป